25 พฤศจิกายน 2567, 19:40:39
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: [1]   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: เครือข่าย VPN ทุก ร.พ.เป็นสมาชิกทำให้เข้าไปใน ร.พ.เครือข่ายได้จะแก้ปัญหาเบิกจ่ายได้  (อ่าน 5123 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« เมื่อ: 31 มกราคม 2554, 19:44:20 »

คุมค่าเบิกจ่ายยา เหนื่อย ข้า(ฆ่า)ราชการ
โดยเวบโพสต์ทูเดย์ วันจันทร์ ที่ 31 มกราคม 2554
http://www.posttoday.com/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88/72234/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%88%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%86%E0%B9%88%E0%B8%B2-%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3



“มาตรการควบคุมการเบิกจ่าย และการใช้ยาข้าราชการ”

โดย...ทีมข่าวการเงิน

ต้องบอกว่า เรื่องที่พูดกันอื้ออึง และเป็นที่โจษจันกันใน
หมู่ข้าราชการมากที่สุดในขณะนี้ ไม่มีเรื่องใดจะเกินหน้า

“มาตรการควบคุมการเบิกจ่าย และการใช้ยาข้าราชการ”
ของกระทรวงการคลังอีกแล้ว

ไม่เฉพาะข้าราชการและคนในครอบครัวที่เป็นผู้ป่วยเท่านั้นที่พูดกันอื้ออึง
บรรดา “หมอ” ที่รักษาคนไข้ก็สะท้านกับมาตรการคุมเข้มแบบนี้

เพราะกลัวว่าคนไข้ที่เป็นข้าราชการและได้รับการจ่ายยาเพื่อรักษาพยาบาล
จะมาฟ้องหมอในภายหลังได้หากเกิดอาการข้างเคียงจากการหยุดใช้ยา

 ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ ปิ๊งๆ

ปัญหาหลักๆ น่าจะมาจากระบบข้อมูลในการควบคุม และ ตรวจสอบค่ารักษาพยาบาล
ถ้าวางระบบดีๆ มีประสิทธิภาพย่อมไม่เกิดช่องโหว่ให้เกิดการตักตวงผลประโยชน์ส่วนตน
ต้องไปควบคุมต้นเหตุของการรั่วไหลของการเบิกจ่ายยาที่ไร้ประสิทธิภาพจะตรงจุดมากกว่า


เพราะ ปัจจุบันโรงพยาบาลจะเป็นผู้วางฎีกามาขอเบิกเงินค่ารักษาพยาบาล
เป็นจำนวนเท่าใด กรมบัญชีกลางมักจะโอนเงินเข้าบัญชีโรงพยาบาลไปตามนั้น

เพราะ การเชื่อมโยงข้อมูลของคนไข้ เนื่องจากปัจจุบันข้อมูลถูกเก็บไว้ในโรงพยาบาลที่
เข้าไปใช้บริการ เท่านั้น ไม่สามารถจะเข้าไปดูได้ เพราะ เป็นความลับของผู้่ป่วย
ยังไม่มีการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างโรงพยาบาลผ่านทางระบบออนไลน์
จึงเป็นช่องโหว่ให้ข้าราชการไปขอเบิกยาจากโรงพยาบาลหลายแห่งได้

เพราะ ไม่กำหนดกฎเกณฑ์แนวทางปฏิบัติ เรื่อง การสั่งจ่ายยา เรื่องขั้นตอนการวินิจฉัย
เรื่อง ระดับใดควรให้ยาชนิดใด จึงเกิดการใช้ยา ฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็น

gek gek gek

XXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXX

ปัจจุบัน มีซอฟแวร์อินเตอร์เนต เชื่อมโยงสถานที่ ที่อยู่คนละสถานที่กันให้มาเป็นเครือข่ายได้



