หัวข้อ: เตรียมรับมือผู้สูงอายุล้นเมืองในอนาคต เริ่มหัวข้อโดย: Samrotri2517 ที่ 15 ตุลาคม 2553, 12:37:06 ปี 2568 เตรียมรับมือผู้สูงอายุล้นเมือง เปิดแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับท้องถิ่น (สกู๊ปแนวหน้า) http://www.naewna.com/news.asp?ID=232303 (http://www.naewna.com/news.asp?ID=232303) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/labl78-1b94dd.jpg) วิวัฒนาการของเทคโนโลยีด้านการแพทย์และสาธารณสุข ทำให้คนไทยมีอายุยืนยาวขึ้น จำนวนผู้สูงอายุก็เพิ่มมากขึ้น อีกไม่นานสังคมไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุเต็มตัว ดังที่สำนักงานสถิติแห่งชาติประมาณการว่า ในปี 2568 หรืออีก 15 ปีข้างหน้า ไทยจะมีจำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันที่ 7.6 ล้านคน เป็น 14.5 ล้านคน emo26:D emo26:D emo26:D XXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXX (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/labh3o-6e0d9e.jpg) การสาธารณสุขมุลฐาน จะเป็นกลไกในการแก้ปัญหา ผู้สูงอายุในอนาคตได้ ด้วยสุขภาพดีในราคาถูก ที่มี 4 ตัวชี้วัด คือ 1.การที่ประชาชนต้องได้รับสิ่งจำเป็นพื้นฐานในชีวิตถ้วนหน้าทุกคน 2.การที่ประชาชนร่วมรับผิดชอบต่อการมีสุขภาพดีด้วย 3.การที่ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพได้อย่างสะดวกสบายใกล้บ้าน 4.การที่สถานพยาบาลทุกแห่งต้องเป็นสถานพยาบาลคุณภาพ มีป้ายรับรองคุณภาพทุกแห่ง ส่วนรายการซีมะโด่งเสวนา ครั้งที่ 3 ในวันพุธที่ 17 พฤศจิกายน 2553 จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ การสาธารณสุขมูลฐาน แขกปราศัยรับเชิญ คือ น.พ.สำเริง ไตรติลานันท์ แพทย์ศาสตร์ RCU 17 http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,6694.msg423621.html#new (http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,6694.msg423621.html#new) เชิญชวนพวกเราที่สนใจ และ อยากซักถาม ปัญหา เข้าร่วมฟังการบรรยายได้ โดยสามารถ อ่านกระทู้ ล่วงหน้าก่อนฟัง จะได้เข้าใจ และ เตรียมคำถามที่สงสัยมาล่วงหน้า พบกันวันนั้นครับ การสาธารณสุขมูลฐาน ที่กระทู้ http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,3394.0.html (http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,3394.0.html) emo28:win: emo28:win: emo28:win: หัวข้อ: Re: เตรียมรับมือผู้สูงอายุล้นเมืองในอนาคต เริ่มหัวข้อโดย: Samrotri2517 ที่ 21 ตุลาคม 2553, 15:42:40 สธ.เร่งพัฒนาพยาบาล ดูแลผู้สูงอายุ พิการ ป่วยเรื้อรัง โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 21 ตุลาคม 2553 http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9530000148431 (http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9530000148431) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/lamtad-5c09a4.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/lamtas-2df21d.jpg) สธ.เผยมีพยาบาลประจำสถานพยาบาลทุกระดับ 90,000 คน เร่งพัฒนามาตรฐานพยาบาลในปี 2554 จัดโครงการพัฒนาพยาบาลประจำ รพ.สต. เพื่อเดินหน้างานสร้างสุขภาพ การดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ประมาณ 8 ล้านคนถึงบ้าน ลดอาการป่วยแทรกซ้อน ไม่ต้องไปโรงพยาบาล วันนี้ (21 ต.ค.) ดร.พรรณสิริ กุลนาถศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังเป็นประธานในพิธีวางพานพุ่ม ถวายราชสักการะสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ณ พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์ อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี กระทรวงสาธารณสุข เนื่องในวันพยาบาลแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ.2553 ว่า วันนี้เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีความสำคัญยิ่งต่อวิชาชีพการพยาบาล ในฐานะที่พระองค์ท่านทรงสำเร็จการศึกษาวิชาการพยาบาล และตลอดพระชนม์ชีพทรงปฏิบัติพระราชภารกิจในการพัฒนาสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตของประชาชนเปี่ยมล้นด้วยพระเมตตา วิริยะอุตสาหะ นำสิริสุขแก่ปวงชนทุกก้าวพระบาทที่เสด็จไปถึงแม้ในถิ่นทุรกันดาร กระทรวงสาธารณสุข สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านที่ทรงมีต่อวิชาชีพพยาบาล ดร.พรรณสิริกล่าวว่า ในปี 2554 นี้ สธ.มีโครงการพัฒนาพยาบาลใน 2 เรื่องใหญ่ คือ เรื่องที่ 1 คือ การพัฒนามาตรฐานพยาบาลของพยาบาลประจำ รพ.สต. ซึ่งขณะนี้มี 2,000 แห่ง จะเพิ่มในปี 2554 อีก 7,000 แห่ง ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำมาตรฐานโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จะเน้นหนักการทำงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันการเจ็บป่วยของประชาชน ให้ประชาชนดูแลสุขภาพตนเองได้ โดยจะจัดอบรมให้ครอบคลุมพยาบาลทั่วประเทศต่อไป เรื่องที่ 2 คือ การจัดมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุ และผู้พิการ ที่บ้าน หรือที่เรียกว่า โฮมวอร์ด (Home Ward) เนื่องจาก 3 กลุ่มนี้ในประเทศไทยมีประมาณ 8 ล้านคนและแนวโน้มเพิ่มขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อน เช่น แผลกดทับ ปอดติดเชื้อไม่ให้ทะลักเข้าโรงพยาบาลใหญ่ ลดอัตราการเสียชีวิต ซึ่งขณะนี้มีใช้ในหลายประเทศทั่วโลก ถือว่าเป็นมาตรการเชิงรุกที่มีประสิทธิภาพ เป็นที่พึ่งของครอบครัวที่ประสบปัญหาเป็นอย่างดี ดร.พรรณสิริกล่าวต่อว่า ขณะนี้ทั่วประเทศมีพยาบาลและผดุงครรภ์ ทั้งระดับต้นและระดับวิชาชีพ ที่ขึ้นทะเบียนใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ กับสภาพยาบาล ในปี 2553 จำนวน 162,620 คน ในจำนวนนี้ ปฏิบัติงานในสถานพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศประมาณ 90,000 คน ซึ่งยังขาดแคลนอีก 30,000 คน ได้เพิ่มกำลังผลิตทุกปี อย่างไรก็ตาม การบรรจุพยาบาลจบใหม่เข้าเป็นข้าราชการมีขีดจำกัด ทำให้ส่วนหนึ่งไหลออกไปสู่ภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง กระทรวงสาธารณสุขจะเร่งประสานงานกับสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ขออัตรากำลังเพิ่ม เพื่อบรรเทาภาระของพยาบาลที่มีในปัจจุบัน โดยขณะนี้พยาบาล 1 คนต้องดูแลประชากร 900 คน ขณะที่ตามมาตรฐานโลกกำหนดให้พยาบาล 1 คน ดูแล 500 คน อีกทั้งพยาบาลบางภูมิภาคยังมีภาระงานสูงกว่าภูมิภาคอื่น เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือดูแลประชากร 1 ต่อ 1,400-1,500 คน กทม. 1 ต่อ 400 คน emo26:D emo26:D emo26:D หัวข้อ: กุศโลบาย ในการรับมือกับ ภาระค่าใช้จ่าย ที่จะต้องให้กับ ผู้สูงอายุ เริ่มหัวข้อโดย: Samrotri2517 ที่ 23 มกราคม 2554, 13:46:19 การประกันชีวิตแบบบำนาญ โดยเวบฐานเศรษฐกิจออนไลน์ วันพุธ ที่ 15 ธ.ค.2553 http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=50365:2010-12-15-03-18-34&catid=206:2010-06-21-06-14-52&Itemid=578 (http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=50365:2010-12-15-03-18-34&catid=206:2010-06-21-06-14-52&Itemid=578) คอลัมนิสต์ผู้ทรงคุณวุฒิ - สาธิต รังคสิริ เขียนโดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ ท่านผู้อ่านครับ หากท่านติดตามข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจท่านจะทราบว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้อนุมัติ ให้บริษัทประกันภัยออกผลิตภัณฑ์ประเภทใหม่ที่เรียกว่า "ประกันชีวิตแบบบำนาญ" (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/lfgqqb-9ea4c4.jpg) ผู้สูงอายุ ที่จะเป็นภาระค่าใช้จ่ายในอนาคตของรัฐ มาเป็นทางเลือกเพิ่มเติม สำหรับผู้ซื้อประกันที่ต้องการผลตอบแทนมาใช้เมื่อตนเองชราภาพ ซึ่งต่อมากระทรวงการคลังโดยกรมสรรพากร ได้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้สิทธิประโยชน์ ทางภาษีเพิ่มเติมแก่ประกันชีวิตดังกล่าวนี้ โดยได้มีมติเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2553 เห็นชอบ หลักการของมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการออมในรูปแบบของการประกันชีวิตแบบบำนาญไปแล้ว ดังนั้น วันนี้ผมจะขอกล่าวรายละเอียดในเรื่องนี้ครับ ทุกวันนี้หากท่านซื้อประกันชีวิต ท่านสามารถนำมาหักเป็นค่าลดหย่อนทางภาษี ได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี โดยต้องเป็นกรมธรรม์ที่มีกำหนดเวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี และ ต้องซื้อจากบริษัทที่ประกอบกิจการในประเทศไทยเท่านั้น สำหรับประกันชีวิตแบบบำนาญ (Annuity Life Insurance) นั้น จะมีลักษณะแตกต่าง ที่มุ่งเน้น การออมเงินในขณะที่ผู้ออมกำลังอยู่ในวัยทำงานและมีรายได้ ทั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บออมไว้เป็นรายได้ในยามชราภาพหรือเกษียณอายุ ดังนั้น จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการมีรายได้ภายหลังเกษียณอายุ หรือ ผู้ที่ต้องการสร้าง เงินบำนาญไว้เพื่อใช้จ่ายในยามชรา อนึ่ง การกำหนดวงเงินประกันนั้น มี 2 แบบ ได้แก่ แบบ 1.DC (Define Contribution) คือ เก็บออมเท่าไหร่ ทั้งหมดถือเป็นเงินบำเหน็จที่ได้หลังเกษียณ 2.DB (Define Benefit) จะเป็นการคำนวณตามความต้องการของลูกค้า เช่น ต้องการบำเหน็จ 1.5 ล้านบาท หลังเกษียณ ก็จะมีการคำนวณการจัดเก็บเบี้ยในแต่ละปี เพื่อให้ได้เงินก้อนตามต้องการใช้จ่ายหลังเกษียณ สำหรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีของประกันชีวิตแบบบำนาญนั้น ได้มีการให้สิทธิประโยชน์ ทางภาษีเพิ่มเติมมากกว่าการประกันชีวิตแบบทั่วไป กล่าวคือ ให้ผู้ซื้อประกันชีวิตแบบบำนาญนอกจากจะสามารถนำไปหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเมื่อสิ้นปี ได้ในวงเงินเดียวกันกับประกันชีวิตแบบทั่วไป เป็นจำนวน 100,000 บาทต่อปีแล้ว กฎหมายยังอนุญาตให้สามารถหักลดหย่อนได้เพิ่มเติมเป็นกรณีพิเศษสำหรับ เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญอีกปีละ 200,000 บาท แต่ต้องไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ และเมื่อรวมกับการหักลดหย่อนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสงเคราะห์ครู และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพแล้ว จะต้องไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี emo28:win: emo28:win: emo28:win: XXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXX การใช้กุศโลบายนี้ทำให้รัฐไม่ต้องเสียเงินในการดูแลผู้สูงอายุ ฝ่ายเดียว จะมีประชาชน ที่ได้รับเงินจากการประกันชีวิตแบบบำนาญ ร่วมด้วยจึงลดค่าใช้จ่ายของรัฐ ซึ่งเตรียมไว้ ให้เฉพาะ สิ่งจำเป็นพื้นฐานต่อการมีชีวิตอยู่ จปฐ. ตามตัวชี้วัดตัวที่ 1 สุขภาพดีถ้วนหน้า (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/lfgrac-98fa30.jpg) กระทู้สุขภาพดีถ้วนหน้าด้วย สาธารณสุขมูลฐาน ตาม Ottawa Charter ที่ http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,3394.0.html (http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,3394.0.html) emo43 emo43 emo43 หัวข้อ: Re: เตรียมรับมือผู้สูงอายุล้นเมืองในอนาคต เริ่มหัวข้อโดย: เอมอร 2515 ที่ 01 กุมภาพันธ์ 2554, 10:20:50 หากผู้สูงอายุมากขึ้น
