หัวข้อ: "การประเมินผล การศึกษาไทย" เริ่มหัวข้อโดย: Samrotri2517 ที่ 18 พฤศจิกายน 2552, 07:49:33 (http://img100.imageshack.us/img100/4402/40327051.jpg) การประเมิน ด้วยข้อสอบปรนัย เลือกข้อถูก เป็นการประเมินความรู้ แต่การประเมินด้วยข้อสอบอัตนัย เป็นการประเมินการจินตนาการ เป็นการฝึกให้สามารถนำ ความรู้ ที่ได้รับรู้ นำมา จินตนาการ เพื่อแก้ปัญหาได้ จินตนาการ สำคัญกว่า ความรู้ (http://img213.imageshack.us/img213/1200/94288639.jpg) นำมาจาก รายการ รู้รักษ์แผ่นดิน โดย วิทยากร พันเอก หลักแก้ว อัมโรสถ ทางช่อง 5 เวลา 5.30 น.วันพุธ ที่่ 18 พ.ย. emo4:)) emo4:)) emo4:)) นำมาบอกพวกเรา เพื่อให้รู้ว่า ควรประเมินการเรียน ด้วยข้อสอบ อัตนัย แทน ปรนัย พวกเราคิดว่าอย่างไรกันบ้าง emo26:D emo26:D emo26:D หัวข้อ: Re: "การประเมินผล การศึกษาไทย" เริ่มหัวข้อโดย: TAE2540 ที่ 18 พฤศจิกายน 2552, 20:49:37 เห็นด้วยครับกับการประเมินการเรียนรุ้ โดยออกข้อสอบอัตนัย
ทุกวันนี้ผมก็ออกข้อสอบแบบอัตนัย เป็นแบบเขียนตอบ อธิบาย วิเคราะห์ อ่านของเด็กๆ แล้วก็มีทั้งสนุกๆ เศร้าๆ กับคำตอบ และการเขียนของเด็กๆ ก็ต้องค่อยๆ ให้เด็กได้ฝึกฝนกันต่อไป แต่การเขียนตอบแบบอัตนัย ก็มีข้อจำกัดในเรื่องของการตรวจ การให้คะแนนครับ คงไม่ต้องอธิบายว่าเป็นข้อจำกัดยังไง ถ้าคนตรวจคนเดียว ก็ดีครับ ถ้าเป็นทีมก็ต้องทำความเข้าใจกันก่อนตรวจ มีเกณฑ์ที่แน่นอน แต่ถ้าเป็นการทดสอบระดับชาติ ยากครับที่จะหาความยุติธรรมกับคำตอบของเด็กได้ ยังไงก็แล้วแต่ ทำได้เท่าที่ทำครับ หัวข้อ: Re: "การประเมินผล การศึกษาไทย" เริ่มหัวข้อโดย: Samrotri2517 ที่ 19 พฤศจิกายน 2552, 06:19:10
ข้อจำกัดในการตรวจข้อสอบอัตนัย นี้ ถ้ากำหนดเกณฑ์การตรวจให้ชัดเจน ให้ตรวจแบบ วิชาเรขาคณิต ที่ต้องอ้างอิง ทฤษฎีบท,สัจพจน์,นิยาม ฯลฯ (http://img214.imageshack.us/img214/2015/images53.jpg) เพื่อพิสูจน์ คำตอบของผู้ตอบ ถ้้าพิสูจน์คำตอบ โดยอ้างอิงความรู้ได้ดี ก่อน ซตพ.(สิ่งซึ่งต้องพิสูจน์) ก็ควรได้คะแนนดีด้วย ไม่จำเป็นต้องเป็นคำตอบ เพียงคำตอบเดียวเท่านั้นที่ได้คะแนน emo43 emo43 emo43 หัวข้อ: Programme for International Student Assessment หรือ PISA ประเมินจินตนาการ เริ่มหัวข้อโดย: Samrotri2517 ที่ 20 พฤศจิกายน 2552, 17:59:03 ระบบคิดเด็กไทย ข่าวสดรายวัน วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 19 ฉบับที่ 6931 เลาะเลียบคลองผดุงฯ ตุลย์ ณ ราชดำเนิน tulacom@gmail.com องค์กรความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือที่เรียกว่า OECD (Organization for Economic Cooperation and Development) เป็นองค์กรหนึ่งที่มีความสำคัญระดับโลก สมาชิกประกอบด้วยประเทศในยุโรปและเอเชียบางประเทศที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาทางเศรษฐกิจ OECD ได้ทำโครงการประเมินผลการจัดศึกษาด้านต่างๆ ของประเทศสมาชิก ภายใต้ชื่อ (http://img81.imageshack.us/img81/9197/fwddercom215949653sunda.jpg) โครงการ Programme for International Student Assessment หรือ PISA เพื่ออยากรู้ว่า นักเรียนที่จบการศึกษาภาคบังคับของประเทศสมาชิกได้รับการเตรียมพร้อมทั้งความรู้และทักษะที่จำเป็นในการเป็นประชาชนที่มีคุณภาพในอนาคต มากน้อยเพียงใด