หัวข้อ: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Khun28 ที่ 07 ตุลาคม 2553, 19:34:17 ขออนุญาตนำกระทู้เก่าของพี่สิงห์มาโพสต์ใหม่นะครับ สวัสดียามเช้าทุกท่านครับ ได้เวลาออกกำลังกายยามเช้าแล้วนะครับ ผมขอแสนอทางเลือกให้ปฏิบัติ ครับ คือ "ตันเถียนโยคะ" ตันเถียนโยคะ เป็นท่าออกกำลังกาย แบบโยคะร้อน มีทั้งหมด 16 ท่า เป็นการออกกำลังกายพร้อมทั้งฝึกการหายใจไปพร้อมกัน มีท่ารำที่งดงาม ทุกท่านสามารถทำได้ ใช้เวลาไม่มากนัก แต่ประโยชน์มหาศาลและผมขอแนะนำให้ทุกท่านทำทุกวันนะครับ ท่านจะรูสึกว่ากระฉับกระเฉง สามารถปฏิบัติภาระกิจวัตรประจำวันของท่านได้คล่องแคล้วขึ้น หายใจสะดวก สมองปลอดโปร่ง ครับ ผมมีข้อแนะนำดังนี้1). เวลาทำขอให้ทำอย่างตั้งใจ มีสมาธิอยู่กับลมหายใจเข้า ลมหายใจออก และท่ารำ 2). ในกรณีให้หายใจเข้า ขอให้หายใจเข้าช้าๆ ลึกๆ จนเต็มปอด พร้อมกับท่ารำช้าๆ 3). เมื่อหายใจเต็มปอดแล้วให้กลั้นลมหายใจไว้สักครู่หนึ่ง พร้อมทั้งค้างท่ารำไว้ เพื่อให้การส่งถ่าย Oxygen สมบูรณ์ 4). ในกรณีให้หายใจออก ขอให้หายใจออกช้าๆ ยาวๆ พร้อมกับท่ารำช้าๆ 5). ขอให้ทำทุกวัน ทั้งเวลาเช้า เวลาเย็น ทำก่อนรับประทานอาหาร 6). ประโยชน์ ระบบหายใจจะดีขึ้น Oxygen ไปเลี้ยงสมองมากขึ้น ปอดจะขยายทำให้ท่านสามารถหายใจได้ลึก และสะดวกขึ้น(กรณีที่ท่านแพ้อากาศ หรือเป็นโรคหืด หอบ) กล้ามเนื้อโคนขาแข็งแรงกระชับ ข้อหัวเข่าจะแข็งแรงสามารถลุก นั่ง ยืน หรือ ย่อเข่าได้ดี ลดอาการปวดที่ข้อเข่า ช่วงไหล่จะแข็งแรงขึ้น ลดอาการปวดไหล่และแขน สามารถใช้งานแขนยกของหนักได้ดีขึ้น เป็นต้น และผมต้องขออภัยที่จะขอเป็น ผู้แสดงท่าให้ท่านชม แทนที่จะเป็นสาว ๆ ครับ ท่านอ่านที่ละท่ารำให้เข้าใจ แล้วดูภาพที่ผมแสดงให้ดู ผมมั่นใจว่าทุกท่าน ทำได้ครับ การทำทุกวันเป็นการอยาก แต่จะอยากเพียงหนึ่งอาทิตย์แรกเท่านั้น ถ้าท่านผ่านได้ ท่านจะทำทุกวัน ผมเชื่อว่าทุกท่านผ่านประสพการ การทำงานมามากเป็นนักบริหาร ผมไม่เชื่อว่าท่านไม่มีเวลาให้กับตัวเอง เพียงแต่ท่านไม่สนใจที่จะให้อะไรดีๆ แก่ตัวท่านเองเท่านั้น "ความแข็งแรงของร่างกาย ท่านไม่สามารถซื้อได้ด้วยเงิน แต่ท่านสามารถทำได้ด้วยตัวของท่านเอง" ครับ ในกรณีที่หมดกำลังใจที่จะทำ ขอให้ท่านนึกในทางบวก ว่าท่านสามารถทำได้ ท่านมีเวลาเพียงพอ และเป็นการให้รางวัลแด่ตัวท่าน เอง ที่ได้รับใช้ท่านมานานโขแล้ว ถึงเวลาที่ท่านจะต้องตอบแทนตัวท่านด้วยการออกกำลังกาย เพื่อให้ตัวท่านแข็งแรง มีชีวิตที่ดีขึ้นไม่ต้องพึ่งยาเมื่อยามอายุมากขึ้น ครับ ข้อแนะนำจากกรมอนามัย ถ้าท่านต้องการให้มีรูปร่างสวยงาม ไม่ลงพุง ต้องการลดน้ำหนักขอให้ท่านใช้สูตร 211 ในการรับประทานอาหารแต่ละมื้อ คือ 2 คือ รับประทานผัก 2 ส่วน 1 คือ รับประทานข้าว หรือ แป้ง 1 ส่วน 1 คือ รับประทานโปรตีน(แนะนำเนื้อปลา) 1 ส่วน นอกจากนี้ขอให้เลิก กินขนมระหว่างมื้อ และงดอาหารมื้อดึกโดดเด็ดขาด และให้รับประทานมื้อเช้ามาก มื้อกลางวันพอประมาณ ส่วนมื้อเย็นรับประทานแต่พองาม(เป็นผลไม้เช่น ฝรั่งหนึ่งผล มะละกอ หรือแอปเปิ้ล แทนข้าวก็จะดีครับ) ลดอาหารประเภทใช้น้ำมันผัด จะดีมากๆ ครับ ผมขออวยพรให้ทุกท่านประสพความสำเร็จในการออกกำลังกายแบบ "ตันเถียนโยคะ" ทุกวันครับ จะคอยเป็นกำลังใจให้ ครับ ขอบคุณมาก ตันเถียนโยคะ ท่าที่ 1 ท่าเตรียมพร้อม ให้ยืนตรงหน้านิ่งตรงสายตาได้ระดับ วางเท้าชิดกันปล่อยแขนลงข้างลำตัว (เหมือนยืนตรงเคารพธงชาติ แต่ไม่เกร็ง) แล้วตั้งสมาธิวาดแขนขึ้นพนมมือไว้ที่หน้าอกพร้อมหายใจเข้า ช้าๆ ลึกๆ ค้างท่ารำไว้พร้อมกับกลั้นลมหายใจ แล้วไขว้เท้าซ้ายไปด้านหลัง ย่อเข่าพร้อมหายใจออก ช้าๆ ยาวๆ แล้วกลับมาอยู่ในท่าเตรียมพร้อมใหม่ วาดแขนขึ้นพนมมือไว้ที่หน้าอกพร้อมหายใจเข้า ช้าๆ ลึกๆ ค้างท่ารำไว้พร้อมกับกลั้นลมหายใจ แล้วไขว้เท้าขวาไปด้านหลัง ย่อเข่าพร้อมหายใจออก ช้าๆ ยาวๆ แล้วกลับมาอยู่ในท่าเตรียมพร้อมใหม่ เป็นหนึ่งครั้ง ทำจนครบ 8 ครั้ง รวมเป็นหนึ่งท่ารำ ดูภาพประกอบ (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9x5vs-22c27f.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9x648-d06f96.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9x6dj-8180cb.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9x6jn-1fc08d.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9x6nr-1667c4.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9x6pu-1c10b6.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9x6rv-8c8ee1.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9x6um-be375c.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9x6w5-0d7aba.jpg) หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Khun28 ที่ 07 ตุลาคม 2553, 19:36:13 ตันเทียนโยคะ ท่าที่ 2 ยืนอยู่ในท่าเตรียมพร้อมเหวี่ยงแขนทั้งสองข้างพร้อมกันไปด้านหลัง พร้อมทั้งหายใจเข้า ช้าๆ ลึกๆ จนแขนตั้งฉากกับลำตัว(ฝ่ามือหงายขึ้นขนานกับพื้น) หยุดกลั้นลมหายใจค้างไว้ แล้ววนแขนย้อนกลับตามแนวเดิมมาข้างหน้า โดย ค่อยๆลดแขนลงพร้อมทั้งหายใจออก ช้าๆ ยาวๆ แขนผ่านลำตัวจนเลยไปด้านหน้าถึงระดับเสมอไหล่(หลังมือชี้ฟ้า ขนานกับพื้น) หยุดนิดหนึ่ง เป็นหนึ่งครั้งท่ารำ แล้วทำต่อเนื่องไปตามที่กล่าวมาแล้วข้าต้นใหม่ จนครบ 8 ครั้ง ดูภาพประกอบ (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9y078-d87ebd.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9y08b-14c49d.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9y09z-7d8b92.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9y0b9-935909.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9y0c7-113241.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9y0d6-fc6cb8.jpg) หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Khun28 ที่ 07 ตุลาคม 2553, 19:38:37 ตันเถียนโยคะ ท่าที่ 3 ยืนตรงอยู่ในทาเตรียมพร้อม แต่ให้มือห้อยอยู่หน้าต้นขาและหันฝ่ามือเข้าหากันวาดแขนขึ้นไปด้านข้าง ด้านซ้าย พร้อมหายใจเข้า ช้าๆ ลึกๆ จนแขนขนานกับพื้นหรือตั้งฉากกับลำตัว และใบหน้ามองตรง โดยให้มือบนคว่ำและมือล่างหงาย กลั้นลมหายใจค้างท่ารำไว้ ต่อไปวาดแขนลงพร้อมหายใจออกช้าๆ ยาวๆ มาอยู่ในแนวดิ่งท่าเตรียมพร้อม วาดแขนขึ้นไปด้านข้าง ด้านขวาพร้อมหายใจเข้า ช้าๆ ลึกๆ จนแขนขนานกับพื้นหรือตั้งฉากกับลำตัว และใบหน้ามองตรง โดยให้มือบนคว่ำและมือล่างหงาย กลั้นลมหายใจค้างท่ารำไว้ ต่อไปวาดแขนลงพร้อมหายใจออกช้าๆ ยาวๆ มาอยู่ในแนวดิ่งท่าเตรียมพร้อม นับเป็นหนึ่งครั้งท่ารำ ทำซ้ำ 4 ครั้ง (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9y0u5-aa32b8.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9y0v6-c360cc.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9y0wk-16d13e.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9y0xj-ac4869.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9y0yi-6ebba2.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9y10x-c4cdfb.jpg) หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Khun28 ที่ 07 ตุลาคม 2553, 19:39:24 ตันเถียนโยคะ ท่าที่ 4 ยืนตรงอยู่ในท่าเตรียมพร้อม แต่ให้มือห้อยอยู่หน้าต้นขาและหันฝ่ามือเข้าหากัน (หรือเป็นท่าต่อเนื่องจากท่าที่ 3)วาดแขนหมุนเป็นวงกลมสองรอบไปทางด้านซ้ายพร้อมหายใจเข้าช้าๆ ยาวๆ กลั้นลมหายใจค้างไว้ ไขว้เท้าซ้ายไปด้านหลัง ใช้นิ้วชี้ ชี้ไปด้านซ้ายเหลือบตามองที่นิ้วชี้ แล้วย่อเข่าพร้อมหายใจออกช้าๆ ยาวๆ แล้วยกตัวขึ้นโดยค้างแขนไว้ด้านซ้าย ท่าต่อเนื่องวาดแขนหมุนเป็นวงกลมสองรอบไปทางด้านขวา(หมุนตรงข้าม) พร้อมหายใจเข้าช้าๆ ยาวๆ กลั้นลมหายใจค้างไว้ ไขว้เท้าขวาไปด้านหลัง ใช้นิ้วชี้ ชี้ไปด้านขวาเหลือบตามองนิ้วชี้ แล้วย่อเข่าพร้อมหายใจออกช้าๆ ยาวๆ แล้วยกตัวขึ้นโดยค้างแขนไว้ด้านขวา เป็นหนึ่งท่ารำ ทำซ้ำจนครบ 4 ครั้ง (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9y150-4c19cf.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9y17n-bbda36.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9y18n-7e5fc1.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9y19p-7a3440.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9y1at-03551e.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9y1bx-8df1ad.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9y1cw-6dfe91.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9y1dx-cbd7da.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9y1hv-304a0c.jpg) หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Khun28 ที่ 07 ตุลาคม 2553, 19:40:00 ตันเถียนโยคะ ท่าที่ 5 ท่านกกางปีก ยืนตรงอยู่ในท่าเตรียมพร้อม กางแขนขึ้นด้านข้างลำตัว ยกระดับเสมอไหล่พร้อมกับหายใจเข้าช้าๆ ลึกๆ เมื่อได้ระดับแล้ว ให้กลั้นลมหายใจไว้สักครู่หนึ่ง แล้วค่อยๆหายใจออกช้าๆ ยาวๆ พร้อมกับหุบแขนทั้งสองข้างลงพร้อมกับย่อเข่า(ให้มากที่สุด) เป็นหนึ่งท่ารำ แล้วทำต่อเนื่องค่อยๆยึดตัวตรงพร้อมกางแขนและพร้อมหายใจเข้าใหม่ ทำจนครบ 8 ครั้ง (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9ycrv-11f125.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9ycu8-29014e.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9ycvg-1aa901.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9ycwa-97ccb8.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9ycxm-4732c4.jpg) หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Khun28 ที่ 07 ตุลาคม 2553, 19:41:01 ตันเถียนโยคะ ท่าที่ 6 เป็นท่าต่อเนื่องจากท่าที่ 5 ยืนตรงอยู่ในท่าเตรียมพร้อมหายใจเข้าช้าๆ ลึกๆ พร้อมกับกางแขนขึ้นไปจนต้อนแขนชิดใบหู พร้อมทั้งเขย่งเท้า 2 ข้าง ยืนด้วยปลายเท้า กลั้นลมหายใจไว้สักครู่หนึ่ง แล้วค่อยๆ หายใจออกช้าๆ ยาวๆ พร้อมกับค่อยๆหุบแขนลงช้าๆ โดยไขว้มือไว้ด้านหน้า พร้อมกับลดเท้าลงชิดพื้นย่อเข่า เป็นหนึ่งท่ารำ แล้วยืดตัวขึ้นใหม่ทำซ้ำ จนครบ 8 ครั้ง (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9yd1x-4a5674.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9yd3b-845380.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9yd4c-234744.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9yd5a-63eee2.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9yd69-7f64cd.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9yd78-c1da0b.jpg) หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Khun28 ที่ 07 ตุลาคม 2553, 19:41:42 ตันเถียนโยคะ ท่าที่ 7 ยืนตรงอยู่ในท่าเตรียมพร้อมก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า มือกำหมัดทั้งสองข้าง พร้อมหายใจเข้าช้าๆ ลึกๆ พร้อมกับยืดแขนไปข้างหน้าโดยหงายฝ่ามือที่กำหมัด พร้อมกับโย้ตัวไปด้านหน้า เปิดส้นเท้าหลัง กลั้นลมหายใจไว้สักครู่ แล้วค่อยๆผ่อนลมหายใจออกช้าๆ ยาวๆ ดึงหมัดเข้าหาตัว โย้ตัวไปด้านหลังเปิดปลายเท้าหน้า เป็นหนึ่งท่ารำ (สำหรับท่านที่ ทรงตัวไม่มั่นคง) หรือ ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า มือกำหมัดทั้งสองข้าง พร้อมหายใจเข้าช้าๆ ลึกๆ พร้อมกับวาดแขนไปข้างหน้าเป็นครึ่งวงกลมมาบันจบกันด้านหน้าขนานกับพื้น(แบบ ท่ารำมวยไทย) พร้อมโย้ตัวไปด้านหน้าเปิดส้นเท้าหลัง กลั้นไว้สักครู่ แล้วผ่อนลมหายใจออกช้าๆ ยาวๆ หงายหมัดขึ้นดึงหมัดเข้าหาตัว โย้ตัวไปด้านหลังเปิดปลายเท้าหน้า เป็นหนึ่งท่ารำ ทำซ้ำ 4 ครั้ง แล้วสลับเป็นเท้าขวา ก้าวมาข้างหน้าบ้าง ทำซ้ำเหมือนกันใหม่ รวมเป็นหนึ่งท่ารำ ทำซ้ำ 4 ครั้ง (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9yd9j-e0f592.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9ydaz-e517cc.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9ydcm-0c7cf1.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9yddo-ecaa97.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9ydek-719ffc.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9ydfh-06b760.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9ydgg-91b866.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9ydhl-0aa6dd.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9ydig-76c4b4.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9ydjj-712030.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9ydng-bdf71b.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9ydog-1bbfb5.jpg) หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Khun28 ที่ 07 ตุลาคม 2553, 19:42:17 ตันเถียนโยคะ ท่าที่ 8 ยืนตรงอยู่ในท่าเตรียมพร้อมตั้งส้นเท้า(หรือก้าววางเท้าเต็ม สำหรับท่านที่ ยืนไม่มั่นคง)เฉียงไปด้านหน้าทำมุมประมาณ 45 องศา ค่อยๆ ผ่อนลมหายใจออกช้าๆ ยาวๆ พร้อมกับใช้มือสองข้างเริ่มต้นจากเอวค่อยๆลูบหรือสัมผัสขาซ้ายลงไปจนถึงปลาย เท้า(ก้มตัวลง แต่ขาซ้ายตรง) กลั้นลมหายใจไว้สักครู่ แล้วหายใจเข้าช้าๆ ลึกๆพร้อมกับวนแขนขึ้นวาดเป็นวงกลมมาบรรจบเป็นท่าไหว้ พร้อมกับยกตัวขึ้น แล้วดึงเท้าซ้ายกลับมาที่เดิม เป็นหนึ่งท่ารำ ทำซ้ำ 4 ครั้ง เสร็จแล้ว สลับมาทำด้านขวาบ้าง ทำซ้ำใหม่แบบเดิมเหมือนด้านซ้าย จนครบ เป็นหนึ่งท่ารำ ทำซ้ำ 4 ครั้ง (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9ysdp-58e489.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9ysel-9484ab.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9yto7-f57290.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9yttz-f483be.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9ytvb-b860b1.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9ytw4-9db1fb.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9ytx4-24326f.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9yty7-8758fb.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9ytz4-2a1d70.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9yu0t-0e1ea6.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9yu1z-5cc526.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9yu2x-c3b9dd.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9yu4w-ab7570.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9yu6a-cc49df.jpg) หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Khun28 ที่ 07 ตุลาคม 2553, 19:42:59 ตันเถียนโยคะ ท่าที่ 9 ยืนอยู่ในท่าเตรียมพร้อมย่อเข่าสองข้าง พร้อมไขว้มือค่อยๆยืดตัวขึ้นตรงช้าๆ พร้อมหายใจเข้า ช้าๆ ลึกๆ จนมือที่ไขว้กันถึงบริเวณหน้าผาก กลั้นลมหายใจไว้สักครู่ แล้ววาดแขนออกเสมอไหล่ แล้วค่อยๆ ผ่อนลมหายใจออกช้าๆ ยาวๆ พร้อมทั้งย่อเข่าลงพร้อมกับลดแขนลง เป็นหนึ่งท่ารำ แล้วหายใจเข้าไขว้มือขึ้นใหม่ทำซ้ำ จนครบ 8 ครั้ง (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9ztq9-620d39.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9ztrb-db7724.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9ztss-a0aa6a.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9ztts-8e5119.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9ztux-6a4a60.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9ztw3-61bc52.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9ztxu-d78871.jpg) หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Khun28 ที่ 07 ตุลาคม 2553, 19:43:43 ตันเถียนโยคะ ท่าที่ 10 ยืนตรงอยู่ในท่าเตรียมพร้อมย่อเข่าสองข้าง พร้อมไขว้มือค่อยๆยืดตัวขึ้นตรงช้าๆ พร้อมหายใจเข้า ช้าๆ ลึกๆ จนมือที่ไขว้กันถึงบริเวณหน้าผาก กลั้นลมหายใจไว้สักครู่หนึ่ง แล้วค่อยๆผ่อนลมหายใจออกช้าๆ ยาวๆ พร้อมกับใช้มือซ้ายกระดกข้อมือขึ้นผลักออกไปด้านซ้ายเสมอไหล่ มือขวาคว่ำไว้เหนือศรีษะโย้ตัวไปด้านขวาตามองปลายนิ้วมือซ้าย แล้วหายใจเข้าช้าๆ ลึกๆ พร้อมกลับกางแขนออกเสมอไหล่ทั้งสองข้าง กลั้นลมหายใจไว้สักครู่หนึ่ง แล้วค่อยๆผ่อนลมหายใจออกช้าๆยาวๆ พร้อมกับย่อเข่าลงหุบแขนที่กางอยู่ลงย่อเข่า นับเป็นหนึ่งท่ารำด้านซ้าย ย่อเข่าสองข้าง พร้อมไขว้มือค่อยๆยืดตัวขึ้นตรงช้าๆ พร้อมหายใจเข้า ช้าๆ ลึกๆ จนมือที่ไขว้กันถึงบริเวณหน้าผาก กลั้นลมหายใจไว้สักครู่หนึ่ง แล้วค่อยๆผ่อนลมหายใจออกช้าๆ ยาวๆ พร้อมกับใช้มือขวากระดกข้อมือขึ้นผลักออกไปด้านขวาเสมอไหล่ มือซ้ายคว่ำไว้เหนือศรีษะโย้ตัวไปด้านซ้ายตามองปลายนิ้วมือขวา แล้วหายใจเข้าช้าๆ ลึกๆ พร้อมกลับกางแขนออกเสมอไหล่ทั้งสองข้าง กลั้นลมหายใจไว้สักครู่หนึ่ง แล้วค่อยๆผ่อนลมหายใจออกช้าๆยาวๆ พร้อมกับย่อเข่าลงหุบแขนที่กางอยู่ลงย่อเข่า นับเป็นหนึ่งท่ารำด้านขวา ทำสลับข้างกันไปเรื่อยๆ จนครบ 8 ครั้ง (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9zu8j-a46785.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9zu9q-f2e904.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9zuak-b959a4.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9zubv-a95715.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9zucv-16314d.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9zugj-b407a1.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9zukl-99dd7b.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9zulv-27ef09.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9zumm-02e1dc.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9zund-76bf6a.jpg) หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Khun28 ที่ 07 ตุลาคม 2553, 19:44:10 ตันเถียนโยคะ ท่าที่ 11 ยืนตรงอยู่ในท่าเตรียมพร้อมเอามือสองข้างประกบกันเหยียดแขนตรงไปด้านหน้า หายใจเข้าช้าๆ ลึกๆ พร้อมกับกางแขนออกพร้อมกับเงยหน้าไปด้านหลังเล็กน้อย กลั้นลมหายใจไว้สักครู่หนึ่ง แล้วค่อยๆ ผ่อนลมหายใจออกช้าๆ ยาวๆ พร้อมกับหุบแขนประกบไว้ด้านหน้าเหมือนเดิม นับเป็นนึ่งท่ารำ ทำซ้ำจำนวน 8 ครั้ง (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9zuqe-9e84a2.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9zur3-fc498a.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9zurt-a76958.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9zuss-acbab2.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9zutl-04c094.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9zuud-fc3bc9.jpg) หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Khun28 ที่ 07 ตุลาคม 2553, 19:44:37 ตันเถียนโยคะ ท่าที่ 12 ยืนตรงอยู่ในท่าเตรียมพร้อมก้าวเท้าซ้ายไปด้านหน้า เอามือสองข้างประกบกันเหยียดแขนตรงไปด้านหน้า หายใจเข้าช้าๆ ลึกๆ พร้อมกับกางแขนออกพร้อมกับโย้ตัวไปด้านหน้าเปิดส้นเท้าหลัง กลั้นลมหายใจไว้สักครู่หนึ่ง แล้วค่อยๆผ่อนลมหายใจออกช้าๆ ลึกๆพร้อมกับโย้ตัวไปด้านหลังเปิดปลายเท้าหน้า นับเป็นหนึ่งท่ารำ ทำซ้ำ 4 ครั้ง ก้าวเท้าขวาไปด้านหน้า เอามือสองข้างประกบกันเหยียดแขนตรงไปด้านหน้า หายใจเข้าช้าๆ ลึกๆ พร้อมกับกางแขนออกพร้อมกับโย้ตัวไปด้านหน้าเปิดส้นเท้าหลัง กลั้นลมหายใจไว้สักครู่หนึ่ง แล้วค่อยๆผ่อนลมหายใจออกช้าๆ ลึกๆพร้อมกับโย้ตัวไปด้านหลังเปิดปลายเท้าหน้า นับเป็นหนึ่งท่ารำ ทำซ้ำ 4 ครั้ง (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9zuwt-ae2f66.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9zuxi-738634.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9zv0a-bcdc41.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9zv1n-67112c.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9zv2h-ff1543.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9zv38-0d6ff8.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9zv46-2d359f.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9zv4y-100990.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9zv5s-213e2b.jpg) หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Khun28 ที่ 07 ตุลาคม 2553, 19:45:11 ตันเถียนโยคะ ท่าที่ 13 ยืนตรงอยู่ในท่าเตรียมพร้อมหายใจเข้าช้าๆ ลึกๆ พร้อมกับยกแขนสองข้างยื่นไปด้านหน้าเสมอไหล่ กลั้นลมหายใจไว้สักครู่หนึ่ง แล้วค่อยๆผ่อนลมหายใจออกช้าๆ ลึกๆ พร้อมกับย่อเข่าลดแขนลงตรงๆถึงระดับบริเวณหน้าขา(หรือย่อเข่าให้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้และสามารถยืดเข่าขึ้นได้)แล้วหายใจเข้าช้าๆ ลึกๆ พร้อมกับยืดเข่าขึ้นยกแขนขึ้นใหม่ นับเป็นหนึ่งท่ารำ ให้ทำซ้ำ 8 ครั้ง (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9zv89-449a05.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9zv9t-a6ccb8.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9zvak-1d0a7e.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9zvba-d2d740.jpg) หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Khun28 ที่ 07 ตุลาคม 2553, 19:45:40 ตันเถียนโยคะ ท่าที่ 14 ยืนตรงอยู่ในท่าเตรียมพร้อมใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วกลางจีบติดกันทั้งสองข้าง ก้าวเท้าซ้ายไปด้านหน้า เหวี่ยงแขนสองข้างขึ้นเอนตัวไปด้านหลัง(เอนไปเท่าที่จะทำได้และไม่ล้ม)พร้อม กับหายใจเข้าช้าๆ ลึกๆ โดยที่เท้าทั้งสองข้างติดกับพื้น เมื่อเอนสุดแล้วกลั้นลมหายใจไว้สักครู่หนึ่ง แล้วค่อยๆผ่อนลมหายใจออกช้าๆ ยาวๆ พร้อมกับก้มตัวลงพร้อมกลับเหวี่ยงแขนไปด้านหลัง แล้วค่อยๆหายใจเข้าช้าๆ ลึกๆ พร้อมกับยกตวยกแขนขึ้นเอนไปด้านหลังใหม่ นับเป็นหนึ่งท่ารำ ให้ทำซ้ำ 4 ครั้ง ใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วกลางจีบติดกันทั้งสองข้าง ก้าวเท้าขวาไปด้านหน้า เหวี่ยงแขนสองข้างขึ้นเอนตัวไปด้านหลัง(เอนไปเท่าที่จะทำได้และไม่ล้ม)พร้อม กับหายใจเข้าช้าๆ ลึกๆ โดยที่เท้าทั้งสองข้างติดกับพื้น เมื่อเอนสุดแล้วกลั้นลมหายใจไว้สักครู่หนึ่ง แล้วค่อยๆผ่อนลมหายใจออกช้าๆ ยาวๆ พร้อมกับก้มตัวลงพร้อมกลับเหวี่ยงแขนไปด้านหลัง แล้วค่อยๆหายใจเข้าช้าๆ ลึกๆ พร้อมกับยกตวยกแขนขึ้นเอนไปด้านหลังใหม่ นับเป็นหนึ่งท่ารำ ให้ทำซ้ำ 4 ครั้ง (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9zvdy-b10d74.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9zvf9-91b93e.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9zvg1-086a92.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9zvgp-d755b7.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9zvhc-56ea21.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9zvil-7c5308.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9zvjd-0618e2.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9zvk5-01c004.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9zvkx-b35ed3.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9zvlt-2bdff8.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9zvmi-a6ebee.jpg) หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Khun28 ที่ 07 ตุลาคม 2553, 19:46:06 ตันเถียนโยคะ ท่าที่ 15 ยืนอยู่ในท่าเตรียมพร้อมใช้มือสองข้างประสานกัน แล้วพลิกฝ่ามือออกที่เหนือศรีษะ แล้วหายใจเข้าช้าๆ ลึกๆ พร้อมทั้งค่อยๆเหยียดหรือยกแขนขึ้นช้าๆจนต้นแขนชิดใบหู แล้วออกแรงเหยียดจนสุด กลั้นลมหายใจไว้สักครู่ แล้วผ่อนลมหายใจออกอย่างช้าๆ ยาวๆ พร้อมทั้งลดมือลงวางไว้เหนือศรีษะตามเดิม นับเป็นหนึ่งท่ารำ ทำซ้ำจนครบ 8 ครั้ง (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9zvpf-76702c.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9zvq6-524cbe.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9zvqv-27d7b1.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9zvrl-666119.jpg) หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Khun28 ที่ 07 ตุลาคม 2553, 19:46:38 ตันเถียนโยคะ ท่าที่ 16 ท่าคลายลมปราณ เป็นท่าสุดท้าย ยืนตรงอยู่ในท่าเตรียมพร้อมหายใจเข้าช้าๆ ลึกๆ พร้อมทั้งงายมือทั้งสองข้างวาดออกไปด้านข้างแล้วยกแขนขึ้น(หมุนแขนรอบหัว ไหล่ด้านข้าง)จนมืออยู่เหนือศรีษะ กลั้นลมหายใจไว้สักครู่หนึ่ง แล้วค่อยๆคว่ำมือลงในแนวกึง่กลางลำตัวสองข้าง พร้อมทั้งค่อยๆผ่อนลมหายใจออกช้าๆ ยาวๆ พร้อมลดมือลงจนสุด(สุดลมหายใจไปพร้อมกับท่า) นับเป็นหนึ่งท่ารำ แล้วค่อยๆหายใจเข้าวาดแขนขึ้นใหม่ ทำจนครบ 8 ครั้ง (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9zvut-a47a3a.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9zvvu-b02736.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9zvwi-6f7a37.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9zvxc-341ecf.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9zvy7-549d45.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9zvyz-c76d4b.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9zvzr-e69ca8.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9zw0g-2256c9.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9zw13-c12e78.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9zw1t-24d85f.jpg) หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Khun28 ที่ 07 ตุลาคม 2553, 19:52:56 ขออนุญาตนำกระทู้เก่าของพี่สิงห์มาโพสต์ใหม่นะครับ "โยคะ" หลักการสร้างความยืดหยุ่น - ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และการผ่อนคลายร่างกาย ท่ามาตรฐานการบริหารร่างกายแบบโยคะนี้ คุณหมออุดม แห่งแผนกแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลจอมทอง ใช้เป็นแบบมาตรฐานให้คนไข้ที่ไปหาคุณหมอได้นำเอาไปออกกำลังกาย ประจำทุกวัน ครับ มีหลักการ ทำดังนี้ 1.รู้ตัวขณะทำ ใจต้องมีสมาธิ ใจต้องอยู่กับท่าที่ปฏิบัติอยู่อย่างแน่วแน่ และส่วนต่างๆของร่างกายตัวเอง จัดใจและร่างกายให้ผ่อนคลาย 2. ให้รู้สึกแค่ตึงนิดๆ ทำเท่าที่ทำได้ ตึงนิดๆแค่ไหน ให้ทำแค่นั้น เอาร่างกายตัวเองเป็นหลัก ไม่ทำตามแบบ ตามรูป และตามคนอื่น 3. นิ่งค้างไว้ได้สบายๆ เมื่อรู้สึกตึงนิดๆ ให้นิ่งค้างไว้ ให้พูดนับออกเสียงเบาๆ ช้าๆ สบายๆ 1 - 30 4. เกร็งให้น้อยที่สุด ขณะทำท่ากับส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ให้เกร็งแค่ตึงนิดๆ เฉพาะส่วนนั้น ส่วนอื่นๆ ให้ผ่อนคลายให้มากที่สุด 5. ดีขึ้นทันที ถ้าทำถูกขั้นตอนที่ 1,2,3 และ 4 ความตึงนิดๆ จะลดลงหรือหายไป ในขณะพูดนับออกเสียง เบาๆ ช้าๆ สบายๆ 6. มีอาการผิดปกติ ถ้าทำไม่ถูกขั้นตอน 1,2,3 และ 4 จะมีอาการเกร็ง สั่น ตะคริว เวียนศรีษะ คลื่นไส้ อาเจียน ฯลฯ 7. หมั่นทำ ให้ทำสม่ำเสมอทุกวัน และทุกขณะที่รู้สึกตึง เมื่อย เกร็ง หนักในร่างกาย อย่ารอให้เจ็บปวดและชา 8. ลด ละ หลีกเลี่ยง ท่าไหนทำแล้วมีอาการตึง เกร็งมาก ให้ลด ละ หลีกเลี่ยงการใช้งานร่างกายท่าที่ตรงข้ามกับท่านั้น หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Khun28 ที่ 07 ตุลาคม 2553, 19:56:22 โยคะชุดแรกที่จะแนะนำ คือ ท่าการยืดกล้ามเนื้อก่อนนอนและภายหลังจากนอนเป็นเวลานานๆ ก่อนลงจากเตียง ท่าที่ 1 : ยืดลำตัวด้านหน้า นอนหงายอยู่บนเตียงนอน ประสานมือแล้วพลิกฝ่ามือเหยียดนิ้วและแขนขึ้นไปเหนือศรีษะแขนแนบชิดหู เงยหน้าขึ้น หลังแอ่น ขาสองข้างชิดกัน งุ้มปลายเท้าลง ทำเท่าที่ทำได้ เมื่อรู้สึกตึงให้ค้างท่าไว้ แล้วนับออกเสียงเบาๆ ช้าๆ สบายๆ 1-30 ดูภาพประกอบด้านล่าง (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9x7zj-45adb1.jpg) ท่าที่ 2 : ยืดลำตัวด้านหลัง นอนหงายอยู่บนเตียงนอน ประสานมือแล้วพลิกฝ่ามือเหยียดนิ้วและแขนไปด้านปลายเท้าให้มือทั้งสองอยู่ เหนือท้องน้อย ประมาณ 1 ฝ่ามือ ดึงคางลงแขม่วท้อง ดันหลังชิดที่นอน กระดกข้อเท้าเข้าหาตัว ทำเท่าที่ทำได้ เมื่อรู้สึกตึงให้ค้างท่าไว้ แล้วนับออกเสียงเบาๆ ช้าๆ สบายๆ 1-30 ดูภาพประกอบด้านล่าง (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9x869-307fdd.jpg) ท่าที่ 3 : ดึงเข่าชิดอก นอนหงายอยู่บนเตียงนอน ประสานมือใต้ข้อพับเข่าซ้าย ดึงเข่าหาอก ขาทั้งสองข้างไม่ต้องแกร็ง ทำเท่าที่ทำได้ เมื่อรู้สึกตึงให้ค้างท่าไว้ แล้วนับออกเสียงเบาๆ ช้าๆ สบายๆ 1 - 30 เสร็จแล้วสลับไปทำขาอีกข้าง ดูภาพประกอบด้านล่าง (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9xzhs-9b1a4b.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9xzk2-1f07cb.jpg) ท่าที่ 4 : ยืดขาด้านหลัง นอนหงายอยู่บนเตียง ประสานมือใต้ข้อพับเข่าซ้าย รั้งเข่าให้ตั้งฉากกับลำตัว แขนสองข้างอยู่แนบตัว ค่อยๆเหยียดเข่าช้าๆ เมื่อรู้สึกตึงให้เหยียดข้างท่าไว้และค่อยๆกระดกข้อเท้าเข้าหาลำตัวให้เกิด ความตึงอีกนิด หย่อนไหล่และอกลง ขาขวาไม่เกร็ง ทำเท่าที่ทำได้ แล้วนับออกเสียงเบาๆ ช้าๆ สบายๆ 1 - 30 เสร็จแล้วสลับไปทำขาอีกข้าง ดูภาพประกอบด้านล่าง (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9xzn5-8d2793.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9xzoe-16f61c.jpg) ท่าที่ 5 : ซากศพ นอน หงาย ขาสองข้างแยกและเหยียดตามสบาย ปลายเท้าแบะออก แขนสองข้างวางข้างลำตัว หงายฝ่ามือขึ้น จัดศรีษะตรง ดึงคางลงเบาๆ หลับตา หายใจด้วยท้อง หายใจเข้าท้องค่อยๆป่อง หายใจออกท้องค่อยๆแฟบ ทำเบาๆ ช้าๆ สบายๆ อย่างน้อย 9 รอบ ดูภาพประกอบด้านล่าง (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9xzsr-b163a1.jpg) กรณีเพิ่งตื่นนอน ห้ามลุกออกจากเตียงทันที ให้ทำท่าที่ 1-4 และ ภายหลังจากทำท่าที่ 1 - 4 เสร็จแล้ว (ท่าที่ 5 ไม่ต้องทำ) ให้ตะแคงข้าง ลุกนั่งก่อน ดูภาพประกอบด้านล่าง (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9xzto-538354.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9xzuc-e3a628.jpg) ผมเชื่อมั่นว่า ถ้าท่านทำก่อนนอน จะทำให้หลับได้ง่ายขึ้น ภายหลังจากอยู่ในท่าซากศพ ให้ทำใจให้นิ่ง แล้วจะหลับสบาย ไม่ปวดเหมื่อย ส่วน ภายหลังจากตื่นนอนแล้ว ไม่ต้องลุกจากเตียง ทำท่าที่ 1-4 รับรอง ท่านจะเดินเหิน คล่องแคล้ว ไม่ปวดหลัง หรือตามล่างกายจากการนอนมาทั้งคืน ครับ ไม่เชื่อลองทำดูให้เป็นนิสัยทุกวันซิครับ ก่อนนอน และก่อนลุกจากเตียงนอน สวัสดีครับ หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Kaimook ที่ 07 ตุลาคม 2553, 20:16:46 ขอขอบคุณมากๆค่ะ จะพยายามทำให้ได้ทุกๆวันค่ะ...
หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Khun28 ที่ 17 ตุลาคม 2553, 06:48:19 สวัสดีครับพี่อ้อย
ฝึกได้กี่ท่าแล้วครับ หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: มีนา ที่ 21 ตุลาคม 2553, 14:16:35 ...ขอบคุณน้องขุนที่นำมาโพสต์และขอบคุณพี่สิงห์ที่นำสิ่งดีๆเพื่อดูแลสุขภาพมาถ่ายทอด
...นั่งลอกข้อความทั้งหมดไว้เพื่อไปทำตาม หันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น รู้สึกว่าความเสื่อมเริ่มมาเยือน emo29:P: คงดีกว่าไม่ทำอะไรเลยเนอะ หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 22 ตุลาคม 2553, 11:00:50 สวัสดีครับ ท่านขุน คุณน้องมีนา และคุณน้องน้ำอ้อย
ต้องขอขบคุณท่านขุนที่อุตส่าห์เก็บเอาไว้ และเอามาลงให้พวกเราได้นำไปปฏิบัติกันครับ พวกเราอายุมากแล้ว ร่างกายเสื่อมสภาพตามเวลาที่มากขึ้น สภาพกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ข้อต่อต่างๆ ควรจะได้รับการดูแลครับ เพื่อยืดอายุการใช้งานให้มากขึ้น การบริหารร่างกายแบบโยคะ ท่าก่อนนอน และภายหลังการตื่นนอน ทำบนเตียงนอน จะช่วยให้ท่านนอนหลับเพราะกล้ามเนื้อได้รับการผ่อนคลาย ไม่ปวดเหมื่อยเวลานอน ส่วนท่าที่ตื่นนอนนั้น ร่างกายเรานอนทับกล้ามเนื้อมาทั้งคืน ย่อมปวดเหมื่อย ถ้าเรายึดเสียนิดหน่อย จะทำให้เราเดินเหิรคล่อง ไม่ปวเหมื่อยครับ ขอให้ทำทุกวันนะครับ สวัสดี หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 22 ตุลาคม 2553, 11:10:02 สวัสดีครับชาวเวบที่รักทุกท่าน
เรื่องการอยู่ในอิริยาบถ ใช้ชีวิตประจำวันก็เป็นสิ่งสำคัญนะครับ เพราะถ้าเราอยู่ในท่า นั่ง ยืน นอน เดิน ยกของ ไม่ถูกต้อง ผลคือ โครงสร้างกระดูกผิดไป สิ่งที่ตามมาคือโรคกระดูกบิดเบี้ยวไปทับเส้นประสาท ครับ รักษายาก ไม่หายขาดต้องแก้ที่ต้นตอครับ สวัสดี อ.อิริยาบถ • ในชีวิตประจำวันคนเรา ต้องทำงานอยู่ในท่าต่าง ๆ แตกต่างกัน บางคนนั่งทำงานท่าเดียวนาน ๆ บางคนยืนและเดินตลอดทั้งวัน หากเราอยู่ในท่าเดียวนานๆ แล้วไม่มีการยืดเส้นยืดสาย หย่อนคลายจะทำให้การหด / ยืด ของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ ซึ่งนำไปสู่การโดนรัดของเส้นประสาท / เส้นเลือดในที่สุด ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพต่ออวัยวะต่าง ๆ ตามมาภายหลังได้ ดังนั้นจึงควรรู้อิริยาบถที่ถูกต้อง ดังต่อไปนี้ การยืน ต้องยืนให้หน้าตรง คางไม่ยื่น ยืดอก ไม่ยกไหล่ แขม่วพุง มองด้านหน้าไม่คด มองด้านข้างไม่ค่อม ไม่พุ่งยื่น การเดิน ต้องเดินหน้าตรง ไม่เดินหลังค่อม ไม่เดินเอียง การนอน • การนอนหงาย ต้องนอนให้หู – ไหล่ – สะโพก อยู่ในแนวเดียวกัน • การนอนตะแคง ต้องมีหมอนรองศีรษะเสมอขนาดใหญ่เท่าช่วงไหล่ หาหมอนแน่น ๆ รองเข่าท่อนบน และปลายเท้าไม่ให้สะโพกหุบและบิด • คนที่มีรูปร่างอ้วน ควรหลีกเลี่ยงการนอนตะแคง เพราะทำให้กระดูกสันหลังคด หรือที่เรียกว่า “ตกท้องช้าง การนั่ง • ถ้าเก้าอี้สูงเกินไป เข่าจะอยู่ต่ำกว่าสะโพก ทำให้หลังตึง • ถ้าเก้าอี้ต่ำเกินไป เข่าอยู่สูงกว่าสะโพก จะเมื่อยต้นขาบริเวณขาหนีบ • ควรนั่งเก้าอี้ขนาดพอดี ใช้มือสอดบริเวณท้องขาใกล้หัวเข่าได้ เก้าอี้ตัวใหญ่ เบาะนุ่ม พิงสบายก็มีปัญหาเวลาลุกต้องก้มตัว ถ้านั่ง-ลุกบ่อย ๆ มีปัญหาที่หลังได้ • ควรหาหมอนมารองหลังช่วงล่างบริเวณเว้าเหนือก้น • โต๊ะก็มีความสำคัญ โดยโต๊ะกับเก้าอี้ต้องมีความสูงสัมพันธ์กัน ถ้าโต๊ะสูง ต้องยกไหล่ทำให้ปวดบริเวณกล้ามเนื้อสะบักไหล่ อาจทำให้ปวดศีรษะตามมาได้ ถ้าโต๊ะต่ำ ต้องก้มตัวเขียน ทำให้ปวดหลังได้ การยกของหนัก ห้ามก้มตัวลงเพื่อยกของหนัก น้ำหนักตัวและของขณะก้มจะทำให้ความดันในหมอนรองกระดูกสันหลังสูงขึ้น เป็นผลให้หมอนรองกระดุกสันหลังเคลื่อนไปกดทับเส้นประสาทได้ ทำให้ปวดร้าวลงขา หรือมากถึงขั้นอัมพาดได้ ดังนั้นควรย่อเข่าเพื่อเก็บ / ยกของ หลักในการใช้ร่างกายในชีวิตประจำวัน • ทำงานในอิริยาบถที่ถูกต้อง และไม่อยู่ในอิริยาบถนั้นนาน ๆ • หากมีการล้า / ตึง / เกร็ง ให้เปลี่ยนอิริยาบถ เช่นนั่งพิมพ์งานแล้วรู้สึกเมื่อย ให้ยืดตัว เหยียดมือ หรือลุกเดินสักครู่ • ถ้ายืนนาน ๆ อาจหาที่พักเท้ามาวางเท้า เพื่อให้กล้ามเนื้อหลังหย่อน ไม่ตึง • ต้องไม่รู้สึกเกร็ง / ฝืน / ขัด / ตึง ขณะใช้ร่างกาย ควรเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกสบาย • ต้องหมั่นยืดบ่อย ๆ ร่างกายคนเรา ถ้าอยู่ในท่าเดียวนาน ๆ จะหด / ยืด ถ้าไม่ใช้งานเลย ข้อจะติด เพราะฉะนั้นต้องหมั่นยืดร่างกายทุกส่วน ทั้งส่วนที่ใช้บ่อยและส่วนที่ไม่ค่อยได้ใช้ หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 22 ตุลาคม 2553, 11:19:36 ฝึกให้เป็น “หมอ” เพื่อ ดูแลตัวเองในเชิงป้องกัน ก่อนเจ็บป่วย ***** เมื่อเรารู้สึกว่าไม่สบาย หรือป่วย คือเกิด “ความไม่ผ่อนคลาย” ขึ้นกับตัวเรา ตรวจหา “ความไม่ผ่อนคลาย” นั้นให้พบ ***** วินิจฉัย สาเหตุของ “ความไม่ผ่อนคลาย” นั้นให้เจอ ***** รักษา ให้ “ทำตรงกันข้าม” กับสาเหตุที่เกิด “ความไม่ผ่อนคลาย” นั้น ยกเว้น ถ้าสาเหตุนั้นเกิดจากเชื้อโรค - อุบัติเหตุ ต้องไปพบหมอ หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 22 ตุลาคม 2553, 11:23:00 อะไร..? เป็น สาเหตุ ที่ทำให้มนุษย์เจ็บป่วย และ วิธีป้องกันรักษาก่อนเจ็บป่วย สาเหตุ ที่ทำให้มนุษย์เจ็บป่วย • อาหารที่เรารับประทานอยู่ทุกวัน “กินอย่างไร ได้อย่างนั้น” • การอยู่ในอิริยาบถเดิมเป็นเวลานาน หรือท่าทางการทำกิจวัตรประจำวัน ที่ไม่ถูกสุขลักษณะ หรือการยกของหนักที่ไม่ถูกท่า • ทำงานหนักเกินไป พักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้ภูมิต้านทานโรคลดลง • ไม่ออกกำลังกาย (การทำงานหนัก ไม่ใช่เป็นการออกกำลังกาย) • อารมณ์ไม่ผ่องใส โกรธ หรือเครียดในขณะทำงาน เป็นประจำ • ขาดสติในขณะทำงาน หรือทำกิจวัตรประจำวัน ผลคือเกิดอุบัติเหตุ • โรคภูมิแพ้และโรคจากกรรมพันธุ์ (โรคที่พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยายให้มา) • ร่างกายและระบบอวัยวะต่าง ๆ เสื่อมโทรมลง ตามอายุที่มากขึ้น หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 22 ตุลาคม 2553, 11:26:02 สาเหตุหลักของการเจ็บป่วย *** อาหารที่รับประทานอยู่ทุกวัน ไม่ออกกำลังกาย - ไม่อยู่ในอิริยาบถ - ผักผ่อนน้อย อารมณ์ขุ่นมัว วิตกกังวล ฟุ้งซ่าน เพราะขาดสติ การป้องกันรักษา คือ “ให้ทำตรงกันข้าม” *** การ“นอนเร็ว ตื่นเช้า” และ หลัก“ 3อ.” เพื่อ การดำรงชีวิตให้มีความสุข และ อยู่อย่างไร้โรค หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 22 ตุลาคม 2553, 11:37:16 ตัวอย่าง ตรวจ-วินิจฉัย-รักษา เชิงป้องกัน ก่อนที่จะเจ็บป่วย โรคที่เกิดจาก อาหารที่เรารับประทานกันอยู่ทุกวัน “กินอย่างไร ได้อย่างนั้น” • วินิจฉัย สาเหตุเกิดจาก วัฒนธรรมการกินของคนไทยเปลี่ยนไป คือ กินไม่ครบ 3 มื้อ กินอาหารขยะ กินมากเกินไป กินตามใจอยาก ไม่กินผักกินของทอด-ปิ้ง กินจุบจิบ กิบน้ำผสมน้ำตาล และกินแล้วนอนเร็ว • เป็นกลุ่มโรคที่ต้องเสียเงินมากในการรักษาพยาบาล ณ ปัจจุบัน เช่น โรคกรดไหลย้อน อ้วน ข้อเสื่อม ความดัน เบาหวาน หลอดเลือดหัวใจ • รักษา ให้“ทำตรงกันข้าม”คือรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ ถูกต้องตามหลักอนามัย-โภชนาการ ครบทั้ง 3 มื้อ ในปริมาณเหมาะสมตรงเวลา ไม่กินจุบจิบ ไม่ดื่มน้ำอัดลมและมื้อเย็นต้องกินเสร็จก่อนนอน 2.5ชั่วโมง โรคที่เกิดจาก การอยู่ในอิริยาบถเดิมเป็นเวลานาน หรือท่าทางการทำกิจวัตรประจำวันที่ไม่ถูกสุขลักษณะ หรือการยกของหนักที่ไม่ถูกท่า • วินิจฉัย สาเหตุเกิดจาก การยืน การเดิน การนั่ง การนอน และการยกของหนัก ไม่ถูกสุขลักษณะหรืออยู่ในท่านั้นนาน ๆ ผล คือ โครงกระดูกบิดเบี้ยว เกิดโรคตามมาภายหลังหรือเมื่ออายุมากขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยชรา • ได้แก่กลุ่มโรคเกี่ยวกับโครงกระดูกบิดเบี้ยว กระดูกทับเส้นประสาท ปวดเหมื่อยตามร่างกาย เป็นกลุ่มโรคที่ทรมาน รักษาอยาก และไม่หายขาด • รักษา ให้ “ทำตรงกันข้าม” คือทุกอิริยาบถ ต้องทำให้ถูกสุขลักษณะ ตามหลักสรีระวิทยา ไม่สะพายหรือถือกระเป๋าด้วยไหล่-แขนข้างเดียว ถ้ายกของหนักต้องให้ถูกท่า และต้องเริ่มดูแลร่างกายตั้งแต่ยังหนุ่ม - สาว โรคที่เกิดจาก การใช้ร่างกายทำงานหนักเกินไป พักผ่อนไม่เพียงพอ • วินิจฉัย สาเหตุเกิดจาก พักผ่อนหลับนอนไม่เพียงพอ ทำให้ร่างกายอ่อนแอ ภูมิต้านทานโรคลดลง เชิ้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย • กลุ่มโรคตระกูลไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ แพ้อากาศ โรคเครียด ปวดหัว มายเกรน โรคตับอักเสบ โรคไตเสื่อม และโรคติดเชื้อต่าง ๆ • รักษา ให้ “ทำตรงกันข้าม” คือไม่ทำงานหักโหม หรือทำงานเกินกำลัง หรือเมื่อรู้สึกว่าร่างกายทำงานต่อไปไม่ไหวแล้วต้องหยุดพักทันที นอนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทำอารมณ์ให้แจ่มใส ไม่นอนดึกเกินสี่ทุ่ม หลับให้สนิท กรณีทำงานเป็นคาบต้องนอนให้เพียงพอ โรคที่เกิดจาก อารมณ์ • วินิจฉัย สาเหตุเกิดจาก “อาสวะกิเลส” คือความโลภ(รวมราคะ) ความโกรธ ความหลง ที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาลเป็นปัจจัย พอประสพเหตุการเดิม ๆ นั้นอีกก็ “ขาดสติ” การไม่รู้จักการปล่อยวาง ยังยึดมั่นถือมั่นตามอารมณ์ และการทำงานไม่ประสบความสำเร็จ • กลุ่มโรคเครียด วิตกกังวล ปวดหัว ปวดมายเกรน และนอนไม่หลับ • รักษา ให้ “ทำตรงกันข้าม” คือให้ “มีสติ” รู้ตัวก่อนที่จะคิด ก่อนที่จะทำ ก่อนที่จะพูด ทำอารมณ์ให้แจ่มใส พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกาย ไม่นอนดึก หลับให้ลึก สวดมนต์และเจริญสติก่อนนอนทุกคืน และยึดหลัก “พุทธธรรม” ในการดำรงชีวิตประจำวัน โรคที่เกิดจาก อุบัติเหตุ • วินิจฉัย สาเหตุเกิดจาก การ “ขาดสติ”ในการกระทำ เช่น – ทำงานใจลอย ขาดการระมัดระวัง – โทรศัพท์ขณะขับรถ ง่วงนอน ใจลอย ขาดการระมัดระวัง – เมาสุราขณะขับรถ หรือ ขับรถด้วยการขาด “สติ” เป็นต้น • รักษา ให้ “ทำตรงกันข้าม” คือ ให้มี “สติ”ในการกระทำเสมอ เช่น – ไม่โทรศัพท์ขณะขับรถ ถ้าดื่มสุราต้องไม่ขับรถ ขับรถด้วยการมี“สติ”รู้ตัวตลอดเวลา ถ้ารู้สึกว่าง่วงให้จอดพักทันที – ทำงานด้วยการมี “สติ” ตลอดเวลาให้รู้ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ โรคที่เกิดจาก ภูมิแพ้ และ กรรมพันธุ์ • วินิจฉัย สาเหตุ ให้พบว่า “เรามีโอกาสที่จะเป็นบ้างไหม ?”(ถามตัวเอง) • กลุ่มโรค อ้วน เบาหวาน หัวใจ ภูมิแพ้ มะเร็ง • รักษา ให้ “ทำตรงกันข้าม” (ทำไม่ได้ เพราะ พ่อ – แม่ ให้มา) • แต่เราสามารถ “ป้องกันได้” ด้วยตัวของเราเอง ถ้าตั้งใจจริงและให้ “ความสำคัญ” กับมัน • ใช้หลัก การ “นอนเร็ว ตื่นเช้า” และ หลัก “ 3อ. ” มาปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง เหมือนเป็นหน้าที่ ที่จะต้องกระทำเป็นประจำทุกวัน • แต่ถ้าแพ้ใจตัวเองไม่สามารถกระทำได้ ให้ยึดหลัก“อิทธิบาท ๔” สรุป โรคที่มีโอกาสเป็นแน่ ๆ ถ้าไม่ป้องกันให้ถูกวิธี • โรคไข้หวัดชนิดต่าง ๆ • โรคทางเดินอาหาร เช่นโรคกรดไหลย้อน โรคกระเพาะ โรคลำไส้ • โรคปวดหัว หรือ ปวดมายเกรน • โรคปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดหลัง หมอนรองกระดูกทรุด • โรคข้อเสื่อม ปวดตามข้อ ลุก-นั่ง-ยืน-เดินลำบากและปวดเหมื่อย • โรคเครียด นอนไม่หลับ วิตกกังวล ผลสุดท้าย คือเป็นมะเร็ง • โรคตับอักเสบ โรคไตวาย และโรคนิ่ว • โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง-ต่ำ โรคเบาหวาน • โรคชาตามแขน ขา นิ้วมือ นิ้วเท้า เพราะขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง • โรคหลอดเลือดหัวใจ ตีบ ตัน กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 22 ตุลาคม 2553, 11:44:25 การ “นอนเร็ว ตื่นเช้า” ช่วยซ่อมร่างกายได้จริงๆ ประโยชน์ ของ การ “นอนเร็ว ตื่นเช้า” • มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐ ร่างกายของมนุษย์สามารถซ่อมแซมส่วนต่างๆ ของร่างกายที่สึกหรอ สูญเสีย เสื่อมโทรม จากการถูกใช้งานไปในแต่ละวันให้กลับมาสมบูรณ์ได้ใหม่ดังเดิม ถ้าได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ คือ การนอนหลับในช่วงเวลากลางคืน ที่ธรรมชาติกำหนดให้ต้องนอน การนอนแต่หัวค่ำ นอนให้หลับเป็นตาย หลับให้ลึก ในช่วงเวลาสี่ทุ่ม ถึง ตีหนึ่ง นั้น เป็นช่วงที่ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายจะซ่อมแซมด้วยตัวของมันเอง สังเกตได้ พอเราตื่นขึ้นมาในตอนเช้า จะรู้สึกสดชื่นมาก ๆ • การนอนดึก ตื่นสาย นอกจากร่างกายไม่ได้พักผ่อน ไม่สามารถซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ได้แล้ว ยังทำให้อ้วน ไม่สดชื่น และแก่เกินวัย หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 22 ตุลาคม 2553, 11:50:08 “อ. อาหาร” “You are what you eat” “กินอะไรเข้าไปก็จะส่งผลต่อชีวิตของเราอย่างนั้น” อ. อาหาร แนะนำคือ • รับประทานอาหาร สูตร 2:1:1 ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข คือ ผักสองส่วน : แป้งหนึ่งส่วน : โปรตีนหนึ่งส่วน เฉลี่ยให้ได้ทุกวัน หรือทุกมื้อ และยุทธวิธี “กินร้อน ช้อนกลาง” • โปรตีนขอให้เป็นเนื้อปลา เป็นส่วนใหญ่ • หลีกเลี่ยงอาหารที่ต้องทอด หรือผัดด้วยน้ำมัน และงดอาหารขยะ • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสจัด เช่น เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม และเผ็ด • งดน้ำชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มรสปรุงแต่งผสมน้ำตาล ขนมหวาน • งดเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์ทุกชนิด และไม่กินจุกกินจิก • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ตามหลักโภชนาการ • รับประทานอาหารให้ครบ 3 มื้อ ตรงเวลา ในปริมาณที่พอเหมาะ • อาหารต้องสะอาด ถูกหลักอนามัย และเป็นผัก – ผลไม้ ท้องถิ่น • มื้อเย็น ให้รับประทานอาหารที่ย่อยง่าย หรือรับประทานสลัดผัก หรือผลไม้ แทนก็ได้ ผลไม้แนะนำให้เป็นฝรั่ง หรือชมพู่ ได้ยิ่งดี • ภายหลังรับประทานอาหารเสร็จ แนะนำให้เดินจงกรมสิบนาที • มื้อเย็นควรรับประทานอาหารก่อนเข้านอนอย่างน้อย 2.5 ชั่วโมง พุทธพจน์ ทรงแสดงอานิสงส์ในการเดินจงกรม (เดินกลับไปกลับมา) ๕ ประการ • อดทนต่อการเดินทางไกล • อดทนต่อความเพียร • มีอาพาธน้อย • อาหารที่กิน, ดื่ม, เคี้ยว, ลิ้มรสแล้ว ย่อมย่อยไปด้วยดี • สมาธิที่ได้ในขณะจงกรม ย่อมตั้งอยู่นาน หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 22 ตุลาคม 2553, 11:55:14 อ. ออกกำลังกาย • ออกกำลังกายทุกครั้ง ต้องให้ต่อเนื่อง อย่างน้อย 30 นาที ขึ้นไป เพื่อให้หัวใจได้ทำงานสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และปอดทำงาน ได้เต็มที่ (เป็นการออกกำลังของหัวใจและปอด) • ความถี่ ให้ออกกำลังกายอย่างน้อย 3 - 4 ครั้งต่อสัปดาห์ • ก่อนออกกำลังกาย 3 ชั่วโมง ไม่ควรรับประทานอาหารหนัก • ผู้ที่เป็นโรคอ้วน เบาหวาน ไขมันสูง ความดันโลหิตสูง แนะนำให้ ฝึกไท้จี๋และรำกระบอง 12 ท่า ให้เหงื่อออก เพื่อเผาผลาญไขมันส่วนเกิน ทำให้หัวใจ – ปอด ทำงานได้เต็มที่ ช่วยให้ความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ การออกกำลังกาย แบบตะวันตก • เดิน วิ่ง เต้นแอโรบิค ฟิตเนส SPACE SKY WALKER • เต้นรำ เล่นกีฬาตามที่ถนัด หรือชอบ การออกกำลังกาย แบบตะวันออก • ฝึกไท้จี๋ หรือชี่กง หรือรำมวยจีน • ฝึกโยคะ • รำกระบอง 12 ท่าของป้าบุญมี หรือรำไทย เลือกการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับวัย หรือโรคเรื้อรังที่เราเป็นอยู่ หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 22 ตุลาคม 2553, 12:02:13 “ อ. อิริยาบถ ” • ในชีวิตประจำวันคนเรา ต้องทำงานอยู่ในท่าต่าง ๆ แตกต่างกัน บางคนนั่งทำงานท่าเดียวนาน ๆ บางคนยืนและเดินตลอดทั้งวัน หากเราอยู่ในท่าเดียวนานๆ แล้วไม่มีการยืดเส้นยืดสาย หย่อนคลายจะทำให้การหด / ยืด ของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ ซึ่งนำไปสู่การโดนรัดของเส้นประสาท / เส้นเลือดในที่สุด ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพต่ออวัยวะต่าง ๆ ตามมาภายหลังได้ ดังนั้นจึงควรรู้อิริยาบถที่ถูกต้อง ดังต่อไปนี้ การยืน • ต้องยืนให้หน้าตรง คางไม่ยื่น ยืดอก ไม่ยกไหล่ แขม่วพุง มองด้านหน้าไม่คด มองด้านข้างไม่ค่อม ไม่พุ่งยื่น การเดิน • ต้องเดินหน้าตรง ไม่เดินหลังค่อม ไม่เดินเอียง การนอน • การนอนหงาย ต้องนอนให้หู – ไหล่ – สะโพก อยู่ในแนวเดียวกัน • การนอนตะแคง ต้องมีหมอนรองศีรษะเสมอขนาดใหญ่เท่าช่วงไหล่ หาหมอนแน่น ๆ รองเข่าท่อนบน และปลายเท้าไม่ให้สะโพกหุบและบิด • คนที่มีรูปร่างอ้วน ควรหลีกเลี่ยงการนอนตะแคง เพราะทำให้กระดูกสันหลังคด หรือที่เรียกว่า “ตกท้องช้าง การนั่ง • ถ้าเก้าอี้สูงเกินไป เข่าจะอยู่ต่ำกว่าสะโพก ทำให้หลังตึง • ถ้าเก้าอี้ต่ำเกินไป เข่าอยู่สูงกว่าสะโพก จะเมื่อยต้นขาบริเวณขาหนีบ • ควรนั่งเก้าอี้ขนาดพอดี ใช้มือสอดบริเวณท้องขาใกล้หัวเข่าได้ เก้าอี้ตัวใหญ่ เบาะนุ่ม พิงสบายก็มีปัญหาเวลาลุกต้องก้มตัว ถ้านั่ง-ลุกบ่อย ๆ มีปัญหาที่หลังได้ • ควรหาหมอนมารองหลังช่วงล่างบริเวณเว้าเหนือก้น • โต๊ะก็มีความสำคัญ โดยโต๊ะกับเก้าอี้ต้องมีความสูงสัมพันธ์กัน ถ้าโต๊ะสูง ต้องยกไหล่ทำให้ปวดบริเวณกล้ามเนื้อสะบักไหล่ อาจทำให้ปวดศีรษะตามมาได้ ถ้าโต๊ะต่ำ ต้องก้มตัวเขียน ทำให้ปวดหลังได้ • การยกของหนัก ห้ามก้มตัวลงเพื่อยกของหนัก น้ำหนักตัวและของขณะก้มจะทำให้ความดันในหมอนรองกระดูกสันหลังสูงขึ้น เป็นผลให้หมอนรองกระดุกสันหลังเคลื่อนไปกดทับเส้นประสาทได้ ทำให้ปวดร้าวลงขา หรือมากถึงขั้นอัมพาดได้ ดังนั้นควรย่อเข่าเพื่อเก็บ / ยกของ หลักการในการใช้งานร่างกาย • ทำงานในอิริยาบถที่ถูกต้อง และไม่อยู่ในอิริยาบถนั้นนาน ๆ • หากมีการล้า / ตึง / เกร็ง ให้เปลี่ยนอิริยาบถ เช่นนั่งพิมพ์งานแล้วรู้สึกเมื่อย ให้ยืดตัว เหยียดมือ หรือลุกเดินสักครู่ • ถ้ายืนนาน ๆ อาจหาที่พักเท้ามาวางเท้า เพื่อให้กล้ามเนื้อหลังหย่อน ไม่ตึง • ต้องไม่รู้สึกเกร็ง / ฝืน / ขัด / ตึง ขณะใช้ร่างกาย ควรเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกสบาย • ต้องหมั่นยืดบ่อย ๆ ร่างกายคนเรา ถ้าอยู่ในท่าเดียวนาน ๆ จะหด / ยืด ถ้าไม่ใช้งานเลย ข้อจะติด เพราะฉะนั้นต้องหมั่นยืดร่างกายทุกส่วน ทั้งส่วนที่ใช้บ่อยและส่วนที่ไม่ค่อยได้ใช้ หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 22 ตุลาคม 2553, 12:07:37 ไท้จี๋ – ชี่กง TAICHI – CHI GONG • แพทย์แผนจีน แบ่งระบบอวัยวะภายในร่างกายตามหน้าที่ คือ – ห้าอวัยวะหยิน(yin organs) ได้แก่ หัวใจ ปอด ม้าม ไต ตับ – หกอวัยวะหยาง(yang organs) ได้แก่ กระเพาะ ถุงน้ำดี กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ซันเจียว(บริเวณช่องอกทั้งหมด) • เส้นลมปราณ (meridians) เป็นเส้นที่ใช้ถ่ายทอดพลัง ของเหลว และเลือดไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เส้นลมปราณนี้ได้ยึดโยงอวัยวะภายในทุกอวัยวะ จึงทำให้อวัยวะภายในทั้งหมดมีความเกี่ยวโยงถึงกันและกัน ช่วยให้ระบบการทำงานของร่างกายเกิดการสมดุล • เส้นลมปราณ เป็นเส้นที่แพทย์แผนจีนใช้เป็นจุดฝังเข็ม รักษาโรค • ชี่ หรือชิ (Chi) หมายถึงการหายใจ หรือพลังชีวิต ที่ทำให้มนุษย์สามารถมีชีวิตอยู่ได้ ชี่ หรือชิ เป็นพลังงานที่ไหลวนเวียนอยู่ภายในร่างกายของมนุษย์ หรือสัตว์ ไปตามเส้นลมปราณ • กง (Gong) หมายถึง ทักษะการออกกำลังกาย หรือการฝึกทักษะ • ชี่กง หรือชิกง หมายถึง การฝึกฝนร่างกายเพื่อให้พลังชี่ หรือชิ ไหลวนเวียนไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกายโดยสะดวก • ไท้จี๋ (TAI CHI) หรือไท้จี๋ชวน (Tai Chi Chuan) ภาษาแต้จิ๋วเรียกว่า “ ไท้เก๊ก” ส่วนภาษาไทยจะเรียกว่า “มวยจีน” เป็นการออกกำลังกายควบคู่กับการหายใจ และสมาธิ โดยเรียนแบบท่าทางมาจากการเคลื่อนไหวของสัตว์ รำต่อเนื่องเป็นชุด • ไท้จี๋ และชี่กง อาศัยความคิดตามปรัชญาเต๋าที่ว่า ร่างกายคนเราจะต้อง มีการไหลเวียนของพลังชี่ ที่ดี หากพลังชี่ ติดขัดก็จะทำให้ไม่สบาย หรือเจ็บป่วยได้ • ชาวจีนเชื่อว่า เทคนิคนี้เป็นวิธีการรักษาโรคเรื้อรังต่าง ๆ ให้หายได้ เช่น โรคกระเพาะอาหาร ความดันโลหิตสูง วิตกกังวล หูอักเสบ มะเร็ง โรคโลหิตจาง โรคเบาหวาน และยังเพิ่มปริมาณของสารสื่อประสาท • ไท้จี๋ หรือชี่กง เป็นการปฏิบัติสมาธิแบบเคลื่อนไหว เป็นการออกกำลังกายด้วยการหายใจร่วมกับการปฏิบัติสมาธิ มีการเคลื่อนไหวที่นุ่มนวลสวยงาม เป็นธรรมชาติแบบจีน ภายหลังฝึกจะรู้สึกสดชื่น หายใจโล่ง หลักในการฝึกไท้จี๋ หรือชี่กง หรือรำมวยจีน • ในระหว่างการฝึก ต้องผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจ • การผ่อนคลายร่างกาย ทำได้โดยการจินตนาการตามท่ารำ ให้นิ่มนวล สวยงาม เป็นธรรมชาติ และรู้สึกสบาย • การผ่อนคลายทางจิตใจ ให้เคลื่อนไหวตามท่ารำอย่างมีสมาธิ จิตจดจ่ออยู่ที่ลมหายใจเข้า – ออก และการเคลื่อนไหวของร่างกาย เท่านั้น • ฝึกการหายใจให้สอดคล้องกับท่ารำ ให้หายใจเข้าช้า ๆ ยาว ๆ หายใจออกให้ช้า ๆ ยาว ๆ และหายใจให้เป็นธรรมชาติ ไม่กลั้นหายใจขณะฝึก • การฝึกจะต้องตั้งใจทำ และฝึกอย่างต่อเนื่องทุกวันจึงจะได้ผล ประโยชน์ของการฝึกไท้จี๋ หรือชี่กง หรือรำมวยจีน • ช่วยทำให้ระบบหายใจดีขึ้น หายใจเต็มปอด และสามารถหายใจได้ลึก • ช่วยให้ระบบน้ำเหลือง และเลือด ไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ดีขึ้น ทำให้ความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ หัวใจเต้นช้าลง • ช่วยให้ระบบอวัยวะภายในสมดุล ทำงานเป็นปกติ • ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับข้อต่อต่าง ๆ ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้ดี • ทำให้ร่างกายแข็งแรง เพิ่มภูมิคุ้มกันโรค ไม่เจ็บป่วย และยังรักษาโรค • ช่วยผ่อนคลาย ทำให้สมาธิดีขึ้น มีสติในการทำงาน และเป็นคนใจเย็น • ข้อสังเกต ใบหน้าของผู้ที่ฝึกจะมีเลือดฝาด ปรากฏให้เห็น เช่นที่แก้ม "ตันเถียนโยคะ" เท่ากับ TAI CHI SALEE YOKA หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 22 ตุลาคม 2553, 13:33:02 โยคะ YOKA คือการออกกำลังกายแบบหนึ่ง ที่ช่วยคลายกล้ามเนื้อ ข้อต่อ เส้นเอ็น ต่างๆ ไม่ให้ยึดติด โดยมีหลักการ คือ ค้างท่าโยคะสัก สิบวินาที ในแต่ละท่า หรือนับหนึ่งถึงสิบช้าๆ ยาวๆ และจิตมีสมาธิ ส่วนการหายใจนั้น ถ้าฝึกมามากแนะนำให้หายใจแบบโยคะ คือ ให้ใจเข้าท้องป่อง (ค้างไว้สักอึดใจเพื่อให้กระบังลมเปิด รับอ๊อกวิเจน) หายใจออกท้องแฟบ ประโยชน์ของการฝึกโยคะ • ช่วยให้เลือดลมไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ดีขึ้น • ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับข้อต่อ ทำให้ข้อต่อสามารถเคลื่อนไหวได้ระยะหรือมุมการเคลื่อนไหวที่มากกว่าเดิม • ช่วยผ่อนคลาย และลดความตึงเครียด ที่เกิดจากการทำงาน ในชีวิตประจำวัน • ช่วยแก้ไขทรวดทรงให้ดูดีขึ้น • ช่วยทำให้สมาธิดีขึ้น • เพิ่มความมีสติ • ช่วยบรรเทาอาการปวดเหมื่อย ที่เกิดจากการเล่นกีฬา หรือการทำงานในชีวิตประจำวัน • โยคะช่วยลดอาการปวดประจำเดือน • โยคะมีผลในทางบำบัดรักษา โรคต่าง ๆ ที่มีสาเหตุมาจากความเครียด เช่นไมแกรน หรือกล้ามเนื้อเกร็งและตึง ปวดไหล่ ปวดต้นคอ ปวดหลัง • ช่วยเพิ่มความสามารถในการทรงตัว • ช่วยทำให้ใจเย็นลง หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 22 ตุลาคม 2553, 13:35:28 รำกระบอง 12 ท่า ของ ป้าบุญมี เครือรัตน์ ประโยชน์ของการรำกระบอง 12 ท่า ของ ป้าบุญมี เครือรัตน์ วันหลังผมจะรำถ่ายรูปมาให้ดูครับ • ช่วยให้ร่างกายแข็งแรงไม่เจ็บป่วย • เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดความอ้วน ไขมัน เบาหวาน และความดัน • ถ้าฝึกทำท่าละอย่างน้อย 30 ครั้ง หรือต่อเนื่องเกิน 30 นาที ขึ้นไปผลที่ได้รับ คือ มีอานุภาพเท่ากับการเต้นแอโรบิก 60 นาที โดยที่ข้อเข่า หรือข้อสะโพกไม่เสื่อมสำหรับผู้สูงอายุ หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 22 ตุลาคม 2553, 13:46:52 “อ. อารมณ์” • ไม่เครียด ไม่ขุ่นมัว ในขณะทำงาน หรือทำกิจวัตรประจำวัน • ทำจิตใจให้ผ่องใส่อยู่เสมอ โดยยึดหลัก “พุทธธรรม” เช่น ละนิวรณ์ ๕ • เลือก “พุทธธรรม” นำไปสู่ความสำเร็จในการกระทำ มาปฏิบัติ • สวดมนต์และปฏิบัติสมาธิ ก่อนนอนทุกคืน • แนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบเคลื่อนไหวของ “หลวงพ่อเทียน” • ข้อควรระวัง ก่อนปฏิบัติสมาธิ - วิปัสสนากรรมฐาน ควรศึกษา • ขันธ์ ๕, นิวรณ์ ๕, อายาตนะ ๖, โพชฌงค์ ๗, และอริยะสัจ ๔ • เพื่อป้องกันไม่ให้จิต คิดไปในทาง “อกุศลธรรม” หรือ “จิตวิปลาส” “พุทธธรรม” ที่ทำให้อารมณ์ดี แจ่มใส ไม่ขุ่นมัว และ ประสบความสำเร็จในการกระทำ ภัทเทรัตตสูตร สูตรว่าด้วยราตรีเดียวที่ดี • พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม ตรัสแสดงอธิบาย “เกี่ยวกับบุคคลผู้มีราตรีเดียวอันดี” โดยใจความคือ ไม่ให้ติดตามเรื่องล่วงมาแล้ว ไม่ให้หวังเฉพาะเรื่องที่ยังมาไม่ถึง ให้เห็นแจ้งปัจจุบัน ให้รีบเร่งทำความเพียรเสียในวันนี้ ใครจะรู้ว่าความตายจะมีในวันพรุ่ง เพราะจะผัดเพี้ยนต่อมฤตยูผู้มีเสนาใหญ่ ย่อมไม่ได้ คนที่มีความเพียรอย่างนี้ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันกลางคืน เรียกว่า มีราตรีเดียวอันดี(เจริญ) • การไม่ติดตามอดีต การไม่หวังเฉพาะอนาคต ตรัสอธิบายว่า ไม่ให้มีความยินดี เพลิดเพลินในอดีตและอนาคต นั้น อย่ายึดติดกับ “ อายตนะ ๖ ” 1. รูป 2. เสียง 3. กลิ่น 4. รส 5. โผฏฐัพพะ (สิ่งที่ถูกต้องกายทั้งหลาย) 6. ธรรมารมณ์ (สิ่งทั้งหลายที่ใจรู้ ใจคิด) ละนิวรณ์ ๕ ด้วย โพชฌงค์ ๗ เพื่อ อารมณ์ดี ไม่ขุ่นมัว ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่วิตกกังวล นิวรณ์ ๕ นิวรณ์ อธิบายเป็นพุทธพจน์ มีความว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการเหล่านี้ เป็นเครื่องปิดกั้น (กุศลกรรม) เป็นเครื่องห้าม (ความเจริญงอกงาม) ขึ้นกดทับจิตใจไว้ ทำปัญญาให้อ่อนกำลัง” “เป็นอุปกิเลสแห่งจิต (สนิมใจ หรือสิ่งที่ทำให้ใจเศร้าหมอง) ทำปัญญาให้อ่อนกำลัง” “ธรรม ๕ ประการเหล่านี้ เป็นนิวรณ์ ทำให้มืดบอด ทำให้ไร้จักษุ ทำให้ไม่มีญาณ (สร้างความไม่รู้) ทำให้ปัญญาดับ ส่งเสริมความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน” นิวรณ์ ๕ ประกอบด้วย 1. กามฉันท์ ความอยากได้อยากเอา 2. พยาบาท ความขัดเคืองแค้นใจ 3. ถีนมิทธะ ความหดหู่และเซื่องซึม 4. อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านและเดือดร้อนใจ 5. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย “ โพชฌงค์ ๗ ” • มีพุทธพจน์จำกัดความหมายของโพชฌงค์ไว้สั้น ๆ ว่า “เพราะเป็นไปเพื่อโพธะ (ความตรัสรู้) ฉะนั้นจึงเรียกว่า โพชฌงค์” • “ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการเหล่านี้ ไม่เป็นเครื่องปิดกั้น ไม่เป็นนิวรณ์ ไม่เป็นอุปกิเลสแห่งจิตเมื่อเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผล คือวิชชา และวิมุตติ” • “ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการเหล่านี้ เป็นธรรมให้มีจักษุ ทำให้มีญาณ ส่งเสริมความเจริญแห่งปัญญา ไม่เป็นข้างความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน” “ โพชฌงค์ ๗ ” มีความหมายรายข้อ ดังนี้ • สติ ความระลึกได้ หมายถึง ความสามารถทวนระลึกนึกถึง หรือกุมจิตไว้กับสิ่งที่จะพึงเกี่ยวข้อง หรือต้องใช้ ต้องทำในเวลานั้น ในโพชฌงค์นี้ สติมีความหมายคลุมตั้งแต่การมีสติกำกับตัว ใจอยู่กับสิ่งที่กำลังกำหนดพิจารณาเฉพาะหน้า จนถึงการหวนระลึกรวบรวมเอาธรรมที่ได้สดับเล่าเรียนแล้ว หรือสิ่งที่จะพึงเกี่ยวข้องต้องใช้ต้องทำ มานำเสนอต่อปัญญาที่ตรวจตรองพิจารณา • ธัมมวิจยะ หรือธรรมวิจัย ความเฟ้นธรรม หมายถึง การใช้ปัญญาสอบสวนพิจารณาสิ่งที่สติกำหนดไว้ หรือธรรมที่สติระลึกรวมมานำเสนอนั้น ตามสภาวะ เช่น ไตร่ตรองให้เข้าใจความหมาย จับสาระของสิ่งที่พิจารณานั้นได้ ตรวจตราเลือกเฟ้นเอาธรรม หรือสิ่งที่เกื้อกูลแก่ชีวิตจิตใจ หรือสิ่งที่ใช้ได้เหมาะดีที่สุด ในกรณีนั้น ๆ หรือมองเห็นอาการที่สิ่งที่พิจารณานั้นเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เข้าใจตามสภาวะที่เป็นไตรลักษณ์ ตลอดจนปัญญาที่มองเห็นอริยสัจ • วิริยะ ความเพียร หมายถึงความแกล้วกล้า เข้มแข็ง กระตือรือร้นในธรรมหรือสิ่งที่ปัญญาเฟ้นได้ อาจหาญในความดี มีกำลังใจ สู้กิจ บากบั่น รุดไปข้างหน้า ยกจิตไว้ได้ ไม่หดหู่ ถดถอย หรือท้อแท้ • ปิติ ความอิ่มใจ หมายถึงความเอิบอิ่ม ปลาบปลื้ม ปรีย์เปรม ดื่มด่ำ ซาบซึ้ง แช่มชื่น ซาบซ่าน ฟูใจ • ปัสสัทธิ ความสงบกายใจ หมายถึงความผ่อนคลายใจ สงบระงับ เรียบเย็น ไม่เครียด ไม่กระสับกระส่าย เบาสบาย • สมาธิ ความมีใจตั้งมั่น หมายถึงความมีอารมณ์หนึ่งเดียว จิตแน่วแน่ต่อสิ่งที่กำหนด ทรงตัวสม่ำเสมอ เดินเรียบ อยู่กับกิจ ไม่วอกแวก ไม่ส่าย ไม่ฟุ้งซ่าน • อุเบกขา ความวางทีเฉยดู หมายถึงความมีใจเป็นกลาง สามารถวางทีเฉย นิ่งดูไป ในเมื่อจิตแน่วแน่อยู่กับงานแล้ว และสิ่งต่าง ๆ ดำเนินไปด้วยดีตามแนวทางที่จัดวางไว้ หรือที่มันควรจะเป็น ไม่สอดแส่ ไม่แทรกแซง “ อิทธิบาท ๔ ” ธรรมที่เป็นเหตุให้ประสบความสำเร็จ มี ๔ อย่างคือ • ฉันทะ ความพอใจ ได้แก่ ความมีใจรักในสิ่งที่กระทำ และพอใจใฝ่รักในจุดหมายของสิ่งที่ทำนั้น • วิริยะ ความเพียร ได้แก่ ความอาจหาญ แกล้วกล้า บากบั่น ก้าวไป ใจสู้ ไม่ย่อท้อ ไม่หวั่นกลัวต่ออุปสรรคและความยากลำบาก • จิตตะ ความคิดจดจ่อ หรือเอาใจฝักใฝ่ ได้แก่ ความมีจิตผูกพัน จดจ่อ เฝ้าคิดเรื่องนั้น ใจอยู่กับงานนั้น ไม่ปล่อย ไม่ห่างไปไหน • วิมังสา ความสอบสวนไตร่ตรอง ได้แก่ การใช้ปัญญาพิจารณา หมั่นใคร่ครวญตรวจตรา หาเหตุผล และตรวจสอบข้อยิ่งหย่อน เกินเลยบกพร่องหรือขัดข้องเป็นต้นในกิจที่ทำ รู้จักทดลองและคิดค้นหาทางแก้ไขปรับปรุง “ พรหมวิหาร ๔ ” ธรรมเครื่องอยู่อย่างประเสริฐ ธรรมประจำใจที่ประเสริฐสุทธิ์ หรือคุณธรรมประจำตัวของท่านผู้มีจิตใจกว้างขวางยิ่งใหญ่ หรือ ผู้นำ • เมตตา ความรัก คือ ปรารถนาดี มีไมตรี อยากให้มนุษย์ สัตว์มีสุขทั่วหน้า • กรุณา ความสงสาร คือ อยากช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ • มุทิตา ความพลอยยินดี คือ พลอยมีใจแช่มชื่นเบิกบาน เมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุขและเจริญงอกงาม ประสบความสำเร็จยิ่งขึ้นไป • อุเบกขา ความมีใจเป็นกลาง คือ วางจิตเรียบสงบ สม่ำเสมอ เที่ยงตรงดุจตราชั่ง มองเห็นมนุษย์สัตว์ทั้งหลายได้รับผลดีร้าย ตามเหตุปัจจัยที่ประกอบ ไม่เอนเอียงไปด้วยชอบ หรือชัง ข้อแนะนำ ขณะทำงาน หรือทำกิจวัตรประจำวัน ต้องมี สติ และ เกิดความผ่อนคลาย หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 22 ตุลาคม 2553, 13:50:22 ระวัง! ท่านอาจจะเป็นผู้หนึ่งที่จะเป็นแบบคุณแม่ของพี่สิงห์ คุณเตรียมตัว เตรียมใจ ไว้บ้างหรือเปล่า ถ้าเป็นแบบนี้(ในภาพ) คุณสามารถป้องกันได้ ขึ้นอยู่กับตัวคุณเองเท่านั้น ว่าจะกระทำหรือไม่ อย่าคิดว่าปล่อยไปเถอะ จะได้ตายเร็วๆ คนเราเวลาหยากตายมันก็ไม่ตาย แต่ทรมารก่อนตาย มีแต่ทุกข์รอบตัว ทั้งตัวเรา และคนที่เรารัก เรายังมีสติ มีปัญญา มีหนึ่งสมอง สองแขน สองขา ยังทำอะไรได้ทั้งนั้น ทำไม? เราไม่ดูแลร่างกาย-จิตใจของเราบ้างล่ะ จริงไหม? (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/laoj7c-64056b.jpg) พี่สิงห์ หวังว่าใครผ่านมาทางกระทู้นี้ คงได้อ่าน นำไปปฏิบัติ จะได้ "อยู่อย่างไร? ให้ไร้โรค" ไม่เป็นภาระของลูกหลานเมื่อยามชรา นี่แหละชีวิต อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตัดความหยาก(ตัณหา) สามารถละความยึดมั่นถือมั่นได้(อุปาทาน) เป็นการตัดวงจรทุกข์ (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/laojew-021b97.png) หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: ดร.มนตรี ที่ 22 ตุลาคม 2553, 13:58:20 ขอบคุณครับพี่สิงห์
---------------------------- ปล. ภาพครูสอนโยคะของจีน ... มิส หมู่ฉี หมีหย่า (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/laoja0-ca395e.jpg) หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: too_ploenpit ที่ 22 ตุลาคม 2553, 14:06:43 ...อุ๊ย...ท่านี้พี่ตู่ก็ทำได้ค่ะ...เคยทำมาแล้วเมื่อก่อนนี้ก็เล่นโยคะ...
...ทำไม่ได้อยู่ท่าเดียวคือท่าสะพานโค้งค่ะ...แบบว่ายกก้นไม่ขึ้นค่ะ(ก้นหนัก)...อิอิ... หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: ดร.มนตรี ที่ 22 ตุลาคม 2553, 14:10:38
สวัสดีครับพี่ตู่ ... คุณครูหมู่ฉี เธอสอนได้ทุกท่าเลยครับ แต่ท่าอื่นผมไม่กล้าโพส emo2:) หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 22 ตุลาคม 2553, 14:30:42 ยายตู่ - ดร.มนตรี มาวิจารณ์ทำไมท่าโยคะ พี่สิงห์ทำได้หมดทุกท่า เนื้อหาที่พี่สิงห์โพสต์ต่างหาก น่าสนใจกว่า หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 22 ตุลาคม 2553, 14:44:07 ขอคิดดี ๆ จากชายที่จากไป
แง่คิดดีๆ จากชายชราผู้จากไป โดย พิษณุ นิลกลัด สัปดาห์สุดท้ายของปี 2548 ผมไปงานสวดและงานเผาศพผู้ชายวัย 81 ปีที่ผมรู้จักเขามายาวนาน 30 ปี ไม่ใช่ญาติ แต่ สนิทกันรักใคร่เสมือนญาติ ก่อนเสียชีวิตไม่กี่วันเขาสั่งลูกและภรรยาแบบคนไม่ครั่นคร้ามความตายว่า สวดสามวันแล้วเผา ไม่ต้องบอกใครให้วุ่นวาย อย่าเศร้า อย่าร้องไห้ ทุกคนต้องมีวันนี้ เพียงแต่เขาอยู่หัวแถวเลยต้องไปก่อน แล้วลูกเมียก็ทำตามคำสั่ง สวดสามวันเผา งานสวด 3 คืน มีคนฟังพระสวดคืนละ 14 คน คือเมีย ลูก หลาน เขย สะใภ้ และผม ซึ่งเป็นคนนอก เป็นงานศพที่มีคนไปร่วมงานน้อยที่สุดเท่าที่ผมเคยไปฟังสวด วันเผามีเพิ่มเป็น 17 คน สามคนที่เพิ่ม เป็นเพื่อนบ้านที่เคยคุยด้วยเกือบทุกเย็น คนหนึ่งเป็นแม่ค้าล็อตเตอรี่ที่เคยยืมเงินแล้วไม่มีสตังค์จ่าย เลยเอาล็อตเตอรี่ทยอยผ่อนใช้หนี้แทนเงิน งวดละสองใบคนหนึ่ง และคนสุดท้ายเป็นหญิงที่ผู้ตายเคยผูกปิ่นโตทุกมื้อเย็น ทั้งสามคนบอกว่า เกือบมาไม่ทันเผา เคราะห์ดีที่แวะไปเยี่ยมที่โรงพยาบาล เจ้าหน้าที่บอกว่าเสียชีวิตไปแล้ว 3 วัน หลังฌาปนกิจ พระกระซิบถามเจ้าหน้าที่วัด ว่าเจ้าของงานจ่ายเงินค่าศาลาสวดพระอภิธรรมแล้วหรือยัง พระท่านคงไม่เคยเห็นงานศพที่มีคนน้อยแบบที่ผมก็รู้สึกตั้งแต่สวดคืนแรก จริงๆ แล้วผู้ตายเป็นคนค่อนข้างมีสตังค์ ทำงานธนาคารแห่งประเทศไทยจนเกษียณอายุที่ ตำแหน่งหัวหน้าหน่วย แต่ด้วยความที่รักและศรัทธาอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อดีตผู้ว่าการแบงค์ชาติ จึงดำเนินชีวิตแบบไม่ปรารถนาให้ใครเดือนร้อน แม้กระทั่งวันตาย ผมสนิทกับเขาเพราะเขามีความฝันในวัยเด็กอยากเป็นนักประพันธ์แบบไม้เมืองเดิม ที่เขาเคยนั่งเหลาดินสอและวิ่งซื้อโอเลี้ยงให้ เมื่อตัวเองเป็นนักเขียนไม่ได้ พอมาเจอะผมที่เป็นนักข่าวก็เลยถูกชะตา และให้ความเมตตา การมีโอกาสได้พูดได้คุยกับเขาตามวาระโอกาสตลอด 30 ปี ทำให้ได้แง่คิดดีๆ มาใช้ในการดำรงชีวิต วันหนึ่งเขารู้ว่า ขโมย ยกชุดกอล์ฟของผมไป สองชุดราคา 4 แสนกว่าบาท เขาปลอบใจผมว่า 'ของที่หายเป็นของฟุ่มเฟือยของเรา แต่มันอาจเป็นของจำเป็นสำหรับลูกเมีย ครอบครัวเขา คิดซะว่าได้ทำบุญ จะได้ไม่ทุกข์' เขามีวิธีคิด 'เท่ๆ' แบบผมคิดไม่ได้มากมาย เป็นต้นว่า สุขและทุกข์อยู่รอบตัวเรา อยู่ที่ว่าเราจะเลือกหยิบเลือกคว้าอะไร คงเป็นเพราะเขาเลือกคว้าแต่ความสุข ช่วงปีสุดท้ายของชีวิต เขาต่อสู้กับโรคชรา เบาหวาน หัวใจ ความดัน เกาต์ และไตทำงานเพียง 5% โดยไม่ปริปากบ่น แถมยังสามารถให้ลูกชายขับรถพาเที่ยวในวันหยุดสุดสัปดาห์ โดยที่ตัวเองต้อง หิ้วถุงปัสสาวะไปด้วยตลอดเวลา เนื่องจากไตไม่ทำงาน ปัสสาวะเองไม่ได้ 6 เดือน สุดท้ายของชีวิตต้องนอนโรงพยาบาลสามวัน นอนบ้านสี่วันสลับกันไป เวลาลูกหลาน หรือเพื่อนของลูกรวมทั้งผมด้วยไปเยี่ยมที่โรงพยาบาล เขามีแรงพูดติดต่อกันไม่เกิน 10 นาที แต่ 10 นาที ที่พูด มีแต่เรื่องสนุกสนาน เรียกรอยยิ้มและเสียงหัวเราะจากคนไป เยี่ยมไข้ ทุกคน พูดตรงกันว่า 'คุณตาไม่เห็นเหมือนคนป่วยเลย ตลกเหมือนเดิม' พอแขกกลับ ลูกหลานถามว่าทำไมคุยแต่เรื่องตลก เขาตอบว่า 'ถ้าคุยแต่เรื่องเจ็บป่วย วันหลังใครเขาจะอยากมาเยี่ยมอีก' เขาเป็นคนชอบคุยกับผู้คนไม่ว่าจะอยู่บนเตียงคนไข้หรืออยู่บนรถแท็กซี่ บ่อยครั้งที่นั่งรถถึงหน้าบ้านแล้ว แต่สั่งให้โชเฟอร์ขับวนรอบหมู่บ้าน เพราะยังคุยไม่จบเรื่อง แล้วจ่ายเงินตามมิเตอร์! 4 เดือน สุดท้ายของชีวิตแพทย์ที่รักษาโรคไตมาตั้งแต่สมัยเป็นแพทย์อินเทิร์น จนกระทั่งเป็นหัวหน้าแผนก แนะนำให้พักรักษาตัวในโรงพยาบาลให้แข็งแรง แล้วค่อยกลับบ้าน แต่ อยู่ได้ 4 วันเขาวิงวอนหมอว่า ขอกลับบ้าน หมอซึ่งรักษากันมา 16 ปีไม่ยอม เขาพูดกับหมอด้วยความสุภาพว่า 'ขอให้ผมกลับบ้านเถอะ ผมอยากฟังเสียงนกร้อง' คุณหมอไม่รู้หรอก ว่าคนคิดถึงบ้านมันเป็นอย่างไร เพราะพอเสร็จงานหมอก็กลับบ้าน' หมอได้ฟังแล้วหมดทางสู้ ยอมให้คนไข้กลับบ้าน แต่กำชับให้มาตรวจตรงตามเวลานัดทุกครั้ง 1 เดือน ถึงวาระสุดท้ายของชีวิต เขาสูญเสียการควบคุมอวัยวะของร่างกายเกือบทั้งหมด เคลื่อนไหวได้อย่างเดียวคือกะพริบตา แต่แพทย์บอกว่าสมองของเขายังดีมาก เวลา ลูก เมียพูดคุยด้วย ต้องบอกว่า 'ถ้าได้ยินพ่อกะพริบตาสองที' เขา กะพริบตาสองทีทุกครั้ง! เห็นแล้วทั้งดีใจและใจหาย เขา ยังรับรู้ แต่ พูดไม่ได้ นี่กระมังที่เรียกว่าถูกขังในร่างของตนเอง สิบวันก่อนพลัดพราก ภรรยากระซิบข้างหูว่า ' พ่อสู้นะ ' เขา ไม่กะพริบตาซะแล้ว ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้สองเดือนเคยตอบว่า ' สู้ ' เขาสู้กับสารพัดโรคด้วยความเข้าใจโรค สู้ ชนิดที่หมอออกปากว่า ' คุณลุงแกสู้จริงๆ ' ตอนที่วางดอกไม้จันทน์ ผมนึกถึงประโยคที่แกพูดกับลูกเมื่อสี่เดือนก่อนว่า 'โรคภัย มันเอาร่างกายของพ่อไปแล้ว อย่าให้มันเอาใจของเราไปด้วย' 'แง่คิดดีๆ จากชายชราที่จากไป ' สอนให้เรารู้ว่า... เราเกิดมาพร้อมกับจิตใจบริสุทธิ์ และมันสมองมหัศจรรย์ ที่จะสามารถเรียนรู้ แยกแยะเรื่องดีๆ และสิ่งร้ายๆ ในชีวิต จงใช้โอกาสดีๆ ที่ร่างกายและจิตใจของเรา ยังทำอะไรๆ ได้อย่างที่สมองสั่ง จงเรียนรู้ และสร้างประโยชน์สุข ให้กับตนเองและผู้อื่นอย่างพอเพียง และดำรงชีวิตอย่างพอเพียงทางเศรษฐกิจ หากทุกๆ ครั้งที่เรียนรู้ เราล้ม เราพลาด อาจจะรู้สึกท้อบ้างในบางที แม้ไม่มีกำลังกายที่จะลุกในทันที..แต่ข้อให้มีกำลังใจที่จะสู้ต่อไป ถ้าเราเรียนรู้...ก็จะทำให้เราพบว่า การล้มหรือพลาดครั้งต่อไป เราจะไม่เจ็บเท่าเดิม ความดีก็เหมือนกางเกงใน ต้องมีติดตัวไว้แต่ไม่ต้องเอามาโชว์ หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: too_ploenpit ที่ 22 ตุลาคม 2553, 15:11:35 ...พี่สิงห์คะ...ตอนนี้ตู่เล่นโยคะบางท่าไม่ได้แล้ว...
