Cmadong Chula

เรือนรับแขก เมาท์แหลกไม่เลือกรุ่น => ห้องวิชาการ ช่วยกันสร้างสรรค์สังคม => ข้อความที่เริ่มโดย: Samrotri2517 ที่ 16 ตุลาคม 2553, 08:41:30



หัวข้อ: ค่าเงินบาท แข็ง หรือ อ่อน มีผลอย่างไร
เริ่มหัวข้อโดย: Samrotri2517 ที่ 16 ตุลาคม 2553, 08:41:30

                                ค่าเงินบาทแข็งดีกว่าอ่อน (บทบรรณาธิการ)
                     ขอขอบคุณเวบแนวหน้า วันเสาร์ 16 ต.ค.2553 ที่เอื้อเฟื้อข่าว
                      http://www.naewna.com/news.asp?ID=232440 (http://www.naewna.com/news.asp?ID=232440)

                           (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/lad0lo-7dd0bf.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/lad0l0-8e9abe.jpg)

         สืบเนื่องจากการที่ประเทศไทยมีกองทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนล่าสุดเมื่อวันที่ 8 ตุลาคมที่ผ่านมาไทยมีเงินสำรองสูงถึง 168.3พันล้านดอลล่าร์อเมริกันซึ่งถือว่าสูงที่สุดในประวัติศาสตร์

        เมื่อมีเงินตราต่างประเทศมากก็ทำให้ค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับดอลล่าร์อเมริกันอยู่ที่อัตรา 29 - 29.50 บาทเท่านั้น เหตุผลที่มีเงินดอลล่าร์มากก็เนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยดีมีอัตราขยายตัวในปีนี้สูงถึงร้อยละ 8 - 9 คาดว่าสิ้นปี 2553 การขยายตัวอาจจะไปถึงร้อยละ 10 ก็คงไม่แปลกอะไรนัก

        ธนาคารต่างประเทศหลายแห่งยกให้ไทยเป็นประเทศที่มีการพัฒนาการเศรษฐกิจที่ก้าวกระโดดมากที่สุดในโลกในกลุ่ม 5 ประเทศคือจีน อินเดีย บราซิล ไทยและอินโดนีเซีย การที่ค่าเงินบาทแข็งถ้าหากนำไปเทียบกับยุคที่ประเทศมีค่าของเงินบาทอ่อน การที่ค่าเงินบาทแข็งย่อมมีผลดีมากกว่าผลเสีย

        นอกจากนั้นยังเป็นการแสดงให้ทั่วโลกเห็นว่าฝีมือในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของคณะรัฐบาลที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเป็นนายกรัฐมนตรีนั้นอยู่ในขั้นที่ดี ถ้าหากจะสรรเสริญเยินยอก็ต้องบอกว่ามีฝีมือในขั้นเทพเสียด้วยซ้ำ ไม่เสียแรงที่เรามีผู้นำและรัฐมนตรีว่าการคลังที่จบมหาบัณฑิตทางด้านเศรษฐศาสตร์มาทั้งคู่

        ส่วนมาตรการแก้ไขปัญหาค่าเงินบาทแข็งนั้นมีท่านผู้รู้หลายคนเสนอให้รัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทยแก้ปัญหาหลายวิธีเช่นใช้มาตรการตั้งอัตราแลกเปลี่ยนเงินแบบตรึงค่าคงที่หรือฟิกซ์เรตแบบโบราณเป็นมาตรการชั่วคราว ซึ่งวิธีนี้มาเลเซียเคยใช้ได้ผลมาแล้วเมื่อ10ปีก่อน

        แต่วิธีนี้ก็อาจจะทำให้มีนายทุนหัวใสจ้องโจมตีค่าเงินหากำไรเวลาค่าเงินบาทอ่อนซึ่งอาจจะทำให้มีมหาเศรษฐีบางคนร่ำรวยมหาศาลง่ายๆเหมือนเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธเมื่อปี 2540

        อย่างไรก็ตามขณะนี้ประเทศของเรามีการเกินดุลบัญชีเงินสะพัดมากเพราะมีรายรับจากการส่งสินค้าออกมากกว่าสินค้าเข้าปีหนึ่งๆเป็นจำนวนหลายพันล้านดอลล่าร์และมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาปีละ 15 - 16 ล้านคน

         นอกจากนี้ยังมีเงินบำนาญไหลเข้ามาจากต่างประเทศปีหนึ่งๆเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีคนสูงอายุในวัยเกษียณเกิน 60 ปีเข้ามาพำนักในประเทศในรูปแบบพักอยู่ในระยะยาวหรือลองสเตย์ปีหนึ่งๆเป็นแสนๆคน

        การแก้ไขอีกวิธีหนึ่งที่รัฐบาลจะทำได้ก็คือการใช้เงินตราต่างประเทศที่มีอยู่ไปซื้อสินค้าทุนเข้ามาพัฒนาประเทศเช่น การก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนในเมืองใหญ่ การสร้างระบบรถไฟรางคู่และการให้เอกชนไทยไปลงทุนผลิตสินค้าอุตสาหกรรมโครงการใหญ่ๆในต่างประเทศ เป็นต้น

