Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์
รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915
|
|
« ตอบ #2 เมื่อ: 17 มิถุนายน 2553, 07:05:47 » |
|
| | อ้างถึง | | | | | | | | โครงสร้างและการทำงานของสมองย่อมเกิดความเสื่อมตามวัยสังขาร และหากถือตามหลักแนวคิด “use it or loss it” ประสิทธิภาพการทำงานของสมองอาจลดลงเรื่อยๆ หากเราไม่ได้ใช้งาน ในปัจจุบันจึงมีกลยุทธ์การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมองมากมายในตลาดสินค้าโดยอาศัยข้อมูลการค้นพบบางส่วนจากงานวิจัยทางประสาทวิทยาสาตร์ ในบทความนี้จึงขอยกตัวอย่างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยออกกำลังจิตซึ่งวางตลาดแล้วทั่วโลก และรายงานวิจัยด้านบทบาทการออกกำลังกายและจิตในการเพิ่มการทำงานของสมองด้านการรู้คิด
ทุกวันนี้ประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากอายุขัยเฉลี่ยคนเรามากขึ้นซึ่งเป็นผลพวงมาจากการพัฒนาด้านวิทยาศาตร์การแพทย์ แต่สิ่งที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วยก็คือ โรคภัยไข้เจ็บที่มากับอายุที่มากขึ้นโดยเฉพาะปัญหาด้านความจำและการรู้คิด (cognitive function) รัฐบาลของหลายประเทศจึงรณรงค์ให้ประชากรผู้สูงอายุมีสุขภาพดีถ้วนหน้า เช่น สหรัฐอเมริกาซึ่งคาดว่าภายในปี ค.ศ. 2030 จะมีประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 85 ขึ้นไปประมาณ 13 ล้านคน จึงได้ออกนโยบายกระตุ้นให้ประชาชนให้ความสำคัญกับอาหารการกิน การออกกำลังกาย และกิจกรรมเสริมอื่นๆ เพื่อให้มีชีวิตยืนยาวและปราศจากโรคภัยไข้เจ็บซึ่งถือเป็นภาระทางการแพทย์ของประเทศอย่างหนึ่ง
การออกกำลังจิต (cognitive training) จึงได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากมีสินค้าจำพวกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่โฆษณาถึงประสิทธิภาพในการเพิ่มระดับการรู้คิดในผู้สูอายุและชะลออาการสมองเสื่อมอันเนื่องมาจากวัย • “Brain AgeTM: Train Your Brain in Minutes a Day” ของบริษัท Nintendo เป็นโปรแกรมที่ได้รับแรงบัลดาลใจจากงานวิจัยของ Dr. Ryuta Kawashima ซึ่งเป็นนักประสาทวิทยาศาสตร์ (neuroscientist) คนสำคัญของประเทศญี่ปุ่น โดยเขาได้ศึกษาผลของการอ่านและการทำแบบฝึกหัดทางคณิตศาสตร์ในการกระตุ้นการทำงานของสมอง กิจกรรมภายในโปรแกรมนี้ประกอบด้วย เกมการคำนวณทางคณิตศาสตร์, Stroop task และเกมเติมตัวเลขยอดฮิตซูโดกุ (Sudoku)
• “Brain GamesTM” ของบริษัท Radica เป็นโปรแกรมเกมที่เกิดจากการศึกษาวิจัยของศาสตราจารย์ Gary Small ซึ่งดำรงตำแหน่ง Professor of Psychiatry and Biobehavioral Sciences และเป็นผู้อำนวยการของ University of California at Los Angeles Center of Aging รวมทั้งเป็นเจ้าของหนังสือด้านความจำและการมีอายุยืนยาว เช่น Memory Bible, The Memory Prescription และ The Longevity Bible
โดยกิจกรรมภายในโปรแกมนี้ประกอบด้วย Sequence – จดจำลำดับตัวเลข Flash Card – การคำนวณทางคณิตศาสตร์ Mind Games – เกมทางเชาว์ปัญญา Word Hunt – การค้นหาคำศัพท์ Recall – จดจำคำศัพท์ที่ได้แสดงแล้วให้ระลึก
• นอกจากนี้ยังมีอีกหลายบริษัทที่วางตลาดโปรแกรมออกกำลังจิตที่ว่า เช่น MindFit ซึ่งมีกิจกรรม คือ ให้จดจำภาพนามธรรมที่อยู่ด้านขวาแล้วนำองค์ประกอบย่อยของภาพดังกล่าวที่อยู่ด้านซ้ายมาต่อให้เหมือนกับภาพที่สมบูรณ์ด้านขวา เป็นต้น
จากการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่าปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม (environmental factors) เช่น การเสริมการรู้คิด (cognitive enrichment) หรือ การรออกกำลังกาย อาจมีผลต่อการรู้คิดและช่วยชะลอความแก่ได้ หนูทดลองที่ถูกเลี้ยงภายใต้สิ่งแวดล้อมที่เสริมการเสริมการรู้คิดเพิ่มการสร้างกิ่งก้านของใยประสาทนำเข้าหรือเดนไดรต์ (dendrite) และเพิ่มการสร้างเซลล์ประสาทใหม่ (neurogenesis) แต่อย่างไรก็ตามชีวิตคนเราอยู่ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่เสริมการเสริมการรู้คิดไม่มากก็น้อยมาตลอดทั้งชีวิตเมื่อเทียบกับหนูทดลอง ดังนั้นผลของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าวข้างต้นจะเพิ่มเติมการพัฒนากระบวนการรู้คิดได้มากน้อยเพียงใดยังไม่สามารถตอบได้
ผลของการออกกำลังกายในสัตว์ทดลองได้แสดงให้เห็นว่ามีการเพิ่มปริมาณเลือดไปเลี้ยงที่สมองส่วนเดนเตตไจรัส (dentate gyrus) ของสมองส่วนฮิปโปแคมปัส (hippocampus) และที่บริเวณนี้เองก็เป็นแหล่งสร้างเซลล์ประสาทใหม่จากเซลล์ต้นกำเนิดประสาท (neural stem cells) ที่มีอยู่ตลอดอายุขัยของคนเรา เนื่องจากสมองบริเวณนี้เกี่ยวข้องกับความจำและการเรียนรู้ โดยเฉพาะความจำด้านความรู้ ข้อเท็จจริง (facts) และเหตุการณ์ในชีวิต (event) และมีนักวิจัยหลายกลุ่มเชื่อว่าเซลล์ประสาทที่เกิดใหม่นี้เกี่ยวข้องกับการบันทึกความจำให้เป็นรหัสประสาท ซึ่งเซลล์ประสาทแต่ละกลุ่มที่เกิดใหม่ก็จะรับผิดชอบบันทึกเหตุการณ์ที่แตกต่างกันออกไป
มีการศึกษาในระดับคลินิกโดยใช้การฝึกให้รู้คิด (cognitive training) ในผู้สูงอายุจำนวน 2832 คนที่มีอายุเฉลี่ยประมาณ 73.6 ปี โดยเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนเมษายนปี ค.ศ. 1998 จนถึงเดือนธันวาคมปี ค.ศ. 2004 พบว่าแม้เพียงการฝึกแค่ 10 รอบก็สามารถเพิ่มสมรรถนะการทดสอบการรู้คิดได้นานถึงห้าปี นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมการทดลองยังรู้สึกมั่นใจในตนเองว่าสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างอิสระและไม่ต้องพึ่งพาหรือเป็นภาระต่อผู้อื่น
ถึงแม้ว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อออกกำลังจิตฝึกการรู้คิดยังไม่ได้มีการพิสูจน์ให้เห็นเป็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ไม่มีผลงานตีพิมพิ์ใดๆ แต่อย่างไรก็ตามผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยได้จ่ายเงินซื้อยาวิเศษแนวใหม่โดยไม่ได้รอให้เห็นผลวิจัยจากโปรแกรมดังกล่าวในเมื่ออายุคนเราก็แก่ลงทุกวันๆ ตามสังขารที่ร่วงโรย เนื่องจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าวคงไม่ได้ทำให้สุขภาพเสื่อมเสียมากนักนอกจากดูดเงินออกไปจากกระเป๋า
เกมซูโดกุเป็นเกมที่ช่วยฝึกความจำซึ่งเป็นที่นิยมมากทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกา โดยผู้เล่นต้องเติมตัวเลข 1-9 ในทั้งแถวแนวตั้งและแนวนอน ทั้งนี้ตัวเลขในแถวรวมทั้งในบล็อกย่อยๆ ต้องไม่ซ้ำกัน
สำหรับผู้ที่ต้องการได้สุขภาพดี เสริมการทำงานสมอง และไม่เสียสตางค์ ก็ต้องรับประทานอาหารที่หลากหลาย เน้นผักผลไม้เป็นหลัก ออกกำลังกายสม่ำเสมอ คำนวณคณิตศาสตร์ ฝึกเกมซูโดกุ และเกมค้นหาคำ เป็นต้น
เอกสารอ้างอิง