...เป็นเพราะน้ำหนักขึ้น...เช่น ท่าที่ยืนขาเดียว...หรือท่าที่ต้องลงน้ำหนักข้างใดข้างหนึ่ง... ...เพราะว่าข้อเท้าไม่ดี...เล่นๆไปก็รู้ตัวค่ะ...เลยไม่ฝืนเล่น... ...ตราบใดที่ตู่ยังลดน้ำหนักไม่ได้...ก็ยังกลับมาเล่นไม่ได้ค่ะ... ...ส่วนท่าสะพานโค้งเล่นไม่ได้ตั้งแต่แรกเลยค่ะ...อีกท่านึงคือท่ายืนด้วยไหล่... ...แอโรบิคก็เต้นไม่ได้แล้วค่ะ...ตอนนี้ได้แต่ถีบจักรยานกับที่... ...โชคดีของพี่สิงห์ที่ทำได้ทุกท่าค่ะ หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 22 ตุลาคม 2553, 19:01:49 สวัสดีคุณน้องตู่
แอร์โรบิคไม่สมควร เพราะผลคือเข่าพังสำหรับผู้สูงอายุ รวมทั้งเต้นฮูลาฮูบด้วยห้ามเด็ดขาด จะทำให้กระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นปราสาทได้ ตอนนี้ให้ขี่จักยาน แต่ขี่สักหนึ่งชั่วโมง และถ้าเป็นไปได้ ฝึก "ตันเถียนสาลีโยคะ" ตามที่ท่านขุนโพสต์ รับรองเธอจะหุ่นดีขึ้นภายในสามเดือน และอย่าลืมรับประทานอาหารสูตร ๒:๑:๑ = ผักสองส่วน ปลาหนึ่งส่วน และข้าวหนึ่งส่วน งดของผัดและทอด รับรองสุขภาพดีแน่ๆ ครับ สวัสดี ความดีก็เหมือนกางเกงใน ต้องมีติดตัวไว้แต่ไม่ต้องออกมาโชว์ หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 23 ตุลาคม 2553, 21:20:36 คู่มือ สุขภาพคนไทย ในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ไข้หวัด (Common Cold) ไข้หวัด เป็นโรคติดต่อที่เกิดขึ้นทั่วโลก สามารถติดต่อกันได้ง่าย มีการระบาดในทุกฤดูกาล แต่จะระบาดมากในฤดูฝนต่อฤดูหนาว เนื่องจากอากาศเปลี่ยนแปลง สาเหตุ ของ “ไข้หวัด” เกิดจากเชื้อไวรัสที่มีมากกว่า 200 ชนิด กลุ่มไวรัส ที่ทำให้เกิดไข้หวัดได้มากที่สุด คือ ไรโนไวรัส (Rhino virus) ซึ่งมีอยู่ประมาณ 100 ชนิด และ กลุ่มไวรัส โคโรนา ไวรัส (Corona virus) รวมถึง อาดิโนไวรัส (adeno virus) และ กลุ่มไวรัส พาราอินฟลูเอนซ่า ไวรัส (Parainfluenza virus) และอื่นๆ อาการป่วยของไข้หวัดในแต่ละครั้ง จะเกิดจากเชื้อไวรัสเพียงชนิดเดียว เมื่อเป็นไข้หวัดด้วยเชื้อชนิดใดแล้ว ร่างกายจะมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสชนิดนั้น เมื่อเป็นไข้หวัดครั้งใหม่ ก็จะเป็นเชื้อไวรัสตัวใหม่ หมุนเวียนเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เชื้อไข้หวัด จะอยู่ในน้ำมูก น้ำลายและเสมหะของผู้ป่วย ติดต่อโดยการไอ จาม หรือ หายใจรดกัน หรือโดยการสัมผัสสิ่งของต่างๆร่วมกัน เช่น จาน ชาม ช้อน แก้วน้ำ ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ของเล่น และโทรศัพท์ ระยะฟักตัวของโรคหลังจากรับเชื้อประมาณ 1-3 วัน อาการ ของ “ไข้หวัด” มีไข้เป็นพักๆ ครั่นเนื้อครั่นตัว อ่อนเพลีย ปวดหนักศรีษะเล็กน้อย คัดจมูก น้ำมูกใส จาม คอแห้ง หรืออาจมีอาการเจ็บคอเล็กน้อย ไอแห้งๆ หรือไอมีเสมหะ เสมหะมีลักษณะสีขาว บางรายที่ร่างกายแข็งแรง อาจไม่มีไข้ มีเพียงอาการคัดจมูกและน้ำมูกไสๆ เท่านั้น ระยะติดต่อของโรคไข้หวัดสามารถติดต่อจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งได้ ตลอดเวลา ที่มีเชื้ออยู่ในร่างกาย การรักษา ไม่มียาที่ใช้รักษาโดยเฉพาะ ส่วนใหญ่แพทย์จะให้ยารักษาตามอาการ เช่น พาราเซตามอล ใช้แก้ปวด ลดไข้ ยาแก้ไอ ยาแก้แพ้ กลุ่มคลอเฟนิรามีน ใช้แก้แพ้ ลดน้ำมูก แต่โดยทั่วไปแล้ว ถ้าอาการไม่รุนแรงมาก ไข้หวัดจะหายไปเองภายในระยะเวลา 3-7 วัน สิ่งที่ต้องระวัง เมื่อเป็น “ไข้หวัด” โดยเฉพาะกรณีที่เป็นไข้หวัดเรื้อรังตลอดปี อาจเกิดโรคแทรกซ้อนได้ เช่น ไอมีเสมหะสีเหลืองหรือสีเขียว เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย โรคโพรงอากาศรอบจมูกอักเสบ ปอดบวม หลอดลมอัดเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ เป็นต้น โรคที่มีอาการคล้ายไข้หวัด โดยเฉพาะอาการไข้ ปวดหัว ตัวร้อน ไอ เจ็บคอ ได้แก่ ไข้หวัดใหญ่ หัด ปอดอักเสบ ไข้เลือดออกฯลฯ เมื่อป่วยเป็นไข้หวัด นอกจากรับประทานยาตามแพทย์สั่ง หรือตามอาการของโรคแล้ว ผู้ป่วยควรดื่มน้ำมากๆ โดยเฉพาะน้ำอุ่นหรือน้ำต้มสุก รับประทานอาหารอ่อนๆย่อยง่าย อาบน้ำอุ่นและเช็ดตัวให้แห้งทันทีหากมีไข้สูงควรใช้การเช็ดตัวแทนการอาบน้ำเพื่อป้ องกันโรคปอดบวม หลีกเลี่ยงการสั่งน้ำมูกแรงๆ เพราะอาจทำให้เกิดการอักเสบในหูเพิ่มขึ้นอีก สำคัญที่สุด คือ การพักผ่อนให้เพียงพอ หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 24 ตุลาคม 2553, 06:39:35 ท่าบริหารร่างกายเพื่อสุขภาพโดยใช้ท่อนไม้ (รำกระบอง 12 ท่า) ของ ป้าบุญมี เครือรัตน์ การบริหารร่างกายโดยใช้ไม้ของป้าบุญมี เป็นการยืดเหยียดกล้ามเนื้อลำตัว หลังและขาเป็นส่วนใหญ่ ช่วยป้องกันและลดอาการปวดหลัง ส่งเสริมคุณภาพชีวิต การบริหารร่างกายอย่างต่อเนื่องประมาณ 20-30 นาที ช่วยเพิ่มการเผาผลาญพลังงานประมาณ 90-120 แคลอรี่ ขึ้นกับความแรงระดับเบาเหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ ควรทำทุกวันหรือเกือบทุกวันหรือเกือบทุกเวลาเช้าหรือเย็นแล้วแต่สะดวก ไม้ที่ใช้ในการบริหารร่างกายมีความยาวเท่ากับช่วงข้อมือของแต่ละคนในขณะการแขนออกหรือประมาณ 125-130 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว ไม่ควรเกิน 1.5 นิ้ว จะใช้ไม้ไผ่ ไม้หนวด ไม้พลอง ท่อพีวีซี หรือไม้ถูพื้นตามความเหมาะสม การบริหารร่างกายมี 12 ท่า ป้าบุญมีทำท่าละ 99 ครั้ง โดยนับในใจไปด้วย ทำให้จิตมีสมาธิ สำหรับผู้ที่เริ่มต้นฝึก อาจเริ่มทำแต่ละท่าจำนวนน้อยครั้งและเคลื่อนไหวช้าๆก่อน เมื่อเกิดความชำนาญจึงเพิ่มจำนวนครั้งและความเร็ว หากเหนื่อยอาจหยุดพักระหว่างท่าประมาณครึ่งถึงหนึ่งนาทีแล้วทำต่อ แนะนำให้ทำแต่ละท่าอย่างน้อย 30 ครั้ง อย่างต่อเนื่องทุกท่า หรืออย่างน้อย 30 นาที ให้เป็นธรรมชาติ ไม่เร็วไปหรือช้าไปแล้วแต่ความสามารถของแต่ละบุคคลและให้มีสมาธิ ท่าบริหาร 12 ท่า ดังนี้ 1. เขย่าเท้า 2. เหวี่ยงข้าง 3. พายเรือ 4. หมุนกาย / หมุนเอว 5. ตาชั่ง 6. ว่ายน้ำวัดวา 7. กรรเชียงถอยหลัง 8. ดาวดังส์ 9. นกบิน 10. ทศกัณฑ์ / โยกตัว 11. ยกน้ำหนัก 12. นวดตัว ท่าที่ 1 เขย่าเข่า (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/laro4q-5b5dc4.jpg) ยกขาข้างใดข้างหนึ่งพาดบนโต๊ะ เก้าอี้ หรือสิ่งที่รองรับน้ำหนักได้ ความสูงหรือต่ำขึ้นอยู่กับสภาพของแต่ละบุคคล(โต๊ะสูงระดับเอว ไม่ใช้เก่าอี้) ขาข้างที่ยืนย่อเล็กน้อย หลังตรง ใช้มือทั้งสองข้างจับที่เข่าและเขย่าขึ้นลงจนครบ 99 ครั้ง เปลี่ยนข้างทำเช่นเดียวกันจนครบ ท่าที่ 2 เหวี่ยงข้าง (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/laro65-feb209.jpg) ยืนตรง แยกขา หน้าตรง มือทั้งสองจับปลายไม้ วาดไม้ออกด้านข้างลำตัวทางขวาขึ้นตั้งตรง พร้อมกับโยกตัวและย่อเข่าลงนับหนึ่ง วาดไม้ไปทางซ้าย ทำเช่นเดียวกันนับสอง...ทำสลับกันไปจนครบ ท่าที่ 3 พายเรือ (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/laro74-3e6876.jpg) ยืนตรง แยกขา หน้าตรง มือทั้งสองข้างจับปลายไม้ และตั้งขึ้นด้านข้างลำตัวทางขวา (พายข้างใดให้เอามือข้างนั้นถือปลายไม้ด้านล่าง) วาดไม้จากแนวตั้งไปแนวนอนไปด้านหลังจนสุด นับหนึ่ง ทำซ้ำจนครบเปลี่ยนข้างทำเช่นเดียวกันจนครบ หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 24 ตุลาคม 2553, 06:46:13 ท่าที่ 4 หมุนกาย หรือหมุนเอว (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/larom9-1f6bbe.jpg) ยืนตรง แยกขา หน้าตรง มือทั้งสองข้างจับปลายไม้ วาดไม้ในแนวนอนไปด้านข้างทางขวาและหมุนลำตัว พร้อมย่อเข่าขวานับหนึ่ง วาดไม้และหมุนตัวไปทางซ้าย ทำเช่นเดียวกันนับสอง... ทำสลับกันไปจนครบ ท่าที่ 5 ตาชั่ง (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/larolg-7c7fd8.jpg) ยืนตรง แยกขา ไม้พาดบ่า แขนทั้งสองข้างโอบปลายไม้ไว้ เอียงไปทางขวา และวาดปลายไม้ข้างเดียวกันลงมา พร้อมย่อเข่าซ้าย นับหนึ่ง เอียงตัวไปทางซ้ายทำเช่นเดียวกันนับสอง... ทำสลับกันไปจนครบ ท่าที่ 6 ว่ายน้ำวัดวา(ฟรีสไตล์) ยืนตรง แยกขา หน้าตรง ไม้พาดบ่า แขนทั้งสองข้างโอบปลายไม้ไว้ วาดปลายไม้ให้เป็นวงเหมือนว่ายน้ำไปข้างหน้าให้ได้ 1 รอบ นับหนึ่ง…ทำซ้ำจนครบ(http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/larokp-21a627.jpg) หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 24 ตุลาคม 2553, 06:52:25 ท่าที่ 7 กรรเชียงถอยหลัง (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/larov7-f38067.jpg) ยืนตรง แยกขา หน้าตรง ไม้พาดบ่าแขนทั้งสองข้างโอบปลายไม้ไว้ วาดปลายไม้ให้เป็นวงไปข้างหลังเหมือนว่ายน้ำท่ากรรเชียงให้ได้ 1 รอบ นับหนึ่ง… ทำซ้ำจนครบ ท่าที่ 8 ท่าดาวดึงส์ ยืนตรง เท้าทั้งสองข้างชิดกัน ปลายเท้าแยกหน้าตรง ไม้พาดบ่า แขนทั้งสองข้างโอบปลายไม้ไว้ วาดปลายไม้ลงด้านข้างทางขวา ปลายไม้ด้านซ้ายวาดขึ้นด้านบนนับหนึ่ง วาดปลายไม้ลงด้านข้างทางซ้าย ปลายไม้ด้านขวาวาดขึ้นด้านบนนับสอง... ทำสลับกันไปจนครบ(http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/larowt-e3a079.jpg) ท่าที่ 9 ท่านกบิน ยืนตรง แยกขา หน้าตรง ไม้พาดพาดบ่า แขนทั้งสองข้างโอบปลายไม้ไว้ หมุนลำตัวและไหล่ไปทางขวาพร้อมย่อเข่านับหนึ่ง หมุนไปทางซ้ายทำเช่นเดียวกันนับสอง... ทำสลับกันไปจนครบ(http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/larou1-f72f46.jpg) หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 24 ตุลาคม 2553, 06:59:55 ท่าที่ 10 ท่าทศกัณฑ์ หรือท่าโยกตัว (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/larp9p-af7b1f.jpg) ยืนตรง แยกขา หน้าตรง แขนทั้งสองห้อยลงมือจับไม้ไว้ที่หน้าต้นขา ย่อเข่าขวาพร้อมโยกตัวไปทางขวา นับหนึ่ง ย่อเข่าซ้าย ทำเช่นเดียวกัน นับสอง... ทำสลับกันไปจนครบ (ท่านี้ใช้เป็นท่าพักขณะเหนื่อยด้วย) ท่าที่ 11 ยกน้ำหนัก หรือจับไม้ข้ามหัว (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/larp8y-830c2b.jpg) ยืนตรง แยกขา หน้าตรง แขนทั้งสองข้างห้อยลง มือจับไม้ไว้ที่หน้าต้นขา วาดไม้ข้ามศรีษะและดึงลงด้านหลังหยุดในท่างอข้อศอก จากนั้นวาดไม้ข้ามศรีษะกลับมาอยู่ในท่าเดิมนับหนึ่ง... ทำซ้ำจนครบ ท่าที่ 12 นวดตัว (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/larp88-e26b3a.jpg) ยืนตรง แยกขา หน้าตรง แขนทั้งสองข้างห้อยลง มือจับไม้ไว้ที่หลังต้นขา ย่อเข่าลงทั้งสองข้างอย่าให้เกินกว่ามุมฉาก ใช้ไม้นวดหรือคลึงบริเวณหลังต้นขา ก้น และบริเวณหลังระดับเอวตามใจชอบพร้อมยืดเข่าขึ้นตรง นับหนึ่ง... ทำซ้ำจนครบ สวัสดีครับชาวเวบที่รักทุกท่าน ท่านที่ต้องการลดความอ้วน หรือลดน้ำหนัก ลองรำกระบองดูในแต่ละท่า 30 ครั้ง เทียบเท่ากับเต้นแรโรบิค 45 นาที แต่เข่าของท่านไม่เสีย ครับ ทดลองรำดู ไม่ยากเพียงแค่ไปหาซื้อไม้พลองลูกเสือมาเท่านั้น ก็สามารถออกกำลังกายได้แล้วครับ ป้องกันก่อนเจ็บป่วย ดีกว่าเมิ่อเจ็บแล้วต้องกินยา ต้องรักษาตัวเอง ไม่ดีเลยครับ พี่สิงห์รู้ดีครับ เพราะประสพอยู่ สวัสดียามเช้าทุกท่านครับ หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: มีนา ที่ 24 ตุลาคม 2553, 08:47:58 ...ตามมาอ่านค่ะ
...เป็นหนังสือมีจำหน่ายในท้องตลาดหรือเปล่าคะ ...ต้องไปค้นหนังสือที่เพื่อนอยู่กรมการแพทย์ให้มา เหมือนจะมีสอนรำกระบอง emo4:)) รับมาเก็บจริงๆ emo21:):): แต่พี่บอกช่วยลดน้ำหนัก ตอนนี้อยากเพิ่มน้ำหนักมากกว่า ดัชนีมวลกายน้อยไปค่ะ หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Khun28 ที่ 24 ตุลาคม 2553, 09:20:11 กว่าจะมาเป็นท่ารำกระบองของ ป้าบุญมี เครือรัตน์
"จากร่างกายที่ผุกร่อน พลิกสู่ความแข็งแกร่ง" "ออกกำลังกายด้วยรำกระบอง" เป็นวิธีออกกำลังกายโดยการใช้ไม้ ซึ่งคุณป้าบุญมี เครือรัตน์ ได้คิดค้นขึ้นมาจากความทุกข์ทรมานของโรคปวดหลัง และเพื่อเอาชนะโรคได้ด้วยตัวเอง คุณป้าเคยรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกโดยเฉพาะเป็นเวลานานกว่า 2 ปี คุณป้าต้องใส่เสื้อประคองหลังที่ดามด้วยเหล็ก(Lumbar Support) นอกจากนี้คุณป้ายังประคบด้วยสมุนไพรและนวดหลังด้วยลูกประคบ ทำจนหม้อดินที่ใช้ประคบรั่วไปหลายใบก็ยังไม่หาย ชีวิตของป้าบุญมีในขณะนั้นจะเป็นการนอนเสียมากกว่า จะก้าวเดินแต่ละครั้งก็ไม่มั่นคง จนรู้สึกท้อแท้ สิ้นหวังในชีวิต วัน หนึ่งมีญาติเอาล้อไม้ที่พันสายไฟมาฝากไว้ที่บ้าน ฝากไว้หลายสัปดาห์ก็ไม่มาเอาคืน จนกระทั้งวันหนึ่งคุณป้าบุญมีลองยกเท้าข้างหนึ่งขึ้นพาดกับล้อไม้ และลองเขย่าขา คุณป้ามีความรู้สึกเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น ทำเป็นประจำ จนเกิดมีกำลังใจในการมีชีวิตอยู่ ขณะเดียวกันก็ได้เหลือบเห็นคนแก่ถือกิ่งไม้ กางแขนเดินตามสนามหญ้าจากรายการโทรทัศน์ ด้วยประสบการณ์และสิ่งที่ได้พบเห็น คุณ ป้าจึงเกิดความคิดในการที่จะบริหารร่างกายตนเอง โดยได้ดัดแปลงไม้ถูพื้นที่ไม่ใช้แล้ว เริ่มคิดค้นท่าบริหารและพยายามทำการบริหาร โดยเริ่มจากส่วนที่เจ็บปวดและเคลื่อนไหวได้น้อย ก็รู้สึกว่าดีขึ้น สบายขึ้น กระฉับกระเฉง บริเวณต่างๆที่เคยปวดก็ค่อยๆหายปวด ท่าบริหารที่ทำแล้วไม่ได้ประโยชน์กับร่างกายก็จะเลิก แล้วคิดท่าใหม่ขึ้นเรื่อยๆ ทำจนส่วนต่างๆในร่างกายดีขึ้น และรู้สึกส่วนต่างๆของร่างกายสบายขึ้น ปัจจุบันรวมท่าที่คิดว่ามีประโยชน์ไว้ประมาณ 10 ท่า ช่วงเวลาในการคิดค้นและทดลองใช้เป็นเวลา 2 ปี โดยแต่ละท่าคุณป้าบุญมีจะมีการนับ 99 ครั้ง เนื่องจากการนับทำให้มีสติ ซึ่งถือเป็นการทำสมาธิในขณะออกกำลังกาย นับว่าเป็นการบริหารร่างกายและจิตใจไปพร้อมๆกัน คุณป้าบุญมีได้อะไรจากการออกกำลังกายโดยใช้ไม้กระบอง หลังที่เคยปวด ค่อย ๆลดอาการลงจนหาย สามารถทำงานหนักได้มากขึ้น ยกของหนักได้มากขึ้น ความจำดีขึ้น ไม่หลงลืม ตาที่เคยฝ้าฟางเหมือนมีใยแมงมุม มองเห็นภาพซ้อนกลับหายเป็นปกติ ที่สำคัญช่วยลดค่าใช้จ่ายในการไปหาหมอและสามรถทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม ได้มากขึ้น (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/larvs5-65d831.png) http://www.thaihof.org/node/180 หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: ดร.มนตรี ที่ 24 ตุลาคม 2553, 18:45:08
อ่านจบแล้วครับ น่าสนใจ และได้ประโยชน์จริงๆ ครับ ขอบคุณพี่สิงห์ และพี่ขุน มากครับ หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 24 ตุลาคม 2553, 20:49:41 สวัสดีครับ คุณน้องมีนา
พี่สิงห์ไม่ได้เอามาจากหนังสือ มีขายหรือไม่ไม่ทราบครับ รำกระบอง 12 ท่าพี่สิงห์เรียนมาจาก "โครงการซ่อมสร้างสุขภาพที่โรงพยาบาลจอมทอง เชียงใหม่" พยาบาลสอนให้ทำ แทนการเต้นแอโรบิค เพราะการเต้นแอโรบิค ต้องการลดน้ำหนัก แต่ข้อเข่าเสื่อมครับ เหมาะสำหรับวัยรุ่น ผู้สูงอายุแนะนำให้รำกระบองของป้าบุญมี ได้ผลเหมือนกันดังที่ท่านขุนบรรยายสรรพคุณมา ส่วนภาพนั้น จริงๆ พี่สิงห์มีภาพของป้าบุญมี รำกระบอง แต่ทางพนังงานปูนซิเมนต์ไทยทุ่งสง ขอยืมไปยังไม่ส่งคืน ก็เลยหาภาพได้จากทางเวบที่ท่านขุนโพสต์ ครับ ทีแรกตั้งใจจะรำด้วยตัวเอง แต่ติดขัดที่ยังหาช่างภาพไม่ได้ และตอนนี้คอระบมมาก ขอพักครับ ส่วนเนื้อหาอื่นๆที่เขียนนั้น เขียนเองตามสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวพี่สิงห์ และบุคคลใกล้ตัวต่างๆ ที่เป็นโรค เพื่อหาทางแก้ ทำอย่างไร?จะอยู่อย่างไร้โรค โดยพี่สิงห์เอาตัวเองเป็นหนูตะเภา ทดลอง ก็เขียนขึ้นมาเอาไว้ไปสอนทุกท่านที่หยากอยู่อย่างไร้โรค ให้เข้าใจก่อน จึงจะสอนโยคะและรำมวยจีนให้ เพราะเราต้องเป็นหมอดูแลตัวเราให้ได้ก่อนที่จะเจ็บป่วย นอกจากนี้ข้อมูลบางส่วนได้จากการฟังรายการ "พลังชีวิต" ของคุณอำมร บรรจง ทางคลื่น FM100.5 คลื่นข่าว Net work เวลา 05:00-06:00 น. ครับ สวัสดี หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 24 ตุลาคม 2553, 20:56:03 สวัสดีครับท่านขุน
หายไปหลายวันกลับมาอ่านคงงง เพราะพี่สิงห์เอาอะไรมาใส่เสียมากมาย และขอขอบคุณที่อุตส่าห์ไปตามหาทางเวบมูลนิธิแพทย์แผนไทย นำข้อมูลที่ป้าบุญมีค้นพบ ทำประสพผลสำเร็จกับตัวเอง เอามาเผยแพร่ให้ทุกท่านได้ทำตามเพื่อสุขภาพที่ดี ไม่ต้องลงทุนมาก เพียงมีเวลาหนึ่งชั่วโมงเท่านั้น ซึ่งปกติผู้สูงอายุ มีเวลาอยู่แล้ว เพียงแต่ใจมันไม่หยากทำเท่านั้นครับ พี่สิงห์หวังว่าใครผ่านมาทางนี้ได้อ่านตั้งแต่หน้าแรกจนจบหน้าที่สอง คงมีใจหยากจะดูแลตัวเองบ้างครับ เอาไว้พี่สิงห์นัดคุณอดิสร ได้ จะนำภาพการทำโยคะ TAICHI รำกระบอง ด้วยตัวของพี่สิงห์มาลงให้ครับ สวัสดี หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 24 ตุลาคม 2553, 20:59:54 สวัสดีครับ ดร.มนตรี
พี่สิงห์หวังว่าสิ่งที่พี่สิงห์เขียนไว้นั้นจะมีประโยชน์นะครับ นั่นคือ สิ่งที่พี่สิงห์ได้จากการกระทำกับตัวของพี่สิงห์เอง และนำไปเผยแพร่ต่อให้กับองค์กร ต่างๆ ฟรี ก่อนที่จะสอนโยคะ และ TAI CHI ให้ครับ เอกสารต่างๆ พวกนี้พี่สิงห์แจกไปเป็นพันชุดแล้วครับ ทำด้วยใจรักที่จะเห็นผู้อื่นมีสุขภาพที่ดี ไปอบรมให้มาแล้วหลายที่ครับ สวัสดี หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: ดร.มนตรี ที่ 24 ตุลาคม 2553, 21:46:41
ผมยังจำได้เลย ตอนไปลาว พี่สิงห์ทักว่าให้ผมดูแลสุขภาพ เพราะมีพุงแล้ว ... กลับมาผมฟิตเนส ซะพุงหาย ตอนนี้ร่างกายเฟิร์มมากครับ ... จะลองจัดโปรแกรมเล่นโยคะ ดูบ้างนะครับ ได้ผลอย่างไร จะมาเรียนให้ทราบครับ อ้อ ... พี่ิสิงห์ครับ ลูกชายผมฝากผม ให้เรียน ลุงสิงห์รักษาสุขภาพ ด้วยนะครับ ... (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/lasud2-76c765.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/lasudm-1517ca.jpg) หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 25 ตุลาคม 2553, 08:31:15 วิธีเจริญสติ ของหลวงพ่อเทียน จิตตฺสุโภ เพื่อสร้าง อ.อารมณ์ ไม่ให้เจ็บปวด หรือป่วยทางใจ และนำไปสู่นิพพาน(ความสงบ) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/lato5e-21b1fa.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/latohl-1aab2f.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/latoip-d05b9d.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/latojq-17e80e.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/latokp-0bbbb0.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/latoln-6bb1d6.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/latomu-d6376d.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/latonw-e207ff.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/latoop-c6b813.