หัวข้อ: โรงเรียนกวดวิชา : ส่งเสริมหรือทำลายระบบการศึกษาไทย (รศ.ประพันธ์พงศ์ เวชชาชีวะ) เริ่มหัวข้อโดย: Samrotri2517 ที่ 20 มกราคม 2554, 07:31:22 โรงเรียนกวดวิชา : ส่งเสริมหรือทำลายระบบการศึกษาไทย (รศ.ประพันธ์พงศ์ เวชชาชีวะ) http://www.naewna.com/news.asp?ID=245505 (http://www.naewna.com/news.asp?ID=245505) จากมติคณะรัฐมนตรี กรณีที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เสนอเกี่ยวกับ การเก็บภาษีและความปลอดภัยโรงเรียนกวดวิชานั้น ในฐานะที่ผู้เขียนมีส่วนเกี่ยวข้องในวงการศึกษามาเป็นเวลากว่า 50 ปี มีความสนใจใน (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/lfap0x-2857fa.jpg) เรื่องธุรกิจโรงเรียนกวดวิชา มาตลอด โดยเฉพาะมีการฟ้องร้องกันเรื่อง ผลประโยชน์อันมหาศาลระหว่างผู้เกี่ยวข้องจนถึงทุกวันนี้ อย่างไรก็ดี การที่คณะรัฐมนตรีหยิบยกเรื่องโรงเรียนกวดวิชาโดยมองเรื่องความปลอดภัย ของสถานที่ก็ดี การเก็บภาษีเข้ารัฐบาลก็ดี เป็นสิ่งที่ควรทำมานานแล้ว ในเรื่องความปลอดภัยของสถานที่นั้น เนื่องจากมีคนจำนวนมากเข้าไปใช้สถานที่ในเวลาเดียวกัน เช่นเดียวกับโรงภาพยนต์ จำเป็นต้องมีมาตรการเกี่ยวกับทางเข้าออกในกรณีฉุกเฉิน ส่วนเรื่องการเก็บภาษีนั้น เนื่องจากธุรกิจนี้อาศัยช่องว่างเรื่องการศึกษา ซึ่งความจริงแล้ว โรงเรียนกวดวิชามีส่วนส่งเสริมการศึกษาบ้าง แต่ถ้ามองให้ลึกลงไปแล้ว อาจกล่าวว่าเป็นการทำลายระบบการศึกษามากกว่า ที่กล่าวเช่นนี้เพราะบรรดานักเรียนนักศึกษา ที่เรียนกวดวิชา ก็เพื่อที่จะเตรียมตัวเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย หรือสถาบันการศึกษาระดับสูง ประโยชน์ที่แท้จริงคือ มีความรู้ที่จะสอบเข้ามากกว่าที่จะได้รับความรู้ที่แท้จริง โรงเรียนกวดวิชาที่มีชื่อมักจะอาศัยครู อาจารย์ ที่มีชื่อเสียงเป็นผู้สอน(ติว)หรือ มีการเก็งข้อสอบเข้าสถาบันต่างๆ รวมทั้งมี การนำข้อสอบเก่าๆมาเฉลย ให้ผู้เข้าเรียนทดลองทำหรือทราบแนวทางในการออกข้อสอบ การออกข้อสอบในแต่ละปีโดยเฉพาะผู้ออกข้อสอบจะมีแนวทางคล้ายๆกันทุกปี การเก็งข้อสอบนี้ มิได้สร้างองค์ความรู้ให้แก่นักเรียน นอกจากสามารถสอบเข้าสถาบันการศึกษาที่ตนต้องการได้ เช่น มีการโฆษณาจำนวนนักเรียนที่ผ่านโรงเรียนกวดวิชาสามารถเข้า มหาวิทยาลัยที่เป็นที่นิยมได้ จำนวนเท่านั้น เท่านี้ และปัจจุบันนี้เนื่องจากความนิยมของบางโรงเรียนมีมาก ทำให้ต้องจัดวิธีการสอนโดย ใช้เทคโนโลยีใหม่ เช่น