การประเมินไม่ใช่เอาเนื้อหาในหลักสูตรที่เรียนอยู่มาประเมิน แต่จะดูถึงความสัมพันธ์ของวิชาที่เป็นหัวใจและถือว่าเป็นวิชาตัวแทนของการวางฐานรากชีวิตในอนาคตเด็ก ได้แก่ การอ่าน คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเพิ่มเติมด้านทักษะที่ต้องใช้ในกระบวนการการเรียนรู้ คือการแก้ปัญหานั้น อยู่ในระดับใด (http://img81.imageshack.us/img81/240/wrd0001.jpg) ผลของการศึกษาโครงการนี้ จะชี้วัดได้ว่า ระบบการจัดการศึกษาดีพอที่จะวางพื้นฐานให้แก่ประชาชนในอนาคตเพื่อปรับตัวให้เข้ากับโลกที่เปลี่ยนแปลง และมีจิตสำนึกร่วมสร้างสังคมได้หรือไม่ เพียงใด คำถามส่วนใหญ่เป็นคำถามเปิด จะพิจารณาถึงการใช้เหตุผลของการตอบ คำตอบที่ไม่เหมือนกันอาจได้คะแนนเต็มได้เช่นกัน ถ้าหากเหตุผลที่ให้สอดคล้องหรือให้คำอธิบายได้สมเหตุสมผล นี่คือกรอบความคิดใหม่ของการวัดและประเมินผล ที่ต้องการใช้เป็นตัวบอกประสิทธิภาพของการศึกษา วิธีการเขียนและตรวจข้อสอบ ไม่เหมือนวิธีปฏิบัติอยู่โดยทั่วไป ที่ข้อสอบต้องมีคำตอบเดียว ประเทศไทยแม้จะไม่ได้เป็นสมาชิกของ OECD แต่ก็มีโอกาสได้เข้าร่วมโครงการนี้ และผลการประเมินนักเรียนไทยล่าสุด สรุปออกมาว่า การเขียนตอบหรือให้คำอธิบายยาวๆ ของนักเรียนไทยและสิ่งใดที่ต้องให้ตีความ การคิดวิเคราะห์ และสะท้อนความคิดหรือปฏิกิริยาที่ตอบสนองต่อข้อความที่ได้อ่านนั้น แสดงผล ออกมาได้ไม่ดีนัก สะท้อนถึงการเกาะจิกติดตามประเมินผลการศึกษาที่ สมศ.ทำอยู่เวลานี้ หลงทิศหลงทางไปหรือเปล่า emo4:)) emo4:)) emo4:)) นำข่าวการประเมินผลการศึกษาระดับสากลมาให้พวกเราได้รับรู้ว่า ในระดับสากลนั้นมุ่งเน้นการศึกษาที่จะให้นำความรู้มาใช้ แก้ปัญหาได้ โดยการวัด การจินตนา ด้วยการออกข้่อสอบอัตนัย แทน ปรนัย ที่วัดความรู้เพียงการจำ กาผิดกาถูก ความรู้ข้างต้นนี้ ถือเป็นด้านที่หนึ่งของสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา เพื่อแก้ไขสิ่งยาก ๆ เพื่อให้เกิดการ รวมตัวกัน เป็นวัฒนธรรม ทางการประเมินผลการศึกษา เป็นด้านที่สอง และ กระทรวงศึกษาธิการ กำหนดให้การประเมินผลการเรียนต้องใช้ข้อสอบอัตนัย เป็นหลัก จัดเป็นด้านที่สาม เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง แก้ไขสิ่งยากๆ ่ของ ศ.นพ.ประเวศ วะสี http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObFpIVXdOakl3TVRFMU1nPT0=§ionid=TURNeE5RPT0=&day=TWpBd09TMHhNUzB5TUE9PQ== (http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObFpIVXdOakl3TVRFMU1nPT0=§ionid=TURNeE5RPT0=&day=TWpBd09TMHhNUzB5TUE9PQ==) emo26:D emo26:D emo26:D หัวข้อ: "2552 เส้นทางสู่การปฏิรูป และ คุณภาพ 2553" เริ่มหัวข้อโดย: Samrotri2517 ที่ 13 ธันวาคม 2552, 15:39:26 2552 เส้นทางสู่การปฏิรูปและคุณภาพ 2553 วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11600 มติชนรายวัน (http://img135.imageshack.us/img135/421/wrd000.jpg) โดย สมพงษ์ จิตระดับ สุอังคะวาทิน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ธรรมชาติของพรรคการเมือง รัฐมนตรีในปีแรกของการบริหารงานในกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในระยะแรกกว่าจะปรับตัว เรียนรู้วัฒนธรรมองค์กร ผู้บริหารระดับสูง 5 แท่งต้องใช้เวลาไม่น้อย อย่างไรก็ตาม นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ และนางสาวนริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ คนนอกวงการศึกษาก็สามารถพิสูจน์ตัวเองได้เร็ว ช่วงเวลาสั้นๆ ก็สามารถสร้างผลงานที่ชัดเจน การระดมความคิดเห็นเพื่อเตรียมการเรื่องคุณภาพการศึกษามาถูกทางมากขึ้น รอบคอบตัดสินใจได้ดีในหลายประเด็นปัญหา และ การผลักดันการปฏิรูปการศึกษารอบ 2 เริ่มขยับเขยื้อน เป็นต้น อย่างไรก็ดี ในรอบปี พ.ศ.2552 มีหลายผลงาน เหตุการณ์ปัญหาอุปสรรคที่ควรหยิบมาทบทวน สานต่อ และสร้างรอยต่อเชื่อมโยงปี 2553 ดังต่อไปนี้ 1. ปี พ.ศ.2552 ผลงานที่ดีเด่น เป็นที่ยอมรับและรัฐบาลได้นำไปอ้างตลอดเวลาคือ นโยบายเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพ และ โครงการ TUTOR CHANNEL ที่เปิดโอกาสให้เด็กชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเรียนผ่านโทรทัศน์ NBT กับติวเตอร์ชื่อดัง ครูพี่แนน อาจารย์อุ๊ อาจารย์ปิง และคนอื่นๆ แม้นจะมีเสียงคัดค้านบ้าง ไม่เห็นด้วย แต่ในภาพรวม 80-90% ถือว่าอยู่ในระดับพึงพอใจค่อนข้างมาก นอกจากนั้น มีการเตรียมการเรื่องยกระดับคุณภาพการศึกษาทศวรรษที่ 2 ของการปฏิรูปการศึกษา วาระแห่งชาติด้านการอ่าน โรงเรียน 3 D การกระจายอำนาจการศึกษาลงสู่จังหวัด เขตพื้นที่การศึกษา โรงเรียน ด้วยการอนุมัติแผนการศึกษา 76 จังหวัด โรงเรียน ดี เด่น ดัง ระดับสากล อำเภอ และตำบล มีการกำหนดตัวชี้วัดด้านคุณภาพ 7 ตัวชี้วัด ทั้งผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน เกณฑ์มาตรฐานของ สมศ. เป็นต้น รัฐมนตรีทั้ง 3 ท่าน ยังทุ่มเทกับโจทย์ ปัญหาที่นายกรัฐมนตรีแสดงความเป็นห่วงและต้องการคำตอบที่ชัดเจนจนนำไปสู่การตั้งประเด็นคำถาม 5 ข้อทั้งในเรื่อง การลดเวลาเรียนให้น้อยลง ทำกิจกรรมมากขึ้น การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลางการรับนิสิตนักศึกษา (แอดมิสชั่นส์) ที่จะทำอย่างไรให้เด็กเครียดกดดันน้อยลง ลดการกวดวิชา การส่งเสริมให้ผู้เรียนนิยมเรียนอาชีวะและสายสามัญในสัดส่วน 50 : 50 การส่งเสริมระบบการผลิตครู โดยเน้นคนดีคนเก่งมาเรียนครูมากขึ้น มาตรฐานของข้อสอบวัดความถนัดทั่วไป (GAT) และวัดความถนัดทางวิชาชีพ/วิชาการ (PAT) เป็นต้น โจทย์ 5 ข้อ มีการระดมความคิดเห็นอย่างกว้างขวางและเป็นเสมือนพิมพ์เขียวของการดำเนินงานรอยต่อของปีการศึกษา 2553 และปีต่อๆ ไป กล่าวได้ว่า ในปี พ.ศ.2552 ศธ.ลดความกดดันลงไปมาก การเมืองฝ่ายค้านเข้ามาแตะต้อง ยุ่มย่าม ตรวจสอบไม่มากนัก รัฐมนตรี 3 ท่านมีเวลาทำงานเต็มที่ นักวิชาการเอาใจช่วยให้ฟันฝ่าแก้ปัญหาทางการศึกษาให้ได้ การดำเนินงานในรอบปี 2552 จึงถือได้ว่าสอบผ่านระดับดี สร้างผลงานดีกว่ากระทรวงอื่นๆ และรัฐมนตรีก็ไม่มีปัญหามากนักในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม คอร์รัปชั่น ไม่โปร่งใส การปรับคณะรัฐมนตรีที่กำลังจะเกิดขึ้นจึงไม่จำเป็นสำหรับกระทรวงนี้ 2. ในเวลาเดียวกัน ปัญหาใหญ่ อุปสรรคที่สื่อมวลชนนำมาตีแผ่อย่างยาวนาน แต่ไม่ได้รับความร่วมมือและการแก้ไขมากเท่าที่ควร อันดับแรกคือ โครงการให้สมาชิก ช.พ.ค.กู้เงินโครงการ 5 ของคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ที่มีผลสรุปออกมาชัดเจนถึงผู้กระทำผิดและผู้เกี่ยวข้อง แต่โยนกลับไปกลับมาจนในขณะนี้แทบไม่มีอะไรคืบหน้า อันดับสองคือ เรื่อง แอดมิสชั่นส์กลาง GAT และ PAT และระบบรับตรง โจทย์ข้อนี้นายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญต่อคอขวดการศึกษาไทยทั้งระบบ ในข้อเท็จจริงคือ ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเลย ปัญหาอื่นๆ ยังมีอีกหลายด้าน เช่น การวิ่งเต้นซื้อขายตำแหน่งระดับสูง ระดับผู้อำนวยการเขตพื้นที่ฯ ผู้แทนครูในคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) การจ่ายเงินตอบแทนผู้อ่านเพื่อขอเป็นครูผู้ชำนาญการ การปล่อยให้มีการหาผลประโยชน์ "ครูกินครู" ในปี พ.ศ.2553 ข่าวคราวเรื่องการทุจริตในโครงการไทยเข้มแข็งจะเป็นข่าวใหญ่และต้องระมัดระวังเป็นที่สุด 3. การปฏิรูปการศึกษารอบแรกที่ผ่านมาในยุคผูกขาดโดยกลุ่มบุคคลได้ทิ้งร่องรอยผลงาน ความเสียหายและความล้มเหลวไว้มากมาย นับแต่ ออกแบบเชิงโครงสร้าง ระบบวัฒนธรรมองค์กรมาจากทฤษฎีตะวันตกแทบทั้งสิ้น ใหญ่โตเทอะทะอุ้ยอ้าย รวมศูนย์ใช้ทรัพยากร งบประมาณสูงมากแต่เชิงคุณภาพ ผลสัมฤทธิ์ที่ตกกับผู้เรียนต่ำลงทุกปี การเพิ่มเงินเดือน ค่าวิทยฐานะครู ทำให้ครูมุ่งทำเอกสาร งานวิจัย ละเลยทิ้งเด็กจนด้อยคุณภาพทั้งประเทศ สภาพปัจจุบันแทบไม่มีใครแตะต้อง แต่กลับเพิกเฉยเดินหน้าปฏิรูปการศึกษารอบ 2 ด้วยวิธีการที่เบา ประนีประนอม และ ขาดการรื้อปรับเชื่อมโยงกับครั้งแรกโดยสิ้นเชิง คือมาเน้นเรื่อง ครูยุคใหม่ โรงเรียนยุคใหม่ การบริหารจัดการยุคใหม่ การจัดตั้งคณะกรรมการขึ้น 2 ชุด ในระดับนโยบาย และการขับเคลื่อนมีวาระ 5 ปี เป็นต้น เราแทบไม่เรียนรู้ถูกผิด จุดแข็งจุดอ่อน เรื่องที่ควรแก้ไขปรับปรุง การเดินหน้าทศวรรษการปฏิรูปการศึกษารอบ 2 เราอาจหลงทาง ปฏิรูปยิ่งแย่ลงเหมือนคราวแรกจึงน่าจะคิดรอบคอบกว่านี้ถ้าเป็นไปได้ อยากให้รัฐบาลเปิดกว้างรับฟังความคิดที่หลากหลายมากกว่านี้ ข้อมูลบางชุดดีแต่ต้องฟังหูไว้หู สภาพกลุ่มผูกขาดการศึกษา 4-5 คน ยังมีอิทธิพลในวงการการศึกษาทุกระดับเพราะเป็นทั้งอดีตรัฐมนตรี นักมาตรฐานการศึกษา ผู้บริหารระดับสูงที่ล้วนมีชื่อเสียง นักล็อบบี้ เข้าหาศูนย์อำนาจเร็ว ตัวอย่างที่ชัดเจนเรื่องนี้ ได้แก่ การจัดตั้งสถาบันคุรุศึกษาแห่งชาติที่มีความพยายามทุกทางแต่ไม่สำเร็จเป็นอุทาหรณ์ที่เห็นได้เมื่อเร็วๆ นี้แม้นจะดูเป็นความตั้งใจที่ดีก็ตามที รัฐมนตรีทั้ง 3 ท่านน่าจะมีบทบาททั้งการสร้างผลงาน แก้ปัญหาอุปสรรคเชื่อมรอยต่อในปี พ.ศ.2552 และ พ.ศ.2553 ให้ไปด้วยกันได้ ระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมาได้เตรียมตัว เรียนรู้งาน สร้างผลงานเชิงการเมืองได้สำเร็จแล้ว 2-3 เรื่อง ในปี พ.ศ.2553 จึงไม่ใช่เรื่องประชานิยมการศึกษาต่อไป แต่เป็นฝีมือล้วนๆ ในเรื่องคุณภาพการศึกษาและการปฏิรูปการศึกษาที่ ศธ.ล้วนไม่ถนัดยิ่งในรอบ 100 กว่าปีที่ผ่านมา emo4:)) emo4:)) emo4:)) พี่สมพงษ์ จิตระดับ รุ่นพี่ซีมะโด่งของผม และ รหัส 15 ของพวกเรา นำมาจาก http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01edu01131252§ionid=0107&day=2009-12-13 (http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01edu01131252§ionid=0107&day=2009-12-13) emo43 emo43 emo43 หัวข้อ: "ขึ้นอยู่กับการศึกษา และคุณภาพของตัวเอง" เริ่มหัวข้อโดย: Samrotri2517 ที่ 15 ธันวาคม 2552, 20:16:36 (http://img685.imageshack.us/img685/4241/60975432.jpg) วารินทร์ พูนศิริวงศ์ ประธานกรรมการ หนังสือพิมพ์แนวหน้า ขึ้นอยู่กับการศึกษา และคุณภาพของตัวเอง (วารินทร์ พูนศิริวงศ์) การเมืองคือ การรวมตัวของบุคคลที่ควรจะมีความซื่อสัตย์สุจริตและความรู้ พร้อมด้วยประสบการณ์ต่างๆ ที่มีคุณต่อสังคม เพื่อเข้าไปบริหารประเทศชาติให้มีความเจริญรุ่งเรืองในด้านต่างๆ โดยเฉพาะความสะดวก ปลอดภัยในการดำเนินชีวิตของประชาชน และสำคัญที่สุดคือ การให้การศึกษาต่อเยาวชน อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ เพื่อให้เป็นบุคคลที่ประกอบไปด้วยความรู้ ความสามารถในการแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยปราศจากความหลงตัว ลืมตัว ที่จะประพฤติชั่ว หาแต่ผลประโยชน์ใส่ตนเองและพรรคพวก เมื่อเขาได้เติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งจะเป็นเจ้าของประเทศต่อจากบรรพบุรุษในช่วงต่อไป จึงไม่ใช่ทุกคนจะเป็นนักการเมืองที่ดีได้ ถ้าเยาวชนไทยทั้งหลายได้รับการศึกษาที่มีหลักสูตร หลักเกณฑ์ที่ถูกต้องสมบูรณ์ และมีชีวิตอยู่ในสภาพของสังคมที่ดีดังกล่าวแล้ว ทั้งมีความพร้อมไปด้วยความซื่อสัตย์ต่อสังคมที่ประกอบไปด้วยขนบประเพณีที่ดี งดงาม พวกเขาเหล่านี้แหละที่จะเป็นผู้มีโอกาสบุกเบิก สร้างสภาพการเมืองที่ดีต่อสังคมได้ต่อไปในอนาคต โดยไม่คิดถึงแต่ตัวเองเป็นสิ่งแรก แล้วลูกหลานเหลนเราก็มีโอกาสที่จะภูมิใจที่เกิดเป็นคนไทยโดยสมบูรณ์ไปด้วยวัฒนธรรมที่ดีและงดงามอย่างเป็นรูปธรรม มิใช่เป็นแต่นามธรรมหลอกกันอยู่อย่างทุกวันนี้ จากพวกโจรการเมืองผู้ไร้มนุษยธรรม มีแต่ใจที่เป็นโจรซึ่งมีอยู่มากมายในขณะนี้ ได้ใช้โอกาสในฐานะที่เป็นนักการเมืองโจร ปอกลอกปล้นทรัพย์สมบัติของชาติไปอย่างไม่มีความละอายใจแม้แต่น้อย ซ้ำยังลอยหน้าลอยตาอยู่ในสังคมจอมปลอม ขึ้นชั้นไฮโซอย่างหน้าด้านหน้าหนาเกลื่อนไปหมดบนจอทีวีแทบทุกคืนวัน ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ระบบการศึกษาของประเทศไทย ควรจะต้องเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วให้มีศักยภาพที่จะสอนให้คนมีความรู้ที่แท้จริง ให้โอกาสนักเรียนที่จะสามารถพัฒนาความรู้ ความสามารถ มีความคิดเห็นส่วนตัวกับตำราและการสอนของครูอาจารย์ที่มุ่งสอน ด้วยสติปัญญา ไม่ใช่สอนตามตัวหนังสือที่พิมพ์อยู่ในตำราเท่านั้น หรือสอนจากความทรงจำของเรื่องไร้สาระ ที่ท่องจำมาถ่ายทอดสู่นักเรียน ซึ่งจะไม่เกิดประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้นกับการเรียนแต่อย่างใด คุณภาพเด็กไทยที่จบจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศไทยเวลานี้ โดยเฉพาะในต่างจังหวัดที่มีมหาวิทยาลัยเกิดขึ้นอย่างมากมาย เมื่อผู้เขียนได้มีโอกาสสัมภาษณ์เวลามาสมัครงาน ของเด็กที่จบจากวิทยาลัยต่างจังหวัด พบว่า มีความรู้น้อยมาก โดยเฉพาะความรู้ทั่วไปหรือความรู้รอบตัว แม้แต่ภาษาอังกฤษง่ายๆ ก็ยังไม่เข้าใจ การใช้ภาษาก็พิมพ์สะกดตัวผิดมากอย่างน่ากลัว! แล้วเรายังหวังที่จะมีนักการเมืองที่มีคุณภาพและไม่โกงกินในอนาคตได้อย่างไร ถ้าหลักสูตรของการศึกษาของประเทศไทย ยังย่ำอยู่กับที่ ตราบเท่าทุกวันนี้!! วันที่ 15/12/2009 นำมาจาก http://www.naewna.com/news.asp?ID=191482 (http://www.naewna.com/news.asp?ID=191482) emo26:D emo26:D emo26:D หัวข้อ: Re: "การประเมินผล การศึกษาไทย" เริ่มหัวข้อโดย: Ron Samyan ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2553, 10:16:56 กระทู้นี้ ดีนะครับ
