Cmadong Chula

เรือนรับแขก เมาท์แหลกไม่เลือกรุ่น => ห้องสุขภาพและความงาม => ข้อความที่เริ่มโดย: Samrotri2517 ที่ 19 ตุลาคม 2553, 20:01:15



หัวข้อ: การเป็น ร.พ.คุณภาพจะป้องกันความผิดพลาดโดยเขียนวิธีดำเนินการเป็นเอกสารอ้างอิงไว้
เริ่มหัวข้อโดย: Samrotri2517 ที่ 19 ตุลาคม 2553, 20:01:15

        สองผัวเมียใจสลาย! ฟ้อง รพ.ดังส่งพยาบาลมือใหม่ทำลูกตาย
                 โดย ทีมข่าวอาชญากรรม   19 ตุลาคม 2553
        http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9530000147289 (http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9530000147289)

                           (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/lajf1t-f6bf7f.jpg)

        นายสุรพงษ์ เหล่าทิพย์รักษ์ และ น.ส.น้องนุช รักษี สองสามีภรรยา ฟ้อง บริษัท โรงพยาบาลราษฎร์บูรณะ น.ส.นิรมล เนินเขา พยาบาลโรงพยาบาลราษฎร์บูรณะ และ น.ส.ทิพาวรรณ แสนเปา ผู้ช่วยพยาบาลโรงพยาบาลราษฎร์บูรณะ คดีละเมิด เรียกค่าเสียหาย 19,000,000 บาท
         
       วันนี้ (19 ต.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น.ที่ศาลแพ่งธนบุรี ถ.เอกชัย นายสุรพงษ์ เหล่าทิพย์รักษ์ และ น.ส.น้องนุช รักษี สองสามีภรรยา ร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้อง

       บริษัท โรงพยาบาลราษฎร์บูรณะ น.ส.นิรมล เนินเขา พยาบาลโรงพยาบาลราษฎร์บูรณะ และ น.ส.ทิพาวรรณ แสนเปา ผู้ช่วยพยาบาลโรงพยาบาลราษฎร์บูรณะ เป็นจำเลยที่ 1-3 เรื่องละเมิด เรียกค่าเสียหาย จำนวน 19,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี
      
       คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 28 พ.ค.53 น.ส.น้องนุช คลอดบุตรชายที่โรงพยาบาลราษฎร์บูรณะ ตั้งชื่อว่า ด.ช.นันทิพัฒน์ เหล่าทิพย์รักษ์ หรือ น้องปลื้ม

        ต่อมาวันที่ 31 พ.ค.53 น้องปลื้ม ถึงแก่ความตาย ขณะพักรักษาตัวอยู่ที่ห้องเด็กแรกเกิด ทั้งที่ขณะคลอดและหลังคลอด น้องปลื้ม มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ดีทุกประการ ไม่มีภาวะผิดปกติแต่อย่างใด

        แต่เป็นเพราะความประมาทเลินเล่อของผู้ช่วยพยาบาล ซึ่งเป็นลูกจ้างของโรงพยาบาล ที่ยังไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพพยาบาล ไม่มีความรู้ ความชำนาญ และประสบการณ์เพียงพอในการดูแลเด็กแรกเกิด เป็นผู้ให้นม และอาบน้ำ น้องปลื้ม ก่อนทิ้งให้อยู่ตามลำพัง จนน้องปลื้มมีอาการผิดปกติ ไม่หายใจ ตัวซีด และเกิดภาวะหายใจล้มเหลว หากจำเลยที่ 2 อยู่ดูแลใกล้ชิด อาจใช้ความสามารถในฐานะพยาบาลวิชาชีพช่วยชีวิต น้องปลื้ม ได้ทัน

        ฉะนั้น ความตายของน้องปลื้ม จึงเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 และ 3 อันเป็นการทำละเมิดในทางการจ้างของจำเลยที่ 1 ที่เป็นนายจ้าง จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 และ 3
      
                         emo26:D emo26:D emo26:D

XXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXX

       แนวทางแก้ปัญหาไม่ให้เกิดผิดพลาดถูกฟ้องร้อง ทำได้โดยทุก ร.พ.ต้องมีป้ายรับรองคุณภาพ

โดย มีองค์กรอิสระภายนอก มาพัฒนา และ ให้ป้ายรับรอง เป็น ร.พ.คุณภาพ องค์กรนั้น คือ  

              สถาบันรับรองคุณภาพ ร.พ.หรือ สรพ.  

