22 พฤศจิกายน 2567, 09:08:49
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: [1]   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: ความเหลื่อมล้ำของระบบประกันสุขภาพเมืองไทย แก้ได้ด้วยรวม 3 กองทุนเป็นกองทุนเดียว  (อ่าน 4728 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« เมื่อ: 12 กุมภาพันธ์ 2554, 18:43:49 »


     ความเหลื่อมล้ำของระบบประกันสุขภาพเมืองไทย

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   12 กุมภาพันธ์ 2554 15:24 น.

http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9540000019093

      

       เมื่อไม่นานมานี้มีกระแสของการวิพากษ์วิจารย์ระบบประกันสังคมอย่างมากมาก กับกระแสวิพากษ์วิจารณ์เรื่องของ

       ความแตกต่างระหว่าง "ระบบประกันสังคม" และ "ระบบรักษาฟรี" โดยจากการศึกษาเปรียบเทียบทั้ง 2 ระบบ ของ นพ.พงศธร พอกเพิ่มดี นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข

       พบความแตกต่างที่เป็นความเหลื่อมล้ำของระบบประกันสุขภาพ ระบบประกันสุขภาพในประเทศไทยนั้นมีความเหลื่อมล้ำกันอย่างมาก นอกจากจะมีหน่วยงานบบริหารจัดการที่แตกต่างกัน ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องเดียวกัน ค่าใช้จ่ายรายหัว สิทธิประโยชน์ ก็ยังแตกต่างกันอย่างมาก แสดงให้เห็นถึงปัญหาการจัดสรรทรัพยากรของประเทศ ที่กลายเป็นความเหลื่อมล้ำของสังคม โดยได้แจกแจงไว้ในรายละเอียดต่อไปนี้

       ด้านค่าใช้จ่ายต่อหัว และสิทธิประโยชน์

       จากการศึกษาในปี 2554 พบว่าสิทธิประกันสังคมมีค่าใช้จ่ายต่อคนต่ปีเป็นจำนวนเงิน 2,105 บาท ภายใต้การจ่ายเงินของ ผู้ประกันตน นายจ้าง และรัฐบาล ขณะที่สิทธิรักษาฟรี มี 2,546.48 บาทโดยมีรัฐบาลเป็นผู้รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว นอกจากนี้เรื่องของการรักษาผู้ป่วยในนั้นยังพบว่า สิทธิประกันสังคมจะต้องจ่ายแบบเหมาจ่าย ส่วนสิทธิรักษาฟรีนั้น จ่ายให้ตามกลุ่มโรค (DRG)ส่วนผู้ประกันตนที่เป็นป่วยนอกก็ต้องจ่ายตามจริง ที่ตนต้องรักษา ขณะที่สิทธิรักษาฟรี รัฐบาลจะจ่ายให้ตามอัตราค่าเหมาจ่ายรายหัว ร่วมกับโครงการพิเศษอื่นๆ
      
       ด้านกฏหมายที่เกี่ยวข้อง

       จากการศึกษารายละเอียดพบว่า กฏหมายประกันสังคมมีความล้าหลังอย่างมาก ซึ่งปัจจุบันพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ประกันสังคมเกิดขึ้นในปี 2533 กว่า 20 ปีมาแล้ว ช่วงนั้นประเทศไทยยังไม่มีระบบหลักประกันสุขภาพที่ครอบคลุม ประกันสังคมถือว่าเป็นนวตกรรมที่ก้าวหน้าของสังคม โดยมีหลักคิดในการสร้างความมั่นคงของสังคม แต่ในปัจจุบันมีพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพ ปี 2545 ที่ขยายหลักประกันสุขภาพสำหรับคนไทยทุกคน โดยคำนึงถึงสิทธิขั้นพื้นฐานที่คนไทยทุกคนควรได้รับอย่างเท่าเทียม ไม่เพียงเท่านั้นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปี 2550 มาตรา 51 ระบุว่า บุคคล ย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุข ที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่ สังคมไทยจะต้อง ยกเครื่อง พ.ร.บ.ประกันสังคมปี 2533 ใหม่
      
       ด้านภาระงบประมาณของรัฐบาล

       ในปี 2553 ภาระงบประมาณสำหรับค่ารักษาพยาบาลของระบบหลักประกันสุขภาพทั้ง 3 ระบบหลัก รัฐบาลใช้เงินสำหรับสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการและครอบครัว 4.9 ล้านคน จำนวน 62,195 ล้านบาท ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจำนวน 47.7 ล้านคน จำนวน 120,846 ล้านบาท ขณะที่ให้กับระบบประกันสังคมเพียง 1 ใน 3 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด (22,471.68 ล้านบาท) จำนวน 7,490.62 ล้านบาท เท่านั้น
      
       จากผลการศึกษาครั้งนี้มีผลทำให้ภาคประชาชนบางกลุ่มลุกขึ้นมารวมตัวกันก่อตั้งชุมรมพิทักสิทธิ์ผู้ประกันตน ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์และเดินหน้าเพื่อเคลื่อนไหวทางภาคสังคม นำไปสู่การเรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนแปรงระบบประกันสุขภาพของไทยให้มีความเสมอภาคกันมากขึ้น ซึ่งหลังจากนี้จะต้องติดตามความคืบหน้าต่อไป

                 win win win

))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))

        

         ความเหลื่อมล้ำของระบบประกันสุขภาพเมืองไทยแก้ได้ด้วยการรวมกองทุนเป็นกองทุนเดียว
เป็น กองทุนสุขภาพแห่งชาติ โดยใช้การเชื่อม ร.พ.เป็นเครือข่ายสาธารณสุข : VPN

        

กับ Skype ทำให้สามารถเชื่อมโยงต่างสถานบริการสาธารณสุข ติดต่อกันทางภาพและเสียงได้
จะลดการดูแลที่แตกต่าง แพทย์แต่ละ ร.พ.เข้าดู ร.พ.อื่น เพื่อให้การดูแลต่อเนื่องและเรียนรู้เพิ่ม
ช่วย สำนักงานประกันสุขภาพ สปสช. เข้าตรวจสอบข้อมูล ในการสุ่มตรวจสอบข้อมูลการเบิกได้

http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,10326.0.html

                 gek gek gek
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
  หน้า: [1]   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย  พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><