ชั้นเรียนที่ไม่มีผู้สอน แต่สอนผ่านวิดีโอ ซึ่งทำให้ผู้สอนที่ได้รับความนิยมสอนที่เดียวได้หลายห้องเรียน ระบบการเรียนการสอนแบบกวดวิชานี้สร้างความไม่เป็นธรรมแก่สังคม เพราะแม้รัฐบาล จะพยายามให้มีนโยบายเรียนฟรี แต่ค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองในการให้บุตรหลานเตรียมเข้าเรียน สถาบันชั้นสูง เป็นอุปสรรคที่ทำให้นโยบายสร้างความเป็นธรรมในเรื่องการศึกษาล้มเหลว เพราะผู้ปกครองที่ยากจนหรือมีรายได้น้อย ไม่สามารถให้บุตรหลานเรียนกวดวิชาได้ นอกจากนั้นมีข่าวว่าครูบางคนที่ไปสอนโรงเรียนกวดวิชา เวลาสอนในชั้นเรียนปกติ emo30:sorry: จะแนะนำให้นักเรียนไปเรียนกวดวิชาในสถานที่ที่ตนไปสอนพิเศษ สรุปรวมความว่า การที่มีโรงเรียนกวดวิชานั้นเป็นผลเสียต่อระบบการศึกษาไทยมากกว่าเป็นคุณ ผู้ที่ได้ประโยชน์ได้แก่เจ้าของสถานศึกษาและครูอาจารย์ที่ไปรับจ้างสอนเท่านั้น ฉะนั้นถ้ารัฐบาลมีความสนใจในเรื่องนี้ ควรจะควบคุมและลดบทบาทของธุรกิจนี้ แทนการ แสวงหารายได้จากภาษี แต่ถ้ายังคงให้มีโรงเรียนกวดวิชาอยู่ ก็ต้องเก็บภาษีทั้งจากโรงเรียนและ รายได้จากผู้สอน อย่าให้มีช่องว่างที่หลีกเลี่ยงภาษีได้ (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/lfarea-389766.jpg) รศ.ประพันธ์พงศ์ เวชชาชีวะ วันที่ 20/1/2011 emo26:D emo26:D emo26:D หัวข้อ: Re: โรงเรียนกวดวิชา : ส่งเสริมหรือทำลายระบบการศึกษาไทย (รศ.ประพันธ์พงศ์ เวชชาชีวะ) เริ่มหัวข้อโดย: phraisohn ที่ 20 มกราคม 2554, 09:13:27 โดยส่วนตัวผมว่ามองได้หลายแง่ครับ
ถ้าการเรียนการสอนของไทยยังเป็นอย่างนี้ กวดวิชาก็ำจำเป็นสำหรับหลายๆคน เพราะเราเรียนเพื่อสอบไม่ได้เรียนเพื่อนำไปใช้จริงๆ ความเหลื่อมล้ำมีมาก ยากจะแก้ไขครับ วันก่อน ฟังเค้าบรรยายการศึกษาไทย ประเทศไทยติดอันดับโลกคือ อันดับที่ x ของโลกที่มีนักเรียนต่อห้องมากสุด อันดับที่ x ของโลกที่จำนวนเวลาเรียนเยอะสุด อันดับที่ x ของโลก ที่อาจารย์สอนแก่ที่สุด หัวข้อ: Re: โรงเรียนกวดวิชา : ส่งเสริมหรือทำลายระบบการศึกษาไทย (รศ.ประพันธ์พงศ์ เวชชาชีวะ) เริ่มหัวข้อโดย: เอมอร 2515 ที่ 02 กุมภาพันธ์ 2554, 09:53:52 น้องสนไปได้ข้อมูลมาจากไหนคะ ๒ ข้อหลังน่ะค่ะ
ขอแรกจริงเลย ห้องละ ๕๐ กว่าคนทุกโรงเรียน หลังห้องแทบจะไม่เห้นครูแล้ว ไม่ต่างจากการเรียนจากครูตู้เลย ถึงวันนี้แม้ว่าไม่เห็นด้วยกับระบบกวดวิชา แต่ถ้าเด็กอยากเข้าหมาวิทยาลัย ดีๆ ได้ สอบตรงได้ ก็จำเป็นค่ะ |