Cmadong Chula

เรือนรับแขก เมาท์แหลกไม่เลือกรุ่น => ห้องสนทนาประสาพี่น้อง => ข้อความที่เริ่มโดย: seree_60 ที่ 14 พฤศจิกายน 2551, 10:13:55



หัวข้อ: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: seree_60 ที่ 14 พฤศจิกายน 2551, 10:13:55

 เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติ ได้เขียนไว้ว่า " หลายๆประเทศในโลกนี้ เพลงชาติมาจากการปฏิวัติ การปฏิวัติเป็นการสร้างชาติ
 เพราะฉนั้น เพลงปฏิวัติก็เป็นเพลงชาติ ยกตัวอย่าง เช่นเพลงชาติฝรั่วเศส ก็มาจากการปฏิวัติของประชาชนนั่นเอง..."
วัฒน์ วรรลยางกูร " บทเพลงปฏิวัตินั้นงดงาม เพราะกลั่นจากความคิดที่ไม่เห็นแก่ตัว และปราถนาเห็นสังคสที่ดีงาม มีความเป็นธรรม จากจิตใจใสบริสุทธิ์
                    มุ่งที่จะให้โดยำม่หวั่นเกรงอำนาจอธรรมใดๆ  แม้ต้องเอาชีวิตเข้าแลกก็ยินดี
                    เพลงเหล่านี้จึงสมควรเก็บรักษาและเผยแพร่ต่อไป ในฐานะเพลงประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นท่ามกลางต่อสู้ของประชาชน
                แม้ศิลปินปฏิวัติบางคนได้จากไปแล้ว    ไม่มีสถานการณ์ที่ปฏิวัติแล้ว  แต่เพลงปฏิวัติไม่มีวันตายหรือเปลี่ยนแปลง  และยังคงงดงามตลอดไป
                          เพราะความคิดปฏิวัติที่อยู่ในเพลง  เป็นความคิดที่มีแต่ให้ และไม่ยอมจำนนนั่นเอง " 

  คอลัมน์นี้เปิดขึ้นมาเพื่อนำเสนอ บทเพลง และเรื่องราว การปฏิวัติ และการต่อสู้ของประชาชน ในห้วงเวลา 2514-ปัจจุบัน

                   ใครสนเรื่องราวในอดีต ที่ไม่ค่อยได้มีการเผยแพร่ ก็ติดตามได้นะครับ


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: seree_60 ที่ 14 พฤศจิกายน 2551, 10:28:08
ขอเริ่มต้นด้วยบทเพลง  ที่สอดคล้องกับเรื่องราวในปัจจุบัน


                         พิราบแดงแห่งเดือนตุลา
 
ลมหนาวพัดโชยแผ่ว    ดุจดังสายลมตุลาสะท้านปลุกความหลัง
ให้ทวนรำลึกถึงพิราบน้อยเคลื่อนคล้อยจากรัง
เหินบินสู่ความหวัง เสรีสิทธิ์อิสรา
เพราะในฤทัยโศกศัลย์ เพื่อนถูกประหารชีวันแค้นคลั่งหนักหนา
พิราบแดง  แดงด้วยเลือดของเดืนตุลา
เพื่อนจึงพรากจากไกล สู่ห้วงนภาฟ้ากว้างแสนไกล
พิราบแดงเหินฟ้า ฝ่าพายุโหม  ไม่หวั่นคลื่นลม มุ่งสู่ป่าใหญ่
เพื่อกอบกู้เอกราชอธิปไตย สู่เส้นทางใหม่  ทางสู่ชัยไทยสมปอง


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: seree_60 ที่ 15 พฤศจิกายน 2551, 10:58:51
 ไม่น่าเชื่อว่า เหตุการณ์ 14ตุลา 6 ตุลา ที่ผ่านพ้นเกือบ 40 ปี จะหวนกลับมาเกิดขึ้นอีกในแผ่นดินไทย ในวันที่ 7 ตุลา 2551 เพียงแต่เปลี่ยน จากทหาร มาเป็นตำรวจ ที่ผ่านมารัฐบาลทหารปราบปราม ประชาชน พอเข้าใจได้ แต่ในโลกดิจิตอล รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ที่เขาอ้างว่า เป็น ประชาธิปไตย
แล้วมาเข่นฆ่า ประชาชน กลางเมืองหลวง และยังลอยหน้าลอยตา นั่งเฉยๆ ไม่รู้ร้อนรู้หนาว ไม่มีความรับผิดชอบใดๆ ในการนี้เลย
 เหตุการณ์ 7 ตุลา ผมเสียใจมาก น้ำตา มันไหลออกมาเอง เหมือนทำนบพัง เพราะไม่เคยคิดว่า จะมีเหตุการยิงลูกหลาน คนรุ่นใหม่ ล้มตายกลางถนน ผม ไม่ต้องการให้ คนรุ่นหลังต้องเดือดร้อน เจ็บปวดสูญเสีย เหมือนที่คนรุ่นผมประสบมา ทั้งนี้ ก็เพราะความเห็นแก่ตัว ของนักการเมืองเลวๆที่เห็นแก่ตัวไม่กี่คน


    บทเพลงปฏิวัติ ได้ทำหน้าที่ บันทึก ซึมซับ สะท้อน หลอมรวมเรื่องราว อันควรจดจำ เทิดทูน ภาคภูมิ เชื่อมั่น ไว้ในบทเพลงอย่างหลากหลาย แม้จะไม่สมบูรณ์ รอบด้าน เพราะข้อจำกัดหลายประการ แต่ก็ได้สะท้อน ลักษณะเฉพาะทางศิลปะประจำชาติ และรสนิยมแห่งมวลชนตามความเป็นจริงอย่างแท้จริง
    และนี่คือเพลงที่สะท้อนเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 อย่างชัดเจน และมันก็คล้ายคลึง เหตุการณ์ 7 ตุลา 51 เช่นกัน

                             จากลานโพธิ์ ถึงภูพาน   ประพันธ์ โดย วัฒน์ วรรลยางกูร

              ดินสอโดมธรรมศาสตร์เด่นสู้ศึก        ได้จารึกหนี้เลือดอันเดือดดับ
           หกตุลาเพื่อนเราล่วงลับ                 มันแค้นคับเดือดระอุอกคุไฟ
          เรามีเพียงมือเปล่ามันล้อมปราบ    ระเบิดบาปกระสุนบ้ามาสาดใส่
         เสียงเหมือนแตรงานศพซบสิ้นใจ      สนามหญ้าคลุ้งกลิ่นไอคาวเลือดคน
         มันตามจับตามฆ่าล่าถึงบ้าน        สร้างหลักฐานเข้าคามคุกทุกแห่งหน
        เราอดทนถึงที่สุดก็สุดทน               จึงเปลี่ยนหนทางสู้ขึ้นภูพาน

                อ้อมอกภูพานคือชีวิตใหม่        คือมหาวิทยาลัยคนกล้าหาญ
               จะโค่นล้มไล่เฉดเผด็จการ         อันธพาลอเมริกาอย่าหวังครอง ( สมัยนั้น อเมริกา เข้ามาตั้งฐานทัพในไทย เพื่อรบกับ คอมมิวนิสต์
                                                                                 ในเวียตนาม เขมร ลาว และแทรกแซงกิจการในไทย  )

           สู้กับปืนต้องมีปืนยืนกระหน่ำ
            พรรคชี้นำตะวันแดงสาดแสงส่อง
          จรยุทธนำประชาสู่ฟ้าทอง
         กรรมาชีพลั่นก้องอย่างเกรียงไกร                       ( กรรมาชีพ หมายถึง ชนชั้นที่ใช้แรงงาน ก็คือ กรรมกร นั่นเอง )

            ในวันนี้ ลานโพธิ์ ธรรมศาสตร์ อาจเงียบหงอย

           ก็เพียงช่วงรอคอยสู่วันใหม่

           วันกองทัพประชาชนประกาศชัย

           จะกลับไป กรีดเลือดพาล  ล้างลานโพธิ์         ( สมัยนั้น ลานโพธิ์ ธรรมศาสตร์ จะเป็นสถานที่ ที่เป็นแหล่งชัมนุมการต่อสู้ของนักศึกษา
                                                            เหมือน สพานมัฆวาน ถนนราชดำเนิน ในสมัยนี้ )
      --------------------------------
           



หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: yc ที่ 15 พฤศจิกายน 2551, 15:25:45
ไปอ่านพบบทสัมภาษณ์ของ วัฒน์ วรรลยางกูร  ถึงที่มาที่ไปของเพลง จากลานโพธิ์ถึงภูพาน จึงขอนำมาแปะไว้

เรื่องราวที่คุณวัฒน์ วรรลยางกูร บันทึกไว้ในหนังสือ โครงการบันทึกและเผยแพร่ประวัติศาสตร์งานเพลงปฏิวัติ……….


 "ขณะที่เขียน น่าจะเพิ่งผ่านเหตุการณ์ 6 ตุลา มาได้สัก 10วัน อารมณ์มันจึงระอุคุกรุ่น
ด้วยถ้อยคำแรงๆ อย่าง
…..’มันตามจับตามฆ่า ล่าถึงบ้าน    อ้างหลักฐานตามประสาสัตว์หน้าขน’….
เนื้อความตอนนี้พอไปบันทึกเสียงเขาเปลี่ยนเป็น
…..’อ้างหลักฐานจับเข้าคุก ทุกแห่งหน’……(ฉบับวง66)
…..’อ้างหลักฐานเข้าคุกคาม ทุกแห่งหน’….(ฉบับ สปท.)

ผมใช้เวลานั่งเขียนกลอนนี้ไม่นานก็เสร็จความยาว 6บท(24วรรค)
ไม่ใช่เก่งหรอก
เขียนไม่นานเพราะมีอารมณ์ มีแรงบันดาลใจรุนแรง
และเขียนไม่นานเพราะคิดมานานก่อนลงมือเขียน ……
อย่างไรผมก็ต้องเขียนเรื่องนี้ไว้ฟ้องร้องมนุษยชาติให้ได้

อ่านกลอนที่ทับจรยุทธ์วันนั้น
ผมได้ยินสหายร้องไห้อยู่ในความสลัวของแสงตะเกียงกระป๋อง
เพราะสหายแถบเขตส่องดาวสว่างแดนดินต่างก็ผ่านการถูกปราบปรามเข่นฆ่า
มาตั้งแต่สมัยปราบปรามครูครอง จันดาวงศ์
เหตุการณ์นองเลือด 6 ตุลา ไม่ได้ห่างไกลจากประสบการณ์ตรงของเขาในอดีต
จากนั้นผมกับเพื่อนถูกนำส่งไปยังทับใหญ่ของเลขาธิการจังหวัด
….ผมมาอยู่ทับเลขาจังหวัดอย่างปลอดโปร่งขึ้น ไม่ต้องคอยเลื่อนตัวตามเงาไม้อย่างในทับจรยุทธ์…
ระหว่างนั้นมีคณะจากในเมืองทยอยเข้ามา
ประกอบด้วย สมคิด สิงสง,สมบูรณ์ สุพรรณฝ่าย,ศรีศักดิ์ นพรัตน์,สุรสีห์ ผาธรรม,
บรรยากาศคึกคักขึ้นทันตาเห็น ว่าไปคณะนี้สถานะเกินวัยนักศึกษา
เป็นรุ่นสมาชิกพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทยมากกว่า

อยู่วันๆยังไม่มีภารกิจอะไร
ผม ก็นั่งเขียนกลอนเขียนบันทึกแล้วก็พิมพ์กลอนด้วยพิมพ์ดีดของสหายพิชิต เอามาให้สหายผู้มาใหม่ได้อ่าน สุรสีห์ ผาธรรม เป็นคนหนึ่งที่ได้อ่านแล้วไม่รู้ว่ามีอะไรมาดลใจ ให้อ่านๆไปเขาก็ฮัมบทสุดท้ายออกมาเป็นเพลง


“ในวันนี้…ลานโพธิ์ ธรรมศาสตร์อาจเงียบหงอย” ไปจนถึง “จะกลับไป กรีดเลือดพาล ล้างลานโพธิ์”คุณสุรสีห์ก็คงจะงงตัวเองเหมือนกันว่าอะไรมาดลใจให้ฮัมทำนอง นั้นออกมาเพราะโดยปกติอาชีพท่านคือพากย์หนัง  ไม่ใช่ชำนาญพิเศษด้านดนตรีแต่อย่างใดจากการนั่งสนทนากัน  คุณสุรสีห์รู้สึกว่ากลอนชิ้นนี้ น่าจะเป็นเพลงที่ไพเราะได้ น่าจะเคาะทำนองดู

12 วัน ที่ผมเดินไป คิดไป ไล่ทำนองไป จนกลอนกลายเป็นเพลงตั้งแต่ต้นจนจบ 6 บท นับเป็นเพลงที่ยาวมาก ทำนองช้ามากผมก็เลยปรับเปลี่ยนท่อนกลางเป็นทำนองมาร์ช ให้คึกคักสมกับความรู้สึกว่า อ้อมอกภูพานคือชีวิตใหม่…

……เคยไปได้ยินเพลงนี้ตามผับเพื่อชีวิตบ้าง บางทีก็แทบจำไม่ได้ เพราะคนร้องไล่ทำนองตามใจตัวเอง
…ในแง่สปิริตของศิลปินเพลง เขาไม่ทำกันครับต่อบทประพันธ์เพลง ไม่ว่าต่อเพลงของใคร

เพลง  “จากลานโพธิ์ถึงภูพาน”
ที่คนในเมืองฟังแล้วเกิดความรู้สึกว่ามันเป็นเพลง  “จาก(คนที่)ภูพานถึง(คนที่)ลานโพธิ์”
ก็รู้สึกได้เหมือนกัน

… เพลงเหล่านี้กลายเป็นบทเพลงของประวัติศาสตร์  ครั้งหนึ่งมีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น เพลงจะทำหน้าที่เล่าเรื่องราวต่อไปไม่ว่ากี่สิบปีหรือกี่ร้อยปี ดุจเดียวกับชั้นหินหรือฟอสซิลที่บันทึกร่องรอยไดโนเสาร์หรือซากเปลือกหอยเอา ไว้ให้คนรุ่นหลังได้มาเห็นและรับรู้

สำหรับตัวศิลปิน ช่วงชีวิตหนึ่งเขาได้มา ได้ทำ และเขาก็จากไป
วิเศษนักแล้วหากได้ทิ้งร่องรอยไว้ในชั้นหินหรือซากฟอสซิลไว้บ้างสักเล็กน้อย

วัฒ น์ วรรลยางกูร เล่าว่า : "ส่วนกลอนเพลงดินสอโดมธรรมศาสตร์เด่นสู้ศึก ผมอยากจะสรุปว่ามันเป็นกลอนหรือเพลงประเภท 'ผีจับยัด' คือสถานการณ์ต่างๆ เป็นใจให้เกิดขึ้น บอกเล่าในวาระทบทวนความจำ 6 ตุลา ครบ 25 ปี ไม่มีความรู้สึกโอ่โถงใดๆ ทั้งสิ้น (เพราะหลายต่อหลายคนได้เสียสละมากมายก่ายกองเกินเปรียบเทียบ) ว่าเริ่มแรกดินสอโดมเป็นบทกลอนที่ผมเขียนในราวกลาง - ปลาย

เดือน ตุลาคม 2519 ในเขตจรยุทธ์ แถบภูซากลาก ภูเตี้ย แถบชายป่า   อำเภอส่องดาว สกลนคร เป็นช่วงเวลาที่พักรอคำตอบจากฝ่ายป่าว่า จะเอาอย่างไรกับคนไม่มีหัวนอนปลายตีนอย่างเรา ที่กระเซอะกระเซิงไปพึ่งเขาโดยไม่ได้ติดต่อหรือรู้จักมักคุ้นกันมาก่อน อันเป็นขั้นตอนที่จำเป็นเพราะการจะรับใครเข้าไปอยู่ด้วยก็ต้องตรวจสอบ


ระหว่าง การรอคอยอันน่าเบื่อนั้น สหายนักรบลูกหลานชาวนาก็มักจะถามไถ่ว่าเหตุการณ์เป็นอย่างไร และให้ไปเล่าต่อหน้าที่ชุมนุมนักรบทหารป่า ผมเป็นคนที่พูดไม่เก่ง ไม่ใช่นักไฮปาร์ก ก็เลยใช้วิธีเขียนกลอนบอกเล่าแทนระหว่างนั้น คณะของสมคิด สิงสม (ผู้เขียนเพลงฅนกับควาย) ก็เดินทางมาเจอกันโดยมิได้นัดหมาย เขาก็คงมาจากหมู่บ้านซับแดง ขอนแก่น ในคณะของสมคิด ก็มีผู้ที่มาหลบภัยเผด็จการเป็นการชั่วคราว คือ ศรีศักดิ์ นพรัตน์ และสุรสีห์ ผาธรรม


ผมจัดการขอใช้พิมพ์ดีดของจัดตั้ง เป็นเลขาฯ จังหวัด (เทียบเท่าตำแหน่งผู้ว่าฯ) พิมพ์กลอนใส่กระดาษคาร์บอนก๊อปปี้แจกจ่ายให้คณะของสมคิดอ่าน พอสุรสีห์อ่านแล้วเขาก็บอกว่าในกลอนนั้นมีท่วงทำนองไพเราะ มีเสียงสูงเสียงต่ำ น่าจะแปลงเป็นเพลงได้ แล้วเขาก็ลองฮัมเป็นตัวอย่างตรงท่อนสุดท้ายที่ว่า 'ในวันนี้..ลานโพธิ์ธรรมศาสตร์อาจเงียบหงอย'

……..ขอบคุณครับ  วัฒน์ วรรลยางกูร ……."


