22 พฤศจิกายน 2567, 16:35:44
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: [1]   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: กรรมฐานที่หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแกท่านเมตตาสอน  (อ่าน 61808 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
mature_na
มือใหม่หัดเมาท์
*

ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8

« เมื่อ: 08 กันยายน 2552, 17:18:13 »

credit

http://www.prommapanyo.com/smf/index.php

ลานสนทนาคนรักหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ หลวงปู่ทวด


 bua
กรรมฐานที่หลวงปู่ดู่ท่านสอน

ให้ท่านกล่าว นะโม ขึ้นมา ๓ ครั้งดังนี้
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (๓ ครั้ง)

ข้าพระพุทธเจ้าขอกราบนมัสการนอบน้อมต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตที่จะเกิดขึ้น
ข้าพเจ้าขอระลึกถึงพระปัญญาธิคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ซึ่งบังเกิดขึ้นแล้ว ทำให้จิตของพระพุทธองค์เต็มไปด้วยความบริสุทธิ์แจ่มใส
เรียกว่า พระบริสุทธิคุณ
และเมื่อพระองค์มีพระบริสุทธิคุณ และมีพระปัญญาธิคุณแล้ว
ก็มิได้นิ่งนอนใจ หวังเพียงเพื่อที่จะช่วยให้สัตว์โลกทั้งหลาย
ที่กำลังระทมไปด้วยความทุกข์ได้พ้นทุกข์
ซึ่งมีวิธีการที่จะทำให้จิตของตนเองนั้น เกิดความสว่างจากความดี จากคุณธรรม
เป็นพระคุณในข้อที่ ๓ อันนี้เรียกว่า พระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ไม่มีประมาณ
ข้าพระพุทธเจ้า ขอน้อมรับ ระลึกถึงพระคุณ
ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นับตั้งแต่บัดนี้...

พุทธัง ชีวิตัง เมปูเชมิ
ธัมมัง ชีวิตัง เมปูเชมิ
สังฆัง ชีวิตัง เมปูเชมิ

ข้าพเจ้าขอเอาชีวิตจิตใจ ร่างกาย ถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา
ในบางครั้งที่เราทำสมาธิ เราอาจจะไม่มีดอกไม้ธูปเทียน
เราก็ใช้วิธีเอาชีวิต จิตใจ ถวายเป็พุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา
เพราะว่าพระพุทธองค์ พระธรรม พระสงฆ์
จะเป็นผู้ชุบชีวิต ทำจิตของเราจากการที่เป็นผู้ที่มีสันดานบาปหยาบช้า
เป็นปุถุชน ให้เป็นสาธุชนหรือกัลยาณชน ในที่สุดจนเป็นพระอริยบุคคล
เนื่องจากว่า ในระพุทธศาสนานั้น ไม่ได้สอนเพียงให้ทำดี และละความชั่ว
แต่มีขั้นตอนอีกอย่างหนึ่งคือ วิธีการทำจิตให้บริสุทธิ์
เมื่อจิตที่บริสุทธิ์แจ่มใสแล้ว จะเป็นจิตที่เป็นเหมือนพระอริยะ
จึงกล่าวได้ว่า ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาเอกของโลก
เนื่องจากพระพุทธองค์ ทรงค้นพบสัจจะธรรม
ทรงพบทุกข์ - เหตุของทุกข์ - วิธีการดับทุกข์ และผลที่ได้รับจากการดับทุกข์

หลังจากนั้น ให้ตั้งใจสมาทานศีล
เนื่องจากว่าในวันหนึ่งๆ นั้น เราอาจจะไปทำผิดศีลข้อหนึ่งข้อใด
การสมาทานศีลจะป็นการทำจิตให้พร้อม
เพราะเมื่อสมาทานศีลแล้ว จิตของเราก็จะบริบูรณ์
โดยให้ระลึกนึกถึงดังนี้

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิพุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิสังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิพุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิสังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
ว่าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึก ทั้งครั้งที่ ๑ ครั้งที่ ๒ และครั้งที่ ๓
การที่เราได้กล่าวไตรสรณคมน์นี้ ก็เป็นการประกาศตนเองเป็นพุทธมามกะ
เมื่อประกาศตนเป็นพุทธมามกะได้ ก็จะต้องมีศีล
โยเฉพาะศีลของฆราวาส หรือศีลของปุถุชนทั่วไป คือ ศีล ๕
ศีลแปลว่า ความปกติ จะเป็นปกติได้ก็อยู่ที่กฎเกณฑ์ของสังคม
พระพุทธเจ้าทรงมองสังคมว่า ถ้าไม่มีการล่วงละเมิดศีลทั้ง ๕ ข้อนี้
สังคมนั้น ก็จะเป็นสังคมที่สงบ
เนื่องจากว่า ถ้าคนทุกรูป ทุกนาม ถือศีล รักษาศีล
ศีลก็จะรักษาตัวเรา และรักษาสังคม

หลังจากนั้น ให้พึงกำหนดจิต
กล่าวอาราธนาบารมีพระ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะะหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ ครั้ง)

พุทธัง อาราธนานัง กะโรมิ
ธัมมัง อาราธนานัง กะโรมิ
สังฆัง อาราธนานัง กะโรมิ

นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา (๓ ครั้ง)
นะโม โพธิสัตโต พรหมปัญโญ (๓ ครั้ง)

ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ขออารธนาบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์
ทั้งแสนโกฎิจักรวาล พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ ทั้งแสนโกฎิจักรวาล
พระธรรม และพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย
บารมีหลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด
บารมีของหลวงพ่อดู่ วัดสะแก
ขอได้โปรดได้ควบคุมการปฏิบัติสมาธิของข้าพเจ้า
ให้มีจิตใจที่สะอาด ให้มีจิตใจที่สว่าง และมีจิตใจที่สงบด้วยเทอญ

ลำดับต่อไปให้นึกถึง ความผิดที่เราได้เคยกระทำมา
ด้วยกาย วาจา ใจ หรืการประมาทพลาดพลั้งในพระรัตนตรัย
คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ซึ่งการกระทำของเราจะเป็นไปด้วยเจตนาหรือไม่ก็ตาม
เราตั้งใจที่จะขอขมาโทษ เพราะว่ากรรมที่ได้ประมาทในพระรัตนตรัยนั้น
จะทำให้จิตของเราเนิ่นช้าต่อคุณธรรมที่ควรจะได้
จงดำริขึ้นในใจว่า

โยโทโส โมหะจิตเต นะพุทธัสมิง ปาปะกะโต มะยา
ขะมะถะเม กะตัง โทสัง สัพพะปาปัง วินัสสันตุ

โยโทโส โมหะจิตเต นะธัมมัสมิง ปาปะกะโต มะยา
ขะมะถะเม กะตัง โทสัง สัพพะปาปัง วินัสสันตุ

โยโทโส โมหะจิตเต นะสังฆัสมิง ปาปะกะโต มะยา
ขะมะถะเม กะตัง โทสัง สัพพะปาปัง วินัสสันตุ

ทำจิตของเรานึกถึงบารมีของ หลวงปู่ทวด หลวงปู่ดู่
ทำจิตของเรานึกถึงบารมีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
รวมทั้งบุญที่เราเคยทำมาตั้งแต่อดีตชาติ ปัจจุบัน และในขณะนี้
แผ่เมตตาไปโดยไม่มีประมาณไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลายว่า

พุทธัง อนันตัง ธัมมัง จักรวาลัง สังฆัง นิพพานะปัจจะโยโหตุ

การที่เราจะทำสมาธิต่อไปนั้น ให้นั่งเอาเท้าขวาทับเท้าซ้าย
มือขวาวางไว้บนมือซ้าย มือขวากำพระไว้ในมือ
กำพระไว้ในอุ้งมือโดยให้หัวแม่มือชนกัน
ตั้งกายให้ตรง ทำกายให้ตรงไม่ต้องยืดหรือเกร็งตัวจนเกินไป
นั่งให้สบายๆ เสร็จแล้วนำความรู้สึกนึกคิดทั้งหมดมาวางไว้ที่ตรงหน้าผาก
เหมือนเราคิดอะไรในใจ ความคิดอะไรวางไว้ตรงนั้น
ซึ่งหน้าผากนี้ จะเป็นฐานหนึ่งของลมหายใจเช่นกัน
ไม่ต้องนึกถึงลมหายใจเข้าออก
เพราะลมหายใจเป็นของที่ละเอียด แต่จิตของเราจะเป็นของที่หยาบ
ของที่หยาบจะไปจับของที่ละเอียดนั้น เป็นไปได้ยาก
อันแรกเราก็ำหนดฐานของลมหายใจไว้ตรงที่กลางหน้าผาก
แล้วบริกรรมในใจว่า

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

หรือคาถามหาจักรพรรดิก็ได้เช่นกัน

การบริกรรมนี้ก็ให้บริกรรมไปเรื่อยๆ ไม่ต้องรีบไม่ต้องร้อน
ไม่ต้องเร่ง ทำใจให้สบายๆ
ทีนี้ บางครั้งก่อนที่เราจะบริกรรมนั้น เราอาจจะสูดลมหายใจเข้าไปลึกๆ
เพื่อเป็นการปรับอารมณ์ ให้จิตของเราสบาย
โปรดจำไว้อย่างหนึ่งว่า ให้ปฏิบัติหรือให้ทำอย่างสบายๆ
อย่าไปเคร่งเครียด อย่าไปเร่งรัด
เพราะจะทำให้ไม่ได้อะไรขึ้นมา
ให้ทำใจเราให้ยึดอยู่แต่คำภาวนา

หน้าที่ของเราก็คือ การบริกรรมนี้ เขาเรียกว่า การทำงานของจิต
เนื่องจากว่าจิตของคนเรานั้นจะสนองทันทีในการคิด วุ่นวาย สับสน ปรุงแต่ง
เมื่อมีการปรุงแต่งแล้ว จิตของเราก็จะหาความสงบไม่ได้
เมื่อจิตหาความสงบไม่ได้ ก็เป็นจิตที่วุ่นวายสับสน
เมื่อจิตวุ่นวายสับสน ก็หความสุขไม่ได้
ดังพุทธภาษิตของพระพุทธเจ้าที่ตรัสไว้ว่า

นัตถิ สันติปะรัง สุขัง
สุขยิ่งกว่าความสงบไม่มี

การที่เราได้มาบำเพ็ญสมาธิ ได้ชื่อว่า เรากำลังทำให้จิตได้ทำงาน
เพื่อให้เกิดความสงบ
เพราะจิตที่สงบเท่านั้นจึงจะเป็นการพักจิต ฟอกจิต
คนเราทุกวันนี้ อาบน้ำชำระร่างกายวันละ ๓ เวลา
แต่ว่าไม่ได้ฟอกจิตของตัวเองเลย
เรารับประทานอาหารวันละหลายมื้อ แต่ว่าเราไม่ได้ให้อาหารแก่จิตเลย
เมื่อจิตซึ่งปราศจากความสงบ ความสมบูรณ์พูนสุขเข้าไปสะสมอยู่ในตัว
จิตนั้นจะไปเกิดเป็น อาสวะ เป็นกิเลสซึ่งหมักหมม
พอหมักหมมแล้วก็จะเกิดเป็นพิษต่อเจ้าของ
เขาเหล่านั้นจะหาหนทาง หรือหาตัวเองไม่พบ
เนื่องจากว่า ไม่ได้เข้ามาสู่การปฏิบัติในทางพระพุทธศาสนา
เพราะการปฏิบัติภาวนาเป็นวิถีทางที่พระอริยเจ้าทั้งหลายได้ดำเนินมา
เราซึ่งได้ชื่อว่า เป็นลูกหลานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ก็ควรกะทำตาม ประพฤติยึดแนวตามที่เรากล่าวกันว่าเรานับถือ
บูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์นั้น

การนับถือบูชาคือการยอมรับและนำมาปฏิบัติตาม
พระพุทธองค์ทรงสำเร็จพระสัมมาสัมโพธิญาณได้ก็ด้วยวิถีแห่งการบำเพ็ญสมาธิ

เพราะเมื่อจิตสงบแล้ว ก็จะเกิดกำลังของจิตขึ้น
เมื่อเราวิเคราะห์ไตร่ตรองได้แล้ว
เราก็มีปัญญารู้ตามว่า สิ่งนั้นผิด สิ่งนั้นถูกโดยจิตใจของเราเอง
หรือเรียกว่า เป็นคนที่รู้จริง ไม่ได้รู้ตามทฤษฎี
คนที่รู้ตามทฤษฎีนั้น โอกาสที่จะทำจิตใจของตนเอง
เพื่อที่จะค้นคว้าเข้าไปหาจิตของตนเองนั้นเป็นไปได้ยาก
การที่เราบำเพ็ญภาวนาและกล่าวไตรสรณคมน์นั้น
เมื่อจิตของเรายังไม่สงบนิ่ง
ก็ให้กำหนดให้จิตเห็นเป็นตัวหนังสือปรากฎขึ้นในห้วงใจของเรา
ที่จิตของเรา เหมือนกับเรากำลังเขียนหนังสือลงบนกระดานดำ
หรือเขียนหนังสือฉายลงบนจอภาพ
พอเราภาวนาว่า พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ก็ให้เขียนเป็นตัวหนังสือไปตามนั้นทั้ง ๓ อย่าง
พอจิตของเราชำนาญก็จะทำได้ดี
เนื่องจากว่าเราใช้จิตของเราทำงานถึง ๒ อย่างคือ


๑. การบริกรรมในใจ
๒. การกำหนดตัวหนังสือ หรือการกำหนดกสิณ คือการเพ่ง

เมื่อจิตมีงานทำทั้ง ๒ อย่าง
การที่จิตจะส่ายก็จะลดน้อยลง
จิตก็จะมุ่งมั่นอยู่กับการภาวนาอย่างสม่ำเสมอ
ภาวนาไปเรื่อยๆ อย่างที่บอก ไม่ต้องรีบ
ให้ถือ มัชฌิมา ปฏิปทา
คือว่าในตอนแรกๆ ไม่ต้องนั่งนาน ทั้งนี้ เพราะจิตยังไม่คุ้นเคย
ก็จะเกิดทุกขเวทนาขึ้นมา คือการปวดเมื่อยตามร่างกาย
แรกๆ เราก็อย่าไปฝืนนั่ง
พอจิตของเราเริ่มมีกำลังขึ้น เราก็ค่อยๆ เพิ่มทีละนิดๆ
เพื่อให้จิตคุ้นอยู่กับคำภาวนา เมื่อจิตสงบแล้วมันจะมีตัวชี้
ความสงบนั้นแสดงผลอยู่ที่ใจ
คือ ใจหรือจิตของเราจะไม่ฟุ้งซ่าน
จะมีความสบายกาย เบาเนื้อ เบาตัว เบาจิต เบาใจ
เนื่องจาก จิตกับกายกำลังแยกออกจากกัน

การที่จิตกับกายเริ่มแยกออกจากกันนั้น
เกิดจากจิตที่เป็นสมาธิในขั้นหยาบ ขั้นกลาง ขั้นละเอียดเป็นลำดับๆ
ไม่มีวิธีการใดเลย ในทางพระพุทธศาสนา ที่จะยิ่งใหญ่ไปกว่าการบำเพ็ญสมาธิ
เพราะเมื่อมีสมาธิแล้ว สิ่งที่ติดตามมาก็คือ ปัญญา
เราจึงมีปัญญาเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ เนื่องจากว่าเราจะเห็นทุกสิ่งทุกอย่าง
ในขณะที่เราไม่ได้บำเพ็ญสมาธิ เข้ามาอยู่ในสายตาของเรา
เข้ามาอยู่ในอารมณ์ของเราอยู่ตลอด
เมื่อจิตของเราได้รับการทำสมาธิแล้ว จิตมีกำลังแล้ว
ก็เริ่มที่จะพิจารณาความเป็นจริง
ความเป็นจริงที่แสดงออก เมื่อแสดงออกมาแล้ว เราจะเข้าใจสิ่งเหล่านั้น
อันนี้คือ วิถีทางหรือกระบวนการที่ทำให้จิตเกิดวิปัสสนา
วิปัสสนาคือปัญญา

ปัญญาเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ก็ย่อมที่จะไปคุมศีล หรือคุมสมาธิ
คือว่าเราจะรักษาศีล ทำสมาธิโดยไม่ต้องมีใครมาบังคับ
เพราะปัญญาเราเริ่มจะรู้แจ้งเห็นจริงแล้วว่า
สิ่งเหล่านั้นเป็นคุณ เหมือนกับเราต้องรับประทานอาหาร หรือเราต้องหายใจ
พอสิ่งเหล่านี้เป็นคุณ เราก็ถือว่าเป็นสิ่งหนึ่งซึ่งจะประจำตัวของเรา

