BU_KA
Full Member
ออฟไลน์
กระทู้: 986
|
|
« ตอบ #25 เมื่อ: 06 กุมภาพันธ์ 2554, 12:02:14 » |
|
กราบชื่นชมผลงานท่านอาจารย์และครอบครัวค่ะ
|
|
|
|
ta
มือใหม่หัดเมาท์
ออฟไลน์
กระทู้: 17
|
|
« ตอบ #26 เมื่อ: 06 กุมภาพันธ์ 2554, 12:46:57 » |
|
โทรไปแสดงความยินดีเช่นกันค่ะ
|
|
|
|
jeam
สมาชิกวิสามัญ
Full Member
ออฟไลน์
กระทู้: 574
|
|
« ตอบ #27 เมื่อ: 06 กุมภาพันธ์ 2554, 13:07:44 » |
|
ขออนุญาต นำเรื่องราวของ อ.เผ่า มาเผยแพร่ ด้วยความชื่นชมครับ
นายเผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี ชื่อเล่น: เผ่า เพศ: ชาย ที่อยู่: Thailand กรุงเทพมหานคร เขตปทุมวัน สถานที่ทำงาน: Thailand กรุงเทพมหานคร เขตปทุมวัน การศึกษา:
สถานภาพ: เต็มเวลา, งานเสริม, อิสระ, สมัครเล่น คำแนะนำตัว: ครูช่างสถาปัตยกรรมไทย - นิสิตเก่าดีเด่น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - อาจารย์ดีเด่น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มีความตั้งใจที่จะประกอบอาชีพในฐานะสถาปนิกที่รับผิดชอบต่อวิชาชีพ อย่างซื่อสัตย์สุจริต อนุรักษ์และสืบทอดงานสถาปัตยกรรมประจำชาติต่อไป ตลอดจนการออกแบบสร้างสรรค์ผลงานอย่างมีคุณภาพ และพัฒนารูปแบบและกรรมวิธีการก่อสร้าง การเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
ประวัติโดยสังเขป: ประวัติการศึกษา
ระดับประถมศึกษา : พ.ศ. ๒๕๐๓ - ๒๕๐๖
เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ -๔ จากโรงเรียน จารุพันธ์พิทยา อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี เริ่มสนใจและหัดเรียนสีน้ำกับ ครูไชยพันธ์ สิทธิพันธ์ ซึ่งเป็นครูที่สอนศิลปะคนแรกในชีวิต
: พ.ศ. ๒๕๐๗ – ๒๕๐๙
เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ - ๗ จากโรงเรียน สงเคราะห์ศึกษา อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี เริ่มมีความสนใจและเริ่มเรียนศิลปะไทยโดยเฉพาะลายไทย กับอาจารย์ เสถียร มุขมณี ซึ่งเป็นครูสอนศิลปะในโรงเรียน ได้ช่วยอาจารย์ประดับตกแต่งรถแห่เทียนพรรษา ซึ่งเป็นงานบุญประเพณีอันยิ่งใหญ่ประจำปีของจังหวัดอุบลราชธานีจึงสนใจงานศิลปะไทยตั้งแต่บัดนั้นมาและเคยได้รับ รางวัลชนะเลิศการประกวดภาพสีน้ำของจังหวัดอุบลราชธานีในช่วงที่เรียนระดับ ประถมศึกษา
ระดับมัธยมศึกษา : พ.ศ. ๒๕๑๐ – ๒๕๑๔
ศึกษาจากโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช อ.เมือง จ. อุบลราชธานี ขณะเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ที่โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราชซึ่งเป็นโรงเรียนชายประจำจังหวัด ได้เรียนศิลปะหลายแขนงมากขึ้น เช่น การเขียนสีน้ำมัน งานประติมากรรม และสิ่งที่มีความประทับใจและรักงานศิลปะไทยมากคือการได้ลงมือช่วยอาจารย์ทำ ต้นเทียนพรรษาในงาน ประจำปีของจังหวัดอุบลราชธานีเสมอมา ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ได้ศึกษาศิลปะจากอาจารย์จุมพล ส่งศรีและอาจารย์เทอด บุญยรัตนพันธ์ ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้ศึกษากับ อาจารย์ประดิษฐ์ อาธิเวช ในขณะเรียนมัธยมศึกษา ได้ส่งภาพวาดสีน้ำเข้าประกวด ในงานศิลปะประจำปีของจังหวัดอุบลราชธานี และได้รับรางวัลชนะเลิศเสมอมา
ระดับอุดมศึกษา : พ.ศ. ๒๕๑๔ - ๒๕๑๘
ศึกษาในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำเร็จ สถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ ๒ เมื่อเข้าเรียนที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่ง ได้มีโอกาสเรียนวิชา สถาปัตยกรรมไทย โดยเป็นศิษย์รุ่นแรก ของ รศ. ดร. ภิญโญ สุวรรณคีรี หรืออาจารย์ภิญโญ สุวรรณคีรี ในขณะนั้น ที่เพิ่งสำเร็จการศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิต จากประเทศสหรัฐอเมริกา
เมื่อเริ่มเรียน อาจารย์ จะให้เขียนลายไทย และภาพไทย ด้วยความที่มีใจรักงานศิลปะด้านนี้อยู่แล้ว จึงตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย ด้วยความทุ่มเท และยังได้ ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเขียนด้านจิตรกรรมไทยโดยไปขอความรู้จากช่างซ่อม จิตรกรรมฝาผนังในวัดพระแก้ว เมื่อทำงานส่ง ผลงานจึงมีความโดดเด่นกว่าเพื่อนนิสิตคนอื่นๆ อาจารย์ (รศ. ดร. ภิญโญ สุวรรณคีรี) จึงชักชวนให้ไปช่วยทำงานที่บ้าน ซึ่งได้เรียนรู้ การออกแบบสถาปัตยกรรมไทย การเขียนแบบก่อสร้างมากยิ่งขึ้น และยังมีโอกาสติดตามอาจารย์ ไปดูงานก่อสร้าง และได้ลงเส้นแบบขยายลายเท่าจริงให้อาจารย์ ในช่วงปิดภาค ตั้งแต่บัดนั้นจนสำเร็จการศึกษา และเนื่องจากมีปัญหาการขาดแคลนทุนทรัพย์ เพราะบิดาเสียชีวิตตั้งแต่ตนเองอยู่ในวัยเยาว์ อาจารย์ จึงให้งานให้ความอุปการะทุนเล่าเรียน และให้วิชาความรู้ทางด้านสถาปัตยกรรมไทยอย่างเต็มใจ จึงนับว่าท่านเป็นครูช่างสถาปัตยกรรมไทย ในชีวิตจนถึงปัจจุบัน
: พ.ศ. ๒๕๒๕-๒๕๒๖
ศึกษาและสำเร็จการศึกษาบริหารธุรกิจบัณฑิตสาขาวิทยาการจัดการงานก่อสร้าง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โดยเป็นบัณฑิตรุ่นแรกของมหาวิทยาลัย
ประวัติการทำงาน
พ.ศ. ๒๕๑๙ : ทำงานในตำแหน่ง สถาปนิก กองควบคุม การเคหะแห่งชาติ ด้วยความตั้งใจที่จะรับใช้ประเทศชาติทดแทนภาษีประชาชน เนื่องจากช่วงการศึกษาในมหาวิทยาลัย ได้เกิดเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ จึงมีอุดมการณ์ ที่จะรับใช้สังคม ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต แต่เมื่อเข้าทำงานที่การเคหะแห่งชาติ เมื่อพบกับความไม่โปร่งใส จึงยอมรับไม่ได้ และไม่สามารถ ทนต่อสภาพการทำงานเช่นนั้นได้ ดังนั้นจึงลาออก เมื่อทำงานได้เพียง ๑๑ เดือน พ.ศ. ๒๕๒๐ : ทำงานในตำแหน่งสถาปนิก บริษัท สยามกลการ จำกัด หลังจากลาออกจากการเคหะแห่งชาติแล้ว ตั้งใจจะรับราชการ เป็นครู แต่จังหวะนั้น ยังไม่มีการให้สอบบรรจุเข้ารับราชการจึงไปสมัครงานใน บริษัทเอกชนเพื่อให้พอมีรายได้เลี้ยงตัวเองได้ และที่บริษัท สยามกลการ จำกัด นี้ ได้มีโอกาสทำงานเป็นลูกน้องของ พลเรือตรี สมภพ ภิรมย์ รน. อดีตอธิบดีกรมศิลปากร หลังจากท่านเกษียณราชการแล้วได้ไปเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัทเอกชนดังกล่าว ท่านได้มอบหมายให้ไปควบคุมการก่อสร้างศูนย์จำหน่ายและบริการรถยนต์ ที่ อำเภออู่ทอง จ.สุพรรณบุรี จนงานก่อสร้างเสร็จเรียบร้อย ท่านจึงแนะนำให้ไปสอบบรรจุเป็นข้าราชการเพราะมีความมั่นคง พ.ศ. ๒๕๒๑ : รับราชการใน ตำแหน่งอาจารย์ แผนกวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคอุดรธานี กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จากความตั้งใจที่อยากเป็นครู และอยากสร้างคนที่มีคุณภาพให้กับสังคม จึงไปสอบบรรจุเป็นอาจารย์ ที่วิทยาลัยเทคนิคอุดรธานี แต่เนื่องจากได้ แต่งงานเมื่อปลาย ปี ๒๕๒๑ ที่ จ.ขอนแก่น ทำให้ประสบปัญหาการเดินทาง และต้องแยกกันอยู่กับภรรยาและบุตร ประกอบกับรายได้น้อยจึงขอโอนย้ายไป จ.ขอนแก่น พ.ศ. ๒๕๒๒ : รับราชการในตำแหน่งสถาปนิก กองอาคารและสถานที่ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่นเนื่องจากในช่วงดังกล่าว ที่ จ.ขอนแก่นไม่มี ตำแหน่งอาจารย์ จึงจำเป็น ต้องขอโอนไปเป็นสถาปนิกของมหาวิทยาลัยขอนแก่น และรับราชการที่นั่นจนถึงสิ้นปี 2523
พ.ศ. ๒๕๒๔ : รับราชการในตำแหน่งอาจารย์ ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ ถึงปัจจุบัน ที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี ๒๕๒๔ ช่วงที่รับราชการอยู่ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นนั้น รศ. ดร. ภิญโญ สุวรรณคีรี ได้ชักชวนให้โอนย้ายมาเป็นอาจารย์ที่คณะสถาปัตย-กรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื่องจากที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มีอาจารย์ที่สอนสถาปัตยกรรมไทยเพียงผู้เดียว กอปรกับที่อาจารย์เห็นว่าตั้งใจอยากเป็นครูอยู่แล้ว จึงได้ตัดสินใจรับปากอาจารย์ ทั้งที่ขณะนั้นบุตรคนที่ ๒ มีอายุเพียง ๔ เดือน และฐานะครอบครัวยังไม่มั่นคงและต้องแยกกันอยู่ เมื่อโอนมาที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
แรกๆได้ไปอาศัยอยู่ที่บ้านอาจารย์ จนปลายปี ๒๕๒๕ มหาวิทยาลัยได้แต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยอนุสาสกหอพักนิสิตจุฬาฯ อีกตำแหน่งหนึ่ง ทำหน้าที่เป็นอาจารย์ดูแลปกครองนิสิตชายของหอพัก จึงได้มาพำนักอยู่ในบ้านพักของหอพักนิสิตตลอดมา และได้ดำรงตำแหน่งอนุสาสกหอพัก ในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ จนถึงปัจจุบัน ปีพ.ศ. ๒๕๓๙ รัฐบาล ได้อนุมัติให้ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เปิดสอนหลักสูตรวิชาสถาปัตยกรรมไทย เนื่องจากขณะนั้นสถาปนิกที่ สามารถออกแบบ สถาปัตยกรรมไทยประเพณีมีน้อยลง จึงได้ให้ทุนการศึกษาในการรับนิสิตโครงการดังกล่าว ๕ รุ่นแรก ตลอดการศึกษาจึงได้เป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย ตั้งแต่นั้นจนถึงปัจจุบัน
ประวัติการสร้างสรรค์ผลงาน
นับตั้งแต่มาเป็นอาจารย์ในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้มีโอกาสเริ่มงานออกแบบสถาปัตยกรรมแบบไทยประเพณีอย่างจริงจัง ซึ่งในระยะแรกยังทำงานร่วมกับ รองศาสตราจารย์ ดร. ภิญโญ สุวรรณคีรี ในฐานะ สถาปนิกผู้ช่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง งานออกแบบและปรับปรุงอาคารอนุรักษ์ต่างๆ ของมหาวิทยาลัย
หลังจากที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์จึงเริ่มมีผลงานออกแบบเป็นของตนเองล้วนๆ จากการแนะนำจากคณาจารย์ในคณะ และมิตรสหายที่คุ้นเคยมาเป็นลำดับ โดยมีประวัติการสร้างสรรค์ผลงานตามลำดับเวลาดังมีรายละเอียดบางส่วน ของผลงานพร้อมแบบแปลนประกอบโปรดดูในข้อที่ ๑๐)
การสร้างสรรค์และเผยแพร่ต่อสาธารณะชน ( เฉพาะ สถาปัตยกรรมไทยประเพณี) พ.ศ. ๒๕๒๕ – ๒๕๒๖ ร่วมออกแบบเจดีย์พระธาตุผาเงา อ.เชียงแสน จ.เชียงราย พ.ศ. ๒๕๒๗ – ๒๕๒๘ ร่วมออกแบบปรับปรุงและควบคุมการก่อสร้าง หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๒๘ ร่วมออกแบบเมรุพระราชทานเพลิงศพ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ พ.ศ. ๒๕๒๙ - ๒๕๓๐ ออกแบบปรับปรุงและควบคุมการก่อสร้าง อาคารคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๓๐ - ๒๕๓๑ ออกแบบปรับปรุงและควบคุมการก่อสร้าง ตึกจักรพงษ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๓๐ - ๒๕๓๑ ร่วมออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง อนุสาวรีย์สองรัชกาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๓๐ - ๒๕๓๑ ร่วมออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง ศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรม (เรือนไทย) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๓๑ – ๒๕๓๒ ร่วมออกแบบเรือนไทย เสถียรธรรมสถาน ซอยวัชรพล ถนนรามอินทรา กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๑ – ๒๕๓๓ ร่วมออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง อาคารพุ่มข้าวบิณฑ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ. ๒๕๓๓ – ๒๕๓๔ ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง อาคารเรียนปริยัติธรรม วัดหนองแขม ซอยเพชรเกษม ๘๑ เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๖ - ๒๕๓๗ ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง ศาลาอเนกประสงค์(ศาลา สง่า–ทองอยู่ นาควัชระ) วัดราษฎร์บำรุง ซอยเพชรเกษม ๖๙ เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ - ๒๕๓๙ ออกแบบเจดีย์พิพิธภัณฑ์อัฐบริขาร หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร วัดป่าวังเลิง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม พ.