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: seree_60 ที่ 15 พฤศจิกายน 2551, 21:26:03
   
  ขอบคุณมากน้องยังชิน ที่ช่วยเติมเต็ม ข้อมูล และเบื้องหลัง ของ เพลง จากภูพาน ถึงลานโพธิ์


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: seree_60 ที่ 15 พฤศจิกายน 2551, 22:18:39

                 มีเพลงอีกเพลงหนึ่งที่ร้องกันมาตั้งแต่ หลัง 14 ตุลา 16 แต่เนื้อ ก็ยังไม่เก่า และสอดคล้องกับสภาพบ้านเมืองในปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง
ทำให้ต้องทึ่งกับความสามารถของผู้แต่งเพลงนี้ ถ้าจำไม่ผิด ก็น่าจะเป็นเพลงของวง คาราวาน นั่นเอง

                      เพลง มารครองเมือง

   อยู่กลางไพรมันไร้เงินตรา  อยู่กลางนาข้าวปลาไม่ได้ทำ 
   ฝนฟ้าแล้งทุ่งแดงเป็นไฟ   เหลียวมองทางไหน  ในเมืองไทยช่างเหมือนกัน
  ข้าวปลูกข้าวพันธุ์เมื่ออดกันต้องใช้กิน  มันไม่มีกิน หนี้สินเต็มตัว
   อดกันแท้หนอ  ข้าวโพดปอก็แห้งตาย  การพนันมากหลาย โจรผู้ร้ายก็มากมี
       ส่อนสาหากินอยู่กับโคลน หม่นหมองมองไปก็หน้าดำ เป็นอยู่อย่างนี้ประจำ คนสร้างคนทำมาย่ำอยู่กับความจน

สุดระกำทนช้ำมานาน  รัฐบาลไม่เคยเหลียวแล ได้แต่ร้องว่าให้สามัคคีกัน
แต่ปล่อยพวกใครนั้นมาฆ่าฟันประชาชน
             ชอบหลอกชอบลวง                 ทวงถามก็บิดเบือน ชอบถ่วงชอบเลื่อน ผันเดือนผันปี
        เก็บดองเข้าไว้   ใครใครก็รู้ดี  พอหมดทางที่จะหนี มันปลุกผีขึ้นปราบปราม

           โลกหมุนก้าวไป เมืองไทยกำลังจะก้าวตาม สังคมที่แสนงาม จะเกิดทั่วแผ่นดินไทย

   จะอดจะกลืนทนฝืนอยู่ทำไม    จะต้องเข้าใจว่าใครคือตัวมาร

       มาเถิดพี่น้องจะร่ำร้องกันอยู่นาน   มาชูปืนขึ้นประสาน   โค่นพวกมารที่ครองเมือง

         0000000000000000000000000000000000000000000


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: seree_60 ที่ 18 พฤศจิกายน 2551, 14:43:27
มีเพลงอยู่เพลงหนึ่ง เป็นเพลงที่ไพเราะมาก ไม่ว่าจะเป็นเนื้องร้องที่งดงามในเชิงกวี เนื้อหาสาระ ที่ให้กำลังใจ เพิ่มพลังปลุกเร้า ให้ต่อสู้ ไม่ยอมแพ้แก่อุปสรรค ทำนองก็แสนจะซาบซึ้งตรึงใจ นักต่อสู้เพื่อมวลชน จะยึดถือเป็นเพลงประจำใจ ไม่ว่าในยามท้อถอย หรือ การร้องเพื่อความรื่นเริง
ต่อมาเพลงนี้ ก็มาดังกระหึ่ม บนเวที พันธมิตร ข่าว เป็นเพลงโปรด ของท่านมหาจำลอง ที่วง คีตาญชลี นำมาขับขาน ด้วยน้ำเสียงที่สุดแสนไพเราะของเธอ
และที่เสียใจ อย่างยิ่ง ที่ เวที นปก. ดันนำเพลงนี้มาร้องซะด้วย คงเป็นเพราะ อดีตคนที่เคยต่อสู้สมัย 14 ตุลา เช่น อดิสร จตุรนต์ อะไร พวกนี้ นำมาให้ร้อง   คิดแล้ว เสียดายเพลง ถ้า จิตร ภูมิศักดิ์ ซึ่งเป็นคนแต่งเพลงนี้ รู้เข้า คงเสียใจน่าดู

                    แสงดาวแห่งศรัทธา   
                                      ประพันธ์ โดย จิตร ภูมิศักดิ์

                                          พร่างพรายแสงดวงดาวน้อยสกาว
                                   ส่องฟากฟ้าเด่นพราวไกลแสนไกล
                                  ดั่งโคมทองส่องเรืองรุ้งในหทัย
                              เหมือนธงชัยส่องนำจากห้วงทุกข์ทน

                                              พายุฟ้าครืนข่มคุกคาม
                                               เดือนลับยามแผ่นดินมืดมน
                                        ดาวศรัทธายังส่องแสงเบื้องบน
                                  ปลุกหัวใจปลุกคนอยู่มิวาย

                                    ขอเยาะเย้ยทุกข์ยากขวากหนามลำเค็ญ
                               คนยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย
                          แม้ผืนฟ้ามืดดับเดือนลับละลาย
                      ดาวยังพรายศรัทธาเย้ยฟ้าดิน
 
                      ดาวยังพรายอยู่จนฟ้รุ่งราง

                        @@@@@@@@@@@@@@@@@@

           

                           
                      ดาวยังพรายอยู่จนฟ้ารุ่งราง


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: seree_60 ที่ 27 พฤศจิกายน 2551, 12:47:49


                       ขอส่งบทเพลงนี้ มาเป็นกำลังใจ แก่ชาวพันธมิตรในการต่อสู้ครั้งยิ่งใหญ่
                                ไม่มีความลำบากอันใดเลย
                                 ที่ได้เคยขวางกั้นเราเอาไว้
                                     ขอแต่เพียงยืนหยัดสู้เข้าไป
                               นั่นคือชัยเราหมายจะได้มา


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Aj.O ที่ 30 พฤศจิกายน 2551, 21:22:42
ขออภัยถ้าไม่สุภาพ...+++

ตอนนี้ผมโคตรตลก ไม่รู้จะใช้คำว่าอะไรดี? เมื่อพวกคนบางกลุ่มที่เคยเรียกตัวเองว่าเป็น คนเดือนตุลาฯ ในช่วงนั้น พอได้เข้ามามีอำนาจในพรรคการเมืองบางพรรค ก็มีส่วนร่วมในการละเมิดสิทธิ ใช้ความรุนแรง ใช้อำนาจบาตรใหญ่ ไม่ต่างกับชนชั้นนำที่ตัวเองเคยวิพากษ์วิจารณ์เอาไว้เมื่อหลายสิบปีก่อน?

ผมเคยร้องเพลง บินหลากู้เสรี(ที่ไอ้จิ้นกรรมาชนมันแต่ง) ตอนออกค่ายอาสาพัฒนาเมื่อหลายปีก่อน
ตอนนี้บอกตรงๆว่าสะอิดสะเอียนสุดๆ...เพราะมันเข้าไปเป็นแนวร่วมพิทักษ์อำนาจของพวกทักกี้
ยกแก๊งค์ไปตะโกนด่าทอป๋าเปรมหน้าบ้าน ทั้งที่นั่นคือการหมิ่นประมาทและละเมิดสิทธิมนุษย์ชนเห็นๆ(ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นองคมนตรีหรือชาวบ้านธรรมดาก็ตาม)
วีระ มุสิกพงษ์ หรือ หมอสุรพงษ์ หันไปสอพลอกับป๋าหมัก(ก่อนหน้านี้) เพื่อผลประโยชน์ของพวกตัวเอง
ทั้งที่เคยด่าทอกันแทบเป็นแทบตายมาก่อน(ป๋าหมักเคยออกวิทยุยานเกราะ ปลุกระดมกลุ่มกระทิงแดง)

เพราะเหตุนี้แหละ ทำให้ผมไม่ค่อยรู้สึกเกลียดจอมพลถนอม หรือเผด็จการทหารยุคก่อน เท่าไหร่
หลังจากที่เคยโดนวาทกรรมของพวกเอียงซ้ายเป่าหูมานาน ว่าแกไม่ดีอย่างนั้นอย่างนี้
เพราะทักกี้(ที่พวกคนเดือนตุลาบางคนนับถือ) ยังแสบกว่าจอมพลถนอมเสียอีก!
(อย่างน้อยจอมพลถนอม ยังมียางอายมากกว่า แกยอมลาออกเมื่อเกิดจลาจล)


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Aj.O ที่ 30 พฤศจิกายน 2551, 21:36:23
ไอ้พวก นปก.ไม่ว่าอีเพ็ญ? ไอ่วีระ? ไอ้เหวง? หรือไอ้จิ้นกรรมาชน? พวกสหายที่อยู่ฝั่งทักกี้...
อ้างว่าเกลียดพลเอกเปรม เพราะเป็นตัวแทนของอมาตยาธิปไตย?
อ้าว? แล้วไอ้หมัก ที่พวกเมิงสอพลอกัน(ก่อนหน้านี้) ไม่ใช่อมาตย์ หรืองัย(วะ)

สู้เพื่อมวลชน? จะอ้วก!...คนที่ตัวเชียร์ ส่งตำรวจไปตี"มวลชน" ยังเสือกยกยอปอปั้น

ใครที่ส่งพวกมันเข้าไปลำบากในป่า? พรรคพวกของหมัก ม่ะใช่เหรอ?
ใครที่เอามันออกจากป่า? พลเอกเปรมกับบิ๊กจิ๋ว...ม่ะใช่เหรอ?
แบบนี้เค้าเรียกว่า สันดานทรยศ ใช่มั้ย?


นปก.(นรกป่วนกรุง)เอาวาทกรรมพวกนี้มาย้อมแมวขาย ตีโลโก้ให้ตัวเอง มันก็เท่านั้น
ประเดี๋ยวก็เอาทักษิณไปเปรียบกับปรีดี ประเดี๋ยวก็เอาไปเปรียบกับพระเจ้าตาก
ขากถุยส์!

หมายเหตุ > ในกระทู้นี้ผมไม่ขอวิจารณ์พันธมิตร จะขอวิจารณ์เฉพาะพวก นปก.และพวกตุลาชินเท่านั้น

โดยส่วนตัว ผมยังคงเชื่อถือฮีโร่ตลอดกาล อย่าง เสกสรรค์ ประเสริฐกุล อยู่


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Aj.O ที่ 01 ธันวาคม 2551, 18:34:39
หากเทียบกับนักร้องเพื่อชีวิต ที่อุดมการณ์แปรผันไปบ้าง...อย่าง แอ๊ด คาราบาว แล้ว
ผมรู้สึกได้ว่า พวกนี้(ไอ้เหวง ไอ้วีระ ไอ้จรัลดิษฐ์) อุบาทว์จันไรมากกว่าหลายเท่า

เพราะอย่างน้อย แอ๊ดคาราบาว แค่ทำตัวเป็นนายทุน หรือฟู่ฟ่าขึ้นเท่านั้น
แต่มันก็ทรัพย์สินที่เขาหามาเอง เค้ามีสิทธิ์จะใช้

ไม่ได้มาจากการคดโกงภาษีชาติ หรือมาจากการช่วยสนับสนุนคนที่โกงเงินชาติ
อย่างไอ้พวกหลัง!
emo5:(


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: khesorn mueller ที่ 01 ธันวาคม 2551, 18:37:27
ขอเพลงคะ
เพลงเพื่อปฎิวัติ

บอกชื่อมาก็ได้ค่ะเดี๋ยวพี่แปะ
p.nn


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: seree_60 ที่ 01 ธันวาคม 2551, 21:14:38
วันนี้ ป่วย กลับมาพัก เลยได้อ่านข้อเขียน ของน้อง aj.o ก็ขอคุยด้วยนะครับ

เห็นด้วยอย่างมากที่น้องด่าไอ้พวกเลวทั้งหลายที่เอ่ยชื่อมา นอกจากนี้ ยัง อดิสร จาตุรนต์ เกรียงกมล เสถียร จันทิมาธร ฯลฯอ้อไอ้ ด๊อก สุธาชัย พี่เจอมัน
จะเตะมันซักที วันก่อน เจอในงาน 14 ตุลา จะตบหัวมันแล้ว เกรงใจผู้ใหญ่ มันเลยรอด

แต่อยากให้น้องแยกแยะ คนเดือนตุลาที่ยังไม่แปรธาตุ ก็ยังมีอยู่ และพร้อมที่จะต่อสู้กับพวกเลวๆเหล่านี้

ส่วนถนอม ประภาส ณรงค์ ก็ยังเลวอยู่นะ รวมทั้งไอ้หมักด้วย

ว่างๆคุยกันครับ

น้องหนิงเดี๋ยวไปคุย ห้องโน้น  ถ้าทำได้ ช่วยเอาเพลง ในชื่อต่างๆที่พี่ใส่เนื้อไว้ที่นี้ มาแปะให้หน่อย


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: su ที่ 01 ธันวาคม 2551, 21:37:27
เห็นด้วยกับพี่ๆ โดยส่วนตัวชอบเพลงแสงดาวแห่งศรัทธาที่สุด ชอบขนาดว่าในงานแต่งงานของเราเมื่อ 19 ปีที่แล้ว(จัดที่ สนจ) ได้เชิญวงคีตาญชลีมา และเพลงที่เจ้าบ่าวเจ้าสาวขอให้ร้องให้คือเพลงนี้ค่ะ ไพเราะมาก ประทับใจมาจนถึงวันนี้


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: su ที่ 01 ธันวาคม 2551, 21:43:08
เมื่อเร็วๆนี้ รายการดนตรี กวี ศิลป์ ช่องTPBS วันที่ 29 พย. เวลาประมาณเกือบ 3-4 ทุ่มเป็นการแสดงเพลงของจิตร ภูมิศักดิ์ เพราะมากค่ะอยากให้ได้ชม เพลงแสงดาวแห่งศรัทธาแสดงเวลาประมาณ 9ทุ่ม 48 นาทีค่ะ สามารถชมย้อนหลังได้ที่ www.me.in.th/live/


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: yc ที่ 02 ธันวาคม 2551, 08:02:50
สวัสดีน้องสุ สบายดีนะครับ 

ยังชินpt


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: su ที่ 02 ธันวาคม 2551, 10:16:33
สวัสดีค่ะพี่ยังชิน สุสบายดีและยังระลึกถึงพี่เสมอค่ะ


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Aj.O ที่ 02 ธันวาคม 2551, 15:15:51
อ้างถึง
ข้อความของ seree_60 เมื่อ 01 ธันวาคม 2551, 21:14:38
เห็นด้วยอย่างมากที่น้องด่าไอ้พวกเลวทั้งหลายที่เอ่ยชื่อมา นอกจากนี้ ยัง อดิสร จาตุรนต์ เกรียงกมล เสถียร จันทิมาธร ฯลฯอ้อไอ้ ด๊อก สุธาชัย พี่เจอมัน
จะเตะมันซักที วันก่อน เจอในงาน 14 ตุลา จะตบหัวมันแล้ว เกรงใจผู้ใหญ่ มันเลยรอด

อาจานที่หน้าตาคล้ายๆบ๊อกเซอร์(ในโฆษณาพัดลมโอกาว่า)ตัวนั้นเหรอคับ?
ทราบว่าหมอนี่มีแนวคิดค่อนข้างแอนตี้สถาบันเบื้องบนครับ เห็นมันว่าเป็นสัญลักษณ์ทางชนชั้น
อยากจะถามมันเหมือนกันว่า แล้วเอ็งมาสอนหนังสือที่จุฬาฯ ทำไมฟะ? สัญลักษณ์ของจุฬาฯมันหมายถึงอะไร? มันเคยถามตัวเองบ้างมั้ย?
หรือว่าหน้าด้านหน้าทน emo7:(:


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: khesorn mueller ที่ 02 ธันวาคม 2551, 15:30:33
จุ๊ๆๆๆๆ
ระวังภาษาคะน้อง Aj.O!

p.nn


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: seree_60 ที่ 02 ธันวาคม 2551, 23:07:44
ดีใจมากเลย ที่มีคนชอบ เพลงแสงดาว เพราะนี่ คือสุดยอดของเพลง ( น้องหนิง เอามาแปะหน่อย ขอร้องจ้า )
มีเพลงอีกเพลง ของจิตร ภูมิศักดิ์ คือ เพลง เสียงเพรียกจากมาตุภูมิ ก็ไพเราะมาก ไม่ทราบว่า น้องสุ เคยฟังมั้ยครับ
เนื้อหา มันสะท้อนถึงความรู้สึก ของคนที่พลัดพรากจากบ้านมา เพื่อมาต่อสู้ ในสิ่งที่ตนเองเชื่อมั่น และหวังว่า ซักวันคงได้กลับบ้าน เพลงฟังอาจจะรู้สึกเศร้า แต่ก็แฝงไปด้วยพลัง

แล้วจะเอาเนื้อมาให้ดูกัน ใครสนใจ เพลงพวกนี้ ลงชื่อไว้ แล้ว จะกอปปี้ มาแจกให้ฟัง ตั้งเป็นชมรมเพลงปฏิวัติ ดีมั้ย


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: su ที่ 03 ธันวาคม 2551, 05:48:23
เคยได้ยินค่ะพี่ seree_60 ขอโทษนะคะพี่ชื่อจรืงว่าพี่อะไรคะ หนูจะได้เรียกถูก
เพลงของจิตรที่ไพเราะมากอีกเพลงหนึ่งคือเพลงทะเลชืวิตค่ะ ในงานดนตร๊ กวี ศิลป์ ร้องโดยป๋อง ต้นกล้า
อยากให้ทุกคนได้ฟัง และจะไพเราะลึกซึ้งมากที่สุดถ้าเราศึกษาชีวิตของจิตร พี่เห็นด้วยมั๊ยคะ
ว่าแต่ว่าวันนี้เป็นวันที่มีความสุขที่สุดเลยค่ะ


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: seree_60 ที่ 03 ธันวาคม 2551, 12:18:36
น้องสุ

  ยินดีมากที่ได้คุยกัน พี่ชื่อ ตะวัน นิเทศ รุ่น 15
ส่วน เสรี เป็นชื่อ จัดตั้ง ตอนอยู่ป่า ที่สุราษฎร์ธานี  เขา เรียก สหายเสรี เพราะเราต้องปิดบัง ชื่อจริง เพื่อปิด ลับ ไม่ใครรู้ เพราะเราไม่รู้ว่า วันไดวันหนึ่ง
อาจมีผู้ทรยศ อาจทำให้ เรา หรือ ครอบครัว ได้ รับอันตราย

พี่จะชอบ งานเพลง และวรรณกรรม เพื่อชีวิต มาก สะสมไว้จำนวนหนึ่ง เสียดาย ช่วงหลัง 6 ตุลา เข้าป่า หนังสือ และเทปเพลงหายไปหมด โชคดี
ที่แม่บ้านของพี่เขาก็เป็นเด็กกิจกรรม เก็บเทปไว้พอสมควร แต่พี่ก็จะร้องได้เกือบทุกเพลง ว่างๆ ก็มานั่งร้องเพลงกัน หรือเวลาขับรถไปเที่ยวต่างจังหวัด ก็จะเอาเพลงพวกนี้มาร้องกัน ทั้งเพื่อชีวิต และเพลงปฏิวัติ ที่ออกอากาศ ทางวิทยุ ของ พคท.รวมทั้งเพลงของวงทางอีสาน จะเป็นพวกหมอลำ ของนักร้องดังๆ เช่น ส.เทอด ที่ร้องเพลง ศิลปินมาแล้ว

เพลง ทะเลชีวิต เพราะมาก แต่ในวงการ เขาไม่ค่อยชอบกัน เขาว่า เหมือนเพลงของความพ่ายแพ้ เพราะในสถานการณ์ของการสู้รบ เขากลัวความอ่อนแอ
อีกเพลงไม่รู้ว่า น้องสุ เคยได้ฟังไหม เพลงภูพานปฏิวัติ ถ้าดูที่เนื้อหาภาษา ก็จะไพเราะมากตาม สไตล์ของจิตร ภูมิศักดิ์ และมีการปลุกเร้าใจที่ดี

อยากเล่าว่า ช่วงหนึ่งที่ได้ขึ้นไปที่ภูพาน ได้มีโอกาศพบ สหายแก่ๆ ที่แกเคยอยู่กับ จิตร ในสมัยนั้น แกได้พาไปดูแท่นหินที่จิตร เคยมานั่ง ตื่นเต้น และดีใจมาก ที่ได้ตามรอย จิตร ภูมิศักดิ์ บนเทือกเขาภูพาน

วันนี้พี่ก็มีความสุขมาก แต่ลึก ก็เหงาเหมือนกัน............  ลมหวิว เจ้าโชยพริ้วมาปลอบใจข้า.......

( ของแถม .......กูไม่กลัวมึง ใจถึงก็ลองดู  กู นักสู้โว้ย..

                   แดดร้อน แผดเผา       ใจเราอึดอดทน
                  พายุ ลมฝน ใจคนย่อมเหนือกว่า   .........ของวงซูซู )


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: seree_60 ที่ 03 ธันวาคม 2551, 14:09:52
 
บทเพลง เสียงเพรียกจากมาตุภูมิ


จิตร ภูมิศักดิ์      ประพันธ์ ในนาม สุธรรม บุญรุ่ง

วงกรรมาชน       เรียบเรียงเสียงประสาน


ม่านฟ้ายามค่ำ  ดั่งม่านสีดำ ม่านแห่งความร้าวระบมเปรียบเหมือนดวงใจ มืดทึบระทม พ่ายแพ้ซานซมพลัดพรากบ้านมา


      ต่อสู้กู้ถิ่น และสิทธิ์เสรี กู้ศักดิ์และศรีโสภา จึงพลัดมาไกล ทิ้งไว้โรยรา จะร้างดังป่าอยู่นับปี


      เคยสดใส รื่นเริง ดังนกเริงลม ถลาลอยชื่นชม อย่างมีเสรี แม้ร้อยวัง วิมานที่มี มิเทียมเทียบปฐพีที่รักมั่น


      ความใฝ่ฝันแสนงาม แต่ครั้งเคยเนาว์ ชื่นหวานในใจเรา อยู่มิเว้นวัน ความหวังเอย ไม่เคยไหวหวั่น ยึดมั่นว่าจักได้คืนเหมือนศรัทธา


      แว่วเสียงก้องกู่ จากขอบฟ้าไกล แว่วดังจากโพ้นนภา บ้านเอ๋ย เคยเนาว์ กังวานครวญมา รอคอยเรียกข้าทุกวัน
                     
                     ................................................................................................

จิตร   ภูมิศักดิ์แต่งเพลงนี้ ใช้นามปากกาว่า สุธรรม  บุญรุ่ง

แต่งขึ้นระหว่าง ถูกจองจำในคุกประมาณปี พ.ศ.2503 - 2505     

ทองใบ   ทองเปาด์ ได้เขียนอธิบายเพลงนี้ในหนังสือ คอมมิวนิสต์ลาดยาว ว่า  ความรัก  ความสุขที่เรามีต่อบ้าน ต่อมาตุภูมิของเรานั้นยิ่งใหญ่เหนือสิ่งใด พวกเรา ที่ถูกอสูรเผด็จการบังคับจับให้ต้องพลัดพลากจากบ้าน และ ครอบครัวที่รัก  รวมทั้งแผ่นดินที่เราเคยทำกินนั้น  ทุกวันอันมืดมนนี้ เราล้วนได้ฟังเสียงกู่เพรียกหาจากแม่  จากลูก  จากเมีย แม้กระทั่ง จากพื้นปฐพีที่เราเคยทำกิน      นี่คือความรัก ความศรัทธาของเราที่ทำให้เรายืนหยัดอยู่ได้อย่างทรนง  เพื่อที่วันหนึ่งเราจะได้มีโอกาสกลับสู่มาตภูมิของเราอย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี      นี่คือ เสียงเพรียกจากมาตุภูมิของเราชาวลาดยาวอ้างอิงhttp://www.geocities.com/thaifreeman/jit/pumisak12.html   
 



หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: seree_60 ที่ 03 ธันวาคม 2551, 14:21:34
มีเรื่องราวของจิตร ภูมิศักดิ์ มาฝาก สำหรับผู้สนใจครับ
จิตร ภูมิศักดิ์ : คนยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย
   

ข้อคิดใหม่บทเพลงของจิตร ภูมิศักดิ์ "ทำนองแหวกแนวจากยุคสมัย ประยุกต์ฝรั่ง ความหมายคือหัวใจของบทเพลง"


 หากสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นปัญญาชน"ราชสำนัก"ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งราชวงศ์จักรี เป็น"วีรบุรุษ"ที่มีบทบาทและอิทธิพลมากที่สุดในการ "สร้าง" "ประดิษฐ์" และ"รื้อฟื้น"ความเป็นไทยตราบจนถึงปัจจุบัน

จิตร ภูมิศักดิ์ ก็เป็นเหรียญอีกด้าน เป็นนักคิดนักเขียน เป็นปัญญาชนและศิลปินจาก"สามัญชน"ที่ยิ่งใหญ่และมีอิทธิพลทางความคิดมากที่สุด เท่าที่สามัญชนจะพึงมี เป็นผู้"ผลิต"ความรู้อันต่างออกไปอย่างสิ้นเชิงและเป็น"วีรบุรุษ"ของคนที่ต้องการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมมานานเกือบครึ่งศตวรรษ

วีรบุรุษ"ในใจชน"ของจิตร มิเพียงผ่านเรื่องเล่าในลักษณะตำนาน แต่ทั้งผลงานและเรื่องราวของเขายังผูก "แนบแน่น" กับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยอย่างแยกไม่ออก ในยุคหนึ่งเขากลายเป็น"ต้นแบบ"ของปัญญาชนในการใช้ชีวิตต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม อีกยุคหนึ่งผลงานของเขาได้รับความสนใจในฐานะ"ผู้บุกเบิก"ทางวิชาการ ซึ่งไม่ว่าคนแต่ละยุค คนจะสนใจมรดกทางปัญญาของเขาในแง่มุมใด แต่มีแง่มุมหนึ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา สิ่งนั้น คือ "จิตวิญญาณแห่งขบถ" "จิตวิญญาณแห่งเสรี" และ "จิตวิญญาณแห่งการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมเพื่อสังคมที่ดีงาม"

"วิญญาณของจิตร"ปรากฏอย่างแจ่มชัดในงานทุกชิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านบทเพลง ซึ่งเป็นศิลปะที่ต้องใช้ "ปัญญา อารมณ์ความรู้สึก และจินตนาการ"

 ทองใบ ทองเปาว์ เพื่อนร่วมคุกในข้อหา"มีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์" จากนโยบายปราบปรามของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ กล่าวถึงจิตรในหนังสือคอมมิวนิสต์ลาดยาวว่า...

"เขาเป็นคนหนุ่มที่มีความคิดและศรัทธาที่รุ่งโรจน์ เป็นคนหนุ่มที่ขยันขันแข็งห้าวหาญ เด็ดเดี่ยวและไม่รู้ว่าความกลัวหรือความยากลำบากคืออะไร เขามีความเกลียดชังศัตรูของประชาชน ศัตรูสันติภาพ ศัตรูของประชาธิปไตยอย่างเข้ากระดูกดำ.... วันหนึ่งนามและตัวของเขาในฐานะคนของประชาชน จะเปิดเผยต่อสายตาโลก ในฐานะนักรบผู้ยิ่งยงของประชาชน นักรบเพื่อสันติภาพผู้เกรียงไกร นักรบผู้ยิ่งใหญ่เพื่อประชาธิปไตยของประชาชน...เขาเป็นคนหนุ่มแห่งอนาคต"
1...

ความรู้สึกของทองใบที่มีต่อผลงานของจิตร เมื่อครั้งติดคุกลาดยาวด้วยกันและมีการตั้ง"วงดนตรีลาดยาว" เพื่อเล่นในช่วงจัดงานรื่นเริงในคุก และบทเพลงของ "คนหนุ่มแห่งอนาคต" ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการต่อสู้ทางการเมืองทุกสมัย จนวันนี้เขากลายเป็น "ผู้ประพันธ์เพลงและนักดนตรีผู้มาก่อนกาล" ในสายตาของรศ.ดร.สุกรี เจริญสุข ผู้อำนวยการวง ดุริยางค์ซิมโฟนีแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล(Mahidol University Pop Orchestra)

"คอนเสิร์ตเพลงของจิตร"จึงถือกำเนิดขึ้น จากการบรรเลงของวงดุริยางค์ซิมโฟนีแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 25-26 ตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งรศ.ดร.สุกรี มั่นใจว่าการทำเพลงขึ้นมาใหม่ จะทำให้มีพลังและเราจะได้ฟังบทเพลงของจิตรที่"เต็มยศ"

"คอนเสิร์ต จิตร ภูมิศักดิ์ เป็นเรื่องที่อยู่ในใจมานาน คุยกับใครก็อยากทำ แต่ไม่เป็นเรื่องเป็นราวเสียที จนกระทั่งคุยกับไทยพีบีเอส เขาสนใจก็เลยมาทำกัน แต่สิ่งที่อยากทำเป็นเรื่องเพลง เพราะคนที่สนใจจิตรมักสนใจในเรื่องการเมือง วรรณกรรม นิรุกติศาสตร์ มานุษยวิทยา แต่ในฐานะที่เขาเป็นดุลยกวี ศิลปิน คีตกวี หรือผู้ประพันธ์เพลง ไม่มีใครสนใจมากนัก" รศ.ดร.สุกรีเล่าถึงความเป็นมาของคอนเสิร์ตอย่างมีชีวิตชีวา

การแสดงคอนเสิร์ต"เพลงของจิตร"ในครั้งนี้ มีทั้งสิ้น 20 เพลง โดยคัดสรรจากบทเพลงเท่าที่พบรวม 24 ชิ้น ซึ่งเกือบทั้งหมด จิตรประพันธ์เพลงเหล่านี้ระหว่างถูกจองจำในคุกลาดยาว(ต.ค.2501-ธ.ค.2507) และในช่วงเข้าคุก จิตรมีอายุได้ 28 ปี

ในช่วงนั้น มิเพียงบทเพลงเท่านั้น จิตรยังสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการยิ่งใหญ่ "ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาวและขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ" รวมทั้งงานแปลนวนิยายเรื่อง "แม่" ของแมกซิม กอร์กี้ และ "โคทาน" ของเปรมจันท์

ผลงานทั้งหมด แม้จะอยู่ภายใต้ "ภาวะอันจำกัด" แต่ก็มีสิ่งร่วมกัน นั่นคือ "วิญญาณ"

"ผมมาอ่านดู เพลงเขามีวิญญาณมาก มีทำนองที่แตกต่างจากคนยุคเดียวกัน ในยุคนั้นก็สุนทราภรณ์ ผมคิดว่าเพลงของจิตร ภูมิศักดิ์ มีทำนองที่ไพเราะมากกว่าด้วยซ้ำ แต่เพลงหรือบทกวีของเขาไม่เป็นกลอน อย่างสุนทราภรณ์เพลงเป็นกลอน ขึ้นลงเดาได้ แต่ของจิตรเดายาก ผมมองว่าจินตนาการเขาเยอะ ทั้งเนื้อเพลง ทำนองเพลงกินใจคน ออกมาจากความรู้สึกสู่ความรู้สึก เพลงมีความซับซ้อนมากกว่าป็อปปูล่ามิวสิคทั่วไป ความซับซ้อนในเรื่องโครงสร้างมันงดงาม ความรู้สึกของเขาแปลก เขาเป็นนักดนตรีด้วย เขาเล่นจะเข้" รศ.ดร.สุกรีกล่าว

เราไม่อาจเข้าใจบทเพลงของจิตร หากไม่เข้าใจ"เนื้อหา"หรือ"ความหมาย"ที่สะท้อนปัญหาของสังคมในสายตาของจิตรในยุคสงครามเย็นและจักรวรรดินิยมอเมริกา คำบางคำแม้จะ"ล้าสมัย"ในปัจจุบัน จนทำให้คนรุ่นใหม่ไม่เข้าใจความหมายนัก เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงและความซับซ้อนของปรากฏการณ์สังคม อาทิ จักรวรรดินิยมซึ่งเป็นน้องสาวสุดที่รักของลัทธิล่าอาณานิคม ได้แปลงกลายเป็น"บรรษัทข้ามชาติ" "บริษัทร่วมทุน" แต่เหนืออื่นใด คือ "จินตนาการที่ยิ่งใหญ่" ในการปลุกเร้า กระตุ้นเตือนและเรียกร้องให้ต่อสู้กับความไม่เป็นธรรม

"ถามว่าเขาเป็นนักดนตรีมั้ย ผมว่าเป็น เป็นนักประพันธ์เพลงหรือเปล่า ก็เป็น แต่ผมว่าหัวใจของเขาอยู่ที่ความหมายของเพลง ความหมายที่ต้องการสื่อให้คนมีความรู้สึกที่เป็นจินตนาการที่ยิ่งใหญ่" ดังบทเพลง อาณาจักรแห่งความรัก

ชีวิตไม่ไร้คุณค่า อยู่รออนาคตสดใส

แผ่รักที่คับแคบออกไป ออกสู่ดวงใจผองผู้ทุกข์ยาก

ทั่วแคว้นแผ่นดิน

(อาณาจักรความรัก...2504)



2....

จิตรก็เช่นเดียวกับปัญญาชนของไทยร่วมสมัยจำนวนมากที่ได้รับอิทธิพล"ความคิดทางการเมือง"จากเมืองนอก โดยเฉพาะความคิดแบบมาร์กซิสต์ แม้จะมีปัญญาชนรุ่นหลังแอบวิจารณ์ว่าเป็นพวก"งับตำรา"โดยไม่ดัดแปลงให้เข้ากับสังคมไทย ปัจจุบันอาจจะใช้คำว่า"ตามก้นฝรั่ง"

จะว่าไปแล้ว "งับตำรา"ไม่ใช่เรื่องใหญ่ เพราะปัจจุบันเราก็เห็นคน"งับตำราเกลื่อนเมือง" เพียงแต่"งับ"แล้วเอาไปใช้ได้หรือไม่ และนำไปใช้อย่างไร

บทเพลงของจิตร จึงมีส่วนที่เรียกว่า"งับตำรา" คือ ลอกฝรั่ง แล้วใส่เนื้อลงไป โดยเฉพาะเพลงมาร์ช ซึ่งรศ.ดร.สุกรีเห็นว่าเป็นเพลงปลุกใจให้ฮึกเหิมต่อสู้ แต่ก็มีหลายเพลงที่แต่งขึ้นเองทั้งเนื้อร้องและทำนอง แต่ที่สำคัญคือ "ความรู้สึก"ที่ต้องการถ่ายทอดออกมา

"เพลงที่แต่งในคุกเป็นเพลงที่มีวุฒิภาวะเต็มที่(mature)เข้าใจว่าเล่นจะเข้แล้วแต่งเพลง ทำนองเพลงเป็นสากล แต่ใช้จะเข้เทียบเสียง เพลงจำนวนหนึ่งลอกของฝรั่งมา ใช้ทำนองแล้วใส่เนื้อเข้าไป แต่เนื้อเขาทะลุหัวใจเลยนะ แล้วเพลงอื่นๆ ที่เขียนขึ้นมาก็ไม่ใช่ไทย ทำนองเป็นสากลที่ถูกพัฒนา ความเป็นไทยและสากลกลมกลืนกันอย่างแท้จริง...ผมเชื่อว่าเขาฟังเยอะ สิ่งที่ปรากฏในเอกสารคือเขาเขียนโน้ตสากลได้ โน้ต "เชอเว" ได้ เขียนโน้ตไทยได้ และผมเข้าใจว่าเขาร้องเพลงและเล่นดนตรีได้ นักประวัติศาสตร์ของไทยทำแบบนี้ไม่ค่อยได้ คือมักจะได้ฝั่งใดฝั่งหนึ่ง แต่จะได้ทั้งสองฝั่งนี่ยากมากๆ คนที่เก่งประวัติศาสตร์จะเก่งความรู้ แต่จะเก่งความรู้สึกด้วยหายาก ผมอ่านทำนองก็รู้ เขามันมาก ทำนองเขาอิ่ม ฟังแล้วมีพลัง พลังที่อยู่ในทำนองของเขามันมีมาก มันไม่เป็นพลังธรรมดาแบบโคลงฉันกาพย์กลอนที่มีอยู่ กลอน 8 กลอน 4 กลอน 6 ของจิตรไม่ลงกลอน แต่เป็นความรู้สึกที่เขาต้องการถ่ายทอดออกมา"

บทเพลง อินเตอร์เนชั่นแนล(2504) เป็นตัวอย่าง"ลอกของฝรั่ง..แต่เนื้อทะลุหัวใจ" จิตรแต่งขึ้นระหว่างถูกจองจำในคุก โดยแปลงมาจากเพลงแองแตร์นาชิอองนาล ซึ่งเป็นเพลงปลุกใจชนชั้นแรงงาน เออเชน ปอตติเย่ กรรมกรชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ประพันธ์เพลงนี้

ตื่นเถิดพี่น้องคนจนผู้ทุกข์ระทม

โค่นล้มสังคมแห่งการกดขี่

ตื่นเถิดพี่น้องผู้ไร้สิทธิ์เสรี

ครั้งนี้เราสู้เป็นครั้งสุดท้าย

ล้างโลกเก่าให้ดับย่อบยับสิ้นไป

สร้างโลกใหม่ที่สดใสเปรมปรีดิ์

ทั้งนี้จงอย่าดูหมิ่นตนเอง

อันพวกเรานี้คือผู้สร้างโลกใหม่
....


3..
 รศ.ดร.สุกรี บ่นเสียดายที่เพลงของจิตรส่วนใหญ่เป็นเพลงมาร์ชปลุกใจไปหมด ซึ่งอาจเป็นเพราะไม่มีทางเลือกจากสภาพถูกจองจำ แต่การแสดงความรู้สึกที่เป็นการต่อสู้ทางสังคมในยุคนั้นเป็นเพลงมาร์ชเสียเยอะ เป็นเพลงฮึกเหิม

แต่จิตรก็เหมือนมนุษย์คนอื่น ย่อมมีอารมณ์ความรู้สึกท้อแท้ สิ้นหวัง เมื่อเผชิญกับอำนาจรัฐอันเข้มแข็ง ความรู้สึกเช่นนี้ได้สะท้อนออกมาในบทเพลง แม้แต่ เพลงแสงดาวแห่งศรัทธา

"เราไม่ค่อยได้ยินเพลงพ่ายแพ้ของนักต่อสู้ ชาวพรรคทั้งหลาย แต่จิตรมีเพลงพ่ายแพ้ ทะเลชีวิต เป็นความโหยหา ไม่ใช่พ่ายแพ้แบบยอมจำนน แต่บอกว่าเตรียมตัวไว้นะ สิ่งเหล่านี้มันเกิดขึ้น แต่ คนยังยืนเด่นโดยท้าทาย คำเขาบอกว่า กูไม่แพ้ แต่ในความรู้สึกตอนแรกมันยอมรับ ผมคิดว่านักปฏิวัติคงไม่ต้องการเพลงพ่ายแพ้ไปร้องในค่าย"รศ.ดร.สุกรีกล่าวอย่างแปลกใจ ดังตัวอย่างตอนหนึ่งของ ทะเลชีวิต

ลมหวิว เจ้าแผ่วโชยพริ้วมาปลอบใจข้า

ยิ่งกระพือโหมไฟที่เริงร่า

ลุกลวกอุราที่แสนสุดร้อนรน

คอยหา เฝ้ามองขอบฟ้าไยช่างมืดมน

โอ้สุดที่รักล่องลอยทุกข์ทน

ฝ่าคลื่นฝืนลม ว่ายวน
4...

บทเพลงของจิตร ก็เช่นเดียวกับชีวิตและผลงานของเขา ซึ่งไม่เคยมีการสอนในสถาบันการศึกษา เพราะวิธีคิดทางปรัชญาและการตีความประวัติศาสตร์ที่สถาบันการศึกษาของรัฐ "คิด" ว่าเป็น "อันตราย" แต่รศ.ดร.สุกรี เห็นว่าอดีตต้องมารับใช้ปัจจุบันเพื่อสร้างสรรค์สังคมใหม่ ดังนั้นอดีตที่ดีงามควรได้รับการสืบทอด จึงเป็นที่มาของคอนเสิร์ตเพลงของจิตร

"ผมคุยกับนักเรียนว่าคนสำคัญของชาติเขาคิดอย่างไรก็ตาม แต่เมื่อเขาเป็นนักปราชญ์ เขาไม่ใช่เป็นปราชญ์ของคนไทย แต่เป็นปราชญ์ของโลก เขาเป็นได้อย่างไร ก็จากงานของเขา เมื่อเราต้องการเข้าถึงงานของเขา นำงานของเขามาพัฒนาแล้วสืบทอด ความยิ่งใหญ่ของประเทศอยู่ที่คนเหล่านี้ เด็กๆ ก็มีความรู้สึกร่วม"

รศ.ดร.สุกรี บอกอีกว่างานของเราต้องสร้างใหม่เกือบทั้งสิ้น จะสร้างใหม่ทั้งหมดคงไม่ได้ ต้องนำอดีตมาปัดฝุ่น รวบรวมเรียบเรียงใหม่ และฟื้นฟูใหม่ ทำอย่างไรให้มีความสะเทือนใจ และทำอย่างไรให้สามารถเป็นแรงบันดาลใจให้กับโลกอนาคตได้ นั่นคือ ความตั้งใจ

"อย่างเพลงทะเลชีวิต อาณาจักรแห่งความรัก หรือ แสงดาวแห่งศรัทธา ที่รู้จักกันทั่วไป เพลงพวกนี้พลังเขาเยอะมาก ถ้าเราในฐานะนักดนตรีได้เรียบเรียงเสียงรวบรับอย่างดี สมัยจิตรมีข้อจำกัด เขาไม่ใช่นักดนตรีที่ฝึกมาเล่นดนตรีโดยเฉพาะ เขาไม่ใช่นักร้องที่ให้คนมาร้องเพลงโดยเฉพาะ แต่เราเป็นวิทยาลัยดนตรีมีนักร้องที่มีความพร้อม เข้าจังหวะถูก ร้องเพลงถูกเสียง ดนตรีถูกเรียบเรียง อุ้มเพลงให้งดงาม ผมว่าเมื่อทำมาเป็นเพลงให้เต็มยศแล้ว มันอยู่ในขั้นดีจังเลยได้"

ไม่ว่าศร.ดร.สุกรีได้รับอิทธิจาก"จิตวิญญาณของจิตร"ในการต่อสู้เพื่อสังคมที่ดีงามหรือไม่ แต่เราก็เห็น"ส่วนดีลึกๆ"ที่มีอยู่ในคนทุกคน ซึ่งบางทีความรู้สึกเรียกร้องหาความเป็นธรรมหรือสังคมที่ดีงามนั้น มีอยู่ในทุกคน เพียงแต่อาจมี"ม่านบังตา"บางอย่าง จนทำให้คนต้องเข่นฆ่า ขัดแย้ง และเอาเปรียบกัน

เราเห็น"จิตวิญญาณ"ที่ว่านี้ในคอนเสิร์ตครั้งนี้นี่เอง เมื่อนักร้องนำแห่งวงดุริยางค์ซิมโฟนีแห่งมหาวิทยาลัยมหิดลขับขานเสียงเพลงของจิตร สิ้นสุดลง ได้ปรากฏรอยยิ้ม พร้อมๆกับบรรดาป้าๆลุงๆ ซึ่งบางทีอาจเป็น"สหายเก่า" บางทีอาจเป็นคนที่ได้รับแรงบันดาลใจจากงานของจิตร ต่างพร้อมใจปรบมือดังสนั่นห้อง

บางทีบทเพลงของจิตรได้ปลุกสำนึก และความปีติให้กับคนต่างวัยในคราวเดียวกัน ดังประโยคอมตะในบทเพลงแสงดาวแห่งศรัทธา "คนยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย" แม้ความหมายจะเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา แต่ "จิตวิญญาณ" การต่อสู้ของผู้คนไม่มีวันเปลี่ยนแปลง

และเป็น"วิญญาณของจิตร" ดัง เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ได้ขับขานในบทกวีว่า

ใบไม้ร่วงหนึ่งใบในราวป่า

เพื่อแตกมาเป็นใบใหม่ในทุกที่

จิตรหนึ่งดวงดับไปในวันนี้

เพื่อจะมีจิตรใหม่มากมายดวง

 
 
 

--------------------------------------------------------------------------------


 


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: su ที่ 03 ธันวาคม 2551, 14:29:41
พี่ตะวันเคยอยู่สุราษฎร์แล้วพี่รู้จักพี่นิพัฒน์(ถาปัด)มั๊ยคะ[/color]


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: seree_60 ที่ 03 ธันวาคม 2551, 14:32:13
ได้มีการจัดแสดงเพลงของจิตร ภูมิศักดิ์

วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีวัตถุประสงค์ที่จะแสดงบทเพลงที่สะท้อนของสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงานของศิลปินคนสำคัญๆ ของวงการดนตรี ด้วยความเคารพ และยกย่องในผลงานของท่านเหล่านั้น ได้นำบทเพลงมาเรียบเรียงใหม่ ขับร้องใหม่ และนำออกแสดงในรูปแบบใหม่ ทำเพลงใหม่ให้เต็มความสามารถเท่าที่เพลงจะเป็นไปได้ เพื่อให้บทเพลงเหล่านั้นได้แสดงศักยภาพเต็มที่
 


โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ การนำเอาอดีตมารับใช้ปัจจุบัน เพื่อสร้างสรรค์สังคมใหม่ เป็นการศึกษาประวัติศาสตร์ในมุมมองใหม่ โดยนำเพลงของจิตร 20 เพลง มาเรียบเรียงเสียงประสานใหม่

ก่อนการแสดงจะเริ่มขึ้น มีนิทรรศการเกี่ยวกับประวัติ ชีวิต และผลงานของจิตร มีผู้เข้าชมแทบทุกวัย ตั้งแต่ผู้สูงอายุ ที่ร่วมสมัยกับยุคของจิตร ลงมาถึงเด็ก ที่พ่อแม่พาซึมซับบทเพลงของปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่

เปิดคอนเสิร์ตด้วยการอ่านบทกวี "คนยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย" โดยคณะนักร้องประสานเสียง ก่อนตามด้วย
เสียงเพรียกจากมาตุภูมิ ขับร้องโดย รังสิต จงฌาน สิทโธ หรือ ป่อง ต้นกล้า

เพลงนี้ "วิชัย นภารัศมี" หรือ "เมือง บ่อยาง" นักเขียนผู้รวบรวม ค้นคว้าชีวิต และผลงานของจิตร อธิบายไว้ในสูจิบัตรคอนเสิร์ตว่า คาดว่าแต่งในปีพ.ศ.2503-2505 ขณะต้องโทษที่ลาดยาว ด้วยข้อหามีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ในรัฐบาล จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

ต่อด้วย "รำวงวันเมย์เดย์" เพลงนี้จิตรแต่งโดยใช้นามปากกา สุธรรม บุญรุ่ง เพื่อใช้ร้องฉลองวันกรรมกร 1 พฤษภาคม สันนิษฐานว่าคงแต่งขึ้นในปี พ.ศ.2503-2505 เพื่อให้กรรมกรร้อง และตระหนักถึงพลังของตนเอง ว่าสามารถสร้างทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นได้ด้วยสองมือ

"มาร์ชแอนตี้จักรวรรดินิยม" คาดว่าแต่งขึ้นในปีพ.ศ.2498-2499 ในยุคนั้นจักรวรรดินิยมสหรัฐอเมริ กา เข้ามาแทรกแซงประเทศไทยในทุกๆ ทาง เพลงมีเนื้อหาปลุกเร้าให้คนไทยช่วยกันรับรู้และต่อต้าน

"หยดน้ำบนผืนทราย" คาดแต่งเมื่อปีพ.ศ.2504 มีเนื้อหาของความขัดแย้ง และแตกต่างทางสังคม

"มาร์ชลาดยาว" สันนิษฐานว่าแต่งขึ้นในช่วงที่อยู่ในคุกลาดยาว เพื่อใช้ร้องปลุกใจ และร้องในงานรื่นเริงที่จัดขึ้นประจำปีในคุกลาดยาว

"ความหวังยังไม่สิ้น" ร้องโดยวงโฮปแฟมิลี่ เพลงนี้จิตรใช้ชื่อ "สุธรรม บุญรุ่ง" แต่งเมื่อปีพ.ศ.2504 เนื้อหาย้ำให้ตระหนักถึงพลังของชนชั้นตัวเอง ที่สามารถเอาชนะความกลัว ถูกบีบคั้น และสามารถต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมได้ด้วยตัวเอง

ต่อด้วย "เทอดสิทธิมนุษยชน" และ "มนต์รักจากเสียงกระดึง" แต่งในคุกเพื่อใช้ในการแสดงละครเรื่อง "มนต์รักจากเสียงกระดึง" เล่นในงานต้อนรับปีใหม่ในคุกลาดยาว

"มาร์ชชาวนาไทย" เป็นเพลงอุทิศให้ชาวนาไทย โดยเชื่อว่าชาวนาไทยจะเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงสังคมในยุคนั้นได้ หากร่วมมือกับชนชั้นแรงงาน

"กลิ่นรวงทอง" ได้รับอิทธิพลจากเพลง "กลิ่นโคลนสาบควาย" ที่แต่งโดย "ไพบูลย์ บุตรขัน" พรรณนาถึงการยืนหยัดต่อสู้กับธรรมชาติ ว่ากว่าผืนนาจะเปลี่ยนเป็นทุ่งรวงทองได้นั้น ชาวนาต้องทุ่มแรงงาน และแสนเหนื่อยกว่าจะได้ข้าวออกมา

"อาณาจักรความรัก" ระบุว่า ความรักที่แท้จริงไม่ใช่เป็นความรักส่วนตัวของคน 2 คน แต่ควรเป็นความรักในมวลชนและผู้ทุกข์ยาก

"ภูพานปฏิวัติ" อีกเพลงเอกของจิตร แต่งขึ้นในปีพ.ศ.2508-2509 หลังเข้าป่าร่วมต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย

"ทะเลชีวิต
" มีเนื้อหาให้กำลังใจผู้ร่วมอุดมการณ์ที่หนีรอดจากการจับกุมของรัฐบาลเผด็จการ และร่วมต่อสู้

"ศักดิ์ศรีของแรงงาน" ระบุถึงการเอารัดเอาเปรียบ ดังเนื้อท่อนหนึ่งระบุว่า "คนใช้แรงแม้นหมดจากโลกนี้ไป มีผู้ใดหาญแบกภาระของงาน จะมีผู้ใดสร้างเงิน ให้คนชื่นชมเบิกบาน โลกนี้ที่สุขสำราญ ล้วนแต่งานของคนยากจน"

"มาร์ชกรรมกร" ได้ทำนองจากเพลงโซเวียต เพื่อฉลองพระราชบัญญัติกรรมกร หรือพระราชบัญญัติแรงงาน

"ฟ้าใหม่" กระตุ้นลุกขึ้นสู้กับระบอบเผด็จการรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ เพื่อให้ประเทศไทยมีเสรีภาพ

"เลือดต้องล้างด้วยเลือด" และ "วีรชนปฏิวัติ" คาดว่าแต่งขึ้นในปี 2505-2509 ซึ่งขณะนั้นจิตรยึดแนวทางการต่อสู้กับอำนาจรัฐด้วยอุดมการณ์ของลัทธิคอมมิวนิสต์

"อินเตอร์เนชั่นแนล" แต่งเนื้อภาษาไทยขณะอยู่ในคุกลาดยาว ระบุถึงการที่ชนชั้นกรรมกรถูกขูดรีดและกดขี่แรงงาน

ปิดท้ายด้วย "แสงดาวแห่งศรัทธา" คาดแต่งในปีพ.ศ.2503-2505 ระหว่างติดคุกลาดยาว ถือเป็นเพลงเอก และเป็นสัญลักษณ์ของจิตร วรรคทองที่ระบุว่า "คนยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย"
เนื้อเพลงบ่งบอกถึงการให้กำลังใจ ปลุกความหวัง ไม่ให้ท้อแท้

นับเป็นครั้งแรกก็ว่าได้ ที่เพลงของจิตร ภูมิศักดิ์ ถูกนำมาบรรเลงด้วยวงซิมโฟนีออร์เคสตร้า ทั้ง 20 เพลงที่บรรเลง เนื้อหาทำนองกระตุ้นและปลุกเร้าอยู่แล้ว

ยิ่งมีพลังมากขึ้นไปอีก
๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑




 
  
 






หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: su ที่ 03 ธันวาคม 2551, 14:38:55
พี่ตะวันเคยเข้าป่าคงชอบเพลงรอยอดีต ที่ร้องโดยวงเพื่อนที่ขึ้นต้นว่า...
คืนเดือนมืดหม่น... แต่สุไม่ชอบวิสาแล้ว


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: seree_60 ที่ 03 ธันวาคม 2551, 14:39:22
  ตอบน้องสุ

  น้องสุหมายถึง พิพัทธ์ ( ตอนนี้ ทำงาน อยู่ที่ แปลน ใช่มั้ย ) หรือเปล่า ตัวขาวๆ หน้าสิวๆ เสียงทุ้มๆ รุ่นนี้มี ถาปัด 4 คน ที่อยู่ด้วยกัน มีปรีชา โก๊ะ ต๊อก และอีกคนเป็นรุ่นน้อง ไม่รู้ชื่อจริง



หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Aj.O ที่ 03 ธันวาคม 2551, 14:40:54
ผมไม่แน่ใจว่า จิตรถูกโปรโมตไปในแง่มุมไหนบ้าง? หรือถูกเอาไป"หากิน"ในแง่มุมไหนบ้าง
(นปก.ก็เอาผลงานจิตรไปหากิน หรือซ้ายจอมปลอมบางคนแถวรัฐศาสตร์จุฬาฯก็เอาจิตรไปหากิน)
เพราะเขาตายในสนามรบก่อนป่าแตก? เลยกลายเป็นซูเปอร์โลโก้ แบบเดียวกับอัศนีย์พลจันทร์
ไม่มีใครจินตนาการออกว่า ถ้าจิตรยังมีชีวิตอยู่ เขาจะกลายเป็นแบบไหน?
เขาจะรู้สึกอย่างไร เมื่อสิ่งที่เขาวาดหวังไว้ มันไม่ได้กลายเป็นอย่างที่คิด?
คอมมิวนิสต์ในประเทศเพื่อนบ้าน พอมีอำนาจ ก็กระทำการระยำตำบอนต่อประชาชน เอาคนไปไถนาแทนควาย(เช่นรัฐบาลเขมรแดง)
กลายเป็นเผด็จการอีกรูปแบบนึง ที่เลวร้ายยิ่งกว่าศักดินาขุนนางแบบเดิมเสียอีก?
หรือแม้แต่ปัจจุบัน เผด็จการทหารถือปืน"ที่เขาคุ้นเคย"...หมดอำนาจไป  แต่มีปัญหาการเมืองแปลกๆใหม่ๆเข้ามา(นักการเมืองถือเงิน)

คำว่า ศัตรูของประชาชน แท้จริงคืออะไรกันแน่?!? emo47

ซึ่งจิตรเอง คงคาดเดาไม่ออกแน่ๆ emo31:bye:

ปล.ส่วนตัวผมให้ความเชื่อถือ"คนจริงๆ" ที่ยังมีชีวิตอยู่  อย่าง อ.เสกสรรค์ หรือ  อ.เนาวรัตน์ มากกว่าครับ emo4:))
ทั้งคู่ เห็นความเปลี่ยนแปลง จนตกผลึกทางอุดมการณ์แล้ว


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: seree_60 ที่ 03 ธันวาคม 2551, 14:44:12
   ตอบน้องสุ

ถ้าชอบในเนื้อหาของเพลงก็ชอบไปเถิด เพราะตอนที่เขาแต่ง เขายังเป็นคนดีอยู่ แม้ตอนนี้เขาจะเปลี่ยนไป เพราะผลประโยชน์
อย่างกลอน ของวิสา ที่ว่า ประชาชนต้องเป็นใหญ่ในแผ่นดิน เราก็ใช้อยู่  คิดเสียว่า คนแต่ง ได้ตายไปแล้ว ( จากความดีงาม )


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: su ที่ 03 ธันวาคม 2551, 14:46:56
ใช่แล้วค่ะพี่เขาทำงานที่แปลน แกอยู่สุราษฎร์นานจนคุยกันครั้งแรกหนูนึกว่าแกเป็นคนใต้ เพราะพูดใต้ชัดมาก สุเป็นคนสงขลา บัญชี 2525 ค่ะ


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: su ที่ 03 ธันวาคม 2551, 14:48:49
เห็นด้วยกับพี่ตะวันค่ะ หนูไม่ชอบตัววิสาตอนนี้ แต่ยังคงชอบเพลงของวิสาตอนนั้นค่ะ


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: seree_60 ที่ 03 ธันวาคม 2551, 15:04:25
ตอบน้อง AJ

    คนเราไม่รู้อนาคตว่าจะเป็นอย่างไร แต่ผลงาน หรือการกระทำของเขาในขณะนั้น มีคุณค่า หรือไม่ เราควร พิจารณาดู หากมีประโยชน์ และนำมาใช้เพื่อการต่อสู้ ของประชาชนได้ เราก็เอามาดัดแปลง ประยุกต์ใช้ ให้เหมาะสม
 การต่อสู้ ร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ มองดูอาจไม่ถูกต้อง แต่ในสมัยนั้น มันไม่มีทางออก การคุกคามเข่นฆ่า ผู้บริสุทธิ์ ฝ่ายทหารและตำรวจ ได้กระทำอย่างโหดเหี้ยม ถ้าไม่หนีเข้าป่า ตายสถานเดียว พวกพี่รุ่น 6 ตุลาก็เช่นกัน ต้องหนีตาย ไปพึ่ง พคท. แต่เมื่อมันพิสูจน์ว่า ไม่ใช่เส้นทางที่ถูกต้อง เราก็กลับบ้าน เมื่อมันปลอดภัยแล้ว

แนวความคิดของมาร์กซ เลนิน มันดูดี สวยหรู แต่คน มันมีกิเลส เลยไม่สามารถสร้างสังคมแห่งอุดมการณ์ ขึ้นมาได้ พี่คิดว่า ถ้าจิตร ยังมีชีวิต อยู่ เขาคงคิดเหมือนพวกพี่ ที่กลับมา และยืนหยัดต่อสู้ร่วมกับประชาชน เหมือนคุณเนาวรัตน์ ที่ยืนเคียงข้างประชาชนเสมอมา

ส่วนงานของจิตร มันก็ธรรมดาที่พวกเลวๆอย่าง นปก. นำไปใช้ แต่มันไม่ซาบซึ้งหรอก เพราะจิตวิญญาณของการทำเพื่อส่วนรวมมันไม่มี

แต่อย่างไรก็ตาม การเข้าป่า มันก็ให้คุนูปการแก่พวกพี่มากมาย และจะไม่แปรเปลี่ยนความคิด ไปรับใช้ พวก ตั๊กกี้ อย่างแน่นอน ไม่ใช่ พวกจาตุรนต์ สุธรรม หมอเลี๊ยบฯลฯ ที่มันขายจิต วิญญาณเพื่อผลประโยชน์มากมาย

น้องไม่รู้หรอกว่า พวกพี่เจ็บปวดเพียงใด ที่พวกเราที่เคยร่วมต่อสู้กันมา แล้วมันแปรพักตร์ ไปรับผลประโยชน์จาก ตั๊กกี้  บางคนเป็นรุ่นพี่ที่เราไว้ใจ และเคารพมาก เขาเนียนมาก เราไม่รู้เลย  แต่สุดท้าย เราก็รู้จนได้ เพราะเราไม่ได้กินแกลบ เลยห่างๆออกมา เกือบหลวมตัว ไปทำงานให้แล้ว


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: seree_60 ที่ 03 ธันวาคม 2551, 15:08:15

  น้องสุ
    พี่เป็นคนยะลา แต่ไปเรียน ม.ต้น ที่หาดใหญ่วิทยาลัย  และจบม.ปลายที่ มหาวชิราวุธ


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: su ที่ 03 ธันวาคม 2551, 15:35:13
พี่ตะวัน สุเรียนที่หาดใหญ่วิทยาลัย 5 ปีรวดค่ะ
พี่คะสุยังคงศรัทธาในตัวจิตรเพราะเขาเห็นอกเห็นใจคนยากจน รักความเป็นธรรม กล้าหาญ แน่นอนที่ว่าเขาไม่มีทางที่จะเห็นชอบกับการทุจริต คอร์รัปชั่น มอมเมาคนด้วยวัตถุ ดังนั้นใครที่ทำตัวแบบนั้นก็ไม่ควรเอาจิตรมาอ้าง ส่วนความคิดด้านอื่นๆของจิตรไม่ขอแสดงความเห็นเพราะมันขึ้นอยู่กับยุคสมัยค่ะ


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: seree_60 ที่ 03 ธันวาคม 2551, 18:32:32
สมัยนั้น การปกครองแบบเผด็จการ มีนายทุนขุนศึก ควบคุมเบ็ดเสร็จ ขอให้น้องหลับตา คิดถึงพม่าในตอนนี้ ทหารคุมอำนาจเบ็ดเสร็จ ทั้งการเมืองเศรษฐกิจ ใครหือ ขึ้นมาก็เข่นฆ่า เหมือนที่ ฆ่า พระเณรเมื่อเร็วๆนี้ เมื่อต้องโค่นล้มทหาร มันก็ต้องใชปืน เหมือนกัน สมันนั้นจึงได้ชูคำขวัญว่า อำนาจรัฐได้ด้วยกระบอกปืน
  หรือใน 3 จังหวัดภาคใต้ ที่ต่อต้านอำนาจรัฐ ก็ต้องใช้อาวุธมาสู้ ขึนอหิงสาแบบพันธมิตร พากันตายห่าหมดแล้ว

มารกซ์ เลนิน ชี้นำว่าให้จัดตั้งกรรมกร ที่เขาเรียกว่าชนชั้นกรรมาชีพ เพื่อสู้กับนายทุน ในยุโรป กรรมกรในโรงงานอุตสาหกรรม จะเป็นแรงงานฝีมือ ที่มีการศึกษา สามารถ ใช้สิ่งที่เรียกว่า การจัดตั้ง เพื่อให้กรรมกรเรียนรู้ และยกระดับการต่อสู้ จนกลายมาเป็น สหภาพในทุกวันนี้ หรือมีพรรค กรรมกร เกิดขึ้น ในอังกฤษ กรรมกร หรือชนชั้นกรรมาชีพในยุโรป จึงสามาถต่อสู้ เพื่อสิทธิต่างๆของเขาได้

กลับมาที่เมืองไทย กรรมกร คือ ชาวนาที่ยากจน หรือชาวที่ล้มละลาย ไม่มีที่ทำกิน ในชนบท จึงเข้ามาแสวงโชคในเมือง งานที่ทำ คือการใช้แรงงาน ค่าแรงตำ ไม่มีการศึกษา ค่าแรงไม่พอกิน การเข้าไปชี้นำ ทำได้ยากมาก เขาคิดแต่เรื่องปากท้อง ของเขาเอง คนเราเมื่อท้องหิว อดอยาก เรื่องสิทธิเสรี เขาไม่คิดหรอก
พี่ไม่อยากโทษ คนพวกนี้ เมื่อกลุ้ม ก็หันเข้าหา อบายมุข แถม พวกนายทุน เข้าปลุกปั่น ให้เงินเพียงเล็กน้อย พวกนี้ ก็กลายเป็นทาสรับใช้ นายทุนไป เหมือนพวก เสื้อแดงในทุกวันนี้
 พี่เคยเข้าไปทำงาน กับพวกสลัม และโรงงาน มันยากมาก กลายเปลี่ยนความคิดคน ต้องใช้เวลา พอนายทุน โยนเงินมาให้ แป๊ปเดียวก็เปลี่ยนใจคนได้แล้ว

กรรมกร ในเมืองไทย จึงไม่สามารถจัดตั้งได้ อย่างพวกสหภาพ ที่ออกมาต่อสู้ ก็คือ พวกฝีมือแรงงาน ที่มีการศึกษา
ชาวนาก็เช่นกัน วันๆอยู่ในทุ่งนา ไม่เคยได้รับข่างสาร นอกจากผู้นำในชุมชน ผู้นำเป็นแบบไหน ชาวบ้านก็เป็นแบบนั้น  ช่วงก่อน 6 ตุลา นศ.ออกชนบท
ก็จะถูกต่อต้านจาก ชนชั้นปกครอง ไม่ว่า ผู้ว่า นายอำเภอ กำนัน พวกนี้กลัวชาวบ้าน หูตาสว่าง เขาหรอกไม่ได้
ตอนนั้น พี่เป็น บัณฑิตอาสาสมัคร ไปสอนหนังสือในหมู่บ้าน ในโครงหาร ของอาจารย์ ป๋วย อึ้งภากร ก็ถูกต่อต้านจาก ผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น โชคดีที่
นายอำเภอเป็นรัฐศาสตร์ จุฬา จึงรอดมาได้

เรื่องคุณเสกสรร เป็นผู้นำนักศึกษาสมัยนั้น ก็ โอ เค หลังจากขัดแย้งทางความคิด กับ พรรคคอม  ( ซึ่งนศ.สมัยนั้นเป็นกันทุกคน ) หลัวจากนั้นเขาก็ออกจากป่า พร้อมครอบครัว และไปเรียนต่อ ที่อเมริกา พี่ไม่ได้แย้ง หรือลบภาพ ฮีโร่ ของน้อง แต่อยากตั้งข้อ สังเกตุว่า เขาหายไปไหน จวบจนทุกวันนี้
ขณะที่ ธีรยุทธ ยังต่อสู้อยู่ สมบัติ ธำรงค์ธัญญวงศ์ ก็สู้อยู่ เนาวรัตน์ก้ออกมาสู้ จีรนันท์ ได้รางวัลซีไรท์ แล้วก็หายไป ลองหาคำตอบดู
ความหมายพี่ไม่ได้ว่าเขาในทางไม่ดี แต่พี่ไม่รู้ว่า ใบไม้หายไปไหน ( จีรนันท์ เขียน ใบไม้ที่หายไป ) เสกสรรเคยบอกว่า เขาคือ วัตถุที่เสื่อมทรุด
แล้วป่านนี้ ยังซ่อมไม่เสร็จเลย มวลชนยังรออยู่นะ ช่วยมาชี้นำหน่อย เราต้องการ ไอเดีย มากๆเลย ตอนนี้


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: khesorn mueller ที่ 03 ธันวาคม 2551, 18:56:14
ช้าไปนิด...ขอโทษทีพี่ตะวัน!
มัวไป concentrateเรื่องอื่น


http://www.dailymotion.com/swf/x1zfna



หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: khesorn mueller ที่ 03 ธันวาคม 2551, 19:09:16
อ้างถึง
ข้อความของ seree_60 เมื่อ 14 พฤศจิกายน 2551, 10:28:08
ขอเริ่มต้นด้วยบทเพลง  ที่สอดคล้องกับเรื่องราวในปัจจุบัน


                         พิราบแดงแห่งเดือนตุลา
 
หนาวลมพัดโชยแผ่ว    ดุจดังสายลมตุลาสะท้านปลุกความหลัง
ให้ทวนรำลึกถึงพิราบน้อยเคลื่อนคล้อยจากรัง
เหินบินสู่ความหวัง เสรีสิทธิ์อิสรา
เพราะในฤทัยโศกศัลย์ เพื่อนถูกประหารชีวันแค้นคลั่งหนักหนา
พิราบแดง  แดงด้วยเลือดของเดืนตุลา
เพื่อนจึงพรากจากไกล สู่ห้วงนภาฟ้ากว้างแสนไกล
พิราบแดงเหินฟ้า ฝ่าพายุโหม  ไม่หวั่นคลื่นลม มุ่งสู่ป่าใหญ่
เพื่อกอบกู้เอกราชอธิปไตย สู่เส้นทางใหม่  ทางสู่ชัยไทยสมปอง

http://www.ijigg.com/jiggPlayer.swf?songID=V2A44AGFP0&Autoplay=0


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Aj.O ที่ 03 ธันวาคม 2551, 19:11:11
อืมม ได้ความรู้ดีครับ...เกี่ยวกับเรื่อง"รากหญ้าไทย"
ส่วนตัวผมไม่สนใจเท่าไหร่ว่าใครจะวิจารณ์ อ.เสกสรร หรือ อ.จิระนันท์

แต่ก็ยังชอบเป็นการส่วนตัว  และยังเชื่อถือมากๆเลยล่ะ emo20:)):)
เพราะถ้าถามว่า มวลชนยังรออยู่?ทำไมไม่ออกมา? คำถามต่อไปคือ พวกเสื้อแดงมันก็อ้างว่าเพื่อมวลชนเหมือนกัน
(เพื่อรัฐบาลที่มาจากเสียงข้างมากในสภา)
หรือถ้าจะบอกว่าเพื่อความถูกต้อง อันนี้แกนนำบางคนของพันธมิตรก็ไม่ได้ทำถูกต้องซะหมดหรอกนะครับ
เพราะสนธิก็ขี้โม้เหมือนกัน เพียงแต่ยังไม่อันตรายเท่านักการเมืองตัวจริงในรัฐบาล เพราะแกไม่มีอำนาจรัฐอยู่ในมือ
แต่ถ้าบอกว่า เพื่อขับไล่รัฐบาลที่กำลังคดโกง หรือ ไล่รัฐบาลที่ใช้ความรุนแรงกับพลเมือง อาจจะดูชัดเจนกว่า

ธีรยุทธ หรือ คำนูญ เอง ก็ถูก"พวกที่อ้างความเป็นคนเดือนตุลาเก่า"บางคน แดกดัน ต่อว่าต่อขานมากมาย
เช่นด่าว่า ธีรยุทธหันไปรับใช้เผด็จการทหาร อมาตยาธิปไตย(หลังจากเกิดรัฐประหาร 49)
(คนวิจารณ์คือไอ่สุธาชัยจิ๋ม ธงชัยวินิจจะกุล และไอ่สมศักเจียมฯ ไม่รู้พี่รู้จักไอ่สองคนหลังรึเปล่านะ?)
แต่ที่แน่ๆสามคนนี้ มีแนวคิดแอนตี้พันธมิตรเต็มที่  เพราะมักวิจารณ์ว่าพันธมิตรเป็นกองกำลัง ศักดินาอมาตย์
คนพวกนี้เกลียด"เสื้อเหลือง"ที่พันธมิตรใช้ เพราะเป็นสัญลักษณ์ที่เกี่ยวโยงกับสถาบันฯ
อันที่จริง พันธมิตรหลายคน(ไม่นับสนธิลิ้ม)ไม่เคยอ้างเรื่องสถาบัน เช่น พิภพธงชัย หงาคาราวาน แค่มาต่อต้านระบอบทักกี้ ก็เท่านั้น
ระหว่างคนที่อยู่นิ่งๆ(เสกสรร) กับพวกที่หันไปใส่เสื้อแดง?(สุธาจิ๋ม) พวกไหน"กลับลำ"มากกว่ากัน?


หมายเหตุ คุยกับ พคท.ตัวจริงอย่างพี่ seree_60 นี่ คนละอารมณ์กับ ซ้ายสำราญ อย่างพี่ Prapasri เลย emo38


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: khesorn mueller ที่ 03 ธันวาคม 2551, 19:20:39
อ้างถึง
ข้อความของ Aj.O เมื่อ 03 ธันวาคม 2551, 19:11:11
หมายเหตุ คุยกับ พคท.ตัวจริงอย่างพี่ seree_60 นี่ คนละอารมณ์กับ ซ้ายสำราญ อย่างพี่ Prapasri เลย emo38

แตกฉาน ขั้นชั้นเซียน!
เก่งมากค่ะ
Keep on this character!

p.nn


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: seree_60 ที่ 03 ธันวาคม 2551, 23:49:35
ที่เรียกร้อง คุณเสกสรร เพราะต้องการ ไอเดีย ที่แหลมคม แต่ไม่เคย คิดว่า เขาไม่ดี และแค่แปลกใจที่เขา ไม่แสดงท่าทีเลย ทั้งๆที่พี่ชอบงานเขียนของเขามาก เขาเขียนหนังสือดีมากเลย

เรื่องพันธมิตร พี่ประกาศตลอดว่า พี่เป็นแค่แนวร่วม ไม่ได้เห็นด้วยทุกเรื่อง เรื่องไหนไม่เข้าท่า พี่ก็จะท้วงติง และเขาก็รับฟัง และยินดีเปลี่ยนแปลง

ส่วนที่ว่า คุณสนธิขี้โม้ เห็นด้วย บางครั้งก็รับไม่ได้ ในพิธีบ้าๆบอๆ ของแก
แต่อย่างไร พี่ก็ขอคารวะ ในความกล้าหาญ ของแกนนำที่ออกมาเป็นแนวหน้าในการต่อสู้ เพราะจะพลาด ติดคุก เมื่อไหร่ หรือ อาจตายได้
ในการต่อสู้เพื่อมวลชน ใครๆก็อ้างได้ แต่เวลา และผลงาน พฤติกรรม จะชี้ให้เห็นว่า ใคร คือ ตัวจริง ตัวปลอม

คนทุกคนต่างก็มีข้อดี ข้อด้อย แต่ถ้ามันไม่ใช่สิ่งที่ชั่วร้ายมาก เราก็มองข้ามไปบ้างก็ได้ ไม่มีใครดี 100% ไม่ว่าตัวเรา ก็ไม่ได้ดีไปทุกอย่าง
พี่คิดอย่างนี้ ในการต่อสู้เพื่อส่วนรวม เราต้องมองยุทธศาสตร์ใหญ่ อย่าไปติด กับข้อบกพร่องเล็กๆน้อยๆ เราต้องให้อภัยกันในสิ่งบกพร่องที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายกับขบวนการ อย่างที่ เหมา เจ๋อตงกล่าวไว้ใน สรรนิพนธิ์ของเขาว่า จงเป็นหลักศิลาในน้ำเชี่ยว อย่าหวั่นไหว กับอุปสรรคที่ถาโถมเข้าใส่
ดังนั้น พี่คิดว่า ธีรยุทธ เขาก็ไม่หวั่นไหว ในคำเยาะเย้ย ถากถาง ของใคร เพราะเขามีเป้าหมายที่ชัดเจน ในงาน วิเคราะห์วิจารณ์สังคม ด้วยเจตนาที่ดีต่อสังคม

อีกประเด็นหนึ่ง ที่พี่พยายามเสนอ คือ งานแนวร่วม ที่ต้องยึดหลักที่ว่า แสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง
หมายความว่า เราต้องหาพวกให้มาก พยายามหาจุด ที่พอจะร่วมกันได้ ก็คุยกัน อะไรที่แตกต่าง ก็อย่ามาถก หรือ หลีกเลี่ยงไปก่อน หากมันไม่ขัดกับหลักการของขบวนการ ก้ยืดหยุ่น ไปตาม สถานการณ์ เขาเรียกว่า ยุทธการพายเรือในคลองคด หากเราพายไปตรงๆ เรือก็ชน ไปไม่ได้ ต้องลดเลี้ยวไปตามความคด ของลำคลอง แต่ไม่ได้หมายความว่า ต้องโอนอ่อนกับความไม่ถูกต้อง
 พวกธงชัย สมศักดิ์ น่าเสียดายมาก พวกเขาเป็นเด็กที่ ไบรท์มาก แต่เขาเป็นพวก แอนตี้ สถาบัน แต่เขา จะไม่ ก้าวร้าว แต่จุดยืน คือ ไม่เอา สถาบัน
แต่ สมศักดิ์ เขา น่าจะมีผลประโยชน์อะไรบางอย่างที่เกี่ยวกับ ทักกี้

พูดถึงพวกซ้าย ก็มีหลายจำพวก ประเภทปากคาบคัมภีร์ คือ จำทฤษฎี มาเม้าท์ได้ทั้งวัน แต่ไม่มีการปฏิบัติ ประเภทซ้ายกลวง คือ ไม่รู้อะไร รู้แต่ว่า ข้าซ้าย ตามเทรนด์  แต่ขี้เกียจศึกษาคนคว้า  จรัล ดิษฐ์ เขาเคย มานำการศึกษาพวกพี่ ในสมัยนั้น เราแอบไปศึกษาที่ เกาะสีชัง สมัยนั้น ตำหนัก ยังไม่ซ่อมแซม
น้ำท่าไม่ต้องอาบ เอาเสบียง ไป 2 วัน เสียดายที่เขายอมแพ้ ต่อ อำนาจเงินตรา


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: seree_60 ที่ 04 ธันวาคม 2551, 10:15:09
น้องสุ

  เคยฟังเพลงของวง สองวัย มั้ย น้องน่าจะทันนะ ตอนหลังเหตุการณ์ 7 ตุลา ที่มีการสูญเสีย วงคีตาญชลี ได้นำเอา เพลง ผีเสื้อเอย มาร้อง ฟังแล้วน้ำตาซึมเลย  ใครหนอที่ใจร้าย มาทำลาย ผีเสื้อที่แสนสวย และบอบบาง
                     
                         

                                                                ผีเสื้อเอย

                 โอ้โอ เจ้าผีเสื้อเอย  ก่อนเคยถลาเล่นลม แทรกแซมแกมพรรณไม้ชวนชม  หนอลมพาเจ้าไปแห่งใด

            ใครเล่าใจร้ายบึ้งตึง    เด็ดดึงฉีกทึ้งปีกงาม

                ข้าอยากจะถาม ใครหนอทำเจ้าเอย 
               ข้าอยากจะถาม  ใครหนอทำเจ้าเอย....


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: su ที่ 04 ธันวาคม 2551, 13:09:47
ตอนสุเรียนอยู่สองวัยยังเป็นเด็กเล็กๆอยู่เลยค่ะ เคยไปดูแสดงสดที่คณะรัฐศาสตร์ น่ารักสดใสมากๆ
หนูเคยสอนเพลงนี้ให้เด็กๆตอนไปออกค่ายที่ชุมพร เพราะเนื้อร้องสั้น ร้องง่ายดี เด็กๆชอบค่ะ


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: seree_60 ที่ 04 ธันวาคม 2551, 13:50:52
น้องสุ มีอีกเพลงที่อยากฝากให้กับพันธมิตร ทุกๆคน ที่ร่วมต่อสู้กันมา 192 วัน
จากวง สองวัยเหมือนเดิม




                    เพลง       คิดถึงกันบ้างนะ         
         

                                 หากทะเลแล้งไป      หากดวงไฟลับลง

             หากแผ่นดินสิ้นลง    จะมั่นคงชั่วนิรันดร์

                        จากวันคืนเคลื่อนไป   ผูกดวงใจคล้องกัน

           สิ่งดีงามร่วมกัน       ผูกสัมพันธ์ดังสายใ


                       บอกคำลาถึงกัน      หากในวันนั้นไกล

        ฝากคำลาซึ้งใจ       บอกให้เราคิดถึงกัน



                             แล้วคิดถึงกัน บ้างนะ


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: jamsai ที่ 04 ธันวาคม 2551, 14:57:58
ตะวัน

จำเพลงไม่ได้ แต่ความเพราะยังติดใจ
เพลงอะไรนะ ที่ตะวันร้องให้ฟังที่ NZ
ตะวันบอกว่าชอบมากตอนอยู่ในป่า

ขออีก ขออีกที
ป้าแจ่ม


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: jamsai ที่ 04 ธันวาคม 2551, 15:05:54
เพลงของสองวัยน่ารักมาก
พี่ใช้ร้องเลี้ยงลูกช่วงพวกเขาอายุ 1-6 ขวบ
มีอยู่เพลงเนื้อยาวแต่น่ารักมาก
เพลงชื่อหมาป่ากับลูกแกะ....พยายามหาซื้อเทปแต่ไม่มี

จำได้ ท่อนหนึ่ง เล็กน้อยว่า..
... เจ้าหมาป่า.(ทำตรองตรึก)... นึกขอบใจฟ้า ขอบใจสวรรค์ ส่งอาหารมาเป็นของรางวัล ขอบคุณสวรรค์เบื้องบน
จึงตวาดเจ้าแกะน้อย ใยมาทำอ้อยสร้อย ให้นำขุ่นข้น ลำธารทั้งล่าลและบน เป็นของตัวตนข้าเพียงผู้เดียว.....

ใครรู้จักมาบอกกันบ้างดิ



หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Aj.O ที่ 04 ธันวาคม 2551, 15:24:56
ดูเหมือนว่าพี่ seree เคยอยู่ธรรมศาสตร์รึเปล่า ถึงรู้จักพวกนี้ > ไอ้หัวโต(สมสักไม่เจียมกบาล) ธงชัยวินิจจกุล...คงจะรู้จัก เกษียรเตชะพี่ระ ด้วยสินะ?
จริงๆผมไม่อยากเอ่ยถึงไอ้หัวโตเท่าไหร่ เพราะมันคือเสนียดจันไรสำหรับผม...สะใจมากที่มีอดีตคนเดือนตุลากลุ่มนึง เอามันมาลากไส้ในเวบลิงค์นี้
http://oldforum.serithai.net/index.php?topic=20876.0
(ออกรบก็ไม่เคยรบ ผลงานช่วยเหลือสังคมก็ไม่เคยมี แต่ชอบมาแขวะคนนั้นทีคนนี้ที ทำตัวว่าข้าแน่คนเดียว)
ส่วนธงชัยกับเกษียร ผมพอรับได้ เพราะพวกหลังไม่ได้ปฏิเสธการดำรงอยู่ของสถาบัน แค่ไม่เอาแนวคิด"หวังพึ่งพาสถาบัน"เท่านั้น

ถ้าอยากอ่านความเห็นของเสกสรรค์ต่อการเมืองในปัจจุบัน ผมแนะนำให้อ่านหนังสือ ค.คน ฉบับเมษายน 50(อาจจะเก่าไปหน่อย)แต่คมคายเหมือนเดิม
ไม่แน่ใจว่าเคยอ่านหรือยังครับ?
ที่แน่ๆมีประโยคนึงโดนใจผมมาก กล่าวว่า "ชาตินิยมแบบคับแคบผมไม่เห็นด้วย แต่พวกเพ้อเจ้อบ้าทฤษฎี ผมก็ไม่ชอบเหมือนกัน"
(พวกอาจารย์ ม.เที่ยงคืนหลายคน เหมือนจะเข้าข่าย บ้าทฤษฎี เข้าไปทุกวัน)
ไม่ว่าจะเป็น ไอ้ประจักษ์ก้อง ไอ้พิชิตลิควิต ศิโรตม์(ญาติองอาจ) หรือ ธงชัยฯลฯ

ปล.คนไหนที่ผมขึ้นสรรพนามว่า ไอ้ แสดงว่าเกลียดชังมาก


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: khesorn mueller ที่ 04 ธันวาคม 2551, 15:38:01
อ้างถึง
ข้อความของ jamsai เมื่อ 04 ธันวาคม 2551, 15:05:54
เพลงของสองวัยน่ารักมาก
พี่ใช้ร้องเลี้ยงลูกช่วงพวกเขาอายุ 1-6 ขวบ
มีอยู่เพลงเนื้อยาวแต่น่ารักมาก
เพลงชื่อหมาป่ากับลูกแกะ....พยายามหาซื้อเทปแต่ไม่มี

จำได้ ท่อนหนึ่ง เล็กน้อยว่า..
... เจ้าหมาป่า.(ทำตรองตรึก)... นึกขอบใจฟ้า ขอบใจสวรรค์ ส่งอาหารมาเป็นของรางวัล ขอบคุณสวรรค์เบื้องบน
จึงตวาดเจ้าแกะน้อย ใยมาทำอ้อยสร้อย ให้นำขุ่นข้น ลำธารทั้งล่าลและบน เป็นของตัวตนข้าเพียงผู้เดียว.....

ใครรู้จักมาบอกกันบ้างดิ

ได้แล้วค่ะพี่

http://media.imeem.com/m/InzgM05czC/aus=false/
nn.27


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: khesorn mueller ที่ 04 ธันวาคม 2551, 15:44:40
เพลงนี้ พบโดยบังเอิญ!
พี่ตะวันเอ่ยถึงเพลงนี้หรือยังคะ?
แต่จะแปะล่ะ...trotzdem.
http://media.imeem.com/m/CQh-5y-yW0/aus=false/
nn.(bird in winter)


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: seree_60 ที่ 04 ธันวาคม 2551, 19:18:37
อ.แจ่มครับ

ผมไม่แน่ใจว่าเป็นเพลง คนทำทางหรือเปล่า ที่แต่งโดย เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์

                           คนทำทาง

         ประวัติศาสตร์อาจมีในหลายด้าน  แต่คนที่ทำงานไม่เคยจะเอ่ยออกนาม
       คนที่แบกหามลุยน้ำลุยโคลนคนที่สรรสร้าง   จากป่าเป็นเมืองรุ่งเรืองงามเพียงเวียงวัง
      ด้วยเลือดด้วยเนื้อของคนทำทาง       ถางทางตั้งต้นเพื่อคนต่อไป

           จากป่าเปลี่ยวเที่ยวไปในทุกถิ่น  ดังโบกโบยบินพื้นดินเป็นถิ่นอาศัย
        หนาวเหน็บเจ็บกายภัยร้ายนานาชีวาว้าเหว่  เช้าค่ำจำเจเร่ไปให้คนเดินตาม
          ทุกย่างเท้าเขาเหมือนเงาเรืองงาม
                 ฝังนามฝังร่างอยู่กลางแผ่นดิน

 น้องหนิง ช่วยหามาแปะด้วยจ้า
[/color]


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: khesorn mueller ที่ 04 ธันวาคม 2551, 19:45:34
อ้างถึง
ข้อความของ seree_60 เมื่อ 04 ธันวาคม 2551, 19:18:37
อ.แจ่มครับ

ผมไม่แน่ใจว่าเป็นเพลง คนทำทางหรือเปล่า ที่แต่งโดย เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์

                           คนทำทาง

         ประวัติศาสตร์อาจมีในหลายด้าน  แต่คนที่ทำงานไม่เคยจะเอ่ยออกนาม
       คนที่แบกหามลุยน้ำลุยโคลนคนที่สรรสร้าง   จากป่าเป็นเมืองรุ่งเรืองงามเพียงเวียงวัง
      ด้วยเลือดด้วยเนื้อของคนทำทาง       ถางทางตั้งต้นเพื่อคนต่อไป

           จากป่าเปลี่ยวเที่ยวไปในทุกถิ่น  ดังโบกโบยบินพื้นดินเป็นถิ่นอาศัย
        หนาวเหน็บเจ็บกายภัยร้ายนานาชีวาว้าเหว่  เช้าค่ำจำเจเร่ไปให้คนเดินตาม
          ทุกย่างเท้าเขาเหมือนเงาเรืองงาม
                 ฝังนามฝังร่างอยู่กลางแผ่นดิน

 น้องหนิง ช่วยหามาแปะด้วยจ้า
[/color]

<a href="http://www.suanpluchorus.com/albums/2546/Track1.wma" target="_blank">http://www.suanpluchorus.com/albums/2546/Track1.wma</a>


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: seree_60 ที่ 06 ธันวาคม 2551, 23:07:42
มีอีกเพลงที่ ปัญญาชน ชอบร้องกันมาก แต่ในป่า เขาจะวิจารณ์กันมากว่า เป็นเพลง จิตนิยม
เราลองมาดูว่าเนื้อหาจะเป็นอย่างไร

ประวัติที่มาของ เพลง เพื่อมวลชน

เพลงเพื่อมวลชน
*********

ถ้าหากฉันเกิดเป็นนกที่โผบิน
ติดปีกบินไปให้ไกล ไกลแสนไกล
จะขอเป็นนกพิราบขาว
เพื่อชี้นำชาวประชาสู่เสรี
ถ้าหากฉันเกิดเป็นเมฆบนนภา
จะนำพาความร่มเย็นเพื่อท้องนา
หากฉันเกิดเป็นเม็ดทราย
จะถมกายเป็นทางเพื่อมวลชน
ชีวา ยอมพลีให้ มวลชน
ที่ทุกข์ทน ขอพลีตนไม่ว่าจะตายกี่ครั้ง


หลายท่านคง สงสัยว่า เพลงเพื่อมวลชนนี้มีที่มา อย่างไร และใครเป็นคนแต่งขึ้นมา
สำหรับประวัติเพลงเพื่อมวลชนนั้น มีดังนี้
เพลงเพื่อมวลชนนั้นถูกเขยขึ้นในปี2517ที่มหาวิทยาลัยมหิดล คนเขียน ชื่อว่า กุลศักดิ์ เรืองคงเกียรติ หรือ จิ้น กรรมาชน เป็นนักศึกษาคณเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล รุ่นที่5เขียนขึ้นหนึ่งปีหลังจากเหตุการณ์14ตุลามคม 2516 จิ้นกรรมาชนนั้นมีชื่อในนามพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ว่า สหายโชติ เป็นชาว กทม โดยกำเนิด ส่วนคนเขียนทำนองนั้น คือคุณ นพพร ยศฐา เป็นนิสิตคณะเภสัชศาสตร์รุ่นเดียวกันกับพี่จิ้น มีชื่อทางพรรคคอมมิวนิสต์ว่า สหาย ภารดรพรือ ภารดร วงษ์ชนม์ เสียชีวืตจากการโดนลอบยิงที่ชายแดน แถวอีสานใต้ ส่วนวงกรรมาชนนั้นเป็นวงที่ก่อตั้งขึ้นมาจากชมรมดนตรีสากลมหาวิทยาลัยมหิดลในขณะนั้นสมาชิกส่วนใหญ่เป็นนิสิตคณะเภสัชศาสตร์ และแพทย์
 
 
 
 


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: seree_60 ที่ 06 ธันวาคม 2551, 23:19:11
และอีกเพลงหนึ่งซึ่งใช้กันมาก ในงานเลี้ยงอำลาต่างๆ นั่นคือเพลง คำสัญญา
เพลงนี้ใกล้ชิด กับผมมาก เพราะคนแต่งเพลงเคยเข้าป่า ที่สุราษฎร์ธานี เขต สฎ.3 ชื่อจัดตั้งว่า สหายโพธิ์ เป็นนักศึกษา ราม อยู่ค่ายเดียวกันกับผม
ครั้งแรกที่แต่งเพื่อใช้ร้อง ในการส่ง สหาย เมื่อต้องเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ ที่เขตงานอื่น เนื้อหาเดิมๆ จะแตกต่างจากปัจจุปัน โดยเฉพาะท่อนแยก จะเป็นการร้องแบบลิเก
ภายหลัง ไม่แน่ใจว่า ใครมาปรับปรุงเนื้อร้อง และตัดท่อนที่เป็นลิเกออกไป เพราะร้องยาก เนื้องร้องที่ปรับปรุงแล้ว ( แต่ทำนองเดิม ที่ไปเอามาจากเพลงลูกทุ่ง ของ
ชาย เมืองสิงห์ ) กลับฮิต ติดลม กลายเป็นเพลงที่สร้างความประทับใจ กับทุกๆคน แต่ สหายโพธิ์ เสียชิวิตแล้ว ในเขตป่าเขา ขอให้วิญญาณของเขา ไปสู่สุคติ
และเขาน่าจะปลื้มใจ ที่ผลงานเพลง ยังตราตรึง ในใจ ของ ประชาชน เป็นจำนวนมากในทุกวันนี้


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: seree_60 ที่ 06 ธันวาคม 2551, 23:27:33
เนื้อหาของเพลงมีดังนี้

                    เพลง  คำสัญญา


ก่อนจากกัน...ขอสัญญา ฝากประทับตรึงตรา จนกว่า จะพบกันใหม่

โบกมืออำลา สัญญาด้วยหัวใจ เพราะความรัก ติดตรึงห่วงใย ด้วยใจ ผูกพันมั่นคง..

.ด้วยความดี นั้นฝังตรึง จากไปแล้วคำนึง ตรึงประทับดวงใจ

อย่าได้ลืมเลือน สัญญากันไว้อย่างไร ขอให้เรามั่นคงจิตใจ ก้าวไปสรรค์สร้างความดี...

               *โอ้เพื่อนเอ๋ย เคยร่วมสนุกกันมา แต่เวลา ต้องพาให้เราจากกัน

                ไม่นานหรอกหนา เราคงได้มาพบกัน ไม่มีสิ่งใดขวางกั้น เพราะเรามั่นในสัญญา

 หากแผ่นดิน ไม่ฝังกาย จะสุขจะทุกข์เพียงใด น้อมกายยิ้มสู้ฟันฝ่า

ร้อยรัดดวงใจ มั่นในคำสัญญา สร้างสรรค์เพื่อมวลประชา

 นี่คือสัญญาของเรา ....


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: khesorn mueller ที่ 07 ธันวาคม 2551, 18:33:48
นี่คะพี่
http://media.imeem.com/m/wp26OgcQ6i/aus=false/
nn.27


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Aj.O ที่ 07 ธันวาคม 2551, 18:42:01
 
อ้างถึง   
หลายท่านคง สงสัยว่า เพลงเพื่อมวลชนนี้มีที่มา อย่างไร และใครเป็นคนแต่งขึ้นมา
สำหรับประวัติเพลงเพื่อมวลชนนั้น มีดังนี้
เพลงเพื่อมวลชนนั้นถูกเขยขึ้นในปี2517ที่มหาวิทยาลัยมหิดล คนเขียน ชื่อว่า กุลศักดิ์ เรืองคงเกียรติ หรือ จิ้น กรรมาชน เป็นนักศึกษาคณเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล


ปัจจุบันเป็นหนึ่งในพลพรรคแก๊งเสื้อแดงผู้พิทักษ์แม้ว  emo22:(
http://oldforum.serithai.net/index.php?action=printpage%3Btopic=26199.0

ปล. ทีแรกนึกว่า เพลงคำสัญญา วงอินโดจีนแต่งเองซะอีก?...เพราะได้ยินครั้งแรกจากวงอินโดจีน ไม่ยักรู้ว่ามันมีมาก่อนแล้ว


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: khesorn mueller ที่ 07 ธันวาคม 2551, 18:46:38
อ้างถึง
ข้อความของ seree_60 เมื่อ 06 ธันวาคม 2551, 23:07:42
มีอีกเพลงที่ ปัญญาชน ชอบร้องกันมาก แต่ในป่า เขาจะวิจารณ์กันมากว่า เป็นเพลง จิตนิยม
เราลองมาดูว่าเนื้อหาจะเป็นอย่างไร

ประวัติที่มาของ เพลง เพื่อมวลชน

เพลงเพื่อมวลชน
*********

ถ้าหากฉันเกิดเป็นนกที่โผบิน
ติดปีกบินไปให้ไกล ไกลแสนไกล
จะขอเป็นนกพิราบขาว
เพื่อชี้นำชาวประชาสู่เสรี
ถ้าหากฉันเกิดเป็นเมฆบนนภา
จะนำพาความร่มเย็นเพื่อท้องนา
หากฉันเกิดเป็นเม็ดทราย
จะถมกายเป็นทางเพื่อมวลชน
ชีวา ยอมพลีให้ มวลชน
ที่ทุกข์ทน ขอพลีตนไม่ว่าจะตายกี่ครั้ง


หลายท่านคง สงสัยว่า เพลงเพื่อมวลชนนี้มีที่มา อย่างไร และใครเป็นคนแต่งขึ้นมา
สำหรับประวัติเพลงเพื่อมวลชนนั้น มีดังนี้
เพลงเพื่อมวลชนนั้นถูกเขยขึ้นในปี2517ที่มหาวิทยาลัยมหิดล คนเขียน ชื่อว่า กุลศักดิ์ เรืองคงเกียรติ หรือ จิ้น กรรมาชน เป็นนักศึกษาคณเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล รุ่นที่5เขียนขึ้นหนึ่งปีหลังจากเหตุการณ์14ตุลามคม 2516 จิ้นกรรมาชนนั้นมีชื่อในนามพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ว่า สหายโชติ เป็นชาว กทม โดยกำเนิด ส่วนคนเขียนทำนองนั้น คือคุณ นพพร ยศฐา เป็นนิสิตคณะเภสัชศาสตร์รุ่นเดียวกันกับพี่จิ้น มีชื่อทางพรรคคอมมิวนิสต์ว่า สหาย ภารดรพรือ ภารดร วงษ์ชนม์ เสียชีวืตจากการโดนลอบยิงที่ชายแดน แถวอีสานใต้ ส่วนวงกรรมาชนนั้นเป็นวงที่ก่อตั้งขึ้นมาจากชมรมดนตรีสากลมหาวิทยาลัยมหิดลในขณะนั้นสมาชิกส่วนใหญ่เป็นนิสิตคณะเภสัชศาสตร์ และแพทย์
 


ฟังได้หรือปล่าวบอกนะคะ!
มือแฮพน่ะ---ฮึมอยู่นี่


<a href="http://student.sut.ac.th/anurukclub/music/pue-muan.wma" target="_blank">http://student.sut.ac.th/anurukclub/music/pue-muan.wma</a>
nn.27


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: seree_60 ที่ 07 ธันวาคม 2551, 20:59:26
เพลงคำสัญญา เป็นเพลงที่ไพเราะและแพร่หลายมาก จึงมีผู้ต้องการครอบครองกรรมสิทธิ์ แต่จำไม่ได้ว่า วงใหนที่ไป ยื่นจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ ( หน้าด้านมาก ไม่น่าจะเป็นวงเพื่อชีวิตเลย ) พวกเพื่อนๆ ของสหายโพธิ์ได้ไปขึ้นศาล เพื่อเป็นพยาน ว่าคนแต่ง คือ สหายโพธิ์ ไม่ใช่ วงที่มาขอจดทะเบียน


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: seree_60 ที่ 07 ธันวาคม 2551, 21:17:09
    วันนี้อยากเเสนอเพลงที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน คือ การเมืองใหม่ ที่จะนำความ สุข สงบกลับมายังบ้านเมืองของเรา นั่นคือ เพลง
                                         ฟ้าใหม่

                     
       โน่น ขอบฟ้าเรืองรอง   ทาบทองอำไพ
                                       ใสสดงามตา
                     คือฟ้าใหม่ใกล้มา   นำมวลทาสเป็นไทย

                                                   อาบด้วยแสงเสรี   ภราดรธรรม
                                                  ฟุ้งเฟื่องประจำ   งามล้ำกว่าก่อนไกล    ชีพสดใสเริงรื่น

                                     เร็วลุกขึ้นเถิด   เร็วลุกขึ้นเถิด   ทุกชั้นชนไทย
                                ชนผู้รักชาติ   รักความเป็นไทย     จงสามัคคี

                     เร็วลุกขึ้นเถิด   เร็วลุกขึ้นเถิด ทุกชั้นชนไทย
                             พร้อมใจกัน  ก้าวตรงไป    สู่ไทยเสรี "
 


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: seree_60 ที่ 07 ธันวาคม 2551, 21:26:34



                   และอีกเพลงที่มีเนื้องร้องสั้นมาก แต่มีพลังมหาศาล นั่นคือ
[/color]
                          เพลง  สานแสงทอง

                         ขอผองเราจงมาร่วมกัน

                   ผูกสัมพันธ์ยิ่งใหญ่

                  สานแสงทองของความเป็นไทย

                 ด้วยหัวใจบริสุทธิ์

มอบแด่ชาวไทยทุกๆ คนที่ปราถนา จะเห็นความสงบสุข ให้เกิดขึ้นในแผ่นดินไทย อันเป็นที่รักของเราทุกคน
มาร่วมกัน สานแสงทองของความเป็นไทย ด้วยหัวใจที่บริสุทธิ์ ของทุกๆคน


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: seree_60 ที่ 07 ธันวาคม 2551, 21:36:38
วันนี้ กำลังมีอารมณ์เพลง รัวเป็นชุดเลย และขอเสนออีกเพลง

เพลงนี้เป็นกำลังใจ แก่นักสู้ทั้งหลาย 

                                             เพลงประกายดาว


                             คืนนี้ฟ้าสีหม่น ใช่มืดมนจนสิ้นแสง
                                โน่นดาวจรัสแรง ยังทอแสงรุ้งอำไพ
                                      ท่ามกลางพายุจัด ดาวยิ่งชัดยิ่งสดใส
                                               ส่องทางเห็นเด่นไกล รุ่งวันใหม่ของมวลชน


                       ดวงดาวแห่งศรัทธา
                       ปลุกประชาทั่วทุกหน
                        ต่อสู้กู้สิทธิ์ตน
                       ที่ทุกข์ทนมาเนื่นนาน


                      ประกายดาวสายสัมพันธ์
                      ร่วมใจมั่นร่วมประสาน
                       พลังใดไม่อาจทาน
                  อุดมการณ์อันเกรียงไกร

                                 คืนนี้แม้คืนแรม
                                ดาวยิ่งแจ่มฟากฟ้าไกล
                                ฟ้าทองจะอำไพ
                                  ทางแห่งชัยของมวลชน "


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: seree_60 ที่ 07 ธันวาคม 2551, 21:57:46
มาเป็นชุดครับพี่น้องเมื่อมี ประกายดาว ก็ต้องมี ประกายไฟ"


                       ประกายไฟ" ของวง"น้ำค้าง "
                                 วงดนตรีเพื่อชีวิตรุ่นน้องของหมอจุฬา
"

ประกายไฟโหมลุกไหม้ สาดแสงร้อนแรงทั่วแดนฟ้า
สว่างไสวในพริบตา ฟ้ามืดมนทั่วพสุธามลายไปด้วยประกายไฟเจิดจ้า
ประกายไฟของดวงใจ หนุ่มสาวร้อนแรงพลังสร้างสรรค์
ก้าวไปด้วยแรงศรัทรา ไปข้างหน้าท้าแสงตะวัน ไม่หวั่นเกรงภยันอันตราย

ประกาย...ไฟ ลามไป ลุกไหม้ มวลอธรรม
มืดมนอนธการใดๆ มลายไปด้วยประกายธรรม นำหลักชัยเสรีเรืองรอง

จุดประกาย ของความดี ศักดิ์ศรีคนจนที่ถูกเหยียดหยาม
จรัสแสงส่องนำมวลชน ให้สู้ทนในสังคมทราม ขับไล่ความชั่วช้ากาลีสิ้นไป

ก้าวเดินมาร่วมใจกัน สร้างสรรค์ สังคมอุดมธรรม
จิตใจรับใช้มวลชน เชิดชูปวงคนยากไร้ จุดประกายไฟลามในใจตน
จุดประกายไฟลามในใจตน จุดประกาย.........ไฟ"


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: สมชาย17 ที่ 08 ธันวาคม 2551, 11:24:57
ขอบคุณ พี่ตะวัน
ทำให้ผมที่เข้ามาอ่าน มีความรู้ ว่าใครเป็นคนแต่งเพลง สมัยไหนบ้าง
เพลงก็ไพเราะทั้งนั้น ดีจริงๆ



หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: su ที่ 08 ธันวาคม 2551, 13:33:05
สวัสดีค่ะพี่ตะวัน


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: su ที่ 08 ธันวาคม 2551, 13:42:00
เมื่อประมาณสองปีก่อนได้ไปเที่ยวแถบมณฑลเสฉวน  รูปนี้แสดงถึงภูมิประเทศอันแสนธุรกันดารที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นเส้นทาง the long march เห็นแล้วพลอยรู้สึกซาบซึ้งถึงความมุ่งมั่นของกองทัพแดง ซึ่งจากคนประมาณ 100,000 คน ได้เดินทางไปถึงจุดหมายเพียงประมาณ 30,000 คนเท่านั้น(พี่ตะวันคงเข้าใจประวัติศาตร์เรื่องนี้ดีกว่าสุ)(http://www.cmadong.com/imageupload/dec08/data/image/kbjp91-781589.jpg)


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: su ที่ 08 ธันวาคม 2551, 13:47:31
ภาพนี้ถ่ายจากหน้าที่พัก[/color]

(http://www.cmadong.com/imageupload/dec08/data/image/kbjpiu-d26703.jpg)


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: su ที่ 08 ธันวาคม 2551, 13:50:46
รูปสวยๆจากเสฉวน... กล้องธรรมดาและคนถ่ายไร้ฝีมือ...สวยโดยธรรมชาติล้วนๆค่ะ

(http://www.cmadong.com/imageupload/dec08/data/image/kbjpmx-1bf513.jpg)

(http://www.cmadong.com/imageupload/dec08/data/image/kbjpnk-1e20a9.jpg)

(http://www.cmadong.com/imageupload/dec08/data/image/kbjpoa-52ab2a.jpg)


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: su ที่ 08 ธันวาคม 2551, 13:54:56
แถมด้วยความน่ารักจากน้องหมีแพนด้า ทราบภายหลังว่าศูนย์แห่งนี้โดนแผ่นดินไหว...หวังว่าน้องๆในภาพนี้คงรอด

(http://www.cmadong.com/imageupload/dec08/data/image/kbjpuh-e9fe0e.jpg)


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: seree_60 ที่ 08 ธันวาคม 2551, 14:46:15
ขอบคุณน้องสมชายที่เข้ามาคุยด้วย มีอะไรที่ สนใจสอบถามได้นะครับ มาแลกเปลี่ยนกัน เพื่อเป็นการบันทึกเรื่องราวในอดีตไว้ให้คนรุ่นหลัง ได้รับรู้

น้องสุ รูปสวยมาก อย่างนี้ เขาไม่เรียกว่า ไร้ฝีมือแล้ว ถึงไม่ใช่ขั้นเทพ ก็ระดับเซียนง่อไบ๊ ก็แล้วกัน

พี่ประทับใจกับ รายการเดินทัพทางไกล กับ ประธาน เหมา เจ๋อ ตง มาก เป็นเส้นทางประวัติศาสตร์ที่โหดร้าย ต้องมีกำลังใจเป็นอย่างมาก จึงสามารถฟันฝ่า อุปสรรค ครั้งนั้นมาได้ เปรียบเทียบกับ การประท้วงอันยืดยาว ของพันธมิตร แล้ว นี่อาจเป็นการเดินทัพทางไกล ยุค ดิจิตอล ที่น่าสนใจมากเช่นกัน แม้ว่าใครหลายคน จะออกมาติติงในวิธีการในการต่อสู้ แต่พี่คิดว่ามันจำเป็น บางครั้งมันก็ต้องมีการรุนแรงสูญเสียบ้าง แต่คุนูปการ กำลัง เกิดขึ้น ทำให้ฝ่ายการเมืองต้องหันมาสนใจ ว่า ประชาชน คิด และต้องการ อะไร จะเห็นว่า พรรคเพื่อไทย ไม่กล้าดัน ชินวัตร ขึ้นมา เป็นหัวหน้าพรรค และไม่กล้าดัน เหลิม เป็นนายก นี่ เกิดจากการต่อสู้ ของประชาชนล้วนๆ ต่อไป การต่อสู้ ของภาคประชาชน จะเข้มแข็งขึ้น นั่นแหละ คือ การเมืองใหม่ ที่หลายคนปราถนา และฝันใฝ่  และจะปรากฎขึ้นจริงใน อนาคต
การประกฎ ของ พระจันทร์ยิ้ม เป็นสัญญานที่ดีจริงๆ  ( ขอให้พวกนักการเมืองเวรตะไล เช่น วีระ ตู่ ไสยกื้อ ไปลง นรกเสีย เถอะ แผ่นดินจะได้สูงขึ้น )


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: สมชาย17 ที่ 08 ธันวาคม 2551, 20:47:33
พี่ตะวัน
ขอให้สงบอารมณ์ บ้างเถอะครับ โลกมันก็เป็นแบบนี้แหละครับ emo29:P:
ถ้าโลกนี้ ไม่มีคนเลว คนชั่ว เราจะไม่รู้ว่าคนดีคืออย่างไร
ถ้าโลกนี้ไม่มีความทุกข์ เราจะไม่รู้ว่าความสุขเป็นอย่างไร
ถ้าไม่มีความมืด ก็ไม่รู้ว่าความสว่างเป็นอย่างไร
เหมือนเหรียญ ก็มีสองหน้า

เรียกว่าเป็น รสชาด ของชีวิต สุขมั่ง ทุกข์มั่ง ดีบ้าง เลวบ้าง ปะปนกันไป
คน คนเดียวกัน ยังมีพฤติกรรมได้ทั้ง สองแบบเลย อยู่ในตัวตน คนเดียวกัน
ดังนั้นต่างคน ต่างความคิด ต่างการกระทำได้ เรื่องธรรมดา emo7:(:



หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: seree_60 ที่ 08 ธันวาคม 2551, 22:18:35
เพลงรัตติกาล เพลงปฏิวัติในป่าอันไพเราะ

คารวะดวงวิญญาณ ตือ กงล้อ ที่แต่งเนื้อร้องและทำนองเพลงนี้
ในสถานการณ์ที่เขาได้เข้าร่วมการต่อสู้ด้วยการกำลังอาวุธกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยในป่าเขตภาคเหนือของไทย
เมื่อ 30 ปีก่อนหลังเหตุการณ์ 6 ตุลา
ซึ่งในช่วงนั้นเป็นช่วงที่เขาต่อสู้ทางความคิด
ระหว่างจะอยู่ต่อหรือถอยกลับเพราะความยากลำบากในป่าเขาขณะนั้นทำให้เขาสั่นคลอน.....

ในค่ำคืนหนึ่ง ท่ามกลางป่าเขาลำเนาไพร
เขาได้แต่งเพลงนี้ขึ้นมา
โดยเปรียบเทียบความยากลำบากเหมือน รัตติกาลที่มืดมิดมัวมนมองไม่เห็นหนทางเปรียบเสมือนสีดำ
แต่ในความมืดมิดนั้น
ก็มีแสงดาวดวงน้อย ๆ ที่เปรียบเสมือนความหวัง ความศรัทธา
ในอุดมการณ์ที่เขายึดมั่น
 เสียงร้องของฝ่ายชายคือความท้อแท้สิ้นหวัง
 เสียงร้องของฝ่ายหญิงคือแสงดาวแห่งศรัทธาที่ไม่มีวันหมดสิ้น ตราบที่ใจยังกล้าต่อสู้
เหมือนเพลงในท่อนท้ายที่ว่า
"แม้นยืนหยัดต่อสู้ต่อไป เขานั้นสูงเพียงใดมิอาจขัดขวาง
 ขอแต่เพียง ยังยืนหยัดต่อสู้ต่อไป อุปสรรคใดใด ต้องหลีกทางให้เราเอย"
และในที่สุด เขาก็ตัดสินใจเดินหน้าต่อไปเพื่อไปศึกษาด้านดนตรีที่แนวหลัง พวกเราจึงได้ฟังเพลงหวานซึ้ง แต่กินใจให้เราต่อสู้กับอุปสรรคที่พานพบ.......


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: seree_60 ที่ 08 ธันวาคม 2551, 23:08:15


                         

                              เพลง...รัตติกาล"


ขับร้องโดย คุณ เพ็ญศรี พุ่มชูศรี และคุณสุเทพ วงศ์กำแหง "     

    ชาย        ...รัตติกาลนี้มัวมน ฟ้าหม่นมืดมิดทรมา
                       เดือนเลือนลับอำลา
                           สีดำทาบทาทั่วพื้นพนา..แนวไพร

                    หญิง                ฟ้าดับเดือนลับลาดิน หรือสิ้นความหวังวางวาย
                                      ดาวดวงน้อยประกาย
                                   นั้นยังพร่างพราย ดังหัวใจคนมิเคย..
.                                              ...สูญสิ้นศรัทธา..........


                ชาย         ฟ้ามัวมน ดาวยังพร่างพรายดาษดื่น

                 หญิง             เย้ยดินมืดเมื่อเดือนละลายอำลา

              ชาย                เย้ยฟ้าหมองเหมือนทุกข์ทรมา

              หญิง                เย้ยจันทราดับฟ้ามลาย

                             ขอเธอเป็นดังดาวสกาวผ่อง


         ชาย                   เหมือนจะต้องฟันฝ่าหนทางยาวไกล..

           ชาย        เขานั้นสูง.       หญิง     .หรือสูงเกินใจ

           ชาย          หนทางไกล..        หญิง         ไกลหรือเกินคน

                ญ                     ดาวยังเด่นดังเย้ยฟ้ามัวมน

                     ช           เหมือนใจคนมิหมดศรัทธา

                    ญ         คนนั้นยังคงยืนเด่นเย้ยโลกา

.                     ช            ..ตราบชีวาวายวาง........

  ญ    แม้นยืนหยัดต่อสู้ต่อไป
              ช          เขาถึงสูงเพียงใดหรืออาจขัดขวาง
             ญ             ขอแต่เพียง.
           
                    ช.ญ.                .ยังยืนหยัดต่อสู้ต่อไป
                            อุปสรรคใดใด.....ต้องหลีกทางให้เราเอย............"


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: jamsai ที่ 09 ธันวาคม 2551, 10:56:01
 emo4:))ตะวัน

นับถือความเป็นตัวตนที่ฝังอุดมการณ์ไว้ในจิตวิญญานแน่นแฟ้นขนาดนี้ของคุณ
เพลงต่างๆล้วนมีความไพเราะและกินใจ เพราะมันสร้างจากจิตที่ตระหนักต่อสิ่งที่ปรากฏขึ้นจริงๆของใจผู้แต่ง

เมื่อวานเปิดเพลงของคีตาญชลีฟังจนหมด  ขอขอบคุณอีกครั้งที่หามาให้
ว่าแต่ว่า เพลงที่ร้องที NZ ไม่ใช่เพลงคนทำทาง แต่เป็นเพลงที่ตะวันบอกว่าชอบมากตอนอยู่ในป่า

ถ้าพี่อยากฟังเพลงที่นำมาเล่าให้ฟังเหล่านี้ จะหาได้ที่ใหน โดยเฉพาะเพลงรัตติกาล

ขอบคุณหนุงหนิงที่ หาเพลงหมาป่ากับลูกแกะมาให้ฟัง พี่เปิดและร้องกับลูกสมัยโน้น จนเทปพังแล้วหาซื้อใหม่ไม่ได้
พี่กับลูกจะผลัดกันร้องเป็นหมาป่าบ้าง ลูกแกะบ้าง แล้วก็ถือโอกาสสอนกันเรื่องคุณธรรม ความดี ความยุติธรรม ความฉลาด
ปุ้กกี้กับคุณน้อยจะเอาไปใช้บ้างก็ได้นะ และขอถือโอกาสทวงเทปสัมภาษณ์คู่บ่าวสาว ด้วย สนุกจริงๆ
 emo9:huhu:


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: seree_60 ที่ 10 ธันวาคม 2551, 09:40:57
ป้าแจ่ม ขอเวลานิดหนึ่ง  ผมจะก๊อป เพลงที่ไพเราะ ใส่เทป ไปให้ฟังอย่างแน่นอน ใครสนใจลงชื่อไว้ แล้วจะเอา ไปแจก จะคัดที่เจ๋งๆ คงแล้วเสร็จภายในวันที่
4 มค.52 เพราะมีวันหยุด 5 วัน คงมีเวลาที่จะรื้อค้น เทปเก่ามาปัดฝุ่น เสียดาย เทป เพลง รัตติกาล มันขาดไป แต่จะพยายามหามาให้ได้ เพื่อแฟนคลับ

รักแล้วรอหน่อย


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: seree_60 ที่ 10 ธันวาคม 2551, 10:34:45
เพลงแดนตะวัน คือเพลงที่ไพเราะมาก สะท้อนชีวิต ของผู้ที่ต้องจำขัง ก่อนถึง้เนื้อเพลง มีข้อเขียนที่น่าสนใจที่ผู้ใช้นามปากกาว่า เพชรน้ำผึ้ง
ที่เล่าถึงชีวิต ที่ต้องผ่านความยากลำเค็ญ มายาวนาน แต่เธอก็ผ่านมาได้

ผมขออนุญาต นำข้อเขียนที่น่าสนใจ มาเผยแพร่ เพื่อสะท้อนให้คนในปัจจุบันได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์หน้าหนึ่ง ของการเมืองไทย


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: seree_60 ที่ 10 ธันวาคม 2551, 10:43:17
นี่คือ ขอ้เขียนที่ เล่าถึงชีวิตใน แดนตะราง และขอให้ชื่อว่า

         ลูกหลานนักปฏิวัติ เชื้อไฟที่กำจัดไม่ได้

  เรื่องที่จะเล่าให้ฟังนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง  เกิดขึ้นเมื่อ30กว่าปีแล้ว



    คืนนั้น นกเห็นพ่อกับแม่ยืนคุยกันอยู่นาน ต่อมาพ่อก็ออกไปจากบ้านไม่กลับมาอีกเลย
"แม่พ่อไปไหน นกคิดถึงพ่อ 3เดือนกว่าแล้ว ไม่เห็นพ่อกลับมาเลย" ส่วนน้องสาวของนกคงเล็กเกินไปที่จะรู้เรื่อง
         ทุกครั้งที่นกถามแม่ แม่ก็จะตอบว่า ไว้ลูกโตก่อนลูกจะรู้เองแหละ     นกเห็นแม่แอบร้องให้อยู่บ่อยๆ แม่คงคึดถึงพ่อเหมือนกัน
            วันหนึ่งแม่ได้รับจดหมายจากพ่อที่ส่งมาจากไหนก็ไม่รู้มีคนเอามาให้ แม่อ่านจดหมายของพ่อให้ฟังแต่อ่านบางตอนเท่านั้น พ่อบอกว่าให้แม่เลี้ยงลูกให้ดีๆ ลูกจะต้องเชื่อฟังแม่ ไม่ดื้อ   โตเร็วๆ  เป็นคนเก่ง พ่อจะได้ภูมิใจ แล้วจะได้เจอพ่อ

             แม่บอกกับ นก และน้องว่า ถ้าข้างบ้านถามว่าพ่อไปไหน ให้บอกเขาว่าพ่อไปทำงานต่างจังหวัดไปมีเมียน้อย

นกเองก็ไม่เข้าใจว่า เมียน้อยมันเป็นอย่างไร                                                                                                 
                                                                                                                                                                           ต่อมาเมื่อ นกอายุได้7ขวบ
     วันหนึ่งนกกลับจากโรงเรียนถึงบ้าน มีจดหมายของพ่อมาถึงบ้านอีก
  หลังกินข้าว อาบน้ำทำการบ้านแล้ว แม่เข้ามาคุยกัยนก  ลูกรู้จัก  คอมมูอิ๊ด หรือเปล่า
 รู้แม่มันไม่ดี มันทำลายชาติ   
  แล้วลูกเกลียดไหม 
 เปล่าแม่ นกยังไม่รู้จัก นกยังไม่เคยเห็นเลย   แต่เห็นรูปที่โรงเรียนตัวมันผอมแห้งๆ
แล้วถ้าพ่อเป็นแบบนั้แล้วลูกจะว่ายังไง   
  นกอึ้งอยู่พักใหญ่  แม่ถามต่อว่าแล้วลูกยังรัก คิดถึงพ่อเหมือนเดิมหรือเปล่า   นกงงจนพูดไม่ออก แล้วลูกจะไปบอกคนอื่นไหมว่าพ่อเป็น..    ไม่แม่เพราะเป็นพ่อของนก นกไม่บอกใครหรอก
               แม่จะบอกให้ พ่อของลูกเป็นคนดี   และการที่พ่อเป็นก็เป็นในเรื่องที่ดี   

 
--------เหล่าเป๊นทาห่านของประช้า จับอาวุธคึ้นมาปลดป่อยไท๊ จะอยู่ป่าอยู่เค้าลำเนาไพร.........