อยากมาร่วมแจมด้วย แต่อยากหาอีกสักกระทู้ที่ว่าด้วย ความเท่าเทียมทางการศึกษาของเด็กไทยในชนบทและในเมือง หัวข้อ: Re: "การประเมินผล การศึกษาไทย" เริ่มหัวข้อโดย: บ่าวหน่อ เมืองพลาญ ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2553, 11:15:57 เห็นด้วยกับพี่รอน ครับ
หัวข้อ: Re: "การประเมินผล การศึกษาไทย" เริ่มหัวข้อโดย: Ron Samyan ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2553, 12:47:38 อย่างเช่น โรงเรียนในตัวอำเภอ จะมีงบประมาณนั่น ประมาณนี่ มากมาย
คุณภาพการศึกษาก็ดีกว่า แต่พอห่างตัวอำเภอออกไป งบประมาณก็น้อย ขาดแคลนบุคลากร ทั้งที่ เป็นการศึกษาพื้นฐานภาคบังคับ แต่การจัดสรรงบประมาณ ไม่เท่าเทียมกัน คุณภาพการศึกษา ก็ต่างกัน... กลายเป็นว่า..ถ้าผมเกิดในชนบท ก็ถือเสียเปรียบทางด้านการศึกษา ที่รัฐจัดให้เสียแล้ว แล้วอย่างนี้ สิทธิที่ประชาชนที่ได้รับในชนบทก็ไม่เท่าเทียมกับคนในเมือง..นะซิ ปัญหานี้ เห็นมาตั้งแต่เด็กจนโต และก็เป็นข้ออ้างมาตลอดว่า เรามีปัญหาเรื่องการศึกษาของคนที่อยู่ในชนบท ก็รัฐจัดให้เขาอย่างนั้น..นี่... กลายเป็นว่าเด็กในชนบทจะมีโอกาสคือ พ่อแม่ มีตังค์หน่อย แล้วมีโอกาสได้เข้ามาเรียนในเมือง หัวข้อ: Re: "การประเมินผล การศึกษาไทย" เริ่มหัวข้อโดย: บ่าวหน่อ เมืองพลาญ ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553, 11:21:03 เราจะทำยังไงดีน๊อ เพื่อให้การศึกษาไทย เท่าเทียมกัน เลยขออาสาวิเคราะห์ตามหลักการนะครับ
หลักการระบบแก้ปัญหาทางอุตสาหกรรม ง่ายๆ 4 M (man machine material method) และสามารถประยุกต์เข้าสู่ระบบการศึกษาไทย Man = ครูผู้สอน Machine = สื่อการสอน รวมทั้ง Infrastructure Material = เด็กนักเรียน Method = วิธีการสอน ผมจะพูดปัญหาและสถานการณ์ปัจจุบันให้ก่อนนะครับ แล้วค่อยแก้ปัญหา ปัญหานี้อาจจะไม่ใช่ว่าจะเหมือนกันทุกที่ แต่ต้องบูรณาการเพื่อแก้ปัญหาให้ จะได้พัฒนาและปิดช่องโหว่ ผมเลยขอยกตัวอย่างที่ผมประสบมาบ้านผมก็แล้วกัน Man = ครูผู้สอนหรือบุคคลากรทางการศึกษา ไม่มีครูผู้สอน หรือขาดแคลนครูผู้สอน งานเยอะเกินไป ไม่มีการกำหนด spec ครูผู้สอน ครูผู้สอน สอนแบบตามหลักสูตรเกินไป ไม่ได้สอนเพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ ครูเงินเดือนน้อย ต้องขวนขวาย สังคมครูชนบท ต้องเด่นต้องโก้ เลยสร้างภาระ เพื่อสร้างฐานะตัวเอง มีระบบศักดินาในระบบราชการเกินไป (ช่วยเติมหน่อยครับ) Machine = สื่อการสอน รวมทั้ง Infrastructure ปัจจุบันนี้มีแค่ หนังสือ ชอล์ค และกระดานดำ ข้อมูลใน internet ยากที่จะทำการเข้าใจ เมืองไทยเมืองร้อน เด็กคิดไม่ออกเมื่อเจออากาศร้อน (ช่วยเติมหน่อยครับ) Material = เด็กนักเรียน เด็กนักเรียนชอบความสะบาย อยากเล่นตามวัยของเขา นักเรียนมีสิ่งเร้าภายนอกมากเกินไป ทำให้เสียสมาธิในการเรียน ปัญหาสังคม เด็กไม่สนใจเรียน เด็กนักเรียนถูกยัดเยียดให้เรียนรู้มากๆก่อน เพราะเด็กตัดสินใจไม่ได้ว่าโตขึ้นจะเป็นอะไร เลยต้องเอาให้เยอะไว้ก่อน แล้วค่อนตัดออกตอนมหาวิทยาลัย เด็ก ตจว