Cmadong Chula

เรือนรับแขก เมาท์แหลกไม่เลือกรุ่น => ห้องสุขภาพและความงาม => ข้อความที่เริ่มโดย: Samrotri2517 ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2553, 11:13:20



หัวข้อ: "ค่ารักษาเพิ่มขึ้นทุกปี ผู้ไม่ทำหน้าที่ดูแลสุขภาพ สิทธิฟรีควรร่วมจ่ายบ้างดีไหม"
เริ่มหัวข้อโดย: Samrotri2517 ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2553, 11:13:20
            (http://img195.imageshack.us/img195/3148/doctoronit.jpg)
         สุดยอดของการเป็นหมอ คือ การไม่ต้องรักษาคนไข้ครับ  

ไม่จำเป็นต้องใช้มีดผ่าตัด จับชีพจร ฝังเข็มหรือว่าจ่ายยารักษาโรคโดย

ไม่ต้องออกกระบวนท่าใดๆ ก็คือ

         การป้องกันก่อนเกิดโรค นั่นเองที่จะเน้นให้เห็นก็คือ

การรักษาโรคที่เกิดขึ้นโดยไม่เปลี่ยนพฤติกรรมของคนไข้ เป็นการรักษาที่ปลายเหตุ

ต่อให้เป็น   หมอจีนที่พยายามปรับร่างกายแบบองค์รวมก็เถอะ เพราะ

         เมื่อเรารักษาคนไข้จนหายโดยไม่เปลี่ยนพฤติกรรมของคนไข้นั้น

เชื่อได้เลยครับว่าเดี๋ยวเราก็จะได้เจอกันอีก.....................    

                                                               jamsai

         ข้อความข้างบนนำมาจาก

Re: ออยพูลลิ่ง การบำบัดรักษาโรคได้ด้วยวิธีง่ายๆ  ? ? ?

« ตอบ #21 เมื่อ: 30 กันยายน 2552, 20:24:34 »

http://www.cmadong.com/board/index.php?topic=3514.0 (http://www.cmadong.com/board/index.php?topic=3514.0)
  
                 (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l1kvew-a72880.jpg)

ขอยกกระทู้ของ อาจารย์แจ่มใส  ที่่พูดถึง ลี้คิมฮวง

         คนกลัวฤทธิ์มีดสั้น แล้วไม่กล้าทำ

สิ่งที่ ลี้คิมฮวง ห้ามทำ ทำให้สงบไม่ต้องสู้รบกัน  

นำมาใช้ เรื่อง

         การสร้างสุขภาพดีกว่าการซ่อมสุขภาพ ทำให้ไม่ป่วยไข้ดีกว่าป่วย

จะทำให้เกิดการดูแลสุขภาพขึ้นได้ ถ้าปล่อยให้เกิดเอง ไม่มีทางเกิดขึ้นแน่

ต้องใช้ด้านที่สาม ของสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา มาเสริมให้เกิดขึ้นด้วยการ

ออกกฏกระทรวงสาธารณสุข ให้คนที่ไม่ทำหน้าที่ดูแลสุขภาพ ตาม

สุขบัญญัติ 10 ของกรมอนามัย http://www.thaigoodview.com/node/1946 (http://www.thaigoodview.com/node/1946)

โดยใช้เกณฑ์ตัดสินที่จะร่วมกันเสนอของประชาชนเอง ว่าอย่างไรถือว่า

ไม่ดูแลสุขภาพ ต้องเสียสิทธิ์การรักษาฟรี ต้องร่วมจ่ายค่ารักษาด้วยบางส่วน

                    (http://img100.imageshack.us/img100/927/23986862.jpg)

        ถ้าเห็นด้วยว่าการป้องกันดีกว่าการรักษา พวกเราประชาชนผู้ใช้สิทธิเลือก ส.ส.

เข้าไปออกกฏหมาย ในสภาผู้แทนราษฏร และ เป็นรัฐบาล บริหารประเทศ

ต้องนำเรียนเสนอ พณฯ ท่าน ร.ม.ต.สาธารณสุข จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์

ให้ออกกฏกระทรวงด้านสาธารณสุข ให้ผู้ที่ไม่ทำหน้าที่พลเมืองดีด้านสุขภาพ

เช่น น้ำหนักเกินมาตรฐาน สูบบุหรี่  ป่วยบ่อย เกินค่ามาตรฐาน ที่คนดูแลสุขภาพป่วยกัน

เช่น พบว่า ถึงดูแลสุขภาพแล้ว จะยังป่วยด้วยโรคกระเพาะได้ แต่ไม่เกิน 3 ครั้งต่อปี

ถ้าใครป่วยด้วยโรคกระเพาะ เป็นครั้งที่ 4 จะต้องเสียสิทธิรักษาพยาบาลฟรี

ต้องร่วมจ่ายค่ารักษาเองบ้างเป็นบางส่วนด้วย  

         อาจจะกำหนดให้เสีย 20 % ของค่ารักษาเหมือนประเทศอเมริกา ที่ใช้แล้ว

ตามที่ ศาสตราจารย์ น.พ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแำพทยสภา  ไปเห็นมา ที่

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=06-2007&date=24&group=1&gblog=11 (http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samrotri&month=06-2007&date=24&group=1&gblog=11)

