22 พฤศจิกายน 2567, 05:29:53
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: [1]   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: คำชี้แจงของบริษัทเอไอเอส กับผลประโยชน์ของแผ่นดิน (สารส้ม)  (อ่าน 5578 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« เมื่อ: 10 กุมภาพันธ์ 2554, 15:14:28 »


คำชี้แจงของบริษัทเอไอเอส กับผลประโยชน์ของแผ่นดิน (สารส้ม)
โดยเวบแนวหน้า วันพฤหัสบดี ที่ 10 ก.พ. 2554  
 http://www.naewna.com/news.asp?ID=248555
 


 หากเป็นเรื่องผลประโยชน์ทางธุรกิจของบริษัทเอกชนเพียวๆ
ไม่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของแผ่นดินส่วนรวม ก็คงพอจะ "ปล่อยผ่าน" ไปได้


 แต่เรื่องนี้ คาบเกี่ยวกับผลประโยชน์แผ่นดินโดยตรง

 เพราะเป็นกรณีสืบเนื่องมาจากหน่วยงานของรัฐ "ทวงเงินเอกชน"
 หากเอกชนยอมจ่าย รัฐก็จะได้เงิน นำส่งเข้าสู่คลังแผ่นดิน


 แต่หากเอกชนไม่จ่าย เนื่องจากต้องการรักษาผลประโยชน์ของตนเองไว้ (ซึ่งไม่แปลก)
ฝ่ายรัฐก็จะไม่ได้เงิน แผ่นดินก็สูญเสียโอกาส

 เพราะฉะนั้น เรื่องนี้จึง "ปล่อยผ่าน" ไม่ได้



 1) ผู้บริหารบริษัทเอไอเอส ทำหนังสือถึงตลาดหลักทรัพย์
(ตามหนังสือเลขที่ AIS-CP 014/2554 ลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2554)
ชี้แจงกรณีทีโอทีมีหนังสือแจ้งให้ชำระเงินส่วนแบ่งรายได้เพิ่มเติม เนื้อความระบุว่า

 "...บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ขอชี้แจงกรณีที่บริษัท ทีโอที จำกัด
(มหาชน) (ทีโอที) ได้มีหนังสือถึงบริษัทฯ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2554 แจ้งให้บริษัทฯ
ชำระเงินส่วนแบ่งรายได้เพิ่มเติมในกรณีการปรับลดส่วนแบ่งรายได้บริการบัตรเติมเงิน
(Prepaid Card) การหักค่าใช้จ่ายการใช้เครือข่ายร่วม (Roaming)

จำนวนเงินรวม 36,995,636,889.80 บาท และการหักค่าภาษีสรรพสามิตออกจาก
ส่วนแบ่งรายได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม จำนวนเงินรวม 36,816,942,676.13 บาท
พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีให้แก่ ทีโอที ภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2554...."

 2) บริษัทเอไอเอสได้มีคำชี้แจงของตนในแต่ละประเด็น ซึ่งเป็นสิทธิโดยชอบที่จะกระทำได้

 บริษัทเอกชนย่อมพยายามจะตีความ อธิบาย ดำเนินการ หรือแสดงจุดยืน
เพื่อรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์สูงสุดของตนเองเป็นธรรมดา

 แต่ประชาชนทั่วไปย่อมจะต้องยึดถือผลประโยชน์ส่วนรวมของแผ่นดินเป็นหลัก
จึงสามารถที่จะมีมุมมองแตกต่างออกไปได้เช่นกัน

 หนังสือชี้แจงของเอไอเอส อ้างว่า

 "ตามหนังสือเรียกร้องของทีโอทีข้างต้น ทีโอทีได้กล่าวอ้างบางส่วนของ
คำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
คดีหมายเลขแดงที่ อม.1/2553 เป็นเหตุเรียกร้องให้บริษัทฯ ชำระเงินดังกล่าว
แต่ความจริงแล้ว คำพิพากษาฯ ดังกล่าวหาได้มีผลผูกพันบริษัท ฯ
แต่อย่างใดไม่ เนื่องจาก ทั้งทีโอที และบริษัทฯ ต่างมิได้เป็นคู่ความในคดี"

