Cmadong Chula

เรือนรับแขก เมาท์แหลกไม่เลือกรุ่น => ห้องสุขภาพและความงาม => ข้อความที่เริ่มโดย: Samrotri2517 ที่ 15 ตุลาคม 2553, 15:52:12



หัวข้อ: "หมอขาดแคลน" สธ.ชง ครม.ต่ออายุราชการแก้ปัญหา
เริ่มหัวข้อโดย: Samrotri2517 ที่ 15 ตุลาคม 2553, 15:52:12

                     ‘หมอขาดแคลน’ สธ.ชงครม.ต่ออายุราชการแก้ปัญหา
                      http://news.soizaa.com/2010/10/3731 (http://news.soizaa.com/2010/10/3731)

                 (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/labqbv-8467bd.jpg)

        15 ต.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานจากทำเนียบรัฐบาลว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 19 ต.ค.นี้ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เตรียมเสนอให้ครม.พิจารณาเรื่องการต่ออายุราชการ โดยเสนอขออนุมัติดังนี้

1. อนุมัติการขอกำหนดตำแหน่งนายแพทย์ระดับเชี่ยวชาญและระดับทรงคุณวุฒิ ตั้งใหม่ 92 ตำแหน่ง (เท่ากับจำนวนผู้เกษียณอายุ 3 ปี) ไว้ที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สำหรับทดแทนเพื่อจะได้ใช้ตำแหน่งแต่งตั้งข้าราชการที่ยังอยู่ในราชการ หรือรับโอน หรือบรรจุแต่งตั้ง ซึ่งจะขอกำหนดไว้สำหรับบริหารจัดการในช่วงเวลาขาดแคลนในระยะเวลา 3 ปีเท่านั้นก่อน

2. อนุมัติการขอต่อเวลาราชการตำแหน่งนายแพทย์ระดับชำนาญการพิเศษลงมา ที่จะเกษียณอายุในปีงบประมาณ 2553-55 จำนวน 58 ราย เป็นกรณีพิเศษ เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ โดยขอกำหนดตำแหน่งใหม่ระดับชำนาญการพิเศษอีกจำนวน 58 ตำแหน่ง (เท่ากับจำนวนผู้เกษียณอายุระดับชำนาญการพิเศษลงมา) ไว้เพื่อรองรับข้าราชการดังกล่าว ซึ่งการขอยกเว้นในกรณีนี้จะขอยกเว้นในช่วงเวลา 3 ปีต่อจากนี้เท่านั้น

         ทั้งนี้ การขอกำหนดตำแหน่งเพิ่มใหม่จะขอให้กำหนดไว้ที่ราชการบริหารส่วนกลาง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อจะได้กระจายไปในส่วนภูมิภาคตามความจำเป็นต่อไป กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) รายงานว่า

         เดิม สธ.พิจารณาหลักเกณฑ์การต่อเวลาราชการที่กำหนดไว้ในกฎก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ รับราชการ ต่อไป พ.ศ. 2552 แล้วเห็นว่าไม่สอดคล้องกับบริบทและภาระงานของสธ. โดยเฉพาะในส่วนของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) ซึ่งมีหน้าที่หลักในการให้บริการด้านการรักษาพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสุขภาพให้กับประชาชนโดยเฉพาะการดำเนินการตามนโยบายหลักประกันสุขภาพ มีผลให้ภาระงานของสป.สธ. เพิ่มมากขึ้นอย่างยิ่งยวด

         จึงมีหนังสือถึงสำนักงานก.พ.ให้พิจารณาอนุมัติการขอต่อเวลาราชการกับข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ระดับชำนาญการพิเศษลงมา ซึ่งการขอต่อเวลาราชการดังกล่าวไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ก.พ.กำหนด และต่อมาสำนักงาน ก.พ.แจ้งให้สธ.ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎก.พ.ฯเท่านั้น

         อย่างไรก็ตาม สธ.ประสบปัญหาการขาดแคลนแพทย์ในทุกสาขาเป็นจำนวนมากที่ทำหน้าที่ในการรักษาผู้ป่วย ซึ่งจำเป็นต้องคงตำแหน่งแพทย์ที่เกษียณอายุไว้ทุกตำแหน่ง ให้สามารถต่อเวลาราชการได้ รวมทั้งเห็นว่าหลักเกณฑ์การต่อเวลาราชการที่ ก.พ.กำหนด ไม่สอดคล้องกับบริบทและภาระงานของสธ. โดยเฉพาะในส่วนของสป.สธ. การต่อเวลาราชการตามกฎก.พ.ฯ กำหนดให้ใช้ตำแหน่งเดิมต่อเวลาราชการ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสป.สธ. แทนที่จะสามารถใช้ตำแหน่งว่างของผู้เกษียณอายุไปสรรหาแพทย์จากหน่วยงานอื่น รับโอน บรรจุแต่งตั้ง ฯลฯ เข้ามาเพิ่มเติมในระบบ ทำให้ไม่สามารถกระทำได้ จึงเห็นควรอนุมัติให้ก.พ.กำหนดตำแหน่งเพิ่มใหม่ ตั้งไว้ในราชการบริหารส่วนกลาง เพื่อรองรับการต่อเวลาราชการของผู้เกษียณอายุ ดังกล่าว (ในช่วงระยะเวลาที่ยังอยู่ในภาวะขาดแคลนอย่างรุนแรงนี้)