สามารถเข้าเวบสถาบันรับรองคุณภาพ ร.พ. หรือ สรพ. ได้ที่

  http://www.ha.or.th/ha2010/th/home/index.php (http://www.ha.or.th/ha2010/th/home/index.php)

(http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l0go1t-68e212.gif)

         เป็น ร.พ.คุณภาพ แล้วป้องกันความผิดพลาดได้อย่างไร

1.มีการเขียนเอกสารการดำเนินการทุกจุด ที่ สรพ.ให้การรับรองคุณภาพอ้างอิงได้  การดำเนินการทุกอย่างจึงต้องเหมือนตามเอกสารอ้างอิงทุกประการ สรพ.จะให้มี กรรมการตรวจสอบภายใน ร.พ.คอยตรวจสอบการดำเนินการต้องเหมือนทุกประการ แล้ว สรพ จะเข้ามาตรวจสอบให้การรับรองซ้ำตามระยะเวลา แม้บุคลากร ที่ทำงานออกไปแล้ว การทำงาน ของ ร.พ.ก็จะยังคงคุณภาพ เหมือนเดิม ตามเอกสารอ้างอิงคุณภาพ ตลอดไปที่มีป้ายรับรองประกาศอยู่

2. ประชาชนมีส่วนร่วมแสดงความเห็นในการมาใช้บริการ โดยเขียนแสดงคุวามคิดเห็น ลงตู้แสดงความคิดเห็นซึงความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ เป็นตัวชี้วัดที่สำคัญตัวหนึ่งของ ร.พ.คุณภาพ จะต้องมีการแก้ไข ถ้ามีข้อร้องเรียนเป็นลายลักษณ์อักษร และ ต้องแจ้งผลให้ผู้ร้องเรียนทราบ ด้วย ซึ่ง สรพ.จะใช้เป็นตัวชี้วัดการเป็น ร.พ.คุณภาพ ด้วย เมื่อประชาชนพอใจ จึงจะคงเป็น ร.พ.คุณภาพมีป้ายรับรองต่อไปได้

3.มีการประชุมประเมินความเสี่ยง Risk Management : RM ทุกจุดใน ร.พ.ต้องมีการประเมินความเสี่ยง หรือ ความผิดพลาด ที่่คาดว่าจะเกิดขึ้น หรือ เกิดขึ้นแล้ว ต้องนำเข้าคณะกรรมการประเมินความเสียง เพื่อประชุม ระดมสมอง ผู้เกี่ยวข้องหาทางแก้ไข ไม่ให้เกิดความเสีี่ยง ความเสี่ยงนี้ มีหลายระดับ ถ้าเสี่ยงต่อชีวิิต จะถือว่าเสี่ยงสูง ต้้องแก้ไขโดยเร่งด่วน เป็นต้น

                   (http://i274.photobucket.com/albums/jj266/kobnokkala/DecoratedCartoon/mananddog.gif)  

4.เพื่อให้เจ้าหน้าที่ ร.พ.มีแนวทางที่แน่นอนในการทำงานโดยมีเอกสารคุณภาพ เป็นเส้นทางให้เดิน  

5. เมื่อมีการฟ้องร้อง ถ้า เจ้าหน้าที่ ร.พ.ทำตามเอกสารคุณภาพทุกประการ จะใช้สู้ในคดีฟ้องร้องได้

เอกสารอ้างอิงคุณภาพ ที่เขียนขึ้นนี้เปรียบเป็นเส้นทางคุณภาพ เป็นเกราะป้องกันความผิดพลาดได้

         ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย ของผู้รับบริการ กระทรวงสาธารณสุข จึงให้ทุก ร.พ.ที่จะรับเป็น ร.พ.
ที่ประชาชนเข้ามารักษาได้ จะต้องเป็น ร.พ.คุณภาพ ที่ได้รับการพัฒนาและรับรองโดย

                       สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพ สรพ.แล้วเท่านั้น

                                            emo4:)) emo4:)) emo4:))