การที่เราได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ได้มาพบพระพุทธศาสนา
และได้มาปฏิบัติธรรมนั้น เป็นสิ่งที่ยากเย็นมาก
เพราะบารมีของผู้ที่จะมาศึกษา มาปฏิบติภาวนานั้น
เป็นบารมีขั้นสุดท้ายในการที่จะตัดภพ ตัดชาติ
การที่จะตัดภพตัดชาติได้ บารมีของท่านผู้นั้นจะต้องเข้มข้น
จึงสามารถจะตัดสินได้เลยว่า บุคคลนั้นมีบารมีเข้มข้นหรือยัง
ถ้าเราเริ่มที่จะพอใจในการบำเพ็ญสมาธิ ปฏิบัติภาวนานั่นแหละ
ขอให้รู้ว่า บารมีของเรากำลังบังเกิดขึ้น
และกำลังจะดำเนินไปสู่ทางที่ดีงามที่สุด

ให้บริกรรมไปเรื่อยๆ บริกรรมไป ทำจิต ทำใจ ตั้งสติให้คุมคำภาวนาไว้ตลอด
ไม่ให้จิตส่ายโอนเอียงไปข้างหน้าไปข้างหลัง
ให้ทำจิตใจของเราให้เหมือนเรากำลังเข้าเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เรากำลังอยู่เบื้องพระพักตร์ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เรากำลังอยู่ในแวดวงพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย
เมื่อเราได้บำเพ็ญมาแล้วด้วยดี
ทุกครั้งก่อนที่เราจะเริ่มทำสมาธิหรือเริ่มภาวนา
ให้ตั้งจิตของเราให้มีเมตตา อ้างเอาบุญญาธิการขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระปัจเจกพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย
ขอบุญบารมีของหลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด หลวงปู่ดู่ วัดสะแก
รวมทั้งบุญบารมีของข้าพเจ้าที่ได้กระทำมาด้วยดี
ขอแผ่ผลบุญนี้ไปไม่มีประมาณ ณ กาลบัดนี้

พุทธัง อนันตัง ธัมมัง จักรวาลัง สังฆัง นิพพานะปัจจะโย โหตุ

สัพเพพุทธา สัพเพธัมมา สัพเพสังฆา
พะลัปปัตตา ปัจเจกานัญ จะยังพะลัง
อะระหันตานัญจะเตเชนะรักขัง พันธามิสัพพะโส

ขออำนาจบุญบารมีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
จงมาสถิตติดอยู่ในใจของข้าพเจ้าตลอดไป

พุทธังกำลังกล้า ธัมมังกำลังแกร่ง สังฆังกำลังแรง
ด้วยฤทธิ์แห่งพระกำลัง ขอเชิญพระปัจเจกมาช่วยเสกกับพระอรหันต์
ให้เป็นวิมานแก้วล้อมรอบครอบตัวพัวพัน คอยป้องกันภยันตราย

พุทธัง อธิษฐามิ
ขอการอธิษฐานของข้าพเจ้า จงสำเร็จได้ด้วยอานุภาพพระพุทธเจ้า
ธัมมัง อธิษฐามิ
ขอการอธิษฐานของข้าพเจ้า จงสำเร็จได้ด้วยอานุภาพพระธรรม
สังฆัง อธิษฐามิ
ขอการอธิษฐานของข้าพเจ้า จงสำเร็จได้ด้วยอานุภาพพระอริยสงฆ์ทั้งหลายด้วยเทอญ

ก่อนที่เราจะลืมตาขึ้นมานั้น ให้พึงพิจารณาว่าทุกสิ่งทุกอย่าง
พอเกิดขึ้น แล้วมาตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป
นี่เป็นของจริงแท้แน่นอน เป็นสัจธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเล็งเห็น
ด้วยพระญาณอันประเสริฐว่า ขึ้นชื่อว่าโลกแล้วจะต้องถึงคราวอันตรธานสูญหายวิบัติไป
โลกภายนอกเช่น บุคคล สิ่งของทั้งหลาย
โลกภายใน คือโลกของเราเอง เปรียบเสมือนพวกร่างกาย
เมื่อถึงวันเวลาซึ่งเรายืมเขามา คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศธาตุ
มาประชุมรวมกันเป็นร่างกาย โดยมีจิตปฏิสนธิวิญญาณของเราครองอยู่ สิงสถิตรวมอยู่
จึงถือได้ว่า พ่อแม่เป็นผู้ที่ให้ร่างกายให้เรามาอาศัยอยู่
ถึงเวลาแล้วเขาก็ต้องเรียกคืนไป โลกก็จะต้องกลับคืนไปสู่โลก
ไม่มีคนหนึ่งคนใดจะเอาทรัพย์สมบัติอะไรไปได้ แม้แต่เพียงหยิบมือ หรือเพียงธุลีเดียว
สิ่งที่จะติดตัวไปได้นั้นคือ บุญ บาป ชั่ว ดี เท่านั้น
หมั่นพิจารณาอยู่เสมอๆ ว่า พอร่างกายนั้นตาย เราไม่สามารถจะนำเอาอะไรไปได้
การที่เราได้คิดอยู่ทุกวัน คิดถึงความตายอยู่เสมอๆ
จิตของเราก็จเป็นจิตซึ่งทรงอานุภาพ และเป็นจิตที่ไม่ประมาท
ในการที่จะสร้างคุณงามความดียิ่งๆ ขึ้นไป
สมดังที่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสบอกกับพระอานนท์ว่า
ตถาคตคิดถึงความตายอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก
พระดำรัสนี้ย่อมแสดงถึงว่า
ผู้มีสติพร้อมบริบูรณ์ก็จะระลึกความตายเหมือนสายฟ้าแลบ
เมื่อระลึกดังนี้ได้อยู่อย่างสม่ำเสมอ จิตของเราก็จะเป็นจิตที่เมตตา
ไม่อาฆาต ไม่พยาบาท บุคคลหนึ่งบุคคลใด

และก่อนที่จะลืมตา ให้ทำจิตของเราให้แจ่มใส
แผ่เมตตาและสูดลมหายใจเข้าไปลึกๆ
อธิษฐานถึงความดีอันนี้ ขอให้ติดตัวตลอดไป

 ??-
เรียบเรียงจาก "ร่มเงาพุทธฉัตร"
ขอกราบขอบพระคุณอาจารย์ศุภรัตน์ แสงจันทร์



หากยังกินข้าวอยู่ก็ต้องทำ วันไหนเลิกกินข้าวแล้วนั่นแหละ ถึงไม่ต้องทำ....หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
      บันทึกการเข้า
mature_na
มือใหม่หัดเมาท์
*

ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8

« ตอบ #1 เมื่อ: 08 กันยายน 2552, 17:19:33 »

กรรมฐานที่หลวงปู่ดู่ท่านสอน

ข้อมูลการปฎิบัติเพิ่มเติมครับ credit :อดีตเว็บพุทธพรหมปัญโญ


ฐานของจิตและการตั้งฐานของจิต
๑. ฐานของจิต

การกำหนดฐานของจิต ให้กำหนดไว้ที่หน้าผาก หรือระหว่างคิ้วทั้งสอง ตามหลักของวัดประดู่ทรงธรรม และของสมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน วัดพลับ ถือว่าเป็นฐานที่ ๗ ซึ่งตามหลักท่านวางไว้ถึง ๙ ฐาน โดยฐานต่างๆ เหล่านี้ เป็นเสมือนทางผ่านของลมหายใจที่ไปกระทบ เหมือนกับหลักของอานาปานสติ ฐานทั้ง ๙ ฐานที่กำหนดไว้มีดังนี้

ฐานที่ ๑ อยู่ต่ำกว่าสะดือ ๑ นิ้ว
ฐานที่ ๒ อยู่เหนือสะดือ ๑ นิ้ว
ฐานที่ ๓ อยู่ที่ทรวงอก หรือที่ตั้งของหทัยวัตถุ
ฐานที่ ๔ อยู่ที่คอหอย หรือตรงกลางลูกกระเดือก
ฐานที่ ๕ อยู่ที่ท้ายทอย เรียกว่า โคตรภูญาณ (ทางวิทยาศาสตร์ถือเป็นที่ตั้งของสมองส่วน CEREBELLUM)
ฐานที่ ๖ อยู่ตรงกลางกระหม่อม
ฐานที่ ๗ อยู่กึ่งกลางหน้าผาก เรียกว่า อุณาโลม หรือทิพยสูญระหว่างคิ้ว
ฐานที่ ๘ อยู่ระหว่างตาทั้ง ๒ ข้าง
ฐานที่ ๙ อยู่ปลายจมูก

