หัวข้อ: การสาธารณสุขมูลฐาน Primary health care ทำให้เกิดสุขภาพดีถ้วนหน้าในราคาประหยัด เริ่มหัวข้อโดย: Samrotri2517 ที่ 27 กันยายน 2553, 20:40:36 "จุรินทร์"รับเร่งแก้ไขหลังรพ.191แห่งขาดทุนยับ ขอขอบคุณเวบแคนนอตดอทอินโฟ วันจันทร์ 27 กันยายน 2553 ที่เอื้อเฟื้อข่าว http://cannot.info/feed/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2/%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%9E191%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%9A (http://cannot.info/feed/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2/%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%9E191%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%9A) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9eqf4-dd1047.jpg) จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข สธ.พบโรงพยาบาลขาดทุน 191 แห่ง “จุรินทร์” เร่งแก้ไข จ่ายเงินตามงบ 53 เกือบ 3พันล้านบาท เป็นค่าตอบแทนแพทย์ พร้อมเร่งแก้ปัญหาพยาบาลใต้ขาดแคลน... เมื่อวันที่ 27 ก.ย.2553 ที่รัฐสภา มีการประชุมวุฒิสภา มีน.ส.ทัศนา บุญทอง รองประธานวุฒิสภา เป็นประธาน เพื่อพิจารณากระทู้ถามด่วนของ นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ ส.ว.สรรหา ถามนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ถึงวิกฤตการเงินในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขพบว่า ขณะนี้ มีโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขประสบภาวะขาดทุน นายจุรินทร์ กล่าวว่า ตนทราบว่ามีโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขขาดทุน โดยในจำนวนโรงพยาบาลที่ดูแลทั้งหมด 824 แห่ง มีโรงพยาบาลขาดทุนในสิ้นไตรมาสที่ 2 จำนวน 191 แห่ง ทั้งนี้ต้องเข้าใจว่าโรงพยาบาลมีหลักการทำงานแบบไม่แสวงหาผลกำไร แต่ปัญหาการขาดทุน ได้ส่งผลกระทบการบริหารจัดการโรงพยาบาลและคุณภาพการให้บริการ ที่ผ่านมาทางกระทรวงได้เร่งแก้ไข อาทิ ในงบประมาณปี 2553 ได้จัดงบประมาณจำนวน 2,870 ล้านบาท เพื่อแก้ปัญหาในเรื่องต่างๆ เช่น ค่าตอบแทนบุคลากรทางการแพทย์ การสาธารณสุข รมว.สาธารณสุข กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าปัญหาการขาดทุนที่เกิดขึ้น เป็นเพราะว่าในปี 2552 ต้องนำเงินไปใช้จ่ายในส่วนค่าตอบแทนบุคลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุข อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหาในอนาคตตนได้สั่งให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขและ เลขาธิการ สปสช. เข้าไปดูแลแล้ว นายจุรินทร์ ชี้แจง ประเด็นที่นางอัจฉรา เตชฤทธิพิทักษ์ ส.ว.สรรหา ได้ตั้งกระทู้ถามถึงปัญหาการขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และการดูแลด้านสวัสดิการที่ ขณะนี้ พบว่า มีการขาดแคลน ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานต้องทำงานเกินเวลาจนกลายเป็นปัญหาที่กระทบกับคุณภาพการให้บริการทางการแพทย์ ว่า ขณะนี้ กระทรวงฯ ได้แก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ ด้วยการให้นักศึกษาในพื้นที่ชายแดนจังหวัดภาคใต้ได้เรียนในสาขาวิชาการแพทย์ จำนวน 3,000 คน และล่าสุดพบว่าในเดือนมี.ค. 54 จะมีนักศึกษาที่จบประมาณ 2,800 คน ซึ่งจะสามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนพยาบาลได้ นอกจากนั้นกระทรวงได้ทำที่พักไว้รองรับแล้วด้วย คาดว่ามีเพียงพอต่อการพักอาศัยของพยาบาลที่จบใหม่ ที่มา : http://www.thairath.co.th/content/edu/114431 (http://www.thairath.co.th/content/edu/114431) emo28:win: emo28:win: emo28:win: XXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXX การปฏิรูประบบสาธารณสุข เป็นรูปเครือข่าย 3 ระดับ จะทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึง บริการขั้นพื้นฐานได้สะดวก จะทำให้การเจ็บป่วยร้ายแรง ที่ต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูงลดลง เหมือน ประเทศอังกฤษและฟินแลนด์ ที่ใช้แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป เป็นแพทย์ประจำให้ประชาชน เข้าถึงได้ใกล้บ้าน ด่านแรก ซึ่งการบริการใกล้บ้านนี้เป็นทีมงาน ที่ดูแลแบบองค์รวม ทาง สาธารณสุขได้แก่ การส่งเสริมสุขภาพ การปัองกันโรค การดูแลเมื่อเริ่มป่วย การฟื้นฟู ถ้า เกินความสามารถที่มีส่วนน้อย จะใช้ระบบส่งต่อส่งต่อด่านสอง พบแพทย์เฉพาะทางที่ควร ย้ายจาก ร.พ.อำเภอ โดยนำเครื่องมือในการใช้วินิจฉัย ราคาแพง เช่น อุลตร้าซาวด์ ฯลฯ ที่แพทย์เฉพาะทางใช้ได้เท่านั้น ใช้เพียงคนเดียว ใน ร.พ.อำเภอ สมควรนำไปรวมใช้กัน ในแผนกเฉพาะทางที่ ร.พ.จังหวัดซึ่งเป็นด่านสอง แยกแผนกต่าง ๆ ให้แพทย์เฉพาะทาง ได้ทำงานตรงตามสาขาที่เรียนมา และ ถ้าเกินความสามารถต้องใช้แพทย์ระดับสูงขึ้น ต้องใช้เครื่องมือราคาสูง ที่มีคนป่วยใช้น้อย ควรรวมกันมาไว้ที่ ร.พ.ศูนย์ ซึ่งเป็นด่านสาม รวมคนป่วยมาจากทุกจังหวัดในเขตนั้นใช้เครื่องมือนั้นร่วมกัน เป็นการใช้คนให้ตรงกับงาน (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9eso0-d2198b.jpg) ถ้าประเทศไทย นำมาใช้จะลดการขาดทุนของ ร.พ.แต่ละแห่งได้เมื่อมีการให้บริการด่านแรก ใกล้บ้านโดยแพทย์ทั่วไป ที่เปลี่ยนสาขา มาเป็นแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ที่ประเทศเราต้องการ มากควรมีเป็นครึ่งหนึ่งของปริมาณแพทย์ทั้งประเทศ ตามที่ ท่านอาจารย์ น.พ.พินิจ กุลวณิชย์ อดีตเลขาธิการแพทยสภา ไปเห็นมาที่กระทู้.... การดูแลทางด้านสาธารณสุขเบื้องต้นที่อังกฤษ และ ฟินแลนด์ พึ่งระบบ Primary health care มากประมาณ90%ของงาน http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=11-2006&date=16&group=1&gblog=4 (http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=11-2006&date=16&group=1&gblog=4) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9fnl7-5988a0.jpg) การใช้ระบบ Primary health care ของอังกฤษ และ ฟินแลนด์ ทำให้ประชาชน มีสุขภาพดี เป็นไปตามที่ องค์การอนามัยโลก ได้ประชุมระหว่างประเทศสมาชิก หา กลวิธีการทำให้มี สุขภาพดีได้ด้วยอะไร และ ได้ข้อสรุป เป็น กลวิธี.... Primary health care หรือ การสาธารณสุขมูลฐาน หัวข้อ: "การสาธารณสุขมูลฐาน"ตาม "Ottawa charter"เพื่อประชาชนสุขภาพดี ดูได้ที่กระทู้ http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,3394.0.html (http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,3394.0.html) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9ntcr-f7c95c.jpg) ผล การดูแลรูปเครือข่าย ที่ประเทศอังกฤษ และ ฟินแลนด์ ร่วมกับการจ่ายค่ารักษาตามราคา กลางที่ยุติธรรม หรือ Diagnostic Related Group : DRG นั้นจะทำให้ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ลดลง โดยประชาชนมีสุขภาพดี กว่าประเทศอื่น ๆ ที่เน้น แพทย์เฉพาะทางไม่มี แพทย์ด่านแรก ทำให้แก้ปัญหาการขาดทุนได้ พร้อมประชาชนสุขภาพดี เข้าถึงบริการได้ใกล้บ้าน อย่างมีคุณภาพ emo28:win: emo28:win: emo28:win: หัวข้อ: ใครลากโรงพยาบาลลงเหว ? เริ่มหัวข้อโดย: Samrotri2517 ที่ 18 ตุลาคม 2553, 18:34:55 ใครลากโรงพยาบาลลงเหว? ขอขอบคุณเวบโพสต์ทูเด วันจันทร์ 18 ตุลาคม 2553 http://www.posttoday.com/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C/%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1/55341/%E0%B9%83%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A7 (http://www.posttoday.com/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C/%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1/55341/%E0%B9%83%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A7) ปัญหาโรงพยาบาลขาดสภาพคล่องเกิดขึ้นภายหลังที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ประกาศเพิ่มค่าตอบแทนพิเศษให้กับแพทย์... โดย...ธนวัฒน์ เพ็ชรล่อเหลียน ช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้เปิดแถลงข่าวด่วน เรื่อง "โรงพยาบาลขาดสภาพคล่อง ข้อเท็จจริงสถานการณ์การเงินการคลัง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ" เพื่อสร้างความเข้าใจแก่ผู้สื่อข่าวและสาธารณชน ภายหลังปรากฏข้อมูลในลักษณะที่ว่า “สปสช.” เป็นต้นเหตุทำให้โรงพยาบาลขาดทุน การแถลงข่าวในวันนั้น คณะกรรมการสปสช. ได้ชี้แจงถึงการประมาณการจัดสรรเงินกองทุนเหมาจ่ายรายหัวปีงบประมาณ 2554 จำนวน 101,057 ล้านบาท ว่าได้จัดสรรให้แก่โรงพยาบาลสังกัดสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข ถึง 70,905 ล้านบาท โดยเงินจำนวนนี้จะเพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลทั้งระบบ ถ้าไม่รวม “ค่าตอบแทนพิเศษแพทย์” (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/lahh8i-18b5a7.jpg) นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช.ขมวดปมปัญหาให้เข้าใจโดยง่าย “ปัญหาโรงพยาบาลขาดสภาพคล่องเกิดขึ้นภายหลังที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ประกาศเพิ่มค่าตอบแทนพิเศษให้กับแพทย์ทั้งโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลทั่วไป” สอดรับกับคำอธิบายของ นพ.พีรพล สุทธิวิเศษศักดิ์ รองเลขาธิการ สปสช. ที่บอกว่า งบปี 54 ที่จัดสรรไว้นั้น ยังไม่รวมค่าตอบแทนพิเศษของโรงพยาบาลทั้งระบบซึ่งมีประมาณ 9,000 ล้านบาท และสาเหตุหนึ่งที่ทำให้โรงพยาบาลขาดสภาพคล่องคือการบริหารของผู้บริหารโรงพยาบาลเอง “ทราบมาว่ามีโรงพยาบาลบางแห่งที่จ่ายค่าตอบแทนแพทย์เกินเกณฑ์กำหนด” รองเลขาธิการชี้ชัดถึงสาเหตุโรงพยาบาลขาดทุนไปในทิศทางเดียวกัน นพ.พีรพล กล่าวต่อไปว่า สปสช.เคยทำเรื่องของบสำหรับจ่ายค่าตอบแทนพิเศษจากสำนักงบประมาณไปแล้วจำนวน 5,000 ล้านบาท แต่ไม่ได้รับอนุมัติ โดยสำนักงบประมาณระบุว่าสปสช.ไม่มีอำนาจขอ เพราะเป็นอำนาจของกระทรวงสาธารณสุขโดยตรง (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/lahhar-45b8bf.jpg) คล้อยหลังเพียง 1 วัน นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า ปัญหาโรงพยาบาลขาดทุนเกิดจากหลายปัจจัย ไม่ใช่แค่เงินค่าตอบแทนพิเศษแพทย์หรือการจัดสรรงบของสปสช. ทั้งนี้มองว่าเกิดจากระบบบริการสาธารณสุขทั้งระบบ emo26:D emo26:D emo26:D XXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXX นำข่าวต่อเนื่องมาให้พวกเราติดตามข่าว ขาดสภาพคล่องจากสาเหตุใดกันแน่ ความเห็นของผม ถ้าใช้ สาธารณสุขมูลฐาน ค่าใช้จ่ายด้านการรักษา จะลดลง เนื่องจาก การดูแลแบบองค์รวม ส่งเสริมให้ประชาชนดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ให้หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้ป่วย เมื่อป่วยไข้ก็สามารถเข้าพบแพทย์ได้ทันที เมื่อหายแล้วก็ได้รับการฟื้นฟู กิจกรรมข้างต้น ที่โรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพตำบล รพสต.ที่พัฒนา มาจากสถานีอนามัย มีอยู่ 9 พันกว่าแห่ง ถ้าทำสำเร็จยกฐานะให้เป็น รพสต.ทั้งหมด ใช้แพทย์ทั่วไป หรือ แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และ ใช้แพทย์จบใหม่ เพิ่งเรียนมาทุกแผนก ใน ร.ร.แพทย์ ผ่านการสอบใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมเดินทางมาตรวจเอง สัปดาห์ละวัน (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/lahjur-e69739.jpg) แต่เมื่อมีระบบ เครือข่ายสาธารณสุข Virtual Private Network : VPN แพทย์ข้างต้น ไม่ต้องเดินทางมาด้วยตนเอง สามารถอยู่ที่ โรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพอำเภอ รพสอ.จะออกตรวจที่ รพสต.ทาง VPN เวลาราชการทุกเช้าวันราชการ ถ้าคนไข้มาไม่ตรงเวลาดังกล่าว จะมีพยาบาลเวชปฏิบัติ ที่ได้รับการอบรม ให้สามารถวินิจฉัยและให้การรักษาได้ 5 ใน 10 คน อยู่ประจำที่ รพสต. 2 คนเพื่ออยู่เวรนอกเวลาได้ ถ้าเกินความสามารถ โทรฯปรึกษาแพทย์ประจำ รพสต.ได้ ที่ควรเป็นแพทย์ทั่วไป เรียนจบแพทย์ 6 ปีสามารถให้การดูแลประชาชน ได้ 9 ใน 10 คน ซึ่งค่าตอบแทนแพทย์ทั่วไป หรือ แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว (แพทย์ทั่วไป ที่เปลี่ยนชื่อ เพื่อมาตรวจที่ รพสต.และ เยี่ยมบ้านด้วย) จะถูกกว่า ใช้ แพทย์เฉพาะทาง ที่ไม่เหมาะมาอยู่ด่านแรก ควรไปอยู่ด่าน 2 หรือ ด่าน 3 พร้อมนำเครื่องมือราคาแพง ที่ใช้คนเดียวกับไปใช้ร่วมกันในแผนกที่เรียนมา จะคุ้มค่ากว่า ถ้าจัดระบบให้แพทย์ให้เป็นรูปเครือข่าย วางแพทย์ให้เหมาะสม ส่งแพทย์จบใหม่ ให้มาอยู่ด่านแรกจะ ลดค่าตอบแทนแพทย์ได้ และ คุณภาพการรักษาไม่ด้อยลง เพราะ คนไข้เมื่อเริ่มป่วยนั้น 9 ใน 10 คนแพทย์จบใหม่สามารถให้การดูแลได้ ถ้าเกินความสามารถ ก็มีระบบด่านสองรับปรึกษา ทาง VPN และ ให้การรักษาได้ ผมจึงเชื่อว่า การปฏิรูประบบสาธารณสุข ให้ใช้สาธารณสุขมูลฐาน นำ และ ใช้แพทย์จบใหม่ประจำ รพสต.ด่านแรก มีระบบเครือข่ายสาธารณสุข Virtual Private Network : VPN น่าจะแก้ปัญหา ร.พ.ขาดทุน ขาดสภาพคล่องได้ emo28:win: emo28:win: emo28:win: หัวข้อ: Re: "จุรินทร์"รับเร่งแก้ไขหลัง รพ.191แห่งขาดทุนยับ เริ่มหัวข้อโดย: Samrotri2517 ที่ 27 พฤศจิกายน 2553, 11:14:26 “จุรินทร์” ปลื้มแผนปรับโฉมบริการ “รพ.3ดี” สำเร็จแล้ว 95% โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 26 พฤศจิกายน 2553 http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9530000167318 (http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9530000167318) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/lciyev-6c8abd.jpg) “จุรินทร์” ปลื้มนโยบายปรับโฉมบริการด่านหน้าโรงพยาบาลในสังกัด สธ. หรือ โรงพยาบาล 3 ดี บรรลุผลสำเร็จแล้วร้อยละ 95 เป้าหมายต่อไปเตรียมสังคายนาระบบ ลดความแออัดในโรงพยาบาลขนาดใหญ่และระบบการส่งต่อผู้ป่วย วันนี้ (26 พ.ย. ) ที่โรงแรมมิราเคิล กทม. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเปิดประชุมพัฒนาโรงพยาบาลสาธารณสุขยุคใหม่เพื่อคนไทยสุขภาพดี มีรอยยิ้ม และมอบรางวัลโรงพยาบาลสาธารณสุขยุคใหม่ ที่ดำเนินงานได้ยอดเยี่ยมระดับเขต จำนวน 77 รางวัล โดยมีผู้บริหาร นักวิชาการ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จากโรงพยาบาลในสังกัดทุกระดับทั่วประเทศเข้าร่วมประชุมกว่า 500 คน นายจุรินทร์กล่าวว่า เป็นความสำเร็จของนโยบายสำคัญที่เริ่มดำเนินการตั้งแต่ 12 สิงหาคม 2553 คือ นโยบาย 3 ดี หรือโรงพยาบาลสาธารณสุขยุคใหม่ เพื่อคนไทยสุขภาพดีมีรอยยิ้ม ที่เน้นปรับปรุงการให้บริการด่านหน้าของโรงพยาบาล โดยเฉพาะที่แผนกผู้ป่วยนอก ให้มีดีอย่างน้อย 3 ข้อ คือ บรรยากาศดี บริการดี และ บริหารจัดการดี ซึ่งได้กำหนดให้โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกระดับที่มี 5 กลุ่มได้แก่ 1. กลุ่มโรงพยาบาลเฉพาะทางระดับกรม 2. กลุ่มโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป 3. กลุ่มโรงพยาบาลขนาด 60 เตียงขึ้นไป 4. กลุ่มโรงพยาบาลชุมชนขนาดน้อยกว่า 60 เตียง และ 5. กลุ่มโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ซึ่งผลการดำเนินงานโรงพยาบาลทุกขนาด สามารถดำเนินการได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 95 เหลืออีกร้อยละ 5 ที่ต้องเร่งดำเนินการต่อไปให้ครบ 100 เปอร์เซ็นต์ emo28:win: emo28:win: emo28:win: ))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))))) ผลจากการพัฒนาบริการต้อนรับ เมื่อเข้าใช้บริการ ร.พ.