ข้อนี้ เห็นด้วยว่าเป็นความจริงที่ทีโอทีและเอไอเอส ต่างมิใช่คู่ความในคดียึดทรัพย์ทักษิณ

 เพราะคดีที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้
พิพากษาชี้ขาดไปแล้วนั้น เป็นการลงโทษต่อตัว "ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง" โดยตรง

 ซึ่งกรณีดังกล่าว ก็คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

 แต่นั่นก็ไม่ใช่เรื่องที่เอเอสจะมาพูดจาตัดตอนกันง่ายๆ อย่างนี้

 หากเปรียบเทียบว่า ทักษิณมีความผิดที่พาควายของตนรุกเข้าไปกินหญ้าในที่ดินของหลวง
จนตัวอ้วนพี จ้ำม่ำยิ่งกว่าควายชาวบ้านทั่วไป ตัวทักษิณถูกดำเนินคดีไปแล้ว และ
ศาลก็มีคำพิพากษาชี้ขาดไปแล้วว่าการรุกเข้าไปกินหญ้าของหลวงนั้นไม่ถูกต้อง
กรณีนี้เอไอเอสจะยังคงกินสัมปทานต่อไปได้ลงคออีกหรือ?

 จะอ้างว่าไม่เกี่ยวข้องผูกพันใดๆ กับตนเอง จะได้หรือ?

 ก็การแก้สัญญาสัมปทานมือถือในยุคทักษิณนั้น เปรียบเสมือน
การพังรั้วให้ควายได้เข้าไปกินหญ้าของหลวงโดยไม่ถูกต้อง

 ปัจจุบัน ช่องควายลอดที่ว่านั้น ก็ยังคงอยู่

 ควายยังคงสามารถเข้าไปกินหญ้าหลวงต่อไป

 ถ้าจะให้เป็นธรรมต่อทุกฝ่าย เราก็ควรจะต้องซ่อมรั้วให้กลับไปมีสภาพรัดกุมดังเดิม มิใช่หรือ?

 แล้วเจ้าของควายคนใหม่ ก็ควรจะจ่ายค่าหญ้าที่กินไปแล้วให้หลวงด้วย

 หลวงไม่คิดค่าเสียหายบวกเข้าไปด้วย ก็น่าจะบุญโขแล้ว

 การแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาสัมปทานมือถือเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็น การลดส่วนแบ่งรายได้
ที่เอกชนต้องจ่ายให้หน่วยงานของรัฐ หรือการเอาค่าส่วนแบ่งรายได้ที่ควรตกเป็นของรัฐ
ไปจ่ายภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคมแทนเอกชน ฯลฯ ล้วนแต่ทำให้รัฐเสียผลประโยชน์
อันพึงมีพึงได้ตามสัญญาสัมปทานดั้งเดิมไปมูลค่ามหาศาล

 ยกตัวอย่าง

 กรณีเอไอเอส เมื่อปี 2544 ได้มีการแก้ไขสัญญากับ ทศท. เปลี่ยนแปลงส่วนแบ่งรายได้
ที่ต้องจ่ายให้แก่รัฐ เป็น 20% ในส่วนของ prepaid (เติมเงิน)

 ทั้งๆ ที่ ตามสัญญาสัมปทานเดิมนั้น บังคับว่าต้องจ่ายส่วนแบ่งรายได้ให้รัฐ 25%
ในช่วงปี 2543-2548 และจะต้องเพิ่มขึ้นเป็น 30% ในช่วงปี 2549-2553 และ
ยิ่งจะต้องจ่ายเพิ่มขึ้นเป็น 35% ในช่วงปี 2553-2558

 ไม่แปลกใจ... หากว่ารัฐจะเรียก "เช็คบิล" กันบ้าง

 ด้วยการไล่ดูว่า นับตั้งแต่ปี 2544 ที่มีการแก้ไขสัญญาดังกล่าวเป็นต้นมา
หากเอไอเอสได้จ่ายส่วนแบ่งรายได้ให้แก่รัฐตามสัญญาสัมปทานเดิม คือ 25% และ
เพิ่มเป็น 30% ในปี 2549 จนถึงปัจจุบัน (ตามสัญญาเดิม)
จะต้องจ่ายส่วนแบ่งรายได้ให้แก่หน่วยงานของรัฐ คิดเป็นมูลค่าเท่าใด?

