เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
1.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย(อันนี้รู้มานานแล้ว)
2.เป็นมหาวิทยาลัยเดียวในประเทศ ที่ไม่ได้ขึ้นต้นด้วยคำว่ามหาวิทยาลัย
3.เป็นมหาวิทยาลัยเดียวที่ไม่มีป้ายชื่อมหาวิทยาลัย มีแต่เพียงป้ายบอกอาณาเขต (อยู่ 2 ที่ ที่แรกคือตรงสาธิตฯ ปทุมวัน/ เตรียมฯ หรือคณะศิลปกรรมตึกที่เพิ่งสร้างใหม่ แต่เด็กเตรียมฯ ชอบใช้เรียกว่า Black Gate อีกที่หนึ่งอยู่ข้างหลังมาบุญครอง/สนามกีฬาแห่งชาติ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา)
4.เป็นมหาวิทยาลัยที่ สถาปนาโดย พระมหากษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ มาลงเสาเอกด้วยพระองค์เอง
5. เงินที่นำมาสร้างจุฬาฯ คือเงินบริจาคของประชาชนครับ เงินที่เหลือจากการบริจาคสร้างพระบรมรูปทรงม้า เรียกว่า "เงินหางม้า"
"หางม้าสีชมพู"
6. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานที่ดินของพระคลังข้างที่จำนวน ๑,๓๐๙ ไร่ ซึ่งอยู่ที่อำเภอปทุมวัน ให้เป็นสถานที่ตั้งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อก่อสร้างอาคารเรียนและเป็นตึกบัญชาการ นอกจากนี้ได้พระราชทานเงินทุนจำนวน ๙๘๒,๖๗๒.๔๗ บาท เป็นทุนก่อสร้างโรงเรียน (ทุนที่ใช้ก่อตั้งจุฬาฯ ก็คือรัชกาลที่ 6 ได้พระราชทานมา + เงินหางม้า ด้วย)
7. พระบรมรูป 2 รัชกาลศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพสักการะ
8. ลานหน้าพระบรมรูป ไว้ถวายสัตย์และถวายบังคมลา บางทีก็ใช้เล่นบอล
9. จุฬาฯ ยึดธรรมเนียมปฏิบัติไว้ว่าก่อนที่จะเข้ามาศึกษาชั้นปีที่ 1 ก็ต้องมีพิธีการถวายสัตย์ และพอตอนเรียนจบปริญญาตรีก็ต้องมีพิธีการถวายบังคมลา และทุก ๆ วันที่ 23 ต.ค. ของทุกปี ชาวนิสิต-คณาจารย์-บุคลากรจุฬาฯ จะไปทำพิธีเคารพสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พระบรมรูปทรงม้า (เหมือนอยู่ในรั้วในวังกลาย ๆ เลย ศักดิ์สิทธิ์มาก ๆ และทั้งสามพิธีการนี้ จะออกข่าวทางสื่อโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ internet ทุกปี )
10. ในปีการศึกษา 2548 พิธีการถวายสัตย์นั้นพระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ให้เกียรติมาเป็นผู้นำถวายสัตย์ (แต่ในขณะที่มีพิธีถวายสัตย์ ท่านหญิงยังคงพระยศ ม.จ.สิริวัณวรี มหิดล)
11. นิสิตใหม่ปี 1 ที่ได้มาถวายสัตย์จะรู้สึกว่าเริ่มต้นชีวิตนิสิตใหม่อย่างสมบูรณ์แบบและภาคภูมิใจในจุฬาฯ และสถาบันกษัตริย์
12. เพียงท่านพลิกแบงค์ 100 บาท ท่านก็จะเห็นพระบรมรูป 2 รัชกาล คือ รัชกาลที่ 5 และ ที่ 6 ที่ประดิษฐานที่จุฬาฯ (เป็นมหาวิทยาลัยแห่งเดียวในไทยด้วยที่มีพระบรมรูปแบบเดียวกับในธนบัตร)
13.สัญลักษณ์ตราพระเกี้ยว เป็นสัญลักษณ์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นตราประจำรัชกาลที่ 5และเป็นเครื่องหมายแห่งความภาคภูมิใจของนิสิตจุฬาฯทุกคน
14.สีประจำมหาวิทยาลัยคือสีชมพู เป็นสีแห่งความรัก สีแห่งรักรมณ์ละมุนอุ่นไอหวาน สีสถานศึกษาสง่าไฉน.... สีประจำจุฬาฯ และการเทิดทูนล้นเกล้าสองรัชกาล อัญเชิญมาใช้ครั้งตอนงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์
15.จุฬาฯ เป็นสถานที่ที่เกิดขึ้นจากความรักของ 2 พระองค์ที่มีแก่กัน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระประสงค์อยากให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นอนุสรณ์ในพระราชบิดาของพระองค์
คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็เป็นสถานที่ที่เป็นอนุสรณ์ บ่งบอกถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้อย่างถ่องแท้ นอกจากนี้พระองค์ยังมีพระประสงค์อยากให้สถานที่แห่งนี้เป็นประโยชน์ทั้งในปัจจุบัน(พ.ศ.2459)และในอนาคตกาล
16.เหตุที่ให้ชื่อมหาวิทยาลัยว่า "จุฬาลงกรณ์" เพราะว่า มีการสืบต่อเนื่องมาจากโรงเรียนที่รัชกาลที่ ๕ ทรงก่อตั้งขึ้นในรัชสมัยของพระองค์ ชื่อแรกคือ " สำนักวิชาฝึกหัดข้าราชการฝ่ายพลเรือน " - - - - > "โรงเรียนมหาดเล็ก" - - - - >" โรงเรียนข้าราชการพลเรือน ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว " - - - - > " จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย " รัชกาลที่ 6 ทรงเล็งเห็นว่าใช้ชื่อเกี่ยวกับพระราชบิดาของพระองค์มาโดยตลอด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีความหมายว่า มหาวิทยาลัยของสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ หรือ University of Prince Chulalongkorn