หลวงปู่ท่านบอกว่า การที่ให้ตั้งจิตไว้ตรงตำแหน่งกลางหน้าผากที่เดียวในเบื้องต้นนั้น ก็เพื่อจะได้ไม่ไปพะวงกับลมหายใจ ซึ่งอาจทำให้จิตใจวอกแวกในขณะที่ปฏิบัติ สำหรับผู้เริ่มภาวนาบางราย แต่ฐานสำคัญที่ท่านเน้นก็คือ ฐานที่ ๖ (ตรงกลางกระหม่อม) ท่านว่าฐานจริงๆ อยู่ตรงนี้ แต่จะต้องให้มีความชำนาญในทางสมาธิเสียก่อน จึงค่อยเอาจิตไปตั้งที่ฐานนี้ เพราะจะมีกำลังมาก สำหรับฐานที่หน้าผากนั้นเคยถามกับหลวงลุงลำไยที่วัดสะแกครับว่าทำไมหลวงปู่ให้ตั้งจิตตรงหน้าผากหลวงลุงท่านตอบแบบยิ้มๆว่ามันเป็นง่ายดี

  ผมเลยอนุมานว่าถ้าภาวนาให้ถูกจุดฐานนี้ จะทำให้จิตสงบได้ง่าย  วิธีการภาวนาคือ ให้ใจเสมือนกับเราคิดเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่ในที่นี้ให้นึกถึงจุดเดียวคือ คำภาวนา เหมือนกับเราคิดเลขในใจทำนองนั้น ทำใจเฉยๆ ไม่ต้องคาดคั้น คิดเดา หรืออยากเห็นนั่นเห็นนี่ เพราะเรื่องเหล่านี้ล้วนเป็นนิวรณ์ทั้งสิ้น หน้าที่หรืองานของเราในที่นี้คือภาวนา

 

๒.คำภาวนาที่ใช้

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ


มีความหมายว่า "ข้าพเจ้าขอรับเอาพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึก" ซึ่งจะขอขยายความเทียบตามหลักของ วิสุทธิมรรคคัมภีร์ ที่รจนาโดยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ดังนี้
คำภาวนาที่ให้ภาวนาคือ ให้เรามีจิตระลึกถึงภาษาพระ หมายถึง พุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติกรรมฐาน ทำใจให้มีการเคารพเลื่อมใสในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ อันจะเป็นกรรมฐาน ที่ทำให้ผู้ที่มีศรัทธาจริต หรือมีความเชื่อ เข้าถึงธรรมะได้โดยง่าย

๓. เครื่องชี้ว่าจิตสงบ

เมื่อปฏิบัติจนจิตเริ่มสงบแล้ว จะเกิดความสว่างขึ้นที่จิต พร้อมกันนั้น จะมีสิ่งที่เป็นตัวชี้บอกว่า จิตของเราเป็นอย่างไรบ้าง อันได้แก่ปิติต่างๆ เช่น อาการขนลุก ตัวเบา น้ำตาไหล ร่างกายโยกโคลง รู้สึกเหมือนกายขยายใหญ่ เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ จะเป็นตัวชี้ถึงจิตว่า เริ่มจะสงบแล้ว ให้ผู้ปฏิบัติวางใจเฉยๆ อย่าไปยินดีหรือยินร้าย บางท่านที่มีนิสัยวาสนาบารมีทางรู้ทางเห็นภายใน ก็อาจจะเกิดองค์พระปรากฎขึ้นจากแสงสว่างเหล่านั้น

ในเรื่องการเห็นแสงสว่างนี้ บางสำนักท่านว่าอย่าไปสนใจ เอามืดดีกว่า เพราะเดี๋ยวจะหลง แต่ตามความเห็นของผู้เขียน นึกถึงคำบาลีที่ว่า "นัตถิ ปัญญา สมาอาภา" แสงสว่างเทียบด้วยปัญญาไม่มี ดังนั้น ผู้ที่เห็นแสงสว่างปรากฎขึ้น ก็เป็นนิมิตอันหนึ่ง ซึ่งแสดงให้รู้ประจักษ์อยู่ที่ตัวเราต่างหากว่า จะใช้แสงสว่างนี้ไปในทางที่ถูกต้องหรือไม่ เพราะหลวงปู่ท่านบอกว่า การปฏิบัติต้องทำให้รู้ เห็น เป็น และได้ สำหรับในขั้นต้นนี้ "รู้" หมายถึงให้มีสติรู้อยู่กับคำภาวนา เมื่อ "เห็น" ก็ให้รู้ว่า "เห็น" อะไร รู้จักกลั่นกรองด้วยสติปัญญา และเมื่อมีความชำนาญแล้วก็จะเป็น "เป็น" นั้นคือเห็นองค์พระได้ทุกครั้ง และสามารถที่จะทำได้ เมื่อต้องการทำให้เกิดขึ้น
===================

สรุปหลักในการนั่งสมาธิ
 ให้ขาขวาทับขาซ้าย มือขวากำพระวางบนมือซ้าย ให้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองจรดกัน วางบนตักพอสบายๆ ปรับกายให้ตรง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อทุกส่วน สูดลมหายใจยาวๆ ลึกๆ สัก ๓ ครั้ง

ครั้งที่ ๑ ให้ภาวนาว่า พุทธัง สรณัง คัจฉามิ
ครั้งที่ ๒ ภาวนาว่า ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ
และครั้งที่ ๓ ภาวนาว่า สังฆัง สรณัง คัจฉามิ

จากนั้น จึงผ่อนลมหายใจให้เป็นไปตามธรรมชาติ ยังไม่ต้องนึกคิดสิ่งใด ทำใจให้ว่างๆ วางอารมณ์ทั้งที่เป็นอดีตและอนาคต เมื่อลมหายใจเริ่มละเอียด และจิตใจเริ่มโปร่งเบาขึ้นบ้างแล้ว จึงค่อยเริ่มบริกรรมภาวนา โดยกำหนดจิตไว้ที่หน้าผาก (เอาสติมาแตะรู้เบาๆ) แล้วตั้งใจภาวนาคาถาไตรสรณคมน์ ดังนี้

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

เมื่อบริกรรมภาวนาจบแล้ว ก็ให้วกกลับมาเริ่มต้นใหม่เช่นนี้เรื่อยไป

มีสิ่งที่ควรทราบเพิ่มเติมก็คือ ขณะที่บริกรรมภาวนาอยู่นั้น ให้มีสติระลึกอยู่กับคำภาวนา โดยไม่ต้องสนใจกับลมหายใจ คงปล่อยให้ลมหายใจเข้าออกเป็นไปตามธรรมชาติ ปราศจากการควบคุมบังคับ ภาวนาด้วยใจที่สบายๆ และให้ยินดีกับองค์พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ที่เกิดขึ้นในจิต เมื่อจิตมีความสงบสว่าง ก็น้อมแผ่เมตตาออกไป โดยว่า

พุทธัง อนันตัง
ธัมมัง จักรวาลัง
สังฆัง นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ

แล้วตั้งใจภาวนาต่อไป

เมื่อจิตถอนขึ้นจากความสงบ ให้ยกเอากายหรือเรื่องหนึ่งเรื่องใดขึ้นพิจารณา โดยน้อมไปสู่พระไตรลักษณ์ คือ

อนิจจัง (ความไม่เที่ยง)
ทุกขัง (ความทนได้ยาก)
และอนัตตา (ความไม่ใช่ตัวตนอันเที่ยงแท้)

เมื่อรู้สึกว่าจิตเริ่มซัดส่าย หรือขาดกำลังในการพิจารณา ก็ให้วกกลับมาภาวนาคาถาไตรสรณคมน์อีก เพื่อดึงจิตให้เข้าสู่ความสงบอีกครั้ง ทำสลับเช่นนี้เรื่อยไปจนกว่าจะเลิก
ก่อนจะเลิกให้อาราธนาพระเข้าตัวโดยว่า

สัพเพ พุทธา สัพเพ ธัมมา สัพเพ สังฆา
พะลัปปัตตา ปัจเจกานัญ จะยังพะลัง
อะระหันตานัญ จะเตเชนะ
รักขัง พันธามิ สัพพะโส
พุทธัง อธิษฐามิ ธัมมัง อธิษฐามิ สังฆัง อธิษฐามิ

แล้วจึงแผ่เมตตาอีกครั้ง โดยว่าเช่นเดียวกับที่กล่าวแล้วในตอนต้น

อนึ่ง การภาวนานั้น ท่านให้ทำได้ทุกอิริยาบท คือ ยืน เดิน นั่ง นอน การปฏิบัติจึงจะก้าวหน้า และชื่อว่าตั้งอยู่ในความไม่ประมาท....