นำมาเสนอ พวกเราให้จุดประเด็นให้ประชาชนเห็นตามว่า

         การออกกฏหมายให้คนไม่ทำหน้าที่พลเมืองดีด้านสุขภาพใช้สิทธิรักษาฟรีไม่ได้

ทั้งหมด ต้องร่วมจ่ายบ้างบางส่วน จะได้ดูแลสุขภาพกันขึ้น เพราะ ไม่อยากเสียเงิน

          แต่ถ้าไม่มีจ่าย ให้สิทธิแพทย์เซ็นต์ ไม่มีเงินได้ จะทำให้คนที่พอมีเงินจ่าย

ยอมจ่าย 20% ของค่ายา ไม่ยอมเสียหน้าได้

          ผลทำให้สุขภาพประชาชน แข็งแรงขึ้น คนป่วยน้อยลง มีเงินเพิมจากร่วมจ่าย

20% งบค่ารักษาพยาบาลที่รัฐจัดให้ ซึ่งมาจากการเก็บภาษี ที่พวกเราต้องจ่าย

ที่พบว่ามีสถิติค่ารักษาเพิ่มขึ้นประมาณ 20%ทุกปี จะหยุดเพิ่ม หรือ อาจเหลือ

                  (http://img200.imageshack.us/img200/2990/images2pb.jpg)

         นำมาตรวจสุขภาพ ให้พวกเรา ประชาชนผู้เสียภาษี ได้ฟรีปีละครั้ง

เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดโรค ถ้าตรวจประจำปี พบผิดปรกติ

จะได้รีบแก้ไข ไม่ให้ป่วย ลดความพิการ หรือ เสียชีวิตลงได้

         สิ่งที่จะได้เพิ่มคือ เป็นการแสดงให้เห็นว่า สิทธิ และ หน้าที่ต้องคู่กัน

เมื่อได้สิทธิ ต้อง ทำหน้าที่ดูแลสุขภาพของตนเอง เพื่อให้ได้สิทธิรักษาฟรี และ

ทำให้ตัวชี้วัดสุขภาพดีถ้วนหน้าตัวที่ 3 ประชาชนมีส่วนร่วมในการมีสุขภาพดี สำเร็จด้วย

                emo26:D emo26:D emo26:D



หัวข้อ: Re: "ค่ารักษาเพิ่มขึ้นทุกปี ผู้ไม่ทำหน้าที่ดูแลสุขภาพ สิทธิฟรีควรร่วมจ่ายบ้างดีไหม"
เริ่มหัวข้อโดย: Samrotri2517 ที่ 28 เมษายน 2553, 15:14:23

             เร่งยกเครื่องระบบยาหลังคนไทยใช้ยาเกินจำเป็น

                               (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l1kuoe-8fb66d.jpg)

            สำนักงานหลักประกันสุขภาพฯ เผยค่าใช้จ่ายด้านยาในประเทศไทยเพิ่มขึ้นทุกปี สะท้อนใช้ยาเกิความจำเป็น อาจเป็นภาระการคลังในอนาคต กำหนดยุทธศาสตร์ 5 ประเด็นในการจัดการยา...

                              (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l1kurb-c70394.jpg)

            นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)  เปิดเผยถึงสถานการณ์ค่าใช้จ่ายด้านยาในประเทศไทย ว่า มีอัตราเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเป็นไปในทิศทางที่ขัดแย้งกับขนาดของตลาดยาในระดับนานาชาติ ที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 ในปี 2543 เป็นเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 6.8 ในปี 2548 สะท้อนให้เห็นว่า ประเทศไทยมีการใช้ยาเกินความจำเป็น และจะกลายเป็นภาระในระบบการเงินการคลังสำหรับประเทศไทยในอนาคต

           นพ.วินัยกล่าวต่อว่า สปสช.จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์ด้านยา 5 ประเด็น คือ

1.การเตรียมพัฒนานโยบายการจัดหาและกระจายยา เวชภัณฑ์ และวัคซีนที่จำเป็น ให้กับผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

2.เร่งพัฒนาระบบข้อมูลด้านยาเพื่อเอื้อต่อการนำไปใช้ประโยชน์ ต่อการพัฒนา กำกับและติดตามการใช้ยาอย่างเหมาะสม สนับสนุนการจัดทำข้อมูลค่าใช้จ่ายด้านยา

3. สนับสนุนการประกันคุณภาพยา สนับสนุนการใช้ยาสามัญ และการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล นำร่องก่อนใน 3 โรค คือ ท้องร่วงเฉียบพลัน แผลเลือดออก และโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ

4.สร้างการมีส่วนร่วมของภาคส่วนอื่น ในการมีบทบาทและการเข้าร่วมในการบริหารจัดการระบบยา และ

5.เร่งเสริมสร้างประสิทธิภาพและความเป็นธรรมในการจัดหาและจ่ายชดเชยค่ายา

            โดยในอนาคตจะเพิ่มการสร้างความร่วมมือระหว่าง 3 กองทุน ในการบริหารจัดการด้านยาเพื่อเพิ่มการเข้าถึงยาที่จำเป็นและมีความเท่าเทียมกันทั้ง 3 กองทุนด้วย.

                 ขอขอบคุณ น.ส.พ.ไทยรัฐ วันพุธ ที่ 28 เม.ย. 2553 ที่เอื้อเฟื้อข่าว

                            http://www.thairath.co.th/content/edu/79523 (http://www.thairath.co.th/content/edu/79523)

                                           emo26:D emo26:D emo26:D