ถ้าให้ทุก ร.พ.ใช้คอมพิวเตอร์บันทึกข้อมูลใช้โปรแกรมเดียวกัน เช่น Hosp XP ที่ ร.พ.และ
สถานีอนามัยทุกแห่ง ใน อำเภอ ใช้โปรแกรมเดียวกัน ทำให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลกันทาง
อินเตอร์เนต เป็นเครือข่ายสาธารณสุข Virtual Private Network:VPN
ทำให้คนไข้ไม่ว่าไปรักษาสถานพยาบาลที่ใดในอำเภอ แพทย์ และ พยาบาลเวชปฏิบัติจะ
ใช้โปรแกรมได้ เพราะ เหมือนกัน ทุกแห่งในอำเภอ เมื่อแพทย์ออกไปให้บริการที่ สถานีอนามัย
ซึ่งอนาคตจะเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล รพสต. ทำให้แพทย์ใช้โปรแกรมได้
โดยไม่ต้องปรับตัว เมื่อเปลี่ยนสถานที่ให้การรักษา ใช้ได้ทันที และ

ในอนาคต เมื่อใช้โปรแกรมเดียวกันจะสามารถสร้างเป็นเครือข่ายสาธารณสุขระดับอำเภอ
ทำให้แพทย์นั่งอยู่ที่เครื่องคอมพ์ ที่ รพสอ.ล็อคอินเข้าไปนั่งที่ รพสต.ได้ไม่ต้องขับรถไป



ร่วมกับการใช้ โปรแกรม Skype ทำให้แพทย์ อยู่ที่ รพสอ.สามารถคุยกับคนไข้ที่อยู่ที่ รพสต.
ได้ ถ้าอยากดูแผล ดูทางกล้องวิดิโอ ในโปรแกรม Skype ได้ แพทย์จึงตรวจได้ทุกวันที่ รพสต.

Virtual Private Network : VPN มาใช้กับทางสาธารณสุขได้ ประโยชน์ คือ

1.ทำให้สามารถเข้าไปดู ร.พ.ได้ทุกที่ในเครือข่าย ถ้ามารักษาต่าง ร.พ.ให้คนไข้บอกว่ารักษาจาก
ร.พ.ใดมาก่อน แพทย์จะล็อคอิน เข้าไปใน ร.พ.นั้นเข้าไปดูประวัติการรักษาได้และ
ให้การรักษาต่อเนื่องที่ใหม่ได้ทันที ใช้ยาเก่าต่อได้ถ้าเห็นว่าเหมาะสมแล้ว

2.ทำให้แต่ละ ร.พ.สามารถเบิกจ่ายกับสำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ : สปสช.ได้ทางตรง
ไม่ต้องรับเงินมาก่อนตามหัวประชากรเหมือนที่ทำอยู่ เช่น
ร.พ.นี้มีคนไข้ในพื้นที่ใกล้ ร.พ.ให้ดูแล 100 คน รัฐบาลให้หัวละ x บาทก็จะได้ 100x บาท
คนไข้ไปรักษาที่อื่น ๆ ไม่ได้ต้้องเสียเงินเอง ถ้าไม่อยากเสียเงินต้องกลับมารักษาใกล้บ้าน
เป็นกุศโลบาย เพื่อให้เกิดการกลับมารักษาใกล้บ้านให้เป็น ร.พ.ประจำครอบครัว

