Cmadong Chula

เรือนรับแขก เมาท์แหลกไม่เลือกรุ่น => ห้องธรรมะ...สาธุ.... => ข้อความที่เริ่มโดย: Samrotri2517 ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2553, 10:11:21



หัวข้อ: มูลนิธิ ปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ทำดีไม่หวังสิ่งตอบแทน
เริ่มหัวข้อโดย: Samrotri2517 ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2553, 10:11:21

เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ยัน แนวคิดพ่อหลวงแก้ไขปัญหาบ้านเมืองได้จริง
หลังตามเสด็จกว่า 30 ปี เสียดายหากคนไทยไม่รู้คุณค่า

         มูลนิธิ ปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ร่วมกับสมาคมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

         จัดงานมหกรรม 3 พลังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอิทธิพล สืบสานแนวพระราชดำริ ระหว่างวันที่ 26 ก.พ. - 1 มี.ค. ที่ สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี โดยจะมี

                  (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/kyj78w-caf2b3.jpg)

          สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานเปิดงาน ในเวลา 18.30 น. ด้านดร. สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา กล่าวว่า

         จากการตามเสด็จทรงงานตลอด 30 ปี ยืนยันว่า พระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงแก้ปัญหาให้กับประเทศให้อย่างได้ผล แต่เป็นเรื่องที่น่าเสียดาย หากประชาชนไม่เห็นคุณค่า

         ดังนั้น โครงการปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ จะทำให้ประชาชนได้เข้าถึงเรียนรู้ และนำไปใช้ได้จริง

         แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกิดจากการบังคับ โดยต้องมาจากการเต็มใจเพราะเมื่อเต็มใจ ก็จะทำงานออกมาอย่างดี และมีความสุข ประโยชน์ก็เกิดกับตัวเอง และกับประเทศชาติ ซึ่งประโยชน์สุขที่ยั่งยืนของประชาชนนั้น ทำให้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระสำราญ ดังนั้น ประชาชนที่สนใจ ก็สามารถเข้าร่วมงานนี้ได้

          emo4:)) emo4:)) emo4:))

http://news.sanook.com/%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87-%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%871-904842.html (http://news.sanook.com/%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87-%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%871-904842.html)

         emo6::)) emo6::)) emo6::))

ความเป็นมา  ของโครงการปิดทองหลังพระ

         ในปีมหามงคลพุทธศักราช 2550 ประธานคณะกรรมการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. ได้เชิญองค์กรต่างๆ อาทิ

         การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมดำเนิน

         “โครงการเปิดทองหลังพระ”

                  (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/kyj75x-24621e.jpg)

         เพื่อเฉลิมฉลองพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเจริญพระชนมายุครบ 80 พรรษา โดย

         รณรงค์ให้เกิดการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ในโครงการพระราชดำริ 19 แห่ง คัดเลือกมาจากที่ตั้งในเส้นทางการท่องเที่ยวเป็นสำคัญ

         โดยตั้งเป้าหมายให้มีการไปท่องเที่ยวในโครงการฯ ไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านคน ซึ่งปรากฏว่า มีชาวไทยและชาวต่างประเทศไปท่องเที่ยวใน 19 โครงการเกินเป้าหมาย โดยมีจำนวนกว่า 2 ล้านคน

          สืบเนื่องจากผลของโครงการเปิดทองหลังพระในปี 2550 สสปน. จึงได้หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเห็นพ้องกันว่า

         ควรขยายระยะเวลาการดำเนินโครงการเปิดทองหลังพระต่อไป โดยขยายขอบเขตวัตถุประสงค์ของโครงการเปิดทองหลังพระให้ครอบคลุมตัวกิจกรรมส่งเสริมด้านความรู้และการพัฒนาเพื่อให้ประชาชนและชุมชนนำแนวพระราชดำริไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ทั้งในด้านการแก้ปัญหาและการพัฒนาต่อทั่วประเทศ