17.จามจุรี เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย มีอยู่ 5 ต้นที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯมาปลูกด้วยพระองค์เองโดยพระองค์ทรงนำต้นจามจุรีทั้ง 5 ต้นมาจากพระราชวังไกลกังวล หัวหินด้วยพระองค์เองโดยมิได้แจ้งทางมหาวิทยาลัยล่วงหน้า นำความปลาบปลื้มมาสู่ชาวจุฬาฯทุกคน
("นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้นต่อชาวจุฬาฯ ถือเป็นนิมิตหมายที่ดี โดยที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน ในวันที่ 15 มกราคม 2505 พระบาทสมเด็จพระปร มินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ได้เสด็จพระราชดำเนิน ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พระราชทานต้นจามจุรีแก่มหาวิทยาลัย จำนวน 5 ต้น ซึ่งพระองค์ทรงนำมาจากพระราชวังไกลกังวล หัวหิน และทรงปลูกด้วยพระองค์เอง บริเวณด้านหน้าหอประชุมจุฬาฯ ฝั่งด้านสนามฟุตบอล ทางด้านขวา จำนวน 3 ต้น ด้านซ้ายจำนวน 2 ต้น และยังได้พระราชทานพระราชดำรัสถึงความผูกพันระหว่างชาวจุฬาฯ กับจามจุรีว่ามีมานานตั้งแต่สร้างมหาวิทยาลัย ทรงเน้นว่าดอกสีชมพูเป็นสัญลักษณ์สูงสุดอย่างหนึ่งของจุฬาฯ พระองค์ทรงเห็นว่าจามจุรีที่นำมานั้นโตขึ้น สมควรจะเข้ามหาวิทยาลัยเสียที และสถานที่นี้เหมาะสมที่สุด "จึงขอฝากต้นไม้ไว้ห้าต้นให้เป็นเครื่องเตือนใจตลอดกาล") และคำเรียกติดปากก็คือ ~จามจุรีสีชมพู-จามจุรี...ศรีจุฬาฯ~
18. เครื่องแบบการแต่งกายของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเครื่องแบบแห่งแรกและเพียงแห่งเดียวของประเทศไทยที่ได้รับพระราชทานมาจากองค์พระมหากษัตริย์ และเป็นแห่งแรกที่มีการสวมใส่เครื่องแบบนิสิต(เหมารวมถึงนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย)
และนอกจากนี้ เครื่องแบบนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเครื่องแบบของมหาวิทยาลัยเพียงแห่งเดียวของประเทศไทยที่ถูกตราไว้ในพระราชกฤษฎีกา พ.ศ.2498 ดังนั้นการใส่เสื้อที่มีสาบหลังและส่วนพับปลายแขนเสื้อ รวมทั้งเข็มขัดหนังกลับสีนํ้าตาลของนิสิตหญิง//ส่วนนิสิตชาย เสื้อเชิ้ตแขนยาวสีขาว
กางเกงขายาวสีขาว ถุงเท้าสีดำหรือนํ้าตาลเข้ม รองเท้าหุ้มส้นสีดำหรือสีนํ้าตาลเข้ม เข็มขัดหนังสีดำ มีหัวเข็มขัดตราพระเกี้ยวตามแบบของมหาวิทยาลัย เนคไทมีตราพระเกี้ยวตามแบบของมหาวิทยาลัย จึงเป็นเอกสิทธิ์ของนิสิตจุฬาฯ ตามข้อบัญญัติตามกฎหมาย
( เป็นเกียรติเป็นศรีเป็นศักดิ์ - - เป็นเอกลักษณ์งามสง่า - - สวมชุดนิสิตจุฬาฯ - - ประกาศค่าจุฬาลงกรณ์)
19. และจุฬาฯ แทบจะเป็นมหาวิทยาลัยเดียวในไทยที่บังคับให้นิสิตแต่งกายถูกต้องตามระเบียบทุกประการ เพราะถือว่าที่นี่เป็น Original เอามาก ๆ ทำกันมาตั้งแต่ก่อนปีพ.ศ.2459 จนถึงปัจจุบันนี้
พอน้อง ๆ ที่เข้ามาเป็นนิสิตใหม่ พวกรุ่นพี่ก็จะต้องอบรมสั่งสอนเรื่องการแต่งกายแบบเข้มงวดมาก ๆ
โดยเฉพาะน้องปี 1 หญิง-จะบังคับให้ใส่กระโปรงพลีตและรองเท้าหนังสีขาวล้วนเท่านั้น ชาย-ต้องผูกเน็คไทด์ (แต่พวกรุ่นพี่ก็ต้องผูกเน็คไทด์เวลาเข้าสอบ ไม่เช่นนั้นจะถือว่าผิดระเบียบ)
ส่วนพวกรุ่นพี่ก็ต้องคอยดูแล ควบคุมการแต่งกายของทั้งน้องปี 1(และของตัวเอง)
ให้ถูกต้องตามระเบียบอย่างเคร่งครัด (ยิ่งกว่าโรงเรียนมัธยมบางแห่งอีก)
ส่วนผู้ที่แต่งกายผิดระเบียบ เช่น ผู้หญิงเอาเสื้อออกนอกกระโปรง ก็จะถูกสายตาจากบุคคลรอบ ๆ ลงโทษเอง แถมยังมีกฎออกมาอีกว่าถ้านิสิตจุฬาฯแต่งกายผิดระเบียบก็จะโดนตัดคะแนนความประพฤติ
ก่อนครั้งแรก - ตักเตือน
ครั้งแรก 20 คะแนน - พักการเรียน 1 ภาคการศึกษา
ครั้งที่สอง 40 คะแนน - พักการเรียน 2 ภาคการศึกษา
ครั้งที่สาม 60 คะแนน - พักการเรียน 3 ภาคการศึกษา
ครั้งที่สี่ 80 คะแนน - พักการเรียน 4 ภาคการศึกษา
ครั้งที่ห้า ครบ 100 คะแนน - พ้นสภาพนิสิต
* สำหรับน้องปี 1 จะมีการกล่าวตักเตือนก่อนในสองสัปดาห์แรกของเทอมหนึ่ง ถ้าพ้นจากนี้ไปก็จะเริ่มหักคะแนนความประพฤติทันที ถึงแม้ว่าจะกระทำผิดเป็นครั้งแรกและไม่เคยได้รับคำตักเตือนเลยก็ตาม
พวกเราชาวจุฬาฯ ควรจะภาคภูมิใจในเครื่องแบบนิสิตซึ่งพระมหากษัตริย์พระราชทานมาให้และรักษากฎระเบียบเพื่อความเรียบร้อย สวยงามและได้รับคำชื่นชมจากคนรอบข้าง ว่าที่นี่นิสิตมีวินัย ให้เกียรติสถาบัน ดูงามตาน่ามอง (สมกับคำขวัญที่ว่า " แต่งกายสง่างาม สมพระนามจุฬาลงกรณ์ ")
20.พิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกที่เกิดขึ้นในไทยก็เกิดขึ้นที่จุฬาฯ
โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์พระราชทานให้แก่นิสิตคณะแพทยศาสตร์เป็นที่แรก
21. สมเด็จพระเทพฯ ทรงสำเร็จการศึกษาจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
22. พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ทรงเข้าศึกษาในคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ในปีการศึกษา2548
23. มิถุนายน 2495-2501 สมเด็จพระพี่นางฯ ทรงเคยเป็นอาจารย์สอนนิสิตคณะอักษรศาสตร์ วิชาวรรณคดีฝรั่งเศสให้แก่นิสิตชั้นปีที่ 4 และ phone'tiquie สำหรับนิสิตปี 3 และ conversation ให้แก่นิสิตชั้นปีที่ 2 เมื่อท่านมีภารกิจเยอะขึ้น ท่านก็เลยต้องล้มเลิกการสอนไป (ถ้านิสิตคนไหนอยากดูพระฉายาลักษณ์ตอนที่ท่านเคยสอนนิสิตคณะอักษรศาสตร์ ลองไปดูที่หอประวัติจุฬาฯ ชั้นสองได้ มีรูปและคำบรรยายประกอบด้วย)
24. สมเด็จพระเทพฯ ได้รับการแต่งตั้งพระยศเป็นเจ้าฟ้า ในขณะที่ทรงศึกษาอยู่ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ชั้นปีที่ 2 (สำหรับเรื่องนี้ก็ไปดูที่หอประวัติชั้นสองได้เช่นกัน มีพระฉายาลักษณ์ของท่านที่ติดอยู่กับบัตรห้องสมุดและบัตรประจำตัวนิสิตด้วย มีคำบรรยายประกอบพร้อมสรรพ)
25. จุฬาฯ เป็นมหาวิทยาลัยแรกที่ใช้คำว่า " นิสิต-นิสิตา"
26.เทวาลัย หอประชุมใหญ่จุฬาฯ เป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานทั้งแบบตะวันออกและตะวันตก ผู้ออกแบบเป็นชาวต่างชาติ
27.ศาลาพระเกี้ยว เป็นอัครสถานที่มีความโดดเด่น เป็นแหล่งรวมกิจกรรมทุกอย่าง เป็นที่ตั้งของศูนย์หนังสือจุฬาฯ( ได้รับรางวัล ๑ ใน ๑๐ ร้านค้ายอดเยี่ยมในทศวรรษ...ด้วยนะ....) สหกรณ์ ตลอดจนที่รับประทานอาหาร
คุณสามารถทำกิจกรรมต่างๆนานาได้จากอัครสถานแห่งนี้
28.สระน้ำ จุฬาฯ เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
29. สนามจุ๊บ (สนามกีฬาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ จารุเสถียร) เป็นที่อยู่ของ CU Band CU Chorus และ ที่ซ้อม ของเชียร์ลีดเดอร์
30. เมื่อถึงวันงานประเพณีต้อนรับน้องใหม่ทุก ๆ ปี นิสิตรุ่นพี่จะนำใบหรือกิ่งจามจุรีเล็ก ๆ มาผูกริบบิ้นสีชมพูคล้องคอให้นิสิตใหม่เพื่อเป็นการต้อนรับเข้าสู่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาณาจักรแห่งจามจุรีสีชมพู
31.การรับน้องใหม่ของจุฬาฯที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในปลายเดือนพฤษภาคม
น้องใหม่ทั้งหลายจะได้รับการคัดสรรเข้าบ้าน
32.ชื่อบ้านรับน้อง ก็จะมีหลากหลาย แต่กว่าครึ่งจะแปลได้สองแง่สองง่าม...
33.ถ้าเฟรชชี่คนไหนพลาดการรับน้องก้าวใหม่ มันยากจริงๆที่จะได้เจอเพื่อนต่างคณะ...
ในทางกลับกันถ้าเข้าร่วมกิจกรรมนี้ ก็จะรู้จักเพื่อนใหม่ต่างคณะเยอะแยะ ...
34.เรื่องรับน้องก้าวใหม่ยังไม่จบ...กิจกรรมที่ทำกันก็จะเน้นการเต้น กิน เต้น และก็เต้น...
เพลงฮิตในการสันทนาการที่เด็กจุฬาฯเต้นเป็นกันทุกคนคือ เพลง"หอยจี้ลี่"
35. จุฬาฯ 2 ฝั่งนะ....อิ อิ งงหละสิ ฝั่งแรกคือฝั่งอนุสาวรีย์สองรัชกาล หน้าหอประชุมใหญ่ เป็นที่รวมของหลายๆคณะ.....
อีกฝั่งคือ ฝั่ง หอกลาง เป็นที่ตั้งของคณะอีก 4 คณะ คือ นิเทศฯ นิติฯ ครุฯ และวิทย์ฯกีฬา
นอกจากนี้ยังมีคณะทันตะ,สัตวะ,เภสัช,สหเวชและจิตวิทยา ที่เป็นคณะหรูอยู่ติดสยามแสควร์
36.เป็นมหาวิทยาลัยเล็กๆ ที่รายล้อมไปด้วยย่านเศรษฐกิจและศูนย์การค้า
37.ผิดกับสมัยก่อนที่อยู่กลางทุ่งพญาไท ไกลมาก ๆ จนนิสิตต้องมาอยู่หอพักเพราะเดินทางไป-กลับไม่สะดวกและอาจไม่ปลอดภัย เป็นที่มาของคำว่า "นิสิต" แปลว่า ผู้อยู่หอ
38.การเดินจากฝั่งคณะวิทยาศาสตร์ไปนิเทศ ไปง่ายๆโดยไม่ต้องขึ้นสะพานลอย แต่จุฬาฯหรูกว่านั้น
มีอุโมงค์เชื่อมสองฟากถนนด้วย...
39. หอกลาง ไว้นอนหลับ อ่านหนังสือ เล่นเน็ท ดูหนัง ฟังเพลง MSN และจะกลายเป็นตลาดนัดในช่วง Midterm กับ Final
40.โรงอาหารที่ขึ้นชื่อในความอร่อยคงเป็น โรงอาหารคณะรัฐศาสตร์ ซึ่งถือว่ามีเมนูหลักจากร้านก๋วยเตี๋ยวอดทน
ด้านโรงอาหารคณะอักษรฯคงไม่แพ้กัน งัดเมนูเด็ดๆ..ทั้งนั้น คณะวิศวะ มีความหลากหลายในอาหาร หนุ่มๆหล่อเพียบ
โรงอาหารบัญชี&เศรษฐศาสตร์ อยู่ที่ตึกใหม่ สีขาว โปร่งโล่งสบาย ลมเย็นมาก ๆ ด้วย แต่พอฝนตกทีก็
โรงอาหารคณะทันตะ แหล่งรวมอาหารอร่อยๆ...มากมายเช่นกัน ฝั่งครุฯก็ไม่ยอมแพ้มีเครื่องดื่มขึ้นชื่อคือ โอเรโอ้ปั่นใส่วีฟครีม ...
( ข้าวเหนียวไก่ย่าง อักษรฯ น้ำปั่น ครุฯ ไอติม บัญชี )
41.กว่าร้อยละ 60 ของนิสิตจุฬาฯ ต้องเคยกินเวเฟอร์ ที่สหกรณ์จุฬาฯ ศาลาพระเกี้ยว...
เพราะกลิ่นที่ชวนไปลิ้มลองแน่ๆเลย...
42.หนุ่มที่สาวคณะต่างๆหมายปองมักจะอยู่ฝั่งในเมือง เช่น สถาปัตย์ วิดวะ หรือแม้กระทั่งหนุ่มๆสิงห์ดำ(รัฐศาสตร์)...
43.สาวๆก็ไม่แพ้กัน สาวสวยที่ขึ้นชื่อในจุฬาฯ ก็ต้องยกให้อักษรฯ รัดสาด บัญชี...ทั้ง สวย รวย เก่ง...อืม!
44. มีเรื่องเล่าขานว่า ถ้าผู้หญิงคนไหนเดินสะดุดลานเกียร์ จะได้แฟนเป็นเด็กวิศวะ (ต้องรีบไปซะแล้ว!!)
45.สถานที่ที่เหมาะแก่การไปนั่งสวีทกัน คือ หอกลาง(อาคารมหาธีรราชานุสรณ์:หอสมุดกลาง) ด้วยวิวที่ดูเป็นเมืองนอกมาก
มีวิว ตึกหอพักหญิงสีน้ำตาล ยิ่งดูยิ่งโรแมนติก...
46. หอพักนิสิตจุฬาฯ มี 5 หอ คือ จำปี พุดตาล พุดซ้อน เฟื่องฟ้า ชวนชม ++++ หอนอก หอพักพวงชมพู ยูเซ็นเตอร์ แอบไฮโซ
47.เด็ก self จัดในจุฬาฯ ต้องยกให้ นิเทศฯ ศิลปกรรมฯ(สินกำ)...แรงมากๆ...ขอบอก
สาวสวย - - อักษรฯ บัญชี
-
-
สาวหรู ไฮโซ - - รัดสาด
-
-
สาวเปรี้ยว - - นิเทศ
-
-
สาวแรง - - สินกำ
-
-
สาวห้าว - - วิดวะ
-
-
สาวดุ - - ครุ
-
-
สาวเคร่ง - - นิติ
48.คนภายนอกชอบมองว่าเด็กจุฬาฯเป็นพวกเหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ แต่จริงๆควรมองเด็กจุฬาฯจากภายในและความสามารถมากกว่า
49.คู่รักคู่แค้นของเด็กจุฬาฯคือ เด็กธรรมศาสตร์ งานบอลแต่ละครั้ง ต้องประชันกันให้เหนือกว่ากัน ซึ่งค่าใช้จ่ายจากงานบอล
แต่ละครั้ง สามารถซื้อบ้านหรูๆได้มากกว่า 3 หลัง....
50.เพลง เดินจุฬาฯ เป็นเพลงปลุกใจให้ฮึกเหิม ในการต่อสู้ที่ดีที่สุด อ้าว....เดิน เดิน เถอะรา นิสิต มหาจุฬาลงกรณ์.....
51.บูม Baka เป็นบูมที่ไม่เคยมีใครให้เหตุผลได้ว่า ทำไมต้อง baka ทำไมต้อง bow bow....
52.โรงเรียนเตรียมอุดมฯ แต่ก่อนผู้ที่จะเข้าจุฬาฯต้องมาศึกษา ณ ที่นี่ แต่ก่อนชื่อว่า โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงเรียนเตรียมฯ ยังใช้ตราสัญลักษณ์พระเกี้ยว(น้อย)-ต้นจามจุรี- สีชมพู-การบูม Baka เป็นสัญลักษณ์ของสถาบันเหมือน ๆ กับชาวจุฬาฯ อีกด้วย
53. อุเทนถวาย อยู่กับเรามานานแล้ว หุหุ
54. สยาม สามย่าน มาบุญครอง สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ หุหุ
55. สถาบันภาษา ไว้สอบ FE หุหุ
56. เป็นมหาวิทยาลัยอันดับที่ 8 ในเอเชีย อันดับที่ 60 ของโลกในด้านการแพทย์
57. เป็นมหาวิทยาลัยอันดับที่ 46 ของโลกในด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (รัฐศาสตร์,นิติศาสตร์,เศรษฐศาสตร์,อักษรศาสตร์)
58. เป็นมหาวิทยาลัยอันดับที่ 50 ของโลกในสายมนุษยศาสตร์ (คณะอักษรศาสตร์และครุศาสตร์)
59.คะแนนในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย จุฬาฯมีคะแนนนำมาตลอดทุกคณะ/สาขาวิชา...และที่นี่เปรียบเสมือนที่รวมหัวกะทิของประเทศ
60.กว่าร้อยละ 70 ของเด็กมัธยม กำลังกวดวิชาเพื่อความหวังในการเข้าศึกษาในสถาบันแห่งนี้...