ยกเว้นอุบัติเหตุและฉุกเฉิน สามารถรักษาได้ทุก ร.พ.ในเครือข่าย เบิกจาก สปสช.ได้

3.ทำให้ สปสช.ที่ได้รับข้อมูลตามข้อ 2 ที่ส่งทางอินเตอร์เนตไปให้ สปสช.เดือนละครั้ง ผ่านทาง
เครือข่าย VPN นี้ สปสช.จึงสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ โดย สปสช.จะจ่ายตาม ราคากลาง หรือ
Diagnostic Related Group : DRG ที่เกิดจากการประชุมตกลงกันของผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น
ไข้หวัด จะต้องมีประวัติ ตรวจร่างกาย บันทึก ยาที่ใช้ เป็นมาตรฐานของไข้หวัด รวมเป็นค่ารักษา
เท่าไร ทุก ร.พ.ก็จะได้ เท่ากันทุกแห่งตามราคากลางนี้ ใช้ยาเกินจำเป็นค่ายามากกว่าราคากลาง
ก็ได้เท่าราคากลาง ร.พ.จึงจำเป็นต้องรักษาตามมาตรฐาน เหมือนกัน และ ถ้าส่งข้อมูล ครบถ้วน
ตามเกณฑ์ สปสช. ก็จะให้ 100 % ของราคากลางนี้ แต่ถ้าข้อมูลไม่สมบูรณ์ ไม่ถูกต้องจะถูกตัด
เปอร์เซ็นต์ตามความบกพร่อง ถ้าบกพร่องมากถูกตัดมาก เป็นต้น เป็นการทำให้ ทุก ร.พ.ต้อง
ทำตามแนวทาง ราคากลาง เป็นการรักษาตามแนวทางมาตรฐานที่ตกลงกันไม่ใช้ยาฟุ่มเฟือย

4.ทำให้ สปสช.สามารถตรวจสอบการเบิกจ่ายซ้ำได้ทันที กระทรวงสาธารณสุขจะลงโทษ ทำให้
ข้าราชการไม่กล้าเบิกยาหลาย ๆ ร.พ. อันเป็นที่มาของการออกกฏการเบิกจ่ายข้า(ฆ่า)ราชการ

5.ทำให้การรวมกองทุนสุขภาพ 3 กองทุน เป็นกองทุนสุขภาพแห่งชาติ กองเดียวได้ คือ
กองทุนสุขภาพผู้มีรายได้น้อย กองทุนประกันสังคม และ กองทุนข้าราชการของกระทรวงการคลัง
เป็นกองทุนเดียวกัน เหมือนกันในสิทธิประโยชน์ และ เป็นมาตรฐานเดียวกัน



กระทรวงสาธารณสุข  กระทรวงเทคโนโลยี่สารสนเทศและการสื่อสาร

เครือข่ายสาธารณสุข VPN นี้คือ คำตอบ ถ้าให้กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ กระทรวงเทคโนฯ
จัดให้มีขึ้น จะทำให้ประหยัดค่ายา ได้อย่างถูกจุด และ ช่วยการรักษาพยาบาลให้ง่าย แพทย์
ได้เรียนรู้การรักษาของต่าง ร.พ.ได้ แพทย์ต้องรักษาตาม แนวทาง DRG ที่เป็นแนวทางที่ได้
รับการประชุมแล้วว่าเป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพ ที่ทุก ร.พ.จะต้องดำเนินตาม ซึ่งสามารถ
ปรับปรุงให้ดีขึ้นไ้ด้เมื่อมีความรู้ใหม่ หรือ ราคายาเปลี่ยนแปลง หรือ มีการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ


  win win win



พณฯ ท่าน จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมต.ว่าการกระทรวงสาธารณสุข



พณฯ ท่าน จุติ ไกรฤกษ์ รมต.ว่าการกระทรวงเทคโนโลยี่สารสนเทศและการสื่อสาร

ถ้าพณฯท่าน ทั้ง 2 ร่วมดำเนินการสร้างเครือข่าย โดยเริ่มจากเล็ก ไปใหญ่ คือ จากระดับอำเภอ
แล้วขยายเป็นระดับจังหวัด จนในที่สุดขยายเป็นระดับประเทศ ระดับชาติ ไม่ว่าไปรักษาที่ใดใน
ประเทศไทย แพทย์ สามารถเข้าไปดูประวัติในทุกแห่งได้

นำมาโพสต์เสนอ ผ่านทางเวบซีมะโด่งเพื่อให้พวกเราช่วยนำเรียนแทนด้วย จะเป็นพระคุณยิ่ง

อายจัง อายจัง อายจัง
อายจังไม่กล้านำเรียนเสนอเอง
 
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
  หน้า: [1]   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><