|
|
|
Jiab16
|
|
« ตอบ #378 เมื่อ: 22 มิถุนายน 2552, 08:38:14 » |
|
ยินดีมากๆ ครับ น้องหมอสำเริง 17 ขอเชิญร่วมแจมได้ตลอดเวลา เรื่องความรู้ และประสบการณ์ดีๆ ที่มีประโยชน์ ถ้าสมาชิกช่วยกันหามาแบ่งปัน เจ้าของกระทู้ก็ดีใจ๊ ดีใจ จริงๆ ครับ
เรื่องศิลปะการป้องกันตัวสำหรับผู้หญิงนี่ ก็มีประโยชน์มากๆ พี่เจี๊ยบได้รวบรวมคำแนะนำประเภทเดียวกันนี้ไว้อยู่ในกระทู้ " ภัยรายวัน " ห้อง " สุขภาพและความงาม " แล้ว ขอเชิญแวะเยี่ยมชมนะครับ ....
http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,1955.0.html
|
|
|
|
Jiab16
|
|
« ตอบ #379 เมื่อ: 22 มิถุนายน 2552, 08:47:38 » |
|
รถจะติดหนึบ เน้อ ! ... เดือนกรกฎาคมนี้น่ะ
ชะนะ ครองรักษา - เภสัช 16 ... ส่งมา
จราจรเตือนเลี่ยงเส้นทาง 13 สะพานข้ามแยก ทั่วกรุงเทพฯ
พล.ต.ต.ภานุ เกิดลาภผล รอง ผบช.น. ผู้รับผิดชอบงานด้านการจราจร ตำรวจนครบาล แจ้งเตือนประชาชน โปรดหลีกเลี่ยงเส้นทาง 13 สะพานข้ามแยกทั่วกรุงเทพมหานครในชั่วโมงเร่งด่วน เช้า-เย็น เนื่องจากจะมีการ “ ปรับปรุงพื้นผิวจราจร - ทุบทิ้งสร้างใหม่ ” มีกำหนดเริ่ม เดือน กรกฏาคม 2552 นี้ จึงประชาสัมพันธ์เตือนประชาชนให้หลีกเลี่ยงเส้นทางในช่วงเวลาเร่งด่วน โดยจะเริ่มจากปรับปรุงพื้นผิวจราจร ซึ่งใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ 7 วัน เริ่มจาก 1. ปรับปรุงพื้นผิวที่ชำรุด ถนนประชาชื่น และบริเวณสี่แยกประชานุกูล 2. ปรับปรุงพื้นผิวที่ชำรุด บริเวณแยกวงศ์สว่าง 3. ปรับปรุงพื้นผิวที่ชำรุด บริเวณสี่แยกรัชโยธิน 4. ปรับปรุงพื้นผิวที่ชำรุด พื้นที่ สน.ทุ่งสองห้อง บริเวณสี่แยกพงษ์เพชร 5. ปรับปรุงพื้นผิวที่ชำรุด สี่แยกท่าพระ 6. ปรับปรุงพื้นผิวที่ชำรุด สี่แยกบางพลัด 7. ปรับปรุงพื้นผิวที่ชำรุด สี่แยกคลองตัน 8. ปรับปรุงพื้นผิวที่ชำรุด สี่แยกพระราม 9 - รามคำแหง 9. ปรับปรุงพื้นผิวที่ชำรุด สี่แยกพระราม 9 - อสมท. 10. ปรับปรุงพื้นผิวที่ชำรุด สี่แยกอโศก - เพชรบุรี 11. ปรับปรุงพื้นผิวที่ชำรุด สามแยกสามเหลี่ยมดินแดง ซึ่งเป็นบริเวณที่มีการจราจรคับคั่งทั้งวัน 12. ทุบสะพานข้าม แยกเกษตร 13. ทุบสะพานข้ามแยกพระราม 4 ไทยเบลเยี่ยม
โดยจะใช้ระยะเวลาในการดำเนินงานประมาณ 30 วัน ซึ่งการปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรจ้า .....
|
|
|
|
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์
รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915
|
|
« ตอบ #380 เมื่อ: 26 มิถุนายน 2552, 15:57:07 » |
|
พรบ. ว่าด้วยการอยู่ร่วมกัน ระหว่างหญิงและชาย
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติว่าด้วยการอยู่ร่วมกัน ระหว่างหญิงและชาย"
มาตรา 2 กฎข้อบังคับใดๆ ในพระราชบัญญัตินี้ ท่านว่า ให้มี ผลย้อนหลัง และ เดินหน้า บังคับได้ทุกกรณี ไม่ว่าจะใน อดีต ปัจจุบัน หรือ อนาคต ไม่ว่าจะใน หรือ นอกราชอาณาจักร ไม่ว่าชาตินี้ หรือ ชาติหน้า
มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้
"ท่าน" หมายถึง ผู้หญิง "ท่านว่า" ก็หมายถึง ผู้หญิงว่า อ้ะดิ
"หญิง" หมายถึง ผู้ที่พึงได้รับความเคารพสักการะจากผู้ชายอย่างถึงที่สุด ชายผู้ใดจะละเมิดมิได้
"ชาย" หมายถึง ผู้ที่ต้องเคารพสักการะคนข้างบน
"สัญญา" หมายถึงข้อตกลงที่ผู้ชาย และ ผู้หญิงตกลงกัน ซึ่งผู้หญิงเปลี่ยนแปลงข้อตกลงใดๆ ก็ได้ โดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เช่นเดียวกับบัตรเครดิต
"สัญญิง" หมายถึง คำที่เอาไว้นำหน้าคำว่าสัญญาเล่นโก้ๆ เช่น "สัญญิง สัญญา"
"การคบหา" หมายถึงการที่หญิง "คบ" แล้วคอยให้ชายคอยตาม "หา"
"การแต่งงาน" หมายถึง การหาเรื่องใส่ตัวซะแล้ว
"การหมั้น" หมายถึง การเตรียมหาเรื่องใส่ตัวน่ะสิ
"สินสอด" หมายถึง ค่าโง่
"ชู้" หมายถึง ตำแหน่งผู้ช่วยสามี
"เหตุผล" หมายถึง สิ่งที่ชายต้องเข้าใจ ไม่ว่าจะเข้าใจหรือไม่ และ หญิง อาจจะไม่เข้าใจก็ได้ แม้ว่าจะเข้าใจก็ตาม
"นอกใจ" หมายถึง ความตายของชาย ความอับอายของหญิง
"การฟ้องร้อง" หมายถึง อยาก "ร้อง" ก็ลอง "ฟ้อง" สิคะ
มาตรา 4 ถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกัน ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้ชายเป็นฝ่ายผิด ผู้หญิงเป็นฝ่ายถูกเสมอ
มาตรา 5 ในกรณีที่เกิดปัญหาหรือข้อสงสัย ให้ย้อนกลับไปดูมาตรา 4
มาตรา 6 ถ้าการคบหาก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายใดๆ ให้พึงสันนิษฐานว่า ชายต้องจ่าย....
อเมริกันแชร์ ท่านว่าเป็นเรื่องหยาบคายมาก หากเริ่มคบหากัน
มาตรา 7 ในการตัดสินใจเรื่องใดเกี่ยวกับการคบหาก็ดี ให้ถือเสียงข้างมากเป็นหลัก แต่ให้หญิงมีสิทธิสามารถออกเสียงได้สองครั้ง
การตัดสินใจที่ว่านั้น หญิงจะถอนเสียเมื่อไรก็ได้
มาตรา 8 การผิดนัด การสาย การผิดเงื่อนไข หรือ เงื่อนเวลาใดๆ ที่ชายเป็นฝ่ายทำ ท่านว่าอาจเรียกเบี้ยปรับได้ โดยให้หญิงเป็นผู้กำหนดเบี้ยปรับนั้น การเรียกเบี้ยปรับไม่ทำให้ความผิด และ โทษนั้นสิ้นผล หรือ ลดน้อยถอยลง แต่ประการใด และ ชายยังคงผูกพันปฏิบัติตามสัญญานั้นอยู่ต่อไปด้วย
การผิดนัด การสาย การผิดเงื่อนไขตามวรรคแรก ถ้าเป็นความผิดของ ฝ่ายหญิง ให้กล่าวคำว่า "ขอโทษ" และให้เลิกแล้วกันไป
มาตรา 9 โทษที่หญิงอาจลงต่อชายได้ หากไม่ปฏิบัติตามสัญญามี ห้าประการคือ
1) งอน 2) ไม่พูดด้วย 3) ไม่ให้เข้าบ้าน 4) ไม่ยอมรับฟังคำแก้ตัว 5) ไม่รู้ไม่ชี้
มาตรา 10 โทษที่ชายอาจลงต่อหญิงได้ หากไม่ปฏิบัติตามสัญญา ( ถูกยกเลิกไปแล้วทั้งมาตรา โดยไม่ได้แจ้งเหตุผล )
มาตรา 11 มาตรา 10 หายไปไหนหว่า
มาตรา 12 ดูเหตุผลในมาตรา 3 มาตรา 4 และ มาตรา 5 ให้ดีๆ สิยะ
มาตรา 13 การทำร้ายหญิงไม่ว่าจะโดยทางร่างกาย หรือ ทางจิตใจ รวมทั้งการขัดใจใดๆ ก็ดี เป็นโทษมหันต์ แม้จะล่ารายชื่อคนมาครบห้าหมื่นชื่อ ก็ไม่อาจเป็นเหตุให้นิรโทษกรรมได้
ยกร่างโดย : ผู้ชาย ภายใต้ความยินยอมและการบังคับของ : ผู้หญิง
นำมาจากอีเมลล์ที่ได้รับจาก narongsak.com
|
3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
|
|
|
|
|
|
pusadee sitthiphong
|
|
« ตอบ #384 เมื่อ: 08 สิงหาคม 2552, 21:22:13 » |
|
ช่างคิดจริงๆ ขอบคุณเจี๊ยบที่เอามาโพสท์ให้ดูนะคะ
|
pom shi 2516
|
|
|
Jiab16
|
|
« ตอบ #385 เมื่อ: 18 สิงหาคม 2552, 11:30:10 » |
|
จ้า ป้อม ... โปรดติดตามเรื่องต่อๆ ไปด้วยนะคะ
SEARS Tower in Chicago ...
มนูญ - วิศวะ 16 ... ส่งมา
Terrifying view from glass box balcony jutting out from skyscraper's 103rd floor
If you're scared of heights, it may be time to look away now. Not content with having the tallest building in America, the owners of Sears Tower in Chicago have installed four glass box viewing platforms which stick out of the building 103 floors up.
The balconies are suspended 1,353 feet in the air and jut out four feet from the building's Skydeck.
Floating on air : Visitors get their first view from The Ledge, four glass balconies suspended from the 103rd floor of Chicago's Sears Tower Designers say the platforms - collectively dubbed The Ledge - have been purposely designed to make visitors feel as they are floating above the city. The reward is unobstructed views of Chicago from the building's west side and a heart-stopping vista of the street and Chicago River below - for those brave enough to look straight down. 'It's like walking on ice,' visitor Margaret Kemp, from Bishop, California said. ' The first step you take you think " Am I going down ? "
Fearless : Anna Kane, five, spreads out on the floor of the 10ft square box which is 1,353ft up
Spectacular : She also enjoyed amazing views out across the city 'At first I was kind of afraid but I got used to it,' 10-year-old Adam Kane from Alton, Illinois, said as clouds drifted by below. 'Look at all those tiny things that are usually huge.' John Huston, one of the owners of the Sears Tower, even admitted to getting 'a little queasy' the first time he ventured out on to the balcony. However, after 30 or 40 trips, he seems to have got used to it.
Thrillseekers : The boxes jut out four feet from the building and were specifically designed to make visitors feel as if they are floating
' The Sears Tower has always been about superlatives - tallest, largest, most iconic,' he said. ' The Ledge is the world's most awesome view, the world's most precipitous view, the view with the most wow in the world. ' The balconies are 10ft high and 10ft wide, can hold five tons, and have glass which is 1.5 inch thick.
Unfazed : Although some adults felt dizzy after experiencing the Ledge, children seemed to take it in their stride
Long way up: Even the floor of the platforms are glass - few were brave enough to look straight down
Inspiration came from the hundreds of forehead prints visitors left behind on Skydeck windows every week. Now, staff will have a new glass surface to clean : floors. Architect Ross Wimer said : ' We did studies that showed a four-foot-deep (1.2 metres) enclosure makes you feel like you're floating since there's only room for one row of people, not two. ' The Skydeck attracts 25,000 visitors on clear days. They each pay $15 to take an elevator ride up to the 103rd floor of the 110-story office building that opened in 1973.
|
|
|
|
khesorn mueller
|
|
« ตอบ #386 เมื่อ: 18 สิงหาคม 2552, 15:30:45 » |
|
ขาสั่นคะ... แค่ดูรูป
nn.
|
|
|
|
Jiab16
|
|
« ตอบ #387 เมื่อ: 19 สิงหาคม 2552, 20:13:51 » |
|
แบงค์ 100 บาทรุ่นใหม่ ออกใช้เร็วๆ นี้ สวยมากนุชน้อย - อักษร 16 ... ส่งมา
|
|
|
|
|
|
Jiab16
|
|
« ตอบ #390 เมื่อ: 28 สิงหาคม 2552, 20:48:33 » |
|
100 ข้อ ที่เด็กจุฬาฯ ควรรู้ ภัทรพรรณ - บัญชี 16 ... ส่งมา ใครอ่านจบแล้ว สารภาพมาซะดีๆ ว่าได้กี่คะแนนเต็มร้อย
1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย
2. เป็นมหาวิทยาลัยเดียวในประเทศ ที่ไม่ได้ขึ้นต้นด้วยคำว่า " มหาวิทยาลัย "
3. เป็นมหาวิทยาลัยเดียวที่ไม่มีป้ายชื่อมหาวิทยาลัย มีแต่เพียงป้ายบอกอาณาเขต
4. เป็นมหาวิทยาลัยที่สถาปนาโดยพระมหากษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ มาลงเสาเอกด้วยพระองค์เอง
5. จุฬาฯ เป็นสถานที่ที่เกิดขึ้นจากความรักของ 2 พระองค์ที่มีแก่กัน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระประสงค์อยากให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นอนุสรณ์ในพระราชบิดาของพระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
6. เมื่อก่อนชื่อ " จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย " ไม่มีการันต์ เป็นคำสมาสที่ไม่ได้อ่าน กะ-ระ-นะ อ่านว่า" กอน " เฉย ๆ แต่มาสมัยจอมพล ป. รัฐบาลชุดนั้นก็ได้มาเปลี่ยนให้มีตัวการันต์ เพราะท่านบอกว่า ถ้าไม่อย่างนั้นก็ต้องอ่าน " กะ-ระ-นะ " ก็เลยต้องมีตัวการันต์จนถึงปัจจุบันนี้ -_-
7. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บัญญัติว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระบรมราชูปถัมภกแห่งโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ และเป็นพระราชปฏิบัติว่าพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีเป็นพระบรมราชูปถัมภกของสถาบันนี้ตลอดมาจนถึงปัจจุบันและตลอดไป ( ด้วยเหตุนี้มหาวิทยาลัยแรกแห่งกรุงสยามได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบรมราชูปถัมภกแห่งจุฬาฯ ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน 5 พระองค์ )
8. เงินที่นำมาสร้างจุฬาฯ คือ เงินบริจาคของประชาชนที่เหลือจากการบริจาคสร้างพระบรมรูปทรงม้า เรียกว่า " เงินหางม้า "
9. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานที่ดินของพระคลังข้างที่ จำนวน 1,309 ไร่ ซึ่งอยู่ที่อำเภอปทุมวันให้เป็นสถานที่ตั้งของจุฬาฯ นอกจากนี้ยังได้พระราชทานเงินทุนเป็นทุนก่อสร้างโรงเรียน
10. ถ้าจะนับเวลาที่จุฬาฯ เกิดขึ้นจริง ๆ แล้ว โดยที่ไม่นับรวมว่าใช้ชื่อสถาบันว่าอะไร ก็ตั้งแต่ปี พ.ศ.2442 ในขณะนั้นยังใช้ชื่อว่า " สำนักวิชาฝึกหัดข้าราชการฝ่ายพลเรือน " ( ร้อยกว่าปีผ่านมา... )
11. คณะในสมัยที่ก่อตั้งจุฬาฯ 4 คณะแรก คือ รัฐศาสตร์ วิศวะ แพทย์ อักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์
12. คณะรัฐศาสตร์มีเค้ากำเนิดมาตั้งแต่โรงเรียนฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน พ.ศ. 2442 ( ร.ศ.118 ) ต่อมาเปลี่ยนเป็นโรงเรียนมหาดเล็กในสมัยรัชกาลที่ 5 และได้ยกเป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือนในสมัยรัชกาลที่ 6 จนกระทั่งเป็น 1 ใน 4 คณะแรกของจุฬาฯ โดยใช้ชื่อว่า " คณะรัฏฐประศาสนศาสตร์ " ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ คณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ ” ในปี พ.ศ. 2476 ต่อมารัฐบาลได้ให้คณะดังกล่าวไปขึ้นต่อมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง ซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่ ครั้นเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2491 ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง และคณะเศรษฐศาสตร์ก็เคยเป็นแผนกหนึ่งในคณะพานิชยศาสตร์และการบัญชีมาก่อนที่จะจัดตั้งเป็นคณะด้วย
13. เมื่อก่อน ศิริราช คือ คณะแพทย์ของจุฬาฯ ต่อมาเมื่อมีการตั้งมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ คณะแพทย์ เภสัช ทันตะ ก็ไปสังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ จึงเป็นการสิ้นสุดคณะแพทย์ที่สังกัดจุฬาฯ ต่อมารัชกาลที่ 8 ทรงพระราชดำริสมควรมีคณะแพทย์แห่งใหม่ จึงเลือกตั้งคณะแพทย์ ร.พ. จุฬาลงกรณ์ ดังนั้นคณะแพทย์ที่สังกัดจุฬาจึงกำเนิดขึ้นอีกครั้ง ( พ.ศ. 2490 ) และนับเป็นรุ่นที่ 1 ( พ.ศ. 2496 ) ตั้งแต่นั้นมา
14. จะเห็นได้ว่า ชาวคณะรัฐศาสตร์ กับนิติศาสตร์ จุฬาฯ มีความผูกพันกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่ชาวคณะแพทยศาสตร์ / ทันตะ / เภสัช จุฬาฯ จะมีความผูกพันกับมหาวิทยาลัยมหิดล
15. “ พระเกี้ยว ” พระพิจิตรเลขาประจำรัชกาลที่ 5 เป็นตราสัญลักษณ์ประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นเครื่องหมายแห่งความภาคภูมิใจของนิสิตจุฬาฯ ทุกคน
16. เข็มพระเกี้ยวต้องติดที่อกเบื้องขวา เพราะเป็นของพระราชทาน ( ของพระราชทานจะติดที่เบื้องขวา )
17. เพลงพระราชนิพนธ์ มหาจุฬาลงกรณ์ เพลงประจำมหาวิทยาลัย แต่ก่อนเคยใช้เป็นเพลงมหาฤกษ์
18. สีประจำมหาวิทยาลัย คือ สีชมพู เป็นสีประจำวันพระราชสมภพของรัชกาลที่ 5 อัญเชิญมาใช้ครั้งตอนงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์
19. จามจุรี เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย มีอยู่ 5 ต้นที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ มาปลูกด้วยพระองค์เอง โดยพระองค์ทรงนำต้นจามจุรีทั้ง 5 ต้นมาจากพระราชวังไกลกังวล หัวหินด้วยพระองค์เอง และมิได้แจ้งทางมหาวิทยาลัยล่วงหน้า นำความปลาบปลื้มมาสู่ชาวจุฬาฯ ทุกคน และยังได้พระราชทานพระราชดำรัสถึงความผูกพันระหว่างชาวจุฬาฯ กับจามจุรีว่า มีมานานตั้งแต่สร้างมหาวิทยาลัย ทรงเน้นว่า “ ดอกสีชมพู ” เป็นสัญลักษณ์สูงสุดอย่างหนึ่งของจุฬาฯ พระองค์ทรงเห็นว่าจามจุรีที่นำมานั้นโตขึ้น สมควรจะเข้ามหาวิทยาลัยเสียที และสถานที่นี้เหมาะสมที่สุด จึงขอฝากต้นไม้ไว้ห้าต้น ให้เป็นเครื่องเตือนใจตลอดกาล "
20. เครื่องแบบการแต่งกายของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเครื่องแบบแห่งแรก และเพียงแห่งเดียวของประเทศไทยที่ได้รับพระราชทานมาจากองค์พระมหากษัตริย์ และเป็นแห่งแรกที่มีการสวมใส่เครื่องแบบนิสิต นอกจากนี้เครื่องแบบนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเครื่องแบบของมหาวิทยาลัยเพียงแห่งเดียวของประเทศไทยที่ถูกตราไว้ในพระราชกฤษฎีกา พ.ศ. 2498 ( เป็นเกียรติ เป็นศรี เป็นศักดิ์ - - เป็นเอกลักษณ์งามสง่า - - สวมชุดนิสิตจุฬาฯ - - ประกาศค่า “ จุฬาลงกรณ์ ” ) 21. จีบด้านหลังของเสื้อนิสิตหญิง เป็นสัญลักษณ์แทนสไบ ( สะ-ไบ ) แปลว่า ผ้าแถบ, ผ้าห่มผู้หญิง ส่วนที่ตลบกลับตรงท้องแขนของเสื้อนิสิตหญิง เป็นสัญลักษณ์แทนพาหุรัด แปลว่าเครื่องประดับ, กำไลแขน, ทองต้นแขน ซึ่งเป็นเครื่องประดับชั้นสูง
22. พิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เกิดขึ้นที่จุฬาฯ โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์พระราชทานให้แก่นิสิตคณะแพทยศาสตร์เป็นที่แรก
23. ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อหลายสิบปีผ่านมาแล้ว ผู้ร่วมเหตุการณ์หลาย ๆ คนคงยังจำได้แม่นยำขึ้นใจ โดยเฉพาะนิสิตชายคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ปี 5 ที่โดนคัดชื่ออกจากจุฬาฯ ในปีการศึกษาสุดท้ายของคนๆ นั้น ... ในขณะรถยนต์พระที่นั่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเคลื่อนที่ผ่านพิธีตั้งซองรับเสด็จฯ ของนิสิตปี 1 ... นิสิตชายคนนั้นได้วิ่งเข้ามาขวางรถยนต์พระที่นั่ง และหมอบกราบลงกับพื้นถนน ... ท่ามกลางความตื่นตกใจของทุกคน ณ ตรงนั้น ... นิสิตชายคนนั้นได้ถวายฎีกาแก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องจากเขาถูกคัดชื่อออกเพราะมีเรื่องวิวาทกับนิสิตคณะวิทยาศาสตร์ซึ่งโดนคัดชื่อออกจากจุฬาฯ เช่นกัน ... เขาขอศึกษาต่อ เพราะเป็นปีสุดท้ายแล้ว ในปีนี้เพื่อน ๆ ร่วมชั้นปีได้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรกันหมด แต่เขาถูกเพิกถอนสิทธิ์ศึกษาต่อในจุฬาฯ ... ด้วยพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงนำความนี้เข้าที่ประชุม และให้นิสิตชายคนนั้นได้ศึกษาต่อ ... ในปีการศึกษาถัดมา เขาได้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ... เขาได้เข้าถวายตัวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมมหาราชวัง เป็นสถาปนิก ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และจงรักภักดีตลอดอายุการทำงานของเขา ... เมื่อปลายปี 2547 เขาคนนี้เพิ่งเกษียณอายุงานจากการเป็นสถาปนิกในพระบรมมหาราชวังตลอดมา
24. จุฬาฯ เป็นมหาวิทยาลัยแรกที่ใช้คำว่า " นิสิต-นิสิตา"
25. จุฬาฯ เป็นสถาบันเดียวที่มีสมเด็จเจ้าฟ้าอาจารย์ 4 พระองค์ ได้แก่ - 4 ตุลาคม 2461 สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย เสด็จมารับราชการที่จุฬาฯ นับเป็นเจ้าฟ้าอาจารย์พระองค์แรกของจุฬาฯ ในครั้งนั้นท่านทรงสอนวิชาภาษาอังกฤษที่คณะรัฏฐประศาสนศาสตร์ - พ.ศ. 2467-2468 สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงสอนวิชา vertebrate anatomy แก่นิสิตคณะแพทยศาสตร์ ทรงริเริ่มและสอนวิชาอารยธรรมและประวัติศาสตร์แก่นิสิตทุกคณะที่ลงทะเบียน ทรงเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าอาจารย์องค์ที่ 2
- มิถุนายน 2495-2501 สมเด็จพระพี่นางฯ ทรงเคยเป็นอาจารย์สอนนิสิตชั้นปีที่ 4 คณะอักษรศาสตร์ วิชาวรรณคดีฝรั่งเศส และ phone'tiquie สำหรับนิสิตปี 3 และ conversation ให้แก่นิสิตชั้นปีที่ 2 เมื่อพระองค์ท่านมีทรงงานเยอะขึ้น จึงต้องล้มเลิกการสอนไป ( ถ้านิสิตคนไหนอยากดูพระฉายาลักษณ์ตอนที่ท่านเคยสอนนิสิตคณะอักษรศาสตร์ ลองไปดูที่หอประวัติจุฬาฯ ชั้นสองได้ มีรูปและคำบรรยายประกอบด้วย ) พระองค์ท่านทรงเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าอาจารย์องค์ที่ 3
- พ.ศ. 2522 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสอนวิชาอารยธรรมแก่นิสิตที่ลงทะเบียนเรียนตามโครงการการศึกษาทั่วไป ทรงเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าอาจารย์องค์ที่ 4
26. พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ทรงเข้าศึกษาในคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ในปีการศึกษา 2548
27. พระยาอุปกิตศิลปสาร เป็นอาจารย์สอนคณะอักษรศาสตร์ และได้สร้างกฎไว้ว่า ก่อนที่ท่านจะเข้ามาสอน-หลังจากสอนเสร็จ-พบกันในเวลาอื่น ๆ ให้นิสิตทุกคนไหว้ท่าน เพื่อเป็นการเคารพผู้เป็นอาจารย์ที่ให้วิชาแก่ตน และแสดงความนอบน้อมต่อผู้อาวุโสกว่า ซึ่งเป็นคณะแรกที่สอนแบบนี้