         ซึ่งไม่ว่าจะแก้ไขด้วยวิธีใดก็ตามขอให้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความซื่อสัตย์สุจริตโดยให้ประเทศได้รับผลประโยชน์อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยคงไม่มีใครมาตำหนิรัฐบาลได้เพราะอย่างไรเสียค่าเงินบาทแข็งย่อมดีกว่าค่าเงินบาทอ่อนอย่างแน่นอน

                               วันที่ 16/10/2010

                            emo28:win: emo28:win: emo28:win:


หัวข้อ: Re: ค่าเงินบาท แข็ง หรือ อ่อน มีผลอย่างไร
เริ่มหัวข้อโดย: Samrotri2517 ที่ 16 ตุลาคม 2553, 09:58:32

                              เงินบาทแข็งค่า ทำไมน้ำมันไม่ลดราคา ?
                       วันอังคารที่ 12 ตุลาคม 2010 กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ   

                                  (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/lad46v-fa97b5.jpg)                     

                            คอลัมนิสต์ผู้ทรงคุณวุฒิ    - มนูญ ศิริวรรณ  
                        http://www.thannews.th.com/index.php?option=com_content&view=article&id=44056:2010-10-12-05-43-57&catid=187:2009-09-02-02-45-23&Itemid=540 (http://www.thannews.th.com/index.php?option=com_content&view=article&id=44056:2010-10-12-05-43-57&catid=187:2009-09-02-02-45-23&Itemid=540)

         ระยะนี้ผมได้รับคำถามแบบนี้เป็นประจำ ทั้งจากคนที่รู้จักคุ้นเคยเวลาพบปะกัน หรือแม้กระทั่งมีคนส่ง SMS มาถาม หรือโทรศัพท์มาถามเวลาผมไปจัดรายการตามสถานีวิทยุต่างๆ จนผมรู้สึกได้ว่าคนทั่วไปไม่เข้าใจจริงๆ ว่าราคาน้ำมันขายปลีกบ้านเราได้สะท้อนเอาอัตราแลกเปลี่ยนเข้าไปคิดแล้วหรือยัง เวลาตั้งเป็นราคาขายหน้าสถานีบริการ วันนี้จึงขออธิบายเรื่องนี้ให้เห็นภาพว่า กลไกในการตั้งราคาขายปลีกน้ำมันในบ้านเราได้สะท้อนเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเอาไว้แล้วหรือยัง

         ก่อนอื่นขอเรียนในหลักการว่า การตั้งราคาขายปลีกหน้าสถานีบริการน้ำมันในบ้านเรานั้นอ้างอิงราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นน้ำมันในประเทศที่มีการประกาศเปลี่ยนแปลงทุกวันตามราคาน้ำมันที่ประกาศในตลาดสิงคโปร์ หรือที่เรียกว่า Singapore Posting ดังนั้นราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นในประเทศไทยจึงเปลี่ยนแปลงทุกวันขึ้นอยู่กับปัจจัยสองประการคือ

1.ราคาน้ำมันที่ประกาศในแต่ละวันในตลาดสิงคโปร์ (Singapore Mercantile Exchange - SIMEX) โดยประกาศเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล

2. อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทและเงินเหรียญสหรัฐฯในแต่ละวัน ซึ่งมีการขึ้นลงตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย

        ราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นน้ำมันของไทยที่ประกาศทุกวันจึงมีการสะท้อนเอาค่าเงินบาทที่เปลี่ยนแปลงเข้าไปอยู่ในการตั้งราคาหน้าโรงกลั่นเรียบร้อยแล้ว เมื่อบริษัทน้ำมันซื้อน้ำมันจากโรงกลั่นน้ำมันเอาไปขายที่สถานีบริการ ราคาน้ำมันที่สถานีบริการจึงเป็นราคาที่สะท้อนต้นทุนที่ตอบสนองต่อเงินบาทที่แข็งค่าหรืออ่อนค่าเรียบร้อยแล้วเช่นกัน

        ดังนั้นขอให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่า สูตรการตั้งราคาน้ำมันในบ้านเราได้มีการนำเอาเรื่องค่าเงินบาทหรืออัตราแลกเปลี่ยนมาสะท้อนอยู่ในต้นทุนเรียบร้อยแล้ว และปัจจุบันมีหน่วยงานต่างๆ ทั้งของรัฐบาล สื่อมวลชน นักวิชาการอิสระ และองค์กรเอกชน คอยเฝ้าระวังจับตาดูทุกฝีก้าว ผู้ประกอบการและผู้ค้าน้ำมันไม่กล้าหากำไรง่ายๆ แบบหญ้าปากคอกแบบนี้หรอกครับ ได้ไม่คุ้มเสีย เสียเวลาทำมาหากินเปล่าๆ เชื่อผมเถอะ!!!

                          emo28:win: emo28:win: emo28:win: