หัวข้อ: " ต้นแบบโรงไฟฟ้าชีวมวลสำหรับชุมชน "แก้ปัญหาพลังงานขาดแคลน" เริ่มหัวข้อโดย: Samrotri2517 ที่ 10 กันยายน 2552, 11:24:17 น.ส.พ.เดลินิวส์ วันพฤหัสบดี ที่ 10 กันยายน 2552 เวลา 0:00 น กระทรวงวิทยาศาสตร์จับมือ อบจ. โคราช และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ทำต้นแบบโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็กสำหรับชุมชน ใช้วัสดุเหลือทิ้งเพิ่มมูลค่าผลิตผลทางการเกษตร ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้ลงนามความร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา (อบจ.) ในโครงการหมู่บ้านแม่ข่ายวิทยาศาสตร์และเทคโน โลยีเฉลิมพระเกียรติ “ต้นแบบโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็กสำหรับชุมชน” เพื่อพัฒนาพลังงานทดแทนในระดับชุมชน ส่งเสริมการใช้วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร และ ปลูกไม้โตเร็วให้เป็นวัตถุดิบผลิตไฟฟ้า เพื่อสร้างมูลค่าให้แก่ผลิตผลทางการเกษตรในหมู่บ้าน โดยจะสนับสนุนให้พัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทน เน้นให้ชุมชนเป็นเจ้าของและบริหารจัดการโรงไฟฟ้าชุมชนอย่างยั่งยืน รวมถึงส่งเสริมให้การพัฒนาเครื่องมือเครื่องจักรด้านพลังงานทดแทน เช่น เครื่องจักรผลิตพลังงานจากชีวมวล การผลิตไฟฟ้าด้วยระบบแก๊สซิฟิเคชั่น (http://img196.imageshack.us/img196/4657/58089332.jpg) ระบบแก๊สซิฟิเคชั่น ทั้งนี้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราช สีมา จะสนับสนุนงบประมาณเพื่อ การก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลในพื้นที่ เพื่อทำเป็นต้นแบบ และ เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านพลังงานทดแทนของจังหวัด ส่วนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จะเป็นผู้ศึกษาข้อมูลทั่วไป รวมถึง ก่อสร้างและเดินระบบโรงไฟฟ้าขนาดกำลังการผลิต 100 กิโลวัตต์. นำมาจาก http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=316&contentID=19289 (http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=316&contentID=19289) emo43 emo43 emo43 หัวข้อ: "พลังแห่งความรู้:ก๊าซชีวภาพจากมูลโค"แก้กลิ่น ขยะ และ พลังงานขาดแคลน เริ่มหัวข้อโดย: Samrotri2517 ที่ 20 กันยายน 2552, 17:44:37 นครปฐม สำนักข่าวไทย 18 ก.ย. 52 (http://img171.imageshack.us/img171/1819/images22v.jpg) ก๊าซชีวภาพ สามารถผลิตได้จากมูลสัตว์ และ เศษอาหาร ล่าสุด มีผู้นำมูลโคเพียงอย่างเดียว มาผลิตเป็นก๊าซชีวภาพ คุณภาพดีได้ โดยไม่ต้องผสมกับวัตถุดิบอื่นๆ emo43 emo43 emo43 จะลดการใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าลง ลดกลิ่น และ ขยะจากมูลสัตว์ โดยนำมาใช้ประโยชน์เป็นก๊าซ และ กากนำไปทำเป็นปุ๋ยให้กับพืชได้อีกด้วย ฟัง และ ชมภาพข่าว ได้ที่ http://news.mcot.net/environment/inside.php?value=bmlkPTM2MzAyJm50eXBlPWNsaXA= (http://news.mcot.net/environment/inside.php?value=bmlkPTM2MzAyJm50eXBlPWNsaXA=) emo43 emo43 emo43 หัวข้อ: Re: " ต้นแบบโรงไฟฟ้าชีวมวลสำหรับชุมชน "แก้ปัญหาพลังงานขาดแคลน" เริ่มหัวข้อโดย: Samrotri2517 ที่ 26 มิถุนายน 2553, 09:37:12 ขอขอบคุณเวบแนวหน้า วันเสาร์ 26 มิถุนายน 2553 ที่เอื้้อเฟื้อข่าว http://www.naewna.com/news.asp?ID=216718 (http://www.naewna.com/news.asp?ID=216718) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l4loja-bb03b1.png) “ งานหนักไม่เคยฆ่าคน ” สสส.จับมือม.แม่โจ้ หนุนวิจัยพลังงานทดแทน ลดค่าใช้จ่ายชาวแม่หล่าย แพร่:นายประกิตต์ โกะสูงเนิน อาจารย์คณะพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.แพร่ เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัยพลังงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ได้จัดทำ โครงการวิจัยการพัฒนาพลังงานทดแทนระดับชุมชน ต.แม่หล่าย อ.เมือง จังหวัดแพร่ ขึ้น โดยได้ร่วมกับ เทศบาลตำบลแม่หล่าย และภาคีเครือข่ายทีเกี่ยวข้อง ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ทั้งนี้เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลด้านการจัดการพลังงานของชุมชน แสวงหาพลังงานทางเลือกที่เหมาะสม และประสานการทำงานในการพัฒนาเรื่องของเตาเชื้อเพลิงชนิดต่างๆ เป็นการนำเทคโนโลยีมาปรับประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับความต้องการชุมชน ศึกษาศักยภาพของชีวมวลหรือวัสดุที่มีในท้องถิ่นเพื่อนำมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุด เนื่องจากการศึกษาวิจัยการใช้พลังงานในชุมชนแม่หล่าย พบว่า พลังงานที่ชาวบ้านต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ พลังงานไฟฟ้า พลังงานก๊าซหุงต้ม และพลังงานเชื้อเพลิง แต่วิถีชีวิตของชาวบ้านซึ่งเป็นชุมชนเมือง พลังงานไฟฟ้าและก๊าซหุงต้มได้มีบทบาทที่สำคัญ ต่อการดำรงชีวิต คณะผู้วิจัยจึงมุ่งเน้นไปที่การศึกษา เรื่อง “พลังงานเชื้อเพลิง” โดยการพัฒนา “เตาชีวมวล” และ “เตาเผาถ่าน” ให้สามารถใช้เชื้อเพลิงที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุดและประหยัดค่าใช้จ่ายให้ชาวบ้าน วันที่ 26/6/2010 XXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXX นำข่าว ลดการใช้พลังงาน ด้วยการใช้เทคโนโลยี่ ที่่เหมาะสมในทัองถิ่นมาเป็นตัวอย่างนำร่อง emo43 emo43 emo43 หัวข้อ: Re: " ต้นแบบโรงไฟฟ้าชีวมวลสำหรับชุมชน "แก้ปัญหาพลังงานขาดแคลน" เริ่มหัวข้อโดย: Samrotri2517 ที่ 04 กรกฎาคม 2553, 10:45:49 ขอขอบคุณเวบร่วมเดินหน้าปฏิรูปประเทศไทย http://www.pm.go.th/forward/story/33943 (http://www.pm.go.th/forward/story/33943) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l50lt5-87efed.jpg) พลังงานชุมชน: บทเรียนจากเดนมาร์ก เดนมาร์กเป็นประเทศที่ดำเนิน การด้านสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง พวกเขาพยายามลดการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ต้องนำเข้า คือ น้ำมันและถ่านหิน แต่ได้เพิ่มการใช้ก๊าซธรรมชาติซึ่งสะอาดและหาได้ในน่านน้ำของตนเอง นอกจากนี้ยังปฏิเสธการใช้พลังงานนิวเคลียร์ โดยรัฐสภาได้ยกพลังงานนิวเคลียร์ออกไปจากแผนพัฒนาพลังงานมาตั้งแต่ปี 1985 ในอีกแง่มุมหนึ่งเดนมาร์กเล็งเห็นศักยภาพในการผลิตพลังงานลมขึ้นใช้ภายในประเทศ รวมถึงพลังงานจากวัสดุทางการเกษตรอื่นๆ จึงได้พัฒนาพลังงานหมุนเวียนมาจนถึงระดับที่เข้มแข็ง ขณะนี้พลังงานหมุนเวียน ได้ช่วยผลิตกระแสไฟฟ้าให้ถึงร้อยละ 20 ของการใช้ไฟฟ้าทั้งหมด โดยครึ่งหนึ่งของจำนวนนี้มาจาก พลังงานลม และ ที่สำคัญรองลงมาก็คือพลังงานชีวมวล ซึ่งได้จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ประเภทฟางข้าว เศษชิ้นไม้สับ เป็นต้น การผลิตพลังงานจากมูลสัตว์จึง เป็นอีกตัวอย่างของความเคลื่อนไหวอันหลากหลาย จากหน่วยเล็กๆ ของสังคม เป็นระบบการผลิตพลังงานให้กับชุมชน โดยใช้แหล่งวัตถุดิบในชุมชนนั้นเอง ซึ่งมีให้พบเห็นได้อยู่ทั่วไปในเดนมาร์ก นอกเหนือไปจากการพัฒนาเทคโนโลยีที่สะอาด ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นถึง ความพร้อมในการมีส่วนร่วมของประชาชน ชุมชน และกลุ่มธุรกิจที่ดำเนินไปควบคู่กับ นโยบายที่ชัดเจนของรัฐในการส่งเสริม พลังงานหมุนเวียนอย่างยั่งยืน (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l50l2a-9f586b.jpg) สิ่งที่เกษตรกรในชุมชนที่ร่วมกันก่อตั้งโรงงานผลิตพลังงานชีวภาพในชุมชนสามารถ ได้รับประโยชน์ได้ทางอ้อมก็คือ ไม่ต้องลงทุนกับระบบกำจัดของเสียเพราะที่เดนมาร์กมีกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเข้มงวดมาก นอกจากนี้ เขายังได้ปุ๋ยชีวภาพฟรีๆ เพราะเมื่อโรงงานสกัดเอาก๊าซออกไปแล้ว ก็จะนำปุ๋ยชีวภาพที่เหมาะสำหรับการเพาะปลูกกลับมาคืนให้ถึงที่ โรงงานผลิตก๊าซชีวภาพสามารถรองรับของเสียได้ 150-180 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ซึ่งในหนึ่งวันจะสามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้ทั้งหมด 6 พันล้านลูกบาศก์เมตร ก๊าซที่ผลิตได้จะส่งใส่ท่อไปขายต่อให้กับโรงงานผลิตความร้อนและไฟฟ้าชุมชน กำไรที่ได้จากการดำเนินงานก็นำไปใช้คืนหนี้เงินที่กู้มา นอกจากนี้ยังใช้ไป สำหรับซ่อมแซมปรับปรุงระบบต่างๆของโรงงาน อี ริค ลุนด์สการ์ด ผู้จัดการโรงงานผลิตก๊าซชีวภาพซึ่งเป็นคนในท้องถิ่นได้เล่าถึง การทำงานของระบบการผลิตก๊าซชีวภาพว่า บรรดามูลสัตว์จากฟาร์มต่างๆ จะมาผสมรวมกันในบ่อพัก แล้วถูกเร่งอุณหภูมิให้สูงขึ้น (บ้านเขามันหนาว) จากนั้นค่อยลำเลียงไปที่แทงค์ฆ่าเชื้อด้วยระบบพาสเจอไรส์ เพื่อให้เชื้อโรคไม่พึงประสงค์ตายไป ตั้งแต่ขั้นตอนนี้และไม่ทำให้ปุ๋ยชีวภาพ ที่จะออกมาเป็นพิษ จากนั้นนำไปผ่านการย่อย สลายด้วยจุลินทรีย์ในถังหมัก ทำให้ได้ก๊าซออกมาและถูกดูดไปเข้าท่อเพื่อส่งขาย ส่วนเศษของเสียที่เหลือที่ผ่านกระบวนการย่อยสลายแล้วซึ่งแปรสภาพเป็นปุ๋ยชีวภาพ จะถูกลำเลียงไปเก็บในแทงค์เพื่อรอการขนส่งไปจ่ายแจกคืนเจ้าของต่อไป ที่มา: มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม แบ่งปันผ่านทาง Social networks emo26:D emo26:D emo26:D หัวข้อ: Re: " ต้นแบบโรงไฟฟ้าชีวมวลสำหรับชุมชน "แก้ปัญหาพลังงานขาดแคลน" เริ่มหัวข้อโดย: Samrotri2517 ที่ 07 พฤศจิกายน 2553, 15:10:52 เทคโนโลยีแก๊สซิฟิเคชั่น แปลงเศษอาหารเป็นก๊าซหุงต้ม ขอขอบคุณเวบเดลินิวส์ วันอาทิตย์ 07 พฤศจิกายน 2553 ที่สนับสนุนเนื้อหาข่าว http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=522&contentId=102470 (http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=522&contentId=102470) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/lbi90t-2928ae.jpg) ความต้องการใช้พลังงานแอลพีจีเพิ่มขึ้นทั้งด้านเป็นเชื้อเพลิงหุงต้ม และภาคการขนส่ง ผลมาจากการขยายตัวด้านเศรษฐกิจและจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ทำให้ประเทศชาติต้องเสียเงินออกนอกประเทศเพราะพลังงานดังกล่าวต้องนำเข้า สำนักงานนโยบายและ แผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน ได้ลงนามความร่วมมือระหว่าง สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) (องค์การมหาชน) ทำโครงการนำร่องเพื่อผลิตพลังงานทดแทนจากชีวมวลในระดับชุมชน (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/lbi91m-7f911d.jpg) ด้วยการใช้เทคโนโลยีการผลิตก๊าซเชื้อเพลิงสังเคราะห์จากชีวมวลด้วยกระบวนการแก๊สซิฟิเคชั่น (gasification) มาใช้ประโยชน์เพื่อผลิตก๊าซเชื้อเพลิงสังเคราะห์ ซึ่งเป็นก๊าซเชื้อเพลิงที่มีศักยภาพด้านค่าความร้อนที่สูง สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทดแทนก๊าซหุงต้ม หรือแอลพีจีได้ โดยกลุ่มโรงแรม-รีสอร์ท หรือโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลาง เป็นกลุ่มเป้าหมายหนึ่งที่มีศักยภาพด้านวัตถุ ได้แก่ เศษอาหาร เศษขยะสด เศษใบไม้ ฟางข้าว แกลบ ผลไม้ตกเกรด เหล่านี้เป็นพลังงานชีวมวล เพื่อผลิตเป็นเชื้อเพลิงได้ วีระพล จิระประดิษฐกุล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยว่า สนพ.มีนโยบายส่งเสริมการใช้พลังงานชีวมวลเป็นพลังงานทดแทนในภาคอุตสาหกรรมมาแปรรูปเป็นก๊าซเชื้อเพลิงสังเคราะห์ โดยใช้ เทคโนโลยีแก๊สซิฟิเคชั่น ภายใต้แผนสนับสนุนแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปีของกระทรวงพลังงาน โดย สนพ.ให้เงินสนับสนุนสำหรับการก่อสร้างระบบผลิตก๊าซเชื้อเพลิงเพื่อผลิตพลังงานความร้อนและพลังงานไฟฟ้าร้อยละ 50 ของเงินลงทุนทั้งหมด แต่ไม่เกินราคาที่ สนช.กำหนด ให้กับผู้ประกอบการที่ติดตั้งระบบเทคโนโลยีแก๊สซิฟิเคชั่น โดยกำหนดรายละเอียดดังนี้ สำหรับระบบผลิตความร้อน ระบบที่ 1 กำลังการผลิตชีวมวลขนาด 50 กิโลกรัมต่อชั่วโมง 4 แห่ง ไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อแห่ง ระบบที่ 2 ขนาด 100 กิโลกรัมต่อชั่วโมง 3 แห่ง ไม่เกิน 1.5 ล้านบาทต่อแห่ง และ ระบบที่ 3 ขนาด 300 กิโลกรัมต่อชั่วโมง ไม่เกิน 2.4 ล้านบาทต่อแห่ง (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/lbi92c-271ef1.jpg) ผู้ประกอบการที่สนใจต้องผ่านการคัดเลือกจาก สนช.โดยมีคณะกรรมการพิจารณาโครงการ ซึ่งผู้ประกอบการที่สนใจน่าจะเป็นโรงแรม รีสอร์ท ร้านอาหาร ที่แต่ละวันมีเศษอาหาร เศษไม้วัชพืช ในการตกแต่งสวน สามารถนำขยะเหล่านี้มาแปลงเป็นเชื้อเพลิงก๊าซแอลพีจี หมุนเวียนกลับไปใช้ในการประกอบอาหารได้ ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับประโยชน์โดยตรงจากการประหยัดค่าใช้จ่ายพลังงานและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ถึง 2,800 ตัน และยังช่วยแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 17 แห่ง ซึ่งบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ตำบลลาดขวาง อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นอีกหนึ่งแห่งที่เข้าร่วมโครงการและได้ “ผลิตก๊าซชีวภาพ” เพื่อใช้ภายในโรงงานและสามารถนำการผสมผสานเทคโนโลยีให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมประมาณ 50% ก๊าซชีวภาพเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการใช้พลังงานในประเทศไทยที่หาได้ใกล้ตัว. emo26:D emo26:D emo26:D หัวข้อ: Re: " ต้นแบบโรงไฟฟ้าชีวมวลสำหรับชุมชน "แก้ปัญหาพลังงานขาดแคลน" เริ่มหัวข้อโดย: khesorn mueller ที่ 07 พฤศจิกายน 2553, 16:54:29 พี่หมอคะ,
หมู่บ้านข้างๆกันห่างไป 4 กม. เค้าทำโรงเก็บชีวภาพกลั่นก๊าซ ตอนสร้างนั้นมาสร้างติดเขตหมู่บ้าน พูดอะไรไม่ได้เพราะอยู่ในเขตเค้า...หมู่บ้านเค้า แต่พอทำจริง อย่างที่เค้ากลัวกันคะ! กลิ่นค่ะ.. กลิ่นเหม็นมากๆ เคยไปเดินผ่าน ถีบจักรยานผ่าน เกือบเป็นลม! เจ้าของโรงงานได้รับรางวัลท้องถิ่นด้วยคะ ว่านำสมัย รู้จักrecycle...เค้าก็ระวังนะคะ ตอนเริ่มมีการร้องเรียนเรื่องกลิ่น เค้าหาผ้าพลาสติกขนาดใหญ่มหึมามาคลุม แต่กระนั้น ของเหลือชีวภาพเหล่านี้ยังไหล เป็นน้ำลงบ่อพักที่ปิดไม่ได้..แถมติดทางผ่าน! อู้ววว อย่าบอกใครคะ. แต่แก๊ซน่ะ ขายเข้าสู่เส้นทางใช้งานได้แล้ว คนเลยยอมๆกัน ไม่บ่นกันมาก. วันหลังผ่านไปอีกจะเก็บรูปมาค่ะ. nn. หัวข้อ: Re: " ต้นแบบโรงไฟฟ้าชีวมวลสำหรับชุมชน "แก้ปัญหาพลังงานขาดแคลน" เริ่มหัวข้อโดย: Samrotri2517 ที่ 08 พฤศจิกายน 2553, 08:14:10
การที่มีกลิ่นทำลายสิ่งแวดล้อม ปัจจุบัน มีระบบคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อม ISO 14001 ที่เปรียบเป็นด้านที่ 3 ของสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา เข้ามาบังคับให้กิจการที่จะทำแล้วมีผลต่อสิ่งแวดล้อม ต้องมีป้ายรับรองคุณภาพ ISO 14001ดังกล่าวด้วย ถ้าไม่ผ่านการพัฒนาและรับรองจนได้ป้ายรับรองข้างต้น จะต้องถูกปิดไม่ให้ทำต่อ จนต้องพัฒนาและปฏิบัติตามแนวทางระบบคุณภาพ ISO 14001 จนได้ป้ายรับรอง จึงจะดำเนินการต่อได้ พบข่าว CPF จัดทำการแปรรูปสำเร็จ ดังข่าว 'ซีพีเอฟ' ปูพรมก๊าซชีวภาพฟาร์มสุกร วันพุธที่ 03 พฤศจิกายน 2010 เวลา 10:15 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ http://www.thannews.th.com/index.php?option=com_content&view=article&id=46177:2010-11-03-03-18-12&catid=88:2009-02-08-11-23-46&Itemid=418 (http://www.thannews.th.com/index.php?option=com_content&view=article&id=46177:2010-11-03-03-18-12&catid=88:2009-02-08-11-23-46&Itemid=418) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/lbjkp4-542ce4.jpg) ซีพีเอฟเดินหน้าหนุนเกษตรกรตั้งระบบก๊าซชีวภาพ ผลิตไฟฟ้าใช้ในฟาร์มสุกร คาด 5 ปีทำครบ 482 รายทั่วประเทศ หลังเดินหน้าไปแล้วกว่าครึ่ง โชว์ผลสำเร็จเฉพาะฟาร์มซีพีเอฟ 37 แห่ง ลงทุน 115 ล้านบาท ผลิตไฟฟ้าได้รวม 12-13 ล้านหน่วย ประหยัดค่าไฟฟ้าราว 30% ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 170,721 ตันต่อปี เตรียมต่อยอดขายคาร์บอนเครดิต emo28:win: emo28:win: emo28:win: หัวข้อ: Re: " ต้นแบบโรงไฟฟ้าชีวมวลสำหรับชุมชน "แก้ปัญหาพลังงานขาดแคลน" เริ่มหัวข้อโดย: khesorn mueller ที่ 09 พฤศจิกายน 2553, 00:20:58 พี่หมอ,
ลืมไป ว่าไม่ต้องคอยชมรูปก็ได้คะ ขอให้รู้ว่าจะclickด้วยคำไหน... รูปของบริษัทนี้ สวยๆมีมาให้ชมทันที! Biogasคะ แบบเล็กๆ (http://i935.photobucket.com/albums/ad192/snnn2127/nn1/Aufnahme1-14.jpg) (http://i935.photobucket.com/albums/ad192/snnn2127/nn1/top10.jpg) หัวข้อ: Re: " ต้นแบบโรงไฟฟ้าชีวมวลสำหรับชุมชน "แก้ปัญหาพลังงานขาดแคลน" เริ่มหัวข้อโดย: khesorn mueller ที่ 09 พฤศจิกายน 2553, 00:24:43 เพิ่งเปิดทำการเมื่อปี 2008นี่เองคะ
ล่าสุดน่ะ วัตถุดิบธรรมชาติกองเป็นภูเขาเลากา มหึมาเต็มพื้นที่ค่ะ (http://i935.photobucket.com/albums/ad192/snnn2127/nn1/Aufnahme6-4.jpg) หัวข้อ: Re: " ต้นแบบโรงไฟฟ้าชีวมวลสำหรับชุมชน "แก้ปัญหาพลังงานขาดแคลน" เริ่มหัวข้อโดย: khesorn mueller ที่ 09 พฤศจิกายน 2553, 00:27:50 แค่กำลังโหลดรูปก็เหมือนจะจำกลิ่นได้คะ
เหมือนส้วมแตก! (http://i935.photobucket.com/albums/ad192/snnn2127/nn1/Aufnahme5-5.jpg) (http://i935.photobucket.com/albums/ad192/snnn2127/nn1/Aufnahme2-8.jpg) (http://i935.photobucket.com/albums/ad192/snnn2127/nn1/Aufnahme4-5.jpg) หัวข้อ: Re: " ต้นแบบโรงไฟฟ้าชีวมวลสำหรับชุมชน "แก้ปัญหาพลังงานขาดแคลน" เริ่มหัวข้อโดย: khesorn mueller ที่ 09 พฤศจิกายน 2553, 00:30:47 เค้าบรรยายละเอียดยิบคะ
ว่า processเป็นยังไงมายังไง (http://i935.photobucket.com/albums/ad192/snnn2127/nn1/87ea731af5.jpg) (http://i935.photobucket.com/albums/ad192/snnn2127/nn1/Aufnahme3-3.jpg) หัวข้อ: Re: " ต้นแบบโรงไฟฟ้าชีวมวลสำหรับชุมชน "แก้ปัญหาพลังงานขาดแคลน" เริ่มหัวข้อโดย: khesorn mueller ที่ 09 พฤศจิกายน 2553, 00:34:26 แห่ะๆ ตัดมาได้แค่นี่ล่ะพี่หมอ
ขืนให้หนิงไปแปลกระบวนการมาด้วย วันนี้ได้สติแตกกันมั่ง! (http://i935.photobucket.com/albums/ad192/snnn2127/nn1/Aufnahme7-4.jpg) (http://i935.photobucket.com/albums/ad192/snnn2127/nn1/Aufnahme9-3.jpg) หัวข้อ: Re: " ต้นแบบโรงไฟฟ้าชีวมวลสำหรับชุมชน "แก้ปัญหาพลังงานขาดแคลน" เริ่มหัวข้อโดย: khesorn mueller ที่ 09 พฤศจิกายน 2553, 00:37:53 Quelleที่มา :
http://www.soehnergroup.com/soehnergroup/das-unternehmen/standorte/soehnergy.html http://www.uts-biogas.com/index.php?id=1685 http://www.initiative-co2.de/fachberichte/n-waerme-strom-biogas-04.pdf nn.27 หัวข้อ: กองทุนพัฒนาไฟฟ้า เป็นกุศโลบาย ในการประสานประโยชน์ในการสร้างโรงไฟฟ้า เริ่มหัวข้อโดย: Samrotri2517 ที่ 23 มกราคม 2554, 13:06:13 221ชุมชนรอบโรงไฟฟ้าเตรียมเฮ! เขียนโดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ วันพุธที่ 19 มกราคม 2011 http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=53582:221&catid=88:2009-02-08-11-23-46&Itemid=418 (http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=53582:221&catid=88:2009-02-08-11-23-46&Itemid=418) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/lfgowp-20d43c.jpg) เงินกองทุนพัฒนาไฟฟ้า 2,192 ล้านบาท กำลังจะหมุนไปหาชุมชนโรงไฟฟ้าทั่วประเทศ เดือนก.ค.นี้ ส่งลงพื้นที่ 221 ชุมชนที่มีโรงไฟฟ้าตั้งแต่ 1 เมกะวัตต์ขึ้นไปตั้งอยู่ พร้อมนำเงินไปพัฒนาท้องถิ่นของตัวเอง"กวิน ทังสุภานิช" ย้ำหากชุมชนไหนมีโรงไฟฟ้า ขนาดเล็กกองทุนเงินไม่พอ ยังจัดสรรเพิ่มให้อีกปีละ 3 แสนบาท ส่วนประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้าต้องทำใจ โรงไฟฟ้าผลักภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นให้รับแทน นายกวิน ทังสุภานิช เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(สกพ.) เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า จากที่พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ.2550 กำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนพัฒนาไฟฟ้า เพื่อพัฒนาหรือฟื้นฟูท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบ จากการดำเนินงานของโรงไฟฟ้า โดยเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2553 ที่ผ่านมารอเพียง ระเบียบว่าด้วยการบริหารจัดการและการใช้จ่ายเงิน จะมีผลใช้บังคับเดือนกุมภาพันธ์ 2554 นี้ ทั้งนี้ กองทุนดังกล่าวจะมีการเรียกเก็บเงินจากโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงทุกชนิด รวมทั้งจากพลังงานลมและแสงอาทิตย์ ที่มีขนาดกำลังการผลิตตั้งแต่ 1 เมกะวัตต์ขึ้นไป นำมาสะสมไว้ในกองทุน ที่คาดว่าในวันที่ 15 มีนาคม 2554 นี้ จะเริ่มมีเม็ดเงินเข้ามา ซึ่งคาดว่าภายในเดือนกรกฎาคมนี้จะสามารถจัดสรรเงินลงพื้นที่ได้ โดยจะมีเงินเข้ามา ปีละ 2,192 ล้านบาทต่อปี จากจำนวนโรงไฟฟ้าที่ได้รับใบอนุญาตจำนวน 249 ราย ตั้งเป็นกองทุนได้จำนวน 221 กองทุน นอกจากนี้ หากเป็นโรงไฟฟ้าที่มีขนาดเล็กหรือกำลังการผลิตไม่เกิน 100 ล้านหน่วยต่อปี หรือมีเงินอยู่ในกองทุนไม่ถึง 1 ล้านบาทต่อปี ก็จะมีเงินอุดหนุนให้อีก 300,000 บาทต่อปี นอกจากนี้ จะมีการตั้งคณะกรรมการพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าตำบล(คพรต.) ขึ้นมา เพื่อมาดูแลกองทุนที่มีเงินมากกว่า 50 ล้านบาทต่อปี ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 12 กองทุน เช่น โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ราชบุรี บางปะกง พระนครเหนือ พระนครใต้ แก่งคอย เป็นต้น โดยคณะกรรมการชุดนี้จะมาจากภาคประชาชนไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ที่ผ่านการคัดเลือก มาจากเวทีประชาคมหมู่บ้านหรือตัวแทนหมู่บ้าน ซึ่งมีวาระ 2 ปี และต่อได้ไม่เกิน 2 วาระ มาทำหน้าที่จัดทำหรือร่วมกับเวทีประชาชนตำบล หรือหมู่บ้านจัดทำโครงการชุมชนเพื่อ เสนอขอให้เงินกองทุน และต้องกลั่นกรองโครงการชุมชน ก่อนเสนอคพรฟ.เพื่ออนุมัติเงิน ซึ่งกรรมการทั้ง 2 คณะนี้คาดว่าจะจัดตั้งแล้วเสร็จประมาณเดือนเมษายน 2554 นี้ ดังนั้น ค่าไฟฟ้าที่จะปรับขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังจะมาจากค่าเอฟทีที่เกิดจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้า และอีกส่วนจะมาจากการเรียกเก็บเงินเพิ่มของผู้ใช้ไฟฟ้าที่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน เพื่อนำไป ชดเชยให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน ตาม โครงการประชาวิวัฒน์ของรัฐบาล emo28:win: emo28:win: emo28:win: XXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXX นำกุศโลบาย ในการนำความเจริญไปให้กับชุมชน ที่เป็นที่ตั้งของโรงไฟฟ้า ที่จะเป็นต้น กำเนิดของพลัีงงานในการพัฒนา ประเทศ จะไปสร้างที่ไหน ก็จะถูกต่อต้าน เมื่อมีกองทุน พัฒนานี้แล้ว จะทำให้การต่อต้านน้อยลง และ เกิดการประสานประโยชน์กันขึ้น emo6::)) emo6::)) emo6::)) |