ปกิณกะในการปฎิบัติภาวนา(ในบทความนี้จะมีคำสอนของครูบาอาจารย์ท่านอื่นด้วยนะครับมิใช่ของหลวงปู่เท่านั้น หากมีข้อความที่ผิดพลาดด้วยความไม่รู้ขอขมาองค์หลวงปู่ไว้ล่วงหน้าด้วยครับ)

การตั้งนิมิตองค์พระเป็นพุทธานุสติ



ในตอนเริ่มต้นนั่งสมาธิภาวนานั้น ที่นิยมปฎิบัติกันคือ การตั้งนิมิตองค์พระซึ่งอาจเป็นรูปองค์พระที่อยู่ในกำมือ ซึ่งการตั้งนิมิตองค์พระนั้นจัดได้เป็นพุทธานุสติ เป็นการทำสมาธิวิธีหนึ่ง โดยการน้อมจิตระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า ด้วยความรู้สึกเลื่อมใส ศรัทธา เพื่อให้จิตรวมเป็นหนึ่ง คือคิดถึงเรื่องคุณของพระพุทธเจ้าเพียงอย่างเดียว ไม่คิดวอกแวกถึงเรื่องอื่น จิตจึงเป็นสมาธิขึ้นมาได้
ผลจากการระลึกฯ ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ จะเป็นการปรับสภาพจิตให้ประณีตขึ้นอย่างรวดเร็ว  อันเนื่องมาจากความรู้สึกเลื่อมใส ศรัทธานั่นเอง อันจะส่งผลให้สมาธิเกิดได้ง่ายขึ้น

การเจริญพุทธานุสสติกรรมฐาน พระอัตถกถาจารย์ กล่าวว่า เป็นกรรมฐานที่สามารถสร้างความดีให้เข้าถึงซึ่งพระนิพพานได้ง่าย

เริ่มโดยตั้งนิมิตองค์พระไว้กึ่งกลางหน้าผาก ให้แตะรู้เบา ๆ อย่ากำหนดกดให้แรงจนเกินไปและให้คำบริกรรมภาวนาไตรสรณคมน์ ดังก้องกังวานออกมาจากองค์พระ(เพื่อให้รวมความรู้สึกไว้ในจุดเดียว)แล้วนึกนิมิตง่าย ๆ เหมือนนึกถึงใบหน้าของบิดามารดาของเรา

การเห็นนิมิตนั้น บางครั้งยังไม่ชัดเจนในตอนต้น อาจเพราะ
๑ .จิตยังฟุ้งซ่านอยู่เพราะระหว่างวันไม่ได้สำรวมรักษาจิตเท่าที่ควรหรือมีสิ่งมากระทบมากจนเกินไป

เพราะระหว่างวันที่เราทำงานและใช้ชีวิตประจำวันจะต้องประสบกับสิ่งที่มากระทบใจอยู่แล้ว

บางครั้งสิ่งที่มากระทบเราแรงๆก็ทำให้จิตเราขุ่นมัวไปนานได้  เช่นมีปัญหากับเพื่อนร่วมงานและคนในครอบครัว (ด้วยเรื่องของโลกๆอันมี อวิชชาคือความไม่รู้เป็นต้นเหตุ )
๒.หรือ อาจเพราะกำหนดจนแรงเกินไปซึ่งเราควรระลึกถึงภาพองค์พระด้วยการแตะรู้ไว้เบาๆนะครับ

๓.หรือวิธีนี้อาจจะไม่ตรงกับจริตของเราก็เป็นได้ (ถ้าเป็นเช่นนั้นลองปฎิบัติโดยสลับเป็นกรรมฐานแแบบอื่นในกรรมฐาน40แบบดูนะครับ ;อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัวของผมเองนะครับ)

ถ้ามีอาการของจิตที่ฟุ้งซ่านซัดส่ายไม่สงบเช่นนี้ควรสูดลมหายใจลึก ๆ ปรับการนั่งให้เป็นที่สบายแก่ตัวเราเสียก่อน

มีวิธีในการปรับอารมณ์จากอาการฟุ้งซ่านวิธีนึงที่น่าสนใจเรียกว่า "ปูรกกุมภกเรจกะ"
(ปูรก=นำเข้ามา,กุมภก=ตั้งไว้,เรจกะ=ออกไป)
(หายใจเข้า-กลั้นเอาไว้-แล้วหายใจออก)
 วิธีการฝึก"ปูรกกุมภกเรจกะ"
๑.ค่อย ๆ หายใจเข้าช้า ๆ จนลึกสุดลมหายใจ
๒.แล้วกลั้นอยู่ให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้
๓.แล้วจึงค่อย ๆ ผ่อนลมออกช้า ๆ

ให้ทำสัก ๑-๓ ครั้ง แล้วสังเกตุดูว่า ความฟุ้งซ่านหายไปหรือยัง วิธีนี้ช่วยปรับลมหายใจให้เดินสะดวก และขับอารมณ์ไม่ดีออกไป
ทำให้กายและจิตเบา ไม่ติดขัด พร้อมที่จะปฎิบัติบางท่านอาจต้องทำมากกว่า ๓ ครั้ง  ซึ่งเราท่านต้องลองด้วยตนเองนะครับถึงจะรู้จำนวนครั้งที่เหมาะกับตนเอง
ถ้าหายฟุ้งแล้วให้เลิกทำและภาวนาไตรสรณคมน์และตั้งสติที่ภาพองค์พระต่อไป


 บางครั้งเราก็อาจสังเกตได้ว่าเสื้อผ้าที่ใส่คับหรือรัดเกินไปหรือไม่ เพราะบางครั้งลักษณะเครื่องแต่งกายที่ไม่เหมาะและลักษณะการนั่งที่ไม่ถูกต้องก็ทำให้เราเข้าสมาธิยากได้ (ถ้าสะดวกการอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดและใส่เครื่องแต่งกายที่เบาสบายสีไม่ฉูดฉาดเกินไปสามารถช่วยได้ครับเพราะกายกับจิตเกี่ยวเนื่องกัน)



รายละเอียดระหว่างการปฏิบัติสามารถดูในreply ที่1และ2 ได้นะครับ

ทีนี้ในตอนจะเลิก ก่อนอาราธนาพระเข้าตัว และ แผ่เมตตาก็ให้เคลื่อนนิมิตองค์พระเข้ามาไว้กลางตัวขยายองค์ท่านให้ใหญ่ จนเกศของท่านจรดที่บริเวณลูกกระเดือกของเรา
ส่วนฐานอยู่ที่กลางท้อง หันพระพักตร์ออกไปด้านนอก(เหมือนกับซ้อนภาพองค์พระทาบไว้ที่ตัวเราแต่องค์ท่านหันหน้าออกไปด้านนอกน่ะครับและขยายองค์ท่านให้ใหญ่ส่วนฐานอยู่ที่กลางท้องจนส่วนปลายของเศียรพระ(ที่เป็นลักษณะคล้ายเปลวไฟ;ปลายพระเกศ )ของท่านจรดที่บริเวณลูกกระเดือกของเรา)

ตั้งนิมิตเสร็จ ก็กล่าวคำอาราธนาพระเข้าตัว พร้อมกับแผ่เมตตา
โดยกำหนดให้แสงสว่าง (บุญ) ออกจากองค์พระกลางตัว ออกไปทุกทิศทุกทาง
ทั้งเบื้องบน เบื้องล่างด้วย (ถ้าตั้งจิตจนเกิดปีติในระหว่างแผ่เมตตาก็จะยิ่งดี)

เกร็ดเล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับการอาราธนาพระเข้าตัว

การอาราธนาพระเข้าตัว (บทสัพเพฯ) ก็เพราะจุดประสงค์ที่ว่าเมื่อเวลาเลิกฝึกสมถะกรรมฐานไปแล้ว จะได้ระมัดระวังรักษาองค์พระในตัว โดยการสำรวมระวังรักษากาย วาจา ใจให้อยู่ในความดีตลอดทั้งวันและถ้าเราสามารถทำได้การสำรวมระวังรักษากาย วาจา ใจ ของเรานี้จะช่วยให้การปฏิบัติสมถะกรรมฐานครั้งต่อๆไปจิตจะได้เข้าถึงความสงบได้โดยง่าย
อีกทั้งเมื่อออกจากการนั่งกรรมฐานแล้ว ก็ให้ระลึกว่า องค์พระยังอยู่กับเรา และเราก็บริกรรมภาวนาประคององค์พระไว้ให้ได้ตลอดวันจะทำอะไร พูดกับใคร ก็แบ่งใจส่วนหนึ่งมาระลึกองค์พระนี้ไว้พอถึงเวลาปฏิบัติ จิตก็จะสงบได้ง่ายเพราะจิตไม่ซัดส่าย

การจำอารมณ์ และการต่ออารมณ์

การจำอารมณ์ คือการจำภาพองค์พระ และอารมณ์ (ความรู้สึก)สุดท้ายก่อนออกจากสมาธิ

การต่ออารมณ์ คือการนึกถึงภาพองค์พระ และอารมณ์สุดท้ายของคราวที่แล้ว แล้วกำหนดภาพนั้นด้วยจิตต่อไป

วิธีการนี้ ทำให้ผู้ปฎิบัติไม่ต้องปฎิบัติแบบเริ่มนับหนึ่งใหม่ทุกครั้ง เปรียบเหมือนนับเลขต่อกันไป
เช่น วันแรกนับได้ ๑ ถึง ๕
วันต่อไปเริ่มนับที่ ๕ เปน ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐.....ไปเรือย ๆ
สมมติว่าได้ ๒๒ (สมาธิดี)
วันต่อไปเริ่มนับที่ ๒๒ ๒๓ ๒๔ ๒๕ (วันนี้สมาธิไม่ค่อยดี ก้าวหน้าเพียงเล็กน้อย)


สรุปว่า

ฝึกได้แค่ไหน ก็ต่อจากตรงนั้นไปจากตรงที่เราปักหมุดเอาไว้

โดยไม่ต้องย้อนกลับมาทำใหม่
(แต่ถ้าวันไหนกำหนดไม่ได้เลย ก็ให้นับเริ่ม หนึ่งใหม่ตั้งแต่ต้น แล้วจำไว้)
ต่างจากวิธีการฝึกสมาธิโดยทั่วๆ ไป ที่เราคุ้นเคย
คือทำเรื่อย ๆ พอถึงเวลาออกจากสมาธิ ก็ออกไปเลย

หรือบางทีก็ทำความรู้สึกที่จุดใดจุดหนึ่งของร่างกายก็มี
วันนี้ทำจิตสงบแล้ว วันหลังก็เริ่มทำใหม่ ทำอยางนี้เรื่อยไป
การปฎิบัติจึงก้าวหน้า แบบก้าวหน้าก้าวหลัง คือย่ำอยู่กับที่
ไม่ไปไหนมาไหนสักที เพราะเริ่มนับหนึ่งใหม่ทุกครั้ง
แรก ๆ ก็เพียรอยู่แต่สุดท้ายก็เลิกทำ เพราะรู้สึกว่าการปฎิบัติไม่ก้าวหน้า

สาเหตุสำคัญ เกิดจากการไม่รู้ "วิธีจำ ต่ออารมณ์" ดังกล่าวแล้วนั่นเองครับ

ผู้ปฎิบัติเมื่อต้องการความก้าวหน้าในการปฎิบัติ
ควรใช้วิธีการนี้เป็นประจำทุกครั้งก่อนเข้า-ออกจากสมาธิ
โดยขาดเสียมิได้ เพราะภาพที่เราจำได้ขณะออกจากสมาธินั้น
จะแฝงด้วยอารมณ์ของสมาธิเสมอ
เหมือนกับนึกถึงภาพมะนาว จะรู้สึกน้ำลายไหลทันที

เมื่อจำภาพตอนที่แล้วได้ จึงไม่ต้องเสียเวลาเริ่มต้นใหม่ ทำต่อไปเลย
แต่วิธีการนี้ผู้ปฎิบัติต้องรู้จักกำหนดอารมณ์ อย่าลืม"สติสัมปชัญญะ" เป็นตัวสำคัญที่เราต้องใช้ในที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อนะครับ


หากมีสิ่งใดผิดจากข้อธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและองค์หลวงปู่ดู่และครูบาอาจารย์ท่านอื่นด้วยความไม่รู้ ข้าพเจ้าขอขมาพระรัตนตรัยมา ณ ที่นี้ด้วยเทอญ 
โยโทโส โมหะจิตเต นะพุทธัสมิง ปาปะกะโต มะยา
ขะมะถะเม กะตัง โทสัง สัพพะปาปัง วินัสสันตุ

โยโทโส โมหะจิตเต นะธัมมัสมิง ปาปะกะโต มะยา
ขะมะถะเม กะตัง โทสัง สัพพะปาปัง วินัสสันตุ

โยโทโส โมหะจิตเต นะสังฆัสมิง ปาปะกะโต มะยา
ขะมะถะเม กะตัง โทสัง สัพพะปาปัง วินัสสันตุ

credit :อดีตเว็บพุทธพรหมปัญโญ;www.krusiam.com;www.kasina.org;บทเทศนาของพระราชพรหมยาน(หลวงพ่อฤาษีฯ)
 
      บันทึกการเข้า
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #2 เมื่อ: 18 กันยายน 2552, 15:09:18 »

 
นำมาให้พวกเราอ่าน และ พิจารณาดูว่า
 
 เรื่องเวียนว่ายตายเกิด มีจริงหรือไม่

แล้วแต่วิจารณญานของแต่ละคน
 
แต่อย่างไรก็ตาม ถ้า
 
ทำความดี ละเว้นชั่ว และ ทำใจให้ผ่องใส

ถ้ามีเวียนว่ายตายเกิดจริง ชาตินี้เราก็จะได้รับผลดีที่ทำ
 
และ ยังได้ของแถมได้รับผลดีในชาติหน้าด้วย
 
ดังนั้นไม่ว่ามีการเวียนว่ายตายเกิดหรือไม่
 
เราควรทำตาม แก่นคำสอนของพุทธศาสนาข้างต้น
 
ก็จะได้ประโยชน์ต่อตนเอง  ต่อครอบครัว และ ต่อสังคมโลก
 
ในที่สุด เป็น สังคมของกัลยาณชน(โลกพระศรีอารย์)

ติดตามอ่านได้ไม่ยาวมากเชิญติดตามได้
 
.........................................................
 
เรื่องนี้เป็นวิธีการช่วยวิญญาณและภพภูมิ

----------------------------------------------



ในแบบฉบับหลวงปู่ดู่

เรื่องที่จะนำมาพรรณนาดังต่อไปนี้ เป็นเรื่องของ

วิญญาณที่เข้ามาข้องเกี่ยวกับ หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก

ตำบลธนู อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

แม้เรื่องนี้จะมิใช่ประสบการณ์ขณะท่านเดินธุดงค์ แต่ก็เป็นเรื่อง

วิญญาณของบุคคลผู้หนึ่งซึ่งตายไปแล้ว

ทว่ายังวนเวียนคาบเกี่ยวอยู่ระหว่างโลกมนุษย์ และโลกวิญญาณ

ด้วยอำนาจแห่งโมหะ คือ ยังหลงอยู่ในกิเลสตัณหา ไม่รู้ว่าตัวเองได้ตายไปแล้ว

กล่าวคือ  

ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ

มีครอบครัวหนึ่งอยู่ที่อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ครอบครัวนี้อยู่กันมาด้วยความปกติสุข กระทั่งวันหนึ่งลูกสาวคนหนึ่งไปธุระนอกบ้าน