ทั้ง 5 กลุ่ม ด้วย 3 ดี จะทำให้ประชาชนได้รับบริการที่พึงพอใจ ร่วมกับการพัฒนาระบบส่งต่อ ระหว่างเครือข่าย และ การพัฒนาสถานีอนามัย 9 พันกว่าแห่ง ให้เป็น โรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพตำบล เมื่อสิ้นสุดโครงการ ปี 2555 ทำให้ตัวชี้วัด สุขภาพดีถ้วนหน้าในปี คศ.2000 หรือ พศ.2543 ด้วยการสาธารณสุขมูลฐานตาม Ottawa Charter http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,3394.0.html (http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,3394.0.html) ตัวชี้วัดตัวที่ 3 เข้าถึงบริการสุขภาพสะดวกใกล้บ้าน และ ตัวชี้วัดตัวที่ 4 เป็นบริการที่มีคุณภาพ.....เกิดเป็นจริงได้ จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของ ร.พ.ทุกระดับได้โดยต้อง ขอความร่วมมือประชาชนใช้บริการใกล้บ้านตามระบบเครือข่าย เพราะ เมื่อเริ่มป่วยนั้น จะรักษาง่ายใกล้บ้าน ที่ รพสต. กับ แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว หรือ แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปเดิม ที่กำกับรับผิดชอบดูแลร่วมกับ พยาบาลเวชปฏิบัติ ที่อยู่ประจำ รพสต.อย่างน้อย 2 คนเพื่ออยู่เวรดูแลผลัดกันนอกเวลาฉุกเฉิน ทำให้มีบริการสุขภาพตลอด 24 ชั่วโมงได้ และ ช่วยประเมินคุณภาพบริการด้วยการร่วมเขียนแสดงความคิดเห็นใส่ตู้รับความคิดเห็นเพื่อช่วยพัฒนา ร.พ.ให้เป็น ร.พ.คุณภาพ ตามตัวชี้วัดการเป็น ร.พ.คุณภาพ จะต้องปรับปรุงบริการให้ผู้ใช้บริการพึงพอใจ emo6::)) emo6::)) emo6::)) หัวข้อ: Re: "จุรินทร์"รับเร่งแก้ไขหลัง รพ.191แห่งขาดทุนยับ เริ่มหัวข้อโดย: kidnakub22 ที่ 29 พฤศจิกายน 2553, 02:18:25 ขอบคุณครับ
หัวข้อ: Re: "จุรินทร์"รับเร่งแก้ไขหลัง รพ.191แห่งขาดทุนยับ เริ่มหัวข้อโดย: Samrotri2517 ที่ 08 มกราคม 2554, 10:47:04 “จุรินทร์” สั่งเช็คต้นทุนเบื้องต้นรายโรงพยาบาล แก้ขาดทุน โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 7 มกราคม 2554 17:46 น. http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9540000001986 (http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9540000001986) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/leoqfg-f54a3d.jpg) วันนี้ ( 7 ม.ค. ) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวถึงปัญหาโรงพยาบาล(รพ.)ในสังกัด สธ. ประสบปัญหาการขาดทุนว่า ขณะนี้มี รพ.สังกัด สธ. มีภาวะขาดทุนทั้งหมด 304 แห่ง ขาดทุนระดับรุนแรง 77 แห่ง เป็นเงิน 1,300 ล้านบาท และ ขาดทุนระดับรอง 227 แห่ง เป็นเงิน 2,700 ล้านบาท 4,000 บาท โดยปัญหาดังกล่าวพิจารณาจากข้อมูลใน 2 ส่วน คือ 1.เรื่องสภาพคล่องทางการเงิน โดยดูจำนวนทรัพย์สินกับหนี้สิน และ 2.ดัชนีประสิทธิภาพการบริหารการเงินและการคลัง ดูจากอัตรากำไรสุทธิ ต้นทุนการดำเนินการ ศักยภาพในการเก็บหนี้จากการรักษาพยาบาล และระยะเวลาในการชำระหนี้ ซึ่งขณะนี้ตนได้มอบหมายให้ นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ รองปลัดสธ.ประสานกับ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช. เพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับสาเหตุและแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกัน “โดยเบื้องต้นมีการพิจารณาหาทางแก้ในระยะสั้นสำหรับโรงพยาบาลที่ขาดทุนรุนแรงนั้น สปสช.