         ต่อมาเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2550 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้ขยายระยะเวลาดำเนินการโครงการถึงปี 2554 พร้อมอนุมัติงบประมาณสนับสนุนปีละ 220 ล้านบาท รวมทั้งแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการโครงการฯ ซึ่งประกอบด้วย

         ผู้แทนจากโครงการพระราชดำริต่างๆ และหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง โดยมี ศ.น.พ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี เป็นประธานกรรมการอำนวยการ และได้มีการปรับเปลี่ยนองค์ประกอบของคณะกรรมการอำนวยการโครงการเปิดทองหลังพระโดยมีจำนวนคณะกรรมการรวมทั้งสิ้น 43 คน เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2551 และ คณะกรรมการอำนวยการฯ ได้มีมติการประชุมครั้งที่ 1/2551  เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2552

         ปรับเปลี่ยนชื่อโครงการจาก

“โครงการเปิดทองหลังพระ” เป็น “โครงการปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ”

       มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน  2552 เห็นชอบตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอจัดตั้งมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ และ สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ

        โดยให้มีสถานะเป็นหน่วยงานที่ใช้อำนาจรัฐหรือเป็นกลไกรัฐแต่ไม่เป็นองค์กรของรัฐ และ ให้สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) โอนทรัพย์สินและงบประมาณโครงการปิดทองหลังพระฯ ให้แก่มูลนิธิฯ และสถาบันฯ ในจำนวนเงินที่คงเหลืออยู่ที่ สสปน. ณ วันที่จดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิฯ ทั้งนี้ให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีรับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการต่อไป

 http://www.pidthong.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=539069037&Ntype=16 (http://www.pidthong.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=539069037&Ntype=16)

         นำข่าวมาเชิญชวน มาร่วมปิดทองหลังพระกัน คนส่วนใหญ่ จะปิดทองหน้าพระ ส่วนหลังพระ จะไม่มีใครปิด องค์พระ จึงไม่งามทั้งองค์

         ปิดทองหลังพระ ทำความดี ไ่ม่หวังผลตอบแทน แต่ทำแล้วสุขใจที่ได้ทำดีครับพวกเรา

         emo43 emo43 emo43

 


หัวข้อ: "การปิดทองหลังพระ น่าจะเป็นการปฏิบัติธรรมแบบใด"
เริ่มหัวข้อโดย: Samrotri2517 ที่ 09 มีนาคม 2553, 20:50:02

                  การปฏิบัติธรรมที่ให้ผลต่างกัน

                         (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/kz0p2k-b0de99.jpg)

         พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี ได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลาย ถึงการปฏิบัติธรรมะ ที่ได้รับผลต่างกัน ทั้งในปัจจุบันและอนาคต พอสรุปใจความได้ว่า

๑. การปฏิบัติธรรม มีสุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นผลต่อไป คือ

ผู้ที่ไม่เห็นโทษของกาม ย่อมดื่มด่ำในกาม เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงนรก ได้รับทุกข์เผ็ดร้อนสาหัส

๒. การปฏิบัติธรรม มีทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นผลต่อไป คือ

ผู้ที่ประพฤติตนทรมานกายด้วยประการต่าง ๆ อย่างพวกเดียรถีย์ เป็นต้น เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงนรก ได้รับทุกข์เผ็ดร้อนสาหัส

๓. การปฏิบัติธรรม มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นผลต่อไป คือ

ผู้ที่มีราคะแรงกล้า มีโทสะแรงกล้า มีโมหะแรงกล้า แต่ต้องอดกลั้นอดทนเมื่อกระทบกับความทุกข์นั้น ต้องร้องไห้ น้ำตานองหน้า แต่รักษาศีลรักษาพรหมจรรย์ไว้ได้ อย่างบริสุทธิ์บริบูรณ์ เมื่อตายไปย่อมไปสู่สุคติ โลก สวรรค์

๔ การปฏิบัติธรรม มีสุขในปัจจุบันและมีสุขเป็นผลต่อไป คือ

ผู้ที่มีราคะไม่แรงกล้า มีโทสะไม่แรงกล้า มีโมหะไม่แรงกล้า ไม่ต้องได้รับทุกข์เวทนาในการประพฤติธรรม การปฏิบัติธรรม ก็ก้าวหน้าโดยลำดับ เมื่อตายไปย่อมไปสู่สุคติ โลก สวรรค์.