พอกลับมาถึงบ้านก็ล้มฟุบลงไปเหมือนคนหมดสติกระทันหัน

พ่อแม่ญาติพี่น้องพากันตระหนกตกใจ รีบเข้าไปปฐมพยาบาลเป็นโกลาหล

ครั้นลูกสาวฟื้นคืนสติ กลับมีลักษณะท่าทางผิดแปลกไปจากเดิม

ดุจคนละคน แววตาขุ่นขวางน่ากลัว เวลาเอ่ยปากพูดออกมา

น้ำเสียงก็เปลี่ยนเป็นแหบห้าว ประหนึ่งเป็นเสียงผู้ชาย รวมทั้งถ้อยคำวาจา

ดุจเป็นผู้อื่นพูด มีการเรียกเอา อาหารสด อาหารคาว มากินอย่างมูมมาม

คล้ายกับอดอยาก หิวโหยมาช้านาน

พ่อแม่เห็นลูกสาวมีกิริยาอาการผันแปรไปอย่างกะทันหัน อีกทั้งยัง

พูดกันไม่รู้ความดุจเสียสติ ก็รู้แน่ว่าคงมีวิญญาณร้ายมาเข้าสิง

จึงออกไปตระเวนหาหมอผีผู้มีวิทยาอาคมขลังมาขับไล่วิญญาณที่

เข้าสิงให้ออกไป เมื่อหมอผีมาถึงบ้านเริ่มทำพิธีไล่ผีด้วยกฤตยาคม

ผีที่มาเข้าสิงลูกสาวก็รีบถอนถอยหนีออกไปง่าย ๆ ทำให้พ่อแม่ญาติ

พี่น้องโล่งอกโล่งใจ คิดว่าเหตุร้ายคงจะยุติลงเพียงเท่านี้

ที่ไหนได้อีกไม่กี่วันต่อมา วิญญาณร้าย หรือผีตนเดิม

ก็มาเข้าสิงลูกสาวอีก คราวนี้ถึงกับประกาศว่า

มันคือวิญญาณของชายคนหนึ่ง ซึ่งถูกยิงตายบริเวณหลังวัดใกล้ ๆ บ้าน

เมื่อลูกสาวเจ้าของบ้านรายนี้เดินผ่านไป มันก็เกิดความพอใจรักใคร่

ต้องการได้ไปเป็นเมีย และตั้งใจจะเอาไปเป็นเมียให้ได้


คราวนี้พ่อแม่ญาติพี่น้องของหญิงสาวก็ยิ่งตื่นตระหนกตกใจ เพราะถ้า

ผีตายโหงที่มาเข้าสิงถึงขั้นจะเอาลูกสาวตนไปเป็นเมียเช่นนี้ ก็เท่ากับวิญญาณ

ร้ายมีเจตนาจะกระทำให้ถึงตายแน่ ๆ ผู้เป็นพ่อแม่พยายามพูดจาอ้อนวอน

กับวิญญาณผีตายโหงที่สิงร่างลูกสาว ให้ละเว้นเจตนาซึ่งเป็นทุจริตคิดร้ายนี้เสีย

แต่วิญญาณของผีตายโหงไม่สนใจใยดี ยังคงยืนกรานตามความประสงค์

ของมันไม่เปลี่ยนแปลงพ่อแม่ของหญิงสาวก็ต้องเที่ยวตระเวณหาหมอผี

ผู้มีไสยเวทอาคมขลังมาขับไล่วิญญาณร้ายให้ออกไปจากร่างของลูกสาวทั่วทุกทิศ

แต่ไม่มีผู้ใดกระทำได้สำเร็จเด็ดขาดแม้แต่รายเดียว

หมอผีบางคนที่มีวิชาอาคมยังไม่แก่กล้า วิญญาณผีตายโหงยิ่งไม่ยำเกรงแม้แต่น้อย

จะเสกคาถาสาดน้ำมนต์เข้าใส่อย่างไรมันก็วางเฉย จนฝ่ายหมอผีต้องยอมพ่ายแพ้ไปเอง

ถ้าหมอผีคนใดมีพลังวิชาอาคมเข้มขลัง วิญญาณร้ายก็จะรีบถอนออก

จากร่างหญิงสาว ที่มันปรารถนาจะได้เป็นเมียไปง่าย ๆ ทำทีคล้ายกับกลัวเกรง

อำนาจเหลือหลาย แต่พอหายไปสักพัก มันก็จะย้อนกลับมาสิงใหม่

ที่น่าประหลาดก็คือ แม้หญิงสาวจะมีพระเครื่องรางของขลัง

ด้ายสายสิญจน์ลงอาคม ติดตัวเต็มคอเต็มแขน เพื่อคุ้มครองป้องกันอย่างไร

วิญญาณผีร้ายก็ยังมาเข้าสิงจนได้

น่าเวทนาหญิงสาวเคราะห์ร้ายรายนี้ ที่วิญญาณผีตายโหงจับจ้องหมายปอง

ชนิดไม่ยอมเลิกรา ทำให้เธอแทบจะเสียสติด้วยความหวาดกลัว

เพราะไม่รู้ว่ามันจะมาเข้าสิงอีกเมื่อไหร่ เวลาที่ถูกผีสิงหญิงสาว

จะมีอาการเหมือนคนหมดสติ ไม่รู้สึกตัวว่าได้กระทำอะไรลงไปบ้าง

ตราบกระทั่งวิญญาณผีตายโหงออกไปเมื่อใด เมื่อนั้นสติสัมปชัญญะ

จึงจะกลับคืนมาเป็นปกติเหมือนเดิม


เป็นเวลานานถึง ๓ ปีเต็ม ๆ ที่หญิงสาวถูกวิญญาณผีร้ายเข้าสิงไม่ขาดระยะ

สภาพของเธอผู้นี้ไม่ผิดกับคนตกเป็นทาสของผีตายโหง ซึ่งจะมารังควานเป็นพัก ๆ

ชนิดไม่มีทางหลบหนีไปไหน เพราะไม่ว่าจะแอบซ่อนอยู่ที่ใด

วิญญาณร้ายก็จะติดตามไปเข้าสิงจนได้ กระทั่งหญิงสาวหวาดผวาไม่เป็นอันกินอันนอน

ร่างกายผ่ายผอมทรุดลงอย่างน่าใจหาย และภาวะน่าพรั่นพรึงดังกล่าว

ได้กดดันบีบคั้นครอบครัวนี้ให้เผชิญกับความทุกข์ทรมานใจอย่างสาหัส

ผู้เป็นพ่อโกรธแค้นวิญญาณผีตายโหง ที่ตามรังควานลูกสาวไม่ยอมเลิก

ถึงกับระเบิดโทสะออกมา ขู่ว่าจะยิงผีร้ายให้แหลกกระจายคามือ

แทนที่วิญญาณซึ่งมาเข้าสิงลูกสาวจะหวาดหวั่นพรั่นพรึง

มันกลับเยาะเย้ยท้าทายให้ยิงได้เลย เพราะถ้ายิงมัน

ก็เท่ากับยิงลูกสาวตัวเอง จะกล้าทำล่ะหรือ

การที่วิญญาณผีตายโหงมาเข้าสิงหญิงสาวอย่างต่อเนื่อง เป็นเวลายาวนานเช่นนี้

โดยไม่มีอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใด ๆ มาขัดขวางมันได้

อาจจะเป็นเพราะวิบากที่เธอผู้นี้ กับวิญญาณของชายผู้ถูกยิงตายมีกรรมพัวพันต่อกัน

และถึงวาระจะต้องชดใช้ จึงไม่สามารถสกัดกั้นหรือหยุดยั้งทุกกรณี

และหากไม่ได้รับการช่วยเหลือให้ผ่อนคลายหลุดพ้นจากวิบากนี้

ก็เชื่อแน่ได้ว่าหญิงสาวคงต้องถึงแก่ชีวิตอย่างแน่นอน

หรือเหตุที่เกิดนี้ อาจเนื่องจากวิญญาณผีตายโหงเพราะถูกผู้อื่นยิงตาย

สิ้นชีวิตเพราะกรรมมาตัดรอนก่อนถึงอายุขัย

วิญญาณจึงกลายเป็นผีเร่ร่อนไม่รู้จะไปทางไหน

ประกอบกับจิตยังหลงมัวเมาอยู่ในกามตัณหา มีความอยากในกิเลสราคะรุนแรง

จนไม่อาจแยกผิดชอบชั่วดีได้ ไม่รู้ว่าตนกับหญิงสาวอยู่กันคนละภพภูมิ

มีอัตภาพที่แตกต่างกัน ครั้นมีความปรารถนาในหญิงสาวที่ตนพึงพอใจ

จึงกระทำทุกวิถีทางจะครอบครองเป็นของตน

แม้กระทั่งพยายามเบียดเบียนจะเอาชีวิตหญิงสาวให้ได้

แต่วาสนากรรมดีของหญิงสาวผู้นี้ยังมีอยู่

วิญญาณผีตายโหงจึงทำลายล้างชีวิตเธอไม่ได้

และคล้ายดั่งเป็นวาระที่หญิงสาวจะหลุดพ้นจากเงื้อมเงาของวิญญาณร้าย

ได้มีคนรู้จักกับพ่อของหญิงสาวมาบอกว่า

ควรไปขอความเมตตาจาก หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก เถิด เพราะ

ท่านเป็นพระเถระที่มีจิตตานุภาพสูงมาก

อาจจะช่วยขจัดปัดเป่าความทุกข์ทรมาน ที่ยำยีบีฑาลูกสาวจากวิญญาณร้ายได้

ผู้เป็นพ่อจึงตกลงใจเดินทางไปวัดสะแกทันที

วันที่ผู้เป็นพ่อหญิงสาวซึ่งถูกวิญญาณผีตายโหงเข้าสิงไปถึงวัดสะแก

หลวงปู่ดู่กำลังพูดคุยอยู่กับศิษย์คนหนึ่งของท่าน

พ่อหญิงสาวผู้เคราะห์ร้ายจึงเข้าไปกราบนมัสการท่าน

หลวงปู่ก็ทักทายปราศรัยถามไปว่าอยู่ที่ไหน มีเรื่องอะไรถึงได้มาที่นี่

ชายผู้แบกทุกข์เรื่องของลูกสาวก็เล่าเนื้อความถวาย ที่มีวิญญาณผีตาย

โหงตามรังควานลูกสาวให้ท่านฟังโดยละเอียด ลงท้ายด้วยการ

ขอความเมตตาจากท่านช่วยกรุณาเปลื้องทุกข์ให้ด้วยเถิด

 เหนื่อย เหนื่อย เหนื่อย

หลวงปู่ดู่นั่งรับฟังเงียบ ๆ เมื่อทราบจุดประสงค์ของผู้เป็นพ่อหญิงสาวที่ถูกผีสิง

ท่านก็หันไปบอกลูกศิษย์ซึ่งนั่งอยู่ใกล้ ๆ ว่า

“แกช่วยเขาที เอาบุญ”

