22 พฤศจิกายน 2567, 09:54:56
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 13  ทั้งหมด   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: * I N V E S T M E N T *  (อ่าน 167364 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
EdDy_Smart81
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 654

« ตอบ #150 เมื่อ: 07 มกราคม 2552, 14:40:45 »

อ้างถึง
ข้อความของ ตี๋เล็ก กฤษดา เมื่อ 07 มกราคม 2552, 12:20:50
อยากทราบว่า ธนาคารไหนมั่นคงที่สุดตอนนี้
และเค้าดูกันยังไงอ่ะ
อืม  พี่ตี๋พิจารณาจากโครงสร้างสินเชื่อได้ครับ ยามเศรษฐกิจถดถอยเนี่ย ธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูงเช่น SME ก็อาจทำให้ธนาคารที่มีสัดส่วนสินเชื่อตรงนี้สูงมีปัญหา จากลูกหนี้ผิดชำระได้มากเช่นกัน อีกทั้งกลุ่มที่มีเช่าซื้อรถยนต์ก็อาจเป็นอีกกลุ่มที่ได้รับผลกระทบทำนองเดียวกัน สรุปหลักๆ ก็คือคุณภาพของสินเชื่อที่ปล่อย  แต่ทุกวันนี้ธนาคารขนาดใหญ่ของไทยที่ผ่านปี 40 มา ก้มีความเข้มงวดเรื่องการปล่อยสินเชื่อมาก อีกทั้งหลายๆ แบงค์ขนาดใหญ่ ก็มีสัดส่วน LLR/NPL(เงินตั้งสำรองเผื่อหนี้สูญ/หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้) ที่สูงกว่า 79% ไม่ว่าจะเป็น BBL,SCB,KBANK พวกนี้สถานะการเงินแข็งแกร่งครับ รวมทั้งเงินลงทุนสัดส่วนเงินลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงก็มีค่อนข้างน้อย  ไม่เหมือนธนาคารพาณิชย์และวาณิชย์ธนกิจในสหรัฐและยุโรป  ที่ล้มๆ ไปเนี่ยเกิดจากสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงที่ค่อนข้างสูง เช่น ตราสาร CDS, CDO เมื่อเกิดปัญหาราคาสินทรัพย์ด้อยค่าเช่นราคาอสังหาริมทรัพย์ตกต่ำ ตราสารพวกนี้ที่อ้างอิงลูกหนี้จำนองสินเชื่อบ้านจะตกเร็วมาก ทำให้ขาดสภาพคล่อง เพราะมีแต่คนขายไม่มีใครอยากได้ จึงทำให้เกิดวิกฤตครั้งนี้  แต่ถ้าช่วง 3-4 ปีก่อน ตราสารพวกนี้ก็ให้ผลตอยแทนสูงมากเนื่องจากมูลค่าขึ้นตามราคาอสังหาริมทรัพย์ครับ กล่าวโดยสรุปก็คือไอ้บริษัทพวกนี้โตเร็วใน 3-4 ปีก่อนมากจากการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง ไม่ได้โตจากรากฐานคุณภาพสินเชื่อที่มั่นคง พอเกิดฟองสบู่ในราคาอสังหาริมทรัพย์ก็เลยแย่ตามไปด้วย  คร่าวๆ ก็ประมาณนี้ สหรัฐมันแพ้ภัยตัวเองครับ จากนวัตกรรมทางการเงินที่มันพัฒนาขึ้น และการบริโภคที่เกินพอดี แต่โชคร้ายกลับตกกับทุกประเทศ ทำให้คนอื่นคอยซวยไปด้วย เฮ้อ เอิ่มม 
บันทึกการเข้า
นายป้อ
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,124

« ตอบ #151 เมื่อ: 07 มกราคม 2552, 22:11:29 »

 เค้าไม่ยอม
บันทึกการเข้า
ppornson
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,724

« ตอบ #152 เมื่อ: 08 มกราคม 2552, 18:23:38 »

สำหรับผม..ถ้าถามเรื่องความมั่นคง..ตอนนี้เท่ากันทุกแบงค์ เพราะรัฐบาลค้ำประกันเงินฝากเต็มวงเงิน..ไม่ต้องซีเรียสมากครับ..
บันทึกการเข้า
นายป้อ
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,124

« ตอบ #153 เมื่อ: 08 มกราคม 2552, 21:47:13 »

 เหอๆๆ
บันทึกการเข้า
Apirat T.
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,357

« ตอบ #154 เมื่อ: 09 มกราคม 2552, 07:14:22 »