 เมื่อคิดเบ็ดเสร็จแล้ว พบว่าเอไอเอสจ่ายน้อยกว่าที่ควรต้องจ่ายตามสัญญาเดิมเท่าไหร่
ก็น่าจะสามารถเรียกเก็บเงินกลับคืนมาเป็นผลประโยชน์ของแผ่นดินให้ครบถ้วนได้ไม่เห็นแปลก

 แถมยังต้องบวกดอกเบี้ยด้วย

 กรณีที่รัฐบาลทักษิณเอาส่วนแบ่งรายได้ของหลวงไปจ่าย
ภาษีสรรพสามิตแทนเอกชนโดยมิชอบก็เช่นกัน  คิดเสียว่าเป็นลาภอันมิควรได้
 เอกชนก็ควรคืนหลวงไปเสีย

 
วันที่ 10/2/2011
 
  gek gek gek
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #1 เมื่อ: 14 กุมภาพันธ์ 2554, 19:10:54 »


ทีโอที ไล่บี้ทวงเงินเอไอเอส
โดยโพสต์ทูเดย์ดอทคอม วันจันทร์ ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 11:15 น.

 http://www.posttoday.com/%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%9F%E0%B9%8C/%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%96%E0%B8%B7%E0%B8%AD/74376/%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%AA

ทีโอทีขีดเส้นตาย26ก.พ.ให้เอไอเอส จ่ายส่วนแบ่งรายได้สัมปทานอีก
7.5 หมื่นล้าน ด้านศุภชัยวอนรัฐตั้งทีมไกล่เกลี่ยลั่นเอกชนไม่ได้โกง


นายนพณัฏฐ์ หุตะเจริญ รักษาการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า
ได้เตรียมความพร้อมด้านกฏหมายเอาผิดบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)
หรือ เอไอเอส หลังได้ยื่นหนังสือทวงถามให้จ่ายเงินค่าเสียหาย
จากการแก้ไขสัญญาสัมปทาน รวมมูลค่า 7.5 หมื่นล้านบาท



ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 11ก.พ.เอไอเอสได้ยืนชัดเจนว่า จะไม่จ่ายเงินให้กับทีโอที และ
ได้ยื่นเรื่องเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการ แล้ว ดังนั้น ทีโอทีก็พร้อมที่จะเข้าสู่
กระบวนการทางศาลเช่นกันหากไม่ยอมจ่ายภายในวันที่ 26 ก.พ.นี้

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ ทีโอทีได้ดำเนินการเรียกร้องความเสียหาย
กับคู่สัญญาภาคเอกชนรวมมูลค่า 2.14 แสนล้านบาท

ทั้งนี้ ครม.ได้มีมติให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)
ตั้งคณะกรรมการเจรจาความเสียหายจากการแก้ไขสัญญาสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่ ขึ้น
ซึ่งมีนางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงไอซีที เป็นประธาน ซึ่งเบื้องต้น
การเจรจาที่วางไว้ 15 วันอาจเสร็จไม่ทัน เนื่องจากเอกชนยืนยันที่จะไม่จ่าย



ด้านนายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหารทรู กล่าวว่า
คณะกรรมการเจรจาที่รัฐบาลได้ตั้งขึ้น ควรหารือร่วมกัน 3 ฝ่าย คือ


เอกชน เจ้าของสัมปทาน และรัฐบาลที่เกี่ยวข้องในยุคนั้นๆ เนื่องจากเอกชนและหน่วยงานรัฐ
ได้ปฏิบัติตามมติคณะกรรมการ หรือ บอร์ดและนโยบายรัฐบาลในสมัยนั้น
เพราะเอกชนไม่ได้ทำให้รัฐเสียหายและไม่ได้โกงรัฐมา


  win win win
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
  หน้า: [1]   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย  พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><