Cmadong Chula

เรือนรับแขก เมาท์แหลกไม่เลือกรุ่น => ห้องสนทนาประสาพี่น้อง => ข้อความที่เริ่มโดย: Samrotri2517 ที่ 06 ตุลาคม 2553, 22:18:01



หัวข้อ: การบังคับให้พนักงานต้องเซ็นต์ใบยินยอมให้ตรวจแอลกอฮอล์ได้ ของบริษัทโตโยต้า
เริ่มหัวข้อโดย: Samrotri2517 ที่ 06 ตุลาคม 2553, 22:18:01

               (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9vjla-ae0695.jpg)

         โรงงานโตโยต้า ที่เขตพนมสารคาม มาทำสัญญาให้พนักงานและครอบครัวมาตรวจรักษาที่ ร.พ.พนมฯ ไม่ต้องเสียค่าบริการเอง บริษัทจะจ่ายเป็นสวัสดิการให้ มีข้อแม้ ข้อหนึ่งที่น่าสนใจมาก คือ

         พนักงานโตโยต้า ทุกคนต้องเซ็นต์ใบยินยอมให้ตรวจแอลกอฮอล์ในเลือด เมื่อแพทย์สงสัยว่าอุบัติเหตุจะเกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งการทำสัญญานี้พนักงานต้องยอมปฏิบัติตามหน้าที่ตามกฏหมายหัามดื่มแอลกอฮอล์ก่อนขับรถ เพื่อให้สิทธิรักษาฟรีจาก บริษัท และ ได้งานทำ

                        (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9wgu6-d4b314.jpg)

         ผมได้แนวคิดว่า การทำใบขับขี่ กรมการขนส่งทางบก  ที่มีหน้าที่ออกใบอนุญาตให้ขับขี่ ควรบังคับใ้ห้ผู้จะมีใบอนุญาตต้องเซ็นต์ใบยินยอมให้ ร.พ.ตรวจแอลกอฮอล์ในเลือดได้ ถ้าสงสัยเมาแล้วขับ ถ้าตรวจพบเกิน 50 มก.% ถือว่าเมาแล้วขับต้องได้รับโทษทางกฏหมาย ด้วย หลังจากให้การรักษาจนรอดปลอดภัยแล้ว

         ประโยชน์ของการให้แพทย์ตรวจแอลกอฮอล์ในเลือดในรายเกิดอุบัติเหตุการจราจร มีดังนี้

1.ช่วยแพทย์ในการวินิจฉัยอาการทางสมองที่ตรวจพบ เช่น พบแอลกอฮอล์ในเลือดสูง อาการทางสมองที่พบอาจเกิดจากพิษของแอลกอฮอล์ ถ้าไม่พบแอลกอฮอล์ มีอาการทางสมอง แพทย์จะได้มั่นใจว่าเป็นอาการที่เกิดจากการบาดเจ็บที่สมองจริง  

2.ทำให้คนขับไม่กล้าดื่มแอลกอฮอล์ ถ้าจะขับรถ เป็นการป้องปรามไม่ให้เกิดอุบัติเหตุยานพาหนะ ตามแนวทางเวชศาสตร์ป้องกันที่ดีกว่าเวชศาสตร์รักษา ตามที่สถิติพบว่าอุบัติเหตุส่วนใหญ่มีสาเหตุเกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ก่อนขับ

3.ทำให้ผู้ขับขี่ที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ปลอดภัยจากการมีผู้มึนเมาขับรถร่วมเส้นทางด้วย

         พวกเราที่สามารถเสนอแนวคิดนี้ให้กรมการขนส่งทางบกมี กฏให้ผู้ขอใบอนุญาตขับขี่ต้องเซ็นต์ใบยินยอมให้ตรวจแอลกอฮอล์ในเลือดได้จึงจะได้ใบอนุญาตขับขี่ เพื่อแสดงว่าปฏิบัติตามหน้าที่ตามกฏหมายไม่ดื่มแอลกอฮอล์ก่อนขับ จึงจะได้สิทธิ์มีใบอนุญาต ผลจะทำให้ผู้มีใบอนุญาตขับขี่มีจิตกลัว จะถูกตรวจแอลกอฮอล์เมื่อเกิดอุบัติเหตุ เข้ารักษาตัวใน ร.พ.ทำให้ไม่กล้าดื่มก่อนขับ ทำให้อุบัติเหตุทางยวดยานพาหนะลดลงได้

                        emo26:D emo26:D emo26:D


หัวข้อ: Re: การบังคับให้พนักงานต้องเซ็นต์ใบยินยอมให้ตรวจแอลกอฮอล์ได้ ของบริษัทโตโยต้า
เริ่มหัวข้อโดย: khesorn mueller ที่ 07 ตุลาคม 2553, 21:15:39
พี่หมอสำเริง,
ขอหนิงค้นแป๊บนะคะ!
แต่ลงไปถามแฟนหนิงปากเปล่า
heบอกว่าถ้าบุคคลผู้นั้นเป็นต้นเหตุ
ต้นกรณีของอุบัติเหตุ-ต้องสงสัยในคดี
ที่พบว่าบุคคลนั้นเกี่ยวข้องโดยตรง...ตำรวจมีสิทธิ์ขอตรวจ
ระดับอัลกอฮอล์ในกระแสเลือดได้
เพราะเวลาต้องขึ้นศาล...ผลการวัด Promille
จากเครื่องวัดของตำรวจอย่างเดียวใช้ไม่ได้คะ

