2. เทคโนโลยีไวแมกซ์ (WiMAX) กำลังเข้ามาเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของ 3G ด้วยแนวความคิดที่ต้องการพัฒนาระบบสื่อสารที่สามารถเข้าถึงด้วยเทคนิคของการ สื่อสารแบบไมโครเวฟ (microwave) ที่ใช้งานร่วมกันได้ทั่วโลก (Worldwide Interoperability for Microwave Access) ซึ่งเป็นที่มาของชื่อย่อว่า “ไวแมกซ์” (WiMAX)
ไวแมกซ์เป็นเทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูงที่ถูกพัฒนาขึ้นมาพร้อมๆกับ การพัฒนา 3G มีรัศมีทำการที่ 30 ไมล์ (ประมาณ 50 กิโลเมตร) ซึ่งหมายความว่า ไวแมกซ์สามารถให้บริการครอบคลุมพื้นที่กว้างกว่า 3G มากถึง 10 เท่าตัว และยิ่งกว่านั้นยังมีอัตราความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลสูงสุดถึง 75 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) รวมทั้งข้อมูลล่าสุดในการพัฒนาเทคโนโลยีสู่ “ไวแมกซ์ยุคใหม่” (Next Generation WiMAX) ในภาคสนาม ที่เปิดเผยต่อสาธารณะ ปรากฏว่ามีความสามารถในด้านต่างๆไม่ด้อยกว่า 3.5G หรือเข้าใกล้เทคโนโลยี 4G
3. ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นบ้างแล้วว่า การพัฒนาเทคโนโลยี 3G ได้ล่วงเลยมานานแล้ว โดยได้เริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 2000 (พ.ศ. 2543) หรือเกือบ 10 ปีมาแล้วตามกรอบของการพัฒนาเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ผ่านมา และ ค.ศ. 2010 (พ.ศ. 2553) จะเป็นช่วงเวลาเริ่มต้นของเทคโนโลยีและมาตรฐานใหม่ตามแนวคิดของสหภาพโทร คมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) นั่นคือ “IMT-Advanced” เต็มรูปแบบ
จากสภาพตลาดที่มีการแข่งขันอย่างรุนแรงผนวกกับความก้าวหน้าของการพัฒนา เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถพัฒนาได้ทันกับความต้องการของการสื่อสาร โทรคมนาคม เป็นตัวผลักดันที่สำคัญต่อบรรดาผู้พัฒนาและผู้ผลิต ได้เริ่มทยอยนำเครื่องอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้เทคโนโลยี 4G ออกสู่ตลาดมาตั้งแต่ ประมาณ พ.ศ. 2547 และผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่ทั่วโลกจำนวนมากได้เริ่มเปิดให้ บริการเชิงพาณิชย์ด้วยเทคโนโลยี 4Gแล้ว ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ที่ต้องการใช้งานโมบายล์ บรอดแบนด์ และบริการต่างๆตามไลฟ์ สไตล์ของตนเอง
4. ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ภาคเอกชนของประเทศ ให้บริการภายใต้สัญญาสัมปทานกับหน่วยงานของรัฐในลักษณะ B-T-O (ลงทุนสร้าง – ส่งมอบให้เป็นทรัพย์สินของรัฐ – และได้รับสิทธิ์ในการนำไปให้บริการ) ซึ่งยังคงเหลือระยะเวลาอีกอย่างน้อยรายละตั้งแต่ 4 – 8 ปี ดังนั้นบรรดาเครื่องอุปกรณ์โครงข่าย และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ภาคเอกชนลงทุนไปทั้งหมดจะเป็นของรัฐ ยกเว้นในส่วนที่เป็น “ฐานลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ” ที่ยังไม่มีความชัดเจนทางกฎหมายหรือสัญญา ว่าควรจะเป็นกรรมสิทธิ์ของหน่วยงานรัฐหรือภาคเอกชนที่เป็นผู้ให้บริการภาย หลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน และหากหน่วยงานของรัฐจะถือสิทธิ์ความเป็นเจ้าของด้วยนั้น จะสามารถทำได้เพียงใดในเมื่อผู้ใช้บริการมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดและติดต่อโดย ตรงกับผู้ประกอบการภาคเอกชน ซึ่งบทพิสูจน์ในเรื่องนี้เคยเกิดขึ้นแล้วกับกรณีของบริษัท กิจการร่วมค้าไทยโมบายล์ ซึ่งเป็นบริษัทภายใต้การกำกับดูแลของรัฐวิสาหกิจโทรคมนาคมรายใหญ่และรายเดิม ของประเทศ 2 ราย ที่ก่อนหยุดให้บริการมีจำนวนผู้ใช้บริการไม่ถึง 30,000 รายจากที่เคยมีสูงสุดไม่เกิน 100,000 ราย
