(ต่อ)
ทางแก้ปัญหา มีทางเลือกหลายทาง
แต่ทางที่กรุงโซล เลือกคือ
เอาทางด่วนยกระดับ และ ถนนเหนือ ทางน้ำทิ้งออก
แล้วสร้างลำธารแห่งพลังนี้ขึ้นมาใหม่ !!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!
ในยุคที่เศรษฐกิจกำลังโตถนนนั้นสำคัญ
แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งแล้ว กรุงโซลเลือกพื้นที่สีเขียวสำคัญกว่าเศรษฐกิจ
โครงการสร้างลำธารจึงเกิดขึ้น
ไม่ใช่เรื่องง่ายครับ แต่กรุงโซล ก็ยังหาเรื่องยากๆ มาให้การดำเนินการครั้งนี้อีก
คือ การทำลายถนน และ ทางยกระดับ "ห้ามมีเสียง ห้ามมีฝุ่น และห้ามปิดถนน" ครับ
วิศวกรเริ่มต้นการดำเนินการที่แสนจะยุ่งยาก
เริ่มจากการสร้างกำแพงสองชั้นสูงจนปิด ทางด่วนยกระดับ
เพื่อป้องกันเสียง
ผลจากการวัดระดับเสียงการทำงาน ปรากฏว่าระดับ เสียงที่ลอดออกมา
เบากว่าระดับเสียงในตลาดสดอีกครับ
การรื้อถอน และ การตัด ใช้น้ำหล่อ เพื่อลดฝุ่น
การรื้อทำเป็นขั้นตอนดังนี้
ขั้นแรก เราะเอาพื้นยางมะตอยบนทางด่วนยกระดับออก
ขั้นตอนที่สอง ตัดเสารูปตัวทีออกทีละชื้น (โดยใช้ลวด ที่มีเพชรอยู่)
ค่อยๆ ยกชิ้นส่วนที่ละชิ้นใส่รถ
(ตอนดู ตอนเค้าตัด หรือ ยกชิ้นส่วน รอบๆ พื้นที่ก่อสร้างยังมีเดินไปเดินมาอยู่เลย
สุดยอด เพราะ ถ้าพลาดนิดเดียว ชื้นส่วนมหึมาที่ตัดออกมาได้หล่นใส่คนแบนแน่ๆ)
ทุกอย่างที่รื้อออกมา ทั้งยางมะตอย โครงสร้าง เหล็ก รถจะวิ่งเอาไปไว้ที่นอกเมือง
เพื่อทำการ recycle เป้าหมาย 90% ต้องนำกลับมาใช้ให้หมด
เมื่อรื้อโครงสร้างเสร็จ
ก้อจะทำลายพื้นผิวถนน เหนือ ทางน้ำทิ้งใต้ดิน
เมื่อเสร็จ ก้อจะเปิดเผย ลำธารเดิมออกมาให้ยลโฉม
จากนั้น ก้อเป็นขั้นตอนการสร้างลำธาร
ทั้งแต่ การทำให้พื้นลำธานแน่น เพื่อกันน้ำซึมออกไว้เกิน (กันน้ำแห้ง)
การคำนวณทางเดินของลำธาร
เพื่อให้ความเร็วในการไหลของลำธาร เป็นไปตามที่ได้ทดลองไว้
(ไม่ให้เร็วเร็ว หรือ ช้าเกินไป)
การแยกระบบน้ำทิ้งออกไปจากลำธาร
การดึงน้ำจากแม่น้ำด้านข้าง ให้เข้ามาในลำธาร ในกรณีที่ลำธารไม่มีน้ำ
รวมถึงการปลูกต้นไม้รอบๆ ลำธาร ในระยะทางหลายสิบกิโลเมตร
สองปี เสร็จสิ้นโครงการครับ (รู้สึกจะเสร็จตอนปี 2005 นะ ถ้าจำไม่ผิด)
ลองอ่านดูล่ะกันนะครับ ผมว่าเราคิดอะไรได้หลายอย่าง จากโครงการนี้
ตาแคม