หนิงขอclickหาข้อมูลแป๊บคะ


nn.27


หัวข้อ: Re: การบังคับให้พนักงานต้องเซ็นต์ใบยินยอมให้ตรวจแอลกอฮอล์ได้ ของบริษัทโตโยต้า
เริ่มหัวข้อโดย: เหยง 16 ที่ 07 ตุลาคม 2553, 21:22:24
ขอแสดงความเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง และสมควรตราเป็นกฎหมายว่า หากเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานตามกฎหมายสงสัย สมควรมีการตรวจแอลกอฮอลในเลือดได้


หัวข้อ: Re: การบังคับให้พนักงานต้องเซ็นต์ใบยินยอมให้ตรวจแอลกอฮอล์ได้ ของบริษัทโตโยต้า
เริ่มหัวข้อโดย: khesorn mueller ที่ 07 ตุลาคม 2553, 22:15:45
ในความเป็นจริงนะคะ..
เค้าดื่มกันแล้วขับรถกลับบ้าน
ไม่โดนตรวจจับ-ไม่เกิดอุบัติเหตุ
แล้วไป....

แต่หากเจอกรณีดังกล่าว
กฏหมายเล่นแรงมากคะพี่ที่โน่น
พวกผู้ชายเค้ากลัวกัน...มักให้เมียขับ!


หัวข้อ: Re: การบังคับให้พนักงานต้องเซ็นต์ใบยินยอมให้ตรวจแอลกอฮอล์ได้ ของบริษัทโตโยต้า
เริ่มหัวข้อโดย: khesorn mueller ที่ 07 ตุลาคม 2553, 22:45:07
พี่หมอ,
เจอะแล้วค่ะ!
เรื่อง Promilleหนิงเคยค้นมาลงคร่าวๆ
ใน GFG IIIแน่ๆ..

แต่เรื่องที่พี่ถามคือ "Blutalkoholkonzentration-BAK"


ทำได้:
-ทั้งวัดตรวจจากในเลือด(blood alcohol concentration,
-ทั้งจากการประมาณของเครื่องตรวจลมหายใจ-breath
 alcohol content BACที่ใช้กับผู้ใช้ถนนโดยตรง จำนวนมาก
-ทั้งการหาค่าใกล้เคียงจากสูตรต่างๆ

การตรวจวัดจากเลือด...สามารถ"บังคับ"ตรวจได้
หากต้องตรวจสภาพศพหาปริมาณอัลกอฮอล์ให้
ใช้วิธีเจาะจากเส้นเลือดใหญตรงต้นขา


quelle: http://de.wikipedia.org/wiki/Blutalkoholkonzentration


หัวข้อ: Re: การบังคับให้พนักงานต้องเซ็นต์ใบยินยอมให้ตรวจแอลกอฮอล์ได้ ของบริษัทโตโยต้า
เริ่มหัวข้อโดย: khesorn mueller ที่ 07 ตุลาคม 2553, 23:09:50
การตรวจวัด BAK- Blutalkoholkonzentration
เค้าว่ามีหลายวิธีด้วยกัน:
- ADH  alcohol dehydrogenase
-gaschromatografische

ทั้งสองวิธีไม่ไช่ในรูปของการตรวจเลือดตรงๆ
แต่ในรูปเซรุ่ม..นำไปแยกส่วนประกอบ centrifugation

ตั้งปี1990-sเป็นต้นมานิยมใช้วิธี AAK-Atemalkoholkonzentration
หรือ breath alcohol contentจากตำรวจมากกว่า

***ทางด้านกฏหมาย***ที่เยอรมันต้องหาค่าจากทั้งสองวิธี
ควบคู่กัน (ADH + gaschromatografische)ค่าทั้ง 4 ที่วัดได้
ไม่ให้เบี่ยงเกิน 10%ของค่าเฉลี่ย

***ความหมายที่แท้ของการตรวจ BAK***
มีผลต่อทางด้านกฏหมายเมื่อบุคคลนั้น
กระทำผิด:วิธีคำนวนอัลกอฮอล์ในเลือด
หลังเกิดเหตุทันทีทันใด,การตรวจหาอัลกอฮอล์ในเลือด
แบบย้อนหลังว่าตอนเกิดเหตุมีปริมาณเท่าไหร่
...แตกต่างกัน


quelle: s.o


หัวข้อ: Re: การบังคับให้พนักงานต้องเซ็นต์ใบยินยอมให้ตรวจแอลกอฮอล์ได้ ของบริษัทโตโยต้า
เริ่มหัวข้อโดย: khesorn mueller ที่ 07 ตุลาคม 2553, 23:26:01
ในเยอรมันนี
***ห้ามขับรถเมื่อไม่อยู่ในสภาพที่พร้อมสมบูรณ์(roadworthy)

***ศาลสูงของรัฐ กำหนดค่า Promille
-ไม่ให้เกิน 1.5 Promille เมื่อปี 1953 ว่า unfit to drive!
-พอปี 1966 ลดลงเหลือ 1.3 Promille
-ปี 1990 ลดลงเหลือ 1.1 Promille
-ปี 1973 เหลือ 0.8 Promille
-ตั้งแต่ปี 1998เป็นต้นมา...เหลือ 0.5 Promille


-สำหรับพวกเพิ่งมีใบขับขี่ (อายุ 18)ก็แยกซับซ้อนไปอีก
ว่าตั้งแต่ปี 2007เป็นต้นมา...Alkoholverbot!! 0.0...absolut.
-ยังไม่ครบ 21 ก็แยกไปอีก

..
..



เฮ้อ พี่หมอ
มึนไปหมดคะ
แม้ไม่ได้ดื่มสักหยด!

quelle: s.o