        สธ.ระบุว่า ความต้องการด้านกำลังคนในส่วนของสป.สธ. โดยเฉพาะสายงานแพทย์ พบว่ากรอบความต้องการแพทย์ จำนวน 20,693 ตำแหน่ง มีจริงจำนวน 10,860 ตำแหน่ง ขาดแคลนแพทย์ จำนวน 9,833 ตำแหน่ง

        ดังนั้นเพื่อให้ประชาชนเข้าสู่ระบบบริการสุขภาพได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องคงตำแหน่งนายแพทย์ประเภทวิชาการทุกตำแหน่งที่จะเกษียณอายุ ให้ต่อเวลาราชการเพื่อแก้ปัญหาความขาดแคลนแพทย์ในระบบ แต่กฎ ก.พ.ฯดังกล่าวให้ต่อเวลาราชการได้เฉพาะระดับเชี่ยวชาญขึ้นไป ส่งผลให้แพทย์ระดับชำนาญการพิเศษลงมา ไม่สามารถต่อเวลาราชการได้

                             emo7:(: emo7:(: emo7:(:

       )))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))

        ผมขอเรียนขออนุญาต แก้ปัญหาขาดแคลนแพทย์ที่ง่ายกว่าการกำหนดตำแหน่งเพิ่มด้วยการ
 
          จัดระบบ ร.พ.ให้เป็นรูปเครือข่าย 3 ระดับ แล้ว ใช้แพทย์ให้เหมาะสมกับงาน คือ

                         (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/labqhi-07555f.jpg)

          รูป ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล หรือ สถานีอนามัยเดิม ที่ประชาชนเข้าถึงง่ายใกล้บ้าน

ระดับ 1 ได้แก่ ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล กับ ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพอำเภอ ใช้แพทย์คนเดียวกันเพื่อดู
คนไข้นอก ที่ ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล และ เมื่อป่วยต้องนอน ร.พ.ส่วนมากจะไม่เกินความสามารถ
แพทย์ทั่วไป ส่งมานอน ร.พ.อำเภอ เพื่อแพทย์ที่ดูที่ ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบลนั้นดูเองต่อ

        มีระบบเครือข่าย แม่ข่ายอยู่ใน ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพอำเภอ มี ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล
ในอำเภอนั้นเป็นลูกข่าย เป็นสมาชิก

                (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/labt50-65988b.jpg)

        มีกระทรวงเทคโนโลยี่และสารสนเทศและการสื่อสาร มาดำเนินการจัดให้มีขึ้นให้ทุกอำเภอ
มีแพทย์ทั่วไปนั่งอยู่ที่ ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพอำเภอ ล็อคอินเครือข่าย เข้าไปใน รพสต. ที่ แพทย์
ท่านนั้นรับผิดชอบอยู่ เข้าไปรักษาในเวลาราชการช่วงเช้า นอกเวลาแพทย์ออกตรวจ พยาบาลเวชฯ
สามารถให้การดูแลได้ มีปัญหาสามารถโทรฯปรึกษาแพทย์ ขอคำแนะนำได้

        มี สถานีอนามัย ที่จะยกฐานะเป็น ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล  9000 กว่าแห่งในประเทศ
ในปี 2553 ใช้แพทย์จบใหม่ มาทำงานด่านแรก ปีหนึ่งมีแพทย์จบใหม่ 2500 คน แล้วให้แพทย์
เฉพาะทางที่ไม่สามารถตั้งแผนกตรวจเฉพาะทางที่ ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพอำเภอได้ เพราะคนไข้
ไม่มากพอ กลับไปอยู่ที่ด่านสอง ในแผนกเฉพาะทาง ของ ร.พ.จังหวัด พร้อมนำเครืองมือราคา
แพงที่ใช้เพียงคนเดียว ที่ ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพอำเภอกลับไป ให้ใช้ร่วมกันกับแพทย์เฉพาะทาง
ในแผนกจะได้ประโยชน์กว่า