อ้างถึง
ข้อความของ EdDy_Smart81 เมื่อ 07 มกราคม 2552, 14:40:45
สหรัฐมันแพ้ภัยตัวเองครับ จากนวัตกรรมทางการเงินที่มันพัฒนาขึ้น และการบริโภคที่เกินพอดี แต่โชคร้ายกลับตกกับทุกประเทศ ทำให้คนอื่นคอยซวยไปด้วย เฮ้อ เอิ่มม 

จริงแล้วเราโดนไปก่อนมันนานแล้ว แต่ไอ้เรามันเป็นเพียงสยามประเทศ เลยไม่ค่อยมีคนนอกซวยมากนัก

ขอบคุณที่มาให้ความรู้
ขออีก
บันทึกการเข้า
ชาร์ป
Global Moderator
Hero Cmadong Member
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,119

« ตอบ #155 เมื่อ: 13 มกราคม 2552, 16:51:40 »

 ปิ๊งๆ

 
อ้างถึง   

"สบู่ทุกก้อน"
By nives


http://newsroom.bangkokbiznews.com/comment.php?id=5743&user=nives

ผมมักถูกถามจากคนรู้จัก หรือคนที่ติดตามผลงานว่า เขาควรจะซื้อกองทุนรวมของบริษัทไหนดี พูดง่ายๆ ว่า บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมไหนมีฝีมือดีที่สุด คำตอบของผมทุกครั้ง ก็คือ ให้หาบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือในด้านของความซื่อสัตย์ รับผิดชอบ  และมีความสะดวกในการติดต่อซื้อขายเป็นหลัก   

 

ส่วนเรื่องของ "ฝีมือ" ในการลงทุน ผมคิดว่าแต่ละบริษัทก็ทำได้ดีพอๆ กัน หรือถ้าจะพูดแบบนักวิชาการ ก็คือ แย่พอๆ กันเหนือสิ่งอื่นใด ก็คือ บลจ.ส่วนมาก ผมคิดว่ามีคุณสมบัติด้านต่างๆ ใกล้เคียงกัน และอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ถ้าจะมีอะไรแตกต่างกัน ผมคิดว่าเป็นเรื่องของภาพพจน์ที่บริษัทสร้างขึ้น หรือเป็นภาพที่คนมองว่าบริษัทหนึ่งเหนือกว่า หรือดีกว่าอีกบริษัทหนึ่งเท่านั้น และภาพพจน์ที่ว่านั้นก็มักจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตามกาลเวลาหรือตามผลการบริหารกองทุนที่เปลี่ยนไปตามภาวะของตลาดและกลยุทธ์การเลือกหุ้นของบริษัท

 

เช่นเดียวกัน นักลงทุนต่างก็ตั้งความหวังกับรัฐบาลในการแก้ไข หรือพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ คนมักจะคิดว่ารัฐบาลชุดนั้นเก่งมีฝีมือในการบริหารประเทศมากกว่าอีกชุดหนึ่ง เพราะในช่วงเวลานั้น เศรษฐกิจเจริญเติบโตมากกว่า ปัญหาทางเศรษฐกิจมีน้อยกว่า หรืออาจจะเพราะว่า พวกเขาได้ยินมาตรการและคำพูดหรือศัพท์แสงทางเศรษฐกิจที่ดูก้าวหน้าหรือมี "ภูมิปัญญา" มากกว่า

 

ทว่าในความคิดผมเอง ผมไม่แน่ใจว่ารัฐบาลชุดไหนมีความสามารถมากกว่าชุดไหน เพราะการเปรียบเทียบระหว่างรัฐบาลกับอีกรัฐบาลหนึ่งในเวลาเดียวกันนั้นเราทำไม่ได้ รัฐบาลหนึ่งอาจจะมีฝีมือดี แต่ถ้าภาวะเศรษฐกิจส่วนรวมแย่มาก ผลลัพธ์ก็อาจจะออกมาแย่มาก และคนก็คิดว่ารัฐบาลบริหารไม่เป็น รัฐบาลบางรัฐบาล อาจจะไม่มีฝีมืออะไรเลย แต่ประเทศและโลกอยู่ในภาวะเฟื่องฟูเศรษฐกิจก็ไปได้ฉลุย ทุกคนบอกว่ารัฐบาลเก่ง

 