28. จุฬาฯ มี 5 ฝั่งนะ ได้แก่ - ฝั่งแรก คือ ฝั่งอนุสาวรีย์สองรัชกาล หน้าหอประชุมใหญ่ เป็นที่รวมของหลายๆคณะ ... - ฝั่งที่ 2 คือ ฝั่งหอกลาง เป็นที่ตั้งของคณะอีก 3 คณะ คือ นิเทศฯ นิติฯ ครุฯ ... - ฝั่งที่ 3 คือ ฝั่งสยามสแควร์ เป็นที่ตั้งของคณะทันตะ สัตวะ เภสัช ... - ฝั่งที่ 4 คือ ฝั่งหลังมาบุญครอง เป็นที่ตั้งของคณะสหเวช จิตวิทยา วิทย์ฯ กีฬา และคณะพยาบาล - ฝั่งสุดท้าย คือ ฝั่ง ร.พ. จุฬาฯ คือ ที่ตั้งของคณะแพทยศาสตร์ 29. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ไม่ใช่ของจุฬาฯ แต่เป็นของสภากาชาดไทย ว่างๆ ก็ไปบริจาคเลือดที่สภากาชาดนะ
30. เพียงท่านพลิกแบงค์ 100 บาท ท่านก็จะเห็นพระบรมรูป 2 รัชกาล คือ รัชกาลที่ 5 และ ที่ 6 ที่ประดิษฐานที่จุฬาฯ ( เป็นมหาวิทยาลัยแห่งเดียวในไทยด้วยที่มีพระบรมรูปแบบเดียวกับในธนบัตร )
31. จุฬาฯ ยึดธรรมเนียมปฏิบัติไว้ว่า ก่อนที่จะเข้ามาศึกษาชั้นปีที่ 1 ต้องมีพิธีการถวายสัตย์ และพอเรียนจบปริญญาตรี ก็ต้องมีพิธีการถวายบังคมลา นิสิตปี 1 ที่ได้มาถวายสัตย์จะรู้สึกว่าเริ่มต้นชีวิตนิสิตใหม่อย่างสมบูรณ์ และภาคภูมิใจในจุฬาฯ และสถาบันกษัตริย์ ในปีการศึกษา 2548 พิธีการถวายสัตย์นั้น พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์เป็นผู้นำถวายสัตย์
32. เทวาลัย หอประชุมใหญ่จุฬาฯ เป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานทั้งแบบตะวันออก และตะวันตก ผู้ออกแบบเป็นชาวต่างชาติ
33. เคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมอาคารหลังแรกของจุฬาฯ นั้น ( คืออาคารมหาจุฬาลงกรณ์ ) ต้องสร้างให้เป็นแบบไทยผสมตะวันตก ทั้งๆ ที่ในขณะนั้นค่านิยมการสร้างอาคารต้องสร้างให้ทันสมัยแบบตะวันตก ก็เพราะว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น มิได้สร้างวัดประจำรัชกาลของพระองค์ จึงมีพระประสงค์สร้างอาคารมหาจุฬาลงกรณ์เป็นสถาปัตยกรรมรูปแบบไทยผสมตะวันตก เพื่อแทนการสร้างวัดประจำรัชกาล และพระองค์มีพระประสงค์ให้ " เรียนศาสตร์ใหม่ การศึกษาก้าวหน้า รักษาภูมิปัญญาตะวันออก "
34. หอกลาง ไว้นอนหลับ อ่านหนังสือ เล่นเน็ท ดูหนัง ฟังเพลง MSN และจะกลายเป็นตลาดนัดในช่วง Midterm กับ Final
35. หอพักนิสิตจุฬาฯ มี 5 หอ คือ จำปี พุดตาล พุดซ้อน เฟื่องฟ้า ชวนชม หอนอก หอพักพวงชมพู ยูเซ็นเตอร์ แอบไฮโซ
36. อาคารหลังแรกของจุฬาฯ หนีไม่พ้นตึกอักษรศาสตร์ 1 ศิลปะงดงามแบบตะวันออกผสมตะวันตก สร้างในสมัยรัชกาลที่ 6
37. ตึกที่สูงที่สุดในจุฬาฯ คือ ตึกมหามกุฎ หรือที่เรียกติดปาก sci 26 ที่คณะวิทยาศาสตร์
38. ตึกขาว ( ชีววิทยา 1 ) ถ้าปี1 เดินขึ้นบันไดกลางตึกขาวจะซิ่วหรือไม่ก็ไทร์ ... แต่ความจริงแล้วเมื่อก่อนนี้ เดิมตึกขาวเป็นตึกปฏิบัติการวิทยาศาสตร์แห่งแรกในประเทศไทย ผู้ที่เป็นอาจารย์สมัยนั้น ไม่ใช่คนสามัญธรรมดาแต่เป็นพระบรมวงศานุวงษ์ เด็กปี 1 ไม่รู้ถ้าขึ้นตรงนั้นจะเป็นห้องพักอาจารย์ทำให้เป็นการรบกวนอาจารย์ +ไม่ได้ทำความเคารพอาจารย์ที่เป็นพระบรมวงศานุวงษ์ด้วย. . .ซ้ำตรงนั้นด้านล่างยังเป็นที่เก็บอาจารย์ใหญ่สำหรับนิสิตแพทย์ในสมัยนั้นด้วย
39. ตึกเรียนคณะศิลปกรรมศาสตร์ มีตุ๊กแก ( ตัวใหญ่มาก ) ถูกสตัฟฟ์ไว้ แล้วถูกเอาไปแปะไว้มุมบนขวาของตึก
40. คณะสถาปัตย์ มีธรรมเนียมที่ว่า ห้ามนิสิตคณะเดินเหยียบ " สถ " บนพื้นถนน
41. คณะครุศาสตร์ ห้ามนิสิตชั้นปีที่ 1 เดินบันไดกลาง เพราะว่ากันว่าจะเรียนไม่จบ
42. คณะวิศวกรรมศาสตร์ ห้ามนิสิตชั้นปีที่ 1 ใช้ลิฟท์ตรงติดกับห้องทะเบียน ให้เดินขึ้นบันไดเท่านั้น
43. ปราสาทแดง หรือ ตึกแฝด ที่สร้างเลียนแบบให้เหมือนกัน ( สร้างตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจุฬาฯ เชียวนะ ) ถึงแม้จะเป็นแฝด แต่ก็มีอะไรที่แตกต่างกันคือ ปูนที่อยู่ที่อิฐแต่ละก้อน ตึก 1 จะแบบเว้าเข้า ตึก 2 จะนูนออก ของเจ๋ง ๆ แบบนี้ไปชมได้ที่คณะหนุ่มหล่อ พ่อรวย แถมฉลาดเป็นกรด --- > วิศวะเท่านั้น
44. อย่าถ่ายรูปคู่กับพญานาคตรงหัวบันไดที่คณะอักษร ( ยกเว้นพี่บัณฑิต ) และอย่าขึ้นไปบนสี่เสาเทวาลัยเชียว เพราะมีเรื่องเล่าว่าจะทำให้เรียนไม่จบ
45. คณะสหเวช ตกบันไดคณะแล้วจะโชคดี แต่มันตกง่ายมากอ่ะ
46. วิดยา ตอนสอบฟิ หรือแคว ให้เอาขนมปังไปเลี้ยงปลาหน้าตึกฟิ แล้วจะดี และจะมีคนเลี้ยงข้าวด้วย
47. วิดวะ ถ้าตั้งใจมองบ่อเห็นเต่าในบ่อได้ a เห็นตะพาบในบ่อได้ f เห็นกี่ตัวได้เท่านั้นตัว
48. เหมือนจะเคยอ่านเจอในหนังสือเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรกของสมเด็จพระปิยมหาราช ( Premier voyage en Europe ) ว่าท่านเคยเสด็จฯ ประเทศฝรั่งเศส ทางการของเขาเลยให้เกียรติท่านโดยการใช้ชื่อ " Chulalongkorn " เป็นชื่อถนนหนึ่งในกรุงปารีส ( จริง ๆ ถนนนั้นมีชื่ออื่นมาก่อน แล้วค่อยมาเปลี่ยนเป็นชื่อ " Chulalongkorn " ภายหลังจากที่ท่านเสด็จฯ
49. วันที่ 23 ต.ค. ของทุกปี นิสิต-คณาจารย์-บุคลากรจุฬาฯ จะไปทำพิธีเคารพสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พระบรมรูปทรงม้า ( เหมือนอยู่ในรั้วในวังกลายๆ เลย ศักดิ์สิทธิ์มาก ๆ และทั้งสามพิธีการนี้ จะออกข่าวทางสื่อโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ทุกปี)
50. เมื่อถึงวันงานประเพณีต้อนรับน้องใหม่ทุก ๆ ปี นิสิตรุ่นพี่จะนำใบหรือกิ่งจามจุรีเล็ก ๆ มาผูกริบบิ้นสีชมพูคล้องคอให้นิสิตใหม่ เพื่อเป็นการต้อนรับเข้าสู่จุฬาฯ อาณาจักรแห่งจามจุรีสีชมพู
51. การรับน้องใหม่ของจุฬาฯ ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในปลายเดือนพฤษภาคม น้องใหม่ทั้งหลายจะได้รับการคัดสรรเข้าบ้าน ซึ่งชื่อบ้านรับน้อง ก็จะมีหลากหลาย แต่กว่าครึ่งจะแปลได้สองแง่สองง่าม
52. เรื่องรับน้องก้าวใหม่ยังไม่จบ กิจกรรมที่ทำกันก็จะเน้นการเต้น กิน เต้น และก็เต้น เพลงฮิตในการสันทนาการที่เด็กจุฬาฯ เต้นเป็นกันทุกคนคือ เพลง " หอยจี้ลี่ "
53. ประเพณีการโต้วาทีน้องใหม่ของชมรมวาทศิลป์ เรียกสั้น ๆ ว่า " โต้ชี่ " = โต้วาทีของเฟรชชี่ อาจารย์แม่มาเป็นกรรมการการโต้วาทีของน้องใหม่ของจุฬาฯ ติดกันมา 25 ปีแล้ว
54. คำว่า " SOTUS " มีมานานประมาณปี 2462 โดยนิสิตจุฬาฯ รุ่นนั้นสรรหาคำที่มีความหมายลึกซึ้ง มาประกอบกันเป็นคำว่า SOTUS
55. เน็คไทด์ของวิศวะนั้น เป็นธรรมเนียมที่น้องปี 1 จะได้รับต่อๆ มาจากพี่ปี 2 ใช้ตกทอดไปเป็นรุ่น ๆ ไปเรื่อย ๆ
56. นิสิตหญิงคณะนิเทศศาสตร์ใส่กระโปรงพลีตสีดำตลอดปี 1 แต่นิสิตหญิงคณะครุศาสตร์ใส่พลีตสีกรมท่าตลอดปี 1 ส่วนนิสิตชายคณะวิศวะและครุศาสตร์ ให้ใส่กางเกงสีกรมท่า ( แต่ถ้าปีอื่น ๆ ใส่สีดำก็ไม่ว่ากัน )
57. โทษทัณฑ์ที่หนักที่สุดในคณะรัฐศาสตร์สมัยก่อนที่รุ่นพี่ใช้ลงโทษน้องคือ " การโยนนํ้า " ซึ่งบรรยากาศของคณะในสมัยก่อนก็เอื้ออำนวย โดยบริเวณหน้าคณะฝั่งอังรีดูนังต์ จะมีคลองอรชรและมีสะพานข้ามมีชื่อว่า สะพานวรพัฒน์พิบูลย์ นอกจากนี้หน้าตึก 3 ยังมีบ่อนํ้าขนาดใหญ่ของสภากาชาด และเมื่อน้อง ๆ กระทำความผิดกฎที่รุ่นพี่บัญญัติไว้ เช่น ขึ้นบันไดหน้าตึก1 นั่งรับประทานอาหารที่โต๊ะ senior ในโรงอาหาร ก็จะถูกชำระโทษโดยการจับโยนลงนํ้า ซึ่งปัจจุบันทั้ง 2 แห่งถูกถมเพื่อสร้างตึก การโยนนํ้าจึงสิ้นสุดไปโดยปริยาย
58. สถานีรถไฟใต้ดินที่สามย่าน เขียนว่า " สิ่งปลูกสร้างนี้ตั้งอยู่บนพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย "
59. การเดินจากฝั่งคณะวิทยาศาสตร์ไปฝั่งคณะนิเทศฯ ไปง่ายๆโดยไม่ต้องขึ้นสะพานลอย เพราะจุฬาฯ หรูกว่านั้น คือ มีอุโมงค์เชื่อมสองฟากถนนด้วย
60. รู้ไหมว่าในจุฬาฯ ( ฝั่งในเมือง ) ถนนมีชื่อ NickName อยู่สองสาย คือ Art Street = ตั้งแต่คณะสถาปัตย์มาศิลปกรรมจนถึงอักษรฯ ( เกี่ยวกับศิลป์ ) ส่วนอีกถนนหนึ่งก็คือ Hi-So Street = ตั้งแต่รัฐศาสตร์ไปถึงเศรษฐศาสตร์ไปสุดที่คณะบัญชีไง ส่วนสามแยกปากห-ม-า ก็ต้องที่วิศวะเท่านั้น !!!!!
61. โรงอาหารที่ขึ้นชื่อในความอร่อย คงเป็นโรงอาหารคณะรัฐศาสตร์ มีเมนูหลักจากร้านก๋วยเตี๋ยวอดทน ด้านโรงอาหารคณะอักษรฯ ไม่แพ้กัน งัดเมนูเด็ดๆ ... ทั้งนั้น คณะวิศวะ มีความหลากหลายในอาหาร หนุ่มๆ หล่อเพียบ โรงอาหารบัญชี & เศรษฐศาสตร์ อยู่ที่ตึกใหม่ สีขาว โปร่งโล่งสบาย ลมเย็นมาก ๆ ด้วย แต่พอฝนตกทีก็ ... โรงอาหารคณะทันตะ แหล่งรวมอาหารอร่อยๆ มากมายเช่นกัน ฝั่งครุฯ ก็มีเครื่องดื่มขึ้นชื่อ คือ โอริโอ้ปั่นใส่วีปครีม ( ข้าวเหนียวไก่ย่าง อักษรฯ น้ำปั่น ครุฯ ไอติม บัญชี )
62. กว่าร้อยละ 60 ของนิสิตจุฬาฯ ต้องเคยกินเวเฟอร์ ที่สหกรณ์จุฬาฯ ศาลาพระเกี้ยว ... เพราะกลิ่นที่ชวนไปลิ้มลองแน่ๆ เลย
63. หนุ่มที่สาวคณะต่างๆ หมายปองมักจะอยู่ฝั่งในเมือง เช่น สถาปัตย์ วิดวะ หรือ แม้กระทั่งหนุ่มๆ สิงห์ดำ ( รัฐศาสต ร์) สาวๆ ก็ไม่แพ้กัน สาวสวยที่ขึ้นชื่อในจุฬาฯ ก็ต้องยกให้อักษรฯ รัดสาด บัญชี ... ทั้ง สวย รวย เก่ง ... อืม ! 64. มีเรื่องเล่าขานว่า ถ้าผู้หญิงคนไหนเดินสะดุดลานเกียร์ จะได้แฟนเป็นเด็กวิศวะ ( ต้องรีบไปซะแล้ว ! ! )
65. สถานที่ที่เหมาะแก่การไปนั่งสวีทกัน คือ หอกลาง ( อาคารมหาธีรราชานุสรณ์ : หอสมุดกลาง ) ด้วยวิวที่ดูเป็นเมืองนอกมาก มีวิวตึกหอพักหญิงสีน้ำตาล ยิ่งดูยิ่งโรแมนติก
66. เด็ก self จัดในจุฬาฯ ต้องยกให้ นิเทศฯ ศิลปกรรมฯ ( สินกำ ) ... แรงมากๆ ... ขอบอก สาวสวย - อักษรฯ บัญชี สาวหรู ไฮโซ - รัดสาด สาวเปรี้ยว - นิเทศ สาวแรง - สินกำ สาวห้าว - วิดวะ สาวดุ - ครุ สาวเคร่ง - นิติ
67. คนภายนอกชอบมองว่าเด็กจุฬาฯ เป็นพวกเหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ แต่จริงๆ ควรมองเด็กจุฬาฯ จากภายใน และความสามารถมากกว่า
68. คู่รักคู่แค้นของเด็กจุฬาฯ คือ เด็กธรรมศาสตร์ งานบอลแต่ละครั้ง ต้องประชันกันให้เหนือกว่ากัน ซึ่งค่าใช้จ่ายจากงานบอล แต่ละครั้ง สามารถซื้อบ้านหรูๆ ได้มากกว่า 3 หลัง
69. เพลงที่จุฬาฯ กับธรรมศาสตร์มีเหมือนกัน คือ " เดินจุฬาฯ - เดินมธ. " ( แต่เนื้อเพลงไม่เหมือนกัน ชื่อเพลงเหมือนกัน ) เพลง เดินจุฬาฯ เป็นเพลงปลุกใจให้ฮึกเหิม ในการต่อสู้ที่ดีที่สุด เอ้า .... เดิน เดิน เถอะรา นิสิต มหาจุฬาลงกรณ์
70. มีเพลงหนึ่งที่บอกเล่าการใช้ชีวิตในจุฬาฯ คือ เพลงจามจุรีศรีจุฬาฯ ... ตอนช่วงสุดท้ายของเพลงถือเสมือนการเตือนเรื่องการเรียนที่ฟังแล้วซึ้งจริงๆ
71. เพลงท่อนที่บอกความเป็นจุฬาฯ ได้ดีที่สุด คือ - นํ้าใจน้องพี่สีชมพู ทุกคนไม่รู้ลืมบูชา พระคุณของแหล่งเรียนมา จุฬาลงกรณ์ - พระนามจุฬาฯ สูงส่ง ยืนยง ตราบชั่วดินฟ้าเอย - ณ อุทยานนี้งามด้วยจามจุรี ... เขียวขจี แผ่ปกพสกจุฬาฯ - สีชมพู เชิดชูไว้คู่แดนไทย แสนยิ่งใหญ่ และเกรียงไกรในวิทยา - ชโย ชโย จุฬาฯ สถานศึกษาสง่าพระนาม
72. เพลงท่อนที่บอกความเป็นนิสิตจุฬาฯ ได้ดีอีกเหมือนกัน คือ - นิสิตพร้อมหน้า สัญญา...ประคอง ความดีทุกอย่างต่างปอง - น้องจุฬาฯ พี่จุฬาฯ พร้อมกันมารื่นฤดี รักเราพูนเพิ่มทวีนิจนิรันดร์ - หมายเอาจามจุรี เป็นเกียรติเป็นศรี ของชาวจุฬาฯ 73. หลายคณะ ไปไหว้พระบรมรูป 2 รัชกาลตอนวันเริ่มสัปดาห์สอบ ถ้าเป็นวันอังคารเอากุหลาบชมพูไปถวาย วันอื่นธูป 9 ดอก “ ขอพรได้แต่ห้ามบน ”
74. บูม Baka เป็นบูมที่ไม่เคยมีใครให้เหตุผลได้ว่า ทำไมต้อง baka ทำไมต้อง bow bow ....
75. Boom ของจุฬาฯ มี Boom 2 แบบด้วยกันคือ 1. Boom Ba La Ka...Bow Bow Bow…Chik Ka La Ka ...Chow Chow Chow…Boom Ba La Ka Bow…Chik Ka La Ka Chow…Who are we ?...CHULALONGKORN…Can you see Laaa…..
2. Baka..Bowbow..Cheerka..Chowchow..Babow..Cheerchow..Who are we ?.. CHULALONGKORN..Can you see Laaa… * แบบที่ 2 จะเป็นที่นิยมมากกว่า แบบที่ 1 จะมาจากเพลง C.U. Polka
76. ที่คณะบัญชี มีการ Boom ดำ / Boom กลางสนามด้วย ( แปลก ๆ ดี )
77. Boom ของคณะวิศวะนั้นที่เกือบจะเป็นแฝดกับBoom ของจุฬาฯเลย ตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่า เป็นเพราะเมื่อนานมากหลายสิบปีที่แล้วมีนิสิตชายวิศวะคิด Boom Baka ได้ เลยเอามาใช้กับวิศวะ ( Who are we? - Intania ) แต่เขาเป็นแฟนกับนิสิตหญิงที่เป็นประธานเชียร์ของจุฬาฯ เลยเอา Boom Baka มาใช้ของจุฬาฯ ( Who are we? - Chulalongkorn ) < - - - ฟังต่อ ๆ มา ไม่รู้ว่าถูกผิดยังไงนะ
78. คณะรัฐศาสตร์หรือชาวสิงห์ดำ เป็นคณะเดียวในจุฬาฯ ที่ไม่ใช้ คำว่า "Boom" แต่พวกเขาใช้คำว่า "ประกาศนาม" แทน >>> นี่....นัก..รัฐศาสตร์
79. ที่จุฬาฯ สามารถใช้พาหนะได้หลายอย่าง และสะดวก คือ BTS, MRT, รถป็อป, รถยนต์, เฮลิคอปเตอร์ ( สภากาชาด )< - - - แต่อันนี้คงไม่สะดวกมั้ง และเรือ ( ที่สะพานหัวช้าง )
80. เมษายน 2548 นิตยสารไทม์ได้เสนอผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก 100 แห่งคือ จุฬาฯ อยู่ในอันดับที่ 60 ด้านการแพทย์ และวิทยาศาสตร์การแพทย์ อยู่ในอันดับที่ 46 และ 50 ในสายสังคมศาสตร์ ( รัฐศาสตร์, นิติศาสตร์, เศรษฐศาสตร์, อักษรศาสตร์ ) และมนุษยศาสตร์ ( คณะอักษรศาสตร์ และครุศาสตร์ ) 81. จุฬาฯ มีทุนเล่าเรียนฟรี แบบไม่ต้องใช้ทุนคืนด้วยนะ เพราะจุฬาฯ พยายามที่จะไม่ให้นิสิตไม่ได้เล่าเรียน เนื่องจากปัญหาทางทุนทรัพย์ และยังมีทุนอาหารกลางวันฟรีให้นิสิตได้ทานฟรี ๆ ด้วย ... แบบนี้ล่ะ สมกับเป็นสถาบันชั้นนำ ร่วมรับผิดชอบต่อสังคม
82. แทบจะไม่มีนิสิตจุฬาฯ คนใดที่จำเลขประจำตัวนิสิตไม่ได้ และการลืมบัตรประจำตัวนิสิตในวันหนึ่ง ๆ เหมือนกับว่าเราแทบจะหมดสิทธิ์ทำอะไรหลาย ๆ อย่างไปเลย แอบเห็นเด็กจุฬาฯ หลายคนแล้วนะ ที่พอจะเข้า BTS, MRT แต่สอดบัตรผิด ใช้บัตรนิสิตสอดเข้าไป ต่อไปคงต้องขอทางกรมขนส่งให้เด็กจุฬาฯ ใช้บัตรนิสิตแทนบัตรรถไฟฟ้าแล้วล่ะมั้ง ! ! !
83. บุตรของนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร กำลังศึกษาอยู่ที่จุฬาฯ คือ แพทองธาร เรียนอยู่คณะรัฐศาสตร์ ภาคสังคมฯ
84. จุฬาฯ มีสถานีวิทยุของจุฬาฯ เป็นของตัวเองที่ คลื่น 101.5 FM 85. ศูนย์หนังสือ จุฬาฯ ยังได้มีการร่วมกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ จัดตั้งศูนย์หนังสือขึ้นมาร่วมกันด้วย ทั้งในต่างจังหวัด และกรุงเทพฯ
86. อักษร "ฬ" ที่ใช้เรียกสั้น ๆ แทนจุฬาฯ นั้น ยังเป็นตัวอักษรลำดับที่ 42 ใน 44 ตัวอักษรไทยด้วย สื่อมวลชน และคนทั่วไปชอบใช้คำว่า " รั้วจามจุรี - พี่พระเกี้ยว - ลูกพระเกี้ยว - รั้วสีชมพู " แทนจุฬาฯ
87. เขาว่ากันว่า ถ้าคู่รักมาลอยกระทงที่จุฬาฯ แล้วจะมีอันเลิกรากัน ( จึงนิยมไปลอยที่โรงเรียนเตรียมฯ แทน ) แต่ถ้าเป็นเพื่อนกันมาลอยด้วยกันก็จะเป็นแฟนกัน
88. จุฬาฯ ทำดินสอไม้ยี่ห้อ จุฬาฯ เองแล้วนะ นอกจากนี้ยังมีกระเป๋าหลายรูปแบบหลายสี สมุด เสื้อ หมวก ร่ม ผ้าขนหนู กรอบรูป แฟ้ม นํ้าดื่ม ที่ทับกระดาษ ฯลฯ ที่เป็นตราจุฬาฯ
89.“ จีฉ่อย ” มีทุกสิ่งในโลก หุหุ อยากได้ไร มาร้านนี้
90. ร้านสเต็กสามย่านที่ใช้โต๊ะเหล็ก เขียนตัวนูนบนโต๊ะว่า " จุฬาฯ "
91. บัตรจอดรถสยามสแควร์ มีตราองค์พระเกี้ยวอยู่บนบัตรด้วย แสดงถึงความเป็นเจ้าของที่ดิน
92. คะแนนอังกฤษ FE ในจุฬาฯ คณะที่คะแนนสูงสุด 3 อันดับแรก ( โดยส่วนมาก ) คือ 1. แพทย์ 2. วิศวะ 3. อักษร
93. โรงเรียนเตรียมอุดมฯ แต่ก่อนผู้ที่จะเข้าจุฬาฯ ต้องมาศึกษา ณ ที่นี่ แต่ก่อนชื่อว่า โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงเรียนเตรียมฯ ยังใช้ตราสัญลักษณ์พระเกี้ยว ( น้อย ) - ต้นจามจุรี - สีชมพู - การบูม Baka เป็นสัญลักษณ์ของสถาบันเหมือนกับชาวจุฬาฯ อีกด้วย
94. ฯพณฯ ศ. ม.ล.ปิ่น มาลากุล เคยแต่งบทกลอนเอาไว้ เรียกจุฬาฯเป็น " แม่ " ส่วนเตรียมอุดมศึกษาเป็น " ลูก " ( เนื้อหากลอนนี้ประมาณว่า ตอนที่เตรียมฯ จะถูกตัดสร้อยชื่อ " แห่งจุฬาฯ " ออก ท่านก็ได้แต่งกลอนเพื่อเป็นการระลึกถึงว่ามีความผูกพันกันแค่ไหน ถึงขนาดว่าจบม.ปลายที่นี่แล้ว มีการเดินแถวเข้าจุฬาฯ ได้ทันทีเลย เมื่อก่อนเด็กเตรียมฯ ก็มาทำพิธีประดับพระเกี้ยวน้อยที่หอประชุมจุฬาฯ ด้วย ส่วนสาเหตุที่เตรียมฯ ถูกตัดสร้อยชื่อออกเพราะประชาชนตอนนั้นก็มีเสียงพูดกันว่า
๑. ทำไมจึงให้โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ผูกขาดการเข้าจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยเพียงโรงเรียนเดียว ๒. ขอให้โรงเรียนอื่น ๆ เปิดชั้นเตรียมอุดมศึกษาด้วย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๘ ก็เคยสอนมาแล้ว ถ้าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยสอนดี นักเรียนเตรียม ฯ ก็คงจะเข้ามหาวิทยาลัยได้หมดตามเดิม ไม่เดือดร้อนอะไร ๓. อยากให้นักเรียนที่จบมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ได้เรียนต่อ จะได้มีความรู้สูงขึ้น มากกว่าที่จะมุ่งเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัย
ดังนั้น โรงเรียนเตรียม ฯ จึงได้โอนไปสังกัดกรมสามัญ และได้ตัดสร้อยชื่อ " แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย " ออก เหลือเพียงแต่ " โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา " เฉย ๆ ) <--- เหมือนโรงเรียนเตรียมฯ ถูกอิจฉายังไงไม่รู้อ่ะนะ ยังไงเด็กที่นี่ก็เก่งอ่ะ
95. คะแนนในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย จุฬาฯ มีคะแนนนำมาตลอดทุกคณะ / สาขาวิชา ... และที่นี่เปรียบเสมือนที่รวมหัวกะทิของประเทศ เด็กมัธยมทั่วประเทศ ... กว่าร้อยละ 70 ของเด็กมัธยม กำลังกวดวิชาเพื่อความหวังในการเข้าศึกษาในสถาบันแห่งนี้ ... แต่การเรียนในจุฬาฯ หนักยิ่งกว่าการเอ็นทรานซ์เท่าตัว
96. ในปีการศึกษา 2548 ไม่เคยมีคะแนนตํ่าสุดที่สูงมากเป็นประวัติศาสตร์ขนาดนี้ คือ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ เอกภาษาญี่ปุ่น มีคะแนนตํ่าสุดที่สูงที่สุดในประเทศในการสอบ 4 วิชาแบบสายศิลป์ ( ไทย , eng , สังคม , ภาษาต่างประเทศที่ 2 หรือ เลข 2 ) คือ 351คะแนน จาก 444.44 และรองลงมาคือ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ภาค IR คือ 330 คะแนน จาก 444.44 คะแนน
97. ภาพยนตร์เรื่อง " มหา'ลัย เหมืองแร่ " เกี่ยวข้อง และเกิดขึ้นกับอดีตนิสิตวิศวะ จุฬาฯ โดยตรงในปีพ.ศ. 2492 พร้อมประโยคหนึ่งที่มาพร้อมกับเรื่องนี้ " เลือดสีชมพูไม่มีวันจาง แต่สีชมพูจะจางด้วยนํ้าลาย " / "จุฬาฯ ไม่ต้องการผม "
98. จุฬาฯ เป็นมหาวิทยาลัยเดียวในประเทศไทยที่เวลามีเสด็จฯ ต้องมีการตั้งซองรับเสด็จ นิสิตหญิง-ชาย นั่งพับเพียบกับพื้นถนน และก้มกราบบนพื้นเวลามีรถยนต์พระที่นั่งผ่าน และสาเหตุของการตั้งซองรับเสด็จฯ เกิดจาก <<" เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันศุกร์ ที่ 20 กันยายน 2506 ณ 15.00น. ยังจารึกอยู่ในความทรงจำผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือทราบเรื่องราวโดยตลอด โดยเฉพาะคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขณะที่รถยนต์พระที่นั่ง แล่นออกจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน จะเลี้ยวซ้ายไปตามถนนพระราม 5 มีนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์กลุ่มหนึ่งเรียงรายรอเฝ้ารับเสด็จอยู่ ได้คุกเข่าลงและเข้าหมอบแทบประตูพระที่นั่ง ซึ่งทำให้จำต้องหยุดรถชั่วขณะ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัส ถามถึงความประสงค์ที่มารอดักหน้ารถพระที่นั่งครั้งนี้ว่า มีความประสงค์อย่างไร นิสิตซึ่งเป็นหัวหน้ากลุ่มได้กราบบังคมทูลโดยย่อ แล้วนำฎีกาขึ้นทูลถวาย เมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับฎีกาแล้ว ทรงมีพระราชดำรัสแก่นิสิตเหล่านั้นเล็กน้อย แล้วรถยนต์พระที่นั่งก็เคลื่อนที่ต่อไปยังจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทโดยใกล้ชิด ดั่งเช่นทุกปีมา ฎีกาที่กลุ่มนิสิตทูลเกล้าฯ นั้น ได้ขอพระราชทานอภัยโทษ อันสืบเนื่องมาจากสาเหตุเกิดการพิพาทกันระหว่างนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ 9 คน กับรองอธิการบดีฝ่ายปกครอง ซึ่งโดยสาเหตุอันแท้จริงนั้น ไม่อาจสืบทราบได้ถ่องแท้ เพียงแต่ทราบว่านิสิตวิศวะ2 คน ถูกคัดชื่อออกจากทะเบียนมหาวิทยาลัย นอกนั้นมีความผิดหนักเบาลดหลั่นกันลงไป โดยได้รับโทษให้พักการเรียนมีกำหนด และเพิกถอนสิทธิในการสอบไล่ ซึ่งปรากฏว่าภายหลังที่ทางมหาวิทยาลัยได้ออกคำสั่งลงโทษดังกล่าวแล้ว ก็ได้มีการอุทธรณ์ การประท้วง และการวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง ซึ่งมีทีท่าว่าไม่อาจจะยุติลงได้ ครั้นถึงเวลาดังกล่าวข้างต้น ด้วยพระบารมีและพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม เหตุการณ์อันทำท่าจะรุนแรง และลุกลามไปใหญ่โต ได้กลับคืนสู่สภาพปกติ เมื่อนิสิตทั้ง 9 คนได้ถวายฎีกาแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำรัสทรงตักเตือนนิสิตว่า “ ในการที่จะถวายฎีกานั้น จะต้องมีความนึกผิดจริงๆ ทางใจด้วย ต้องยอมรับว่ากระทำไปแล้วเป็นความผิดจริง จึงจะให้อภัยกัน มิใช่เป็นการถวายฎีกาแต่เพียงโดยลายลักษณ์อักษร ” เมื่อรถยนต์พระที่นั่งแล่นคล้อยไป นิสิตทั้ง 9 คนก็แยกย้ายกันกลับ ไม่ตามเสด็จไปทางมหาวิทยาลัย เนื่องจากอยู่ในระหว่างลงโทษ ... ทรงมีพระราชดำรัสให้ที่ประชุมทราบถึงกรณีที่เกิดขึ้นหน้าตำหนักจิตรลดารโหฐาน เกี่ยวกับนิสิตทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา พร้อมทั้งนำฎีกาออกไปให้ที่ประชุมดู รวมทั้งคำสั่งของมหาวิทยาลัย “ ฎีกานี้นิสิตทั้งหลายที่ถูกทำโทษ เขียนมารับว่าทำผิดจริง การรับว่าทำผิดนี้แสดงว่าเขารู้ตัวว่าทำผิด คนเราทำผิดครั้งเดียวนับว่าเก่ง นิสิตพวกนี้ไม่เคยบอกว่าทำผิดมาก่อน การที่เขาทำผิด และฎีกาบอกมาวันนี้ จึงอยากจะให้อธิการบดี และคณะอาจารย์อภัยเขาเสีย เนื่องในงานวันนี้ ” ... ภายหลังที่กระแสพระราชดำรัสให้อภัยโทษแก่นิสิตจบลง บรรดานิสิตที่มีจำนวนล้นหอประชุมและคณาจารย์ ได้พากันปรบมืออยู่เป็นเวลานาน รวมทั้งอธิการบดีด้วย บรรยากาศภายใน และภายนอกห้องประชุมมีแต่ความสดชื่น ร่าเริง เป็นที่น่าเสียดายที่ผู้ได้รับพระราชทานอภัยโทษไม่มีโอกาสได้รู้เห็น ซึ่งคงจะก่อให้เกิดความปิติปราโมทย์ ยิ่งกว่าจะได้ยินคำบอกเล่าจากเพื่อนฝูง ">> 99. สมัยก่อน รู้หรือไม่ว่า นิสิตชายคณะรัฐศาสตร์ และวิศวะไม่ถูกกัน ถึงขนาดยกพวกตีกันในวันไหว้ครูในปี พ.ศ. 2504 รัฐศาสตร์เสียเปรียบตรงกำลังคนน้อยกว่า 4 ต่อ 1 จนร้อนไปถึงจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกฯ ในสมัยนั้นต้องออกมาไกล่เกลี่ยด้วยตัวเอง มีคนว่ากันว่า “ วิศวะชนะด้านยุทธวิธี แต่รัฐศาสตร์ชนะด้านยุทธศาสตร์ ”
100. เกียรติประวัติของจุฬาฯ ริเริ่ม สร้างสรรค์ และได้รับการยอมรับนับถือคือ - วันที่ 24 เม.ย. 2472 จุฬาฯ ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลไทยให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติ เกี่ยวกับสมุทรศาสตร์ที่ศาลาวิทยาศาสตร์ ตึกขาว คณะวิทยาศาสตร์ นับเป็นครั้งแรกที่มีการประชุมระดับโลกจัดที่เอเชีย - พฤษภาคม 2470 จุฬาฯ รับนิสิตหญิงจำนวน 7 คน เข้าเรียนสาขาแพทยศาสตร์ ( เตรียมแพทยศาสตร์-ผู้เขียน ) ในคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ " นับเป็นครั้งแรกของเมืองไทยที่จัดสหศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา "
- พ.ศ. 2492 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้พระราชพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานเพลง " มหาจุฬาลงกรณ์ " เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัย นับเป็นสถาบันอุดมศึกษาแรกที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณเช่นนี้ และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายเทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล ดัดแปลงเพลงมหาจุฬาลงกรณ์เป็นเพลงโหมโรง " จุฬาลงกรณ์ " ขึ้น เพื่อให้นิสิตใช้บรรเลงในการแสดงดนตรีไทย นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณพิเศษ ซึ่งได้พระราชทานเพลงประจำมหาวิทยาลัยรวม 2 เพลงซึ่งเป็นเพลงมหาจุฬาลงกรณ์ ทำนองสากล และเพลงโหมโรงมหาจุฬาลงกรณ์ - พ.ศ. 2494 รัฐบาลได้มอบให้จุฬาฯ เป็นเจ้าภาพการจัดประชุม UNESCO ขึ้นที่ตึกอักษรศาสตร์ 1 หรือเทวาลัย หรืออาคารมหาจุฬาลงกรณ์ในปัจจุบัน นับเป็นครั้งแรกในเมืองไทยที่มีการจัดประชุม UNESCO - 14 ก.พ. 2529 จุฬาฯ ได้จัดตั้งสำนักบริหารวิชาการขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางของการเผยแพร่ผลงานวิจัย และการประดิษฐ์ผลงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของคณาจารย์และนิสิต เพื่อให้โรงงานอุตสาหกรรม หรือหน่วยงานภาคเอกชนนำไปใช้เชิงอุตสาหกรรม และเชิงพาณิชย์ เป็นสถาบันแรกของไทยที่จัดบริการดังกล่าวได้ - 27 มี.ค. 2529 จุฬาฯ ได้จัดตั้งโครงการพิเศษ หรือรับนักเรียนผู้มีความสามารถดีเด่นทางกีฬาเข้าศึกษาในจุฬาฯ เป็นสถาบันอุดมศึกษาแรกที่จัดบริการขยายโอกาสทางการศึกษาแก่ผู้มีความสามารถพิเศษ
- 28 ก.ย. 2529 คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ประสบความสำเร็จในการฝังตัวอ่อนในวัวนม และสุกร เป็นครั้งแรกของการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านการพัฒนาปศุสัตว์ในเอเชียอาคเนย์ - 2 ส.ค. 2530 จุฬาฯ จัดตั้งสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของคณาจารย์และนิสิตผู้ประดิษฐ์ผลงานค้นคว้าวิจัย นับเป็นสถาบันแรกที่คุ้มครองสิทธิประโยชน์ของการประดิษฐ์คิดค้นผลงานอันเป็นสิทธิบัตรของชาวจุฬาฯ ได้ - 21 ธ.ค. 2530 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจเป็นครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์
- ธันวาคม 2531 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดเปลี่ยนตับเป็นครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ - 29 ก.ค. 2534 คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ จัดตั้งพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีถ่ายภาพและการพิมพ์เป็นแห่งแรกของเอเชีย
- 1 ต.ค. 2542 จุฬาฯ ได้จัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติขึ้นที่คณะวิทยาศาสตร์เป็นแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย - พ.ศ. 2543 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ประสบความสำเร็จในการช่วยให้เกิดการปฏิสนธิของเด็กนอกครรภ์มารดาเป็นครั้งแรกในประเทศไทย - คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เป็นแห่งแรกที่ผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ปอด ตับ และทดลองเด็กหลอดแก้วได้สำเร็จเป็นแห่งแรกของเอเชีย - 20 ต.ค. 2543 มูลนิธิสนทนาธรรมนำสุขของท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค ในพระสังฆราชูปถัมภ์ มอบพระไตรปิฎกจำนวนมากให้จุฬาฯ จัดตั้ง " คลังพระไตรปิฎกนานาชาติ " - - พ.ศ. 2548 นิสิตแพทย์ จุฬาฯ พิชิตรางวัลชนะเลิศการแข่งขันโครงการวิจัยของนิสิตนักศึกษาแพทย์ในเอเชีย จากการศึกษาตรวจหาเชื้อไวรัสไข้เลือดออกในยุงลาย ในฤดูแล้ง ก่อนที่โรคไข้เลือดออกจะระบาด - กรกฎาคม 2548 สถาบันวิจัยวัสดุและโลหะแห่งจุฬาฯ เสนอเสื้อนาโนดับกลิ่นกายได้ตัวแรกของไทย อ่านจบแล้วได้กี่คะแนนกันบ้างจ๊ะ พี่ น้อง
|
|
|
|
|
Jiab16
|
|
« ตอบ #392 เมื่อ: 30 สิงหาคม 2552, 13:33:34 » |
|
ความฝัน กับ งู : ความฝันที่บอกล่วงหน้าว่าคุณจะพบคู่ฟังหูไว้หู - ดูตาไว้ตา - อ่านเล่นสนุกๆ นะพี่น้อง
คนมากมายคิดว่าการนอนหลับเป็นเรื่องเสียเวลา และความฝันก็เป็นแค่เรื่องเล็กๆ แต่ผู้ศึกษาวิชา dream analysis รู้ว่ามีกลไกทางจิตวิทยาที่ผลักดันชีวิตคนเรา และมนุษยชาติถูกร้อยรัดเข้าด้วยกันกับ universal intelligence หรือภูมิปัญญาจักรวาล ส่วน 'เสียงภายใน' ที่มนุษย์รู้สึก เรียกว่า inner intelligence หรือภูมิปัญญาภายใน สองภูมิปัญญานี้สื่อสารสู่กันผ่านทางความฝัน ความผันจึงเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสะสางแก้ไขปัญหาชีวิตและช่วยพาเราไปสู่ self-growth การเติบโตของตัวเราเอง ตลอดเวลาที่ฉันใช้หลักวิชาวิเคราะห์ความฝันในการช่วยคนรอบข้างตีความ message จากฝัน เพื่อช่วยพวกเขาคลี่คลายปมปัญหา และนำทางชีวิตนั้น คำถามยอดอมตะที่ฉันโดนถามอยู่เสมอคือ " ฝันแบบไหนถึงจะรู้ว่าเรากำลังจะเจอความรัก " และ " ฝันถึงงู เราจะเจอเนื้อคู่หรือเปล่า ? " คุณอย่ากลัวว่าจะเป็นคำถามปัญญาอ่อนเลยนะคะ ขอบอกเลยว่าในคลังวิชาการวิเคราะห์ความฝัน ทั้งแบบเก่าแก่โบราณ ( Traditional dream analysis ) ที่เน้น ' ทำนายดวง ( fortune-telling ) ' กับแบบความฝันยุคใหม่ ( Modern dream analysis ) ของ 2 อภิปรมาจารย์ทางวิชาความฝัน คือ ท่านซิกมุนด์ ฟรอยด์ ที่เน้นกลไกทางจิตวิทยา ( Psychological meanings ) และคาร์ล จัง ที่เน้นการแก้ไขความรู้เชิงจิตวิญญาณ ( Spiritual meanings ) ต่างมีการบันทึกความฝันที่เป็นสารบอกเหตุล่วงหน้าเกี่ยวกับคู่ในอนาคตทั้งนั้นค่ะ ก็เพราะเรื่องความรัก และเนื้อคู่นี่เป็นเรื่องยอดฮิตที่คนเกือบทั้งโลกอยากรู้นะสิคะ แล้วเราจะละเลยได้อย่างไรเล่า
ความฝันที่บอกว่าคุณจะได้พบคู่หรือกำลังจะเจอความรัก
1. ฝันถึงงู ( งูรัด ถ้างูกัดต้องเป็นงูใหญ่เท่านั้น ) 2. ฝันถึงเครื่องประดับสวยงาม โดยเฉพาะอย่างแหวน 3. ฝันถึงน้ำหอม 4. ฝันถึงดอกไม้ 5. ฝันถึงฝนตก
* ฝันถึงงู *
' งู' ในหลายๆ วัฒนธรรมหมายถึง กามารมณ์ ' ซิกมุนด์ ฟรอยด์ ' ให้ความหมายว่าเป็นอวัยวะเพศชาย บางวัฒนธรรมหมายถึงปัญญาแบบเซียนหรือหมายถึงเทพเจ้า แต่พี่ไทยบ้านเราฟันธงมาตลอดว่าฝันถึงงูรัดจะเจอเนื้อคู่แน่นอน และฉันขอคอนเฟิร์มว่าจริง ! แต่การฝันถึงงูที่เป็นการบอกเหตุล่วงหน้าว่าคุณจะเจอคู่แน่นอนนั้น ต้องมีลักษณะเฉพาะตรงตามนี้ค่ะ
1. ต้องเป็นงูรัด หรืองูไล่เพื่อจะมารัดเท่านั้น ถ้างูนอนอยู่เฉยๆ นิ่งๆ โดยเฉพาะนอนในบ้านคุณ หรือกลางป่าเขาลำเนาไพร จะหมายถึงเจ้าที่เจ้าทาง ไม่ใช่เนื้อคู่ค่ะ ลืมไปได้เลย ตัวอย่าง มีคนฝันเห็นงูใหญ่นอนใต้บ้าน เช่น ใต้ดิน ใต้ถุน ใต้พื้นบ้าน ฯลฯ ใต้บ้านเป็นสัญลักษณ์ของระดับ subconscious หรือจิตใต้สำนึก แสดงว่าเจ้าที่เจ้าทางที่มีภูมิปัญญาประจำบ้านคุณ มาบอกให้ขุดค้นพลังจิตใต้สำนึกออกมาใช้ค่ะ ไม่ใช่หมายถึงว่าจะเจอคู่ ถ้างูกัด จะไม่หมายถึงเนื้อคู่โดยตรง แต่หมายถึงการมีเรื่องกวนใจ มีปากเสียง งูนั้นต้องมีการสัมผัสร่างกายคุณเท่านั้น เช่น รัดรอบคุณ พันมือ หรือแข้งขาก็ได้ ถ้าไม่สัมผัสถูกเลย ก็ไม่ใช่คู่ 2. ขนาดของงูมักจะปานกลางถึงใหญ่ ถ้างูตัวเล็กจะไม่หมายถึงคู่ โดยเฉพาะถ้าตัวเล็ก และมาเป็นฝูง ตัวอย่าง เพื่อนฉันเคยฝันว่าถูกรุมไล่กัดโดยฝูงงูเล็กๆ ยั้วเยี้ย จนต้องหนีขึ้นตลิ่ง ปรากฏว่าเธอมีปัญหากับทีมงานทั้งทีมเลยค่ะ ขนาดงูยิ่งใหญ่ จะหมายถึงความสัมพันธ์ที่เข้มข้นขึ้นตามขนาดงู และถ้างูสวยงาม หรือเป็นงูใหญ่มีฤทธิ์ เช่น พญานาค จะหมายถึงระดับฐานะทางสังคม และชื่อเสียงของคนที่จะเจอ 3. สีของงู จะบอกสภาพอารมณ์ของความสัมพันธ์
สีแดง หมายถึงรักอันร้อนแรงแบบ sexual สีเหลืองนวลถึงเผือก หมายถึงความรักแบบกัลยาณมิตร เอื้ออาทร เป็นรักแบบ spiritual สีดำ คือรักแบบคาดหวังและเต็มไปด้วยอารมณ์โกรธ หึง งอน แบบมนุษย์ earthy สีเขียวอ่อน หมายถึงสดชื่น เป็นธรรมชาติ สีเหลื่อมเลื่อมพิเศษ เช่น สีเขียวมรกต สีทองอร่าม สีเงินประกาย จะหมายถึงระดับฐานะของคู่มากกว่ารูปแบบความสัมพันธ์ เป็นต้น ( เราจะเรียนเรื่อง 'สีในความฝันบอกอะไร' กันละเอียดอีกทีนะคะ ) ตัวอย่าง ฉันฝันว่างูตัวปานกลางค่อนข้างใหญ่ ประมาณงูแสงอาทิตย์ สีดำแดงสลับกัน เข้ามารัดและกัดฉันหลายครั้ง ต่อมาฉันเจอชายหนุ่มที่ฉันหมั้นหมายด้วย ความสัมพันธ์ของเราเต็มไปด้วยอารมณ์ทุกประเภท ทั้งจี๋จ๋า โรแมนติก เคือง งอน ร้องไห้ ราวกับมิวสิกวิดีโอเพลงอาร์เอส ไม่มีช่วงสงบสุขเลย แต่ก็มันดีค่ะ ( ฝันตรงเลยเนอะ )
4. ลักษณะการที่งูเข้ามาหาคุณ บอกสภาพการที่คู่เข้ามาในชีวิต
เข้ามาจู่โจมอย่างรวดเร็ว = เขาเข้ามาแบบรวดเร็วปุบปับ ไม่ตั้งตัว ค่อยๆ เลื้อยช้าๆ มาคลอเคลีย = ใช้เวลาในการสร้างความสัมพันธ์ งูไล่แล้วคุณหนีไม่คิดชีวิต = เขาเป็นฝ่ายรักหรือจู่โจมคุณก่อน ( บางกรณีอาจมีปล้ำ อันนี้ไม่ล้อเล่นค่ะ เรื่องจริง มันเกิดขึ้นมาแล้ว ) 5. สภาพอารมณ์คุณตอนเจองู สำคัญมากๆ โบราณว่า ' ยิ่งกลัวงูมากเท่าไร ความรู้สึกในความสัมพันธ์ยิ่งเข้มข้น ' แหม ! แต่จะบอกว่าความรู้สึกในฝันนี่เฟคไม่ได้นะเจ้าคะ พอรู้ว่ายิ่งกลัวยิ่งเข้มข้น คุณก็เฟคกลัวกลั๊วกลัวงูในฝันซะเลย ไม่ด้ายค่า !