        แพทย์ทั่วไป เรียน 6 ปี ปีหนึ่งมีแพทย์จบใหม่่ปีละ 2,500 คน ได้ปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิต
ผ่านการเรียนการสอบ มาทุกแผนก สามารถเป็น แพทย์ด่านแรกนี้สามารถรักษาคนไข้ได้ 90% ไป
ตรวจทางเครือข่าย ทุกเช้าวันราชการร่วมกับมีพยาบาลเวชปฏิบัติที่อยู่ประจำ ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพ
ตำบล 2 คนเพื่ออยู่ประจำและอยู่เวรนอกเวลาได้ คนไข้ 5 ใน 10 คน พยาบาลฯสามารถรักษาได้

         ถ้าเกินความสามารถมีแพทย์ ประจำ ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบลเป็นที่ปรึกษา  ถ้าต้องส่งต่อมี
ระบบการแพทย์ฉุกเฉินไปรับส่งต่อหลังปฐมพยาบาลได้ปลอดภัยแล้ว

ระดับ 2 ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพประจำจังหวัด รพสจ. มีการแบ่งแผนก เพื่อรับส่งต่อคนไข้เฉพาะทาง
ที่ส่งมาจากด่านแรก แต่ละอำเภอ ที่มีน้อยไม่พอตั้งแผนกในอำเภอ มารวมรักษาที่ ด่านสองแทน

        มีแพทย์เฉพาะทาง ที่ไปเรียนต่อ อีก 3 ปี เป็น 9 ปีทำให้แพทย์ขาดแคลน การจัดเป็นรูปเครือข่าย
ให้ถูกต้อง รพสจ. จะได้ แพทย์เฉพาะทาง จาก ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพอำเภอ มาอยู่ เพิ่มขึ้นทันที
 
         แพทย์ทั่วไป ใน ร.พ.จังหวัด ด่านสองก็ต้องมี เป็น ด่านแรก เพื่อตรวจคัดกรองคนไข้ที่เข้ามา
รักษา ซึ่ง 90 % จะรักษาได้  ถ้าเกินความสามารถ ก็ส่งต่อแผนกเฉพาะทางใน ร.พ.จังหวัดเอง

       ถ้าเกินความสามารถ หรือ ต้องใช้เครื่องมือราคาแพง ที่ควรรวมคนไข้ไปใช้ร่วมกันเนื่องจากมี
ส่วนน้อยไม่คุ้มกับการไปเปิดบริการในแต่ละจังหวัด ควรมาอยู่ใน ด่านสาม รวมคนไข้ให้มากพอ    

ระดับ 3 ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพระดับ ร.พ.ศูนย์ ดูแลหลายจังหวัด รับส่งต่อคนไข้ที่มีส่วนน้อย
ที่เป็นโรคยาก ๆ ที่มีไม่มากพอตั้ง ขึ้นใน ร.พ.จังหวัด มาไว้ที่ ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพ ระดับศูนย์
เพื่อใช้เครื่องมือ ราคาแพงร่วมกัน

      การดูแลรูปเครือข่าย จะทำให้ใช้ทรัพยากร บุคคล และ เครื่องมือ ได้คุ้มค่า ทำให้ประชาชน
ได้รับความสะดวกในการเข้าถึงบริการ มีบริการตรวจคนไข้นอก ที่ ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพตำบล
หรือ สถานีอนามัยเดิม เมื่อป่วยจะได้เข้าถึงบริการที่มีคุณภาพทันที

      จะเป็นการแก้ปัญหาการขาดแคลนได้ตรงจุดกว่าการไปเพิ่มตำแหน่ง แต่ใช้จัดระบบเีครือข่าย
ให้ถูกต้อง ดูแลสุขภาพได้ในราคาถูกตามแนวทางสาธารณสุขมูลฐาน ขององค์การอนามัยโลก  
            http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,3394.0.html (http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,3394.0.html)  
 
                         emo28:win: emo28:win: emo28:win:


หัวข้อ: Re: "หมอขาดแคลน" สธ.ชง ครม.ต่ออายุราชการแก้ปัญหา
เริ่มหัวข้อโดย: too_ploenpit ที่ 16 ตุลาคม 2553, 15:10:41
...น้องหมอสำเริงคะ...
...หมอประสิทธิ์ยังว่างอยู่ค่ะ...
...แปลกใจจริงๆเลย...แล้วทำไม(กระทรวง สธ.)บอกว่าหมอขาดแคลน...