ความคิดของผม ก็คือ รัฐบาลแต่ละรัฐบาลก็คล้ายๆ กัน เมื่อเข้ามาแล้ว สิ่งที่รัฐบาลทำแล้วมีผลกระทบกับเศรษฐกิจจริงๆ ในระยะเวลาอันสั้น ก็คือ การจัดสรรงบประมาณ ซึ่งงบส่วนใหญ่ มักจะถูกกำหนดกันหมดแล้ว เช่นเรื่องของเงินเดือน และงบผูกพันทั้งหลาย งบประมาณอีกส่วนหนึ่งซึ่งไม่มากนัก ก็จะถูกจัดสรรและกระจายออกไปสู่ประชาชน และธุรกิจทั้งหลายและแน่นอนกลับไปสู่นักการเมืองที่มักจะมี "เปอร์เซ็นต์มาตรฐาน" ผ่านโครงการต่างๆ ที่ถือว่าเป็น "ผลงาน" ของรัฐบาล 

 

ดังนั้นโดยรวมแล้ว ไม่ว่ารัฐบาลไหน เมื่อเข้ามาทำงานก็มักจะทำคล้ายคลึงกันหมด ความแตกต่างอาจจะมีในรายละเอียดของโครงการหรือในด้านของ "เปอร์เซ็นต์" ที่จะขอตัดจากงบของนักการเมือง อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างในรายละเอียดนี้ มักไม่ทำให้ภาพรวมของผลกระทบทางเศรษฐกิจเปลี่ยนไป   

 

ดังนั้นไม่ว่ารัฐบาลไหนจะเข้ามาบริหารประเทศ ประเทศก็มักจะเดินไปได้ดีพอๆ กัน หรือจะพูดอีกแบบหนึ่ง ก็คือ แย่พอๆ กัน   สิ่งที่แตกต่างกันจริงๆ ก็คือเรื่องของ "ภาพพจน์" ว่ารัฐบาลไหนทำได้ดีกว่ากันเท่านั้น

 

นั่นทำให้ผมนึกถึงสบู่ สบู่นั้นเป็นสิ่งที่สามารถล้างทำความสะอาดได้ดีเกือบทุกก้อน หรือจะพูดว่าทุกก้อนก็ว่าได้ เพราะบริษัทที่ผลิตสบู่ ต่างก็ใช้สูตรเหมือนกัน ซึ่งพิสูจน์แล้วว่า ทำความสะอาดได้ดี   

 

สิ่งที่แตกต่างกันของสบู่แต่ละยี่ห้อที่สำคัญมาก ก็คือ กลิ่น และการโฆษณาอย่างหนัก เพื่อที่จะชักนำให้ผู้ใช้เชื่อว่าสบู่ของตนดีกว่าสบู่ยี่ห้ออื่น แต่สบู่ก็คือสบู่ ถ้ามีใช้และกลิ่นไม่น่าเกลียดเกินไป ผลลัพธ์ของการใช้ก็ใกล้เคียงกันมาก   

 

ในเรื่องของการลงทุน ผมคิดว่า เรายังมีกิจกรรมที่คล้ายๆ กับเรื่องของสบู่อีกหลายเรื่อง หนึ่งในนั้นก็คือ เรื่องของการวิเคราะห์หุ้นของนักวิเคราะห์ทั้งหลาย นักวิเคราะห์มี "สูตร" การทำงานและการเขียนบทวิเคราะห์เหมือนกันหมด ความ "ถูกผิด" ของการวิเคราะห์นั้น ดูเหมือนว่าจะไม่มีใครทำสถิติว่าเป็นอย่างไร แต่ถึงจะมีคนทำ ด้วยเหตุที่นักวิเคราะห์ แต่ละคนทำนายหุ้นจำนวนมากนับเป็นร้อยๆ ครั้งหรือถ้าทำงานมานานอาจจะเป็นพันๆ ครั้ง โดยธรรมชาติแล้วการทายถูกหรือผิดก็อาจจะใกล้เคียงกัน   
 ดังนั้น จริงๆ แล้วอาจจะไม่มีใครเก่งกว่าใคร ความแตกต่างที่อาจจะทำให้คนหนึ่งดูดี หรือเก่งกว่าอีกคนหนึ่งอาจจะอยู่ที่เรื่องของความสามารถในการบรรยาย หรืออธิบายเหตุผลของบทวิเคราะห์ พูดง่ายๆ เป็นเรื่องของภาพพจน์มากกว่าความเป็นจริง

 

เช่นเดียวกับนักวิเคราะห์ ก็คือ นักเศรษฐศาสตร์ นี่คือกลุ่มคนที่ "อธิบายเรื่องทางเศรษฐกิจที่ผ่านมาแล้วได้ดีมากแต่ไม่สามารถทำนายอนาคตได้แม่นยำ" นักเศรษฐศาสตร์ เนื่องจากทำงานเกี่ยวข้องกับภาพที่ใหญ่มากระดับประเทศหรือระดับโลก ดังนั้นหน้าตาหรือภาพพจน์จึงยิ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด ถ้าคุณไม่ได้อยู่ในหน่วยงานที่มีชื่อเสียงหรือมีความสำคัญในการดูแลภาคเศรษฐกิจของรัฐหรือหน่วยงานสาธารณะ โอกาสที่จะได้รับการยอมรับว่า เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่มีฝีมือในการทำนายทายทักก็ยากมาก และนี่อาจจะรวมไปถึงคุณสมบัติส่วนตัวของนักเศรษฐศาสตร์ว่า เขาเรียนจบมาจากที่ไหนด้วย   

 

ผมเองคิดว่า นักเศรษฐศาสตร์เองก็มีคุณสมบัติคล้ายๆ กับสบู่เหมือนกันนั่นคือ นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ก็ดีเหมือนกันหมดหรือแย่เหมือนกันหมดหรือใช้ได้เหมือนกัน ความแตกต่างอยู่ที่ "กลิ่น" นั่นก็คือ ภาพพจน์ว่าใครสามารถสร้างความน่าเชื่อถือได้มากกว่ากัน

 

นอกจากเรื่องของการจัดการการลงทุน การเมือง การวิเคราะห์หุ้น และเศรษฐศาสตร์แล้ว ผมคิดว่ายังมีเรื่องอื่นๆ โดยเฉพาะเรื่องทางสังคมศาสตร์อีกมาก เช่นฝีมือในการสอนหนังสือของสถาบันการศึกษา หรือหมอดูชื่อดังต่างๆ ซึ่งมักจะอ้างว่าแม่นยำเก่งกว่าคนอื่นนั้น แท้จริงแล้ว อาจจะไม่ได้เป็นอย่างนั้นเลย กิจกรรมของพวกเขาอาจจะเป็น "สบู่" ที่มีคุณสมบัติพื้นฐานเหมือนกันและใช้ได้ใกล้เคียงกัน  ความแตกต่างอยู่ที่กลิ่นหรือภาพพจน์เท่านั้น

 

ที่เขียนมาทั้งหมด ต้องการที่จะบอกว่า ในฐานะที่เป็น Value Investor เราต้องแยกแยะได้ว่าอะไรเป็นของจริง อะไรเป็นเรื่องภาพพจน์ หรือกิจกรรมอะไรเป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่ ไม่สามารถจะทำได้โดดเด่นกว่าคนอื่น หรือทุกคนทำได้แย่พอๆ กัน ดังนั้น เราอย่าไปเชื่อว่าคนคนหนึ่งเก่งกว่าคนอื่นๆ ทั้งที่ไม่มีข้อพิสูจน์และเป็นเพียง "ภาพ" ที่ปรากฏต่อสาธารณชนเท่านั้น   



บันทึกการเข้า
EdDy_Smart81
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 654

« ตอบ #156 เมื่อ: 14 มกราคม 2552, 09:54:29 »

เห็นด้วยกับบทความของเพื่อนชาร์ป สิ่งสำคัญที่สุดคือการตัดสินใจของเราเองครับ   sleep
บันทึกการเข้า
ppornson
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,724

« ตอบ #157 เมื่อ: 27 เมษายน 2552, 10:23:48 »

PTT เข้าได้ป่าว ถือยาว 3 เดือน ไม่งั้นขอเจ๋งๆซัก 2 ตัวครับน้อง eddy ที่ไม่ใช่พลังงานก็ได้..
      บันทึกการเข้า
Mr.EggMan
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,826

« ตอบ #158 เมื่อ: 27 เมษายน 2552, 16:49:44 »

TICON
BSEC

ปั่น แปะ

ตาดีได้ ตาร้ายเสีย

  smoke
      บันทึกการเข้า

jakkreepan@hotmail.com
Love is in the A...I...R......H
ppornson
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,724

« ตอบ #159 เมื่อ: 28 เมษายน 2552, 07:00:56 »

โหแต่ละตัว..เล่นหุ้นนะโว้ย..เป็นการลงทุน..ไม่ใช่แทงม้า..
      บันทึกการเข้า
Apirat T.
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,357

« ตอบ #160 เมื่อ: 29 เมษายน 2552, 10:55:58 »

ถามเหล่านักพยากรณ์หน่อย

คาดว่าปีนี้ Baht/USD อ่อนสุดจะเกิน 38 Baht/USD ป้ะ
จะเอาไปคำนวณอะไรบางอย่าง
      บันทึกการเข้า
Mr.EggMan
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,826

« ตอบ #161 เมื่อ: 29 เมษายน 2552, 11:39:28 »