6. คุณทำอย่างไรกับงู บอกว่าคุณพร้อมแค่ไหนที่จะมีคู่ ปฏิกิริยาคลาสสิกในการฝันว่างูรัดหรืองูไล่มาพันตัว คือ
- พยายามปัดหรือวิ่งหนี แต่ไม่พ้น งูตามมาจนได้ ( เสร็จงู ว่างั้นเถอะ ) = คุณจะได้คบเป็นแฟนกับคนนี้แน่นอน
- ทำร้ายงู หรือกระทั่งฟันงูขาด กระทืบๆ งูจนตาย = ไม่ว่าปากคุณจะบอกว่าอยากมีแฟนกับเขาซะทีแค่ไหน ในจิตใต้สำนึกจริงๆ คุณกลัวความรักมากๆ ค่ะ และความกลัวการมีคู่ กลัวมีความสัมพันธ์นี้มาแสดงออกในฝัน ยิ่งทำร้ายงูบอบช้ำรุนแรงเท่าไหร่ ยิ่งบอกความกลัวมากเท่านั้น (โถ ! งูผู้น่าสงสาร ) เพราะฉะนั้นคุณอาจเจอคนถูกใจ แต่เขาจะผ่านคุณไปในชีวิตจริง โดยที่คุณจะนึกว่า ' ฝันไม่แม่นเลย ' แต่ที่จริงเป็นเพราะ subconscious คุณไม่พร้อมเปิดใจรับความสัมพันธ์ต่างหาก - วิ่งหนีสุดชีวิต งูก็ไล่ไม่ลดละ จนสะดุ้งตื่น = subconscious บอกความไม่พร้อมที่จะมีแฟนของคุณ หรือบอกความกลัวที่คุณรู้สึกลึกๆ ว่าคนคนนี้ไม่เหมาะสมกับคุณ จึงแสดงออกในฝันว่าคุณหนีงูสุดๆ และถ้างูตามไม่ลดละ ( มุ่งมั่นมาก ) อาจไม่ได้หมายถึงว่าคู่ของคุณตามตื๊อคุณอย่างเดียว แต่หมายถึงว่าแม้จะไม่มีความสัมพันธ์กัน เขาก็จะยังคงยืนยันที่จะอยู่ในชีวิตคุณอีกนาน ไม่หายหัวไปง่ายๆ ( แต่อาจเปลี่ยนรูปแบบไปคบกันอย่างอื่น เช่น เป็นพี่เป็นน้อง เป็นเพื่อน หรือทำธุรกิจด้วยกัน ) - สงบสุขท่ามกลางงูรัด = เอ๊ะ มีด้วยหรือเนี่ย ? มีค่ะ ฉันไง นอนหลับปุ๋ยสบายเลย งูนุ่มดี เหมือนเตียงนุ่ม และผ้าห่มห่มฉันให้หายหนาวเลย แสดงว่าสำหรับคู่คนนี้ คุณพร้อมให้เขาเข้ามาในชีวิตอยู่แล้ว และสภาพความสัมพันธ์ก็จะสบายๆ อบอุ่น ปลอดภัย แต่ไม่หวือหวานะ
|
|
|
|
Jiab16
|
|
« ตอบ #393 เมื่อ: 30 สิงหาคม 2552, 20:00:55 » |
|
เรื่องเข้าใจผิดของผู้ใช้ " รถ "
Poomping Praison - ส่งมา
1. " สตาร์ทแล้วออกรถได้เลย ไม่ต้องอุ่นเครื่อง "
อุ่นเครื่องยนต์สักหน่อยก่อนออกรถจะดีกว่า เมื่อเครื่องยนต์ทำงานขณะที่ยัง " เย็น " อยู่ เช่น ขณะออกรถจากบ้านไปทำงานตอนเช้า หรือติดเครื่องยนต์เมื่องานเลิกเพื่อกลับบ้าน ไอของเชื้อเพลิงที่เข้มข้นจะเกาะผนังกระบอกสูบ และละลายปนกับฟีล์มน้ำมันเครื่องที่ฉาบผนังอยู่ ทำให้การหล่อลื่นแหวนลูกสูบกับผนังกระบอกสูบไม่เพียงพอ สร้างความสึกหรอในเครื่องยนต์มากกว่าปกติ นอกจากนี้ทั้งเชื้อเพลิงที่ระเหยไม่หมด และไอน้ำที่เกิดจากการเผาไหม้ขณะเครื่องยังเย็นนี้ ยังละลายปนอยู่ในน้ำมันเครื่อง ทำให้น้ำมันเครื่องเสื่อมสภาพเร็วขึ้นอีกด้วย 2. " รถใหม่สมัยนี้ ไม่ต้องรันอิน "
รถใหม่ทุกรุ่นทุกยี่ห้อต้องรันอิน รถรุ่นใหม่ๆ แม้จะมีการควบคุมคุณภาพอย่างดีแล้วก็ตาม แต่เครื่องยนต์ใหม่ควรต้องผ่านการรันอิน และเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องสักครั้งก่อนที่จะใช้งานอย่างเต็มที่ เพราะเศษโลหะที่ตกค้างอยู่ในระบบจะได้ถูกชะล้างออกไป การรันอินนั้นทำได้ไม่ยาก โดยในช่วง 1,000 กม. แรก ไม่เร่งเครื่องยนต์อย่างรุนแรง หรือใช้รอบเครื่องยนต์ที่สูงมากๆ ถ้าใช้รอบเครื่องไม่เกิน 3,000 ร.ต.น. ได้ก็จะดี และเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตามระยะที่ผู้ผลิตกำหนด พูดถึงเรื่องนี้ เคยมีผู้ใช้รถบางคนไม่นำรถเข้าศูนย์บริการเพื่อตรวจเชค โดยให้เหตุผลว่าเสียเวลา เปลี่ยนน้ำมันเครื่องทำที่ไหนก็ได้ อย่างนี้ " น่าเสียดาย " แทนจริงๆ เพราะถ้าเกิดความเสียหายกับเครื่องยนต์จะเรียกร้องเอากับใคร
3. " ยกขาก้านปัดน้ำฝนขณะจอด ช่วยยืดอายุใบปัด "
สปริงในก้านที่ปัดน้ำฝนจะอ่อน และเสียเร็วขึ้น ส่วนสำคัญที่ทำให้ที่ปัดน้ำฝนทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพประกอบด้วย ใบปัด และแผ่นยางซึ่งทำหน้าที่รีดน้ำจากกระจกบังลมหน้า ปกติจะมีอายุการใช้งานประมาณ 1 ปี หากใช้นานกว่านั้นเนื้อยางจะแข็งตัวหรือมีการฉีกขาด ไม่ว่าจะยกไว้หรือไม่ก็ตาม อีกส่วนคือก้านใบปัดที่มีสปริงคอยดึงให้ใบปัดแนบสนิทกับกระจก ซึ่งรับแรงจากคันโยก และมอเตอร์ ตัวนี้มีราคาสูงกว่าใบปัด การยกก้านเมื่อจอดตากแดด สปริงจะถูกดึงให้ยืดออกตลอดเวลา อายุการใช้งานสั้นลง ทำให้ต้องจ่ายแพงกว่าเดิมหลายเท่าถ้าต้องเปลี่ยนทั้งชุด
4. " รถติดไฟแดงค้างเกียร์ D ไว้ ดีกว่าเปลี่ยนเกียร์ว่าง "
หยุดรถก็โอเค แต่ถ้าติดไฟแดงนานก็ต้องระวังชนคันหน้า ในกรณีรถติดไฟแดง ผู้ขับรถที่ใช้เกียร์ธรรมดาจะปลดเกียร์ว่าง และเหยียบเบรคป้องกันรถไหล คงจะไม่มีใครเหยียบคลัทช์ และเบรค ใส่เกียร์คาไว้ ให้เมื่อยขา ขณะที่ผู้ขับรถเกียร์อัตโนมัติ กลับมีพฤติกรรมที่แตกต่างกัน กลุ่มแรก เหยียบเบรคโดยค้างเกียร์ไว้ที่ตำแหน่ง "D" กลุ่มที่ 2 เบรคเหมือนกัน แต่เลื่อนตำแหน่งคันเกียร์มาที่เกียร์ว่าง "N" กลุ่มสุดท้าย ดันคันเกียร์มาอยู่ที่ "P" ไม่เหยียบเบรค ถ้าติดไฟแดงนานๆ กลุ่มแรก ต้องระวังมากที่สุด เพราะถ้าขยับตัวแล้วเท้าหลุดจากแป้นเบรค รถอาจพุ่งไปชนคันหน้า กลุ่มที่ 2 เบาหน่อยแค่เมื่อย ส่วนกลุ่มสุดท้าย สบายใจได้ แต่อาจจะไม่สะดวกกับการใช้งาน วิธีดีที่สุด คือ ใช้เกียร์ว่าง และดึงเบรคมือ
5. " เดินทางไกล ลมยางอ่อนดีกว่าแข็ง "
ลมน้อย ยางมีโอกาสระเบิดได้มาก คู่มือการใช้ และดูแลรักษายางรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นค่ายไหน ก็แนะนำตรงกันว่าผู้ใช้รถควรเติมลมยางตามมาตรฐานที่ผู้ผลิตรถยนต์กำหนดไว้ และให้เพิ่มแรงดันลมยางให้สูงขึ้นอีก 2- 3 ปอนด์ เมื่อต้องเดินทางไกล ลมยางที่อ่อนกว่ามาตรฐานกำหนด นอกจากจะทำให้หน้ายางด้านนอกสึกมากกว่าด้านในแล้ว ยังอาจส่งผลเสียกับโครงสร้างยางได้ และมีโอกาสเกิด "ยางระเบิด" มากกว่าหรือใกล้เคียงกับยางที่มีแรงดันลมยางเกินกำหนด เพราะอุณหภูมิความร้อนที่เกิดจากการเสียดสี
6. " ฝนตกใส่เกียร์ขับ 4 ล้อ เกาะถนนมากกว่า 2 ล้อ "
อย่าใช้ระบบขับเคลื่อนผิดประเภท จะได้ไม่ต้องเสียใจ ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อนั้นอาจจะช่วยให้รถเกาะถนนมากกว่าระบบขับเคลื่อน 2 ล้อ แต่สำหรับรถที่ใช้ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อแบบพาร์ทไทม์หรือ "ตามต้องการ" ในรถพิคอัพ หรือพีพีวี ที่มีชุดส่งกำลังแยกเพื่อส่งกำลังไปยังล้อหน้า กำลังจากล้อหลังจะถูกแบ่งมายังล้อหน้า อาการท้ายปัด หรือล้อหลังฟรีก็จะน้อยลง แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเกาะถนนดี เมื่อต้องเลี้ยวในความเร็วสูง ล้อหน้าที่ถูกล็อคให้หมุนจะเลี้ยวได้น้อยลง ทำให้ต้องใช้วงเลี้ยวที่กว้างขึ้น จึงมีรถประเภทนี้หลุดโค้งให้เห็นกันเป็นประจำ ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อแบบพาร์ทไทม์มีไว้เพื่อช่วยให้รถสามารถผ่านทางทุรกันดานได้ง่ายขึ้น ต่างกับพวกที่เป็นฟูลล์ไทม์หรือ "ตลอดเวลา" ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการยึดเกาะถนน
7. " ตั้งศูนย์ล้อหน้าอย่างเดียวก็พอ "
ทุกล้อมีความสำคัญ ตั้งศูนย์ล้อควรทำทั้ง 4 ล้อ เชื่อหรือไม่ว่าศูนย์ล้อหลังมีความสำคัญพอๆ กับศูนย์ล้อหน้า หรืออาจจะมากกว่าเพราะมุมที่ล้อหลังเอียงไปเพียงเล็กน้อย ก็อาจทำให้รถเสียสมดุลย์เมื่อเบรค หรือเลี้ยว และทำให้รถเลี้ยวไปมากกว่าที่คิด รถยนต์ส่วนใหญ่จะปรับตั้งศูนย์ล้อได้หน้า / หลัง ยกเว้นรถขับเคลื่อนล้อหน้าบางรุ่นที่ปรับได้แต่เฉพาะล้อหน้าเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถตั้งศูนย์ล้อหลัง ก็ต้องทำใจ
8. " ต้องเปิดสัญญาณไฟฉุกเฉิน เวลาข้ามแยก "
เวลาข้ามแยก รอให้รถว่าง และไม่ควรเปิดสัญญาณไฟฉุกเฉิน ถ้าคุณเปิดไฟฉุกเฉิน รถทั้งด้านซ้าย/ขวา ต่างก็จะเห็นสัญญาณไฟเลี้ยวเพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น รถทางขวาอาจจะจอดให้ไป แต่สำหรับทางซ้ายอาจคิดว่าคุณจะเลี้ยวซ้ายจึงไม่หยุดให้ อุบัติเหตุจึงเกิดขึ้นด้วยความเข้าใจผิด จากการใช้สัญญาณไฟแบบผิดที่...ผิดทาง
9. " ฝนตกหนัก หรือหมอกลงจัด ต้องเปิดไฟฉุกเฉิน "
อาจสร้างความสับสนให้ผู้ร่วมทาง ไฟฉุกเฉินใช้เวลาจอดฉุกเฉิน ในสภาพอากาศที่ไม่ดี และมีทัศนวิสัยแย่มาก จนมองแทบไม่เห็นรถคันหน้า การชะลอความเร็ว เปิดไฟหน้า และทิ้งระยะห่างจากรถคันหน้าให้มากขึ้น เป็นสิ่งที่ควรทำ แต่การใช้สัญญาณไฟฉุกเฉิน ทำให้ที่วิ่งสวนทางมาเข้าใจผิดคิดว่ามีรถจอดเสียอยู่ทางซ้ายริมถนน และหักหลบไปทางขวา ซึ่งเป็นไหล่ทาง กว่าจะเห็นอาจจะสายเกินไป ไม่ลงไปข้างทางก็อาจพุ่งข้ามช่องทางมาชน หรือถ้าหยุดรถก็ขวางทาง และเกิดอุบัติเหตุ การใช้สัญญาณไฟฉุกเฉิน หรือไฟผ่าหมาก ควรใช้เฉพาะเวลาที่รถเสีย และต้องจอดอยู่ริมถนน เพื่อบอกให้เพื่อนร่วมทางที่สัญจรผ่านไปมา ให้ใช้ความระมัดระวัง และชะลอความเร็วในจุดที่รถจอดเสียอยู่
10. " ผ้าเบรคแข็ง หรือผ้าเบรคเนื้อแข็ง ไม่ดี " ไม่แน่เสมอไป ขึ้นอยู่กับความต้องการ ความเข้าใจผิดๆ เรื่อง "ผ้าเบรค" ที่ว่าผ้าเบรคอ่อนดีกว่าแข็ง เกิดจากบรรดาช่างซ่อมรถที่ไม่ได้อธิบายให้เจ้าของรถเข้าใจ การผสมเนื้อผ้าเบรคให้ใช้งานได้ดี เป็นศาสตร์ชั้นสูง ใช้วัสดุนานาชนิด และมีสัดส่วนที่แตกต่างกัน ซึ่งจะมีผลต่อคุณสมบัติของผ้าเบรค และมักจะขัดแย้งกันเอง ถ้าเน้นข้อดีข้อใดขึ้นมา ก็มักจะมีข้ออื่นด้อยลงไป เช่น การใช้ส่วนผสมที่เบรคหยุดดี ก็จะกินเนื้อจานเบรคมาก หรือร้อนจัด หรือไม่เนื้อผ้าเบรคก็สึกเร็ว พอทำให้สึกช้า ก็แข็ง เบรคไม่ค่อยอยู่ หรือมีเสียงรบกวน ส่วนผ้าเบรค "เนื้ออ่อน" ที่มีจุดเด่นเรื่องไม่กัดกินเนื้อจานเบรค ก็จะมีข้อด้อยตรงจุดอื่น
11. " เอนนอนขับแบบนักแข่ง สบายที่สุด "
นั่งขับแบบไม่ต้องชะเง้อ จะได้ไม่เมื่อย และไม่อันตราย ท่าขับแบบนักแข่ง ตัวจริง ต่างกับการปรับเบาะเอนนอนขับมาก การนั่งท่านี้จะรู้สึกว่าจะหลุดจากเบาะนั่งทุกครั้งที่เบรคแรงๆ แขนที่เหยียดตึงตลอดเวลา นอกจากจะทำให้เมื่อยล้า ยังต้องยกตัวขึ้นเมื่อถึงเวลาที่ต้องเลี้ยว เพราะไม่มีแรงหมุนพวงมาลัย และมองทางข้างหน้าไม่เห็น เช่นเดียวกับเวลาถอยหลังจอด สายเข็มขัดนิรภัยที่อยู่ในตำแหน่งสูงกว่าการนั่งขับแบบปกติ อาจจะรั้งคอแทนที่จะเป็นไหล เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ท่านั่งที่ถูกต้องคือ เอาหลังพิงพนักจนสนิทแล้วเหยียดแขนข้างใดข้างหนึ่งไปวางบนส่วนบนสุดของพวงมาลัยแล้ว ตรงกับข้อมือ ขาต้องสามารถเหยียบแป้นคลัทช์จนจม โดยไม่ต้องเหยียดข้อเท้าสุดแบบนักบัลเล่ท์ ส่วนใต้ของขาอ่อนดันกับเบาะนั่งส่วนหน้า จนรู้สึกว่าน้ำหนักตัวที่ลงตรงสะโพกพอดี และยังสัมผัสกับพนักพิง
12. " นั่งชิดพวงมาลัย เพื่อให้มองเห็นหน้ารถ "
อันตราย ตัวอาจกระแทกกับพวงมาลัยบาดเจ็บ ผู้ที่นั่งใกล้พวงมาลัยเกินไป มักเป็นผู้ที่ไม่ค่อยให้ความสนใจกับรถนัก และได้รับการสอนท่านั่งมาแบบผิดๆ ลำตัวที่อยู่ชิดกับพวงมาลัย นอกจากจะทำให้หมุนพวงมาลัยไม่ถนัด เพราะแขนงอมากเกินไป ยังเพิ่มความเสี่ยงให้แก่ตัวผู้ขับ ที่อาจจะบาดเจ็บจากการที่ลำตัวกระแทกกับพวงมาลัย และแรงระเบิดจากถุงลมนิรภัย
13. " สอดมือหมุนพวงมาลัยถนัด เบาแรง และปลอดภัย "
ไม่ถนัดจริง และอันตราย ไม่ควรทำ การหงายมือล้วงหรือสอดมือจับพวงมาลัยเพื่อเลี้ยวรถ เป็นการออกแรงดึงเข้าหาตัว จึงทำให้รู้สึกว่าออกแรงน้อยกว่าการจับแบบคว่ำมือหมุน แต่การทำแบบนั้นมี "อันตราย" มาก ถ้าหากล้อหน้าเกิดสะดุดก้อนหิน และเกิดมือหลุดจากพวงมาลัย ดึงมือออกมาไม่ทันก้านพวงมาลัยจะตีมืออย่างแรง การจับพวงมาลัยที่ถูกต้องควรจับในตำแหน่ง 3 และ 9 นาฬิกา ซึ่งแขนจะงออยู่เล็กน้อย และเพียงพอที่หมุนพวงมาลัยได้จนครบรอบ เมื่อต้องเลี้ยวรถมากกว่าหนึ่งรอบ จะปล่อยมือที่อยู่ด้านหลัง เพื่อมาจับในตำแหน่งเดิม โดยทำในลักษณะนี้ทั้งเลี้ยวซ้าย/ขวา
14. " เกียร์ ซีวีที ขับยาก และกินน้ำมันกว่าเกียร์อัตโนมัติทั่วไป "
ขับง่ายและประหยัดน้ำมันกว่าเกียร์อัตโนมัติทั่วไป การไม่สามารถเข้าใจเหตุผลก็กลายเป็นปัญหาใหญ่ ผู้ที่ขับรถใช้เกียร์ ซีวีที บอกว่าขับแล้วรู้สึกเหมือนขับรถที่เกียร์ หรือระบบขับเคลื่อน "มีปัญหา" ให้ความรู้สึกที่ไม่ดี โดยเฉพาะตอนที่ขับด้วยความเร็วคงที่แล้วกดคันเร่งเพิ่ม เกียร์จะเลือกอัตราทดที่เหมาะ ทำให้ความเร็วเครื่องยนต์เพิ่มขึ้นทันที แต่ความเร็วรถยังเท่าเดิม ให้ความรู้สึกเหมือนรถคลัทช์ลื่น การขับแบบประหยัดเชื้อเพลิง ให้เหยียบคันเร่งไม่ลึกนัก ขณะออกรถ และรักษาระยะที่เหยียบไว้ ช่วงแรกเครื่องยนต์จะส่งกำลังผ่านทอร์คคอนเวอร์เตอร์ พอล้อรถหมุนเร็วพอสมควร และไม่ต้องการความช่วยเหลือจากทอร์คคอนเวอร์เตอร์แล้ว ระบบต่อตรงส่งกำลังจากเครื่องยนต์ไปยังจานทรงกรวยตัวขับก็จะทำงาน จากนั้นระบบควบคุมจะลดระยะห่างของจานทรงกรวยคู่ที่เป็นตัวขับ เป็นการลดอัตราทด เพื่อเพิ่มความเร็วรถ โดยที่ความเร็วของเครื่องยนต์ค่อนข้างคงที่ ยกตัวอย่างเช่น ประมาณ 1,800 ร.ต.น. ความเร็วจะเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนเดียวกับที่อัตราทดของเกียร์ลดลง จนได้ความเร็วประมาณ 60-70 กม./ชม. ซึ่งเป็นความเร็วสูงสุดของการเหยียบคันเร่งของเราเท่านี้ เยี่ยมไหมครับ ?
