หัวข้อ: ดันประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพ จุรินทร์ชง9มาตรการเวทีประชุม รมต.อาเซียน เริ่มหัวข้อโดย: Samrotri2517 ที่ 25 กรกฎาคม 2553, 19:23:23 ขอขอบคุณเวบคมชัดลึด วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม 2553 ที่เอื้อเฟื้อข่าว http://www.komchadluek.net/detail/20100722/67532/%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%8A%E0%B8%8A.%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%8A%E0%B8%879%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99.html (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l644j6-27abcf.jpg) ประชุม รมว.สาธารณสุขอาเซียน เน้นหารือให้ประชาชน เข้าถึงบริการสุขภาพมากขึ้นในราคาไม่แพง วันที่ 22 กรกฎาคม การประชุมครั้งนี้จะเน้นการหารือเกี่ยวกับแนวทางให้ประชาชน เข้าถึงบริการสุขภาพให้มากขึ้นโดยที่ราคาไม่แพง ซึ่งตามปกติการประชุมแต่ละครั้ง จะหารือเฉพาะในเรื่องของโรคติดต่ออุบัติใหม่ แต่เนื่องจากในรอบปีที่ผ่านมา ไม่มีการแพร่ระบาดของโรคที่รุนแรง จึงหาแนวทางในการพัฒนาความร่วมมือด้านสุขภาพเพื่อลดปัญหาสุขภาพของประชากร (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l644cd-2bc9fc.jpg) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.สาธารณสุข แถลงข่าวว่า รัฐมนตรีสาธารณสุข จากทุกประเทศจะกล่าวปราศรัยต่อที่ประชุมถึงกรอบความร่วมมือด้านสุขภาพ โดยให้ความสำคัญใน 3 เรื่องหลัก คือ 1.อาหารปลอดภัย 2.การควบคุมโรค โดยเฉพาะโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 และ 3.การเข้าถึงบริการด้านสุขภาพและการส่งเสริมด้านสุขภาพ emo4:)) emo4:)) emo4:)) รมต.จุลินทร์ ยัง ชง 9 มาตรการช่วยคนไทยเข้าถึงบริการ คือ 1.เพิ่มงบเหมาจ่ายรายหัวสำหรับหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพื่อให้บริการด้านสุขภาพฟรี แก่ประชาชนจาก 2,401 บาทต่อคนต่อปี เป็น 2,546 บาทต่อคนต่อปีในปี 2554 2.การรักษาพยาบาลฟรีโรคที่ใช้จ่ายสูงเช่นโรคเอดส์เบาหวานความดันโลหิตสูงโรคหัวใจและจิตเวช 3.ขยายสิทธิรักษาพยาบาลกลุ่มผู้ใช้แรงงาน 8.7 แสนคน ให้ครอบคลุมถึงบุตรและคู่สมรส 4.แก้ปัญหาโรคความดัน เบาหวาน และโรคอ้วน ซึ่ง 1 ใน 3 ของประชากร กำลังเผชิญกับโรคนี้ โดยจะเร่งคัดกรองให้เข้ามารับการรักษา รณรงค์ให้เปลี่ยนพฤติกรรมทานอาหารและให้ออกกำลังกาย 5.หญิงตั้งครรภ์ทั่วประเทศ 8 แสนคนต่อปีให้ได้รับสารไอโอดีนครบถ้วน 6.ปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อเสริมสารไอโอดีนในเกลือและน้ำปลา 7.เด็กตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลไปจนถึงชั้น ป.6 ได้รับบริการนมโรงเรียนฟรี 8.รณรงค์ลด ละ เลิก เหล้าและบุหรี่อย่างมีประสิทธิภาพ และ 9.ยกระดับสถานีอนามัย 1 หมื่นแห่งเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และเพิ่มการเข้าถึงบริการของประชาชนในปี 2553-2554 "การประชุมครั้งนี้จะมีหารือถึงเรื่องขยายกรอบความร่วมมือของประเทศ อาเซียนกับอีก 3 ประเทศเพิ่มเติม ได้แก่ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย ซึ่งไทย พร้อมที่จะสนับสนุนในการขยายความร่วมมือกับ 3 ประเทศนี้" นายจุรินทร์กล่าว emo6::)) emo6::)) emo6::)) หัวข้อ: Re: ดันประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพ จุรินทร์ชง9มาตรการเวทีประชุม รมต.อาเซียน เริ่มหัวข้อโดย: Samrotri2517 ที่ 31 กรกฎาคม 2553, 19:42:47 ขอขอบคุณเวบฐานเศรษฐกิจวันเสาร์ที่ 31 กรกฏาคม 2010 ณัฐญา เนตรหิน ข่าวรายวัน http://www.thannews.th.com/index.php?option=com_content&view=article&id=37486:2010-07-31-06-45-21&catid=176:2009-06-25-09-26-02&Itemid=524 รมว.สธ.พร้อมเดินหน้าโครงการรักษาพยาบาลฟรีรวมโรคร้ายแรง (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l6f8uc-ef6d73.jpg) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยถึงแนวทางการขับเคลื่อน การทำงานของกระทรวงสาธารณสุข หลังมอบนโยบายแก่ข้าราชการกระทรวงฯ5 จังหวัดชายแดน ภาคใต้ และ อสม.ใหม่ ของจังหวัดนราธิวาส ว่า จากนี้ไปโครงการรักษาพยาบาลฟรี ซึ่งรวมถึงการรักษาฟรีในโรคร้ายแรงทั้งระบบอาทิโรคเอดส์ โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคความดัน โรคจิตเวช ส่วนโรคไตผู้ป่วย เสียค่าใช้บริการเพียงการล้างเลือดแทนไตจาก1,500 บาทต่อครั้ง เหลือจ่าย เพียง500บาทส่วนที่เหลือรัฐเป็นผู้ออกให้เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงการบริการของรัฐอย่างทั่วถึง (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l6f95q-cd4007.jpg) นอกจากนี้ จะมีการตรวจสอบบัญชีรายชื่อยาสมุนไพรอีกกว่า 400 รายการ เพื่อเตรียม พิจารณานำขึ้นบัญชีเข้าเป็นยาในโครงการ รักษาพยาบาลฟรี ส่วนการใช้บัตรประชาชนแทนบัตรทองเพื่อเข้ารับการรักษาฟรีนั้น ปัจจุบันยังติดปัญหาเรื่อง ระบบฐานข้อมูลของประชาชน เนื่องจากบางพื้นที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร ไม่มีอินเทอร์เนตใช้ ทำให้ไม่สามารถแยกประเภทสิทธิ์ว่าเป็นข้าราชการ ผู้ประกันตนหรือประชาชนทั่วไปได้ เบื้องต้นได้แก้ปัญหาโดยการจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการด้วยแผ่นดิสและกระจายข้อมูลไป ยังสถานพยาบาลทุกแห่ง ซึ่งประชาชนจะเริ่มใช้บัตรประชาชนแทนบัตรทองในทุกพื้นที่ตั้งแต่วันที่1 ตุลาคม นี้ (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l6f9cc-a0f36e.jpg) ส่วนโครงการไทยเข้มแข็งที่มีความล่าช้าจากปัญหาถูกร้องเรียนเรื่องการทุจริตนั้น ยืนยันว่า ปัญหาดังกล่าวจบแล้ว และพร้อมเดินหน้าโครงการตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง เพื่อก่อสร้างอาคารบริการ ที่พักแพทย์และพยาบาล ปรับปรุงระบบสาธารณสุข จัดซื้ออุปกรณ์และ เครื่องมือทางการแพทย์ รวมถึงการพัฒนาโรงพยาบาลทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังตั้งเป้าภายใน 2 ปีจะยกระดับสถานีอนามัยเป็นรพ.ส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล ครบ10,000แห่งทั่วประเทศ โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพดังกล่าว จะต้องมี การปฏิบัติใน 5 ด้าน คือ ส่งเสริมสุขภาพ ควบคุมป้องกันโรค รักษาอาการเบื้องต้น ฟื้นฟูสุขภาพ คุ้มครองผู้บริโภค ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ในวันที่ 12 สิงหาคมนี้ โรงพยาบาลทั่วประเทศจะดำเนินการตามโครงการโรงพยาบาลสาธารณสุข ยุคใหม่ให้คนไทยสุขภาพดี มีรอยยิ้ม ด้วยบริการ 3 ดี (3 S)ประกอบด้วย S1 บรรยากาศ (Structure). บรรยากาศดี S2 บริการ (Service).บริการดี ทั้งการแพทย์ (Medical Service)และทั่วไป (General Service) S3 บริหารจัดการ (System) บริหารจัดการที่ดี emo6::)) emo6::)) emo6::)) หัวข้อ: ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพได้ทุก ร.พ. เมื่อมีเครือข่ายสาธารณสุข VPN เริ่มหัวข้อโดย: Samrotri2517 ที่ 02 สิงหาคม 2553, 13:33:49 ขอขอบคุณเวบเดลินิวส์ วันจันทร์ ที่ 02 สิงหาคม 2553 ที่สนับสนุนเนื้อหาข่าว http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=23&contentId=82130 (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l6i3m8-03b889.jpg) 'สารสนเทศ Information technology (IT)' เร่งพัฒนา คือยาดี! ความเคลื่อนไหวในวงการแพทย์ไทยในกรณีที่ไม่ใช่เรื่องวุ่นๆแต่เป็นกรณีสร้างสรรค์ก็มีที่น่าสนใจ... คือ "การพัฒนาสารสนเทศทางการแพทย์” เพื่อให้บริการผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วจะเป็นการบูรณาการและเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพ จากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งจากสถานพยาบาล และหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการดูแลรักษาสุขภาพและเพิ่มประสิทธิภาพการเข้ารับบริการของประชาชน เป็นการระบุของ นพ.ฆนัท ครุธกูล ผู้จัดการศูนย์หัวใจ ฯ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาล รามาธิบดี เป็นการระบุที่มีนัยเกี่ยวโยงถึงการที่จะมีการจัด ประชุมระดับชาติ “เมดิคัล ดาต้า สแตนดาร์ดส์ เอ็กซ์โปร์” ในช่วงวันที่ 20-21 ส.ค. 2553 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยความร่วมมือกันระหว่าง โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กับหน่วยงานต่าง ๆ เช่น สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กระทรวงสาธารณสุข, กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศฯ, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ,สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ สมาคมเวชสารสนเทศไทย, คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สำนักคณะกรรมการอุดมศึกษา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ รศ.นพ.อาทิตย์ อังกานนท์ รองคณบดีฝ่ายสารสนเทศ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ในฐานะประธานจัดงานประชุม ระบุว่า... การประชุมดังกล่าวนี้จะเกี่ยวกับ “ระบบสารสนเทศทางการแพทย์” จะเป็นโอกาสที่ดีในการ “พัฒนาศักยภาพด้านสาธารณสุข” โดยคณะผู้จัดประชุมมุ่งเน้นพัฒนาระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการแพทย์ ซึ่งเป็นบันไดขั้นสำคัญ ในการใช้ประโยชน์จาก ระบบสารสนเทศทางการแพทย์ เป็นตัวแปรหลักที่ต้องหาทางเลือกเพื่อที่ทุกฝ่ายจะได้ประโยชน์ร่วมกันเพื่อพัฒนาบุคลากร ด้านเทคโนโลยีสาร สนเทศทางการแพทย์ได้ต่อเนื่อง ทางโรงพยาบาลรามาธิบดีเล็งเห็นถึงความสำคัญของการส่งต่อข้อมูลทางการแพทย์ เนื่องจาก ระบบบริการสุขภาพเป็นข้อมูลที่ยากต่อการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันระหว่างโรงพยาบาล เข้าถึงได้ยาก และแตกต่างกันออกไป จึงได้ร่วมมือกับกระทรวงและองค์กรที่เกี่ยวข้องจัดการประชุมเรื่องระบบสารสนเทศทางการแพทย์ เพื่อสนับสนุนการให้บริการทางการแพทย์ และหน่วยงานภาคเอกชนที่ส่งเสริมและผลักดันการนำ เทคโนโลยีสารสนเทศทางการแพทย์ไปสู่ภาคอุตสาหกรรมเพื่อศักยภาพของประเทศไทยในด้านนี้ “การใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทางการแพทย์มีประโยชน์มาก" ตัวอย่างการใช้ทำประวัติและนัดหมาย จะสามารถกำหนดรายละเอียดผู้ป่วยได้สะดวกและรวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลา ไม่ต้องค้นหาแฟ้มประวัติผู้ป่วย และสามารถเติมข้อมูลเข้าไปให้ถูกต้อง รวมถึง สามารถรู้สถิติสารสนเทศได้เร็วขึ้น อาทิ จำนวนผู้ป่วย, ประสิทธิ ภาพยา, การเบิกจ่ายยา, ราคายา, รวมทั้งสามารถติดตามสถานการณ์ โรคต่าง ๆ และ ส่งต่อข้อมูลระหว่างโรงพยาบาลกับโรงพยาบาลได้อีกด้วย ...รศ.นพ.อาทิตย์ ระบุ ขณะที่ นพ.ฆนัท เสริมว่า... การจัดประชุม “เมดิคัล ดาต้า สแตนดาร์ดส์ เอ็กซ์โปร์” ครั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในเว็บไซต์ http://cvmc.mahidol.ac.th/mds/ หรือติดต่อสอบถามที่ โทร. 0-2201-2211 ต่อ 237 ซึ่งนี่เป็นการประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมด้าน บุคลากรและการวิจัยในการรองรับยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารทางสุขภาพของประเทศ โดยเฉพาะด้านการกำหนดมาตรฐานและการกำหนดข้อมูลใช้ประโยชน์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยและ รวมถึงการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชน ที่ผ่านมาในอดีต การรักษาผู้ป่วยมีปัญหาอันเนื่องจากระบบเกิดขึ้นหลายรูปแบบที่ทำให้ ผู้ป่วยเกิดอาการเบื่อแพทย์ เบื่อโรงพยาบาล เช่น การที่ผู้ป่วยต้องเสียเวลาเกือบทั้งวันในการเข้าพบแพทย์ตามโรงพยาบาล หรือ การฟ้องร้อง ซึ่งการพัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพจะช่วยได้ “จะช่วยให้การสืบค้นข้อมูลของผู้ป่วยทำได้สะดวกรวด เร็ว และช่วยให้แพทย์เข้าถึงข้อมูล ได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งสามารถส่งต่อข้อมูลไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือ ส่งต่อไปยัง กระทรวงสาธารณสุข เพื่อการกำหนดนโยบายสาธารณสุขของประเทศได้ อย่างมีประสิทธิภาพ” ...นพ.ฆนัท ระบุ ทั้งนี้ การประชุมเกี่ยวกับ “ระบบสารสนเทศทางการแพทย์” ดังกล่าวนี้ ถือว่า สอดคล้องโดยตรงกับ แผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนระบบพัฒนา ข้อมูลข่าวสารสุขภาพที่ ครม.มีมติเมื่อ20 ก.ค.ที่ผ่านมา นี่เป็น “เรื่องไม่วุ่นเกี่ยวกับแพทย์” ที่น่าติดตามผล!!. emo4:)) emo4:)) emo4:)) XXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXX เครือข่ายกระทรวงสาธารณสุข Virtual Private Network:VPN ใกล้จะมีจริงแล้ว ทำให้รักษาได้ที่ ร.พ.ทุกแห่งที่ เป็นสมาชิกเครือข่ายสาธารณสุข VPN โดยประชาชนจะ ใช้บัตรประชาชน สมาร์ทการ์ด เข้าตรวจได้ทุกที่ในประเทศไทย ใช้สิทธิฟรีรักษาได้ แพทย์ที่ทำการรักษาจะล็อคอินเข้าไปใน ร.พ.ที่คนไข้เคยรักษาได้ ทำให้รักษาต่อเนื่องได้ทันที emo28:win: emo28:win: emo28:win: |