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/latoph-90873e.jpg) หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 25 ตุลาคม 2553, 08:52:38 วิธีเจริญสติ การปฏิบัติธรรม คือ การปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติออกจากทุกข์ การปฏิบัติธรรมนั้น ถึงแม้จะปฏิบัติโดยวิธีใดนานเท่าใดก็ตาม ถ้ายังไม่ได้เข้ามาจับจุดที่จิตใจที่กำลังปรากฏอยู่นี้ ก็แสดงว่าเรายังไม่เห็น - ไม่รู้ - ไม่เข้าใจ กล่าวคือ ยังไม่เข้าใจในหลักของการปฏิบัติธรรมตามแบบคำสอนของพระพุทธเจ้าอยู่นั่นเอง. พระองค์ได้ตรัสบอกเอาไว้ว่า เพราะพระองค์บำเพ็ญทางจิตกล่าวคือปฏิบัติทางจิต จึงได้สำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อใดมองเห็นจิตใจของตัวเองในขณะที่มันนึกมันคิด แสดงว่าได้เห็นสมุฏฐานหรือต้นเหตุของความคิด (ทุกข์), พระพุทธเจ้าท่านทรงชี้ให้เราเอาสติเข้ามาดูความคิด แต่อย่าเข้าไปอยู่ในความคิดนั้น วิธีปฏิบัติ การเจริญสติแบบเคลื่อนไหว นั้น นั่งก็ทำได้ ยืนก็ทำได้ เดินก็ทำได้ หรือนอนก็ทำได้ จะนั่งเหยียดแข้งเหยียดขา นั่งขัดสมาธิ นั่งห้อยเท้า หรือนั่งพับเพียบ ก็ทำได้หมด ไม่เลือกสัญชาติ ไม่เลือกศาสนา ใคร ๆ ก็ทำได้ และไม่ต้องรู้ธรรมะ มาก่อนก็ปฏิบัติได้ เพียงแต่มี “ความเชื่อมั่น”เท่านั้น ตามตำราบ่งไว้ ให้มีสติเข้าไปรู้อิริยาบถทั้งสี่ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน ให้มีสติเข้าไปรู้ และให้มีสติเข้าไปรู้ในอิริยาบถย่อย เช่น คู้ เหยียด เคลื่อนไหว กะพริบตา หายใจ อ้าปาก จะเคลื่อนไหวโดนวิธีใดก็ให้มีสติเข้าไปรู้ ให้มีสติเข้าไปรู้ หมายความว่า “ให้มีสติเข้าไปรู้ความคิด” วิธีปฏิบัติ ไม่ต้องนั่งหลับตา เพราะถ้าหลับตาแล้วมันจะเป็นอุปาทานเป็นมายา ถูกความคิดหลอกลวง ติดอยู่ในความคิด ลืมตัว นั่งหลับ ความคิดมันแวบเข้า-แวบออก มันไวที่สุด เมื่อเราคิดไปไหนมาไหน ไม่มีใครจะมาเห็นความคิดเราได้ มันจึงตรงกับหลักธรรมที่ว่า “สันทิฏฐิโก อันผู้รู้จะพึงเห็นเอง” “อกาลิโก ไม่ประกอบด้วยเวลา” ไม่ว่าจะเป็นยุคใดสมัยใด ไม่ว่าจะเป็นตอนเช้าตอนสาย กลางค่ำกลางคืน เราก็รู้ได้ เพราะคนเรามันคิดอยู่เสมอ เมื่อมีสติเข้าไปรู้ความคิด จะเห็นว่าความคิดนี้ก็เป็น “ทุกข์” ปกติคนเราจะมีสติอยู่กับมือ และเท้าเป็นส่วนใหญ่ ในอิริยาบถการใช้ชีวิตประจำวัน การสร้างจังหวะเคลื่อนไหวด้วยมือให้เป็นขั้นเป็นตอนนั้น จะช่วยให้มีสมาธิเกิดขึ้นได้ง่าย หมายความว่า เพื่อเป็นเป้าล่อให้สติและจิตของเรามาอยู่รวมกันกับการเคลื่อนไหวที่มือ ถึงแม้จิตจะไปไหน คิดอะไรอยู่ก็ตาม เดี๋ยวจิตก็จะกลับมารวมกับสติที่มือ เป็นสมาธิขึ้นมาใหม่ได้ สมาธิที่เกิดขึ้นสามารถอยู่ได้นานเช่นเดียวกับการเดินจงกรม “สติ” รวมกับ “จิต” เป็นหนึ่งเดียว ก็คือ “สมาธิ” การอยู่ในอิริยาบถเดิมเป็นเวลานาน ๆ จะทำให้รูป-นาม ทุกข์หนัก จนหมดกำลังใจที่จะปฏิบัติต่อ ผลคือไม่เป็นห่วงโซ่ หรือเลิก ลาไปเลย ทุกข์ที่เกิดจากรูป จะทำให้ร่างกายพิการ ก่อนที่เราจะพ้นทุกข์ ถ้ารูปมีการเปลี่ยนอิริยาบถ (ยืน เดิน นั่ง นอน) จะทำให้เหลือเพียงทุกข์ทางนาม คือจิตเท่านั้น ซึ่งความเพียร และปัญญา สามารถจะเอาชนะได้ ดังที่พระพุทธองค์ทรงใช้โพชฌงค์ ๗ อย่างมากก่อนตรัสรู้ ดังนั้นหลวงพ่อเทียน ท่านจึงบอกว่า การเจริญสติแบบที่ท่านให้ทำนั้น เป็นทางลัดที่สุดที่จะนำเราไปสู่นิพพาน (ความสงบ) ได้ การพิจารณา “ธรรม” “ธรรม” ก็คือตัวเรานี้เอง วิธีเจริญสติ ให้พิจารณาตัวเราเองนี่แหละ พิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเรา ทั้งรูป – นาม อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตามจริง เราจะรู้และเข้าใจด้วยตัวเอง ไม่ต้องพะวงว่าเราไม่มีความรู้เรื่อง “ธรรมะ” มาก่อน เพราะมันจะคิด เกิดขึ้นเอง จากการเจริญสติ การ “เห็นธรรม” ไม่อาจจะเห็นได้ด้วยการคิดไปตามเหตุผล แต่ต้องเห็นแจ้ง ด้วยความรู้สึกภายในที่แท้จริง เช่นพิจารณาเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ทำความเจ็บปวดให้แก่ตน ที่เข้าไปหลงใหลอย่างสาสม อาศัยการที่ได้กระทบจริงๆ จนเกิดเป็นความรู้สึกแก่จิตใจขึ้นมาจริงๆ แล้วเกิด ความเบื่อหน่าย เกิดความสลดสังเวชขึ้นมา อย่างนี้จึงจะเรียกว่าเห็นธรรม หรือเห็นแจ้ง (ท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ) หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 25 ตุลาคม 2553, 08:58:03 วิธีเจริญสติ การปฏิบัตินี้เราต้องเรียนด้วยตัวของเราเอง เราต้องสอนตัวเราเอง เราต้องเห็นด้วยตาเราเอง เราต้องรู้ด้วยตัวของเราเอง เราต้องเข้าใจด้วยตัวของเราเอง เราต้องทำด้วยตัวของเราเองดังนั้นเธอไม่จำเป็นต้องสนใจบุคคลอื่น เพียงปฏิบัติการเคลื่อนไหวนี้ให้มาก ทำเฉย ๆ ไม่รีบร้อน ไม่ลังเลสงสัย ไม่คาดคิดล่วงหน้า และทำโดยไม่คาดหวังผล ให้ง่าย ๆ และเพียงแต่เคลื่อนไหว เคลื่อนไหวทีละครั้งและรู้ เมื่อเธอไม่รู้ปล่อยมันไป เมื่อเธอรู้ ปล่อยมันไป บางครั้งเธอรู้ บางครั้งเธอไม่รู้ มันเป็นเช่นนั้น แต่ให้รู้ เมื่อร่างกายเคลื่อนไหว รู้มันเมื่อจิตใจเคลื่อนไหว รู้มัน การปฏิบัตินี้เป็นการปฏิบัติตลอด ๒๔ ชั่วโมง ดังนั้นให้ผ่อนคลายและให้เป็นธรรมชาติเป็นปกติธรรมดา จงตั้งใจปฏิบัติจริง ๆ และปฏิบัติอย่างสบาย ๆ ถ้าเธอเจริญสติอย่างถูกต้อง การปฏิบัติอย่างนานที่สุดไม่เกิน ๗ ปี อย่างกลาง ๑ ปี และอย่างเร็วที่สุด ๑ วัน ถึง ๙๐ วัน เราไม่จำต้องพูดถึงผลของการปฏิบัตินี้ ความทุกข์ไม่มีจริง ๆ จงอย่าเชื่อถือ ตามที่กำหนดไว้ใน “กาลามสูตร” จงเชื่อถือด้วย “ปัญญา” และผลการปฏิบัติ รู้แจ้งด้วยตัวของเธอเอง “กาลามสูตร” อย่าเชื่อถือโดยการฟังตามกันมา อย่าเชื่อถือโดยเห็นทำตามกันมา อย่าเชื่อถือโดยมีการเล่าลือกันมา อย่าเชื่อถือโดยการอ้างตำรา อย่าเชื่อถือโดยนัยหรือความคาดหมาย อย่าเชื่อถือโดยตรรกคือตรึกคิดเอาเอง อย่าเชื่อถือโดยคิดตามอาการเป็นไป อย่าเชื่อถือโดยชอบใจว่าตรงตามหลักของตน อย่าเชื่อถือโดยเห็นว่าเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือ อย่าเชื่อถือโดยเห็นว่าเป็นครูอาจารย์ของเรา หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 25 ตุลาคม 2553, 09:08:14 พุทธพจน์ “สูตรว่าด้วยราตรีเดียวที่ดี” พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม ท่ามกลางหมู่สงฆ์สาวก ทรงตรัสแสดงอธิบาย “เกี่ยวกับบุคคลผู้มีราตรีเดียวอันดี” โดยใจความคือ ไม่ให้ติดตามเรื่องล่วงมาแล้ว ไม่ให้หวังเฉพาะเรื่องที่ยังมาไม่ถึง ให้เห็นแจ้งปัจจุบัน ให้รีบเร่งทำความเพียรเสียในวันนี้ ใครจะรู้ว่าความตายจะมีในวันพรุ่ง เพราะจะผัดเพี้ยนต่อมฤตยูผู้มีเสนาใหญ่ ย่อมไม่ได้ คนที่มีความเพียรอย่างนี้ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันกลางคืน เรียกว่า มีราตรีเดียวอันดี(เจริญ) การไม่ติดตามอดีต การไม่หวังเฉพาะอนาคต ตรัสอธิบายว่า ไม่ให้มีความยินดี เพลิดเพลินในอดีตและอนาคต นั้น ทำไม ? จึงต้องมีสติอยู่กับ ณ ปัจจุบัน (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/latppn-7a309a.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/latpqf-d3a2ee.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/latprn-f8dd7e.jpg) ขณะที่รู้กับปัจจุบันจะพบว่ามีความสุขอย่างยิ่ง เมื่อมีสติอยู่กับปัจจุบันต่อเนื่อง ความทุกข์ก็มากล้ำกรายอีกไม่ได้ อดีตกับอนาคตต่อกันไม่ได้ เพราะความรู้ในปัจจุบันเข้ามาแทนที่เต็มไปหมด ***** พุทธพจน์ บาทแรกในปฏิจจสมุปบาท หรือ วงจรแห่งทุกข์ อวิชา ปัจจยา สังขารา ความไม่รู้ เป็นปัจจัยให้เกิด ความคิดปรุงแต่ง(แล้วเป็นชนวนให้เกิดความทุกข์) ขณะที่คิด = ไม่รู้ ถ้าจิตมันคิด เราจะไม่รู้สึกตัว(สติ) *** ขณะที่รู้ = ไม่คิด ถ้าเรารู้สึกตัว(รู้ความคิด) จิตมันจะไม่คิด(ปรุงแต่ง) ดังนั้น หลวงพ่อเทียนสอนให้ปลุกธาตุรู้ หรือบางทีท่านเรียกว่าเขย่าธาตุรู้ให้ตื่นอยู่กับ ณ ปัจจุบันให้มากไว้ หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 25 ตุลาคม 2553, 09:12:37 ความคิดเหมือนหนู ความรู้ตัวเหมือนแมว คิด = หนู รู้ = แมว คิดปั๊ป รู้ปั๊ป ตะปบ หยุด ๆ ๆ การที่จะรู้ต้นเหตุของการเกิดความโกรธ ความโลภ ความหลงนี้, เราต้องมาคอยเฝ้าดูจิตดูใจของเราทำเหมือนแมวคอยจ้องตะครุบหนู พอจิตใจมันคิดขึ้นมาเราคอยจ้องคอยมองให้รู้ทัน. คิดขึ้นมาปุ๊บ-รู้ทัน- ตัดไปเลย, อย่าให้มันปรุงแต่งต่อไป. คิดขึ้นมา - ตัดไปเลย, คิดขึ้นมา - ตัดไปเลย, ทำอย่างนี้บ่อยๆ ความคิดจะลดน้อยลงไป สติจะเพิ่มมากขึ้น ๆ ปรกติเราคิด เราเป็นเหยื่อความคิด ถูกความคิดพาไปกับมันร่วมทุกข์ร่วมสุขกับมัน แต่เราไม่รู้ความคิด ท่านจึงสอนว่า ให้รู้ความคิด หรือให้ดูความคิด หรือให้เห็นความคิด มันจะคิดดีคิดร้ายก็ปล่อยให้มันคิด ไม่ต้องไปเกร็งที่จะห้ามคิด แต่อย่าเป็นเหยื่อถูกมันพาไปไหน ๆ โดยไม่รู้ ให้รู้ โดยดูมันหรือเห็นมันเหมือนมีคนอีกคนหนึ่งมายืนมองว่า อ้อ กำลังคิดไอ้นี่ อ้อ กำลังคิดไอ้นั่น หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 25 ตุลาคม 2553, 09:16:47 อารมณ์สัมผัสทาง อายาตนะ ๖ ( ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ) ขันธ์ ๕ ( รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ) ทำให้เกิด นิวรณ์ ๕ ( กามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจฉะ วิจิกิจฉา ) ผลคือมนุษย์เกิดทุกข์ โลภะ โทสะ โมหะ กิเลส ตัณหา อุปาทาน การเจริญสติ เพื่อ ละนิวรณ์ ๕ ด้วย โพชฌงค์ ๗ ( สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา ) มนุษย์เสวยทุกข์ สุข มาตั้งแต่เกิด จนเป็นความเคยชิน ( ติดอยู่ในความคิดของตัวเอง ) ผลจากการเจริญสติ คือ เกิดปัญญาญาณ (ปัญญาญาณ เกิดจากการทำความเพียรทางจิตเท่านั้น) คือ ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง มีแต่ ความสงบ นั่นคือ นิพพาน หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 25 ตุลาคม 2553, 09:20:40 สวัสดีครับ ชาวเวบที่รักทุกท่าน
พี่สิงห์ป่วยกาย แต่จิตไม่ได้ป่วย เช้านี้ก็เลยมานั่งนำสิ่งที่พี่สิงห์เขียนไว้ใน Power Point ไว้สอน เอามาลงในกระทู้นี้ให้พวกเราได้อ่าน เกิดปัญญา และทดลอง "เจริญสติ" แบบเคลื่อนไหวของ หลวงพ่อเทียน จิตตฺสุโภ ดูบ้างเป็นทางเลือกในการบริหารจิตให้ผ่องใสปราศจากกิเลส(ความเศร้าหมอง) คือ "อ.อารมณ์" เพื่อไม่ให้เจ็บป่วย หรือบรรเทาอาการเจ็บป่วยทางกาย ด้วยจิตที่สงบ ยอมรับตามธรรมชาติ ครับ ถ้าจิตของเราสงบจริงแล้ว ความเจ็บปวดทางกาย คือ เวทนาที่เราได้รับ ไม่สามารถจะทำอะไรเราได้ครับ เพราะความเจ็บปวดที่เกิดขึ้น(เป็นนาม) มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ เสื่อมสลาย และดับไปได้ด้วยตัวของมันเอง เป็นธรรมชาติ คือมันเป็นเช่นนี้ มันไม่ได้เจ็บปวดตลอดเวลา มันปวดตามอารมณ์ที่เรานึก เราคิด ถ้าเรามีจิตที่สงบ คอยดูมัน มันปวดเราก็รู้ มันจะทำให้เราทุรนทุราย เราก็รู้ รับทราบ เฉยเข้าไว้ แล้วมันก็ดับไป เราก็รู้ เราก็สงบจิตเข้าไว้หรือวางเฉย(อุเบกขา) เข้าไว้ เราก็จะเป็นผู้ป่วยทางกายที่ไม่ป่วยใจไปด้วยครับ ความกระวนกระวายใจก็จะไม่เกิดขึ้นกับเรา เราก็ทนทุกข์ที่เกิดขึ้นกับกายของเราได้ พี่สิงห์คิดอย่างนี้จะถูกหรือผิดไม่ทราบครับ พี่สิงห์ขอเป็นผู้ป่วยทางกาย แต่จิตใจไม่ได้ป่วยตามไปด้วยครับ สวัสดี หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 26 ตุลาคม 2553, 07:47:41 สวัสดีครับชาวเวบ วันนี้พี่สิงห์ขอนำ Power Point ที่ทำไว้สอนเรื่องการเจริญสติ ที่รวบรวมมาจากพระไตรปิฎก เอามาให้อ่านกัน เพื่อนเตือนสติ ครับ กฎไตรลักษณ์ อนิจจัง แปลว่าไม่เที่ยง หมายความว่าสิ่งทั้งหลายมีลักษณะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอไป ไม่มีความคงที่ตายตัว ทุกขัง แปลว่าเป็นทุกข์ มีความหมายว่า สิ่งทั้งปวงมีลักษณะที่เป็นทุกข์มองดูแล้วน่าสังเวชใจ ทำให้เกิดความทุกข์ใจแก่ผู้ที่ไม่มีความเห็นอย่างแจ่มแจ้งในสิ่งนั้นๆ อนัตตา แปลว่าไม่ใช่ตัวตน หมายความว่าทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน ไม่มีลักษณะอันใดที่จะทำให้เรายึดถือได้ว่าเป็นตัวเราของเรา ถ้าเห็นอย่างแจ่มแจ้งชัดเจนถูกต้องแล้ว ความรู้สึกที่ว่า "ไม่มีตัวตน" จะเกิดขึ้นมาเองในสิ่งทั้งปวง แต่ที่เราหลงเห็นไปว่าเป็นตัวเป็นตนนั้น ก็เพราะความไม่รู้อย่างถูกต้องนั่นเอง พุทธพจน์ “ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน” “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ตา เป็นของไม่เที่ยง (คืออนิจจัง) สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ (คือทนอยู่ไม่ได้) สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นไม่ใช่ตัวตน (คืออนัตตา). สิ่งใดไม่ใช่ตัวตน สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา. ข้อนี้ท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้” “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย, ใจ ก็เป็นของไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ (คือทนอยู่ไม่ได้) สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นไม่ใช่ตัวตน. สิ่งใดไม่ใช่ตัวตน สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา. ข้อนี้ท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้” “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! อริยะสาวก ผู้ได้สดับ เมื่อเห็นอย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายในตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ. เมื่อเบื่อหน่ายก็คลายกำหนัด (หมายถึงความติดใจ) . เพราะคลายความกำหนัด ก็หลุดพ้น ก็มีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว. เธอย่อมรู้ว่า ชาติ (ความเกิด) สิ้นแล้ว. พรหมจรรย์ได้จบแล้ว, กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว, กิจอื่นเพื่อความอย่างนี้ (เพื่อเกิดอีก) ไม่มี “ไม่เที่ยง” หมายความว่า ไม่สามารถคงสภาพ หรือตั้งอยู่ได้ เช่นร่างกายมนุษย์ย่อมเสื่อมสภาพไปเป็นธรรมดา ตามกฎไตรลักษณ์ คืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 26 ตุลาคม 2553, 07:51:22 พุทธพจน์“ความเกิด ความดับ แห่งทุกข์” “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิดปรากฏแห่งตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (สิ่งที่ต้องได้) ธรรมะ (สิ่งที่รู้ด้วยใจ) คือความทุกข์ ความตั้งอยู่แห่งโรค ความปรากฏแห่งความแก่และความตาย” “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ความดับ ความระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้ แห่งตา หู เหล่านั้น คือความดับแห่งทุกข์ ความระงับแห่งโรค ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งความแก่และความตาย” หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 26 ตุลาคม 2553, 07:57:01 อริยสัจ ๔ ทุกขอริยสัจ สภาวะที่ทนได้ยาก คือเกิด แก่ ตาย โศก ร้องไห้ร่ำไรรำพัน ทุกข์ใจ คับแค้นใจ พบสิ่งไม่เป็นที่รัก พลัดพรากจากสิ่งที่รัก รวมก็คือ ยึดมั่นในขันธ์ ๕ ทุกขสมุทัยอริยสัจ เหตุให้เกิดทุกข์ คือความทะยานอยาก ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความยินดีในอารมณ์ต่างๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ทุกขนิโรธอริยสัจ ความดับโดยสิ้นกำหนัด โดยไม่มีเหลือตัณหา ความสละตัณหา ความวางตัณหา ความปล่อยตัณหา ความไม่พัวพันแห่งตัณหานั้น ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ (มรรค ๘) ความเห็นชอบ ความดำริชอบ พูดชอบ ทำชอบ เลี้ยงชีวิตชอบ เพียรชอบ ระลึกชอบ ตั้งจิตชอบ อุปมาอริยสัจ ๔ ๑. ทุกข์ เปรียบเหมือนภาระที่หนัก ๒. สมุทัย เปรียบเหมือนกับผู้แบกภาระที่หนักนั้น ๓. นิโรธ เปรียบเหมือนกับปลงภาระหนักออกจากบ่า ๔. มรรค เปรียบเหมือนกับอุบายที่ปลงภาระนั้น หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 26 ตุลาคม 2553, 07:59:27 พุทธพจน์ “สุขทุกข์ ใครทำให้ ?” “เพราะ “อวิชชา”(ความไม่รู้) เป็นปัจจัย บุคคลจึงปรุงแต่งกายสังขาร ...วจีสังขาร ...มโนสังขาร ขึ้นเองบ้าง...เนื่องจากตัวการอื่นบ้าง...โดยรู้ตัวบ้าง...ไม่รู้ตัวบ้าง” “วิชชา” คือความรู้ “อวิชชา” คือความไม่รู้ “ปัญญา” คือความรู้แ หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 26 ตุลาคม 2553, 08:04:36 กิเลส คือสิ่งที่แฝงอยู่ในใจแล้วทำให้ใจเศร้าหมอง ขุ่นมัว (เป็นทุกข์) อโนตตัปปะ ความไม่รู้สึกตื่นกลัวต่อการทุจริต โทสะ ความโมโห โกรธ ความไม่พอใจ โมหะ ความหลงไหล ความโง่ อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่านไปต่าง ๆ นา ๆ ทิฏฐิ ความเห็นผิดเป็นชอบ วิจิกิจฉา ความเคลือบแคลงใจ สงสัย ไม่แน่ใจ ลังเลใจ ในสิ่งที่ควรเชื่อ โลภะ ความพอใจ ชอบพอ เต็มใจ ในโลกีอารมณ์ต่าง ๆ ถีนะ ความหดหู่ เงียบเหงา อหิริกะ ความไม่ละอายต่อการกระทำผิด ทุจริต มานะ ความทะนงตน ถือตัว เย่อยิ่ง ความเป็นตัวตน อาสวะกิเลส คือ กิเลสที่นอนเนื่องในสันดาล หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 26 ตุลาคม 2553, 08:11:04 พุทธพจน์ “ผู้ชื่นชมทุกข์” “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ใดชื่นชมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ชื่นชมรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (สิ่งที่ต้องได้) ธรรมะ (สิ่งที่รู้ด้วยใจ) ผู้นั้นชื่อว่าชื่นชมทุกข์ ผู้ใดชื่นชมทุกข์ ผู้นั้นเรากล่าวว่า ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์ได้” พุทธพจน์ “เรื่องที่ตรัสบอกคืออะไร ?” “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็เรื่องอะไรเล่าที่เราบอก ? เราบอกว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เหตุไรเล่า เราจึงบอกเรื่องนี้ ? ก็เพราะว่า เรื่องนี้ประกอบไปด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับทุกข์ ความสงบระงับ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ เป็นไปเพื่อนิพพาน เราจึงบอกเพราะเหตุนั้น. เพราะเหตุนั้นแล จึงควรกระทำ “ความเพียร” (เพื่อให้รู้อริยสัจจ์ ๔ ตามเป็นจริง) ว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้ทุกข์เกิด นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 26 ตุลาคม 2553, 08:19:15 พุทธพจน์ “ใบไม้ขนาดเล็กที่ห่อน้ำหรือห่อใบตาลไม่ได้” “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! คนที่กล่าวว่า ตนไม่ต้องตรัสรู้อริยสัจจ์คือทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ตามเป็นจริง ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ (พ้นทุกข์) นั้นมิใช่ฐานะที่มีได้ เปรียบเหมือนคนที่กล่าวว่า ตนจะเอาใบตะเคียน ใบทองกวาว หรือใบมะขามป้อม (ซึ่งเป็นใบไม้ใบเล็ก) มาทำเป็นกระทงใส่น้ำหรือใส่ใบตาล ย่อมมิใช่ฐานะที่มีได้นั้น” สรุป คือต้องทำความเพียร (ทางจิต) ด้วยตัวเองเท่านั้น จึงจะพ้นทุกข์ได้ หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 26 ตุลาคม 2553, 08:23:16 พุทธพจน์ “ธรรมที่เป็นใหญ่แห่งการตรัสรู้” ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมที่เป็นใหญ่แห่งการตรัสรู้มีอะไรบ้าง ? ธรรมที่เป็นใหญ่ คือความเชื่อ (สัทธินทรีย์) เป็นธรรมที่เป็นไปในฝ่ายแห่งการตรัสรู้ ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ธรรมที่เป็นใหญ่ คือความเพียร (วิริยินทรีย์) ความระลึกได้ (สตินทรีย์) ความตั้งใจมั่น (สมาธินทรีย์) และปัญญา(ปัญญินทรีย์) เป็นธรรมที่เป็นไปในฝ่ายแห่งการตรัสรู้ ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ พุทธพจน์ "ธรรมที่เป็นใหญ่คือปัญญา เทียบด้วยราชสีห์” “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! สัตว์ดิรัจฉานเหล่าใดเหล่าหนึ่งก็ตาม ราชสีห์ผู้เป็นพญาเนื้อ ย่อมกล่าวได้ว่าเลิศกว่าสัตว์เหล่านั้นโดยกำลัง โดยฝีเท้า และโดยความกล้า. ธรรมที่เป็นไปในฝ่ายแห่งการตรัสรู้ เหล่าใดเหล่าหนึ่งก็ตาม ปัญญินทรีย์ (ธรรมที่เป็นใหญ่ของตนในหน้าที่ คือปัญญา) ย่อมกล่าวได้ว่าเลิศกว่าธรรมเหล่านั้น ในทางเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมที่เป็นไปในฝ่ายแห่งการตรัสรู้ เหล่าใดเหล่าหนึ่งก็ตาม ปัญญินทรีย์ (ธรรมที่เป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน คือปัญญา) ย่อมกล่าวได้ว่าเลิศกว่าธรรมเหล่านั้น ในทางเป็นไปเพื่อความตรัสรู้” หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 26 ตุลาคม 2553, 08:31:44 พุทธพจน์ “ธรรมที่มีอุปการะมาก” คำว่า “อุปการะมาก” คือ ธรรมที่มีคุณค่ามาก หมายความถึง ผู้ใดเจริญสตินี้มีอานิสงส์มาก ธรรมที่มีอุปการะมาก มี ๒ อย่างคือ สติ คือ ความระลึกได้ ต้องมี ความระลึกได้ก่อนที่จะคิด ก่อนที่จะทำ ก่อนที่จะพูด สัมปชัญญะ คือ ความรู้ตัว (รู้ความคิดตัวเอง) ต้องมี ความรู้ตัวก่อนที่จะคิด ก่อนที่จะทำ ก่อนที่จะพูด (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/lavira-00689d.jpg) เราปุถุชนธรรมดา ต้องทำมาหากิน เวลาทำงาน ทำกิจวัตรประจำวันในทุกอิริยาบถ ขอให้มีสติ ณ ปัจจุบัน เสมอ สมาธิ และปัญญา จะเกิดเองโดยอัตโนมัต เพราะจิตท่านว่าง สงบ รู้อยู่กับปัจจุบันเท่านั้น หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 26 ตุลาคม 2553, 08:42:06 มหาสติปัฏฐานสูตร สูตรว่าด้วยการตั้งสติอย่างใหญ่ พระผู้มีประภาคประทับ ณ นิคม ชื่อกัมมาสธัมมะ แคว้นกุรุ ตรัสสอนภิกษุทั้งหลายว่า หนทางเป็นที่ไปอันเอกเพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ เพื่อก้าวล่วงความโศก ความคร่ำครวญ เพื่อให้ความทุกข์กายทุกข์ใจตั้งอยู่ไม่ได้ เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน คือการตั้งสติ ๔ อย่าง ได้แก่:- ตั้งสติกำหนดพิจารณา กายในกาย ตั้งสติกำหนดพิจารณา เวทนาในเวทนา ตั้งสติกำหนดพิจารณา จิตในจิต ตั้งสติกำหนดพิจารณา ธรรมในธรรม การพิจารณากาย แบ่งออกเป็น ๖ ส่วน พิจารณากำหนดลมหายใจเข้าออก (อานาปานบรรพ) พิจารณาอิริยาบถของกาย เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน (อิริยาปถบรรพ) พิจารณารู้ตัวในความเคลื่อนไหว เช่น ก้าวไป ก้าวมา คู่แขน เหยียดแขน กิน ดื่ม เป็นต้น (สัมปชัญญบรรพ = ความรู้ตัว) พิจารณาความน่าเกลียดของร่างกาย ซึ่งแบ่งออกเป็นส่วนย่อยต่าง ๆ มีผม ขน เป็นต้น (ปฏิกูลมนสิการบรรพ) พิจารณาร่างกายโดยความเป็นธาตุ (ธาตุบรรพ) พิจารณาร่างกายที่เป็นศพ มีลักษณะต่างๆ ๙ อย่าง (นวสีวถิกาบรรพ) หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 26 ตุลาคม 2553, 08:47:51 พุทธพจน์ "อานิสงส์สติปัฏฐาน ๔” ครั้นแล้วทรงสรุปผลของการปฏิบัติ ในการตั้งสติ ๔ อย่างนี้ว่า จะเป็นเหตุให้ได้บรรลุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือบรรลุอรหัตตผลในปัจจุบัน ถ้ายังมีเชื้อเหลือก็จะบรรลุความเป็นพระอนาคามี(ผู้ไม่กลับมาเกิดในโลกนี้อีก) ภายใน ๗ ปี หรือลดลงมาโดยลำดับถึงภายใน ๗ วัน. หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 27 ตุลาคม 2553, 07:46:58 สวัสดีครับ ชาวเวบที่รักทุกท่าน
เราปุถุชนธรรมดา ยังมีความโลภ(โลภะ) ความโกรธ(โทสะ) ความหลง(โมหะ) กิเลส(ทำให้จิตใจเศร้าหมอง) ตัณหา(ความอยาก) อุปาทาน(ยึดมั่นถือมั่น) จิตใจยังร่องรอยคิดปรุงแต่ง(สังขารา)ไปในเรื่องอดีตที่ผ่านมาแล้วไม่หวนกลับ วิตกกังวงไปในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง ไม่อยู่กับปัจจุบัน พี่สิงห์มีข้อแนะนำที่จะทำให้เรามีจิตใจที่สงบ สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นคือ ก่อนนอนหาเวลาสักหนึ่งชั่วโมง สวดมนต์ บทอิติปิโส เสร็จแล้วแผ่เมตตา และเจริญสติแบบเคลื่อนไหวของหลวงพ่อเทียน ทำเท่าที่ใจอยากทำ หรือง่วง ก่อนหลับตานอน กำหนดจิตอยู่ที่ลมหายใจเข้า-ออก จนหลับ จะทำให้นอนจิตไม่ฟุ้งซ่านเพราะจิตสงบจะฝันดี หรือไม่ฝันเลย หลังจากนั้นไม่ว่าเราจะทำกิจวัตรประจำวัน กิน เดิน นั่ง นอน หรือทำงาน ให้อยู่กับปัจจุบัน คือ มีสติ(ระลึกได้) เพียงแค่นี้จริงๆ แล้วท่านจะรู้ว่า เราก็มีจิตที่สงบ มีปัญญาในการแก้ปัญหาการทำงานของเราได้ ไม่คิดไปในอดีต-อนาคต เพียงแค่นี้จริงๆ นี่คือสิ่งที่พระพุทธเจ้า ต้องการให้ปฏิบัติ ครับ ถ้าท่านปฏิบัติได้ ท่านจะประสพผลสำเร็จในการทำงาน และความโลภ ความโกรธ ความหลง จะค่อยๆ หมดไป เพราะว่าเวลาท่านมีสติ(ระลึกได้) ความหลงมันจะไม่บังเกิดกับท่าน แต่ถ้าเมื่อใดท่านไม่มีสติ ความหลงจะบังเกิดกับท่าน เพราะท่านจะเป็นทาษของความคิดของท่าน ความหลงหรือโมหะ นี้ เป็น"มาร"ตัวสำคัญที่สุดที่ทำให้จิตใจเราทุกข์หรือเศร้าหมอง ซึ่งสามารถขจัดได้ด้วยการมี "สติ" ครับ สวัสดียามเช้าทุกท่านครับ อย่าลืม มี"สติ" อยู่กับปัจจุบัน ณ ครับ หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 28 ตุลาคม 2553, 16:36:38 สวัสดีครับ