61.จุฬาฯเป็นแหล่งรวมความหวังของเด็กมัธยมทั่วประเทศ...
62.การเรียนในจุฬาฯ หนักยิ่งกว่าการเอ็นทรานซ์เท่าตัว
63. ในปีการศึกษา 2548ไม่เคยมีคะแนนตํ่าสุดที่สูงมากเป็นประวัติศาสตร์ขนาดนี้ คือ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ เอกภาษาญี่ปุ่น มีคะแนนตํ่าสุดที่สูงที่สุดในประเทศในการสอบ 4 วิชาแบบสายศิลป์ (ไทย,eng,สังคม,ภาษาต่างประเทศที่สองหรือเลข 2) คือ 351คะแนน จาก 444.44 และรองลงมาคือ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ภาคIR คือ 330 คะแนน จาก 444.44 คะแนน
64. มหาจุฬาลงกรณ์ เพลงพระราชนิพนธ์ประจำมหาวิทยาลัย แต่ก่อนเคยใช้เป็นเพลงมหาฤกษ์
65.มีเพลงหนึ่งที่บอกเล่าการใช้ชีวิตในจุฬาฯ คือ เพลงจามจุรีศรีจุฬาฯ...ตอนช่วงสุดท้ายของเพลงถือเสมือนการเตือน เรื่องการเรียนที่ฟังแล้วซึ้งจริงๆ
66. สถานีรถไฟใต้ดินที่สามย่าน เขียนว่า
" สิ่งปลูกสร้างนี้ตั้งอยู่บนพิ้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย "
67. รถป๊อป 55++ จอดหน้าศาลาพระเกี้ยว
68. ที่จุฬาฯ สามารถใช้พาหนะได้หลายอย่างและสะดวก คือ BTS,MRT,รถป็อป,รถยนต์,เฮลิคอปเตอร์(สภากาชาด)<69>>>>> นี่....นัก..รัฐศาสตร์
83. ในอินเตอร์เนต หลาย ๆ คนชอบใช้ ฬ เรียกสั้น ๆ แทนจุฬาฯ ...สั้น ๆ แต่ได้ใจความ
84. นิสิตจุฬาฯ มีบัตรประจำตัวนิสิตเป็น ATM กับธนาคารไทยพาณิชย์ แต่ถ้ามีปัญหาเช่นเครื่องกินบัตรเข้าไปก็ต้องไปติดต่อที่สาขาสภากาชาดไทย(ตรงข้ามคณะรัฐศาสตร์)
85. ของที่ขายในสหกรณ์ ศาลาพระเกี้ยว ราคาถูกมาก ๆ มากกว่าใน super market-seven eleven
หรือที่ขายตามท้องตลาดทั่วไป ยิ่งเป็นนิสิตเอง ยิ่งลดเข้าไปใหญ่
86. จุฬาฯ มีรายได้จากสามย่าน- Siam Square- มาบุญครอง-โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา-อุเทนถวาย คาดว่าสำนักงานทรัพย์สินแห่งจุฬาฯ คงดูแลอยู่ (ไม่แน่ใจว่ารวมถึงสาธิตฯ จุฬาฯ กับสาธิตฯ ปทุมวัน-สภากาชาดหรือเปล่า) (ทางรัฐบาลจึงไม่ค่อยให้งบ ฯ แก่จุฬาฯ เท่าไร ข้ออ้างคือ จุฬาฯ มีรายได้มากแล้ว แต่ก็ไม่มีกฎบัญญัติข้อไหนบอกว่าถ้ามีรายได้มากแต่จะได้งบฯน้อย และมาบัดนี้ทางจุฬาฯ ยืนกรานปฏิเสธแอดมิชชั่นในปี 2549 เข้าไปอีก เลยโดนขู่จะตัดงบฯ ท่านรองอธิการบดีท่านหนึ่งเลยกล่าวกลับไปว่า "ทางจุฬาฯ เองก็ไม่ค่อยได้รับงบเต็มเม็ดเต็มหน่วยมานานแล้ว ถ้ามาบัดนี้ จะไม่ได้เลย ก็ไม่ได้ทำให้จุฬาฯ เดือดร้อน ถ้าจุฬาฯคิดจะหาเงินทำนาบนหลังคน ขูดรีดผู้เช่าที่จริง ๆ ล่ะก็ หาได้มากกว่าที่พวกคุณหาเอาไปให้มหาวิทยาลัยทั่วประเทศรวมกันด้วยซํ้าไป") <manager>>>วิศวะเท่านั้น
110. ตึกที่สูงที่สุดในจุฬาฯ คือ ตึกมหามกุฎ หรือที่เรียกติดปาก sci26 ที่คณะวิทยาศาสตร์
111. อาคารหลังแรกของจุฬาฯ หนีไม่พ้นตึกอักษรศาสตร์1 ศิลปะงดงามแบบตะวันออกผสมตะวันตก ถูกสร้างในสมัยรัชกาลที่ 6
112. และอย่าถ่ายรูปคู่กับพญานาคตรงหัวบันไดที่คณะอักษร(ยกเว้นพี่บัณฑิต) และอย่าขึ้นไปบนสี่เสาเทวาลัยเชียว เพราะมีเรื่องเล่าว่าจะทำให้เรียนไม่จบ
113. เขาว่ากันว่าถ้าคู่รักมาลอยกระทงที่จุฬาฯ แล้วจะมีอันเลิกรากัน (จึงนิยมไปลอยที่โรงเรียนเตรียมฯ แทน) แต่ถ้าเป็นเพื่อนกันมาลอยด้วยกันก็จะเป็นแฟนกัน
114. พระยาอุปกิตศิลปสาร เป็นอาจารย์สอนคณะอักษรศาสตร์ และได้สร้างกฎไว้ว่า ก่อนที่ท่านจะเข้ามาสอน-หลังจากสอนเสร็จ-พบกันในเวลาอื่น ๆ ให้นิสิตทุกคนไหว้ท่าน เพื่อเป็นการเคารพผู้เป็นอาจารย์ที่ให้วิชาแก่ตน และแสดงความนอบน้อมต่อผู้อาวุโสกว่า ซึ่งเป็นคณะแรกที่สอนแบบนี้
115. จุฬาฯ เป็นมหาวิทยาลัยเดียวในประเทศไทยที่เวลามีเสด็จฯ ต้องมีการตั้งซองรับเสด็จ นิสิตหญิง-ชาย นั่งพับเพียบกับพื้นถนนและก้มกราบบนพื้นเวลามีรถยนต์พระที่นั่งผ่าน
116. และสาเหตุของการตั้งซองรับเสด็จฯ เกิดจาก <<"เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันศุกร์ ที่ 20 กันยายน 2506 ณ 15.00น. ยังจารึกอยู่ในความทรงจำผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือทราบเรื่องราวโดยตลอด โดยเฉพาะคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ขณะที่รถยนต์พระที่นั่ง แล่นออกจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน จะเลี้ยวซ้ายไปตามถนนพระราม 5 มีนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์กลุ่มหนึ่งเรียงรายรอเฝ้ารับเสด็จอยู่ ได้คุกเข่าลงและเข้าหมอบแทบประตูพระที่นั่ง ซึ่งทำให้จำต้องหยุดรถชั่วขณะ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัส ถามถึงความประสงค์ที่มารอดักหน้ารถพระที่นั่งครั้งนี้ ว่ามีความประสงค์อย่างไร นิสิตซึ่งเป็นหัวหน้ากลุ่มได้กราบบังคมทูลโดยย่อ แล้วนำฎีกาขึ้นทูลถวาย เมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับฎีกาแล้ว ทรงมีพระราชดำรัสแก่นิสิตเหล่านั้นเล็กน้อย แล้วรถยนต์พระที่นั่งก็เคลื่อนที่ต่อไปยังจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทโดยใกล้ชิด ดั่งเช่นทุกปีมา
ฎีกาที่กลุ่มนิสิตทูลเกล้าฯ นั้น ได้ขอพระราชทานอภัยโทษ อันสืบเนื่องมาจากสาเหตุเกิดการพิพาทกันระหว่างนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ 9 คน กับรองอธิการบดีฝ่ายปกครอง ซึ่งโดยสาเหตุอันแท้จริงนั้น ไม่อาจสืบทราบได้ถ่องแท้ เพียงแต่ทราบว่า นิสิตวิศวฯ 2 คน ถูกคัดชื่อออกจากทะเบียนมหาวิทยาลัย นอกนั้นมีความผิดหนักเบาลดหลั่นกันลงไป โดยได้รับโทษให้พักการเรียนมีกำหนดและเพิกถอนสิทธิในการสอบไล่ ซึ่งปรากฏว่าภายหลังที่ทางมหาวิทยาลัยได้ออกคำสั่งลงโทษดังกล่าวแล้ว ก็ได้มีการอุทธรณ์ การประท้วง และการวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง ซึ่งมีทีท่าว่าไม่อาจจะยุติลงได้
ครั้นถึงเวลาดังกล่าวข้างต้น ด้วยพระบารมีและพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม เหตุการณ์อันทำท่าจะรุนแรงและลุกลามไปใหญ่โต ได้กลับคืนสู่สภาพปกติ เมื่อนิสิตทั้ง 9 คนได้ถวายฎีกาแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำรัสทรงตักเตือนนิสิตว่า
“ในการที่จะถวายฎีกานั้น จะต้องมีความนึกผิดจริงๆทางใจด้วย ต้องยอมรับว่ากระทำไปแล้วเป็นความผิดจริง จึงจะให้อภัยกัน มิใช่เป็นการถวายฎีกาแต่เพียงโดยลายลักษณ์อักษร”
เมื่อรถยนต์พระที่นั่งแล่นคล้อยไป นิสิตทั้ง 9 คนก็แยกย้ายกันกลับ ไม่ตามเสด็จไปทางมหาวิทยาลัย เนื่องจากอยู่ในระหว่างลงโทษ
...ทรงมีพระราชดำรัสให้ที่ประชุมทราบถึงกรณี ที่เกิดขึ้นหน้าตำหนักจิตรลดารโหฐาน เกี่ยวกับนิสิตทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาพร้อมทั้งนำฎีกาออกไปให้ที่ประชุมดู รวมทั้งคำสั่งของมหาวิทยาลัย “ฎีกานี้นิสิตทั้งหลายที่ถูกทำโทษ เขียนมารับว่าทำผิดจริง การรับว่าทำผิดนี้ แสดงว่าเขารู้ตัวว่าทำผิด คนเราทำผิดครั้งเดียวนับว่าเก่ง นิสิตพวกนี้ไม่เคยบอกว่าทำผิดมาก่อน การที่เขาทำผิดและฎีกาบอกมาวันนี้ จึงอยากจะให้อธิการบดี และคณะอาจารย์อภัยเขาเสีย เนื่องในงานวันนี้”
...ภายหลังที่กระแสพระราชดำรัสให้อภัยโทษแก่นิสิตจบลง บรรดานิสิตที่มีจำนวนล้นหอประชุมและคณา
จารย์ ได้พากันปรบมืออยู่เป็นเวลานาน รวมทั้งอธิการบดีด้วย บรรยากาศภายในและภายนอกห้องประชุมมีแต่ความสดชื่น ร่าเริง เป็นที่น่าเสียดายที่ผู้ได้รับพระราชทานอภัยโทษไม่มีโอกาสได้รู้เห็น ซึ่งคงจะก่อให้เกิดความปิติปราโมทย์ ยิ่งกว่าจะได้ยินคำบอกเล่าจากเพื่อนฝูง">>
117. เป็นประเพณีในวันที่พี่บัณฑิตได้รับพระราชทานปริญญานั้น พี่ ๆ เขาจะให้สตางค์แก่น้องปี 1 ด้วย
118. ในปี พ.ศ. 2548 นี้ที่มีการเปลี่ยนคะแนน Toefl ใหม่เป็นเต็ม 300 มีนิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ได้คะแนนเต็ม 300 ด้วย (ฅนหรือเปล่า
?)
119. แฟน ๆ ของหนุ่มวง Freeplay ก็เรียนที่จุฬาฯ ก็มีแฟนของเพชร-เบิร์ด-แก้วไง !!!
120. ที่คณะสถาปัตย์มีธรรมเนียมที่ว่าห้ามนิสิตคณะเดินเหยียบ "สถ" บนพื้นถนน
121. ที่คณะครุศาสตร์ ห้ามนิสิตชั้นปีที่ 1 เดินบันไดกลาง เพราะว่ากันว่าจะเรียนไม่จบ
122. ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ ห้ามนิสิตชั้นปีที่ 1 ใช้ลิฟท์ตรงติดกับห้องทะเบียน ให้เดินขึ้นบันไดเท่านั้น
123. ที่คณะรัฐศาสตร์ มีนิสิตปี 2 ได้แชมป์แฟนพันธุ์แท้การเมืองไทยด้วย และผ่านเข้ารอบสุดท้าย 1 ใน 5 คนของ แฟนพันธุ์แท้ Of The Year 2004. อีกเช่นกัน
124. นิสิตหญิงคณะนิเทศศาสตร์ใส่พลีตสีดำตลอดปี 1 แต่นิสิตหญิงคณะครุศาสตร์ใส่พลีตสีกรมท่าตลอดปี 1ส่วนนิสิตชายคณะวิศวะและครุศาสตร์ ให้ใส่กางเกงสีกรมท่า(แต่ถ้าปีอื่น ๆ ใส่สีดำก็ไม่ว่ากัน)
125. อาจารย์จุฬาฯ เป็นผู้ออกข้อสอบ ent' ด้วย แต่เมื่อก่อนหลาย ๆ ที่รวมกัน ตอนนี้เป็นอาจารย์จุฬาฯที่เดียว (ไม่รู้ว่ารวมถึงระบบadmission ด้วยหรือเปล่า)
126. อาจารย์ที่สอนอังกฤษในจุฬาฯ นั้น อยู่ภายใต้ชื่อ "สถาบันภาษา" ไม่ได้สังกัดในคณะใด ๆ เลย
127. อักษร "ฬ" ที่ใช้เรียกสั้น ๆ แทนจุฬาฯ นั้น ยังเป็นตัวอักษรลำดับที่ 42 ใน 44 ตัวอักษรไทยด้วย
128. ที่คณะบัญชี มีการ Boom ดำ / Boom กลางสนามด้วย (แปลก ๆ ดี)
129. Boom ของคณะวิศวะนั้นที่เกือบจะเป็นแฝดกับBoom ของจุฬาฯเลย ตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่า เป็นเพราะเมื่อนานมากหลายสิบปีที่แล้วมีนิสิตชายวิศวะคิด Boom Baka ได้ เลยเอามาใช้กับวิศวะ (Who are we? - Intania) แต่เขาเป็นแฟนกับนิสิตหญิงที่เป็นประธานเชียร์ของจุฬาฯ เลยเอา Boom Baka มาใช้ของจุฬาฯ (Who are we? - Chulalongkorn) <130> CHULALONGKORN
Can you see Laaa…..
Credit :
http://quezie.exteen.com/20050911/vs 2. Baka .. Bowbow .. Cheerka .. Chowchow .. Babow .. Cheerchow
Who are we ?
- - - > CHULALONGKORN
Can you see Laaa
* แบบที่ 2 จะเป็นที่นิยมมากกว่า แบบที่ 1 จะมาจากเพลง C.U.Polka
131. เมื่อก่อนชื่อ "จุฬาลงกรณ" ไม่มีการันต์ เป็นคำสมาสที่ไม่ได้อ่าน กะ-ระ-นะ อ่านว่า" กอน " เฉย ๆ
แต่มาสมัยจอมพล ป. รัฐบาลชุดนั้นก็ได้มาเปลี่ยนให้มีตัวการันต์ เพราะเขาบอกว่าถ้าไม่อย่างนั้น
ก็ต้องอ่าน " กะ-ระ-นะ " ก็เลยต้องมีตัวการันต์จนถึงปัจจุบันนี้ -_-"
132. อาจารย์ที่สอนพิเศษต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียงก็จบจากจุฬาฯ ไปเยอะนะ เช่น พี่POP-EnConcept (ตรี:ครุศาสตร์ โท:อักษรศาสตร์),อ.ปิง-D'avance (บัญชี),อ.เหมียว เจ้าของPinnacle (อักษรศาสตร์),อ.Lilly-Pinnacle,อ.Art-Pinnacle (บัญชี),อ.มนชัย-Pinnacle (อักษรศาสตร์),อ.smith-Pinnacle,อ.พี่แนน-EnConcept (อักษรศาสตร์ เกียรตินิยมอันดับ 1),อ.เจมส์-Pinnacle,อ.เสาวนิตย์-อ.เสาวนิตย์ (อักษรศาสตร์ จุฬาฯ),พี่ตุ้ย-The Tutor (วิศวะ ภาคไฟฟ้า), อ.เจี๋ย - สอนเลข (ถูกไทร์ออกจากวิศวะ จุฬาฯ ไม่รู้ว่าหลังจากนี้ไปต่อที่ไหน)ฯลฯ
133. แม้แต่คุณเสี่ยใหญ่อย่าง " อากู๋ " ผู้ร่วมก่อตั้งGrammy ก็จบจากนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ
134. ในปี 2547(2548) มีนิสิตบัณฑิตจบจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ก็เป็นลูกหลานค่ายละครยักษ์อย่างกันตนา กับอีกคนทายาทช่อง 3 " มาลีนนท์ " (เห็นออกข่าวไปแสดงความยินดีรับปริญญายกกันไปกันทั้ง2ค่ายเลย)
135. ส่วนเจ๊ดา-ดารุณี แฟนพันธุ์แท้เพชรกับไฮโซบ้านนอกก็จบบัญชี จุฬาฯ ส่วนสามีเจ๊ดาจบวิศวะ จุฬาฯ
136. ตึกขาว(ชีววิทยา 1) ปี เดินขึ้นบันไดกลางตึกขาวจะไปซิ่วไปก็ไทร์เอา. . .แต่ความจริงแล้วเมื่อก่อนเดิมนี้ ตึกขาวเป็นตึกปฏิบัติการวิทยาศาสตร์แห่งแรกในประเทศไทย ผู้ที่เป็นอาจารย์สมัยนั้น ไม่ใช่คนสามัญธรรมดาแต่เป็นพระบรมวงศานุวงษ์ เด็กปี 1 ไม่รู้ถ้าขึ้นตรงนั้นจะเป็นห้องพักอาจารย์ทำให้เป็นกการรบกวนอาจารย์ + ไม่ได้ทำครวามเคารพอาจารย์ที่เป็นพระบรมวงศานุวงษ์ด้วย. . .ซ้ำตรงนั้นด้านล่างยังเป็นที่เก็บอาจารย์ใหญ่สำหรับนิสิตแพทย์ในสมัยนั้นด้วย
137. สหเวช ตกบันไดคณะแล้วจะโชคดี แต่มันตกง่ายมากอะ
138. พยาบาล ขึ้นลิฟท์ตอนกลางคืนควรระวัง ขึ้นบันไดดีกว่าเฮอๆ
139. วิดยา ตอนสอบฟิ หรือแคว ให้เอาขนมปังไปเลี้ยงปลาหน้าตึกฟิ แล้วจะดี แล้วจะมีคนเลี้ยงข้าวด้วย
140. วิดวะ ถ้าตั้งใจมองบ่อเห็นเต่าในบ่อได้aเห็นตะพาบในบ่อได้f เห็นกี่ตัวได้เท่านั้นตัว
141. หลายคณะ ไปไหว้พระบรมรูป 2 รัชกาลตอนวันเริ่มสัปดาห์สอบ
ถ้าเป็นวันอังคารเอากุหลาบชมพูไปถวาย วันอื่นธูป9ดอก ขอพรได้แต่ห้ามบน
142. ที่หน้าคณะวิทยาศาสตร์ตรงข้ามตึกจุลฯ มีนาฬิกาแดดด้วย เป็นโครงงานจุฬาฯวิชาการปี 2533
143. รู้ไหมว่ารถสีเขียว ๆ เก่า ๆ ของจุฬาฯ ที่เสียงดังมากขนาดวิ่งอยู่แถวอังรีได้ยินไปถึงพญาไท ที่วิ่งเก็บขยะ ตัดต้นไม้ เป็นรถโครงงานของเด็กวิศวะเมื่อ20กว่าปีมาแล้ว จนปัจจุบันยังใช้ได้อยู่ (โห....)
144. และรถกอล์ฟไฟฟ้าที่วิ่งในจุฬาฯ รับส่งผู้ปกครองตอนรับปริญญาก็เป็นโครงงานจุฬาฯ วิชาการของนิสิตวิศวะอีกเช่นกัน (คิดโดยวิศวะ แต่ไปชาร์จไฟที่เภสัช อืม.... )
145. ที่รัฐศาสตร์ ตอนนิสิตขึ้นปี 2 ต้องย้ายโต๊ะไปนั่งกับรุ่นพี่ ๆ ปีอื่น ๆ แล้วมอบลานเฟรชชี่ให้น้องปี 1 นั่งตามใจน้อง
146. ในความเห็นของเรา เพลงท่อนที่บอกความเป็นจุฬาฯได้ดีที่สุดคือ
1. นํ้าใจน้องพี่สีชมพู ทุกคนไม่รู้ลืมบูชา พระคุณของแหล่งเรียนมา จุฬาลงกรณ์
2. ขอตราพระเกี้ยวยั่งยืนยง ... นิสิตประสงค์เป็นธงชัย
3. ณ อุทยานนี้งามด้วยจามจุรี ... เขียวขจี แผ่ปกพสกจุฬาฯ
4. สีชมพู เชิดชูไว้คู่แดนไทย +++ แสนยิ่งใหญ่และเกรียงไกรในวิทยา
5. ชโย ชโย .. จุฬาฯ สถานศึกษาสง่าพระนาม
6. พระนามจุฬาฯ สูงส่ง ยืนยง .. ตราบชั่วดินฟ้าเอย
7. หมายเอาจามจุรี เป็นเกียรติเป็นศรี ของชาวจุฬาฯ
147. เพลงท่อนที่บอกความเป็นนิสิตจุฬาฯ ได้ดีอีกเหมือนกัน คือ
1. นิสิตพร้อมหน้า สัญญา...ประคอง ความดีทุกอย่างต่างปอง
2.น้องจุฬาฯ พี่จุฬาฯ พร้อมกันมารื่นฤดี +++ รักเราพูนเพิ่มทวีนิจนิรันดร์
3. C.U. will win again just as the same as previous day
- - - > We WiLL SiNg C.U. wiLL WiN,wiLL WiN. < - - -
4. เมื่อปลายปีดอกจามจุรีร่วงหล่น ทิ้งใบเกลื่อนถนนเหลือเพียงลำต้นยืนไว้ เหล่าจุฬาฯ ทิ้งความสุขาทันใด
พ่อแม่น้องพี่ใกล้ไกลอยู่ไหนลืมพลัน
ที่กินถิ่นนอน มิได้อาวรณ์นำพา มีความปร