หัวข้อ: แนะนำ ThaiStem Magazine โดย เครือข่ายผู้สนใจงานด้านเซลล์ต้นกำเนิด เริ่มหัวข้อโดย: weerapong_rx ที่ 06 เมษายน 2553, 21:20:09 สวัสดีครับพี่ๆ น้องๆ ชาวซีมะโด่ง วันนี้ผมมาแนะนำเครือข่ายผู้สนใจงานด้านเซลล์ต้นกำเนิดที่เพื่อนๆ และตัวผมเองร่วมกันจัดตั้งขึ้นมาครับ
ตอนนี้เรามีนิตยสาร ThaiStem Magazine ฉบับที่ 3, ประจำเดือน เมษายน 2553 ท่านใดที่สนใจเรื่องราวเกี่ยวกับเซลล์ต้นกำเนิดขอเชิญเข้าไปร่วมกิจกรรมกับเครือข่ายฯ นะครับ เครือข่ายผู้สนใจงานด้านเซลล์ต้นกำเนิดมีเว็บไซต์อย่างเป็นทางการที่ http://thscn.tkc.go.th/ และกลุ่มในเฟสบุค Thai Stem Cell Network @ http://www.facebook.com/group.php?gid=108416215844353#!/group.php?gid=192222529644 (http://img87.imageshack.us/img87/8368/4thcover.jpg) -สมาชิกสามารถอ่านเนื้อหาในฉบับนี้และฉบับย้อนหลังได้ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ http://thscn.tkc.go.th/directory.asp?pageid=Mw&directory=MTY4&parent=MA&lv=MA&lang=MQ (หากลิงค์ย่อยด้านล่างไม่ทำงาน กรุณาคลิกที่ลิงค์ข้างบนนี้นะครับ) -แนะนำบริการหรือแจ้งปัญหากรุณาติดต่อ weerapong.rx@hotmail.com ท่านสามารถดาวน์โหลดนิตยสาร ThaiStem Magazine ฉบับที่ 3, ประจำเดือน เมษายน 2553 ฉบับสมบูรณ์ทั้งเล่ม http://thscn.tkc.go.th/media/4 THSCN magazine/finalized ThaiStem 30032010.pdf หรือแยกเป็นคมลัมน์ย่อยๆ ด้านล่างนี้ครับ สารจากกองบรรณาธิการ http://thscn.tkc.go.th/media/4 THSCN magazine/สารจากกองบรรณาธิการ.pdf งานวิจัยเกี่ยวกับเซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนมนุษย์ ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตอน “กว่าจะมาเป็นเซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนมนุษย์สายพันธุ์ไทย” http://thscn.tkc.go.th/media/4 THSCN magazine/P OOOn 30032010.pdf THSCN Featured Scientist: ผศ.ดร.รังสรรค์ พาลพ่าย จากนักโคลนนิ่งมืออาชีพกับทิศทางงานวิจัยเซลล์ต้นกำเนิดของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี http://thscn.tkc.go.th/media/4 THSCN magazine/Dr Rungsan 30032010.pdf โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์งานประชุมเซลล์ต้นกำเนิด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี http://thscn.tkc.go.th/media/4 THSCN magazine/stem_cell_workshop_poster.pdf The International Stem Cell Initiative (ISCI): หน่วยงานความร่วมมือระดับนานาชาติเพื่อยกระดับมาตรฐานงานวิจัยเซลล์ต้นกำเนิดพลูริโพเทนต์มนุษย์ http://thscn.tkc.go.th/media/4 THSCN magazine/BAS3 24032010.pdf เซลล์ต้นกำเนิดกับสังคม: ตอน ขมุกขมัว (อันนี้ผมเขียนเอง) http://thscn.tkc.go.th/media/4 THSCN magazine/68354_WP 30032010.pdf เซลล์ต้นกำเนิดกับแนวทางในการรักษาการสูญเสียการได้ยิน ตอนที่ 1: ชีววิทยาของระบบการได้ยินและเซลล์ต้นกำเนิด http://thscn.tkc.go.th/media/4 THSCN magazine/P Glod 23032010.pdf เทคโนโลยีอิเล็กโตรสเปรย์กับงานวิจัยวิศวกรรมเนื้อเยื่อและเซลล์ต้นกำเนิด http://thscn.tkc.go.th/media/4 THSCN magazine/Pum 23032010.pdf CU Stem Cell 2nd Annual meeting งานประชุมเซลล์ต้นกำเนิดประจำปีแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย http://thscn.tkc.go.th/media/4 THSCN magazine/P Yim and Pong 30032010.pdf THSCN Profile: ดร. หทัยทิพย์ ศรีธนอุดมชัย นักวิจัยเซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนไพรเมทมืออาชีพ. http://thscn.tkc.go.th/media/4 THSCN magazine/p NUCH 242010.pdf THSCN Society http://thscn.tkc.go.th/media/4 THSCN magazine/THSCN society 29032010.pdf Scholarships & Meetings http://thscn.tkc.go.th/media/4 THSCN magazine/scholarship meeting 29032010.pdf ThaiStem Gallery http://thscn.tkc.go.th/media/4 THSCN magazine/image volum 3.pdf แนะนำวารสารออนไลน์ Thai Bioinformatics http://thscn.tkc.go.th/media/4 THSCN magazine/last page 30032010.pdf เครือข่ายผู้สนใจงานด้านเซลล์ต้นกำเนิดมีเว็บไซต์อย่างเป็นทางการที่ http://thscn.tkc.go.th/ และกลุ่มในเฟสบุค http://www.facebook.com/group.php?gid=108416215844353#!/group.php?gid=192222529644 ถ้าท่านมีอะไรจะเสนอแนะ ก็โพสข้อความได้ที่บอร์ดนี้เลยนะครับ ผมจะได้รวบรวมไปแจ้งคณะทำงานเพื่อปรับปรุงต่อไปครับ ขอบคุณมากครับ พงษ์ RCU 73 หัวข้อ: Re: แนะนำ ThaiStem Magazine โดย เครือข่ายผู้สนใจงานด้านเซลล์ต้นกำเนิด เริ่มหัวข้อโดย: Samrotri2517 ที่ 20 กรกฎาคม 2553, 19:57:43 ขอขอบคุณเวบเดลินิวส์ วันอังคาร ที่ 20 กรกฎาคม 2553 ที่สนับสนุนเนื้อหาข่าว http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=486&contentId=79108 (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l5uwji-3bc080.jpg) ไทยก้าวหน้าพัฒนา 'สเต็มเซลล์' เปลี่ยนไขมันเป็นตัวอ่อนได้สำเร็จ! หากเอ่ยถึง “สเต็มเซลล์” คนไทยรู้จักกันดี แต่ถ้าถามถึงความเข้าใจอย่างลึกซึ้งและการนำไปใช้ ประโยชน์ในการรักษาหลายคนยังคงส่ายหน้า เนื่องจากการรักษายังไม่ขยายวงกว้างไปสู่ประชาชนเท่าที่ควร แต่ยังคงเป็นงานวิจัยที่เป็น ความหวังของแพทย์ที่จะนำไปศึกษาค้นคว้าเพื่อนำมารักษา ผู้ป่วยให้ได้ประโยชน์อย่างสูงสุด นพ.กฤษณพงศ์ มโนธรรม แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคไตและเซลล์วิทยาโรงพยาบาลเลิดสินให้ความรู้ว่า สเต็มเซลล์ (Stem Cell) หรือเซลล์ต้นกำเนิดที่เรารู้จักกันและพูดถึงกันมากคือ เซลล์ตัวอ่อนที่มี คุณสมบัติพิเศษ มีความสามารถในการแบ่งเซลล์ขึ้นมาใหม่ได้เองและยังมีความสามารถในการ เจริญเติบโตและพัฒนาไปเป็นเซลล์อวัยวะต่าง ๆ ได้ โดยเราสามารถจำแนกสเต็มเซลล์ ได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ 1.“เอ็มบริโอนิคสเต็มเซลล์” (Embryonic stem cells) คือ เซลล์ที่ได้จาก การปฏิสนธิจัดเป็นเซลล์ ต้นกำเนิดที่มีศักยภาพสูงสุด เนื่องจากเราทุกคนเวลาเกิดมาจะเกิดมาจากเซลล์ ๆ เดียว โดยใช้ เซลล์ไข่จากมารดาและสเปิร์มที่มาจากบิดา นับเป็น 1 เซลล์ 2.“โซมาติกสเต็มเซลล์” (somatic stem cells) เป็นเซลล์ต้นกำเนิดที่ได้จากเซลล์เนื้อเยื่อที่โตเต็ม วัยแล้ว เป็นเซลล์ ที่มีความสามารถในการเจริญเติบโตและพัฒนาไปเป็นเซลล์อวัยวะต่าง ๆได้เช่นกัน แต่เมื่อเปรียบเทียบกับเอ็มบริโอนิคสเต็มเซลล์แล้วพบว่าโซมาติก สเต็มเซลล์ มีความสามารถใน การแบ่งตัวเป็นเซลล์อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้น้อยกว่ามาก จึงเป็นโจทย์ให้นัก วิทยาศาสตร์ทั่วโลกคิดค้นการทำสเต็มเซลล์ที่มีคุณสมบัติเหมือนกับ เอ็มบริโอนิคสเต็มเซลล์ แต่ต้องไม่ทำลายชีวิตตัวอ่อน และเริ่มมีการแข่งขันกันขึ้น จนกระทั่ง ในปี พ.ศ. 2549 คณะวิจัยจากประเทศญี่ปุ่นประสบความสำเร็จในการรีโปรแกรมเซลล์ ปกติของ ร่างกายให้ย้อนกลับไปเป็นเอ็มบริโอนิค สเต็มเซลล์ได้ โดยการใส่ยีนสำคัญ 4 ชนิดเข้าพร้อมกัน ได้แก่ Klf4, oct4, Sox2 และ C-Myc และเรียกเซลล์ใหม่นี้ว่า iPS (induced Pluripotent Stem cells) มีคุณสมบัติเหมือน เอ็มบริโอนิคสเต็มเซลล์ทุกประการแต่ไม่ต้องทำลายชีวิต จึงไม่มีข้อจำกัดทางศีลธรรมในการนำไปใช้ ยิ่งกว่านั้นเซลล์ iPS ยังสร้างมาจากเซลล์ใด ๆ ก็ได้จากร่างกายผู้รับเองจึงไม่มีปัญหาการเข้ากัน ของเนื้อเยื่อเนื่องจากเป็นเซลล์ของตนเอง เช่น เซลล์ไขมัน เซลล์รากฟัน และรกเด็ก emo4:)) emo4:)) emo4:)) สำหรับประเทศไทยเราเอง ทีมนักวิจัยจากโรงพยาบาลเลิดสิน ภายใต้การผลักดันของ นพ.อนันต์เสรฐภักดี ผู้อำนวยการ และอธิบดีกรมการแพทย์ นพ.เรวัต วิศรุตเวช สามารถวิจัยได้ เมื่อปี ค.ศ. 2009 โดยสามารถสร้างเซลล์นี้ได้ทั้งจากเซลล์รากฟันและเซลล์ไขมันของอาสาสมัคร ภายใน 7 เดือนที่ผ่านมาทีมวิจัยสามารถสร้างเซลล์ iPS ได้มากกว่า 1,000 โคโลนี รวมถึงทดลอง ซ้ำกว่า 80 รอบ ผลสำเร็จที่คงที่สม่ำเสมอเป็นที่น่าพอใจ และ iPS ที่ได้ผ่านการทดสอบขั้นสูงสุด โดยสามารถพัฒนาไปเป็นเนื้อเยื่อมนุษย์ทุกชนิดได้ ความสำเร็จในขั้นนี้จะเป็นแรงผลักดันให้ประเทศไทยก้าวกระโดดเข้าสู่งานวิจัยสเต็มเซลล์ระดับโลก และ มีสเต็มเซลล์ศักยภาพสูงที่จำเพาะต่อผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถนำความสำเร็จนี้ ไปต่อยอดแก้ไขโรคทางพันธุกรรมได้หลายชนิด เช่น โรคถุงน้ำในไต โรคธาลัสซีเมีย โรคกล้ามเนื้อ อ่อนแรง หรือโรคพาร์กินสัน รวมถึงทำการรีโปรแกรม เซลล์เพื่อกลับไปซ่อมแซมอวัยวะต่าง ๆ เช่น ตับ หัวใจ และไต เป็นต้น นอกจากนี้ยัง มีความหวังว่าจะสามารถรักษาโรคเอดส์หรือโรคที่เราไม่มี ทางรักษาให้หายได้ ซึ่งจะนำไปสู่หนทางใหม่ของการแพทย์ในอนาคต อันใกล้นี้. ทีมวาไรตี้ emo26:D emo26:D emo26:D |