มีคนส่งมาให้เกี่ยวกับอาหารมื้อเย็นที่เรารับประทาน หรือบางคนรับประทานเป็นอาหารมื้อหลักจนเคยชิน ขอให้แวะมาอ่านหน่อยครับ สวัสดี มื้อเย็นเป็นมื้ออันตราย เป็นมื้อตายผ่อนส่ง 1. ทำอย่างไรจึงจะไม่แก่ และอายุยืน คำตอบคือ กินสายกลาง กินสายกลาง คือ กินมื้อเช้าและมื้อเที่ยง + งดมื้อเย็น เปรียบตัวเราเป็นรถยนต์ ตื่นเช้ามาต้องเติมน้ำมันก่อน หรือกินมื้อเช้า รถจึงจะวิ่งได้ ถึงเที่ยงน้ำมันยังไม่หมด เติมอีกครั้ง ถึงเย็นก่อนนอนก็ยังไม่หมดพิสูจน์ได้ดังนี้ สมมุติกินไข่ลวก 1 ฟองโตๆ มีไข่แดงหนัก 50 กรัม ในไข่แดงมีคลอเลสเตอรอล 1 กรัม ให้พลังงาน 9 แคลอรี่ ฉะนั้น 50 กรัม ให้พลังงาน 450 แคลอรี่ จะต้องออกกำลังกายเพื่อใช้พลังงานนี้ โดยขี่จักรยานตั้งแรงต้านไว้ 1.3 ก.ก.. ความเร็วที่ปั่นบันไดจักรยาน 60 รอบต่อนาที ขี่อยู่นาน60 นาที จะเหนื่อยหอบ เหงื่อไหลท่วมตัว แต่ใช้พลังงานไปเพียง 300 แคลอรี่ ไข่ใบเดียวใช้ไม่หมด ฉะนั้นถ้ากินมื้อเช้า มื้อเที่ยง จนถึงเย็น พลังงานยังเหลือแน่นอน ไม่จำเป็นต้องไปเติมอีก เพราะเวลานอนร่างกายจะนำพลังงานที่เหลือใช้ไปเก็บในที่ต่างๆ โดย ตับ เป็นผู้ทำงานนี้ ถ้าพลังงานเหลือมาก การเอาไปเก็บในที่ต่างๆ ก็มากทำให้อ้วน และแน่นอนถ้าเก็บไม่หมดโดยเฉพาะพวกไขมันตัวโตๆ จะต้องค้างอยู่ในหลอดเลือด ถ้าค้างสะสมมากเท่าใด รูหลอดเลือดก็จะเล็กลงทุกวัน เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ได้น้อยลง อวัยวะทั้งหลายก็จะเสื่อมสภาพเร็วขึ้นหรือแก่เร็วขึ้น ถ้าวันไหนอุดตัน เช่น ถ้าตันที่สมอง จะกลายเป็นคนพิการอัมพาตครึ่งซีก ถ้าอุดตันที่ไต ต้องล้างไต เปลี่ยนไต ถ้าตันที่ขา อาจต้องตัดขาทิ้ง ถ้าตันที่กล้ามเนื้อหัวใจ ก็จะไม่มีโอกาสได้สั่งลาใคร การกินมื้อเย็นจึงเป็นมื้อที่เร่งกระบวนการเสื่อมถึงเสียชีวิตให้เร็วขึ้นไปอีก มื้อเย็นจึงเป็นมื้ออันตราย เป็นมื้อตายผ่อนส่ง ยิ่งกินมื้อเย็นมาก ยิ่งผ่อนส่งมาก ตายเร็ว ถ้าไม่กินมื้อเย็น ก็จะแก่ช้า เสื่อมช้า อายุยืน การไม่กินอาหารมื้อเย็น เป็นเรื่องที่ต้องเอาชนะใจตัวเองอย่างมาก ถ้าใครทำได้จะตัดทั้งกิเลส สุขภาพดี อายุยืน และมีสมาธิดี ความมุ่งมั่นสูง ได้ประโยชน์ทั้งกายและใจ แต่ท่านต้องฝึกกระเพาะให้เกิดความเคยชิน วิธีฝึกมี 4 วิธี 1. ค่อยๆ ลดปริมาณอาหารมื้อเย็นทีละน้อยๆ เช่นลดกินข้าวจาก 2 จาน เหลือ1 1/2 จาน สัก 3-4 เดือน โดยมีข้อแม้ว่าหลังอาหารเย็น แล้ว ห้ามกินอาหารใดๆ ทั้งนั้นยกเว้นน้ำเปล่า พอกระเพาะชินแล้วลดเหลือ 1 จาน ต่อไปครึ่งจาน ต่อไปไม่กินข้าวเลยกินแต่กับ ต่อไปกินผักผลไม้ สุดท้ายงดอาหารเย็น 2. ร่นเวลากินอาหารเย็น เช่นจาก 2 ทุ่มมากิน 1 ทุ่ม ต่อไปเลื่อนเป็น 6 โมงเย็น 5 โมงเย็น 4 โมงเย็น สุดท้ายงดอาหารเย็น 3. กินเม็ดแมงลักแทนมื้อเย็น ใช้เม็ดแมงลัก 2 ช้อนโต๊ะใส่ในถ้วยน้ำแกงหรือน้ำเปล่าคนแล้วดื่มทันที ดื่มน้ำตามอีก 4-5 แก้ว 4. กินมังสะวิรัตมื้อเย็น การกินผักผลไม้ถือว่าเป็นอาหารไม่มีพิษ ร่างกายจะได้พักไม่ต้องทำลายพิษของอาหารเนื้อสัตว์ พิษที่สะสมไว้ก่อนก็จะถูกตับ ไต กำจัดหมดไปเองได้ ร่างกายมีเวลาถึง 18 ช.ม. กำจัดพิษที่ติดมากับมื้อเช้า มื้อเที่ยงได้ทัน ฉะนั้นการไม่กินอาหารเย็น จึงเป็นเวลาที่ตับ ไต จะสามารถกำจัดสารพิษจากอาหารมื้อเช้าและเที่ยงได้หมด ร่างกายจึงบริสุทธิ์ทุกวัน 2. โรค Attention Deficit Trait โดย ผศ. ดร. พสุ เดชะรินทร์ pasu@acc.chula.ac.th ท่านผู้อ่านเป็นผู้หนึ่งที่ชอบทำงานในลักษณะของ Multitasking หรือไม่ครับ? คนกลุ่มนี้จะเป็นพวกที่สามารถหรือชอบที่จะทำงานหลายๆ อย่างไปในเวลาเดียวกัน เช่น ในขณะที่กำลังเช็คอีเมล์ทางคอมพิวเตอร์ ก็กำลังคุยโทรศัพท์สั่งงานกับลูกน้อง พร้อมทั้งดื่มกาแฟไปพร้อมกัน หรือในขณะที่กำลังนั่งประชุม ก็สั่งงานพร้อมทั้งหาข้อมูล และตัดสินใจผ่านทางเครื่องโน้ตบุ๊คที่ตั้งอยู่ข้างหน้า ในอดีตผมก็เคยชื่นชมคนพวกนี้นะครับว่า มีความสามารถมาก สามารถทำงานได้หลายอย่างในขณะเดียวกัน สามารถทำงานได้ออกมาเยอะ และดูยังสงบไม่ตื่นเต้นโวยวายเท่าใด แต่ท่านผู้อ่านทราบไหมครับ ว่า การทำงานในลักษณะ **Multitasking** นั้น กลับเป็นสาเหตุประการหนึ่งของโรคร้ายใหม่ในที่ทำงาน ที่เราเรียก **Attention Deficit Trait** หรือ **ADT** โรคนี้เป็นโรคที่เราจะเจอมากขึ้นเรื่อยๆ ในที่ทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะแวดล้อมที่บังคับให้คนทำงานจะต้องทำงานด้วยความรวดเร็วมากขึ้น ทำงานหลายอย่างพร้อมๆ กัน จะต้องตื่นตัวตลอดเวลา ไม่มีเวลาหรือโอกาสได้สงบพัก ท่านผู้อ่านลองพิจารณาตัวท่านเองหรือบุคคลรอบข้างนะครับว่า เป็นโรคนี้หรือไม่? ผมอ่านพบเจอโรคนี้จากวารสาร Harvard Business Review ฉบับเดือนมกราคม 2548 ในบทความชื่อ Why Smart People Underperform เขียนโดย Edward M. Hallowell ซึ่งเป็นจิตแพทย์ซึ่งเป็นผู้ เชี่ยวชาญในโรคที่เกี่ยวกับสมองและสมาธิทั้งหลาย คุณหมอท่านนี้ทำการรักษาอาการ Attention Deficit Disorder หรือ ADD มากว่า 25 ปี และ โรค ADD นี้เราเริ่มรู้จักกันมากขึ้นในเมืองไทย โดยเฉพาะผู้ที่มีลูกอยู่ในวัยเรียน เรามักจะเรียกโรคนี้ว่าเป็นโรคสมาธิสั้น ผู้ที่เป็นโรค ADT นั้น มักจะมีอาการสมาธิสั้น ไม่สามารถจดจ่ออยู่กับงานใดงานหนึ่งได้นานๆ ก็จะถูกดึงดูดด้วยงานอย่างอื่น มีความวุ่นวายอยู่ข้างใน (แต่มักจะไม่แสดงออกมาให้ผู้อื่นเห็น ) ไม่ค่อยอดทน มีปัญหาในการจัดระบบต่างๆ (Unorganized) การจัดลำดับความสำคัญ และการบริหารเวลา โรค ADT นี้ มักจะเริ่มเกิดขึ้น เมื่อเราก้าวขึ้นไปเป็นผู้บริหารระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ การที่มีความ รู้สึกว่ามีงานด่วน หรือ สิ่งที่จำเป็นและเร่งด่วนที่จะต้องทำเข้ามาเรื่อยๆ และท่านพยายามที่จะจัดการกับงานด่วนเหล่านั้นให้สำเร็จ จะเป็นบ่อเกิดที่สำคัญของโรค ADT เพราะเมื่อเรามีงานที่เร่งด่วน หรือจำเป็นเข้ามาเรื่อยๆ เราก็มักจะรับภาระความรับผิดชอบต่องานเหล่านั้น อีกทั้งไม่บ่นไม่โวยวายต่อภาระงานที่เพิ่มขึ้น เราจะก้มหน้าก้มตาพยายามทำให้งานสำเร็จ ทั้งๆ ที่กำลังความสามารถ และเวลาของเราไม่เหมาะสมและสอดคล้องกับปริมาณของงานที่เข้ามา ดังนั้นเมื่อเจอกับปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นและเร่งด่วนขึ้น เราก็มักจะอยู่ในอาการของความรีบร้อนตลอดเวลา พยายามทำงานให้เสร็จโดยเร็วการทำงานหลายๆ อย่างไปพร้อมๆ กัน และขาดสมาธิต่อการทำงานๆ หนึ่ง (Unfocused) แต่ในขณะเดียวกัน บุคคลเหล่านี้ก็จะไม่บ่นไม่โวยวาย ดูจากภายนอกแล้วเหมือนจะไม่มีปัญหาอะไรเกิดขึ้น ทีนี้ท่านผู้อ่านอาจจะสงสัยครับว่าโรค ADT จะก่อให้เกิดปัญหาอะไรขึ้น ? ง่ายๆก็คือ ทำให้สมองเราสูญเสียความสามารถในการคิด วิเคราะห์และทำงานอย่างละเอียดลึกซึ้ง จะส่งผลให้งานที่ออกมาเป็นงานที่เร็วแต่ไม่ลึก จะทำให้ความสามารถในการทำงานของเราลดน้อยลง การที่สมองเราจะต้องรับ วิเคราะห์ และประมวลผลข้อมูลต่างๆเพิ่มมากขึ้น ความสามารถในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ก็ลดลง อีกทั้งความผิดพลาดก็เกิดขึ้นได้มากขึ้น โรคนี้ถือเป็นโรคใหม่ในที่ทำงานอย่างหนึ่งครับ เกิดขึ้นเนื่องจากสภาวะแวดล้อมในการทำงาน ที่ต้องการความรวดเร็ว และมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น สมองเราจะต้องรับและประมวลผลข้อมูลต่างๆ มากขึ้นกว่าเดิม วัฒนธรรมในการทำงานในปัจจุบัน ก็เป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้เราเกิดโรคนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสำคัญของความเร็วในการทำสิ่งต่างๆ ในปัจจุบันดูเหมือนว่าเราต้องการความเร็วมากขึ้นเรื่อยๆ เรา มักจะคิดว่า ในเมื่อคนทุกคนมีเวลาเท่ากัน ดังนั้น ผู้ที่มีความเร็วมากกว่าจะทำงานได้มากกว่า ท่านผู้อ่านลองสังเกตซิครับเวลาท่านขึ้นลิฟต์ ปุ่มไหนที่ท่านจะกดบ่อยที่สุด ปุ่มนั้นก็คือปุ่ม " ปิดประตู" เพราะทุกคนเป็นทาสของความเร็ว ไม่สามารถรอให้ลิฟต์ปิดได้เอง 3. ดื่มน้ำน้อยมีผลร้ายที่คุณคิดไม่ถึง เมื่อเร็วๆ นี้ได้อ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง ซึ่งลงบทสัมภาษณ์ของดาราสาวสวยระดับนางเอกท่านหนึ่ง เกี่ยวกับร่างกายของเธอที่มีการผิดปกติ เธอมีอาการอุจจาระไม่ออก, เมนส์ไม่มา แถมเธอยังเข้าใจว่าการที่เมนส์มาบ้างไม่มาบ้าง แล้วแต่อารมณ์นั้นเป็นเรื่องปกติของผู้หญิงซะอีก เธอบอกว่าไม่ชอบดื่มน้ำเพราะจะทำให้ปัสสาวะบ่อย ส่วนใหญ่พวกดาราก็มักเป็นอย่างนี้ เพราะต้องอยู่แต่ ในกองถ่ายจะหาห้องน้ำสะอาดๆยาก เลยต้องอั้นอุจจาระปัสสาวะเอาไว้ หรือแก้โดยการไม่ดื่มน้ำจะได้ไม่ต้องปัสสาวะ พฤติกรรมดังกล่าวนี้ไม่ใช่แค่เฉพาะดาราหรอก มีอีกหลายอาชีพที่เป็นกันอย่างนี้ อาจจะเป็นเพราะภาวะสังคมที่รีบเร่งแข่งขันกัน ท่านที่ทำงานนั่งอยู่กับคอมพิวเตอร์หรือพนักงานทำบัญชีด้วยแล้ว ไม่ค่อยอยากจะลุกไปเข้าห้องน้ำกัน กลัวจะเสียเวลาทำงานหรือลืมเข้าห้องน้ำก็มี พอทำอย่างนี้ไปนานๆ เข้าร่างกายเราก็สร้างความคุ้นเคยว่าไม่ต้องอุจจาระไม่ต้องปัสสาวะกันเลย โดยร่างกายเข้าใจว่าวิธีการนี้ถูกต้อง ร่างกายของคนเราประกอบด้วยน้ำ 70 กว่าเปอร์เซนต์ เลือดเราประกอบด้วยน้ำ 90 กว่าเปอร์เซนต์ กระดูกเราก็ประกอบด้วยน้ำ 22 เปอร์เซ็นต์ ร่างกายเราเสียน้ำวันละ 2 ลิตรเศษ แล้วรับน้ำเข้าไป เพียงพอหรือไม่ ถ้าไม่พอเราก็ถือว่าขาดน้ำ ร่างกายและอวัยวะภายในจะรวนผิดปกติไปหมด เลือดเราจะข้นหนืด ยากที่หัวใจจะสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงร่างกายส่วนต่างๆ ของร่างกาย หัวใจเองนั่นแหละจะตีบตันเสียก่อน ต้องทำบายพาสกันวุ่นวาย ความจำก็จะเสื่อมหรือเป็นอัลไซเมอร์ เพราะเลือดเลี้ยงสมองไม่พอ เส้นเลือดก็จะตีบตันหมดหรือไม่มีเลือดจะขึ้นไปเลี้ยง จากประสบการณ์ที่พบคนไข้ที่เป็นโรคความจำเสื่อม เป็นถึงระดับผู้บริหารใหญ่ๆ ก็หลายท่าน ดื่มน้ำวันละ 2-3 แก้ว ไม่เกิน 500 ซี.ซี. เลือดก็ข้นหนืด เต็มไปด้วยไขมัน สังเกตได้หัวตาเหมือนกับเอาพู่กันป้ายสีขาวไว้ และฟันธงได้เลยว่าทุกรายถ้าดื่มน้ำอย่างนี้คลอเรสเทอรอลสูงทุกคน รอเส้นเลือดอุดตันได้เลย เมื่อไปหาหมอ หมอก็จะจ่ายยาละลายลิ่มเลือดให้กิน มันก็เหมือนเราเอาสารส้มแกว่งในตุ่มน้ำเพื่อให้น้ำใส ตะกอนเมื่อมันนอนก้นน้ำก็จะใส แต่ถ้าเอาอะไรไปแกว่งทำให้น้ำกระเทือน ตะกอนก็ยังจะลอยขึ้นมาทำให้น้ำขุ่นอีกอยู่ดี เช่นเดียวกัน เมื่อเรากินยาเลือดก็จะใส แค่ตะกอนในร่างกายมันยังไม่ออกยังนอนก้นอยู่ในร่างกายเรา ดังนั้นเราต้องใช้น้ำพาตะกอนเหล่านั้นออกมาให้ได้ ไม่อย่างนั้นมันก็จะกลับไปอุดตันเส้นเลือดเราอีก เมื่อร่างกายขาดน้ำลำไส้ก็แห้ง ไม่มีน้ำที่จะพอเอาอุจจาระออกมาได้ ของเสียก็จะสะสมอยู่ในลำไส้ และลำไส้ก็ดูดซึมของเสียนั้นกลับเข้าร่างกายอีกเลือดเราก็ยังสกปรกและข้น หนืดมากขึ้นไปอีก และลองพิจารณาดูครับว่า เลือดที่เสียเมื่อเข้าไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายแล้วนั้น จะให้เกิดปัญหาตามมาอีกมากมายเพียงใด ที่ถูกแล้วเราควรจะอุจจาระ 1-3 ครั้งทุกๆ วัน ออกมาเป็นเส้นไม่เล็กนัก ปริมาณพอสมควรกับอาหารที่ เราทานเข้าไป ไม่ใช่ทานเข้าไป 1 กิโลกรัม ถ่ายออกมา 1 ขีด ที่เหลือหายไปไหนหมด มันเข้าไปบำรุงร่างกายเราทั้งหมดหรือ ถ้าเป็นอย่างนั้นเราคงตัวโตเท่าช้างแน่ การที่รอบเดือนหายไป 5-6 เดือนหรือมาๆ หยุดๆ แล้วแต่อารมณ์นั้น ไม่ใช่เรื่องปกติของผู้หญิงทั่วไป ที่ถูกสำหรับดาราสาวท่านนี้ ดื่มน้ำน้อยมาก เลือดคงจะข้นหนืด ผนังมดลูกคงจะแห้งไม่ลอกหลุดออกมาเมื่อมีไข่ตกและไม่ได้รับการผสมพันธุ์ เลือดนั้นก็ยังสะสมเป็นของเสียอยู่ที่ผนังมดลูกเดือนแล้วเดือนเล่า เมื่อช่องทางการขับของเสียดำเนินไม่ได้ตามธรรมชาติร่างกายก็จะสร้างรั้วขอบเขตเป็นถุง เป็นเนื้องอก มาหุ้มห่อของเสียนั้นไว้ ของเสียก็จะค่อยๆกลายเป็นเนื้องอกและกลายเป็นมะเร็งในที่สุด ช่องทางในการขับของเสียออกจะมีอยู่ 5 ช่องทางด้วยกันคือ 1. ไต ขับออกมาทางปัสสาวะ 2. ลำไส้ใหญ่ ขับออกมาทางอุจจาระ 3. ปอด ขับออกมาทางลมหายใจ 4. ผิวหนัง ขับออกมาทางเหงื่อ 5. รอบเดือน ขับออกมาทางประจำเดือน เมื่อช่องทางการขับของเสียไม่สมบูรณ์ หรือถูกปิดกั้นมันก็จะต้องพยายามหาทางออกให้ได้ เช่น ออกมาเป็น สิว ฝ้า กระ ฝี ริดสีดวง สิ่งเหล่านี้เป็นของเสียที่ร่างกายพยายามขับออกมาทั้งนั้น ดังนั้นถ้าเรามีอาการดังที่กล่าวมา ก็ขอให้เราจงเข้าใจด้วยว่าร่างกายเรามีของเน่าเสียอยู่ภายในแล้ว มันเป็นสัญญาณเตือนภัย ที่เราไม่ควรมองข้าม หรือกินแต่ยา ฉีดยากดอาการเหล่านี้ไว้ไม่ให้แสดงออก เพราะนั่นไม่ใช่วิธีการรักษา หรือบำบัดโรคต่างๆให้หายไป แต่กลับเป็นการทำให้โรคหรืออาการนั้นรุกคืบไปเรื่อยๆ เหมือนรุกใต้ดิน โดยที่เราไม่รู้สึกอะไร จะรู้สึกตัวอีกทีก็ต่อเมื่อสายเสียแล้ว... 4. เส้นโลหิตในสมองบกพร่อง – เคล็ดลับการวินิจฉัยอาการโรค Apoplexy เพื่อนคนหนึ่ง หกล้ม ในงานบาร์บีคิวปาร์ตี้ เพื่อนในงานแนะให้หาหมอ แต่เจ้าตัวบอกว่าไม่เป็นไร เพียงแต่ใส่รองเท้าใหม่แล้วสะดุดเท่านั้น อิงอิงดูยืนไม่ค่อยมั่นคง เพื่อนช่วยปัดเป่าเสื้อผ้าให้แล้วยกอาหารจานใหม่ให้ร่วมสนุกกันต่อ หลังจากนั้น ผู้สามีแจ้งมาว่า อิงอิงถูกส่งเข้าโรงพยาบาล แต่แล้วก็เสียชีวิตตอน6 โมงเย็น ถ้าหากเพื่อนๆ รู้จักวินิจฉัยอาการโรค ป่านนี้อิงอิงอาจยังมีชีวิตอยู่กับเพื่อนๆ บางคนเส้นโลหิตในสมองแตก อาจไม่ตาย แต่ก็อาจเป็นอัมพฤตหรืออัมพาด แพทย์ทางประสาทวิทยากล่าวว่า หากผู้ป่วยถึงมือแพทย์ภายใน 3 ชม.ก็ จะมีโอกาสรอด หากคน ข้างเคียงไม่รู้จักวินิจฉัยอาการ สมองผู้ป่วยก็จะถูกทำลายอย่างร้ายแรง แพทย์แนะว่า คนข้างเคียงเพียงแค่ทดสอบผู้ป่วยด้วย 3 ข้อ โปรดจำเคล็ดลับ STR ดังต่อไปนี้ S: (smile) ให้ผู้ป่วยยิ้ม T: (talk) ให้ผู้ป่วยพูดประโยคที่มีสาระสมบูรณ์ เช่น วันนี้อากาศสดใสดีจัง R: (raise) ให้ผู้ป่วยชูแขนสองข้าง อาการอีกอย่างที่ไม่ควรมองข้าม ให้ผู้ป่วยแลบลิ้นออก ถ้าลิ้นม้วนหรือเบี้ยวไปข้างหนึ่ง ใช่แล้ว ส่ออาการอันตราย !!! ถ้าผู้ป่วยมีอาการผิดปรกติข้อใดข้อหนึ่ง ให้รีบติดต่อแพทย์ ส่งร.พ.โดยด่วน หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 29 ตุลาคม 2553, 08:04:55 สวัสดียามเช้า ชาวเวบที่รักทุกท่านครับ
สำหรับพี่สิงห์ อาหารมื้อเช้า-กลางวัน ถือเป็นมื้อสำคัญของชีวิต ต้องรับประทานและจะเลือกให้เกิดประโยชน์แก่ร่างกายพวกอาหารขยะไม่เอาเลย เช่นก๊วยเตี๋ยว หรือกระเภาไข่ดาว แต่มื้อเย็น ถ้าอยู่นครหรือต่างจังหวัดรับประทานสลัดทูน่า ถ้าอยู่บ้านส่วนมาก ตอนเย็นจะรับประทานฝรั่งหรือชมภู่ อยู่ได้สบายโดยไม่หิวเลย ที่บ้านผมจะซื้อฝรั่งที่มีรถมาขายถึงหน้าบ้าน เป็นฝรั่งกิมจู กิโลละ 20 บาท อาทิตย์ละสี่กิโลกรัม เป็นอาหารมื้อเย็น รับประทานคู่กับลูกเสาวรสหนึ่งผล เป็นมื้อเย็น ประหยัดสตางค์ ไม่เสียเวลาหุงข้าวและไปซื้อกับข้าวด้วย ยกเว้นมีญาติมาเท่านั้น แต่อย่าลืมออกกำลัง และนอนหัวค่ำ ทุกวันแบบพี่สิงห์ด้วยนะครับ ทุกท่านเชิญทดลองสูตรแบบพี่สิงห์ก็ได้ครับ สวัสดียามเช้าทุกท่านครับ หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 30 ตุลาคม 2553, 08:01:07 (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/lb2w1g-f38771.jpg) บทพระนิพนธ์ เรื่อง “ พระพุทะเจ้าทรงสั่งสอนอะไร ” ประพันธ์โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก เมื่อก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี ได้มีมหาบุรุษท่านหนึ่ง เกิดขึ้นมาในโลก เป็นโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายา แห่งกรุงกบิลพัสดุ์สักกชนบทซึ่งบัดนี้อยู่ในเขตประเทศเนปาล มีพระนามว่า “สิทธัตถะ” ต่อมาอีก ๓๕ ปี พระสิทธัตถะได้ตรัสรู้ธรรม ได้พระนามตามความตรัสรู้ว่า “พุทธะ” ซึ่งไทยเราเรียกว่า “พระพุทธเจ้า” พระองค์ได้ทรงประกาศพระธรรมที่ได้ตรัสรู้แก่ประชาชน จึงเกิดพระพุทธศาสนา(คำสั่งสอนของพระพุทธะ)และบริษัท ๔ คือ ภิกษุ (สามเณร) ภิกษุณี (สามเณรี) อุบาสก อุบาสิกาขึ้นในโลกจำเดิมแต่นั้น บัดนี้ ในเมืองไทยมีแต่ภิกษุ (สามเณร) อุบาสก อุบาสิกา ภิกษุนั้น คือชายผู้ถือบวช ปฏิบัติพระวินัยของภิกษุ สามเณรนั้นคือชายผู้มีอายุยังไม่ครบ ๒๐ ปี หรือแม้อายุเกิน ๒๐ ปี แล้วเข้ามาถือบวช ปฏิบัติสิกขาของสามเณร อุบาสก อุบาสิกานั้นคือ คฤหัสถ์ชายหญิงผู้นับถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะ (ที่พึ่ง) และปฏิบัติอยู่ในศิลสำหรับคฤหัสถ์ บัดนี้มีคำเรียกชายหญิงทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่ ผู้ประกาศตนถึงพระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระธรรม พระสงฆ์เป็นสรณะว่า “พุทธมามกะ” “พุทธมามิกา” แปลว่า “ผู้นับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นพระของตน” พระพุทธศาสนาได้แผ่จากประเทศถิ่นที่เกิดไปในประเทศต่าง ๆ ในโลก หลักเคารพสูงสุดในพระพุทธศาสนา คือ พระรัตนตรัย (รัตนะ ๓) ได้แก่พระพุทธเจ้า คือ พระผู้ตรัสรู้พระธรรมแล้วทรงประกาศสั่งสอนตั้งพระพุทธศาสนาขึ้น พระธรรม คือ สัจธรรม (ธรรม คือความจริง) ที่พระพุทะเจ้าได้ตรัสรู้ได้ทรงประกาศสั่งสอนเป็นพระศาสนาขึ้น พระสงฆ์ คือ หมู่ชนผู้ได้ฟังคำสั่งสอนได้ปฏิบัติและได้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า บางพวกออกบวชตาม ได้ช่วยนำพระพุทธศาสนาและสืบต่อวงศ์ การบวชมาจนถึงปัจจุบันนี้ ทุกคนผู้เข้ามานับถือพระพุทธศาสนา จะเป็นคฤหัสถ์ก็ตาม จะถือบวชก็ตาม ต้องทำกิจเบื้องต้น คือ ปฏิญาณตน ถึงพระรัตนตรัยนี้เป็นสรณะ คือ ที่พึ่งหรือดังที่เรียกว่านับถือเป็นพระของตน เทียบกับทางสกุล คือ นับถือพระพุทธเจ้าเป็นพระบิดา ผู้ให้กำเนิดชีวิตในทางจิตใจของตน พุทธศาสนิกชนย่อมสังคมกับผู้นับถือศาสนาอื่นได้ และย่อมแสดงความเคารพสิ่งเคารพในศาสนาอื่นได้ตามมรรยาทที่เหมาะสม เช่นเดียวกับแสดงความเคารพบิดาหรือมารดาหรือผู้ใหญ่ของคนอื่นได้ แต่ก็คงมีบิดาของตน ฉะนั้น จึงไม่ขาดจากความเป็นพุทธศาสนิกชน ตลอดเวลาที่ยังนับถือพระรัตนตรัยเป็นของตน เช่นเดียวกับเมื่อยังไม่ตัดบิดาของตน ไปรับบิดาของเขามาเป็นบิดา ก็คงเป็นบุตรธิดาของบิดาตนอยู่หรือเมื่อยังไม่แปลงสัญชาติเป็นอื่น ก็คงเป็นไทยอยู่นั่นเอง ฉะนั้น พระพุทธศาสนาจึงไม่คับแคบ ผู้นับถือ ย่อมสังคมกับชาวโลกต่างชาติต่างศาสนาได้สะดวก ทั้งไม่สอนให้ลบหลู่ใคร ตรงกันข้ามกลับให้เคารพต่อผู้ควรเคารพทั้งปวง และไม่ซ่อนเร้นหวงกันธรรมไว้โดยเฉพาะ ใครจะมาศึกษาปฏิบัติก็ได้ทั้งนั้น โดยไม่ต้องมานับถือก่อนทั้งนี้ เพราะแสดงธรรมที่เปิดทางให้พิสูจน์ได้ว่าเป็นสัจจะ (ความจริง)ที่เป็นประโยชน์สุขแก่การดำรงชีวิตในปัจจุบัน สัจธรรมที่เป็นหลักใหญ่ในพระพุทธศาสนา คือ อริยสัจ ๔ อริยสัจ แปลว่า “สัจจะของผู้ประเสริฐ (หรือผู้เจริญ)” “สัจจะที่ผู้ประเสริฐพึงรู้” “สัจจะที่ทำให้เป็นผู้ประเสริฐ” หรือ แปลรวบรัดว่า “สัจจะอย่างประเสริฐ” พึงทำความเข้าใจไว้ก่อนว่า มิใช่สัจจะชอบใจของโลกหรือของตนเอง แต่เป็นสัจจะทางปัญญาโดยตรง อริยสัจ ๔ อริยสัจมี ๔ คือ ๑. ทุกข์ ได้แก่ความเกิด ความแก่ ความตายซึ่งมีเป็นธรรมดาของชีวิต และความโศก ความระทม ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจซึ่งมีแก่จิตใจและร่างกายเป็นครั้งคราว ความประจวบกับสิ่งที่ไม่รักไม่ชอบ ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่ชอบ ความปราถนาไม่สมหวัง กล่าวโดยย่อก็คือกายและใจนี้เองที่เป็นทุกข์ต่าง ๆ จะพูดว่า ชีวิตนี้เป็นทุกข์ต่าง ๆ ดังกล่าวก็ได้ ๒. สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา ความดิ้นรนทะยานอยากของจิตใจคือดิ้นรนทะยานอยากเพื่อจะเป็นอะไรต่าง ๆ ดิ้นรนทะยานอยากที่จะไม่เป็นในภาวะที่ไม่ชอบต่าง ๆ ๓. นิโรธ ความดับทุกข์ ได้แก่ ดับตัณหา ความดิ้นรนทะยานอยากดังกล่าว ๔. มรรค ทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่ทางมีองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ อาชีพชอบ เพียรชอบ สติชอบ ตั้งใจชอบ ได้มีบางคนเข้าใจว่า พระพุทธศาสนามองในแง่ร้าย เพราะแสดงให้เห็นแต่ทุกข์และสอนสูงเกินกว่าที่คนทั่วไปจะรับได้ เพราะสอนให้ดับความดิ้นรนทะยานอยากเสียหมด ซึ่งจะเป็นไปอยาก เห็นว่าจะต้องมีผู้เข้าใจดังนี้ จึงต้องซ้อมความเข้าใจไว้ก่อนที่จะแจกอริยสัจออกไป พระพุทธศาสนามิได้มองแง่ร้ายหรือแง่ดีทั้งสองแต่อย่างเดียว แต่มองในแง่ของสัจจะ คือ ความจริงซึ่งต้องใช้ปัญญาและจิตใจที่บริสุทธิ์ประกอบกันพิจารณา ตามประวัติพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้ามิได้ทรงแสดงอริยสัจแก่ใครง่าย ๆ แต่ได้ทรงอบรมด้วยธรรมข้ออื่นจนผู้นั้นมีจิตใจบริสุทธิ์พอที่จะรับเข้าใจได้แล้ว จึงทรงแสดงอริยสัจ ธรรมข้ออื่นที่ทรงอบรมก่อนอยู่เสมอสำหรับคฤหัสถ์นั้น คือ ทรงพรรณนาทาน พรรณนาศีล พรรณนาผลของทาน ศีล ที่เรียกว่าสวรรค์ (หมายถึง ความสุขสมบูรณ์ต่าง ๆ ที่เกิดจาก ทาน ศีล แม้ในชีวิตนี้) และอานิสงส์ คือ ผลดีของการที่พรากใจออกจากกามได้เทียบด้วยระบบการศึกษาปัจจุบัน ก็เหมือนอย่างทรงแสดงอริยสัจแก่นักศึกษาชั้นมหาวิทยาลัย ส่วนนักเรียนที่ต่ำลงมาก็ทรงแสดงธรรมข้ออื่นตามสมควรแก่ระดับ พระพุทธเจ้าจะไม่ทรงแสดงธรรมที่สูงกว่าระดับของผู้ฟัง ซึ่งจะไม่เกิดประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย แต่ผู้ที่มุ่งศึกษาแสวงหาความรู้ แม้จะยังปฏิบัติไม่ได้ ก็ยังเป็นทางเจริญความรู้ในสัจจะที่ตอบได้ตามเหตุผล และอาจพิจารณาผ่อนลงมาปฏิบัติทั้งที่ยังมีตัณหา คือความอยากดังกล่าวอยู่นั่นแหละ ทางพิจารณานั้นพึงมิได้ เช่นที่จะกล่าวเป็นแนวคิดดังนี้ ๑. ทุก ๆ คนปราถนาสุข ไม่ต้องการทุกข์ แต่ทำไมคนเราจึงยังต้องเป็นทุกข์ และไม่สามารถจะแก้ ทุกข์ของตนเองได้ บางทียิ่งแก้ก็ยิ่งเป็นทุกข์มาก ทั้งนี้ ก็เพราะไม่รู้เหตุผลตามเป็นจริงว่า อะไรเป็นเหตุของทุกข์ อะไรเป็นเหตุของสุข ถ้าได้รู้แล้วก็จะแก้ได้ คือ ละเหตุที่ให้เกิดทุกข์ ทำเหตุที่ให้เกิดสุข อุปสรรคที่สำคัญอันหนึ่งก็คือใจของตนเอง เพราะคนเราตามใจตนเองมากไปจึงต้องเดือดร้อน ๒. ที่พูดกันว่าตามใจตนเองนั้น โดยที่แท้ก็คือตามใจตัณหา คือความอยากของใจ ในขั้นโลก ๆ นี้ ยังไม่ต้องดับความอยากให้หมด เพราะยังต้องอาสัยความอยากเพื่อสร้างโลก หรือสร้างตนเองให้เจริญต่อไป แต่ก็ต้องมีการควบคุมอยากให้อยู่ในขอบเขตที่สมควรและจะต้องรู้จักอิ่ม รู้จักพอในสิ่งที่ควรอิ่มควรพอ ดับตัณหาได้เพียงเท่านี้ ก็พอครองชีวิตอยู่ในสุขในโลก ผู้ก่อไฟเผาตนเองและเผาโลกอยู่ในขอบเขต ถ้าคนเรามีความอยากจะได้วิชาก็ตั้งใจพากเพียรเรียน มีความอยากจะได้ทรัพย์ยศ ก็ตั้งใจเพียรทำงานให้ดี ตามกำลังตามทางที่สมควรดังนี้แล้วก็ใช้ได้ แปลว่า ปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ ในทางโลก และก็อยู่ในทางธรรมด้วย ๓. แต่คนเราต้องการมีการพักผ่อน ร่างกายก็ต้องมีการพัก ต้องให้หลับ ซึ่งเป็นการพักทางร่างกาย จิตใจก็ต้องมีเวลาที่ปล่อยให้ว่าง ถ้าจิตใจยังมุ่งคิดอะไรอยู่ไม่ปล่อยความคิดนั้นแล้วก็หลับไม่ลง ผู้ที่ต้องการมีความสุขสนุกสนานจากรูป เสียงทั้งหลาย เช่น ชอบฟังดนตรีที่ไพเราะ หากจะถูกเกณฑ์ให้ต้องฟังอยู่นานเกินไปเสียงดนตรีที่ไพเราะที่ดังจ่อหูอยู่นานเกินไปนั้น จะก่อให้เกิดความทุกข์อย่างยิ่ง จะต้องการหนีไปให้พ้น ต้องการกลับไปอยู่กับสภาวะที่ปราศจากเสียง คือ ความสงบ, จิตใจของคนเราต้องการความสงบดังนี้อยู่ทุกวัน วันหนึ่งเป็นเวลาไม่น้อย นี้คือความสงบใจ กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือความสงบ ความดิ้นรนทะยานอยากของใจ ซึ่งเป็นความดับทุกข์นั่นเอง ฉะนั้น ถ้าทำความเข้าใจให้ดีว่าความดับทุกข์ก็คือความสงบใจ ซึ่งเป็นอาหารใจที่ทุก ๆ คนต้องการอยู่ทุกวัน ก็จะค่อยเข้าใจในข้อ “นิโรธ” นี้ขึ้น ๔. ควรคิดต่อไปว่า ใจที่ไม่สงบนั้น ก็เพราะเกิดความดิ้นรนขึ้น และก็บัญชาให้ทำ พูด คิด ไปตามใจที่ดิ้นรนนั้น เมื่อปฏิบัติตามใจไปแล้วก็อาจสงบลงได้แต่การที่ปฏิบัติไปแล้วนั้น บางทีชั่วเวลาประเดี๋ยวเดียวก็ให้เกิดทุกข์โทษอย่างมหันต์ บางทีเป็นมลทินโทษที่ทำให้เสียใจไปช้านาน คนเช่นนี้ ควรทราบว่าท่านเรียกว่า “ทาสของตัณหา” ฉะนั้น จะมีวิธีทำอย่างไรที่จะไม่แพ้ตัณหา หรือจะเป็นนายของตัณหาในใจของตนเองได้ วิธีดังกล่าวนี้ก็คือ มรรคมีองค์ ๘ มรรคมีองค์ ๘ ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่ ๑. สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ คือ เห็นอริยสัจ ๔ หรือเห็นเหตุผลตามเป็นจริง แม้โดยประการที่ผ่อนพิจารณาลงดังกล่าวมาโดยลำดับ ๒. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ คือ ดำริ หรือคิดออกจากสิ่งที่ผูกพันให้เป็นทุกข์ ดำริในทางไม่พยาบาทมุ่งร้าย ดำริในทางไม่เบียดเบียน ๓. สัมมาวาจา วาจาชอบ แสดงในทางเว้น คือ เว้นจากพูดเท็จ เว้นจากพูดส่อเสียดให้แตกร้าวกัน เว้นจากพูดคำหยาบร้าย เว้นจากพูดเพ้อเจ้อไม่เป็นประโยชน์ ๔. สัมมากัมมันตะ การงานชอบ แสดงในทางเว้น คือ เว้นจากการฆ่า เว้นจากการทรมาน เว้นจากการลัก เว้นจากการประพฤติผิดในทางกาม ๕. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ คือ เว้นจากมิจฉาอาชีวะ(อาชีพที่ผิด) สำเร็จชีวิตด้วยอาชีพที่ชอบ ๖. สัมมาวายามะ เพียรพยายามชอบ คือ เพียรระวังบาปที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว เพียรทำกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วมิให้เสื่อม แต่ให้เจริญยิ่งขึ้น ๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ระลึกไปในที่ตั้งของสติที่ดีทั้งหลาย เช่น ในสติปัฏฐาน ๔ คือ กาย เวทนา จิต ธรรม ๘. สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ คือ ทำใจให้เป็นสมาธิ(ตั้งมั่นแน่วแน่) ในเรื่องที่ตั้งใจจะทำในทางที่ชอบ มรรคมีองค์ ๘ นี้ เป็นทางเดียว แต่มีองค์ประกอบเป็น ๘ และย่อลงได้ในสิกขา (ข้อที่พึงศึกษาปฏิบัติ) คือ ศิลสิกขา สิกขา คือ ศิล ได้แก่ วาจาชอบ การงานชอบ อาชีพชอบ พูดโดยทั่วไป จะพูด จะทำอะไรก็ให้ถูกชอบอย่าให้ผิด จะประกอบอาชีพอะไรก็เช่นเดียวกัน ถ้ายังไม่มีอาชีพ เช่น เป็นนักเรียนต้องอาศัยท่านผู้ใหญ่อุปการะ ก็ให้ใช้ทรัพย์ที่ท่านให้มาตามส่วนที่ควรใช้ ไม่ใช้อย่างสุรุยสุร่ายเหลวแหลก ศึกษาควบคุมตนเอง ให้งดเว้นจากความคิดที่จะประพฤติตน ที่จะเลี้ยงตนเลี้ยงเพื่อนไปในทางที่ผิด ที่ไม่สมควร จิตตสิกขา สิกขา คือ จิต ได้แก่เพียรพยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ พูดโดยทั่วไป เรื่องจิตของตนเป็นเรื่องสำคัญ ต้องพยายามศึกษาฝึกฝน เพราะอาจฝึกได้โดยไม่ยากด้วย แต่ ขอให้เริ่ม เช่น เริ่มฝึกตั้งความเพียร ฝึกให้ระลึกจดจำ และ ระลึกถึงเรื่องที่เป็นประโยชน์ และให้ตั้งใจแน่วแน่ สิกขาข้อนี้ ใช้ในการเรียนได้เป็นอย่างดี เพราะการเรียนจะต้องมีความเพียร ความระลึก ความตั้งใจ ปัญญาสิกขา สิกขา คือ ปัญญา ได้แก่ เห็นชอบ ดำริชอบ พูดโดยทั่วไป มนุษย์เจริญขึ้นก็ด้วยปัญญาที่พิจารณาและลงความเห็นในทางที่ถูกที่ชอบ ดำริชอบก็คือพิจารณาโดยชอบ เห็นชอบ ก็คือลงความเห็นที่ถูกต้อง นักเรียนผู้ศึกษาวิชาการต่าง ๆ ก็มุ่งให้ได้ปัญญาสำหรับที่จะพิจารณาและลงความเห็นโดยความถูกชอบ ตามหลักแห่งเหตุผลตามเป็นจริง และโดยเฉพาะควรอบรมปัญญาในไตรลักษณ์ และปฏิบัติ ไตรลักษณ์ หมายถึง ลักษณะที่ทั่วไปแก่สังขารทั้งปวง คือ อนิจจะ ทุกขะ อนัตตา อนิจจะ ไม่เที่ยง คือ ไม่ดำรงอยู่เป็นนิตย์นิรันดร์ เพราะเมื่อเกิดมาแล้วก็ต้องดับในที่สุด ทุก ๆ สิ่งจึงมีหรือเป็นอะไรขึ้นมาแล้ว ก็กลับไม่มี เป็นสิ่งที่ดำรงอยู่ชั่วคราวเท่านั้น ทุกขะ ทนอยู่คงที่ไม่ได้ ต้องเปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอเหมือนอย่างถูกบีบคั้นให้ทรุดโทรมเก่าแก่ไปอยู่เรื่อย ๆ ทุก ๆ คนผู้เป็นเจ้าของสิ่งเช่นนี้ ก็ต้องทนทุกข์เดือดร้อนไม่สบายไปด้วย เช่น ไม่สบายเพราะร่างกายป่วยเจ็บ อนัตตา ไม่ใช่อัตตา คือไม่ใช่ตัวตน อนัตตานี้ขออธิบายเป็นลำดับชั้น สามชั้น ดังต่อไปนี้ ๑. ไม่ยึดมั่นกับตนเกินไป เพราะถ้ายึดมั่นกับตนเกินไป ก็ทำให้เป็นคนเห็นแก่ตนถ่ายเดียว หรือทำให้หลงตน ลืมตนมีคติ คือลำเอียงเข้ากับตน ทำให้ไม่รู้จักตนตามเป็นจริง เช่น คิดว่าตนเป็นฝ่ายถูก ตนต้องได้สิ่งนั้นสิ่งนี้ด้วย ความยึดมั่นตนเองเกินไป แต่ตามที่เป็นจริง หาได้เป็นเช่นนั้นไม่ ๒. บังคับให้สิ่งต่าง ๆ รวมทั้งร่างกายและจิตใจไม่ให้เปลี่ยนแปลงตามความต้องการไม่ได้ เช่น บังคับให้เป็นหนุ่มสาวสวยงามอยู่เสมอไม่ได้ บังคับให้ภาวะของจิตใจชุ่มชื่นว่องไวอยู่เสมอไม่ได้ ๓. สำหรับผู้ที่ได้ปฏิบัติไปได้จนถึงขั้นสูงสุด เห็นสิ่งต่าง ๆ รวมทั้งร่างกายและจิตใจเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตนทั้งสิ้นแล้ว ตัวตนจะไม่มี ตามพระพุทธภาษิตที่แปลว่า “ตนย่อมไม่มีแก่ตน” แต่ยังมีผู้รู้ซึ่งไม่มียึดมั่นอะไรในโลก ผู้รู้เมื่อยังมีชีวิตอยู่ก็สามารถปฏิบัติสิ่งต่าง ๆ ให้เป็นไปตามสมควรแก่สถานที่ และสิ่งแวดล้อมโดยเที่ยงธรรมล้วน ๆ (ไม่มีกิเลสเจือปน) พรหมวิหาร ๔ คือ ธรรมสำหรับเป็นที่อาศัยอยู่ของจิตใจที่ดี มี ๔ ข้อ ดังต่อไปนี้ ๑. เมตตา ความรักที่จะให้เป็นสุข ตรงกันข้ามกับความเกลียดที่จะให้เป็นทุกข์ เมตตาเป็นเครื่องปลูกอัธยาศัยเอื่ออารี ทำให้มีความหนักแน่นในอารมณ์ ไม่ร้อนวู่วาม เป็นเหตุให้เกิดความรู้สึกเป็นมิตร ไม่เป็นศัตรู ไม่เบียดเบียนใคร แม้สัตว์เล็กเพียงไหน ให้เดือดร้อนทรมานด้วยความเกลียด โกรธ หรือสนุกก็ตาม ๒. กรุณา ความสงสารจะช่วยให้พ้นทุกข์ ตรงกันข้ามกับความเบียดเบียน เป็นเครื่องปลูกอัธยาศัยเผื่อแผ่เจือจาน ช่วยผู้ที่ประสบทุกข์ยากต่าง ๆ กรุณานี้เป็นพระคุณสำคัญข้อหนึ่งของพระพุทธเจ้า เป็นพระคุณสำคัญข้อหนึ่งของพระมหากษัตริย์ และเป็นคุณข้อสำคัญของท่านผู้มีคุณทั้งหลาย มีมารดาบิดา เป็นต้น ๓. มุทิตา ความพลอยยินดีในความได้ดีของผู้อื่น ตรงกันข้ามกับความริษยาในความดีของเขา เป็นเครื่องปลูกอัธยาศัยส่งเสริมความดี ความสุข ความเจริญของกันและกัน ๔. อุเบกขา ความวางใจเป็นกลาง ในเวลาที่ควรวางใจ ดังนั้น เช่นในเวลาที่ผู้อื่นถึงความวิบัติ ก็วางใจเป็นกลาง ไม่ดีใจว่าศัตรูถึงความวิบัติ ไม่เสียใจว่าคนที่รักถึงความวิบัติ ด้วยพิจารณาในทางกรรมว่า ทุก ๆ คนมีกรรมเป็นของตน ต้องเป็นทายาทรับผลของกรรมที่ตนได้ทำไว้เอง ความเพ่งเล็งถึงกรรมเป็นสำคัญดังนี้ จนวางใจลงในกรรมได้ ย่อมเป็นเหตุถอนความเพ่งเล็งบุคคลเป็นสำคัญ นี้แหละเรียกว่า อุเบกขา เป็นเหตุปลูกอัธยาศัยให้เพ่งเล็งถึงความผิดถูกชั่วดีเป็นข้อสำคัญ ทำให้เป็นคนมีใจยุติธรรมในเรื่องทั่ว ๆ ไปด้วย ธรรม ๔ ข้อนี้ ควรอบรมให้มีจิตใจด้วยวิธีคิดแผ่ใจประกอบด้วยเมตตา เป็นต้น ออกไปในบุคคลและในสัตว์ทั้งหลาย โดยเจาะจง และโดยไม่เจาะจงคือทั่วไปเมื่อหัดคิดอยู่บ่อย ๆ จิตใจก็จะอยู่กับธรรมเหล่านี้บ่อยเข้าแทนความเกลียด โกรธ เป็นต้น ที่ตรงกันข้าม จนถึงเป็นอัธยาศัยขึ้น ก็จะมีความสุขมาก นิพพานเป็นบรมสุข ได้มีภาษิตกล่าวไว้ แปลว่า “นิพพานเป็นบรมสุข คือ สุขอย่างยิ่ง” นิพพาน คือ ความละตัณหา ในทางโลกและทางธรรมทั้งหมด ปฏิบัติโดยไม่มีตัณหาทั้งหมด คือ การปฏิบัติถึงนิพพาน ได้มีผู้กราบทูลพระพุทธเจ้าว่า “ธรรม” (ตลอดถึง) “นิพพาน” ที่ว่า “เป็นสนฺทิฏฐิโก อันบุคคลเห็นเอง” นั้นเป็นอย่างไร? ได้มีพระพุทธดำรัสตอบโดยความว่าอย่างนี้ คือ ผู้ที่มีจิตถูกราคะ โทสะ โมหะ ครอบงำเสียแล้ว ย่อมเกิดเจตนาความคิดเพื่อเบียดบังตนบ้าง ผู้อื่นบ้าง ทั้งสองฝ่ายบ้าง ต้องได้รับทุกข์โทมนัสแม้ทางใจ เมื่อเกิดเจตนาขึ้น ดังนั้น ก็ทำให้ประพฤติทุจริตทางไตรทวาร คือ กาย วาจา ใจ และคนเช่นนั้นย่อมไม่รู้ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองตามเป็นจริง แต่ว่าเมื่อละความชอบ ความชัง ความหลงเสียได้ ไม่มีเจตนาความคิดที่จะเบียดเบียนตนและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย ไม่ประพฤติทุจริตทางไตรทวาร รู้ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองตามเป็นจริง ไม่ต้องเป็นทุกข์โทมนัสแม้ด้วยใจ “ธรรม (ตลอดถึง) นิพพาน” ที่ว่า “เห็นเอง” คือเห็นอย่างนี้ ตามที่ตรัสอธิบายนี้ เห็นธรรม ก็คือ เห็นภาวะหรือสภาวะแห่งจิตใจของตนเอง ทั้งในทางไม่ดีทั้งในทางดี จิตใจเป็นอย่างไร ก็ให้รู้อย่างนั้นตามเป็นจริง ดังนี้ เรียกว่าเห็นธรรม ถ้ามีคำถามว่า จะได้ประโยชน์อย่างไร? ก็ตอบได้ว่า ได้ความดับทางใจ คือ จิตใจที่ร้อนรุ่มด้วยความโลภ โกรธ หลง นั้น เพราะมุ่งออกไปข้างนอก หากได้นำใจกลับเข้ามาดูใจเองแล้ว สิ่งที่ร้อนจะสงบเอง และให้สังเกตจับตัวความสงบนั้นให้ได้ จับไว้ให้อยู่ เห็นความสงบดังนี้ คือ เห็นนิพพาน วิธีเห็นธรรม เห็นนิพพาน ตามที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสอธิบายไว้ จึงเป็นวิธีธรรมดาที่คนธรรมดาทั่ว ๆ ไปปฏิบัติได้ ตั้งแต่ขั้นธรรมดาต่ำ ๆ ตลอดถึงขั้นสูงสุด อริยสัจ ไตรลักษณ์ และนิพพาน “เป็นสัจธรรม” ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ และได้ทรงแสดงสั่งสอน (ดังแสดงในปฐมเทศนาและในธรรมนิยาม) เรียกได้ว่าเป็น “ธรรมสัจจะ” สัจจะทางธรรมเป็นวิสัยที่พึงรู้ได้ด้วยปัญญา อันเป็นทางพ้นทุกข์ในพระพุทธศาสนา แต่ทางพระพุทธศาสนาก็ได้แสดงธรรมในอีกหลักหนึ่งคู่กันไป คือ ตาม “โลกสัจจะ” สัจจะทางโลก คือ แสดงในทางตน มีตน เพราะโดยสัจจะทางธรรมที่เด็ดขาดย่อมเป็นอนัตตา แต่โดยสัจจะทางโลกย่อมมีอัตตา ดังที่ตรัสว่า “ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน” ในเรื่องนี้ได้ตรัสไว้ว่า “เพราะประกอบเครื่องรถเข้า เสียงว่ารถย่อมมีฉันใด เพราะขันธ์ทั้งหลายมีอยู่ สัตว์ก็ย่อมมีฉันนั้น” ธรรมในส่วนโลกสัจจะ เช่น ธรรมที่เกี่ยวแก่การปฏิบัติในสังคมมนุษย์ เช่น ทิศหก แม้ศีลกับวินัยบัญญัติทั้งหลาย ก็เช่นเดียวกัน ฉะนั้นแม้จะปฏิบัติอยู่เพื่อความพ้นทุกข์ทางจิตใจตามหลักธรรมสัจจะ ส่วนทางกายและทางสังคม ก็ต้องปฏิบัติอยู่ในธรรมตามโลกสัจจะ ยกตัวอย่างเช่น บัดนี้ตนอยู่ในภาวะอันใด เช่น เป็นบุตรธิดา เป็นนักเรียน เป็นต้น ก็พึงปฏิบัติธรรมตามควรแก่ภาวะของตน และ ควรพยายามศึกษานำธรรมมาปฏิบัติใช้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นประจำวัน พยายามให้มีธรรมในภาคปฏิบัติขึ้นทุก ๆ วัน ในการเรียน ในการทำงาน และในการอื่น ๆ เห็นว่า ผู้ปฏิบัติดังนี้จะเห็นเองว่า ธรรมมีประโยชน์อย่างยิ่งแก่ชีวิตอย่างแท้จริง หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 06 พฤศจิกายน 2553, 07:57:07 ธรรมะจากพระดี ๑ “หลักมนุษย์” เนื้อหาของธรรมะเรื่องนี้เรียบเรียงมาจากพระธรรมเทศนาเรื่อง “อัปปมาทกถา” ของพระธรรมปิฎก(ป.อ.ปยุตฺโต) ซึ่งแสดงถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี(สมเด็จย่า) เมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๓๙ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง คนเราทุกคนย่อมต้องการให้ชีวิตของตนเองมีความสุขทั้งทางโลก คือในด้านการเรียน การทำงาน ฯลฯ มีความเจริญก้าวหน้า ประสพผลสำเร็จตามที่ตั้งใจ และมีความสุขในทางธรรม คือมีจิตใจที่ผ่องใส สงบ สดชื่น ลดความโลภ โกรธ หลง ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น การจะไปสู่ชีวิตที่สมบูรณ์ดังกล่าวได้ เราจะต้องไม่ตกลงไปใน “หลุมดักมนุษย์” ซึ่งทำให้เราหยุดนิ่งไม่พัฒนาตนเอง เพราะมัวไปหลงมัวเมาอยู่กับบางสิ่งบางอย่าง พระธรรมปิฎก ได้แสดงธรรมที่จะเป็นเคล็ดลับของการมีชีวิตอยู่เหนือ “หลุมดักมนุษย์” ไว้อย่างน่าสนใจ ผู้จัดพิมพ์จึงนำมาเสนอให้ผู้อ่าน ได้มีโอกาสศึกษาธรรมะของพระพุทธเจ้าที่พระเดชพระคุณท่านนำมาแสดงไว้ และเราเชื่อว่า การที่พระเดชพระคุณท่านดำรงความเป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ(สุปฏิปันโน) มาได้โดยยาวนาน ก็เนื่องจากท่านมหาเถระเป็นผู้ที่มีธรรมะในข้อนี้อยู่ตลอดเวลา จึงมีความก้าวหน้าเจริญในธรรม มาอย่างต่อเนื่องมั่นคง ในสังคมที่เรียกว่าเจริญนี้ มีเครื่องกล่อมจิตและผ่อนคลายชีวิตมากมาย หากไม่ระวัง ทำให้ถูกต้องและพอดี จะมีโทษ ทำให้เกิดความประมาท นำความพินาศมาให้ตนเองและคนอื่นได้ “สิ่งกล่อม” หมายถึงสิ่งที่ประโลมใจให้ชุ่มชื่น ช่วยให้พักใจ ลืมทุกข์ หลบปัญหาได้ชั่วคราว แต่สิ่งกล่อมนี้ไม่ได้แก้ปัญหาหรือความทุกข์ที่สาเหตุอันแท้จริง จึงไม่ทำให้ทุกข์และปัญหาต่างๆ หมดไป หากมัวติดเพลิดเพลินกับสิ่งกล่อมก็กลายเป็นความประมาท ทำให้เกิดความเสื่อมและพินาศในที่สุดได้ สิ่งกล่อมบางอย่างมีโทษร้ายแรง หาประโยชน์ยาก เช่น อบายมุข สุรา ยาเสพติดทั้งหลาย ความเพลิดเพลินในการพนัน การหมกมุ่นสำส่อนทางเพศ การมั่วสุมต่างๆ สิ่งกล่อมบางอย่างมีประโยชน์บ้าง ถ้ารู้จักใช้ให้ถูกต้อง จำกัดให้พอดี เช่น การสนุกสนาน บันเทิง รวมทั้งดนตรี กีฬา ที่ไม่เป็นพิษภัยหรือก่อความเดือดร้อนแก่ใคร ก็อาจช่วยพักใจคลายทุกข์ได้ชั่วคราว และพัฒนาร่างกาย ส่งเสริมสติปัญญาได้ แต่ต้องอยู่ในขอบเขตไม่เกินพอดี ความเชื่อทางศาสนา บางครั้งกลายเป็นสิ่งกล่อมจิตอย่างหนึ่งไปได้ เพราะทำให้คลายทุกข์ เช่น ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือการพึ่งคนอื่น ฯลฯ สิ่งกล่อมนี้ต้องปฏิบัติด้วยความระมัดระวังมาก ถ้าติดเพลินหมกมุ่น จะทำให้จิตใจอ่อนแอ หวังพึ่งแต่ภายนอกให้ช่วย ไม่คิดแก้ไขสาเหตุของทุกข์ที่แท้ ไม่สู้ปัญหา ลักษณะแบบนี้จะทำให้ศาสนากลายเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจแบบเหนี่ยวดึง “ลง” จนกระทั่งคนเราไม่พัฒนาตนเอง แม้แต่สมาธิ หรือสิ่งดีงามประเสริฐ หากใช้ผิดจุดมุ่งหมาย ก็อาจกลายเป็นสิ่งกล่อมที่นำไปสู่ความประมาท เช่น สมาธิ ที่นำมาใช้เพื่อให้เกิดความสุข สงบใจ ลืมทุกข์ ลืมปัญหาไปชั่วคราว ก็อาจกลายเป็นสิ่งกล่อมที่ทำให้หยุดจมอยู่ในความประมาท ไม่คิดแก้ไขปัญหาที่เป็นสาเหตุอันแท้จริงให้หมดไป เช่นเดียวกับการปลงอนิจจัง(ปล่อยวาง) ก็อาจกลายเป็นสิ่งกล่อมให้สบายใจชั่วคราว โดยไม่คิดแก้ไขปัญหาที่แท้จริงเช่นกัน ดังนั้นการปฏิบัติสิ่งที่ดีงามทั้งหลาย จะต้องเป็น “สัมมาปฏิบัติ” คือทำให้ถูกต้อง จำกัดขอบเขตให้พอดีด้วย เช่นใช้เพื่อฟื้นฟูจิตใจ พักใจชั่วคราว เมื่อมีเรี่ยวแรง เข้มแข็งมากขึ้นแล้ว ก็ต้องเดินทางให้ก้าวหน้าต่อไป สู่จุดหมายที่ถูกต้อง ไม่ใช่ไปตกหลุมดักอยู่กับสิ่งกล่อมนั้นๆ จนไม่ไปไหน สรุปก็คือ “หลุมดักมนัษย์” ที่ทำให้คนเราแม้แต่คนดี คนประเสริฐ ตกลงไปในความประมาทมี ๓ อย่าง คือ • ความสุข • ความสำเร็จ • ความดีงาม ผู้ที่มีความสุขแล้ว ก็มักจะติดเพลินในความสุขนั้นๆ ชอบผัดผ่อน ไม่คิดจะลุกขึ้นมาขวนขวายทำอะไรให้ก้าวหน้าอีก เพราะติดความสุขสบายนั้น ผู้ที่มีความสำเร็จแล้ว คือประสพความสำเร็จ ได้ลาภ ยศ ร่ำรวย มีตำแหน่ง ฯลฯ บางคนก็เกิดความเฉื่อยชา หยุดรอเสวยผลสำเร็จนั้น ไม่คิดทำอะไรอีก บางคนเกิดความลำพองมัวเมาในความสำเร็จ ใช้ทรัพย์หรืออำนาจไปข่มขู่คุกคาม เบียดเบียนคนอื่นให้ทุกข์ร้อน ผู้ที่ก้าวหน้าไปในความดี ก็มักเกิดความภูมใจและพอใจในความดีงามที่ตนเองไปถึงหรือมี ทำให้หยุด ไม่พัฒนาตนเองไปสู่ความดีงามที่สูงยิ่งๆขึ้นไป พระพุทธเจ้าได้สอนให้คนเราไม่ประมาท คือเมื่อ ประสบความสุข สำเร็จ มีความก้าวหน้าดีงาม ก็ให้รู้เท่าทันความไม่แน่นอน และรู้ว่าสิ่งที่ได้มานั้น เป็นเพียงเครื่องมือ และโอกาสที่ตนเองจะสร้างประโยชน์เพื่อทำสิ่งที่ดีงามแก่ตนเองและผู้อื่นให้เพิ่มพูนยิ่งๆ ขึ้นไป ไม่ไปติดกับ หรือตกหลุม หยุดอยู่กับที่ ไม่ยอมไปไหน ลักษณะสำคัญของความไม่ประมาท คือ “เป็นอยู่อย่างไม่ขาดสติ” มีความระลึก ตื่นตัว อยู่ในสิ่งที่ดีงาม ระวังไม่ยอมให้จิตใจ ไถลออกไปกับความชั่ว ที่จะทำให้เกิดความเสียหาย และไม่ทิ้งโอกาสแห่งการสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้างอกงามให้แก่ตนเองและผู้อื่น ความไม่ประมาทนั้น แสดงเด่นชัดที่การรู้จักใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ ไม่ปล่อยเวลาแม้แต่ขณะเดียวให้ผ่านไปอย่างเปล่าประโยชน์เวลาแต่ละวันอย่าให้ผ่านไปเปล่า ไม่มากก็น้อยต้องให้ “ได้” อะไรบ้าง สิ่งที่ “ได้” นั้น มีหลายอย่าง ตั้งแต่ได้วัตถุสิ่งของ เงินทองการงาม ได้บำเพ็ญประโยชน์ ทำบุญทำทาน ได้ความรู้ ได้เพิ่มพูนคุณธรรม ได้ความสุขสบายใจ ได้ปัญญามองเห็นโลก เข้าใจชีวิตอย่างรู้เท่าทัน สรุปคือ ได้พัฒนาชีวิต จิตใจ และทำปัญญาให้เจริญงอกงามและได้ทำประโยชน์ตนและแก่ผู้อื่น ถ้าทำทุกวัน แม้ไม่มาก ก็จะค่อยๆเพิ่มขึ้นตามกาลเวลา ก็ถือว่าเวลาไม่สูญเปล่า บุคคลคนนั้นก็เป็นผู้ “ไม่ประมาท” ส่วนผู้ประมาทนั้น แสดงออกหลายอย่าง เช่น ขี้เกียจ เห็นแก่ความสะดวกสบาย เอาแต่ที่ง่ายๆ ลุ่มหลงหมกมุ่นในความสุข ตามใจตนเองอยู่เรื่อย การแสดงออกเหล่านี้ เนื่องจากมองข้ามความสำคัญของเวลา ก็เลยผัดวันประกันพรุ่งอยู่เรื่อย บ้างก็เมาวัย เมาในความไร้โรค เมาชีวิต คิดว่าตัวเองยังเด้ก หนุ่มสาว ร่างกายแข็งแรง หรือคิดว่าชีวิตจะอยู่ได้ตลอดไป ไม่รู้จักตาย ก็เลยปล่อยตัวปล่อยใจ ปล่อยเวลา มารู้เอาก็เมื่อสายเกินไปเสียแล้ว เรื่องความไม่ประมาทนี้จึงสำคัญนัก ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะปรินิพพาน(ไม่เวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป) เรื่องที่ทรงกล่าวสั่งเสียครั้งสุดท้าย ที่เรียกว่า “ปัจฉิมโอวาท” ก็คือเรื่อง “ความไม่ประมาท” หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: khesorn mueller ที่ 09 พฤศจิกายน 2553, 19:52:40
พี่สิงห์, ไม่มีฝรั่งรับทาน ทำไงดีคะ?? หนิงซื้อส้มโอทองของเมืองจีน ผลละ 1.99 €กินคนเดียวได้ 2 วัน ครอบครัวเขาปอกไม่เป็น...เลยไม่สนใจ แกะเปลือกวางไว้ให้ในครัวยังไม่มีใครแตะ. กินส้มโอกะกาแฟ... แล้วไปว่ายน้ำ 65-75นาที รับรองคะ ว่าร่างกายได้เผาผลาญ กลับมาบ้านกินช้างได้ตัวพอดีคะ. nn. หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 11 พฤศจิกายน 2553, 16:29:14 สวัสดีค่ะ คุณน้องหนิง
กรณีไม่มีฝรั่งรับประทาน โดยเฉพาะอยู่ยุโรป แนะนำ Apple ครับ สวัสดี หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 11 พฤศจิกายน 2553, 20:41:57 ธรรมะจากพระดี ๒ “ธรรมะตรวจใจ” ในยุคสมัยที่ข่าวสารข้อมูลมีมากมาย และมีสื่อมวลชนหลายรูปแบบ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ เมื่อเกิดความขัดแย้งอะไรขึ้นมา การเสนอข่าวสารต่างๆ ก็มักจะทำให้ชาวบ้านหรือประชาชนทั่วไปสับสน เกิดแบ่งฝักแบ่งฝ่าย โดยไม่ได้คิดถึงธรรมะหรือเรื่องความถูกต้องดีงามของส่วนรวมเป็นหลัก บางคนถึงกับกล่าวเท็จให้ร้ายผู้อื่นโดยใช้สื่อมวลชนบางส่วนเป็นเครื่องมือ ดังนั้น การจะอยู่ในยุคสมัยอย่างนี้ พระท่านจึงสอนเราให้หมั่น “ตรวจใจ” หรือตรวจสอบใจตัวเราเองอยู่เสมอ ว่าเราเข้าข้างฝ่ายนั้นฝ่ายนี้ เพราะเป็นความ “ลำเอียง” หรือ “อคติ” หรือไม่ เนื่องจากเราทุกคนนั้น ยังเป็นคนธรรมดาหรือปุถุชน จึงยังมีความรู้สึกที่เรียกว่า “อคติ ๔” คือมีความรู้สึกลำเอียง ๔ อย่าง ทให้เมื่อเข้าไปเกี่ยวข้องกับใคร อะไร เราก็มักจะมีแนวโน้มเชื่อหรือไม่เชื่อตามความรู้สึก ๔ อย่างนั้น โดยไม่ใช้สติปัญญาไตร่ตรองก่อน จิตที่มีอคติจึงมักทำอะไรผิดพลาด ก่อปัญหา เพราะมองอะไรทำอะไรไม่ตรงตามความจริงนั่นเอง อคติ ๔ ได้แก่ ลำเอียงเพราะความรัก เช่น รักว่าเป็นคนบ้านเดียวกัน เป็นคนหล่อ คนสวย คนซื่อสัตย์ เป็นคนให้ประโยชน์แก่เรา ฯลฯ ลำเอียงเพราะความเกลียด เช่น เคยทะเลาะกันมาก่อน คิดไม่ตรงกับเรา ไม่ชอบนิสัย ไม่ชอบหน้า ไม่ชอบคนเชื้อชาตินี้ เป็นผู้จะทำให้เราเสียประโยชน์ ฯลฯ ลำเอียงเพราะความกลัว เช่น กลัวว่าเขาจะมาทำลายสิ่งที่เรารักใคร่ เคารพ (เช่นบุคคล ศาสนา ฯลฯ) ให้เกิดเสียหาย ทำให้ความสะดวกสบาย หรือผลประโยชน์ ลาภ ยศ ต่างๆ ของเราหมดไป ฯลฯ ลำเอียงเพราะความหลง(งมงาย) เช่น ปักใจเชื่อว่าต้องเป็นแบบนี้ อย่างนี้ จึงถูกจึงดี โดยไม่ต้องคิดไตร่ตรองเหตุผล ความจริง อะไรเลย ดังนั้น เมื่อจะตัดสินใจทำอะไร เชื่อใคร เราควรจะหยุดและ “ตรวจใจ” ว่า เป็นเพราะเราลำเอียงด้วย “อคติ ๔” อย่างที่ว่ามาหรือเปล่าและตรวจใจ “เขา” หรือคนที่เอาข่าวสารข้อมูลมาเขียนมาบอกหรือโฆษณา ว่าเขาเขียนหรือพูดเพราะมี "อคติ ๔" คือ รัก เกลียด กลัว หลง ในบุคคลหรือสิ่งใดหรือไม่อย่างไร เขาต้องการประโยชน์อะไรจากเรา การตรวจใจตนเองและคนอื่นด้วย จะช่วยให้เรามีความรอบคอบ ไม่เชื่อใครโดยง่าย จนเกิดผลเสียหายต่อตนเองและผู้อื่น ธรรมะเรื่องนี้นำมาจาก “มองให้ลึก นึกให้ไกล” โดย พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) ขณะที่ยังเป็นพระเทพเวที หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: khesorn mueller ที่ 12 พฤศจิกายน 2553, 13:56:16 พี่สิงห์,
แอ๊ปเปิ้ลเยอรมัน...เหมือนผลไม้บ้านเรา...กล้วยน้ำว้า! ถูก...มีทั้งปี...มองทางไหนก็มี เลยเบื่อค่ะ! เริ่มเหี่ยวก็โล๊ะอบเค้กที... เลยหันไปหาexotic fruit....pomeloนี่แหละคะ อร่อย nn หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 12 พฤศจิกายน 2553, 20:12:17 ธรรมะจากพระดี ๓ ธรรมะตรวจนิสัย ในยุคที่ข่าวสารต่างๆ มีมากมายและเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก ทั้งจากหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต โทรศัพท์-โทรสาร ฯลฯ การจะอยู่ได้อย่างรู้เท่าทัน มีสติ และไม่ถูกหลอก หรือถูกมอมเมาให้เชื่อโดยไม่คิดไตร่ตรอง จึงเป็นสิ่งจำเป็น แต่จะทำได้ เราควรจะต้องรู้นิสัยของเรา ที่มีต่อข่าวสารต่างๆ ว่าเป็นแบบไหน เมื่อรู้แล้ว เราจะได้รู้จักตนเองว่ามีจุดอ่อนอย่างไร ควรจะต้องปรับปรุงแก้ไขตนเองอย่างไร พระธรรมปิฎก ท่านแบ่งไว้ ๔ แบบ ลองดูซิว่าตนเองเป็นแบบไหน ๑. พวกตื่นเต้นข่าวสาร • มีข่าวอะไร จะให้ความสนใจทุกเรื่อง แต่เอาแค่พอรู้เป็นเลาๆ เช่น ฟังเขาเล่า ดูโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ แบบผ่านๆตา ผ่านๆหู • ชอบเอาเรื่องที่รู้เลาๆ นั้นมาเล่าลือ วิพากษ์วิจารณ์ให้ดูตื่นเต้น จะได้ทันสมัยไม่ “ตกข่าว” • ไม่สนใจว่าข่าวที่เอามาเล่าลือนั้น จริงไม่จริง ขอเอาความตื่นเต้นมาก่อน ๒. พวกตามทัน • สนใจติดตามข่าวสาร รู้ทันเหตุการณ์ด้านต่างๆ อย่างไม่ฉาบฉวย ๓. พวกรู้ทัน • เข้าใจที่ไปที่มาหรือสาเหตุของเรื่องต่างๆ แยกแยะคุณโทษ ข้อดีข้อเสียได้ รู้ว่าควรทำอะไร อย่างไร จึงจะเป็นประโยชน์ ไม่ถูกครอบงำ ๔. พวกอยู่เหนือมัน(ชาวพุทธแท้) • รู้ทันและรู้จริงในข่าวสาร เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น คือรู้สาเหตุ และแยกแยะคุณ – โทษ จริง – เท็จ ฯลฯ ได้ • วางใจอยู่เหนือข่าวสารนั้นๆ คือไม่ตื่นเต้นตูมตาม ไม่หงุดหงิด หม่นหมอง หรือดีใจเสียใจ หรือเกลียดกลัว ฯลฯ เพราะข่าวสารนั้นๆ • รู้ว่าควรทำอะไร ไม่ควรทำอะไร เพราะรู้คิด มีสติเท่าทันทั้งเหตุการณ์ ความรู้สึก จึงจัดการกับสิ่งต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม เป็นประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่น ธรรมะเรื่องนี้ นำมาจาก “คนไทยสู่ยุคไอที” โดยพระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: มีนา ที่ 18 พฤศจิกายน 2553, 15:42:10
สวัสดีค่ะ พี่สิงห์ ......ค้นเจอหนังสือ รำไม้พลองของ อ.เสริม ลอวิดาล ที่เพื่อนให้แล้ว เผยแพร่โดยสถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ ซึ่งคล้ายกับที่พี่มาโพสต์ ตอนนี้มีปัญหาภูมิแพ้ หมอให้ยากินต่อเนื่อง 6 อาทิตย์ ไม่อยากกินมาก วันนี้เริ่มไปหาแพทย์ทางเลือก ฝังเข็มให้ที่ใบหู 2 ข้าง อ.แนะนำให้ออกกำลังกายรำไท้ชิและดื่มน้ำมากขึ้น รอดูผลต่อไป ......ติดตามคำแนะนำการดูแลสุขภาพจากพี่ต่อไปด้วยค่ะ หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 19 พฤศจิกายน 2553, 10:48:24 สวัสดีค่ะ คุณน้องมีนา
ส่งที่อยู่มาให้พี่สิงห์ พี่สิงห์จะจัดส่ง การฝึก TAI CHI ไปให้ฝึกครับ และภายหลังฝึกแนะนำ ดื่ม น้ำมะนาว คือ เอามะนาวสอง-สามลูกคั้นเอาแต่น้ำ ผสมด้วยน้ำผึ่งป่าหนึ่งช้อนชาและเกลือป่นนิดหน่อย ดื่มเพียวๆ ได้ประโยชน์มหาศาล ทำแบบนี้อาทิตย์ละสาม-สี่ครั้ง ครั้งละสามสิบนาที ก็เพียงพอแล้ว ร่างกายแข็งแรง ระบบอวัยวะภายในดี ถ้าไม่ดีจริง คนจีนไม่ทำมามากกว่า ห้าพันปีแล้วครับ ยาถ้าไม่จำเป็นจริงอย่าไปกิน ทำให้ตับทำงานหนักและเสียสตางค์สู้วิธีธรรมชาติไม่ได้ครับ ฝังเข็มที่หู และติดแม่เหล็กพี่สิงห์ทำมาแล้ว ไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงสู้ TAI CHI และ YOKA ไม่ได้ครับ อย่าลืมส่งที่อยู่มาให้พี่สิงห์ สวัสดี หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: มีนา ที่ 19 พฤศจิกายน 2553, 12:18:15 ขอบคุณมากค่ะพี่สิงห์ ที่อยู่คือ
มีนา วิวัฒน์ศิริกุล 244/342 หมู่บ้านวังมุขแลนด์ ถนนลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมืองฯ จ.ชลบุรี 20130 ได้รับแล้วจะลงมือปฏิบัติทันที สุขภาพดีไม่มีขาย อยากได้ต้องออกกำลังกาย emo4:)) หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 19 พฤศจิกายน 2553, 16:05:54
ขณะนี้พี่สิงห์อยู่นครศรีธรรมราช วันจันทร์จะจัดส่งให้ครับ สวัสดี หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 20 พฤศจิกายน 2553, 12:10:05 สวัสดีครับ ชาวเวบที่รักทุกท่าน
ผมไปอ่านเจอในหนังสือ Secrete จึงนำมาฝากทุกท่านครับ “ยาแก้ทุกข์” เวลานี้ หลายคนคงอยากกรี๊ดดังๆ กระทืบเท้าแรงๆ ให้สารพันปัญหาที่ประเดประดังเข้ามาทำให้เราทุกข์กาย-ทุกข์ใจ อยู่ตอนนี้ออกจากตัวไปซะ.... หรือบางคนอาจอยากจับเจ้าความทุกข์ที่มีมาปั้นเป็นก้อนกลมๆ แล้วแตะโด่งมันออกไปให้ไกลสุดหล้า.... ฟังดูเหมือนง่าย แต่ในความเป็นจริง ทุกๆคนต่างรู้ดีว่า การจะลากเจ้าความทุกข์ที่ติดหนึบยิ่งกว่าหมากฝรั่งให้ออกไปจากใจได้นั้นยากเสียยิ่งกว่ายาก คราวนี้จึงถือเป็นฤกษ์งามยามดีที่ Secrete จะได้เสนอ ยาขนานเอก ในการสลายเชื้อโรคตัวร้ายที่ชื่อว่า “ความทุกข์” ให้หายไปจากใจทุกคน แต่ก่อนที่เราจะนำยาดีมาให้ ก็ต้องจับแว่นขยายมาสำรวจกันเสียก่อนว่า เจ้าความทุกข์นั้นมีหน้าตาเป็นอย่างไรบ้าง.... พระอาจารย์ชาญชัย อธิปญฺโญ ได้อธิบายที่มาของความทุกข์ไว่อย่างง่ายๆ ว่า ความทุกข์เกิดจากสองทาง คือ ทุกข์ทางกาย เป็นความทุกข์ที่เกิดจากร่างกายของตัวเอง ร้อน หนาว เมื่อย เจ็บไข้ได้ป่วย เป็นความทุกข์ที่มักจะมีเสียงกริ่งเตือนดังจากร่างกายก่อนเสมอ เช่น ท้องร้องต้องกินข้าว ปวดท้องต้องกินยา.... คนเราจึงไม่ค่อยเห็นว่าสิ่งนี้เป็นทุกข์ เพราะป้องกันและแก้ไขได้ง่าย ทุกข์ทางใจ เป็นความทุกข์ที่เกิดจากการ “คิดไปเอง” หรือ “การปรุงแต่ง” ซึ่งเกิดขึ้นได้ไม่จำกัดสถานที่และโมงยาม เช่น ทุกข์เมื่อต้องพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ไม่ได้ในสิ่งที่อยากได้ ทุกข์จากความโกรธ กลัว กังวลใจ คับแค้นใจ กลัวว่าความสุขที่มีอยู่จะหมดไป กลัวความทุกข์อยากลำบากที่อาจจะมีขึ้นในอนาคต กลัวลาภยศที่มีจะหายไป ฯลฯ เป็นทุกข์ที่แก้ได้อยาก เพราะจะมาในเวลาที่ไม่ตั้งตัว ทุกข์ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ พระพุทธองค์สรุปไว้ว่า เกิดจากการยึดถือว่าชีวิตเป็นของเรา ตัวเราเป็นของเรา และเกดจากการที่มี “ตัณหา” หรือ “ความอยาก” อยู่ในใจ ซึ่งหากต้องการกำจัดความทุกข์ทั้งหมดให้สลายไป มีวิธีเดียวคือการหนีเข้า “นิพพาน” เท่านั้น! อ่านมาถึงบรรทัดนี้ หลายคนคงบ่นงึมงำว่ายากเกินไป คนธรรมดาอย่างฉันทำไม่ได้หรอก! ในเมื่อยากนัก Secrete จึงขอแนะนำ ยาคลายทุกข์ ซึ่งเป็นหลักคิด ๗ ประการจากหนังสือ “มหัศจรรย์แห่งชีวิต” โดยท่าน ว.วชิรเมธี มาให้ลองใช้ลองชิมกันดู หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 20 พฤศจิกายน 2553, 12:11:40 ๗ หลักคิดดีๆ เพื่อชีวีที่เป็นสุข ๑. ความคิดดีๆ เป็นที่มาแห่งความสุขโดย ท่าน ว.วชิรเมธี แน่นอนว่าเมื่อเรามีความคิดดีๆ โลกก็จะดีตามดังที่ท่านว่าไว้ในหนังสือเล่มนี้ว่า “โลกเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับว่าเราใส่แว่นตาสีอะไรมองโลก หากมองโลกในแง่ดี ชีวิตมีแต่สิ่งรื่นรมณ์ หากมองโลกในแง่ร้าย ชีวิตมีแต่ความวุ่นวายและทกข์ระทม คิดอย่างไรไม่ให้ทุกข์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข แนะนำวิธีคิดต่างๆ เพื่อเป็นคู่มือดูแลตัวเอง ไว้ในหนังสือเรื่อง “ทำอย่างไรเมื่อใจเป็นทุกข์”ว่า - คิดในแง่ยืดหยุ่นให้มากขึ้น ไม่เข้มงวด จับผิด หรือตัดสินผิดถุกในเรื่องของผู้อื่นตลอดเวลา รู้จักปล่อยวางผ่อนหนักเป็นเบา ลดทิฐิมานะ รู้จักให้อภัย ไม่ถือโทษโกรธเคือง นอกจากนี้ควรหัดลืมเสียบ้าง ชีวิตก็จะมีความสุขมากขึ้น - คิดอย่างมีเหตุผล อย่าด่วนตัดสินใจเชื่ออะไรง่ายๆ แล้วเก็บเอามาคิดวิตกกังวลในภายหลัง พยายามใช้เหตุผลตรวจสอบหาข้อเท็จจริงโดยไตร่ตรองให้รอบคอบเสียก่อน นอกจากจะไม่ตกเป็นเหยื่อให้ถูกหรอกได้ง่ายๆแล้ว ยังตัดความวิตกกังวลลงได้ด้วย - คิกหลายๆ แง่มุม ลองคิดในหลายๆ ด้าน ทั้งด้านดีและด้านไม่ดี เพราะไม่ว่าคนหรือเหตุการณ์อะไรก็ตามย่อมมีทั้งส่วนดีและไม่ดีทั้งนั้น ควรหัดคิดในมุมของคนอื่นบ้าง เช่น สามีจะคิดอย่างไร ลูกจะรู้สึกอย่างไร เจ้านายจะแก้ปัญหานี้อย่างไร เพื่อนร่วมงานจะต้องเจออะไรบ้าง ....ฯลฯ จะช่วยให้มองอะไรได้กว้างไกลกว่าเดิม - คิดแต่เรื่องดีๆ ถ้าคุณมัวแต่คิดถึงเรื่องร้ายๆ เรื่องความล้มเหลวของชีวิต ผิดหวัง หรือเรื่องที่ทำให้ทุกข์อยู่ตลอดเวลา ก็จะยิ่งทุกข์ไปใหญ่ ควรคิดถึงเรื่องดีๆ ให้มากขึ้น เช่น คิดถึงประสพการณ์ที่เป็นสุขในอดีต ความสำเร็จในชีวิตที่ผ่านมา ความดีของเพื่อน แฟนหรือคู่สมรส ฯลฯ จะช่วยให้สบายใจมากขึ้น - คิดถึงคนอื่นบ้าง อย่าคิดหมกมุ่นกับตัวเองเท่านั้น เปิดใจให้กว้าง รับรู้ความเป็นไปของคนใกล้ชิดและใส่ใจที่จะช่วยเหลือ สนใจปัญหาของผู้คนรอบข้างในสังคม บางทีคุณอาจจะพบว่า ปัญหาที่กำลังเป็นทุกข์อยู่ขณะนี้ช่างเล็กน้อยเหลือเกินเมื่อเทียบกับปัญหาของคนอื่นๆ ยิ่งถ้าช่วยเหลือคนอื่นได้ คุณจะสุขใจขึ้นเป็นทวีคูณ ๒. ปัญญาดีย่อมมีความสุข คนมีปัญญาย่อมใช้ปัญญาในการแก้ปัญหาเพื่อให้พ้นทุกข์ ดังนั้น สำหรับคนมีปัญญา วิกฤตอยู่ไหน ปัญญาอยู่นั่น ส่วนคนด้อยปัญญา โอกาสอยู่ไหน วิกฤตอยู่นั่น จงเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนปัญหาให้เป็นปัญญา เปลี่ยนอุปสรรคเป็นอุปกรณ์ วิธีแก้ปัญหาด้วยปัญญา - ปรับเปลี่ยนวิธีแก้ปัญหา เมื่อปัญหาประเดประดังเข้ามามากมายจนอาจคิดว่า ทางออกทางเดียวคือการฆ่าตัวตาย...บางทีคุณอาจต้องลองคิด ลองเปลี่ยนวิธีแก้ปัญหาใหม่ เช่น ถ้าเอนทรานซ์ไม่ติด ก็ลองอ่านหนังสือให้หนักขึ้น หรือลองมองมหาวิทยาลัยเปิดที่น่าสนใจอื่นๆ เป็นต้น - หาทางออกไม่ได้ ให้หาทางเข้า บางคนคิดอยู่เป็นนาน หาทางออกจากปัญหาไม่ได้ เราขอแนะนำให้ลองออกทางเข้า คือ กลับไปดูที่ต้นตอของปัญหา เมื่อคุรกลับไปพินิจพิจารณาต้นเหตุของปัญหาดีๆ คุณอาจพบทางออกที่ไม่คาดคิดก็เป็นไปได้ ๓. ชีวิตของคนดีคือชีวิตที่มีความสุข ดังท่านว่า ดอกไม้หอมได้บางดอก แต่มนุษย์หอมได้ทุกคนหากเป็นคนดี...กลิ่นดอกไม้แม้หอมขนาดไหน ก็หอมได้แต่ตามลมเท่านั้น ส่วนกลิ่นความดีของคนนั้น หอมหวลทวนลมฟุ้งกระจายไปในทิศทั้งสี่ ดอกไม้ผลิบานแล้วไม่นานก็ร่วงโรย แต่ความดีของคนนั้นสถิตเป็นนิรันดร์เหนือกาลเวลา ศิล ๕ รักษาไว้ไม่เดือดร้อน...ฟันธง! ศิล ๕ มีดังนี้ ๑. ไม่ฆ่า เบียดเบียน หรือทำร้ายร่างกายผู้อื่น ๒. ไม่ถือเอาของที่เจ้าของไม่ได้ให้(รวมถึงการยักยอก ปลอมแปลง สับเปลี่ยน และรับสินบนด้วย) ๓. ไม่ประพฤติผิดในกาม ๔. ไม่พูดปด ปลิ้นปล่อน เพ้อเจ้อ ไร้สาระ ๕. ไม่เสพสิ่งมึนเมา อาทิ เหล้า ยาเสพติด และบุหรี่ ๔. ปฏิสัมพันธ์ดีก็มีความสุข คือ การคบมิตร โลกนี้มีมิตรอยู่ ๓ ประเภท คือ ๑. บาปมิตร เพื่อนชั่ว จงอย่าคบ ๒. กัลยาณมิตร เพื่อนดี จงคบ ๓. พันธมิตร เพื่อนที่ผูกพันกันด้วยผลประโยชน์ จงระวัง ในอกิตติชาดก มีวิธีแนะให้ดูเพื่อนที่ไม่ควรคบ ๕ แบบ คือ o ชอบชักนำในทางที่ผิด o ชอบทำในสิ่งที่ไม่ใช่ธุระหน้าที่ของตน o มักเห็นผิดเป็นชอบ o แม้เราหรือใครๆ พูดดีๆ ก็โกรธ o ไม่ยอมรับรู้ระเบียบวินัยหรือกฎหมาย ใครมีเพื่อนแบบนี้ Secrete ขอแนะนำให้รีบถอนตัว ตีจากโดยเร็วที่สุด เพื่อป้องกันความทุกข์ที่เพื่อนจะนำมาให้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ๕. ทำงานดีก็มีความสุข ท่านว่าไว้ คนจำนวนมากเป็นทุกข์ขณะทำงาน แต่เบิกบานเฉพาะเสาร์ – อาทิตย์ โดยหารู้ไม่ว่า ในหนึ่งสัปดาห์มีเสาร์ – อาทิตย์แค่สองวัน ฉะนั้น จงเป็นสุขขณะทำงาน จงเบิกบานขณะหายใจ หลักในการทำงานให้สุขี - เต็มใจทำงาน คือ มองเห็นข้อดีของงานที่ทำ เช่น เขียนหนังสือเพื่อให้ผู้อ่านได้คิด วิจัยเพื่อให้ได้ตัวยามารักษาคน ฯลฯ - ขยันทำงาน พระอาจารย์รูปหนึ่งเคยกล่าวไว้ว่า “เหงื่อออกมาก น้ำตาออกน้อย เหงื่อออกน้อย น้ำตาออกมาก” ซึ่งคำกล่าวนี้เป็นจริงที่สุด - ตั้งใจทำงาน ไม่ปล่อยปละละเลยงานของตัวเอง...คนส่วนมากมักไม่ค่อยมีปัญหากับงานของตัวเอง แต่มักไปก้าวก่ายงานของคนอื่น พระพุทะเจ้าจึงให้โอวาทสำทับไว้ว่า “ควรตราจตรางานของตัวเอง ทั้งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำเสียก่อนทำ” - ความเข้าใจในงานที่ทำ คือต้องรู้จักศึกษา เข้าใจงานที่ทำอย่างถ่องแท้ และต้องรู้จักใช้ปัญญาในการทำงาน เช่น การแบ่งเวลา การใช้คนงาน ฯลฯ ๖. มองโลกในแง่ดี ชีวิตมีความสุข ผู้รู้ท่านหนึ่งกล่าวว่า “ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มันถูกอยู่แล้ว มีแต่ความเห็นของเราเท่านั้นที่ผิด” ใครทำความเข้าใจคำกล่าวนี้ได้อย่างลึกซึ้ง คนนั้นจะไม่ทุกข์ และจะไม่หวั่นไหวในความผันแปรของชีวิต สิ่งใดเกิดขึ้นเขาจะอุทานอยู่เสมอว่า “มันเป็นเช่นนั้นเอง” เทคนิคมองโลกในแง่ดี เครือข่ายชาวพุทธฯ ได้แนะนำ ๔ เทคนิคมองโลกในแง่ดี ดังนี้ - เมื่อพบอุปสรรคในการทำงาน ต้องบอกตัวเองว่า “ไม่เป็นไรเอาใหม่” คำว่าไม่เป็นไรคือการพุดกับตัวเองให้ปล่อยวางจากปัญหา สำหรับคำว่าเอาใหม่ เพื่อปลุกใจเราให้อยากทำงานอีกครั้ง - เมื่อต้องเจอเหตุร้าย ให้คิดเสียว่า สิ่งที่เราประสบพบเจอไม่ใช่สิ่งที่ร้ายกาจที่สุด เป็น “โชคดี” ของเราจริงๆ ที่ไม่เจอหนักกว่านี้ - เมื่อมีปัญหากับคนอื่นๆ คนเราเมื่อเกิดมาแล้วเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่มีปัยหากับใครเลย ดังนั้นหากมีใครทำอะไรที่เราไม่ถูกใจ ทำให้เราเศร้าใจ เช่น มีคนนินทา ก็คิดเสียว่านี่เป็นโอกาสดีที่ทำให้ได้เรียนรู้ข้อเสียของตัวเอง จะได้นำไปปรับปรุง - เมื่อปัยหาประจำวันประดังเข้ามา ให้ตั้งคำถามทันทีว่า “เราได้อะไร” เป็นการตั้งคำถามเพื่อให้เรามุ่งหาความรู้ทันทีที่พบกับปัยหาต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การที่กระเป๋าสตางค์หาย ไม่มีเงินใช้ทำให้เราเข้าใจคนยากจนมากขึ้น เป็นต้น ๗. ครอบครัวดีทวีความสุข ครอบครัวคือพื้นฐานสำคัญของชีวิต บุตร – ธิดา คืออนุสาวรีย์ของพ่อแม่ หากลุกเป็นคนดี อนุสาวรีย์ของพ่อแม่ก็งดงาม หากลุกเลวทราม อนุสาวรีย์ของพ่อแม่ก็อัปลักษณ์ สามี – ภรรยา อยู่กันอย่างไรไม่ให้มีทุกข์ กรมสุขภาพจิต แนะนำให้ผู้เป็นสามี – ภรรยา ถือหลักการครองเรือน โดยยึดหลัก ๓ ไม่ ๔ มี ดังต่อไปนี้ ๓ ไม่ ประกอบด้วย ๑. ไม่จุกจิกจู้จี้ ๒. ไม่เป็นเจ้าของหัวใจ ๓. ไม่ตำหนิติเตียน ๔ มี ประกอบด้วย ๑. ยกย่องให้เกียรติ ๒. เอาอกเอาใจ ยามป่วยไข้ควรดูแล ๓. วาจาสุภาพอ่อนโยน ๔. มีความรู้เรื่องเพศ ฉลากยาแก้ทุกข์จากหลวงพ่อปัญญา นันทภิกขุ - วางแผนในการดำเนินชีวิตให้ดี คือ มีชีวิตอยู่ด้วยความไม่ประมาท ทำ “ปัจจุบัน” ให้ดีที่สุด - เตรียมความพร้อมให้ใจ คือ รู้จักใช้ธรรมะในการสอนตัวเองไว้ก่อน คิดถึงสิ่งที่ต้องเจอแต่เนิ่นๆ เพื่อที่จะได้ไม่ผิดหวัง - ทำตัวเป็นเด้กอ่อนทางใจ คือ เด็กๆ มักมีทุกข์น้อย เพราะยังไม่รู้จักคำว่า “ยึด” นี่ของฉัน นั่นของเธอ ดังนั้น ในเมื่อเด้กทำได้ ผู้ใหญ่อย่างเราๆ ก็ควรทำให้ได้เช่นกัน มิฉนั้น อายเด็ก! คำเตือน : ยาครอบจักรวาลที่ Secrete แนะนำนั้น จะไม่ได้ผลเลยหากทุกคนไม่นำไปปฏิบัติ ดังนั้น หากใครอยากมีสุข คลายทุกข์ให้ได้เร็วๆ กรุณาทำตามที่แนะนำด้วย...เตือนแล้วนะ ขอบอก! ทุกข์มี เพราะยึด ทุกข์ยืด เพราะอยาก ทุกข์มาก เพราะพลอย ทุกข์น้อย เพราะหยุด ทุกข์หลุด เพราะปล่อย หลวงพ่อชา สุภทฺโท วัดหนองป่าพง หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: มีนา ที่ 25 พฤศจิกายน 2553, 13:06:49
ใกล้เที่ยง ได้รับเอกสารและ CD 2 แผ่น จากพี่สิงห์แล้ว ขอบคุณมากค่ะ หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: มีนา ที่ 06 ธันวาคม 2553, 11:33:20 .....รายงานพี่สิงห์ค่ะ เริ่มเล่นโยคะเป็นหลักก่อนทั้งเช้า ค่ำ มีพื้นฐานเล่นโยคะมาเล็กน้อย พอจำท่าทางได้ ส่วนไท้ชิ ยังจดจำท่าไม่ค่อยได้ ต้องฝึกต่อบ่อยๆ แนวโน้มน่าจะดีขึ้น หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 06 ธันวาคม 2553, 21:02:47
ขอให้โชคดีครับ หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 29 ธันวาคม 2553, 13:12:28 ส.ค.ส. ๒๕๕๔ แด่ พี่ น้อง เพื่อน ชาวซีมะโด่ง ที่รักทุกท่านครับ (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/le6ef3-f05567.jpg) สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๔ ที่จะมาถึงนี้ครับ ปีใหม่นี้ผมคงไม่อวยพรให้ท่านและครอบครัว เพราะอวยพรให้ ก็ไม่สามารถที่จะเป็นจริงได้ แต่ผมขอแนะนำ ให้ท่านนำไปปฏิบัติ แล้วท่านจะพบกับความจริง และได้รับผลแห่งการกระทำนั้นได้ ดังนี้:- ๑). มีสติ คือระลึกได้ก่อนที่จะคิด ก่อนที่จะพูด และก่อนที่จะกระทำ เสมอ ๒). มีสติในการจะกิน คือระลึกได้ว่าต้อง กินอาหารสูตร ๒:๑:๑ คือ ผักสองส่วน ต่อ โปรตีน(แนะนำเนื้อปลา)หนึ่งส่วน ต่อ ข้าวหนึ่งส่วน งดของมัน งดของทอด หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด กินร้อนช้อนกลาง และกินในปริมาณที่เหมาะสม ๓). มีสติที่จะต้องออกกำลังกาย คือ ระลึกได้ว่าต้องออกกำลังกายอย่างน้อยสามครั้ง ต่อ สัปดาห์ และแต่ละครั้งต้องนานต่อเนื่องมากกว่าสามสิบนาที ๔). มีสติที่จะต้องนอนแต่หัวค่ำ คือ ระลึกได้ว่าต้องเข้านอนก่อนสี่ทุ่ม เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อน ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอไปในแต่ละวัน ตามธรรมชาติ ๕). มีสติอยู่กับปัจจุบันให้มากๆ หรือตลอดเวลา จนจิตเป็นปภัสสร ถ้าท่านและครอบครัว ปฏิบัติได้ตามนี้ ท่านจะประสพแด่ ความสำเร็จในการกระทำทุกสิ่ง ปราศจากทุกข์ ปราศจากโรค ปราศจากภัย มีแต่ความสงบ ตลอดปีใหม่นี้ เทอญ. ผมปฏิบัติแล้ว และประสพกับความจริงมาแล้วครับ มานพ กลับดี หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: มีนา ที่ 30 ธันวาคม 2553, 11:30:42 สวัสดีปีใหม่ค่ะพี่สิงห์ ทำตามคำแนะนำของพี่(ยังทำไม่ได้ทุกข้อ)แต่สังเกตว่าสุขภาพดีขึ้น ขอบคุณมากค่ะ ได้แนะนำพี่น้อง คนรู้จักให้ลองฝึกไท้จี๋ด้วย emo42 emo43 หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: เอมอร 2515 ที่ 30 ธันวาคม 2553, 19:40:53 สวัสดีปีใหม่นะคะพี่สิงห์ ความรู้ที่พี่สิงห์ให้มีประโยชน์มากนะคะ น้องๆจะมีสุขภาพดีก็ครานี้แหละคะ อยากได้กำลัง ก็ต้องออกกำลัง
หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 04 มกราคม 2554, 17:01:56
หัวข้อ: Re: เรื่องการฝึกตันเถียนโยคะ โดย ..พี่สิงห์ เริ่มหัวข้อโดย: Manop Klabdee ที่ 04 มกราคม 2554, 17:03:55
พี่สิงห์ขอเป็นกำลังใจให้ครับ พยายามออกกำลังรำ TAI CHI เข้าไว้ถือว่าเป็นหน้าที่ ที่เราจะต้องทำเพื่อคนที่เรารัก จะไม่ต้องลำบากเพราะเราครับ |