จะจัดสรรงบประมาณจากกองทุนต่างๆ ให้โรงพยาบาล 1,300 ล้านบาทภายในเดือนมกราคม ส่วนโรงพยาบาลที่ขาดทุนระดับรองคาดว่าจะได้ข้อสรุปในการแก้ปัญหาร่วมกันภายในเดือนมีนาคมนี้” นายจุรินทร์ กล่าว รมว.สธ. กล่าวด้วยว่า สำหรับการแก้ปัญหาในระยะยาวนั้น ได้มอบนโยบายให้มีการวิเคราะห์ต้นทุนขั้นต่ำของรพ.สังกัดสธ.ทั่วประเทศ โดยเริ่มจากการดูข้อมูลชัดเจนเป็นรายโรงพยาบาล เพื่อใช้เป็นฐานสำหรับจัดฯ แก่ รพ.ของสปสช. คาดว่าน่าจะใช้เป็นข้อมูลประกอบการจัดสรรงบประมาณได้ในปีงบประมาณ 2555 นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ รองปลัดสธ. กล่าวว่า รพ.ที่ประสบภาวะขาดทุนรุนแรงพบในทุกระดับตั้งแต่โรงพยาบาลชุมชน(รพช.) โรงพยาบาลทั่วไป(รพท.)และโรงพยาบาลศูนย์(รพศ.) แต่จะพบในโรงพยาบาลที่มีขนาดเล็กมากกว่า ทั้งนี้ หากพิจารณากำร-ขาดทุน โดยนำรายรับ ลบกับรายจ่าย ในปี 2552 จะมีโรงพยาบาลที่มีผลลบ เป็นลบ 505 แห่ง และเพิ่มเป็น 585 แห่งในปี 2553 จากการที่สธ.วิเคราะห์สาเหตุการขาดสภาพคล่องของรพ.นั้น มี 3 สาเหตุ คือ 1.การจัดค่าบริการทางการแพทย์ตามจำนวนหัวประชากร ทำให้บางพื้นที่ที่มีประชากรน้อยได้รับการจัดสรรงบรายหัวน้อย ขณะที่การให้บริการมาก 2.การหักงบฯเหมาจ่ายรายหัวเป็นเงินเดือนของข้าราชการในโรงพยาบาล ส่งผลให้โรงพยาบาลที่มีข้าราชการมาก งบฯรายหัวจะถูกหักเป็นเงินเดือนมาก งบฯที่ใช้ในการให้บริการประชาชนน้อย และ 3.การจัดสรรแยกเป็นกองทุนย่อยของสปสช. ทำให้กองทุนหลัก คือ กองทุนผู้ป่วยในและกองทุนผู้ป่วยนอกถูกแบ่งงบประมาณไปเก็บไว้ในกองทุนย่อย ส่วนที่มีการระบุว่าการจ่ายค่าตอบแทนให้กับบุคลากรทางการแพทย์เป็นสาเหตุทำให้ รพ. ขาดสภาพคล่องนั้น หากพิจารณาจากในปี 2551ที่ยังไม่มีการจ่าค่าตอบแทนกับในปี 2553 ที่มีการจ่ายค่าตอบแทนเต็มรูปแบบ พบว่ามีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 9 พันล้านบาท เมื่อดูภาพรวมค่าตอบแทนคิดเป็นเพียง 38 %ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด ซึ่งยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ ดังนั้น ค่าตอบแทนบุคลากรทางการแพทย์จึงไม่ใช่สาเหตุที่แท้จริง emo7:(: emo26:D emo26:D emo26:D CCCCCCCCCCCCCCCCCCCCCCCCCCCCCCCCCCCCCCCCCCCCCCCCCCCCC (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/leorcm-953e6b.jpg) การสาธารณสุขมูลฐาน คือ การดูแลแบบองค์รวมทางสาธารณสุข ร่วมกับ การดูแลรูปเครือข่าย 3 ระดับ ช่วยเหลือกัน มีระบบส่งต่อ ที่มีประสิทธิภาพ ร่วมกับ การใช้ เทคโนโลยี่ เครือข่าย Virtual Private Network:VPN จะทำให้ลดค่าใช้จ่ายลงได้ โดยประชาชนยังคงได้รับบริการทางสาธารณสุขที่ำดีได้ emo28:win: emo28:win: emo28:win: หัวข้อ: Re: การสาธารณสุขมูลฐาน Primary health care ทำให้เกิดสุขภาพดีถ้วนหน้าในราคาประหยัด เริ่มหัวข้อโดย: prapasri AH ที่ 08 มกราคม 2554, 16:40:33
1.เรื่องสภาพคล่องทางการเงิน โดยดูจำนวนทรัพย์สินกับหนี้สิน ร.พ รัฐ หาก ดูทรัพย์สิน ด้วย จะดูได้อย่างไร หากดูทรัพย์สิน จริงๆ ร.พ รัฐ จะร่ำรวยมาก อาจจะเกิดการขาดทุนจากการลงทุนในทรัพย์สินเยอะมาก และ จะหาต้นตอการขาดทุนไม่เจอ |