ต่อไปการบริการของโรงพยาบาลก็ต้องเป็นงานที่หนักมากขึ้น เพราะคนสูงอายุเป็นช่วงอายุที่ใช้บริการมากและต่อเนื่อง ที่สำคัญคือต้องให้ความรู้ในการดูแลตัวเองได้ในระดับหนึ่ง ก็จะลดภาระของรพ.ได้บ้าง รพ.ก็จะได้บริการคนไข้ที่หนัก หรือ คนไข้ที่ไม่สามารถดูแลตัวเองได้อย่างมีคุณภาพ หัวข้อ: Re: เตรียมรับมือผู้สูงอายุล้นเมืองในอนาคต เริ่มหัวข้อโดย: Samrotri2517 ที่ 01 กุมภาพันธ์ 2554, 11:55:40
emo4:)) emo4:)) emo4:)) การสาธารณสุขมูลฐาน ดูแลโดยมีญาติพี่น้องผู้ป่วย ร่วมดูแลด้วย บุคลากรสาธารณสุขเป็นที่ปรึกษา และ ให้การรักษาตามแนวทางมาตรฐาน ที่กำหนดโดยผู้เชี่ยวชาญกำหนดขึ้นเพื่อให้การดูแลเป็นมาตรฐานคุณภาพเดียวกัน emo6::)) emo6::)) emo6::)) ขอบคุณพี่เอมอร ที่ห่วงว่างานจะหนัก ถ้ามีการเขียนเป็นเอกสารคุณภาพ แล้วบุคลากร ร่วมมือกันทำตามแนวทาง งานจะไม่หนัก คนไข้ได้รับบริการคุณภาพ ครับพี่ emo43 emo43 emo43 หัวข้อ: Re: เตรียมรับมือผู้สูงอายุล้นเมืองในอนาคต เริ่มหัวข้อโดย: เอมอร 2515 ที่ 01 กุมภาพันธ์ 2554, 12:36:39 เมื่อ๒ เดือนที่แล้วมาพี่ไปขอรับการบริการของร.พ.รามา
พี่ได้เห็นการทำงานของหมอแล้ว เห็นใจมากๆ หมอปัจจุบันทำงานหนักมากๆ และหากคนไข้รู้จักวิธีดูแลตัวเองที่ดีกว่านี้ หมอจะไม่ต้องทำงานหนักมากเช่นปัจจุบัน พี่เห็นแล้วรู้สึกดีใจว่าไม่ได้เรียนหมอ หรือพยาบาลหรีอบุคคากรทางการแพทย์มา เพราะหากเขาเหล่านั้น ไม่อดทน ไม่อุทิศ ไม่อึดแล้ว ย่อมมีความทุกข์ในการทำงานแน่ ( พี่มีคำถาม ขอความรู้มาด้วยนะคะ) พี่จะลดภาระของหมอที่ดูแลพี่ เลยหาความรู้จากคนแถวนี้แหละค่ะ ขอบคุณ หัวข้อ: ต้องออกกฏระเบียบสุขภาพดี บังคับให้คนต้องปฏิบัติตาม และ ต้องมีบทลงโทษของชุมชน เริ่มหัวข้อโดย: Samrotri2517 ที่ 01 กุมภาพันธ์ 2554, 14:17:58
ตัวชี้วัด 4 ตัวชี้วัด ที่ขอนำมากล่าวอีกครั้งคือ ตัวที่ 1.ประชาชนทุกคนได้รับสิ่งจำเป็นพื้นฐานสำหรับชีวิตโดยถ้วนหน้าตามเกณฑ์ ตัวที่ 2.ประชาชนร่วมมือในการทำให้เกิดสุขภาพดีของชุมชน เช่น 2.1อาสาสมัครมาช่วยงานสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือ อสม. ทำหน้าที่ "แก้ข่าวร้ายกระจายข่าวดีชี้บริการประสานงานสาธารณสุขบำบัดทุกข์ประชาชนทำตนเป็นตัวอย่างที่ดี" 2.2ประชาชนร่วมมือในการปฏิบัติตัวเพื่อสุขภาพดีตามที่ อสม.แนะนำด้วยความเต็มใจ เป็นต้น ตัวที่ 3.การมีสถานพยาบาลเข้าถึงได้ง่ายใกล้บ้าน ใกล้ใจ ปรึกษาได้เป็นกันเอง ตัวที่ 4.สถานพยาบาลใกล้บ้าน เป็นสถานพยาบาลที่ได้รับการรับรองคุณภาพ จาก (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/lfxvb3-19490d.jpg) สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพ Hospital Accreditation : HA http://www.ha.or.th/ha2010/th/home/index.php จึงขอประชาสัมพันธ์ให้พวกเรา และ ประชาชน ได้ร่วมรู้ เป็น ด้านที่ 1 ร่วมสร้างวัฒนธรรมการมีสุขภาพดี ร่วมปฏิบัติเอง เป็นด้านที่ 2 และ ชุมชน เสนอให้ ออกกฏระเบียบ ตาม ตัวชี้วัดสุขภาพดีถ้วนหน้า ข้อ 2 ที่ว่าถึง การมีส่วนร่วมในการมีสุขภาพดี บังคับให้ทุกคนต้องทำตามวัฒนธรรมการมีสุขภาพดี มีบทลงโทษของชุมชน เป็นด้านที่ 3 เมื่อมีครบสามด้านของสามเหลี่ยมฯ นอกจากได้ประโยชน์เองแล้ว emo6::)) ยังช่วยให้ งานด้านสาธารณสุขลดน้อยลงด้วย (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/lfxghu-ce9977.jpg) ตามแนวทางสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา ของ ศ.น.พ.ประเวศ วะสี ช่วยให้เกิดได้ emo6::)) emo6::)) emo6::)) |