         จูฬธรรมสมาทานสูตร

         พระสูตรนี้ เป็นหลักฐานแสดงว่า การปฏิบัติธรรมของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับผลกรรม ทั้งในอดีตและปัจจุบัน หรือที่เรียกว่า "บารมี” ที่อบรมบ่มนิสัยมาไม่เท่ากัน แต่จุดหมายปลายทางของผู้ปฏิบัติ ที่ได้รับผลแล้วก็ย่อมเท่ากัน คือละกิเลสตัณหาได้ พ้นทุกข์ได้เท่ากัน

         ดังนั้น ผู้ปฏิบัติจึงไม่ควรท้อถอย ไม่ควรเปรียบเทียบกับคนที่เขามีบารมีสูงกว่า ถ้าจะเปรียบเทียบ ก็ควรจะเปรียบเทียบกับคนที่มีบารมีต่ำกว่าเรา แต่เขาสามารถเอาชนะอุปสรรค หรือสิ่งชั่วร้ายจนปลอดภัยมาได้

         เมื่อเราได้ยินหรือได้เห็นแล้ว ก็จะเกิดกำลังใจ ในการทำความดียิ่ง ๆ ขึ้นไป เพราะนอกจากเราจะเกิดกำลังใจที่เข้มแข็งแล้ว การทำดีของเรายังจะเป็นแบบอย่างที่ดีแก่อนุชนอีกด้วย.

พระไตรปิฏกฉบับ ดับทุกข์
โดย ธรรมรักษา
ที่มา : http://www.wadcherngpa.com (http://www.wadcherngpa.com)

นำมาจาก
 
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=anotherside&month=02-2010&date=22&group=1&gblog=301 (http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=anotherside&month=02-2010&date=22&group=1&gblog=301)

          emo6::)) emo6::)) emo6::))

         การปิดทองหลังพระ ผมว่าน่าจะเป็นได้ ๒ แบบ คือ

๓. การปฏิบัติธรรม มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นผลต่อไป คือ

ผู้ที่มีราคะแรงกล้า มีโทสะแรงกล้า มีโมหะแรงกล้า แต่ต้องอดกลั้นอดทนเมื่อกระทบกับความทุกข์นั้น ต้องร้องไห้ น้ำตานองหน้า แต่รักษาศีลรักษาพรหมจรรย์ไว้ได้ อย่างบริสุทธิ์บริบูรณ์ เมื่อตายไปย่อมไปสู่สุคติ โลก สวรรค์

๔ การปฏิบัติธรรม มีสุขในปัจจุบันและมีสุขเป็นผลต่อไป คือ

ผู้ที่มีราคะไม่แรงกล้า มีโทสะไม่แรงกล้า มีโมหะไม่แรงกล้า ไม่ต้องได้รับทุกข์เวทนาในการประพฤติธรรม การปฏิบัติธรรม ก็ก้าวหน้าโดยลำดับ เมื่อตายไปย่อมไปสู่สุคติ โลก สวรรค์.

         จะเป็นแบบ ๓ หรือ แบบ ๔ ขึ้นกับ กิเลส ของแต่ละคน ถ้ามีมาก ก็เป็นแบบ ๓ ถ้ามีน้อย ก็เป็นแบบ ๔ แต่ผลเหมือนกันสุดท้ายที่ปฏิบัติธรรม คือ มีความสุข จากการทำดี เช่นกัน

          (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/kz0p0n-c28d01.gif)