ศิษย์ผู้นี้เป็นผู้ปฏิบัติธรรม กระทำความเพียรทางจิตอยู่กับหลวงปู่มานานพอสมควร

จนเป็นที่ไว้วางใจของหลวงปู่ ก็ประนมมือรับคำ

พ่อหญิงสาวรีบนมัสการเรียนถามหลวงปู่ว่า จะให้นำตัวลูกสาวมาที่วัดนี้หรือไม่

หลวงปู่ตอบสั้น ๆ ว่า

“ไม่ต้อง”

จากนั้น หลวงปู่และศิษย์ของท่าน ก็นั่งหลับตาเจริญสมาธิสงบจิตพร้อม ๆ กัน

ณ ที่ตรงนั้น มิได้เคลื่อนย้ายไปไหน หรือให้จัดเครื่องสักการะบัดพลีมา

ประกอบพิธีอย่างใดเลย แม้แต่ดอกไม้ธูปเทียนก็ไม่มีแม้แต่สิ่งเดียว

พ่อของหญิงสาวผู้เคราะห์ร้ายแอบคิดลังเลสงสัยว่า

หลวงปู่ดู่จะช่วยลูกสาวให้พ้นจากอำนาจผีร้ายได้อย่างไร

เพราะไม่เห็นมีพิธีกรรมอันเข้มขลัง ดังเช่นที่เคยเห็น

พวกหมอผีมิวิชาอาคมกระทำกันมา


งง งง งง งง งง งง

เวลาผ่านไปไม่ถึงอึดใจเสียด้วยซ้ำ หลวงปู่ดู่ก็พูดขึ้นเพื่อบอกกับศิษย์ของท่านว่า

“เรียกผีมารับบุญหลวงปู่ทวด รับบุญข้า ให้โมทนาซะ จะได้ไปดี เป็นผีก็ไปเอาเมียผี

ไม่ใช่เอาเมียคน รับบุญไปจะได้เมียนางฟ้าเยอะแยะ ดูด้วยว่าผีรับแล้วหรือยัง”

 ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ

ศิษย์ของท่านนั่งลงสงบนิ่งอยู่ในสมาธิ คงจะติดต่อกับหลวงปู่ดู่โดยจิต

จากนั้นหลวงปู่ก็กล่าวขึ้นอีก

“รับแล้วใช่ไหม.....ไปเกิดซะ.....เอาละหมดเรื่อง”

พ่อของหญิงสาวที่ถูกวิญญาณผีตายโหงเข้าสิงเป็นพัก ๆ นานถึง ๓ ปี

แม้จะเคารพหลวงปู่ดู่เพียงไร ก็ยังไม่วายลังเลสงสัยว่า

บารมีธรรมของหลวงปู่จะช่วยลูกสาว

ให้พ้นจากอำนาจผีร้ายได้อย่างไร เพราะไม่เห็นท่านประกอบพิธี

ที่ชวนให้เกิดความขลังอย่างใดเลย

อีกทั้งลูกสาวก็อยู่ไกลถึงอำเภอนครหลวง ซึ่งท่านไม่รู้ว่าบ้านเรือนตั้งอยู่ที่ไหน

กิริยาอาการที่วิญญาณผีตายโหงเข้าสิงลูกสาวเป็นอย่างไร และท่านไม่รู้เสียด้วยซ้ำว่า

เป็นลูกสาวคนไหนของตนถูกผีสิง เมื่อเป็นเช่นนี้ ผีตายโหงมันจะหวาดกลัวหวั่นระย่อ

หลวงปู่ดู่ถึงกับยอมผละหนีไปจากลูกสาวง่าย ๆ ล่ะหรือ

เมื่อหลวงปู่ดู่และศิษย์ถอนจิตจากสมาธิ ผ่อนคลายอิริยาบถแล้ว
 
ศิษย์ของท่านก็บอกกับชายคนนั้นว่า

“ตอนนี้เขาไปเกิดแล้ว ผีเป็นเหตุ

ลุงกลับบ้านไปลองดู ถ้าลูกสาวไม่เป็นอะไร แสดงว่าหาย”


ผู้เป็นพ่อของหญิงสาวเคราะห์ร้าย ก้มกราบหลวงปู่ดู่ด้วยความปีติยินดี

แล้วนมัสการกราบลากลับไปบ้านตนที่อำเภอนครหลวง เวลาผ่านไปเกือบเดือน

ชายคนเดิมก็เดินทางมาที่วัดสะแกอีก เข้าไปกราบนมัสการหลวงปู่ดู่ด้วย

สีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส แล้วรายงานให้หลวงปู่ทราบว่า

“ลูกสาวหายดีแล้วครับ ตั้งแต่วันนั้น ไม่มีอาการผีสิงอีกเลย

เพราะหลวงปู่เมตตาไว้ครับ”

บารมีธรรมของ หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ เรื่องวิญญาณผีตายโหงเข้าสิง

หญิงสาวอยู่อำเภอนครหลวงที่นำมาเสนอไว้ ณ ที่นี้ เป็นการแสดงให้เห็นถึง

จิตตานุภาพเป็นอัศจรรย์ของผู้บำเพ็ญธรรมระดับสูง และ

บ่งชี้ให้รับรู้อีกประการหนึ่งนั่น

คือ วิญญาณของผู้ที่ตายไปในลักษณะไม่ปกติ ตายเพราะมีกรรมมาตัดรอน

ก่อนถึงอายุขัยวันตายของตน ย่อมไปผุดเกิดในภพภูมิอื่นต่อไปไม่ได้

จึงต้องวนเวียนทุกข์ทรมานอยู่ในมิติของวิญญาณที่คาบเกี่ยวกับโลกมนุษย์

อีกทั้งยังมืดมัวด้วยกิเลสตัณหา หลงอยู่ในโมหะ อวิชชา ไม่ยอมรับรู้

ตามความเป็นจริงว่า ตนเองตายไปแล้ว มีอัตภาพผิดแผกแตกต่างจากมนุษย์

ไม่อาจสามารถสัมพันธ์ข้องเกี่ยวกับมนุษย์ได้ทุกกรณี เหตุนี้

เมื่อมีกิเลสกามฟูขึ้นมากับหญิงสาวที่ตนหมายปอง จึงได้ตามรังควาน

สร้างทุกข์ให้แก่ผู้อื่นนานถึง ๓ ปี

หากมิใช่บารมีธรรมของหลวงปู่ดู่ ที่แผ่เมตตาให้วิญญาณของผีตายโหง

วิญญาณนี้คงจะไม่พ้นจากสภาวะที่จมอยู่ในห้วงกิเลสซึ่งรัดรึงเอาไว้

ส่วนที่จะไปผุดเกิดในภพภูมิใดต่อไป ก็คงเป็นไปตามยถากรรมของตน


..............................................................................

การเข้าเนต เป็นงานอดิเรก ที่น่าสนใจ ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์  

บทความข้างต้น นำมาจากคำสอน ของหลวงปู่ดู่ อ่าน เพิ่มเติมได้ที่
 
http://www.watthummuangna.com/home/community/index.php/board,4.0.html

 หลั่นล้า หลั่นล้า หลั่นล้า
  
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
mature_na
มือใหม่หัดเมาท์
*

ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8

« ตอบ #3 เมื่อ: 27 สิงหาคม 2556, 15:13:25 »

พบกับเรื่องราวรูปแบบใหม่เกี่ยวกับองค์หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ

ได้ที่ ลานสนทนาคนรักหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
หลวงปู่ทวด - ศูนย์กลางข้อมูล

http://www.prommapanyo.com/smf/index.php

http://www.prommapanyo.com

ครับผม
      บันทึกการเข้า
Pete15
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,460

« ตอบ #4 เมื่อ: 27 สิงหาคม 2556, 19:45:52 »

ขอบคุณครับ น้องหมอสำเริง
      ที่นําเรื่องของหลวงปู่ดู่ มาให้อ่าน
      บันทึกการเข้า
  หน้า: [1]   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><