5. หากผู้ประกอบการภาคเอกชนที่ให้บริการ 2G ภายใต้สัญญาสัมปทานฯ เลือกที่จะจัดตั้งบริษัทใหม่เพื่อขอรับใบอนุญาต (ซึ่งจะเป็นใบอนุญาตของตนเองและไม่ต้องจ่ายส่วนแบ่งรายได้ให้แก่หน่วยงานของ รัฐ) และลงทุนให้บริการ 3G แยกต่างหาก ซึ่งแน่นอนไม่อาจหลีกเลี่ยงที่จะคิดได้ว่า หมายถึง เกิดการถ่ายโอนผู้บริหารระดับสูง ผู้ปฏิบัติงานและพนักงานที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในธุรกิจ โทรศัพท์เคลื่อนที่ไม่ต่ำกว่า 10 ปี ไปยังบริษัทใหม่ และ(อาจ)ปล่อยให้การให้บริการที่มีอยู่เดิมเป็นไปตามยถากรรม (เนื่องจากการดำเนินธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ส่วนใหญ่นั้นจะมีระยะคืนทุนและ สร้างผลกำไรได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ ตั้งแต่ประมาณปีที่ 7 เป็นต้นไป ขณะนี้หลายรายได้ผ่านช่วงเวลาเริ่มสร้างผลกำไรมาไม่น้อยกว่า 10 ปี) ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลใดที่จะต้องลงทุนพัฒนา 3G ภายใต้สัญญาสัมปทานฯและทรัพย์สินต้องตกเป็นของรัฐ ซึ่งเรื่องนี้เห็นได้ชัดจากการที่ผู้ประกอบการภาคเอกชนเลือกที่จะพัฒนา บริการด้วยเทคโนโลยีที่สูงกว่า 2G ในรูปแบบ in-band migration เพียงเพื่อรักษาฐานลูกค้าของตนเท่านั้น หากเป็นเช่นนี้แล้วจะเกิดอะไรขึ้น
6. การลงทุนสร้างโครงข่ายและให้บริการ 3G ที่มีประสิทธิภาพและใช้งานได้เต็มความสามารถนั้น จำเป็นต้องลงทุนสร้างโครงข่ายบนแพลตฟอร์ม (platform) ใหม่ และถึงแม้อาจจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกบางส่วนที่สามารถใช้ของที่มีอยู่เดิมได้ บ้างก็ตาม แต่ต้นทุนที่จะต้องลงทุนแต่ละบริษัท มีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 20,000 ล้านบาท ในขณะที่ยังต้องรับภาระการซ่อมบำรุงในส่วนที่เป็นการให้บริการ 2G พร้อมกันไปด้วย ประกอบกับสภาพเศรษฐกิจถดถอยในขณะนี้ ทั้งนี้ยังไม่นับค่าใช้จ่ายที่ต้องลงทุนเพื่อการประมูลคลื่นความถี่และใบ อนุญาต ซึ่งในเบื้องต้นคาดว่าจะไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท
7. ด้านผู้ใช้บริการที่เคยใช้บริการด้วยเทคโนโลยี 2G มีความพร้อมเพียงใด และมีจำนวนเท่าใดที่ยินดีจะย้ายไปใช้บริการด้วยเทคโนโลยี 3G ซึ่งแม้จะทันสมัยกว่า แต่แน่นอนว่าจะต้องเสียค่าใช้บริการในอัตราที่สูงขึ้นตามบริการเสริม (Value Added Service) รายบริการที่เลือกใช้ ซึ่งสวนทางกับพฤติกรรมของผู้ใช้บริการ และสภาพการแข่งขันและตลาดปัจจุบันที่ผู้ประกอบการภาคเอกชนพยายามปรับลดอัตรา ค่าบริการลง รวมทั้งนำเสนออัตราค่าบริการเป็นพิเศษตามกลุ่มเป้าหมาย
ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนเท่านั้น ที่ผู้เขียนหวังว่าอาจจะเป็นปัจจัยหรือข้อมูลส่วนหนึ่งที่จะเป็นประโยชน์ต่อ ผู้ประกอบการรายเดิมที่ให้บริการ 2G และผู้ประกอบการรายใหม่ที่จะเข้าสู่ตลาด รวมถึงผู้ให้บริการที่เป็นหน่วยงานภาครัฐคือ บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) ได้ตระหนักและขบคิดอย่างถี่ถ้วนก่อนที่ประเทศชาติจะต้องเสียเงินตราต่าง ประเทศเป็นจำนวนมหาศาล รวมทั้งผู้ใช้บริการจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องลูกข่าย (เครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่) เครื่องใหม่จากเดิมที่ใช้งานสำหรับ 2G ไปเป็น 3G เกือบทุกราย (จำนวนมากกว่า 60 ล้านเครื่อง) รวมทั้งเกิดขยะอิเล็กทรอนิกส์จากเครื่องโทรศัพท์ แบตเตอรี่ และอุปกรณ์ต่อร่วม อีกมากมาย
ผู้เขียน – พันธ์ศักดิ์ ศรีทรัพย์