25 พฤศจิกายน 2567, 19:38:30
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: [1]   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: " มาเรียนแพทย์กันเถอะ"  (อ่าน 5059 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« เมื่อ: 11 เมษายน 2553, 14:00:50 »


                                         มาเรียนแพทย์กันเถอะ
                                ทันโรคทันเหตุการณ์กับแพทยสภา

                 ขอขอบคุณ น.ส.พ.แนวหน้าวัน เสาร์ที่ 10 เมษายน 2553
                  http://www.naewna.com/news.asp?ID=206758

                                            

           พระราชดำรัส  สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก

 องค์พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทยและองค์พระบิดาแห่งการสาธารณสุขไทย


“ฉันไม่ต้องการให้เธอเป็นเพียงแค่หมอเท่านั้น แต่ฉันต้องการให้พวกเธอมีใจเป็นมนุษย์ด้วย”

       “..ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตนเป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง

       ลาภ ทรัพย์ เกียรติยศ จะตกแก่ท่านเอง ถ้าท่านทรงธรรมแห่งอาชีพ ไว้ให้บริสุทธิ์”

                                    ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ

          ในช่วงนี้เป็นช่วงที่นักเรียนมัธยมปลายทราบผลสอบแอดมิดชั่นแล้วกำลังจะเลือกคณะเรียน แม้ว่าสาขาแพทย์มักจะมีการรับตรงเป็นส่วนใหญ่ และนักเรียนที่จะสอบเข้าเรียนแพทย์มักจะทราบแล้วว่าตนเองนั้นควรจะได้หรือไม่

          ขอแสดงความยินดีกับผู้ที่สอบได้ในขั้นต้นนี้ ส่วนผู้ที่อาจต้องมีการสัมภาษณ์หรือน้องๆที่กำลังเรียนอยู่ ขออนุญาตให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจและเตรียมตัวที่จะเรียนแพทย์และจบเป็นแพทย์ต่อไป

          ก่อนอื่นต้องยอมรับว่าแนวโน้มของสังคมไทย ขณะนี้มีค่านิยมเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเป็นไปตามยุคสมัย ที่

แพทย์คือผู้ให้บริการ

ผู้ป่วยคือผู้ใช้บริการหรือลูกค้า


           การได้รับบริการหรือการให้การรักษาที่ได้ผลไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง ได้แก่มีภาวะแทรกซ้อนทั้งที่อาจจะเกิดจากภาวะของโรคเอง ก็มีโอกาสที่จะถูกฟ้องร้อง ร้องเรียนเรียกค่าชดเชยได้ และในสภาวการณ์เช่นนี้แพทย์ที่ให้บริการรักษาผู้ป่วยทุกคน ไม่พ้นการต้องถูกฟ้องร้องหรือร้องเรียนได้ เพราะเป็นไปไม่ได้เลยที่การรักษาของแพทย์ที่เก่งที่สุดชำนาญที่สุดจะได้ผลดีทุกรายโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนเลย

           ตัวอย่างโรคๆหนึ่งหากมีอัตราตายร้อยละ 5 ซึ่งในทางการแพทย์มีโอกาสเกิดได้กับทุกคน แต่เมื่อเกิดกับผู้ป่วยรายใดแล้ว ย่อมไม่เป็นที่พอใจของญาติว่าทำไมเกิดผลไม่ดีกับผู้ป่วย

           อย่างไรก็ตามหากแพทย์ได้ทำตามมาตรฐานที่ควรเป็นแล้วตามกฎหมายเขาบัญญัติว่าจะได้รับการคุ้มครองซึ่งต้องได้รับการพิสูจน์หรือต่อสู้ทางศาลหรือผู้มีหน้าที่ตรวจสอบเช่นแพทยสภา

           สิ่งนี้คือข้อเท็จจริงที่ผู้ที่จะมาเป็นแพทย์นั้นควรตระหนักรู้อย่างมีสติโดยไม่กลัวจนเกินไปจนวิตกจริตเปลี่ยนใจไม่มาเรียนแพทย์ เพราะถึงอย่างไรปัจจุบันนั้นในทุกวิชาชีพไม่ว่าครู ตำรวจ อัยการ ศาล นักการเมือง ก็ต้องมีการถูกตรวจสอบเช่นกัน

           สิ่งหนึ่งที่จะเป็นเกราะป้องกันคือการพัฒนาคุณภาพตลอดเวลา ของโรงพยาบาลก็คือ การได้รับการรับรองคุณภาพ (Hospital Accreditation) จากสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล(องค์การมหาชน) หรือ สรพ.

           ส่วนตัวแพทย์เองก็ต้องศึกษาหาความรู้ตลอดเวลาที่เรียกว่า การศึกษาต่อเนื่องของแพทย์(Continuous Medical Education) ซึ่งความรู้ใหม่ๆที่ได้ก็จากผู้ป่วยแต่ละรายที่ให้บทเรียนหรือเป็นอาจารย์ของแพทย์เช่นกัน และจากการประชุม(Conference )ที่ทุกโรงพยาบาลจะต้องมีการจัดอย่างสม่ำเสมอเป็นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างแพทย์ เรื่องหลักๆในขบวนการพัฒนาคุณภาพนั้น  ได้แก่

           การจัดการความเสี่ยง(Risk management) การจัดการสิ่งแวดล้อม การให้บริการโดยมีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง (Patient center) การคำนึงถึงสิทธิของผู้ป่วย การรักษาความลับของผู้ป่วย เป็นต้น

           การรักษาให้ได้คุณภาพนั้นทางพุทธศาสนาถือว่าเป็นบุญเป็นกุศลดังที่มีคำกล่าวว่าปฏิบัติงานคือการปฏิบัติธรรม หากการรักษาของแพทย์นั้นเป็นการช่วยชีวิตผู้ป่วยก็เป็นการทำบุญกุศลสูงส่ง ซึ่งถือได้ว่าเป็นวิชาชีพหนึ่งที่มีโอกาสสร้างบุญกุศลได้มาก ทั้งยังเป็นวิชาชีพที่สังคมให้ความนับถือ

           ด้วยเหตุผลดังกล่าวหากน้องๆมีความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของแพทย์เช่นนี้แล้วมีความมุ่งมั่น(มีฉันทะ)ที่จะเป็นแพทย์ที่ดี มีผลการเรียนในด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ที่อยู่ในเกณฑ์ดี มีความรู้และทักษะทางสังคมดี ขอเชิญชวนให้มาเรียนแพทย์ และสำหรับผู้ปกครองควรให้บุตรของท่านเป็นผู้ตัดสินใจว่าเขามีความมุ่งมั่นที่จะมาเรียนแพทย์โดยตัวเองครับ

                                                                       ด้วยความปรารถนาดีจาก
                                                                  นายแพทย์สุกิจ ทัศนสุนทรวงศ์
                                                                     ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา

OOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOO

           นำข่าวมาบอกพวกเรา ที่มี ลูก หลาน จะได้ข้อมูลในการตัดสินอนาคต ว่า จะเป็นอะไร ดี ไม่ต้องกลัวการเป็นแพทย์เกินไป ถ้าทำตามแนวทางการรักษาของ ร.พ.คุณภาพ จะเป็นเกราะป้องกันได้

           การทำตามแนวทางการรักษาของ ร.พ.คุณภาพ เปรียบเหมือนทางเดิน ที่ไม่มีคนเดิน มีแนวทางให้ จำเป็นต้องเดินตามแนวทางได้จากการที่ไปพบกระทู้  "ทางดีไม่มีคนเดิน" ในเวบ  

           http://www.budpage.com/forum/index.php

                    มีเนื้อหาว่า "ทางดี" หรือ คำสอนที่มุ่งให้

         "เสียสละประโยชน์ส่วนตัว เพื่อประโยชน์ของคนส่วนรวม

        เพื่อให้การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุข ไม่เบียดเบียนกัน"


         มีในทุกศาสนา แต่ยังไม่สามารถทำให้เกิดเป็นจริงได้ ยังมีการเบียดเบียนเอาเปรียบกัน
ดังคำที่ว่า

          

                        "ปลาใหญ่ กิน ปลาเล็ก"

         จึงมีผู้คิด แนวทางเพื่อทำให้คนต้องปฏิบัติตามแนวทาง

                        "ทางดีที่ไม่มีคนเดิน"

         ให้เป็นรูปธรรม ปฏิบัติได้จริง โดย มี 2 แนวคิด คือ

แนวคิดที่ 1 เรื่อง "วงจรคุณภาพของเดมมิงส์" และ

แนวคิดที่ 2 เรื่อง ”การมีป้ายรับรองคุณภาพ”

                        งง งง งง งง งง งง

แนวคิดที่ 1 วงจรคุณภาพของเดมมิงส์ นำเสนอโดย

                            

William Edwards Deming  October 14, 1900–December 20, 1993
                was an American statistician, college professor  

         ดูประวัติของท่านได้ที่

http://en.wikipedia.org/wiki/W._Edwards_Deming

         ดู เรื่องวงจรคุณภาพที่ เวบ Balanced Scorecard Institute ที่

http://www.balancedscorecard.org/bkgd/pdca.html

        เป็นกุศโลบายที่จะทำให้การดำเนินการมีคุณภาพ โดย มี

         ขบวนการ ดำเนินตามวงจรคุณภาพ ดังนี้

                        

1. การวางแผน PLAN ต้องหา...ข้อมูล บุคคล ความรุ้ และ อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง นำมาร่วมวางแผน

2. การดำเนินการตามแผน DO

3. การประเมินผลระหว่างดำเนินงาน CHECK และ  

4. การแก้ไข ACT เมื่อไม่เข้าเป้าหมายของแผน เช่น มีอุปสรรค มีความรู้ใหม่ มีความคิดเห็นจากผู้ใช้บริการ ฯลฯ เพื่อแก้ไขแผน เพื่อให้เข้าสู่เป้าหมายคุณภาพ  

         วงจรคุณภาพนี้ เปรียบ เป็น

ทางดี ที่ไม่มีคนเดิน จะทำให้มีีคนเดินได้ด้วย.....  

แนวคิดที่ 2 เรื่อง ”การมีป้ายรับรองคุณภาพ”

โดย มีองค์กรอิสระภายนอก มาพัฒนา และ ให้ป้ายรับรอง เป็น ร.พ.คุณภาพ องค์กรนั้น คือ  

         สถาบันรับรองคุณภาพ ร.พ.หรือ สรพ.  

สามารถเข้าเวบสถาบันรับรองคุณภาพ ร.พ. หรือ สรพ. ได้ที่

http://www.ha.or.th/

    

         ทำไม ร.พ.ต้องมีป้ายรับรองคุณภาพ

1.เพื่อให้ได้รับเงินงบประมาณ จาก สำนักงานประกันสุขภาพ แห่งชาติ : สปสช.ได้ เพราะ  
สปสช.จะให้ประชาชนมาใช้บริการ ฟรีได้ ใน ร.พ.ที่ได้ป้ายประกาศการเป็น ร.พ.คุณภาพเท่านั้น  

2.เพื่อให้มาตรฐาน ร.พ.คงที่แน่นอน เพราะ มีแนวทางดำเนินการ ตามเอกสารอ้างอิงคุณภาพ แม้บุคลากร ที่ทำงานไม่อยู่ การทำงาน ของ ร.พ.ก็จะยังคงคุณภาพ เหมือนเดิม ตามเอกสารอ้างอิงคุณภาพ จาก สรพ.ตลอดไปที่มีป้ายรับรองประกาศอยู่

3. เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมแสดงความพึงพอใจในบริการ โดยเขียนแสดงคุวามคิดเห็น ลงตู้แสดงความคิดเห็นซึงความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ เป็นตัวชี้วัดที่สำคัญที่ ร.พ.ที่ได้ป้ายรับรองจะต้องมีเพื่อนำข้อคิดเห็นที่ดี นำมาพิจารณา ร่วมกับ สรพ.เพื่อแก้ไขเอกสารอ้างอิงคุณภาพ ให้ประชาชนพึงพอใจมากขึ้นได้

                    

4.เพื่อให้เจ้าหน้าที่ ร.พ.มีแนวทางที่แน่นอนในการทำงานโดยมีเอกสารคุณภาพ เป็นเส้นทางให้เดิน  

5. เมื่อมีการฟ้องร้อง ผู้ตัดสินการฟ้องร้อง จะได้ใช้เอกสารคุณภาพ ของ ร.พ.คุณภาพ มาใช้ตรวจสอบ ว่าทำตามแนวทางหรือไม่ เพื่อให้คำตัดสิน

         แนวทางการรักษาคุณภาพนี้ จึง เปรียบเป็น เสื้อเกราะปัองกันผู้ปฏิบัติงาน ที่ยึดมั่นแนวทางคุณภาพ

                            ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ

สรุป : ทางดีที่ไม่มีคนเดิน สามารถทำให้คนเดินได้ โดย ระบบคุณภาพ มีองค์กรภายนอก สรพ.มาพัฒนา และ รับรองคุณภาพองค์กรให้ ทำให้ทุกคนต้องเดินตามทางดี ที่เขียนเป็นเอกสารอ้างอิงอย่างเคร่งครัด  
        
ระบบคุณภาพ และ การได้ ใบประกาศรับรองคุณภาพ มาแสดง จะทำให้ทางดีที่ไม่มีคนเดิน เป็นทางที่จำเป็นจะต้องเดินเพื่อให้คงได้รับป้ายรับรองคุณภาพ ไว้ไม่ถูกยึดคืนนั่นเอง

                                         win win win

      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Kaimook
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,132

« ตอบ #1 เมื่อ: 11 เมษายน 2553, 21:55:38 »

 ขอบคุณพี่มากๆๆๆๆๆๆๆๆค่ะตอนนี้ลูกสาวน้ำอ้อยขึ้นชั้นม.6ปีการศึกษา53นี้ค่ะ
อยากเป็นคุณหมอมากกกกกกกค่ะไม่รู้จะสอบได้หรือไม่ค่ะให้เขาตั้งใจเรียนทำให้ดีที่สุดค่ะ
      บันทึกการเข้า
  หน้า: [1]   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย  พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><