15. " ต้องเปลี่ยนไส้กรองทุกครั้ง ที่เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง "
ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนทุกครั้ง แต่ถ้าเปลี่ยนได้ก็ดี ผู้ผลิตรถยนต์จากยุโรปแนะนำให้เปลี่ยนพร้อมกับการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องทุกครั้ง แต่โรงงานผลิตรถยนต์ของญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อยแนะนำให้เปลี่ยนไส้กรอง หรือหม้อกรองทุกๆ ครั้งที่ 2 ของการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ถ้าคำนึงถึงคุณภาพของน้ำมันเครื่องยุคปัจจุบันแล้ว น้ำมันเครื่องหมดอายุแล้ว ในหม้อกรองน้ำมันเครื่องจำนวนหนึ่งปนเปื้อน ไม่ถึงกับให้โทษในด้านการหล่อลื่นหรือทำความสะอาดภายในเครื่องยนต์ แต่เมื่อคำนึงถึงราคาหม้อกรอง หรือไส้กรอง ซึ่งถูกกว่าราคาน้ำมันเครื่องแล้ว ควรเปลี่ยนทุกครั้งเพื่อให้น้ำมันเครื่องสะอาดที่สุด และทำหน้าที่รักษาเครื่องยนต์ของเราจะดีกว่า
16. " ควรเติมหัวเชื้อน้ำมันเครื่อง เพื่อถนอมเครื่องยนต์ "
อาจจะหนืดไป แค่ใช้น้ำมันเครื่องดี มีคุณภาพ ก็เพียงพอแล้ว เราแบ่งหัวเชื้อน้ำมันเครื่องได้เป็น 2 ประเภท คือ ประเภทที่ช่วยเพิ่มคุณภาพของน้ำมันเครื่อง และประเภทที่ช่วยเพิ่มความหนืดของน้ำมันเครื่อง น้ำมันเครื่องคุณภาพสูงในปัจจุบันมีส่วนผสมของสารต่างๆ อยู่ในปริมาณและสัดส่วนที่เหมาะสม จึงไม่ควรใส่สารอื่นเข้าไปทำลายสัดส่วนสารเคมีเหล่านี้ให้เสียสมดุล และกลับให้โทษแก่เครื่องยนต์ ประเภทแรกจึงไม่จำเป็น ส่วนหัวเชื้อน้ำมันเครื่องที่ช่วยเพิ่มความหนืด อาจช่วยลดความสิ้นเปลืองน้ำมันเครื่องของเครื่องยนต์ที่หมดสภาพแล้วได้บ้าง แต่เมื่อคำนึงถึงราคาแล้ว ก็ไม่น่าจะช่วยประหยัดได้ และเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุด้วย วิธีที่ถูกต้องคือ การซ้อมใหญ่ หรือ โอเวอร์ฮอล เพื่อให้เครื่องยนต์กลับคืนสู่สภาพดีปกติ
17. " เติมน้ำมันเครื่องคุณภาพสูงปนกับน้ำมันเครื่องทั่วไป จะได้คุณสมบัติที่ดีขึ้น "
การผสมไม่ได้ช่วยให้คุณภาพดีขึ้น ใช้น้ำมันเครื่องคุณภาพมาตรฐานจะดีกว่า การนำน้ำมันเครื่องคุณภาพสูงสุดสักครึ่งลิตร มาผสมกับน้ำมันเครื่องคุณภาพปานกลาง ก็ไม่สามารถเพิ่มคุณภาพขึ้นมาได้ เอาเงินส่วนนี้ไปทำประโยชน์ส่วนอื่นจะดีกว่า เช่นเดียวกับการเอาน้ำมันเครื่องคุณภาพต่ำมาเติมผสมลงไปน้ำมันเครื่องชั้นดีราคาสูง ซึ่งจะทำให้ส่วนผสมของสารเพิ่มคุณภาพในน้ำมันเครื่องเสียสมดุลไป เท่ากับน้ำมันเครื่องทั้งหมดคุณภาพต่ำไป การเติมน้ำมันเครื่องใหม่เมื่อน้ำมันเครื่องเดิมใกล้จะถึงกำหนดเปลี่ยนถ่ายนั้น ก็เป็นเรื่องที่ไม่ควรทำเพราะไม่คุ้มกับเงินที่จ่ายไปเพื่อแลกกับการใช้งานเพียงระยะสั้น ทางที่ดีเปลี่ยนใหม่ทั้งหมดเลยจะคุ้มกว่า
18. " ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องใหม่ทุกๆ 5,000 กม. "
ขึ้นอยู่กับคุณภาพน้ำมันเครื่อง และความต้องการของเครื่องยนต์ ผู้ผลิตรถยนต์แต่ละรายกำหนดมาตรฐานคุณภาพของน้ำมันเครื่องที่เครื่องยนต์แต่ละรุ่นต้องการใช้อยู่ในคู่มือประจำรถ และกำหนดระยะเวลาการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องไว้แตกต่างกันด้วย รถยนต์ของค่ายญี่ปุ่นจะมีกำหนดเปลี่ยนน้ำมันเครื่องเป็นระยะทางที่สั้นกว่ารถยุโรป เช่น ทุกๆ 5,000 กม. และ 10,000 กม. ส่วนรถค่ายยุโรปส่วนใหญ่ที่เครื่องยนต์ใหญ่ใช้รอบเครื่องยนต์ต่ำ และมาตรฐานคุณภาพของน้ำมันเครื่องไว้สูง เช่น ระดับ SJ สำหรับเครื่องยนต์เบนซิน จะกำหนดระยะทางถึง 15,000 กม. หรือมากกว่านั้น ปัจจุบันกำหนดเปลี่ยนน้ำมันเครื่องที่มีระยะมากที่สุด เป็นของรถเปอโยต์ คือ ทุกๆ 30,000 กม. แต่อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนก่อนเวลาก็ไม่ได้ทำให้เสียหาย เพียงแต่เปลืองเงินกว่าที่ควรเท่านั้นเอง ผู้ใช้รถควรใช้วิจารณญาณในการร่นระยะเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตามสภาพการใช้งาน เช่น กรณีที่ใช้งานในสภาพการจราจรติดขัดเป็นส่วนใหญ่ เหลือ 70 % ที่กำหนดในคู่มือ หรือถ้าต้องสตาร์ทเครื่องยนต์บ่อยๆ และ "รถติด" เป็นประจำด้วย เหลือเพียง 50 % ถ้าใช้น้ำมันเครื่อง "ธรรมดา" คุณภาพสูง แล้วใช้งานหนักมาก เปลี่ยนทุก 5,000 กม. ถ้าใช้น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ 100 % เปลี่ยนทุก 10,000 กม. หากใช้งานเบากว่านี้ เพิ่มระยะทางได้ตามความเหมาะสม ไม่ใช่กำหนดที่ปั๊มน้ำมัน หรือศูนย์บริการฯ ลดทอนเพราะต้องการขายน้ำมันเครื่อง
19. " เครื่องยนต์ดีเซลมีระยะการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องเท่ากับเบนซิน "
อุณหภูมิภายในไม่เท่ากัน อายุการใช้งานก็ต่างกันด้วย การเผาไหม้ของเครื่องยนต์ดีเซลก่อให้เกิดเขม่ามากกว่าในเครื่องยนต์เบนซิน ผงเขม่าขนาดเล็กสามารถลอดผ่านกระดาษกรองของหม้อกรองน้ำมันเครื่องได้ เมื่อสะสมแขวนลอยอยู่ในน้ำมันเครื่องมากขึ้น จะทำให้น้ำมันเครื่องมีค่าความหนืดสูงขึ้น คุณสมบัติในการหล่อลื่นจึงลดลง เครื่องยนต์ดีเซลระบบฉีดตรงเข้าห้องเผาไหม้ หรือไดเรคท์อินเจคชันยุคใหม่มีเขม่าน้อยกว่าแบบพรีแชมเบอร์มาก เราจึงสังเกตได้ว่ากำหนดเปลี่ยนน้ำมันเครื่องของเครื่องยนต์แบบนี้ ใกล้เคียงกับเครื่องยนต์เบนซินแล้ว
20. " น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ 100 % คุ้มกว่าน้ำมันเครื่องธรรมดา "
ราคาแพงกว่า ใช้ได้นานกว่า แต่จะคุ้มหรือไม่อยู่ที่ใจ จุดเด่นแรกของน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ อยู่ที่ค่าความหนืดต่ำที่อุณหภูมิต่ำ จึงไหลไปหล่อลื่นส่วนต่างๆ ของเครื่องยนต์ได้อย่างรวดเร็ว ตั้งแต่เริ่มติดเครื่องยนต์ในสภาพเย็นจัด เช่น ต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส ซึ่งสภาวะเช่นนี้ไม่มีในประเทศไทย ข้อดีประการที่ 2 คือ ทนต่อความร้อนสูงที่ผนังกระบอกสูบได้ดีกว่า จึงมีอัตราการระเหยเป็นไอได้น้อยกว่าน้ำมันเครื่อง "ธรรมดา" อัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเครื่องอาจน้อยกว่าเล็กน้อย จุดเด่นอีกข้อของน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ คือ การมีค่าดัชนีความหนืดสูง จึงไม่ "ใส" เกินไปเมื่อถูกความร้อนจัด น้ำมันเครื่องสังเคราะห์จึงมีสารปรับดัชนีความหนืดผสมอยู่ในอัตราที่น้อยกว่าน้ำมันเครื่องธรรมดา เนื่องจากสารปรับดัชนีความหนืดนี้เสื่อมสภาพได้ง่ายตามอายุใช้งาน น้ำมันเครื่องสังเคราะห์จึงมีอายุใช้งานยาวนานกว่าน้ำมันเครื่องธรรมดามาก เมื่อเปรียบเทียบราคาน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ 100 % กับราคาน้ำมันเครื่อง "ธรรมดา" ระดับคุณภาพสูงสุดน้ำมันเครื่องสังเคราะห์จะมีราคาสูงกว่าราว 2 ถึง 4 เท่า จึงไม่สามารถกล่าวได้ว่า " คุ้มกว่าน้ำมันเครื่องธรรมดา " ยกเว้นพวกชอบใช้ของแพง ได้จ่ายเงินมากแล้วมีความสุข ผู้ที่ต้องการถนอมให้เครื่องยนต์สึกหรอน้อยที่สุด โดยไม่คำนึงถึงราคาว่าคุ้มหรือไม่
21. " ใช้น้ำมันเครื่องราคาถูกแต่เปลี่ยนบ่อยๆ ช่วยถนอมเครื่องยนต์ได้ดีที่สุด "
ถ้าเจอน้ำมันเครื่องปลอม หรือไม่มีคุณภาพ อาจทำให้เครื่องยนต์เสียหาย ไม่ควรนำน้ำมันเครื่องราคาถูกมาเปลี่ยนบ่อยๆ เช่น ทุก 3,000 หรือ 4,000 กม. แทนน้ำมันเครื่องมาตรฐานที่ผู้ผลิตกำหนด เพราะในประเทศเราที่ไม่มีหน่วยงานควบคุม และตรวจสอบคุณภาพของน้ำมันเครื่องอยู่เลย แม้น้ำมันเครื่องระดับคุณภาพสูงที่เราซื้อมา ก็อาจเป็นของปลอมที่กรอง และฟอกสีมาจากกากน้ำมันเครื่องใช้แล้วได้ วิธีถนอมเครื่องยนต์ที่ดีที่สุด คือ เลือกใช้น้ำมันเครื่องคุณภาพสูงสุด ก่อนอื่นต้องเลือก "ยี่ห้อ" และสถานที่จำหน่ายที่น่าไว้วางใจได้ เลือกระดับคุณภาพ แล้วจึงดูระดับความหนืด หรือความข้นของน้ำมันเครื่องที่เหมาะสมกับอุณหภูมิเฉลี่ยของเมืองไทย เช่น 10W-40/15W-40/15W-50 หรือ 20W-50 ระดับคุณภาพที่รู้จักกันแพร่หลายในประเทศไทย คือ ระดับคุณภาพตามมาตรฐานของ API ( AMERICAN PETROLEUM INSTITUTE ) ถ้าเป็นรถใช้เครื่องยนต์เบนซิน ควรใช้น้ำมันเครื่อง ระดับคุณภาพ SJ หรือ อย่างน้อย SH ถ้าเป็นรถใช้เครื่องยนต์ดีเซล ควรเลือกระดับ CG - 4 หรืออย่างน้อย CF - 4
22. " เปลี่ยนแบตเตอรีให้ลูกใหญ่ จะได้สตาร์ทง่าย "
แบตเตอรีขนาดไหนก็ใช้ไฟเท่าเดิม ใหญ่ไปก็หนักรถ การใช้แบทเตอรีที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิม ขณะที่องค์ประกอบอื่นๆ ทั้งเครื่องยนต์ ไดสตาร์ท และไดชาร์จ ยังมีขนาดเท่าเดิมไม่เปลี่ยนแปลง นอกจากจะเป็นความสิ้นเปลืองที่เกินกว่าความจำเป็น เพราะความต้องการไฟในการสตาร์ทเครื่องยนต์ยังเท่าเดิมแล้ว ยังอาจส่งผลเสียกับไดชาร์จในอนาคต แบตเตอรีที่มีขนาดใหญ่มากเกินไป ไม่เพียงต้องทำให้เจ้าของรถต้องดัดแปลงแทนวางแบตเตอรีใหม่เท่านั้น ยังอาจส่งผลให้ไดชาร์จทำงานเต็มกำลังตลอดเวลา เพื่อบรรจุไฟเข้าไปเก็บในแบตเตอรี ซึ่งจะหยุดก็ต่อเมื่อไฟเต็ม
23. " ดับเครื่องยนต์ และปิดพัดลมแอร์ จะช่วยให้แอร์ไม่เสียเร็ว " ควรปิดคอมเพรสเซอร์แอร์ ก่อนดับเครื่อง ช่วยยืดอายุตู้แอร์ ระบบทำความเย็นทั้งภายในรถ และอาคาร อาศัยหลักการถ่ายเทความเย็น และระบายความร้อน ซึ่งตู้แอร์ หรือคอยล์เย็น จะมีสารทำความเย็นบรรจุอยู่ภายใน โดยมีพัดลมทำหน้าที่เป่าลม การปิดพัดลมหลังดับเครื่อง ความเย็นยังคงอยู่ภายในระบบ ตู้แอร์จึงชื้น และกลายเป็นที่สะสมฝุ่นละออง ซึ่งจะทำให้ลมผ่านได้ไม่สะดวก เกิดการอุดตัน และตู้รั่ว การปิดคอมเพรสเซอร์ หรือปิดสวิทช์ AC ก่อนดับเครื่องยนต์อย่างน้อย 5 -10 นาที จะช่วยไล่ความชื้นในตู้แอร์ ไม่เป็นที่สะสมฝุ่น นอกจากจะช่วยยืดอายุตู้แอร์ ยังช่วยลดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ ที่มักเกิดพร้อมๆ กับความชื้นอีกด้วย
|
|
|
|
|
|
khesorn mueller
|
|
« ตอบ #396 เมื่อ: 23 กันยายน 2552, 15:34:32 » |
|
พี่เจี๊ยบ, สุดยอดพี่. ง่ายๆ... ถึงว่าเด็กๆชอบถามถึง! "เอาไข่ที่ตี เทลงในหม้อนํ้ามันน่ะแม่" หนิงทำไข่ไข่เจียวแบบนี้เวลานํ้ามันเหลือ ทอดข้าวเกรียบทอดไก่ค่ะ... พี่ชรินทร์ทำเหรอคะในภาพ? มหัศจรรย์!!
บ้านหนิงเป็นเตาไฟฟ้าคะ, ต้องตั้งนํ้ามันนานหากจะให้ได้ที่อย่างในรูป การทอดตอนท้าย มีข้อเสียตรงนํ้ามันไม่ใสสะอาดค่ะ แต่ความร้อน ความฟู ได้คะ. หนิงใช้หม้อทอดของในครัวด้วยเหตุผลเดียวคะ... กันกระเด็น!!ขี้เกียจเช็ดนํ้ามันค่ะ
nn.
|
|
|
|
มีนา
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2515
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 1,865
|
|
« ตอบ #397 เมื่อ: 25 กันยายน 2552, 19:58:25 » |
|
...สวัสดีค่ะน้องเจี๊ยบ พี่อ่านเทคนิคการเจียวไข่แล้วไปลองทำตาม มารายงานว่าได้ผลดีกว่าที่เจียวโดยใช้กระทะ แต่ยังไม่สวยงาม น่าทานเหมือนที่พี่ชรินทร์ส่งมาค่ะ ต้องลองทำใหม่ให้ได้ใกล้เคียง
....ขอบคุณทั้งพี่ชรินทร์และน้องเจี๊ยบค่ะ รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหามจริงๆ
|
|
|
|
มีนา
Hero Cmadong Member
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2515
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 1,865
|
|
« ตอบ #398 เมื่อ: 25 กันยายน 2552, 20:07:27 » |
|
...สวัสดีค่ะน้องหนิง พี่ตามอ่านรายการทำอาหารของหนิงเหมือนกัน ว่าจะลองทำเค้กแอปเปิ้ลเหี่ยวๆซะหน่อย
|
|
|
|
Preecha2510
Cmadong Member
Full Member
ออฟไลน์
รุ่น: rcu2510
กระทู้: 788
|
|
« ตอบ #399 เมื่อ: 26 กันยายน 2552, 11:57:32 » |
|
สวัสดีครับน้อง Jiab 16
ขอบคุณที่แนะนำวิธีทอดไข่เจียวที่อร่อยมาให้ทราบ ได้ทดลองทำแล้วกรอบนอก นุ่มใน
อร่อย เรื่องทอดไข่เจียวให้อร่อยนี้เคยสารพัดทดลองทำมาแล้วทุกรูปแบบตั้งแต่หนุ่มจนแก่ไม่เคยได้ผลเลย เพิ่ง
มาทราบในวันนี้เองทั้งที่เป็นเรื่องไม่ยากในการทำ ( ที่ผ่านมาอยากทานไข่เจียวอร่อยต้องไปทานที่ร้านอาหาร เคย
เข้าไปถามวิธีทำ แม่ครัวไม่ยอมบอก )
|
|
|
|
|