22 พฤศจิกายน 2567, 18:32:28
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: [1]   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: นักวิชาการเศรษฐศาสตร์จุฬาฯ ชำแหละรวยกระจุกตัว ‘สส.’ เศรษฐีที่ดิน  (อ่าน 4449 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« เมื่อ: 03 กุมภาพันธ์ 2554, 08:28:47 »


โดยเวบไทยโพสต์ ข่าวหน้า 1 3 กุมภาพันธ์ 2554
http://www.thaipost.net/news/030211/33804

นักวิชาการเศรษฐศาสตร์การเมืองชี้ ไทยเปลี่ยนจากภาคเกษตรสู่อุตสาหกรรมเต็มตัว
แต่ไม่เปลี่ยนโครงสร้างรากฐานที่ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น  ระบุช่องว่างรายได้
คนจนกับคนรวยสูงถึง 69 เท่า ชำแหละ ส.ว.-ส.ส.ถือครองที่เฉลี่ยคนละกว่า 100 ไร่
เหน็บรัฐบาลไม่แปลกที่ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจึงล่าช้า


เมื่อวันพุธ ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดปาฐกถาพิเศษชุดความเหลื่อมล้ำและ
ความไม่เป็นธรรมในการเข้าถึงทรัพยากรและบริการพื้นฐานของประเทศไทย ครั้งที่ 1



โดย ศ.ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร ประธานศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปาฐกถาในหัวข้อ

"ภาพรวมของความเหลื่อมล้ำและความขัดแย้ง"

ศ.ดร.ผาสุก กล่าวว่า วิกฤติการเมืองไทยโยงใยกับปัญหาพื้นฐานเรื่องความลักลั่นในมิติต่างๆ เช่น
ด้านรายได้ ความมั่งคั่ง อำนาจและศักดิ์ศรี การถูกเลือกปฏิบัติ ไม่ใช่ปัญหาจนแทบตาย
แต่เป็นเรื่องวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปของคนไทยมีความคาดหวังสูง ผิดหวังสะสม
ซึ่งเป็นปัญหาที่พบเห็นได้ในประเทศที่เริ่มมั่งมี

ความขัดแย้งทางการเมืองช่วงปี 2549-2553 มี 2 เรื่องที่ทับซ้อนกันอยู่ คือ

1.เรื่องขบวนการทางสังคมที่เปลี่ยนไป จากขบวนการภาคประชาชนที่เคยต่อรองกับ
นักการเมืองโดยการประท้วงมาเป็นการแสวงหาทางออกผ่านกระบวนการเลือกตั้ง และ

2.คือการต่อสู้กันระหว่างส่วนหัวของชนชั้นนำไทย   สองฟากที่มีเสื้อเหลืองและ
เสื้อแดงเป็นพวก โดยมี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นตัวกลางยึดโยงสองขบวนการ
เพื่อช่วงชิงว่าใครจะเป็นผู้กำหนดรัฐบาลไทยในสภาพเศรษฐกิจสังคมที่เปลี่ยนไป

"สภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงทำให้คนต่างจังหวัดเดินทางเข้ากรุงเทพฯ มากขึ้น
บางคนไปกลับหรือที่เรียกว่าแรงงานอพยพ

ทำให้คนเหล่านี้มองเห็นความเหลื่อมล้ำในกรุงเทพฯ ที่มีมาก จึงไม่น่าแปลกใจว่า
ทำไมคนขับแท็กซี่และวินมอเตอร์ไซค์จึงกลายมาเป็นแกนนำคนเสื้อแดง"

ตอนหนึ่ง ศ.ดร.ผาสุกกล่าวว่า แม้ว่าจากปี 2493 ถึง 2539 ผลิตภัณฑ์มวลรวม
ภายในประเทศ หรือจีดีพี (GDP) ของไทยจะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยประมาณร้อยละ 7 ต่อปี
ประชาชนมีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน

ตามนิยามของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
หรือสภาพัฒน์ จากเดิมมีสัดส่วนสูงกว่าร้อยละ 40 ขณะนี้เหลือน้อยกว่าร้อยละ 10