หัวข้อ: นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สั่งระงับ BOI ลงทุนธุรกิจโรงพยาบาล
เริ่มหัวข้อโดย: Samrotri2517 ที่ 31 ธันวาคม 2553, 11:24:42

               โดยเวบไทยโพสต์ การศึกษา-สาธารณสุข วันเสาร์ 25 ธันวาคม 2553
                         http://www.thaipost.net/news/251210/32016 (http://www.thaipost.net/news/251210/32016)

                                    (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/le9ycw-f3c6bf.jpg)

         เมดิคัลฮับเก้อ! นายกฯ สั่งบีโอไอระงับส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมสุขภาพของบีโอไอ ชี้ขัดต่อรัฐธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ หมอวิชัยชี้ 10 ปีผ่านมาเอกชนช่วยตัวเองได้ดีไม่จำเป็นต้องให้สิทธิประโยชน์

             (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/le9yoj-40aa76.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/le9ypk-fb23e7.jpg)

         นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม ที่ทำเนียบรัฐบาลมีการประชุม คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.)ได้รับทราบกรณีที่

        คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) มีมติเสนอให้มีการขยายการส่งเสริมการลงทุนในกิจการ รพ.จากเดิม 50 เตียง เป็น 30 เตียง และเพิ่มประเภทกิจการที่จะส่งเสริมอีก 4 กิจการ อาทิ เวชศาสตร์ฟื้นฟู ศูนย์การแพทย์เฉพาะทาง ศูนย์บริการเทคโนโลยีทางการแพทย์ กิจการโลจิสติกส์เพื่อการรักษาพยาบาล การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตั้งแต่ 5-8 ปี อัตรา 100% ของมูลค่าการลงทุน ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรตลอดอายุโครงการ หน่วยงานรัฐต้องอำนวยความสะดวกให้

        แต่เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการ คสช. ได้วิเคราะห์นโยบายการส่งเสริมการลงทุนพบว่า

        นโยบายดังกล่าวไม่สอดคล้องกับธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2552 ขณะเดียวกันมีองค์กรด้านสุขภาพ 22 องค์กร อาทิ เครือข่ายผู้ติดเชื้อ HIV/AIDS ประเทศไทย เครือข่ายเพื่อนมะเร็ง สหพันธ์องค์กรผู้บริโภค มูลนิธิแพทย์ชนบท เป็นต้น ได้มีหนังสือทักท้วงเมื่อวันที่ 7 ธ.ค.ที่ผ่านมา เพื่อให้นายกรัฐมนตรีทบทวนมติของบีโอไอด้วย

        หลังจากที่ประชุมได้มีการอภิปรายเรื่องนี้อย่างกว้างขวาง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในฐานะประธาน คสช.

         สั่งให้ระงับมติของบีโอไอ และมอบให้ สช.ในฐานะฝ่ายเลขานุการจัดการหารือเพื่อทำความชัดเจนในการส่งเสริมการลงทุนของบีโอไอ

        "ผมคิดว่าบีโอไอคงไม่ทราบข้อความที่กำหนดอยู่ในธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ และขณะนี้มติดังกล่าวยังไม่ได้ประกาศออกไป จึงสั่งให้ระงับไว้ก่อน" นายอภิสิทธิ์กล่าว

        ก่อนหน้านี้ ดร.อัมมาร์ สยามวาลา นักวิชาการอาวุโสแห่งสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เคยทักท้วงว่า

        นโนบายเมดิคัลฮับหรือการให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ในภูมิภาคซึ่งได้รับบีโอไอ จะส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงระบบสาธารณสุขของคนไทย เกิดภาวะสมองไหลจาก รพ.รัฐไป รพ.เอกชน และนโยบายเมดิคัลฮับนี้เอื้อประโยชน์แต่เฉพาะธุรกิจเอกชนและต่างชาติเท่านั้น

        ด้านนายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน กรรมการ สช.กล่าวว่า

        การบริการสาธารณสุขไม่ใช่สินค้าทั่วไปที่ภาคธุรกิจสามารถแสวงหากำไรสูงสุด เพราะระบบสุขภาพเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน ต้องเป็นระบบที่ส่งเสริมคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เป็นส่วนหนึ่งของระบบความมั่นคงของประเทศ การส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมสุขภาพจึงจำเป็นต้องมีการศึกษาผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อระบบบริการสาธารณสุขของประชาชนไทยก่อน โดยเฉพาะในสภาวการณ์ที่ยังมีความไม่เป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของประชาชน มีความจำกัดของทรัพยากรและบุคลากร

         อีกทั้งในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา ภาคเอกชนมีศักยภาพสูงในการพัฒนาธุรกิจสุขภาพด้วยตนเอง จึงไม่มีความจำเป็นที่รัฐจะต้องให้การสนับสนุนอีก.

                      emo28:win: emo28:win: emo28:win: