หัวข้อ: เรดิโอ ฟรีเควนซี่ ไอเดนทิฟิเคชั่น (Radio Frequency Identification) เริ่มหัวข้อโดย: Samrotri2517 ที่ 28 ตุลาคม 2552, 06:28:44 (http://img142.imageshack.us/img142/1313/images35g.jpg) RFID เพื่อโลจิสติกส์ยุคใหม่ และ ประโยชน์ใช้งานด้านอื่น ๆ อีกมากมาย น.ส.พ.เดลินิวส์ วันพุธ ที่ 28 ตุลาคม 2552 เวลา 4:00 น 180 กม.ต่อชม.ยังอ่านทัน เทคโนโลยี RFID (Radio Frequency Identification) เป็นระบบจำแนกวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้แทนบาร์โค้ด มีจุดเด่นตรงสามารถอ่านข้อมูลจากแท็ก (Tag) หรือแถบป้ายบอกข้อมูลได้หลาย ๆ ชิ้น โดยไม่ต้องคอยเอามาแตะสัมผัส ทัศนวิสัยไม่ดีมีความเปียกชื้น แรงสั่นสะเทือน การกระทบกระแทก หรือในที่ระดับความเร็วสูง ก็อ่านค่าได้ เอามาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น ใช้เป็นบัตรผ่านเข้าออกสถานที่ต่าง ๆ บัตรจอดรถ ตามศูนย์การค้าต่าง ๆ หรือ ติดไว้ในรถบรรทุกสินค้าเพื่อติดตามข้อมูลระหว่างการขนส่ง บริษัทเอเซนเทค (ประเทศไทย) จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีระบบขนส่ง ได้ร่วมกับพันธมิตรผู้ผลิตชิปอาร์เอฟไอดี ประเทศจีน นำ “แท็ก” รุ่นใหม่ ซึ่งไม่ใช่แบตเตอรี่ (พาสซีฟ แท็ก) ที่ได้ปรับปรุงความไว ในการรับส่งสัญญาณกับเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี ชนิดยูเอช เอฟ (UHF) ให้เพิ่มขึ้นและลดการใช้พลังงานลงเหลือเพียง 30 ไมโครวัตต์ ซึ่งน้อยกว่าชิปรุ่นแรกที่ใช้ 50 ไมโครวัตต์ ช่วยให้ได้ระยะการอ่านไกลมากขึ้น ตามไปด้วย ราว 20-30 เปอร์เซ็นต์ “แท็ก” มีขนาดบางจนแทรกลงในเนื้อกระดาษได้ จึงแนบกับ ป้ายของกรมการขนส่งทางบก หรือจะติดไว้ที่โคมไฟหน้ารถก็ได้ กำพล โชคสุนทสุทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทเอเซนเทคฯ กล่าวว่า เทคโนโลยีและชิปรุ่นใหม่ที่นำมาใช้ เมื่อติดกับรถขนส่ง จะสามารถอ่านค่าได้ แม้รถเคลื่อนที่ด้วยความเร็วถึง 120-180 กม.ต่อชม. และแยกช่องทางซ้ายและขวา ลำดับรถก่อนหลังได้ เหมาะกับงานเก็บค่าผ่านทาง การติดตามรถยนต์ ระบบโลจิสติกส์ (การขนส่งต่อเนื่องหลายวิธี) และงานขนส่งทุกประเภท ระบบติดตามการขนส่งด้วยอาร์เอฟไอดี นำมาประยุกต์ใช้กับ ทุกสาขาในงานอุตสาหกรรมและการจัดการซัพพลายเชน ได้แก่ เก็บข้อมูลตามจุดที่ต้องการได้สะดวกและเพิ่มเติมได้ง่าย, ประมวลผลนำเสนอต่อผู้เกี่ยวข้องได้อย่างรวดเร็วทันการใช้งาน นำไปใช้วิเคราะห์เพื่อประโยชน์ต่อการบริหาร เช่น ต้นทุนหรือแผนงาน ช่วยลดงานเอกสาร, ลดต้นทุนในการปฏิบัติงาน ทั้งเวลา และ กำลังคนจากการบันทึกและประมวลผล, ลดความผิดพลาดที่เกิดจากป้อนข้อมูล และ สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบควบคุมอัตโนมัติ เช่น แขนกลกั้นรถ, ไฟสัญญาณ เป็นต้น ตัวอย่างการใช้งานอาร์เอฟไอดี ที่ได้ผลดี คือระบบค่าผ่านทางประเทศสิงคโปร์ ซึ่งไม่มีด่านเก็บเงิน และ รถวิ่งผ่านได้ด้วยความเร็วสูง ระบบจะติดตั้งเครื่องอ่าน คร่อมทางไว้หลายจุด สามารถอ่านค่าแท็กที่ติดรถวิ่งผ่านและจำแนกได้อย่างแม่นยำ จึงไม่มีปัญหารถติดค้างหน้าด่านเก็บเงิน กำพล อธิบายข้อดี ด้วยว่า ค่าใช้จ่ายต่ำ ลงทุนระบบราวหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท แท็กติดรถยนต์ชิ้นละไม่เกินสิบห้าบาท ไม่มีค่าแอร์ไทม์ (ค่าส่งสัญญาณ) และ เปรียบเทียบกับการติดตามด้วยจีพีเอส หรือระบบบอกตำแหน่งวัตถุด้วยดาวเทียม จะมีค่าอุปกรณ์ติดรถยนต์คันละสองหมื่นบาท และมีค่าแอร์ไทม์ จากการส่งสัญญาณ ผ่านระบบจีพีอาร์เอส กำพลเปิดเผยว่า จะจัดบรรยายเทคโน โลยีอาร์เอฟไอดี ย่านความถี่ยูเอชเอฟ สำหรับโลจิสติกส์และการขนส่งพร้อมกับให้ทดสอบด้วยการติดแท็กในรถยนต์ ที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง 120-180 กม.ต่อชม.เพื่อวัดความแรงสัญญาณ สำหรับแยกช่องซ้าย ขวา ลำดับก่อนหลัง วันที่ 29 ต.ค.เวลา 11.00-17.00 น. ที่สนามแข่งรถบางกอก แดรก อเวนิว คลองห้า ถนนรังสิต-นครนายก เป็นเทคโนโลยีที่คนในธุรกิจขนส่งรุ่นใหม่ไม่ควรมองข้าม. emo4:)) emo4:)) emo4:)) นำมาเพื่อให้พวกเราได้รู้นวตกรรมใหม่ๆที่จะนำเข้ามาใช้ให้ความสะดวกสบายขึ้น http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=582&contentID=28506 (http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=582&contentID=28506) emo43 emo43 emo43 หัวข้อ: ใช้ ETC บัตรผ่านทางด่วน ช่วยลดโลกร้อน เริ่มหัวข้อโดย: Samrotri2517 ที่ 14 พฤศจิกายน 2552, 18:47:54 (http://img406.imageshack.us/img406/3711/wrd0001z.jpg) ใช้ ETC บัตรผ่านทางด่วน ช่วยลดโลกร้อน รายงานโดย :เรื่อง ชายโย: น.ส.พ.โพสต์ทูเดย์ วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ทุกกครั้งที่คุณขึ้นทางด่วน คุณยังรับใบเสร็จค่าทางด่วนโดยไม่มีความจำเป็นต้องใช้อยู่หรือเปล่า หากคุณยังทำเช่นนั้นอยู่เพราะความเคยชินไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ละก็ วันนี้เรามีข่าวมาบอกว่า อีกไม่นานคุณจะมีทางเลือกช่วยลดภาวะโลกร้อน ได้ด้วยการลงทุนซื้อบัตรผ่านทางด่วนเพียงครั้งเดียวเท่านั้น คนที่ขึ้นทางด่วนเป็นประจำคงทราบดีว่าบัตร ETC (Electronic Toll Collection) นั้นจะเข้ามา แทนที่ระบบช่องจ่ายเงินแบบเดิมๆ ที่ต้องต่อคิวยาวเหยียดในเวลาเร่งด่วน ข้อดีของระบบนี้ช่วยเราประหยัดการใช้กระดาษไปได้ส่วนหนึ่ง โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาจัดเก็บเงิน ช่วยให้การจราจรมีความคล่องตัวมากขึ้น เพียงแค่ชะลอความเร็วรถระหว่างผ่านช่องทางเท่านั้น นั่นเท่ากับว่ารถจะไม่เสียพลังงานในการออกตัวอีกครั้งหลังจ่ายเงินค่าผ่านทางด่วน นับว่าระบบนี้มีข้อดีถึง 3 ต่อ แต่ปัญหายังติดอยู่ที่บางคนไม่อยากลงทุนค่าบัตร รวมค่าทางด่วนเมื่อเริ่มต้นประมาณ 1,000 บาทซึ่งเป็นค่ามัดจำบัตร 500 บาทถือเป็นค่าเช่าอุปกรณ์ ซึ่งจะคืนให้เมื่อคิดจะเลิกใช้ และค่าผ่านทาง 500 บาทพร้อมส่วนลด 5% อาจจะดูน้อยสำหรับคนใช้ แต่เพื่อโลกแล้วนับว่ามีคุณค่าอย่างมาก หากคุณมีรายได้มากพอที่จะใช้โดยไม่ลำบาก การลงทุนราคาแพงเพียงครั้งเดียวจะช่วยลดการใช้พลังงานของโลกได้อย่างมากมายมหาศาลหากเราร่วมใจกัน เงินเป็นเพียงสิ่งสมมติที่เราใช้เป็นตัวแทนดำรงชีพ แต่ธรรมชาติคือของจริงที่เราขาดไม่ได้ในชีวิต นำมาจาก http://www.posttoday.com/lifestyle.php?id=76206 (http://www.posttoday.com/lifestyle.php?id=76206) emo4:)) emo4:)) emo4:)) หัวข้อ: Re: เรดิโอ ฟรีเควนซี่ ไอเดนทิฟิเคชั่น (Radio Frequency Identification) เริ่มหัวข้อโดย: Samrotri2517 ที่ 17 กรกฎาคม 2553, 08:59:03 เกี่ยวกับโครงการ ETC:ELECTRONICS TOLL COLLECTION : ETC (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l5oicn-16056d.jpg) http://www.thaieasypass.com/etcsite/index.php?option=com_content&view=section&layout=blog&id=8&Itemid=7&lang=th (http://www.thaieasypass.com/etcsite/index.php?option=com_content&view=section&layout=blog&id=8&Itemid=7&lang=th) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กระทรวงคมนาคม อยู่ระหว่างดำเนินการติดตั้ง ระบบเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติรุ่นใหม่ในทุกสายทางพิเศษให้สามารถใช้งานร่วมกันได้ การติดตั้งระบบเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติเช่นกัน คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2553 สำหรับทางพิเศษบูรพาวิถีและทางเชื่อมอยู่ระหว่างการดำเนินการติดตั้งระบบ คาด ว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2554 ระบบเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติ คือ ระบบ ที่ไม่ต้องใช้เงินสด/คูปอง แต่จะใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ (บัตร Easy Pass) เป็นอุปกรณ์ติดที่ กระจกหน้ารถ โดยใช้เป็นสื่อในการชำระค่าผ่านทางเมื่อรถวิ่งผ่านช่องทาง Easy Pass ผู้ใช้บริการไม่ต้องเปิดกระจกรถ ไม่ต้องรอคิวยาว ไม่ต้องเตรียมเงินสด จึงได้รับความสะดวกรวดเร็วและส่งเสริมคุณภาพชีวิต การเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการทางพิเศษ โดยการพัฒนาระบบเก็บค่าผ่านทาง อัตโนมัติของทางพิเศษทุกสายทาง นับเป็นหัวใจสำคัญของการบริหารจัดการระบบทางพิเศษ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อ ผู้ใช้บริการทางพิเศษและประเทศชาติในภาพรวม ทั้งนี้ระบบเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติ คือ การจัดเก็บค่าผ่านทางที่ไม่ต้องใช้พนักงานเก็บค่าผ่านทาง โดยผู้ที่จะใช้บริการระบบเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติจะต้องมียอดเงินในบัญชี ของผู้ใช้บริการ เป็นเงินสำรองค่าผ่านทางฯ ล่วงหน้าและยื่นคำร้องขอใช้บริการกับ กทพ. โดยต้องชำระเงินค่ามัดจำบัตร Easy Pass ไว้แก่ กทพ. ด้วย ซึ่งผู้ใช้บริการจะได้รับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำคัญ 2 อย่าง คือ (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l5oie0-5ea7ac.gif) 1. บัตร Easy Pass สำหรับติดกระจกหน้ารถ ซึ่งเมื่อรถของผู้ใช้บริการผ่านช่องเก็บ ค่าผ่านทางอัตโนมัติบัตร Easy Pass จะทำหน้าที่สื่อสารกับเสาอากาศในช่องเก็บ ค่าผ่านทางอัตโนมัติเพื่ออ่านค่า พร้อมตัดยอดเงินใบบัญชีของผู้ใช้บริการ (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l5oifc-c62821.jpg) 2. บัตร Smart Card ใช้สำหรับติดต่อกับเจ้าหน้าที่ รวมทั้งการเติมเงินสำรองค่าผ่านทางฯ ในบัญชีของผู้ใช้บริการ emo43 emo43 emo43 |