 บ่ฮู้บ่หัน

ตอบยากครับตาแคม อย่างปีที่แล้วมันยังแกว่งตัวได้ 31.2-35.6

อย่างปีนี้ก็เคยแกว่งไปแตะ36กว่าๆอยู่พักนึง แต่ด้วยความพยายาม
ของแบงค์ชาติคงจะไม่ปล่อยให้ลอยไปถึง38กระมัง แต่ถ้าได้ก็ดี



จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2388 01 ม.ค. - 03 ม.ค. 2552
 

 
 

ดูขยายใหญ่
 
 
 
ดอลลาร์-ทุนไหลออก-การเมือง แกว่ง 'ค่าบาท' ปี2552 
รอบปี 2551 สถานการณ์ความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท ถูกกำหนดโดยปัจจัยหลัก


หลายประการ เช่น ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เงินสกุลหลักในภูมิภาคเอเชีย ความเชื่อมั่นต่อปัจจัยในประเทศทั้งการเมืองและพื้นฐานเศรษฐกิจไทย ฯลฯ











โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประกาศตัวเลขค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯรายไตรมาส ไตรมาสแรก (ม.ค.-มี.ค.) อยู่ที่ 32.42 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ไตรมาสที่ 2 (เม.ย.-มิ.ย.) อยู่ที่ 33.20 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ และไตรมาส 3 (ก.ค.-ก.ย.) อยู่ที่ 33.89 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ และในเดือนตุลาคม 2551 เฉลี่ยค่าเงินอยู่ที่ 34.43 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ











ระดับของค่าบาทแข็งค่าสุด ในปี 2551 อยู่ที่ 31 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2551 และอ่อนค่าที่สุดที่ระดับเกือบ 36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯในเดือนพฤศจิกายน 2551 อย่างไรก็ตามตลอดทั้งปี ไม่ว่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวในทิศทางที่อ่อนค่าเร็วเกินไปหรือแข็งค่าเร็วเกินไป ธปท.ได้เข้าดูแล (แทรกแซง) ค่าเงินให้มีเสถียรภาพ เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับสกุลเงินหลักในภูมิภาค เพื่อไม่ให้เสียเปรียบทางการแข่งขันกับคู่แข่ง (ดูตารางเปรียบเทียบค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เทียบกับสกุลเงินหลักในภูมิภาค)














****ทิศทางบาทปี 52 ไปทางไหน


แนวโน้มค่าเงินบาทในปี 2552 มีปัจจัยภายนอกที่มีผล คือ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ และเงินสกุลหลักในภูมิภาคเอเชีย รวมถึงผลจากการเคลื่อนย้ายเงินทุนกลับไปยังสหรัฐอเมริกาจากผลกระทบของวิกฤติการเงิน











ขณะเดียวกันปัจจัยในประเทศที่สำคัญ ซึ่งมีผลต่อค่าเงินบาท เช่น สถานการณ์การเมือง อัตราดอกเบี้ยที่เข้าสู่แนวโน้มขาลง ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งขณะนี้ต่างเป็นที่ประมาณการว่าจะเข้าสู่ภาวะขาดดุลทั้งคู่ในปี 2552 ซึ่งเป็นผลให้เงินบาทเคลื่อนไหวในทิศทางที่อ่อนค่า











'กรณ์ จาติกวณิช' รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้ความเห็นว่า จากปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจไทยในขณะนี้และแนวโน้มในปี 2552 ที่คาดว่า การส่งออกที่เป็นเครื่องยนต์หลักของเศรษฐกิจไทยอาจเติบโตได้ในอัตราที่ลดลงจากปี 2551 คือ ลดลงจาก 3.4% ต่อจีดีพี เป็น -0.6% ถึง 1.6% ต่อจีดีพี ในปี 2552 ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2552 คาดว่าจะอยู่ในระดับติดลบ -2.4% ถึง -0.4% ต่อจีดีพี จึงทำให้ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯจะมีแนวโน้มอ่อนค่าลงไปได้อีกจากปัจจุบัน








"เป็นหน้าที่ของ ธปท. ที่จะต้องรักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาทไม่ให้เกิดความผันผวน หรือขึ้นลงเร็วเกินไปในลักษณะผิดปกติ และต้องรักษาระดับค่าเงินบาทให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับค่าเงินของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเดียวกัน โดยเฉพาะกับประเทศคู่ค้าต่างๆ" รมว.คลังกล่าว











วงการตลาดเงินคาดการณ์สถานการณ์แนวโน้มค่าเงินบาทต่างมุมมอง เช่น สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ใช้สมมติฐานแนวโน้มค่าเงินบาทปี 2552 ไว้ที่ 34-36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ นักบริหารเงินและนักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ระดับของค่าเงินบาทแข็งค่าสุดและอ่อนค่าสุดไว้ตั้งแต่ 33.50-37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ








"อุสรา วิไลพิชญ์" นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด (ประเทศไทย)


มองแนวโน้มครึ่งแรกของปี 2552 ค่าเงินสกุลหลักในภูมิภาคเอเชียและค่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าลงต่อเนื่อง โดยกลางปี 2552 เคลื่อนไหวเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งค่าเงินบาทในปีหน้าจะถูกกำหนดด้วยปัจจัยต่างประเทศเป็นสำคัญ ทั้งการเคลื่อนย้ายเงินทุน และภาคเศรษฐกิจจริง โดยปีนี้มีโอกาสเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั้งในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเอเชีย โดยเฉพาะภาคการส่งออก ดังนั้นดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดจะได้รับผลกระทบมาก








ขณะที่ความเห็นของ ดร.บันลือศักดิ์ ปุสสะรังสี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัยสายบริหารความเสี่ยง ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) มองแนวโน้มค่าบาทปี 2552 ผันผวนตามค่าเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ โดยต้นปีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯมีแนวโน้มอ่อนค่าลงจากการขาดดุลจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งจะเป็นขาดดุลมากที่สุดในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา แต่ในช่วงครึ่งปีหลังมีโอกาสที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯจะดีดกลับขึ้นมาแข็งค่าขึ้นได้อีก จากการไหลเข้าของเงินทุนเคลื่อนย้ายที่จะไหลกลับเข้าสหรัฐฯ











"ธิติ ตันติกุลานันท์" ผู้บริหารธุรกิจตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน) ระบุว่า คาดว่าค่าเงินบาทไตรมาสแรกจะแกว่งอยู่ระหว่าง 33.50-35.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ปัจจัยแวดล้อมยังผันผวนและมีความถี่ในการเปลี่ยนเป็นรายสัปดาห์จึงต้องติดตามอย่างใกล้ชิด








ทางด้าน "เผด็จ วิรุฬห์สิทธิ์" ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด(มหาชน) กล่าวถึงทิศทางค่าเงินบาทปีหน้าน่ามีเสถียรภาพ โดยไตรมาสแรกมีแนวโน้มแข็งค่าอยู่ระหว่าง 34-35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ สาเหตุหลักจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เพราะโดยสภาพทั่วไปการที่สหรัฐฯยังคงพิมพ์ธนบัตรออกมาใช้อย่างไม่หยุดยั้งโดยไม่รู้ว่าจะสร้างภาระผูกพันงบประมาณมากแค่ไหนในอนาคต อีกทั้งการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด)ที่ผ่านมา ยังสะท้อนระยะปานกลาง 1-2 ปี เศรษฐกิจสหรัฐฯยังถดถอย ประกอบกับสถาบันการเงินที่ยังค่อนข้างเปราะบาง แนวโน้มดอลลาร์สหรัฐฯจะแข็งค่าได้อย่างไร











****ลดดบ.นโยบายไม่กดดันค่าเงิน


ในส่วนของปัจจัยแวดล้อมที่เปลี่ยนไปจากอัตราดอกเบี้ยที่เข้าสู่ขาลง หลังจากที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยจาก 3.75% เหลือ 2.75% ซึ่งมีผลเมื่อ 3 ธันวาคม 2551 ที่ผ่านมาและคาดการณ์ว่าแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอาจปรับลดลงจนถึงกลางปี 2552











ก่อนหน้านี้ "สุชาดา กิระกุล" ผู้ช่วยผู้ว่าการสายตลาดการเงิน แบงก์ชาติ เคยให้ความเห็นไว้ว่า หลังจากที่กนง.มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยอาร์/พีลง 1.0% ส่งผลให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของไทยไม่ได้มีความแตกต่างจากประเทศอื่นๆมากนัก เนื่องจากหลายประเทศได้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง ดังนั้นส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยจึงไม่ได้สร้างแรงกดดันต่อค่าเงิน











นอกจากนี้ หากเทียบค่าเงินบาทในช่วงก่อนและหลังปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยเอาค่าเงิน ณ วันที่ 9 ธันวาคม 2551 เทียบวันที่ 1 ธันวาคม 2551 ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น 0.88% ซึ่งอยู่อันดับที่ 8 ในภูมิภาค นับว่ายังเป็นไปตามภูมิภาค อย่างไรก็ตามหากค่าเงินเคลื่อนไหวเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 4 - 5% นับว่าค่อนข้างมีเสถียรภาพ








เงินบาทปี 2552 จะเคลื่อนไหวในทิศทางที่อ่อนค่าหรือแข็งค่า มีทั้งปัจจัยภายนอกและในประเทศเป็นตัวกำหนด ซึ่งท้ายที่สุดแล้วปีนี้คงเป็นอีกปีที่ "แบงก์ชาติ" ในฐานะผู้ดูแลเสถียรภาพต้องเหนื่อยหนัก


 
 
 
 
      บันทึกการเข้า

jakkreepan@hotmail.com
Love is in the A...I...R......H
Max
Hero Cmadong Member
***

ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,435

« ตอบ #162 เมื่อ: 29 เมษายน 2552, 22:07:46 »

ถ้ามีคนบอกว่า PTT  จะเจ๊ง  จะเชื่อเค้าป่ะ ??

แล้วถ้าไม่เชื่อ... ขอเหตุผลทีดิว่า...ทำไม ??
      บันทึกการเข้า
Apirat T.
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,357

« ตอบ #163 เมื่อ: 30 เมษายน 2552, 12:08:44 »

Thank you ตาไข่ ตีเอาไว้ที่ 37 Baht/USD กันเหนียว

ส่วนของแม็กซ์ ถ้าดูจากภาพทั่วๆ ไป
เช่น การเป็นเจ้าของหรือถือหุ้นโรงกลั่นและโรงแยก เกือบจะทั้งหมดของเมืองไทย
คงจะตอบได้ว่า น่าจะเจ๊งยาก

แต่ถ้าจะเจ๊ง ก็อาจจะเป็นสาเหตุเดียวกับการบินไทย
คือ การบริหาร และการเมืองภายใน (ล่ะมั้ง)
      บันทึกการเข้า
ppornson
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,724

« ตอบ #164 เมื่อ: 05 พฤษภาคม 2552, 12:02:16 »

ทำไม..ไอ้แครมมมจะนำเข้าจิมแคนจากญี่ปุ่นเหรอ..ต้องรู้เรื่องค่าเงินบาทซะด้วย..
      บันทึกการเข้า
EdDy_Smart81
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 654

« ตอบ #165 เมื่อ: 12 พฤษภาคม 2552, 09:05:12 »

ไปบวชกลับมาเพื่อนๆ รวยเลยเละ สังสัยเป็นผลบุญที่เราต้องใจปฏิบัติและอุทิศให้ เชียร์ขายของตั้งแต่วันนี้ครับ ดีดขึ้นสูงๆ ขาย แม้สัญญาณต่างชาติยังซื้อหนักอย่างต่อเนื่อง  แต่สถานะ Long Future ของต่างชาติที่เปิดสะสมมาตั้งแต่ 400  ตอนนี้เริ่มปิดสถานะ มาเปิด Short หนักๆ แล้ว แนะนำทยอยขายตัวใหญ่ๆ เช่นขายเรือ ขายถ่านหิน พลังงาน จังหวะดีดขึ้นแรงๆ  ลดพอร์ตนะครับ เปลี่ยนเป็นเล่นสั้นซื้อตอนย่อแรงๆ รอดีด  ไม่แนะนำสะสม 
ป.ล. ที่พี่โต้งถามมาโทษทีครับ ผมไม่ได้มาอ่าน  หลายวัน เลยไม่ได้แนะให้เก็บอะไร  คาดว่าคงยังมีบ้านปูอยู่ พี่ทยอยขายไปก่อนได้นะครับ ขอให้รวยๆ กันทุกท่าน

“ข้อมูลเหล่านี้ รวบรวมจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และความคิดเห็นส่วนบุคคล แต่ผู้เขียนมิได้มีเจตนาชี้นำเพื่อการลงทุน และไม่รับรองความถูกต้องของข้อมูลใดๆ  การซื้อหรือขายหลักทรัพย์ใดๆ  เป็นการตัดสินใจของผู้ลงทุนเอง ไม่ว่าจะเกิดจากการอ่านบทความนี้หรือไม่ ผู้เขียนม่มีส่วนเกี่ยวข้องและไม่ขอรับผิดชอบทุกกรณี  การลงทุนนั้นมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนโปรดใช้วิจารณญาณในการลงทุน”
   
      บันทึกการเข้า
EdDy_Smart81
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 654

« ตอบ #166 เมื่อ: 12 พฤษภาคม 2552, 09:06:24 »

รอจังหวะซื้ออรอบใหม่ ครับ ตลาดใกล้ปรับฐานแล้ว
      บันทึกการเข้า
ชาร์ป
Global Moderator
Hero Cmadong Member
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,119

« ตอบ #167 เมื่อ: 12 พฤษภาคม 2552, 10:35:38 »

จริงอ่ะ .. ข่าวดี ๆ ๆ
      บันทึกการเข้า
ppornson
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,724

« ตอบ #168 เมื่อ: 12 พฤษภาคม 2552, 13:48:23 »

เอาตรงเท่าไหร่ดีน้องชาย..banpu กับ ptt ซื้อนะ..
      บันทึกการเข้า
EdDy_Smart81
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 654

« ตอบ #169 เมื่อ: 12 พฤษภาคม 2552, 16:24:31 »

รอดู ดัชนี 450 ผมว่าน่าจะมีแรงเทคล่ะ
      บันทึกการเข้า
ppornson
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,724

« ตอบ #170 เมื่อ: 12 พฤษภาคม 2552, 17:06:27 »

เฮ้ย..วันนี้มัน 540 แล้วนา..แล้วจะได้ซื้อเหรอ..ตอนนี้จะขายก็ไม่กล้าขาย จะซื้อก็ไม่กล้าซื้อ
      บันทึกการเข้า
หลิม 81
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,840

« ตอบ #171 เมื่อ: 12 พฤษภาคม 2552, 22:30:23 »

น่าสนใจ ยังไงช่วยแนะนำ้บ้างครับ...

ปล. ไม่มีเงินแต่หน้าด้านอยากลงทุน ใครให้ยึมบ้าง
      บันทึกการเข้า

@ ปีนี้ปีของผม @
EdDy_Smart81
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 654

« ตอบ #172 เมื่อ: 19 พฤษภาคม 2552, 10:30:15 »

อ้างถึง
ข้อความของ ppornson เมื่อ 12 พฤษภาคม 2552, 17:06:27
เฮ้ย..วันนี้มัน 540 แล้วนา..แล้วจะได้ซื้อเหรอ..ตอนนี้จะขายก็ไม่กล้าขาย จะซื้อก็ไม่กล้าซื้อ

อ้าววันนั้นผม เขียนผิด 540 นั่นล่ะ หลังจากไปเทส 550 ก็มีแรงเทค 30 กว่าจุด  ถามว่าวันนี้ทำไง  วันนี้ขึ้นมา 555 อีกแล้ว  ผมแนะนำขายนะครับวันนี้ เด่วนี้   รอดูว่ามันยืน 560 ได้มั้ย หากยืนได้ set จะวิ่งต่อไป 600 ถึง 610 ดังนั้นยืน 560 ค่อยกลับมาซื้อใหม่  ปล. บ้านปู ขึ้นมากมาย ตามหุ้น ถ่านหินทั่วโลกที่นักวิเคราะห์ทั้งโลกให้นำหนักการลงทุนเป็นมากกว่าตลาด  ผมเช็คดัชนีหุ้นถ่านหินโลก ปีนี้กำลังส่ง Setiment เชิงบวก new high ของปีนะครับ  อย่างต่อเนื่อง    ช่วงนี้รวยกันถ้วนหน้า ทุกคนนะครับ  เศรษฐกิจแย่ๆ คือโอกาสของเราที่มีเงินสะสมไว้บ้าง
      บันทึกการเข้า
EdDy_Smart81
Full Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 654

« ตอบ #173 เมื่อ: 19 พฤษภาคม 2552, 10:36:48 »


ทีเด็ดนะครับ  หาก SET จะไปต่อ เลือก TTA ครับสำหรับคนชอบเสียวๆ  แรงๆ 
                                                        BANPU  อุ่นใจไปกับพื้นฐาน
                                                       IRP นั่งนิ่งๆ ยาวๆ ขึ้นเรื่อยๆ รอ 10 บาท

“ข้อมูลเหล่านี้ รวบรวมจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และความคิดเห็นส่วนบุคคล แต่ผู้เขียนมิได้มีเจตนาชี้นำเพื่อการลงทุน และไม่รับรองความถูกต้องของข้อมูลใดๆ  การซื้อหรือขายหลักทรัพย์ใดๆ  เป็นการตัดสินใจของผู้ลงทุนเอง ไม่ว่าจะเกิดจากการอ่านบทความนี้หรือไม่ ผู้เขียนม่มีส่วนเกี่ยวข้องและไม่ขอรับผิดชอบทุกกรณี  การลงทุนนั้นมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนโปรดใช้วิจารณญาณในการลงทุน”
      บันทึกการเข้า
ppornson
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,724

« ตอบ #174 เมื่อ: 19 พฤษภาคม 2552, 11:45:52 »

แทงหวยๆ..หุ หุ

ขายไปจนของจะหมดแล้ว เลยรอดูเฉยๆรอซื้ออยู่น่ะ..
      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 13  ทั้งหมด   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย  พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><