ศ. ๒๕๓๙ ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง เรือนรัชพร โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายมัธยม) พ.ศ. ๒๕๔๐ ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง หอพระประจำโรงเรียน โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายมัธยม) พ.ศ. ๒๕๓๘ - ๒๕๔๐ ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง ศาลาการเปรียญ วัดราษฎร์บำรุง ซอยเพชรเกษม ๖๙ เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๙ – ๒๕๔๑ ออกแบบปรับปรุงซ่อมแซมและควบคุมการก่อสร้างอาคารคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๐ - ๒๕๔๑ ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง เรือนไทยของคุณสุวรรณาอาริยพัฒนกุล คลอง ๑๒ อ.ธัญญบุรี จ.ปทุมธานี พ.ศ. ๒๕๓๙ – ๒๕๔๒ ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างวิหารพระพุทธโลกนารถบพิตร วัดพระธาตุช่อแฮ อ.เมือง จ.แพร่ พ.ศ. ๒๕๔๐ - ๒๕๔๒ ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง พระอุโบสถ วัดหลักสาม เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๒– ๒๕๔๓ ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง อาคารบรรจุอัฐิ และรูปหล่อท้าวสุรนารี วัดศาลาลอย อ.เมือง จ.นครราชสีมา พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๔๖ ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง พระอุโบสถ วัดราษฎร์บำรุง ซอยเพชรเกษม ๖๙ เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๕ – ๒๕๔๖ ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง หอกลอง หอระฆัง วัดราษฎร์บำรุง ซอยเพชรเกษม ๖๙ เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๖ ออกแบบและติดตามงานก่อสร้าง ศาลาไทยหน้าหอประชุม กองทัพเรือ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๑ – ๒๕๔๗ ร่วมออกแบบและติดตามงานก่อสร้าง พระตำหนักประทับแรมในพื้นที่โครงการพระราชดำริ ลุ่มน้ำปากพนัง อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช พ.ศ. ๒๕๔๗ ออกแบบวิหารรอบต้นพระศรีมหาโพธิ์ วัดปทุมวนาราช ราชวรวิหาร เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร (อยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง) พ.ศ. ๒๕๔๗ ออกแบบศาลา ประดิษฐานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร (อยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง) พ.ศ. ๒๕๔๗ ออกแบบศาลาบูรพาจารย์ วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร (อยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง) พ.ศ. ๒๕๔๘ ร่วมออกแบบ พระอุโบสถกลางน้ำ ในมหาวิทยาลัย มหาจุฬา-ลงกรณราชวิทยาลัย ต. ลำไทร อ. วังน้อย จ. พระนครศรีอยุธยา(อยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง) พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกแบบอาคารธรรมสถาน ในมหาวิทยาลัย มหามกุฎราชวิทยาลัย อ. ศาลายา จ.นครปฐม (อยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง) พ.ศ. ๒๕๔๙ ร่วมออกแบบอาคาร มวก. ๔๘ พรรษา (อาคารหอประชุม) ในมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ต. ลำไทร อ. วังน้อย จ. พระนครศรีอยุธยา (อยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง)
การเผยแพร่ข้อมูลทางสถาปัตยกรรมแก่สาธารณชน
ผลงานด้านวิชาการ
- เผยแพร่ผลงานในหนังสือ สืบสานสถาปัตยกรรมไทย ๑ พ.ศ. ๒๕๔๔ - เผยแพร่ผลงานในหนังสือ สืบสานสถาปัตยกรรมไทย ๒ พ.ศ. ๒๕๔๕ - เผยแพร่ผลงานในหนังสือ สืบสานสถาปัตยกรรมไทย ๓ พ.ศ. ๒๕๔๖ - เผยแพร่ผลงานในหนังสือ สืบสานสถาปัตยกรรมไทย ๔ พ.ศ. ๒๕๔๗ - เผยแพร่ผลงานในหนังสือ สืบสานสถาปัตยกรรมไทย ๕ พ.ศ. ๒๕๔๘ - วิทยากรพิเศษ หัวข้อ การนำวัสดุสมัยใหม่มาใช้ในงานออกแบบสถาปัตยกรรมไทยแก่สถาปนิกและวิศวกร สำนักงานสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร ณ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ วันที่ ๑๒ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
ผลงานด้านการวิจัย
- วีระ สัจจกุล, นพนันท์ ตาปนานนท์, วรรณศิลป์ พีรพันธ์, เผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี โครงการจ้างศึกษาและประชาพิจารณ์ระบบขนส่งมวลชนเสริมรางรถไฟฟ้า ในเขตกรุงรัตนโกสินทร์ เสนอต่อกรุงเทพมหานคร ๒๕๔๒ - ๒๕๔๓ - เดชา บุญค้ำ, วีระ สัจจกุล, สัญชัย หมายมั่น, วรรณศิลป์ พีรพันธ์, เลอสม สถาปิตา-นนท์, ไตรวัฒน์ วิรยศิริ, ปิ่นรัชฏ์ กาญจนัษฐิติ, เผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี โครงการสำรวจและออกแบบ รายละเอียดตามแผนแม่บท เพื่ออนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ : จัดทำแผนปฏิบัติการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณวัดบวรสถานสุทธาวาส เสนอต่อ สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ๒๕๔๓ - เดชา บุญค้ำ, วีระ สัจจกุล, สัญชัย หมายมั่น, วรรณศิลป์ พีรพันธ์, เลอสม สถาปิตานนท์, ไตรวัฒน์ วิรยศิริ, ปิ่นรัชฏ์ กาญจนัษฐิติ, เผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี โครงการสำรวจและออกแบบรายละเอียดตามแผนแม่บท เพื่ออนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ : จัดทำแผนปฏิบัติการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณราชนาวีสโมสร เสนอต่อสำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ๒๕๔๓
ลักษณะงานที่ดำเนินการ: งานสถาปัตยกรรม (เต็มเวลา) งานผังเมือง-ชุมชน (เต็มเวลา) งานอนุรักษ์ (เต็มเวลา) งานตกแต่งภายใน (เต็มเวลา) งานภูมิสถาปัตยกรรม (เต็มเวลา) งานสิ่งแวดล้อม (เต็มเวลา) งานศิลป์ (เต็มเวลา) มุมนักบริหาร (เต็มเวลา)
ข้อมูลจาก http://www.manmademiracle.com/v2/home.php?pn=PL&mid=21&pst=memdtl
|
I think, therefore I am.
|
|
|
Pae
|
|
« ตอบ #28 เมื่อ: 06 กุมภาพันธ์ 2554, 14:39:24 » |
|
ยินดีด้วยครับ อาจารย์
|
|
|
|
chanink
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #29 เมื่อ: 06 กุมภาพันธ์ 2554, 18:49:35 » |
|
ยินดีกับอาจารย์เผ่า ด้วยคนครับผม
|
|
|
|
prapasri AH
|
|
« ตอบ #30 เมื่อ: 06 กุมภาพันธ์ 2554, 21:15:33 » |
|
น้อง jeam คะ
ขอประวัติ ของอาจารย์เผ่า ที่น้องโพสต์ มานี้ ส่งเป็น file ให้พี่แอ๊ะได้ไหมคะ
พี่แอ๊ะจะ ส่งให้ ผู้อำนายการโรงเรียนเบญจมมหาราช ที่ อุบลค่ะ
(พอดี ผู้อำนาวยการจาก โรงเรียนมหาชนะชัย จ.ยโสธร ได้ไปรับตำเเหน่งผู้อำนวยการที่เบญจม อุบลค่ะ)
จะได้ ไปเผยแพร่เป็นผลงานของ โรงเรียนที่ผลิต นักเรียนออกมาได้ ดีแบบนี้
ส่งมาให้พี่แอ๊ะที่ prapasrisu@hotmail.comเอ..หรือพี่แอ๊ะจะ save ไปเเละทำเป็น file เองได้
เด่ว ดญ.แอ๊ะจะ ฝึกทำก่อนนะคะ | | อ้างถึง | | | ข้อความของ jeam เมื่อ 06 กุมภาพันธ์ 2554, 13:07:44 | | | | | ขออนุญาต นำเรื่องราวของ อ.เผ่า มาเผยแพร่ ด้วยความชื่นชมครับ
นายเผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี ชื่อเล่น: เผ่า เพศ: ชาย ที่อยู่: Thailand กรุงเทพมหานคร เขตปทุมวัน สถานที่ทำงาน: Thailand กรุงเทพมหานคร เขตปทุมวัน การศึกษา:
สถานภาพ: เต็มเวลา, งานเสริม, อิสระ, สมัครเล่น คำแนะนำตัว: ครูช่างสถาปัตยกรรมไทย - นิสิตเก่าดีเด่น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - อาจารย์ดีเด่น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มีความตั้งใจที่จะประกอบอาชีพในฐานะสถาปนิกที่รับผิดชอบต่อวิชาชีพ อย่างซื่อสัตย์สุจริต อนุรักษ์และสืบทอดงานสถาปัตยกรรมประจำชาติต่อไป ตลอดจนการออกแบบสร้างสรรค์ผลงานอย่างมีคุณภาพ และพัฒนารูปแบบและกรรมวิธีการก่อสร้าง การเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
ประวัติโดยสังเขป: ประวัติการศึกษา
ระดับประถมศึกษา : พ.ศ. ๒๕๐๓ - ๒๕๐๖
เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ -๔ จากโรงเรียน จารุพันธ์พิทยา อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี เริ่มสนใจและหัดเรียนสีน้ำกับ ครูไชยพันธ์ สิทธิพันธ์ ซึ่งเป็นครูที่สอนศิลปะคนแรกในชีวิต
: พ.ศ. ๒๕๐๗ – ๒๕๐๙
เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ - ๗ จากโรงเรียน สงเคราะห์ศึกษา อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี เริ่มมีความสนใจและเริ่มเรียนศิลปะไทยโดยเฉพาะลายไทย กับอาจารย์ เสถียร มุขมณี ซึ่งเป็นครูสอนศิลปะในโรงเรียน ได้ช่วยอาจารย์ประดับตกแต่งรถแห่เทียนพรรษา ซึ่งเป็นงานบุญประเพณีอันยิ่งใหญ่ประจำปีของจังหวัดอุบลราชธานีจึงสนใจงานศิลปะไทยตั้งแต่บัดนั้นมาและเคยได้รับ รางวัลชนะเลิศการประกวดภาพสีน้ำของจังหวัดอุบลราชธานีในช่วงที่เรียนระดับ ประถมศึกษา
ระดับมัธยมศึกษา : พ.ศ. ๒๕๑๐ – ๒๕๑๔
ศึกษาจากโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช อ.เมือง จ. อุบลราชธานี ขณะเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ที่โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราชซึ่งเป็นโรงเรียนชายประจำจังหวัด ได้เรียนศิลปะหลายแขนงมากขึ้น เช่น การเขียนสีน้ำมัน งานประติมากรรม และสิ่งที่มีความประทับใจและรักงานศิลปะไทยมากคือการได้ลงมือช่วยอาจารย์ทำ ต้นเทียนพรรษาในงาน ประจำปีของจังหวัดอุบลราชธานีเสมอมา ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ได้ศึกษาศิลปะจากอาจารย์จุมพล ส่งศรีและอาจารย์เทอด บุญยรัตนพันธ์ ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้ศึกษากับ อาจารย์ประดิษฐ์ อาธิเวช ในขณะเรียนมัธยมศึกษา ได้ส่งภาพวาดสีน้ำเข้าประกวด ในงานศิลปะประจำปีของจังหวัดอุบลราชธานี และได้รับรางวัลชนะเลิศเสมอมา
ระดับอุดมศึกษา : พ.ศ. ๒๕๑๔ - ๒๕๑๘
ศึกษาในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำเร็จ สถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ ๒ เมื่อเข้าเรียนที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่ง ได้มีโอกาสเรียนวิชา สถาปัตยกรรมไทย โดยเป็นศิษย์รุ่นแรก ของ รศ. ดร. ภิญโญ สุวรรณคีรี หรืออาจารย์ภิญโญ สุวรรณคีรี ในขณะนั้น ที่เพิ่งสำเร็จการศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิต จากประเทศสหรัฐอเมริกา
เมื่อเริ่มเรียน อาจารย์ จะให้เขียนลายไทย และภาพไทย ด้วยความที่มีใจรักงานศิลปะด้านนี้อยู่แล้ว จึงตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย ด้วยความทุ่มเท และยังได้ ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเขียนด้านจิตรกรรมไทยโดยไปขอความรู้จากช่างซ่อม จิตรกรรมฝาผนังในวัดพระแก้ว เมื่อทำงานส่ง ผลงานจึงมีความโดดเด่นกว่าเพื่อนนิสิตคนอื่นๆ อาจารย์ (รศ. ดร. ภิญโญ สุวรรณคีรี) จึงชักชวนให้ไปช่วยทำงานที่บ้าน ซึ่งได้เรียนรู้ การออกแบบสถาปัตยกรรมไทย การเขียนแบบก่อสร้างมากยิ่งขึ้น และยังมีโอกาสติดตามอาจารย์ ไปดูงานก่อสร้าง และได้ลงเส้นแบบขยายลายเท่าจริงให้อาจารย์ ในช่วงปิดภาค ตั้งแต่บัดนั้นจนสำเร็จการศึกษา และเนื่องจากมีปัญหาการขาดแคลนทุนทรัพย์ เพราะบิดาเสียชีวิตตั้งแต่ตนเองอยู่ในวัยเยาว์ อาจารย์ จึงให้งานให้ความอุปการะทุนเล่าเรียน และให้วิชาความรู้ทางด้านสถาปัตยกรรมไทยอย่างเต็มใจ จึงนับว่าท่านเป็นครูช่างสถาปัตยกรรมไทย ในชีวิตจนถึงปัจจุบัน
: พ.ศ. ๒๕๒๕-๒๕๒๖
ศึกษาและสำเร็จการศึกษาบริหารธุรกิจบัณฑิตสาขาวิทยาการจัดการงานก่อสร้าง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โดยเป็นบัณฑิตรุ่นแรกของมหาวิทยาลัย
ประวัติการทำงาน
พ.ศ. ๒๕๑๙ : ทำงานในตำแหน่ง สถาปนิก กองควบคุม การเคหะแห่งชาติ ด้วยความตั้งใจที่จะรับใช้ประเทศชาติทดแทนภาษีประชาชน เนื่องจากช่วงการศึกษาในมหาวิทยาลัย ได้เกิดเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ จึงมีอุดมการณ์ ที่จะรับใช้สังคม ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต แต่เมื่อเข้าทำงานที่การเคหะแห่งชาติ เมื่อพบกับความไม่โปร่งใส จึงยอมรับไม่ได้ และไม่สามารถ ทนต่อสภาพการทำงานเช่นนั้นได้ ดังนั้นจึงลาออก เมื่อทำงานได้เพียง ๑๑ เดือน พ.ศ. ๒๕๒๐ : ทำงานในตำแหน่งสถาปนิก บริษัท สยามกลการ จำกัด หลังจากลาออกจากการเคหะแห่งชาติแล้ว ตั้งใจจะรับราชการ เป็นครู แต่จังหวะนั้น ยังไม่มีการให้สอบบรรจุเข้ารับราชการจึงไปสมัครงานใน บริษัทเอกชนเพื่อให้พอมีรายได้เลี้ยงตัวเองได้ และที่บริษัท สยามกลการ จำกัด นี้ ได้มีโอกาสทำงานเป็นลูกน้องของ พลเรือตรี สมภพ ภิรมย์ รน. อดีตอธิบดีกรมศิลปากร หลังจากท่านเกษียณราชการแล้วได้ไปเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัทเอกชนดังกล่าว ท่านได้มอบหมายให้ไปควบคุมการก่อสร้างศูนย์จำหน่ายและบริการรถยนต์ ที่ อำเภออู่ทอง จ.สุพรรณบุรี จนงานก่อสร้างเสร็จเรียบร้อย ท่านจึงแนะนำให้ไปสอบบรรจุเป็นข้าราชการเพราะมีความมั่นคง พ.ศ. ๒๕๒๑ : รับราชการใน ตำแหน่งอาจารย์ แผนกวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคอุดรธานี กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จากความตั้งใจที่อยากเป็นครู และอยากสร้างคนที่มีคุณภาพให้กับสังคม จึงไปสอบบรรจุเป็นอาจารย์ ที่วิทยาลัยเทคนิคอุดรธานี แต่เนื่องจากได้ แต่งงานเมื่อปลาย ปี ๒๕๒๑ ที่ จ.ขอนแก่น ทำให้ประสบปัญหาการเดินทาง และต้องแยกกันอยู่กับภรรยาและบุตร ประกอบกับรายได้น้อยจึงขอโอนย้ายไป จ.ขอนแก่น พ.ศ. ๒๕๒๒ : รับราชการในตำแหน่งสถาปนิก กองอาคารและสถานที่ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่นเนื่องจากในช่วงดังกล่าว ที่ จ.ขอนแก่นไม่มี ตำแหน่งอาจารย์ จึงจำเป็น ต้องขอโอนไปเป็นสถาปนิกของมหาวิทยาลัยขอนแก่น และรับราชการที่นั่นจนถึงสิ้นปี 2523
พ.ศ. ๒๕๒๔ : รับราชการในตำแหน่งอาจารย์ ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ ถึงปัจจุบัน ที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี ๒๕๒๔ ช่วงที่รับราชการอยู่ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นนั้น รศ. ดร. ภิญโญ สุวรรณคีรี ได้ชักชวนให้โอนย้ายมาเป็นอาจารย์ที่คณะสถาปัตย-กรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื่องจากที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มีอาจารย์ที่สอนสถาปัตยกรรมไทยเพียงผู้เดียว กอปรกับที่อาจารย์เห็นว่าตั้งใจอยากเป็นครูอยู่แล้ว จึงได้ตัดสินใจรับปากอาจารย์ ทั้งที่ขณะนั้นบุตรคนที่ ๒ มีอายุเพียง ๔ เดือน และฐานะครอบครัวยังไม่มั่นคงและต้องแยกกันอยู่ เมื่อโอนมาที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
แรกๆได้ไปอาศัยอยู่ที่บ้านอาจารย์ จนปลายปี ๒๕๒๕ มหาวิทยาลัยได้แต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยอนุสาสกหอพักนิสิตจุฬาฯ อีกตำแหน่งหนึ่ง ทำหน้าที่เป็นอาจารย์ดูแลปกครองนิสิตชายของหอพัก จึงได้มาพำนักอยู่ในบ้านพักของหอพักนิสิตตลอดมา และได้ดำรงตำแหน่งอนุสาสกหอพัก ในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ จนถึงปัจจุบัน ปีพ.ศ. ๒๕๓๙ รัฐบาล ได้อนุมัติให้ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เปิดสอนหลักสูตรวิชาสถาปัตยกรรมไทย เนื่องจากขณะนั้นสถาปนิกที่ สามารถออกแบบ สถาปัตยกรรมไทยประเพณีมีน้อยลง จึงได้ให้ทุนการศึกษาในการรับนิสิตโครงการดังกล่าว ๕ รุ่นแรก ตลอดการศึกษาจึงได้เป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย ตั้งแต่นั้นจนถึงปัจจุบัน
ประวัติการสร้างสรรค์ผลงาน
นับตั้งแต่มาเป็นอาจารย์ในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้มีโอกาสเริ่มงานออกแบบสถาปัตยกรรมแบบไทยประเพณีอย่างจริงจัง ซึ่งในระยะแรกยังทำงานร่วมกับ รองศาสตราจารย์ ดร. ภิญโญ สุวรรณคีรี ในฐานะ สถาปนิกผู้ช่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง งานออกแบบและปรับปรุงอาคารอนุรักษ์ต่างๆ ของมหาวิทยาลัย
หลังจากที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์จึงเริ่มมีผลงานออกแบบเป็นของตนเองล้วนๆ จากการแนะนำจากคณาจารย์ในคณะ และมิตรสหายที่คุ้นเคยมาเป็นลำดับ โดยมีประวัติการสร้างสรรค์ผลงานตามลำดับเวลาดังมีรายละเอียดบางส่วน ของผลงานพร้อมแบบแปลนประกอบโปรดดูในข้อที่ ๑๐)
การสร้างสรรค์และเผยแพร่ต่อสาธารณะชน ( เฉพาะ สถาปัตยกรรมไทยประเพณี) พ.ศ. ๒๕๒๕ – ๒๕๒๖ ร่วมออกแบบเจดีย์พระธาตุผาเงา อ.เชียงแสน จ.เชียงราย พ.ศ. ๒๕๒๗ – ๒๕๒๘ ร่วมออกแบบปรับปรุงและควบคุมการก่อสร้าง หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๒๘ ร่วมออกแบบเมรุพระราชทานเพลิงศพ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ พ.ศ. ๒๕๒๙ - ๒๕๓๐ ออกแบบปรับปรุงและควบคุมการก่อสร้าง อาคารคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๓๐ - ๒๕๓๑ ออกแบบปรับปรุงและควบคุมการก่อสร้าง ตึกจักรพงษ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๓๐ - ๒๕๓๑ ร่วมออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง อนุสาวรีย์สองรัชกาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๓๐ - ๒๕๓๑ ร่วมออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง ศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรม (เรือนไทย) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๓๑ – ๒๕๓๒ ร่วมออกแบบเรือนไทย เสถียรธรรมสถาน ซอยวัชรพล ถนนรามอินทรา กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๑ – ๒๕๓๓ ร่วมออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง อาคารพุ่มข้าวบิณฑ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ. ๒๕๓๓ – ๒๕๓๔ ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง อาคารเรียนปริยัติธรรม วัดหนองแขม ซอยเพชรเกษม ๘๑ เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๖ - ๒๕๓๗ ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง ศาลาอเนกประสงค์(ศาลา สง่า–ทองอยู่ นาควัชระ) วัดราษฎร์บำรุง ซอยเพชรเกษม ๖๙ เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๘ - ๒๕๓๙ ออกแบบเจดีย์พิพิธภัณฑ์อัฐบริขาร หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร วัดป่าวังเลิง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม พ.ศ. ๒๕๓๙ ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง เรือนรัชพร โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายมัธยม) พ.ศ. ๒๕๔๐ ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง หอพระประจำโรงเรียน โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายมัธยม) พ.ศ. ๒๕๓๘ - ๒๕๔๐ ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง ศาลาการเปรียญ วัดราษฎร์บำรุง ซอยเพชรเกษม ๖๙ เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๓๙ – ๒๕๔๑ ออกแบบปรับปรุงซ่อมแซมและควบคุมการก่อสร้างอาคารคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๐ - ๒๕๔๑ ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง เรือนไทยของคุณสุวรรณาอาริยพัฒนกุล คลอง ๑๒ อ.ธัญญบุรี จ.ปทุมธานี พ.ศ. ๒๕๓๙ – ๒๕๔๒ ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างวิหารพระพุทธโลกนารถบพิตร วัดพระธาตุช่อแฮ อ.เมือง จ.แพร่ พ.ศ. ๒๕๔๐ - ๒๕๔๒ ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง พระอุโบสถ วัดหลักสาม เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๒– ๒๕๔๓ ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง อาคารบรรจุอัฐิ และรูปหล่อท้าวสุรนารี วัดศาลาลอย อ.เมือง จ.นครราชสีมา พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๔๖ ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง พระอุโบสถ วัดราษฎร์บำรุง ซอยเพชรเกษม ๖๙ เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๕ – ๒๕๔๖ ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง หอกลอง หอระฆัง วัดราษฎร์บำรุง ซอยเพชรเกษม ๖๙ เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๖ ออกแบบและติดตามงานก่อสร้าง ศาลาไทยหน้าหอประชุม กองทัพเรือ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๑ – ๒๕๔๗ ร่วมออกแบบและติดตามงานก่อสร้าง พระตำหนักประทับแรมในพื้นที่โครงการพระราชดำริ ลุ่มน้ำปากพนัง อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช พ.ศ. ๒๕๔๗ ออกแบบวิหารรอบต้นพระศรีมหาโพธิ์ วัดปทุมวนาราช ราชวรวิหาร เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร (อยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง) พ.ศ. ๒๕๔๗ ออกแบบศาลา ประดิษฐานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร (อยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง) พ.ศ. ๒๕๔๗ ออกแบบศาลาบูรพาจารย์ วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร (อยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง) พ.ศ. ๒๕๔๘ ร่วมออกแบบ พระอุโบสถกลางน้ำ ในมหาวิทยาลัย มหาจุฬา-ลงกรณราชวิทยาลัย ต. ลำไทร อ. วังน้อย จ. พระนครศรีอยุธยา(อยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง) พ.ศ. ๒๕๔๘ ออกแบบอาคารธรรมสถาน ในมหาวิทยาลัย มหามกุฎราชวิทยาลัย อ. ศาลายา จ.นครปฐม (อยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง) พ.ศ. ๒๕๔๙ ร่วมออกแบบอาคาร มวก. ๔๘ พรรษา (อาคารหอประชุม) ในมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ต. ลำไทร อ. วังน้อย จ. พระนครศรีอยุธยา (อยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง)
การเผยแพร่ข้อมูลทางสถาปัตยกรรมแก่สาธารณชน
ผลงานด้านวิชาการ
- เผยแพร่ผลงานในหนังสือ สืบสานสถาปัตยกรรมไทย ๑ พ.ศ. ๒๕๔๔ - เผยแพร่ผลงานในหนังสือ สืบสานสถาปัตยกรรมไทย ๒ พ.ศ. ๒๕๔๕ - เผยแพร่ผลงานในหนังสือ สืบสานสถาปัตยกรรมไทย ๓ พ.ศ. ๒๕๔๖ - เผยแพร่ผลงานในหนังสือ สืบสานสถาปัตยกรรมไทย ๔ พ.ศ. ๒๕๔๗ - เผยแพร่ผลงานในหนังสือ สืบสานสถาปัตยกรรมไทย ๕ พ.ศ. ๒๕๔๘ - วิทยากรพิเศษ หัวข้อ การนำวัสดุสมัยใหม่มาใช้ในงานออกแบบสถาปัตยกรรมไทยแก่สถาปนิกและวิศวกร สำนักงานสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร ณ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ วันที่ ๑๒ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
ผลงานด้านการวิจัย
- วีระ สัจจกุล, นพนันท์ ตาปนานนท์, วรรณศิลป์ พีรพันธ์, เผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี โครงการจ้างศึกษาและประชาพิจารณ์ระบบขนส่งมวลชนเสริมรางรถไฟฟ้า ในเขตกรุงรัตนโกสินทร์ เสนอต่อกรุงเทพมหานคร ๒๕๔๒ - ๒๕๔๓ - เดชา บุญค้ำ, วีระ สัจจกุล, สัญชัย หมายมั่น, วรรณศิลป์ พีรพันธ์, เลอสม สถาปิตา-นนท์, ไตรวัฒน์ วิรยศิริ, ปิ่นรัชฏ์ กาญจนัษฐิติ, เผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี โครงการสำรวจและออกแบบ รายละเอียดตามแผนแม่บท เพื่ออนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ : จัดทำแผนปฏิบัติการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณวัดบวรสถานสุทธาวาส เสนอต่อ สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ๒๕๔๓ - เดชา บุญค้ำ, วีระ สัจจกุล, สัญชัย หมายมั่น, วรรณศิลป์ พีรพันธ์, เลอสม สถาปิตานนท์, ไตรวัฒน์ วิรยศิริ, ปิ่นรัชฏ์ กาญจนัษฐิติ, เผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี โครงการสำรวจและออกแบบรายละเอียดตามแผนแม่บท เพื่ออนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ : จัดทำแผนปฏิบัติการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณราชนาวีสโมสร เสนอต่อสำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ๒๕๔๓
ลักษณะงานที่ดำเนินการ: งานสถาปัตยกรรม (เต็มเวลา) งานผังเมือง-ชุมชน (เต็มเวลา) งานอนุรักษ์ (เต็มเวลา) งานตกแต่งภายใน (เต็มเวลา) งานภูมิสถาปัตยกรรม (เต็มเวลา) งานสิ่งแวดล้อม (เต็มเวลา) งานศิลป์ (เต็มเวลา) มุมนักบริหาร (เต็มเวลา)
ข้อมูลจาก http://www.manmademiracle.com/v2/home.php?pn=PL&mid=21&pst=memdtl
| | | | |
|
ชาวหอ ชาวหอจุฬา สดใสเริ่งรา เมื่อมาร่วม สามัคคี
|
|
|
prapasri AH
|
|
« ตอบ #31 เมื่อ: 06 กุมภาพันธ์ 2554, 21:22:47 » |
|
ปล..หนู jeam คะ
หนูแอ๊ะ ทำไม่เป็นค่ะ ช่วย ส่ง เป็นfile มาให้หนูแอ๊ะนะคะ
thanks ค่ะ
|
ชาวหอ ชาวหอจุฬา สดใสเริ่งรา เมื่อมาร่วม สามัคคี
|
|
|
jeam
สมาชิกวิสามัญ
Full Member
ออฟไลน์
กระทู้: 574
|
|
« ตอบ #32 เมื่อ: 06 กุมภาพันธ์ 2554, 22:08:41 » |
|
พี่แอ๊ะครับ
ผมรีบทำส่ง่ให้แล้วครับ เป็น File word 2007 ดีใจมากครับ ที่พี่เรียกใช้ผมทำประโยชน์
การที่ผมสืบค้นมาเพราะ เราอาจจะทราบแต่ว่า อ.เผ่า ได้เป็นศิลปินแห่งชาติ แต่ไม่ทราบถึงผลงานของท่านเลย ว่าสำคัญเพียงไร
ผมจึงต้องการทราบ และเผยแพร่ครับ
|
I think, therefore I am.
|
|
|
swsm
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
@@ ยาหยี @@
ออฟไลน์
รุ่น: Rcu2523
คณะ: Comm Arts
กระทู้: 28,369
|
|
« ตอบ #33 เมื่อ: 06 กุมภาพันธ์ 2554, 22:15:57 » |
|
ขอบคุณค่ะ พี่อ้อย .. แต่ทำไมหยีจึงเข้าใจว่าพี่ปี๊ดเป็นโสดอยู่ล่ะคะ
จำไม่ได้แล้วว่า ใครบอก .. หรือว่าพี่ปี๊ดแกเล่าให้ฟังเอง .. งง งง
|
.. don't play with me, cos I know how to play it too .. may be better than you do ..
|
|
|
yc
|
|
« ตอบ #34 เมื่อ: 07 กุมภาพันธ์ 2554, 08:55:56 » |
|
ตื่นเต้นยินดีจนเขียนไม่ออก..ขอยืมคำพ่อเลี้ยงตี๋แสดงความรู้สึกนะครับท่า่นอ.เผ่าและป้าแจ่ม
|
|
|
|
kangkidboy
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #35 เมื่อ: 07 กุมภาพันธ์ 2554, 11:01:47 » |
|
โอ้ เพิ่งทราบ เมื่อวานเจออาจารย์เลยยังไม่ได้แสดงความยินดีเลยนะเนี่ย
|
|
|
|
pattaya
Full Member
ออฟไลน์
กระทู้: 460
|
|
« ตอบ #36 เมื่อ: 07 กุมภาพันธ์ 2554, 15:23:04 » |
|
ขอแสดงความยินดีกับอาจารย์เผ่าด้วยนะคะ......
|
|
|
|
โจ้2543
มือใหม่หัดเมาท์
ออฟไลน์
กระทู้: 159
|
|
« ตอบ #37 เมื่อ: 07 กุมภาพันธ์ 2554, 16:58:08 » |
|
ขอแสดงความยินดีกับอาจรย์ด้วยครับ
|
ยามศึกข้ารบ จบศึกข้ารัก
|
|
|
toomy
|
|
« ตอบ #38 เมื่อ: 07 กุมภาพันธ์ 2554, 21:45:42 » |
|
ขอแสดงความยินดีกับ.. อาจารย์เผ่า ด้วยค่ะ
|
|
|
|
toomy
|
|
« ตอบ #39 เมื่อ: 07 กุมภาพันธ์ 2554, 22:00:00 » |
|
ชาวซีมะโด่ง... ร่วมแสดงความยินดี กับ อ.เผ่า “ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๓ สาขาสถาปัตยกรรมไทย” ที่สมาคมนิสิตเก่าจุฬา ฯ (สนจ.) เมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ซึ่งนิสิตเก่าจุฬาฯ นัดรวมพลร่วมกันเดินพาเหรดเข้าสู่สนามศุภ ฯ และร่วมเชียร์บอลประเพณีจุฬาฯ - ธรรมศาสตร์ ด้วยกันที่ขอบสนาม
ทั้งนี้ศิลปินแห่งชาติทุกคนจะเข้ารับพระราชทานโล่และเข็มเชิดชูเกียรติ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันศิลปินแห่งชาติ ๒๔ กุมภาพันธ์นี้ ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
|
|
|
|
toomy
|
|
« ตอบ #40 เมื่อ: 07 กุมภาพันธ์ 2554, 22:10:56 » |
|
งานเลี้ยงสังสรรค์ "รู้รัก สามัคคี ฟุตบอลประเพณี ฯ 67" ที่ศาลาพระเกี้ยว
หลังจบการแข่งขัน จุฬา : ธรรมศาสตร์ 3:1
"อ.เผ่า" ได้นำถ้วยรางวัลปีนี้ มาให้ "พี่ทองอู่ และพวกเราซีมะโด่งจุฬา".. ได้ชื่นชม ได้ปลื้มมมมม..
|
|
|
|
กุ้ง14
มือใหม่หัดเมาท์
ออฟไลน์
กระทู้: 109
|
|
« ตอบ #41 เมื่อ: 08 กุมภาพันธ์ 2554, 14:35:32 » |
|
ขอแสดงความยินดีและร่วมภูมิใจกับอาจารย์เผ่า และครอบครัวสุวรรณศักดิ์ศรี ด้วยนะคะ
|
|
|
|
supanee
Full Member
ออฟไลน์
กระทู้: 605
|
|
« ตอบ #42 เมื่อ: 09 กุมภาพันธ์ 2554, 18:53:31 » |
|
ขอแสดงความยินดีกับอจ.เผ่าและอจ.แจ่มใสด้วยค่ะ
|
|
|
|
yyswim
|
|
« ตอบ #43 เมื่อ: 09 กุมภาพันธ์ 2554, 22:15:01 » |
|
ขอแสดงความยินดีกับอ.เผ่า ด้วยครับ สมแล้วครับ กับความตั้งใจทำงาน และความสามารถที่เยี่ยมยอด
ขอบคุณ อ.โก๋ ที่นำประวัติมาช่วยเผยแพร่
|
|
|
|
Pae
|
|
« ตอบ #44 เมื่อ: 10 กุมภาพันธ์ 2554, 10:56:12 » |
|
เมื่อเช้า เห็นอาจารย์ ออกทีวีช่องเก้า ด้วยครับ
|
|
|
|
jamsai
Full Member
ฤา.... น้ำเต้าใบน้อยจะถอยจม...
ออฟไลน์
กระทู้: 416
|
|
« ตอบ #45 เมื่อ: 11 กุมภาพันธ์ 2554, 18:47:05 » |
|
อ.เผ่า เข้าเวปไม่เป็น เมื่อได้รับทราบว่า ชาวซีมะโด่งมากมายทุกรุ่น มาแสดงความยินดี ด้วยน้ำใสใจจริง ก็ฝากบอกมาว่า..... [ขอน้อมรับความยินดีและความรู้สึกดีๆจากทุกท่าน ด้วยความขอบคุณ ขอบคุณและขอบคุณมากครับ]ขอน้อมรับความยินดีและความรู้สึกดีๆจากทุกท่าน ด้วยความขอบคุณ ขอบคุณและขอบคุณมากครับ [ขอน้อมรับความยินดีและความรู้สึกดีๆจากทุกท่าน ด้วยความขอบคุณ ขอบคุณและขอบคุณมากครับ]พร้อมกับบอกว่า มีซีมะโด่งท่านหนึ่งสงสัยว่าอาจารย์เผ่าไปร้องรำทำเพลงหรือเป็นศิลปินประเภทใหน จึงได้รับรางวัล เป็นศิลปินแห่งชาติ.....หรือเอาเวลาใหนไปทำงานเป็นศิลปิน เพราะเห็นวุ่นวายอยู่แต่กับหอพัก และนิสิต คำตอบคงพอได้กันแล้วจากประวัติที่ทางผู้เสนอชื่อยื่นให้ สนช พิจารณา ที่นี้ หลายท่านอาจยังไม่เห็นตัวอย่างผลงาน ป้าแจ่มจะทยอยเอามาลงให้ชมนะคะ แต่อย่างไรก็ดี กำลังจะทำเป็น slide presentation ไว้นำเสนอในโอกาสที่พวกเราได้มาเจอกัน หรือมีประชุม ต้องขอโทษและขอบพระคุณ พี่นภดล คนดีของน้องๆ ที่กระตุ้นให้นำผลงานเสนอทางเวป ทันทีที่ทราบข่าว แต่หาข้อมูล รวบรวมภาพให้ไม่ทัน เพราะทิ้งไปนาน ตั้งแต่ปี 2548 เนื่องจาก อ.เผ่าเคยถูกเสนอเป็น ครั้งแรกในปี 2547 โดยสมาคมสถาปนิิกสยาม และถูกเสนอชื่ออีกเป็นครั้งที่ 2 ในปี 2548 โดย 3 องค์กร คือ สมาคมสถาปนิกสยาม คณะสถาปัตยฯ จุฬาฯ และ ศิลปินแห่งชาติ แต่ก็ยังไม่ได้รับการคัดเลือกให้เป็น ก็เลยไม่คาดคิดวว่าจะได้ปีนี้ เพราะ ไม่มีวี่แววว่าองค์กรณ์มีใหนติดต่อมาให้ทำข้อมูลส่ง เพื่อเสนอเป็น candidate อีก ดังนั้นจึงไม่ได้รวบรวมข้อมูลเก็บไว้ที่บ้านเลยส่งให้พี่นภไม่ได้
|
ฤา น้ำเต้าใบน้อย จะ..ถอยจม....
|
|
|
phraisohn
บักสน
Administrator
Cmadong ชั้นเซียน
บักสนแคมโบ้
ออฟไลน์
รุ่น: rcu89 (ปี 2549)
คณะ: วิทยาศาสตร์
กระทู้: 9,557
|
|
« ตอบ #46 เมื่อ: 11 กุมภาพันธ์ 2554, 21:39:57 » |
|
|
|
|
|
Jiab16
|
|
« ตอบ #47 เมื่อ: 12 กุมภาพันธ์ 2554, 00:57:19 » |
|
Wow ! Wow ! Wow ! น้องสนนำรายการ TV ที่น้อง Pae พูดถึง มาให้ชมกันถึงที่ แบบรวดเร็วทันใจวัยรุ่นจริงๆ ... เยี่ยมยอด ! ...
อ.แจ่มใส และพี่นภ ขา
VDO ผลงานการออกแบบอาคารสถาปัตยกรรมไทยของอาจารย์เผ่า ที่รายการ “ ตอมแมลงวัน “ นำมาให้ชมกันในเวลาสั้นๆ น่าจะเป็นตัวอย่างผลงานที่ทำให้ผู้ชมพอจะได้ idea ในเรื่องความรู้ความสามารถในการรังสรรค์ผลงานที่มีคุณค่า และความมีจิตสาธารณะของอาจารย์เผ่าได้เป็นอย่างดี ช่างเหมาะสมกับรางวัลเกียรติยศยิ่งใหญ่ ที่ชาวซีมะโด่งทุกคนร่วมภาคภูมิใจด้วยเป็นอย่างยิ่งค่ะ
อ.แจ่มใส ขา ( รอบ 2 )
เจี๊ยบเดาว่า อ.เผ่าเล่าเรื่องในย่อหน้านี้แบบเป็น joke แน่ๆ เลย ถ้าซื้อล็อตเตอรี่ เจี๊ยบจะถูกรางวัลที่ 1 มั้ยเนี่ย ? ... ขอเล่าเกร็ด เสริมเพิ่มเติมมั่ง ...
เมื่อต้นอาทิตย์นี้ หนุ่มมิ้ง17 โทรศัพท์กริ๊งกร๊างมาคุย ( แบบพูดเนิ้บๆ สลับกับหัวเราะ ชุดใหญ่ ตามสไตล์ )
" พี่เจี๊ยบ ผมได้ข่าวว่า อ.เผ่า ได้รับรางวัลศิลปินแห่งชาติเหรอ ? "
" ใช่ค่ะ พี่ๆ น้องๆ เค้าร่วมแสดงความยินดีกันในเวปบอร์ด ไปจนถึงหน้า 2 แล้ว มิ้งไม่ได้เข้าเวปเลยล่ะมั้ง ? "
" เอ๊ะ ! ที่จริงอาจารย์แกก็ไม่ได้ร้องเพลงไพเราะเพราะพริ้งซักกะหน่อย ได้เป็นศิลปินแห่งชาติได้ยังไง " ... ต่อด้วยเสียงหัวเราะร่วน ชุดใหญ่
" เฮ้ย ! ตามิ้ง สาขาสถาปัตยกรรมไทย หรอกจ้ะ ... ฮึ ! ใครจาร้องเพลงได้ไพเราะเหมือนมิ้งร้องเพลง ' ม่านมงคล ' แล้วคนฟังนึกว่าเปิดแผ่นล่ะ " ค้อน 1 วง จ้างให้ ตามิ้งก็ไม่เห็น
" เดี๋ยวผมจาโทร.ไปแสดงความยินดีกับอาจารย์ จาแซวแกด้วยประโยคนี้แหละ " ต่อด้วยเสียงหัวเราะชุดใหญ่ ชุดที่ 2
" ได้ไง ? เดี๋ยวอาจารย์เผ่าโกรธเอานะ นี่เธอพูดเล่น หรือพูดจริงกันแน่ ปนกันยุ่ง พี่แยกไม่ออกหรอก "
" จริ๊ง เดี๋ยวโทร.เลยดีกว่า ชมรมฯ ต้องจัดงานฉลองให้จั๋งหนับเลยนะ จะจัดเมื่อไหร่ อย่าลืมบอกผมด้วยล่ะ "
" จ้า จาบอกมิ้งเป็นคนแรกเลย "
อ.แจ่มใส ว่าเจี๊ยบถูกล็อตเตอรี่มั้ย ? ที่เดาว่าเป็น " มิ้ง " แหงๆ
ป.ล. อ.แจ่มใสคลิกดูรูปในวันงาน " พาแลง 53 " รึยังคะ ? ใครเอ่ย ยืนใกล้กล้องที่สุด คลิกตรงนี้นะคะ
http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,6179.225.html
|
|
|
|
อ้อย 14
|
|
« ตอบ #48 เมื่อ: 12 กุมภาพันธ์ 2554, 08:34:36 » |
|
emo20:)):)เรื่อง ช่วยราชการ คงไม่ต้องเล่านะเธอ....
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #49 เมื่อ: 12 กุมภาพันธ์ 2554, 11:17:55 » |
|
อ่านบทความที่"คุณเจียม"ลงในหน้าแรก ตามด้วย Clip ที่"น้องสน"ลงไว้ข้างบนนี้...ชื่นชม ชื่นชม ครับ
|
|
|
|
|