แต่ผลของการพัฒนาและความสามารถในการจัดการกับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป
มีความลักลั่นกันมาก การเปลี่ยนจากเศรษฐกิจเกษตรมาเป็นเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
เปลี่ยนสังคมไทยไปอย่างสิ้นเชิง แต่กลับไม่ได้เปลี่ยนโครงสร้างรากฐานที่จะทำให้
ชีวิตมีความมั่นคงขึ้น เหมือนที่เกิดในสังคมของประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น
อีกทั้งไม่มีการปรับเปลี่ยนด้านสถาบันที่จะช่วยลดทอนความลักลั่นต่างๆ

"ขณะที่ข้อมูลของสำนักงานสถิตแห่งชาติเมื่อปี 2550 พบข้อมูลเกี่ยวกับความมั่งคั่ง
ของครัวเรือนไทยครั้งแรก ครอบคลุมการเป็นเจ้าของที่ดิน ทรัพย์สินทาง การเงินอื่นๆ

พบว่าช่องว่างระหว่างกลุ่มคนมั่งมีกับคนมีน้อยที่สุดสูงถึง 69 เท่า"

ข้อมูลจากสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ  (ป.ป.ช.) พบว่า
กลุ่ม ส.ส.และ ส.ว.เป็นกลุ่มคนที่มีการสะสมที่ดินมาก
โดยเฉลี่ย ส.ส.จะถือครองที่ดินคนละ 121 ไร่
ส่วน ส.ว.ถือครองคนละ 133 ไร่ และ
หากแบ่งตามพรรคการเมืองการถือครองที่ดินของ ส.ส.และ ส.ว.เมื่อปี 2553พบว่า

พรรคเพื่อไทย 173 คน รวมที่ดิน 21,079ไร่3งาน34 ตารางวา รวม 4,745.5 ล้านบาท,

พรรคประชาธิปัตย์ 160 คน รวมที่ดิน 15,181 ไร่ 25 ตารางวา รวม 5,829.6 ล้านบาท,

พรรคภูมิใจไทย 31 คน รวมที่ดิน 3,853 ไร่ 2 งาน 35 ตารางวา รวม 733.8 ล้านบาท

พรรคเพื่อแผ่นดิน  แจ้งถือครอง 29 คน 5,323 ไร่ มูลค่ารวม 1,299.4 ล้านบาท,

พรรคชาติไทยพัฒนา 21 คน รวมที่ดิน 2,541 ไร่ 89 ตารางวา รวมมูลค่า 483.6 ล้านบาท,

พรรครวมใจไทยพัฒนา 8 คน รวมที่ดิน 819 ไร่ 3 งาน 33 ตารางวา มูลค่า 681.1 ล้านบาท

พรรคอื่นๆ แจ้งถือครอง 15 คน รวมที่ดิน 4,164 ไร่ 68 ตารางวา มูลค่ารวม 522.9 ล้านบาท

ส.ว. 145 คน รวมที่ดิน 19,311 ไร่ 2 งาน 42 ตารางวา รวมมูลค่า 10,429.4 ล้านบาท

รวม ส.ส.และ ส.ว. ถือครองที่ดินปี 2553 ทั้งหมด 582 คน ที่ดิน 72,274 ไร่ 1 งาน 26 ตารางวา
มูลค่ารวม 24,805.3 ล้านบาท

ซึ่งอาจอธิบายได้ว่าเหตุใดนโยบายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจึงล่าช้า
โดยล่าสุดรัฐบาลชุดนี้ได้ออกมาบอกว่าขอเลื่อนออกไปก่อน.


  gek gek gek
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562

« ตอบ #1 เมื่อ: 03 กุมภาพันธ์ 2554, 09:29:36 »

เห็นด้วยกับผู้วิจัยคะ
เป็นไปได้ยาก การกว้านซื้อที่ดินที่เป็นทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด
ไม่สามารถผลิตขึ้นใหม่
หรือผลิตทดแทนได้
ทำให้มีแต่มีราคา
การกักตุนของคนมีอำนาจ มีข้อมูล และมีเงิน
จึงมีมาเป็นเวลาช้านานแล้ว
การจำกัดการถือครองที่ดิน ที่เลิกไปตั้งแต่๔๐  ปีที่แล้วควรนำมาใช้ใหม่
ควบคู่กับเรืองภาษีที่ดินแบบก้าวหน้า
      บันทึกการเข้า
  หน้า: [1]   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย  พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><