มองไม่เห็นตัวอย่างทางความสำเร็จที่เป็นรูปธรรมที่ดี ความหลากหลายทางอาชีพมีน้อย (ช่วยเติมหน่อยครับ) Method = วิธีการสอน แผนการสอนที่ใช้ เมื่อสิบปีที่แล้ว ตอนนี้ยังใช้อยู่หรือเปล่า หลักศูตรและโครงสร้างหลักสูตร เพื่อให้เด็กเรียนรู้ วิธีการสอนยังเป็นวิธีเดิมๆ ขาดนวัตกรรมใหม่ๆ หรือรูปแบบการสอนใหม่ เนื้อหาหลักสูตรแน่นเกินไป เด็กไม่มีเวลาคิด เพราะการสอนของไทยเป็นแบบป้อน (ช่วยเติมหน่อยครับ) บางหัวข้อ เป็นที่บางแห่งนะครับ รวมๆๆมา เลยดูเหมือนการศึกษาไทยช่างเลวร้ายเหลือเกิน หัวข้อ: Re: "การประเมินผล การศึกษาไทย" เริ่มหัวข้อโดย: Ron Samyan ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553, 11:37:36 วิเคราะห์ ได้ตรงใจพี่เลยนะครับ...เป็นอย่างที่น้องว่านั่นละ
ถ้าเป็นโรงงานอุตสาหกรรม...เหนื่อยกันแน่ครับ ไม่ว่าจะใช้ 4M ANONA DOE หรือแม้แต่ 6 Sigma..ตายอย่างเขียดครับ เห็นไหมละครับ..ว่าการศึกษาบ้านเรามีปัญหาเยอะครับ ทางออกของการแก้ไข..ก็เห็นมีจัดสัมนากันบ่อยนะครับ แต่ผมว่าปัญหา มันถูกมองมาจากข้างบน แล้วแก้ปัญหาแบบนั่งเทียน แต่ถ้ามองปัญหาจากด้านล่างขึ้นไป จะเห็นชัดครับ หรืออย่างในโรงงานอุตสาหกรรม ถ้ามัวนั่งแก้ปัญหาในห้องประชุม ...เดี้ยงครับ ต้องลงเข้าไปเก็บข้อมูลในไลน์การผลิตครับ..ถึงจะเข้าใจปัญหาที่แท้จริงครับ หัวข้อ: Re: "การประเมินผล การศึกษาไทย" เริ่มหัวข้อโดย: บ่าวหน่อ เมืองพลาญ ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553, 12:06:54 เอาไงดีพี่รอน หรือเราจะเสนอไปเรื่อยๆ เพื่อให้เห็นแก่นแท้
หัวข้อ: Re: "การประเมินผล การศึกษาไทย" เริ่มหัวข้อโดย: Ron Samyan ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553, 12:19:07 พี่มองว่า... อย่างนี้นะครับ
เวบบอร์ดของเราก็เป็นเด็กจุฬาฯ เป็นผู้มีความรู้และผู้ทรงคุณวุฒิมากมาย หลากหลายสาขาอาชีพ หากเรามองเห็นปัญหาเรื่องใด เรื่องหนึ่ง ช่วยกันเสนอความคิด วิจารณ์ ในสิ่งที่เราเห็น...เหมือนๆกับว่าเรากำลังจัดสัมนาวิชาการผ่านเวบบอร์ด หากความคิดไหนดีๆ ก่อประโยชน์ที่สร้างสรรค์ขึ้นมา อย่างน้อยๆ คงจะมีผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้มีอำนาจ ในจุฬาฯของเรา นำเรื่องต่างๆเหล่านี้ ไปศึกษาและทบทวน หลายๆเรื่องครับ ไม่ใช่เรื่องการศึกษาเรื่องเดียว ระดับชาวจุฬาฯแล้ว...คิดอะไรที่สร้างสรรค์สังคมได้อีกตั้งมากมายครับ หัวข้อ: Re: "การประเมินผล การศึกษาไทย" เริ่มหัวข้อโดย: บ่าวหน่อ เมืองพลาญ ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553, 14:06:01
มี Model นี้ด้วยเหรอครับ เห็นมีแต่"อาจสามารถโมเดล" หัวข้อ: Re: "การประเมินผล การศึกษาไทย" เริ่มหัวข้อโดย: Ron Samyan ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553, 14:51:59 นั่นซิ ไม่มีนี่..เพื่อนเจษ
ส่วนอาจสามารถโมเดล ... บ่าวหน่อ เมืองพลาญ หนุ่มบึงพลาญชัย คงรู้จักดีแน่ (http://img180.imageshack.us/img180/8378/siamphoto0000140.jpg) หัวข้อ: Re: "การประเมินผล การศึกษาไทย" ด้วยองค์กรอิสระ สมศ. เริ่มหัวข้อโดย: Samrotri2517 ที่ 17 กรกฎาคม 2553, 09:11:45 ขอขอบคุณเวบแคนนอทอินโฟ 1 กรกฏาคม 2553 ที่ีเอื้อเฟื้อข่าว http://cannot.info/feed/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99 (http://cannot.info/feed/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l4usi5-1103e5.jpg) ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผอ.สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ปรับวิธีสอนสร้างเด็กไทยคิดเป็น หลังพบคะแนนสอบโอเน็ต ความสามารถในการคิดวิเคราะห์จะ ได้คะแนนต่ำซึ่งเป็นภาพสะท้อนของเด็กทั้งประเทศว่ายังขาดความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ สมศ.ได้ดำเนินการประเมินคุณภาพภายนอก รอบที่ 2 สถานศึกษาที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ 9 ประเภท ได้แก่ 1.ร.ร.ส่งเสริมความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์, 2.ร.ร.ในพื้นที่ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้, 3.ร.ร.พระปริยัติธรรมฯ, 4. ร.ร.ส่งเสริมความสามารถพิเศษด้านกีฬา, 5.ร.ร.นานาชาติ, 6.ร.ร.ศึกษาสงเคราะห์, 7.ร.ร.เฉพาะความพิการ, 8.ร.ร.ตำรวจตระเวนชายแดน, 9.ศูนย์การศึกษาฯนอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ซึ่งภาพรวมสถานศึกษาในกลุ่มนี้ได้รับการรับรองร้อยละ 80 ขึ้นไป ถือว่าค่อนข้างดี ยกเว้น มาตรฐานที่ 5 ผู้เรียนมีความรู้และมีทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร ซึ่งเชื่อมโยงกับคะแนนสอบโอเน็ต มาตรฐาน 4 ความสามารถคิดวิเคราะห์จะได้คะแนนต่ำซึ่งเป็นภาพสะท้อนของเด็กทั้งประเทศว่า ยังขาดความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ ซึ่งคงต้องปรับเปลี่ยนวิธีการสอนใหม่ ส่วนเกณฑ์มาตรฐานอื่นๆ จะมีการปรับให้เหมาะสมกับประเภทของสถานศึกษาพิเศษมากขึ้น ในการประเมินรอบ 3 ต่อไป. ที่มา : www.thairath.co.th วันที่ 01 Jul 2010 - 05:15 emo28:win: emo28:win: emo28:win: XXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXX (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l4ut6h-5c772c.gif) การประเมินสถานศึกษาตามข่าว คือ Check ซึ่งอยู่ใน 1 ใน 4 ของวงจรคุณภาพ ของเดมมิงส์ PDCA ประเทศเรากำลังมุ่งเน้นปฏิรูปประเทศใหม่ ให้เป็นประเทศคุณภาพ ประเทศคุณภาพมีวงจรคุณภาพ เป็นแนวทาง การวางแผน Plan จากข้อมูลโดยรอบด้าน การทำตามแผน Do ตามแผนทุกประการ อย่างไม่ออกนอกแผน การประเมิน Check มีคณะกรรมการตรวจสอบภายในและภายนอกมาตรวจว่าทำตามแผนทุกประการ การแก้ไข Act เพื่อให้เข้าสู่แผนที่ต้องการ เมื่อพบปัญหา ก็กลับมาเริ่มต้นแก้ไขใหม่ ให้วงจรหมุนต่อไปได้ เพื่อรับการเปลี่ยนแปลงของโลก ที่ไม่หยุดนิ่ง ตัวอย่าง ที่ผมทำงานอยู่ ที่ ร.พ.พนมสารคาม ได้รับการประเมินเป็น ร.พ.คุณภาพแล้ว และ ทำ ชา SHA : Sustainable Hospital Accreditation การรักษาคุณภาพอย่างยั่งยืน http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,4376.0.html (http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,4376.0.html) กรรมการตรวจสอบทั้งภายใน และ ภายนอก ไม่ว่ามาตรวจสอบเมื่อไร จะคงคุณภาพตลอดกาล emo28:win: emo28:win: emo28:win: กระทรวงสาธารณสุข ต้องการให้ทุก ร.พ.ที่เปิดดำเนินการ จะต้องผ่านการพัฒนาและประเมิน จนมีใบรับรอง ร.พ.คุณภาพประกาศ ให้ผู้ใช้บริการได้มั่นใจ ถ้าไม่ได้ใบรับรอง ต้องแก้ไขให้ได้ มิฉะนั้นจะถูกสั่งปิด เพื่อประโยชน์ของผู้รับบริการ emo28:win: emo28:win: emo28:win: |