1. Nat Neurosci, volume 10, no.3, 2007, p263 2. Colcombe, S.J. et al, Psychol. Sci., volume 14, 2003, p125-130 3. Colcombe, S.J. et al, J.Gerontol. A Biol. SciSci. Med. Sci., volume 61, 2006, p1166-1170 4. Willis, S.L. et al, JAMA, volume 296, 2006, p2805-2814 5. Ana, C.P. et al, PNAS, volume 104, 2007, p5638-5643 6. Mahncke, H.W. et al, PNAS, volume 103, 2006, p12523-12528 7. Salthouse, T.A., Perspect. Psycho. Sci., volume 1, 2006, p68-87 8. http://www.nintendo.com/gamemini?gameid=Y9QLGBWxkmRRzsQEQtvqGqZ63_CjS_9F 9. http://brain-games.radicagames.com/ 10. http://www.e-mindfitness.com/
| | | | | เล่นเกมส์หนูถีบจักร ออกกำลังกายนิ้ว และ สมอง
http://flashgame.playpark.com/action/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B9%8C%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%96%E0%B8%B5%E0%B8%9A%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3.html
ผลของการออกกำลังกายในสัตว์ทดลองได้แสดงให้เห็นว่ามีการเพิ่มปริมาณเลือดไปเลี้ยงที่ สมองส่วนเดนเตตไจรัส (dentate gyrus) ของสมองส่วนฮิปโปแคมปัส (hippocampus) และ ที่บริเวณนี้เองก็เป็นแหล่งสร้างเซลล์ประสาทใหม่จากเซลล์ต้นกำเนิดประสาท(neural stem cells) ที่มีอยู่ตลอดอายุขัยของคนเรา
เนื่องจากสมองบริเวณนี้เกี่ยวข้องกับความจำและการเรียนรู้ โดยเฉพาะความจำด้านความรู้ ข้อเท็จจริง (facts) และเหตุการณ์ในชีวิต (event) และ
มีนักวิจัยหลายกลุ่มเชื่อว่าเซลล์ประสาทที่เกิดใหม่นี้เกี่ยวข้องกับการบันทึกความจำให้เป็น รหัสประสาท ซึ่งเซลล์ประสาทแต่ละกลุ่มที่เกิดใหม่ ก็จะรับผิดชอบบันทึกเหตุการณ์ที่แตกต่างกันออกไป
)))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))
การออกกำลังกายเป็นวิธีสร้างเสริมสุขภาพที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งซึ่งนอกจากไม่ได้มีขั้นตอนที่ ยุ่งยากแล้วยังไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายที่มากโดยไม่จำเป็น
ปัจจุบันเราคงต้องเน้นการแพทย์เชิงรุกกล่าว คือ สร้างสุขภาวะและป้องกันปัญหาไว้ก่อน โดยเฉพาะในปัจจุบันมีโรคต่างๆ มากมาย และ โดยเฉพาะโรคด้านสมองที่พบได้มากในผู้สูงอายุ เช่น โรคอัลไซเมอร์ เป็นต้น
การลดปัจจัยเสี่ยงโดยการออกกำลังกายจึงน่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่อาจช่วยให้ สมองมีการสร้างเซลล์ประสาทเพิ่มขึ้นในระดับที่เหมาะสม เกิดการสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาท ผ่านไซแนปส์ที่แข็งแรงขึ้น และทำงานสอดประสานกันเกิดเป็นวงจรประสาทที่มีประสิทธิภาพ
เอกสารอ้างอิง
1. Ana C. Pereira และคณะ, An in vivo correlate of exercise-induced neurogenesis in the adult dentate gyrus, PNAS, published online Mar 20, 2007
2. V. A. REDILA และ B. R. CHRISTIE, EXERCISE-INDUCED CHANGES IN DENDRITIC STRUCTURE AND COMPLEXITY IN THE ADULT HIPPOCAMPAL DENTATE GYRUS, Neuroscience, 137 (2006) 1299–1307
3. Munehiro Uda และคณะ, Effects of chronic treadmill running on neurogenesis in the dentate gyrus of the hippocampus of adult rat, BRAINRESEARCH,1 1 0 4(2006)64–72
4. Henriette van Praag และคณะ, Exercise Enhances Learning and Hippocampal Neurogenesis in Aged Mice, The Journal of Neuroscience, September 21, 2005, 25(38):8680–8685
5. Golo Kronenberg และคณะ, Physical exercise prevents age-related decline in precursor cell activity in the mouse dentate gyrus, Neurobiology of Aging, 27 (2006) 1505–1513 นำมาจาก กระทู้ ผลของการออกกำลังกายต่อการสร้างเซลล์ประสาทใหม่ « เมื่อ: 25 เมษายน 2550, 14:32:56 » ภก.วีระพงษ์ ประสงค์จีน
เพื่อชี้ให้เห็นคุณค่าของ 3 อ.เพื่อสุขภาพดี ได้แก่
อ.1 อ.อาหาร ต้องรับทานอาหารที่ดี ถูกสุขอนามัย ในปริมาณทีเหมาะสม
อ.2 อ.ออกกำลังกาย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน วันละไม่น้อยกว่า 30 นาที โดยสามารถนำเวลาที่ออกกำลังกายมาบวกกันได้ เช่น ไม่ขึ้นลิฟท์ เดินขึ้นบันได ตอนมา กี่นาที จำไว้ ตอนกลับ เดินลงบันได้อีกกี่นาที รวมกันให้ไม่น้อยกว่า 30 นาที ถ้ามากกว่าถือว่าได้กำไร
ออกกำลังกายนี้จะทำให้สมองดีขึ้นตามที่ ภก.วีระพงษ์ ประสงค์จีน นำมาโพสต์ไว้
---------------------------------------------------------------------------------
ผลของการออกกำลังกายต่อการสร้างเซลล์ประสาทใหม่ในสมองส่วนฮิปโปแคมปัส
Effect of exercise on adult neurogenesis in Hippocampus
http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,886.0.html
อ.3 อ.อารมณ์ อารมณ์ต้องมั่นคง มุ่งมั่นในการคุมน้ำหนัก อ.นี้เป็น อ.ที่สำคัญ จะคุมน้ำหนักได้หรือไม่ ขึ้นกับ อ.อารมณ์นี้
น้ำหนักเกณฑ์มาตรฐาน เป็น กิโลกรัม โดย
ผู้ชาย ส่วนสูงเป็นเซนต์ ลบ ด้วย 100
ผู้หญิง ส่วนสูงเป็นเซนต์ ลบ ด้วย 105
ค่าที่ได้เป็นน้ำหนักที่ไม่ควรมากเกิน โดยมีเครื่องชั่งน้ำหนัก ที่ควรชั่งทุกวันเพื่อประเมินน้ำหนักตนเอง โดย ให้มีอารมณ์ ตามผลการชั่งได้
ภูมิใจ เมื่อทำได้ และ จะต้องคงน้ำหนักมาตรฐานต่อไป
ท้าทายเมื่อยังคุมไม่ได้ และ จะต้องมุ่งมั่นต่อไป ขอมอบกำลังใจให้พวกเรา ที่น้ำหนักเกิน ว่า
ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จต้องอยู่ที่นั้น
(((((((((((((((((((((((((((((((((((((((((((((((((((((((((((((((((((((((((((((((((((((((((((((((( JOG & JOY . COM Jog ย่อมาจาก Jogging หมายถึง การวิ่งเหยาะๆ การวิ่งช้าๆ Joy ย่อมาจาก Enjoyหมายถึงความเพลิดเพลินสนุกสนานรื่นเริงสำราญความปิติยินดีความรื่นรมย์
ประกาศ
ตามที่ สภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย ร่วมกับ สมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทย
ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ JOG&JOY ได้กำหนดจัดงาน เดิน-วิ่ง เพื่อสุขภาพการกุศล
เดิน-วิ่ง มินิมาราธอน เพื่อโรคหืด ครั้งที่ 4 (Thai Asthma Council Mini Marathon 2010)
ในวันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน 2553 ณ สวนหลวง ร.9 นั้น
บัดนี้ คณะกรรมการจัดงานมีความจำเป็นบ้างประการ จึงขอเลื่อนรายการดังกล่าว ไปจัด
ในวันอาทิตย์ที่ 11 กรกฎาคม 2553
ประกาศ ณ 2/6/53
)))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))
ไปร่วมงานแล้ว จะได้ วิ่ง JOG และ สนุกสนาน JOY รับรอง ใจจะรัก และ ไม่เจ็บครับ
มีเพื่อน ๆ ที่ร่วมวิ่งคอยดูแลกันและกัน พร้อม หน่วยปฐมพยาบาล ร่วมด้วยช่วยกันอยู่แล้ว
จึงขอเชิญชวน Cmadong and Co. ถึงไม่เป็นหอบ หืด หรือ ไม่เคยเป็นวัณโรค ก็เข้าร่วมได้
วันอาทิตย์ที่ 11 กรกฎาคม 2553 ณ สวนหลวง ร.9
เดิน-วิ่ง มินิมาราธอน รณรงค์เพื่อโรคหืดและโรคภูมิแพ้ (ครั้งที่ 4) มีระยะทาง 10 กม.
ปล่อยตัว 06.00 น. แบ่งกลุ่มอายุ
ชาย อายุไม่เกิน 15 /16-29/30-39/40-49/50-59/60-69/70 ปีขึ้นไป
หญิง อายุไม่เกิน 15/16-29/30-39/40-49/50-59/60 ปีขึ้นไป
ส่วนเดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพ 4 กม. ปล่อยตัว 06.00 น. ไม่มีการแข่งขัน
ค่าสมัครทุกระยะทาง 250 บาท พร้อมรับเสื้อที่ระลึกสวยงาม สนใจ สมัครล่วงหน้า หรือ
สมัครหน้างาน เช้าวันแข่งขันก็ได้
โทร.02-741-1900
http://www.jogandjoy.com/
|