  ทุกเช้าก่อนที่นกจะไปโรงเรียนแม่จะสอนให้นกร้องเพลงวันละ1ท่อน  ขณะที่นกเดินไปโรงเรียนนก
 ก็จะหัดร้องเบาๆ  เพราะแม่กำชับไว้ว่าห้ามร้องให้คนอื่นฟังนอกจากแม่คนเดียว ตอนเย็นกลับมาก็มาประติดประต่อร้องให้แม่ฟัง
                                                                                                                                                                         และแล้วนกก็ร้องเพลงได้จนจบทั้งเพลง

   ต่อมานานเท่าไรนกจำไม่ได้ แม่บอกว่าพ่อจะกลับมาเยี่ยมพรุ่งนี้เช้ามืด  ให้นกเข้านอนแต่หัวค่ำ ตอนพ่อมาอย่าคุยเสียงดัง ห้ามให้ข้างบ้านรู้ว่าพ่อมา  แล้วพ่อจะอยู่แต่บนบ้าน พูดอะไรก็จะพูดเสียงค่อยๆ

       เหล่าเป็นทหารของประชา.......... นกยืนร้องเพลงให้พ่อฟังจนจบเพลง  พ่อดีใจมากที่ลูกร้องเพลงนี้ได้

พ่อยังร้องเพลง วีรชนปฏิวัติ  ภูพานปฏิวัติ ให้ฟังอีกด้วย    วันรุ่งขึ้นตอนหัวค่ำพ่อก็ออกจากบ้าน  และบอกว่ายังไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะได้กลับมาอีก   นกสงสารแม่ขึ้นมาอย่างจับใจ และอดที่จะร้องไห้ไม่ได้

   เช้าตรู่ของวันหนึ่ง นกจำได้ว่าเป็นวันเสาร์ไม่ต้องไปโรงเรียน
 มีผู้ชายสิบกว่าคนมาทุบประตูเสียงดังมาก บอกว่าเขาเป็นตำรวจ ให้รีบเปิดประตู มีหมายค้นจากอธิบดีตำรวจ มาขอตรวจค้นบ้านหลังนี้           
             ทันทีที่แม่เปิดประตู  พวกเขาทั้งหมดก็กรูกันเข้าไปค้นของในบ้านทุกซอกทุกมุมของไม่เว้นแม้หึ้งพระก็ปีนขึ้นไปยกองค์พระขึ้นมาส่องดูว่ามีส่องดูว่ามีของอะไรซ่อนในองค์พระหรือไม่
เสียงใครคนหนึ่งตะโกนว่า  "บ้านนี้ไหว้พระด้วยเหรอ"

มีคนนึงเอาส้นรองเท้าเคาะตามพื้นซิเมนต์ในบ้าน  ถ้ามีเสียงดังแปลกๆไม่เหมือนที่อื่นก็จะตรวจสอบพื้นตรงนั้นเป็นพิเศษแทบจะกระเทาะพื้นลงไปดูเลยแหละ
  พวกเขาอ่านทุกข้อความที่มีอยู่ในบ้านไม่เว้นแม้สมุดพกโรงเรียนของนก พร้อมกับเอารูปถ่ายของคนหลายๆคน มาถามนก กับน้องว่าเคยเห็น รู้จักหรือไม่
 ข้างนอกบ้านมีเพื่อนบ้านเข้ามามุงดูอยู่ห่างๆเต็มไปหมด  ยังต้องตอบคำถามว่าเคยเห็นคนในรูปด้วยหรือไม่
     ชาวบ้านหลายคนทนดูไม่ได้ ถึงกับพูดกับหัวหน้าเจ้าหน้าที่ว่า อย่าไปจับเขากับลูกๆเลย เด็กก็ยังเล็กอยู่  เขาเป็นคนดีไม่ได้เป็นคนร้าย

 ประมาณ3ชั่วโมงนกเห็นพวกเขาเอากระดาษ หนังสือเป็นเล่ม ใส่ลังขนขึ้นรถไป ได้ยินเขาบอกว่าเป็นหลักฐานปลุกระดม ผิดกฎหมาย      พวกเขายังเอาวิทยุสื่อสารตั้งเสาอากาศที่บ้าน ว. เป็นโค๊ดอะไรก็ไม่รู้ นกฟังไม่เข้าใจ  แล้วเขาก็ถอดวิทยุออกไป

           พอขนของไปจนพอใจแล้วพวกเขาบอกแม่กับนกว่า ให้เตรียมของใช้ส่วนตัวที่จำเป็นไปกับพวกเขาด้าย เพาะต้องไปนอนที่อื่น   แม่ถามเขา แต่เขาก็ไม่ตอบว่าไปที่ไหน  บ้านไม่มีคนเฝ้าก็ให้ปิดประตูไว้
                                                                                                                                                                          ขึ้นรถของเขา แล้วพาไปสถานที่แห่งหนึ่งเป็นห้องโถงใหญ่ แต่ก็มีห้องที่กั้นเป็นสัดส่วนเหมือนสำนักงาน มีประตูปิดอยู่อีกหลายห้อง ทันทีที่ถึงสถานที่แห่งนั้น นกได้เห็นอีกหลายคนที่ตกอยู่ในสถานการณ์เหมือนกันกับครอบครัวของนก ต่างถูกแยกส่วนกัน แม้คนที่อยู่บ้านเดียวกันก็ห้ามคุยกัน  แยกให้นั่งอยู่กันคนละมุม  ทุกคนจะได้รับคำตอบว่า วันนี้ให้นั่งคอยคำวินิจฉัยจากท่านผู้กำกับฯว่า จะต้องเชิญตัวไว้สอบสวน หรือจะปล่อยตัวไปก่อน
 แต่นกกับน้องเป็นเด็กวิ่งเล่นไปมากจึงมีโอกาสได้พบเห็น พี่ ป้า น้า  อา ลุง หลายคนตามห้องต่างๆ    มีป้าผู้หญิงคนหนึ่งเอานกเข้าไปกอดแล้วกระซิบบอกนกว่า ให้ไปบอกทุกคนว่าในตึกนี้ติดเครื่องดักฟังเสียง
              “แม่ ๆ  มีผู้ใหญ่อีกตั้งหลายคนถูกจับด้วย ถูกให้นั่งแยกกัน” นกกระซิบกับแม่ และบอกแม่เรื่องเครื่องดักฟังด้วย
                           นกเห็น พี่ ป้า น้า  อา ลุง ถูกพวกเขาพาออกไปทีละส่วนจนหมดทุกคนแต่ไม่รู้พาไปไหน   เหลือแต่บ้านของนกเป็นบ้านสุดท้าย18.00น.แล้วยังไม่รู้ว่าจะเอาอย่างไร
น้องของนกเริ่มงอแงมาตั้งแต่บ่ายแล้ว    จนใกล้ค่ำ พวกเขามาบอกว่า ต้องให้นอนที่นี่ก่อน
เพื่อจะได้สอบสวน
              เขาพาไปห้องควบคุมหลังหนึ่งที่ใช้เป็นที่กักบริเวณแต่ไม่มีลูกกรง มีแม่ นก และน้อง อยู่ด้วยกัน       
             3-4วันต่อมา แม่ขอให้พวกเขาพาเรากลับไปเอาของใช้ที่บ้าน เพราะต้องถูกสอบสวนแบบไม่มีกำหนด
            ทันที่ที่เข้าไปในบ้าน    นกได้กลิ่นกับข้าวในตู้กับข้าวส่งกลิ่นเหม็นเน่า อย่างรุนแรง ก็เกือบอาทิตย์แล้วนี่นาจะไม่ให้มันบูดได้อย่างไร แม่พูดกับนก  เมื่อเอาของใช้เสร็จแล้วเขาก็พาเรากับไปควบคุมในที่แห่งเดิม  แม่เปรยกับนกว่า ต้องเตรียมใจนะว่าเราอาจจะไม่มีโอกาสได้พบพ่ออีก..           

 





หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: seree_60 ที่ 10 ธันวาคม 2551, 10:51:43
อ่านต่อ

น้าอย่าจับพวกหนูมาขังเลย พวกหนูอยากกลับบ้าน  อยากออกไปวิ่งเล่นข้างนอก “
                                ต่อมานกและน้องๆมีโอกาสออกไปวิ่งเล่นในบริเวณที่ถูกจำกัด   2ครั้งต่อสัปดาห์ 
              ครั้งแรก นกและน้องๆ เข้าไปในเขตหวงห้ามของเขา  ถูกพวกเขาไล่กลับ เลยไม่ให้ไปวิ่งเล่นไปหลายวัน เหมือนโดนลงโทษอะไรอย่างนั้น      แต่ก็คุ้มนะ  เพราะได้เห็น ลุง ป้า น้า อา บางคนที่เคยเห็นในวันแรก อยู่ในห้องคุมขัง ที่เป็นซี่กรงเหล็ก แยกห้องละคน  เปิดไฟสลัวแบบอ่านหนังสือไม่ได้  ยังไม่ทันได้ไปสวัสดีนกและน้องๆก็ถูกผู้คุมที่ไม่รู้มาจากไหนไล่ออกมา   ในเขตหวงห้าม นกได้เห็น คนที่ดูแล้วไม่เหมือนตำรวจเลยสักนิด แต่เดินเข้าออกบริเวณเขตหวงห้ามได้ เท่าที่จำได้มี เด็กวัยรุ่น คนแต่งตัวมอมแมมเหมือนสติไม่ดี  คนเหมือนขอทาน
ผู้หญิงสาว ป้าสูงอายุ  คนห่มผ้าเหลือง    ยังมีอีกแต่จำไม่ได้แล้ว     
     มีคนแต่งตัวมอมแมมคนหนึ่ง เข้ามาถามนกว่า จำเขาได้ไหม  นกส่ายหน้า เขาก็หัวเราะ แล้วเดินจากไป
ในขณะที่เสียงผู้คุมยังตระโกนไล่หลังว่าให้นกกับน้องออกไปจากเขตหวงห้าม




กว่าครึ่งปี นก แม่ น้องๆ  รวมถึงลุง ป้า น้า อา ที่เขตหวงห้าม ถูกย้ายสถานที่คุมขังไปยังสถานที่แห่งที่สอง
   สถานที่แห่งนี้ ชายจะถูกขังเดี่ยว หญิงจะได้อยู่ห้องละ2คน ถึง3คน       
  < < สถานที่นี้นอกจากจะมีห้องคุมขังผู้ต้องหาคดีการเมืองระยะสอบสวนแล้ว       ยังแบ่งผู้ถูกคุมขังอีกประเภทหนึ่ง ต่างหากไม่ปะปนกัน กับพวกเรา เป็น นักโทษคดีอื่นๆหลายคดี ที่ถูกจองจำตามคำตัดสินของศาลจนครบระยะเวลาคุมขังแล้ว
 แต่ไม่ได้รับการปล่อยตัวเช่นบุคคลทั่วไป เพราะพวกเป็นเชื้อชาติอื่น แต่ไม่ได้สัญชาติไทย จึงต้องรอการเนรเทศ     หลายคนอยู่เป็น10ปีตั้ง แต่หนุ่มจนจะแก่  อยู่นานกว่าโทษที่ศาลตัดสินคดีที่มีความผิดจริงเสียอีก ส่วนใหญ่เขาก็คืออาเฮีย
 อาเเปะที่อยู่เมืองไทยมาตั้งแต่เด็ก แต่ไม่ได้สัญชาติไทยเท่านั้น
   แต่พวกเขาจะมีโอกาสได้ออกมาจากที่คุมขังเพื่อ ตากแดด เดินออกกำลัง แต่หลายคนก็ป่วยเป็นอัมพฤกษ  >> 
                   นก ขอเรียกพวกเขาว่า     “ นักโทษผู้พ้นคดีแล้ว ”
        หลังจากที่พวกเราได้ทำความคุ้นเคยกับห้องคุมขังใหม่ไม่นานนัก  มี  “ นักโทษผู้พ้นคดีแล้ว ” หอบหิ้วเอา ชาม ช้อน ของใช้ประจำวันเล็กๆน้อยๆ มาแจกจ่ายทุกห้องของพวกเราผู้มาใหม่  นกได้ยินผู้ใหญ่เขาคุยกันว่า
      A. ติดคดีการเมืองใช่ไหม ..เอาของนี่ไปใช้  ถ้าย้ายออกจากที่นี่ไปค่อยเอามาคืน รุ่นใหม่จะได้ใช้ต่อไป
      B.แล้วของเหล่านี้เป็นของใคร
      A.เป็นของคดีการเมืองรุ่นก่อน   เอาวิทยุเครื่องนี้ไว้ฟัง ส.ป.ท. ห้องไหนติดกันสาดดาดฟ้าไม่ต้องเอาเพราะ5โมงเย็นจะมีคนมาเปิดให้ฟัง ไปยืนที่หน้าต่างระบายอากาศ จะได้ยินเสียงดังชัดเจน   

** สถานที่คุมขังแห่งนี้ นักโทษด้วยกันจะถือว่าผู้ที่ติดคดีการเมืองนั้นมีเกียรติที่สุด เหมือนนักโทษชั้นหนึ่งเลย**
   
หลังจากกินอาหารของที่คุมขังแห่งนี้ได้เพียงหนึ่งวันครึ่งน้องๆของนกก็อาเจียรออกมาแล้วมีไข้ด้วย ต้องนำส่งโรงพยาบาล ( มีสี ) นกไปกับแม่ด้วย 

<ไม่ต้องนอนที่โรงพยาบาลหรอกอาเจียรออกหมดกินยาที่หมอให้ ระวังเรื่องอาหารอาการจะดีขึ้นเอง อาหารในคุกคงไม่เหมาะสำหรับเด็กเล็ก ให้หาอาหารอื่นมาให้กินจะเหมาะกว่า >หมอกล่าว
     พอออกจากห้องตรวจคนไข้ ผู้คุมบอกกับแม่ว่า
      A.<เด็กไม่ใช่ผู้ต้องหาต้องชำระค่ายาค่ารักษาเช่นบุคคลทั่วไปเอง ราชการไม่มีงบประมาณให้>
     แม่< ฉันไม่มีเงินที่จะจ่ายค่ารักษาให้ลูกๆหรอก  พวกคุณทำให้เราเป็นคนไม่มีบ้านไปแล้วจะหาเงินที่ไหนมาจ่ายค่ารักษา  >
     A.<  แล้วญาติพี่น้องอยู่ไหน ให้เขาช่วยซี่  >
     แม่ <  ญาติพี่น้องเราไม่มี  เรามีกันเท่านี้  >
      A.<   งั้นมีอีกวิธี เดี๋ยวจะพาไปที่งานประชาสงเคราะห์ของโรงพยาบาล แต่ต้องไปคุยเองนะ ผมไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย >
             แม่ของนกเข้าไปนั่งหน้าโต๊ะเพื่อให้ปากคำกับ จ.น.ท.ประชาสงเคราะห์
       ก.<ดูการแต่งตัวของคุณแล้วน่าจะพอเจียดเงินส่วนหนึ่งสมทบกับประชาสงเคราะห์เพื่อจ่ายเป็นค่ารักษาจะได้ไหม>
     แม่ <ถ้าอยู่ที่บ้านฉันรักษาลูกๆฉันได้ แต่เมื่อถูกคุมขัง ราชการต้องรับผิดชอบให้กับเด็กๆ แม้ฉันจะมีเงินพอจ่ายหรือไม่ก็ตาม >
               ในที่สุดประชาสงเคราะห์ของโรงพยาบาลจำต้องเป็นผู้จ่ายค่ารักษาให้กับน้องๆของนก
                      ก่อนเดินทางออกจากโรงพยาบาลได้มีนางพยาบาลคนหนึ่งนำองุ่นจากตู้เย็นมาให้บอกว่าให้รีบกินที่โรงพยาบาล ไม่ต้องเอากลับไป เพราะในคุกคงไม่มีตู้แช่ เดี๋ยวจะเน่า องุ่นนี้แช่มาหลายวันแล้วจะเอาอย่างอื่นให้ก็เตรียมให้ไม่ทัน
        ส่วนพยาบาลอีกคนเอาไมโล หรือโอวัลติน (จำไม่ได้แล้ว) 1 กระป๋อง ให้น้องกลับไปกิน           
                   ในที่สุดองุ่นแช่เย็นถุงนั้นก็กลับมาเน่าในที่คุมขังจริงๆ เพราะไม่มีใครที่จะกินมันที่โรงพยาบาล หรือระหว่างทางเลย จะให้ใครต่อก็ไม่ทัน เพราะมันเน่าเร็วจริงๆ   
                                                                                                                                                                       
        มี“ นักโทษผู้พ้นคดีแล้ว ”นำไข่ไก่สดมาให้ 1แผง แม้จะให้เงินคืนกลับไป เขาก็ไม่รับ กลับบอกว่าไว้ให้พวกเด็กไว้กินกัน   (ที่คุมขังแห่งนี้ผู้ต้องขังสามารถนำเงินติดตัวเข้าไปได้  และสำหรับผู้ต้องขังชั้นดีสามารถประกอบอาหารกินเองได้  )             ในที่สุดผู้ที่ได้กินไข่แผงนั้นมีนก+น้องๆของนก+  และลุง ป้า น้า อา บางคนที่สุขภาพไม่แข็งแรงนัก

        จากที่น้องของนกป่วย จึงกลายเป็นประเด็นในการเรียกร้องขอให้มีการประกอบอาหารเอง เด็กกับผู้ใหญ่กินด้วยกันทุกคน โดยเรียกร้องทางวาจากับที่คุมขัง การเขียนคำร้อง การเรียกร้องโดยตรงกับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่เข้ามาตรวจงาน(มาชื่นชมผลงานของพวกเขา)
เป็นการร่วมแรงร่วมใจกันของ ลุง ป้า น้า อา และแม่ของนก แถมพ่วงข้อเรียกร้องที่จะได้ออกไปตากแดดเช่นผู้ถูกคุมขังอื่น

      ต่อจากนี้ไปนกขอเรียก ลุง ป้า น้า อาทุกคน ที่เจอกันตั้งแต่วันแรกจนย้ายมาอยู่ด้วยกันว่า
                              <สหายร่วมรุ่น>
   

                                                                                                                                                                        ไม่นานนักมีญาติมาเยี่ยม <สหายร่วมรุ่น> ที่นกจำได้ขึ้นใจมีอยู่2คน เพราะแต่ละคนมาเยี่ยมทีไรจะมีของอร่อยๆมาฝากลูกของเขา  แล้วเด็กๆก็จะได้รับการแบ่งปันด้วย     

    ครั้งแรกที่ได้เจอกัน ต่างโผเข้ากอดกันโดยมี ลูกกรงเหล็กดัดกั้นระหว่างอ้อมกอดของคนทั้งสอง น้ำตาไหลอาบแก้มทั้งคนที่เป็นแม่ และลูก
                                            คนที่เป็นลูกคือ<สหายร่วมรุ่น>
                                            คนที่เป็นแม่คือญาติที่มาเยี่ยม     
                        <อาแหมะคิดว่าจะไม่ได้เจอกันอีกแล้ว ไม่มีใครมาบอก หายไปเฉยๆ>
            อาแหมะ เป็นคนค้าขายธรรมดาคนหนึ่ง พอลูกถูกจับต้องส่งข้าวส่งน้ำลูกในช่วงแรก  ต่อมา ก็ต้องเพิ่มจำนวนของเยี่ยม เพื่อให้พอกับการแบ่งปันให้ทุกคน  ลองคิดดูอาแหมะต้องมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น(สำหรับคนค้าขายธรรมดาคนหนึ่ง เป็นเรื่องไม่ธรรมดา)
             ส่วนญาติอีกคนนกเรียก อาเหล่าสิ้ม   มีฐานะค่อนข้างดี แต่ก็มีจิตใจเผื่อแผ่เช่นกัน
                  ดังนั้นอาแหมะ  และอาเหล่าสิ้มต่างไม่ได้มีลูกอยู่ในที่คุมขังคนละหนึ่งคนแล้ว แต่จะมี ลูกเป็น <สหายร่วมรุ่น> ทั้งหมดเลยที่ต้องคอยส่งข้าวส่งน้ำเป็นระยะๆ

           ต่อมาคำร้องรื่อง ขอประกอบอาหารเอง และขอออกไปตากแดด ได้รับความเห็นชอบ ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ในที่ควบคุมนั้นดีขึ้นบ้าง   แต่คนที่ลำบากคงจะเป็นอาแหมะ  และอาเหล่าสิ้ม นอกจากจะมีสายเลือดแห่งความเป็นแม่ที่ดีเลิศแล้ว ยังมีคุณธรรมน้ำใจที่สูงส่งยิ่ง


       


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: seree_60 ที่ 10 ธันวาคม 2551, 11:02:00
อ่านต่อ 3

  นกขอขอบพระคุณในน้ำใจของท่านทั้งสองที่ให้ความเมตตากับพวกเราเหมือนญาติคนหนึ่ง ปัจจุบัน อาแหมะยังมีชีวิตอยู่  ส่วนอาเหล่าสิ้มเสียชีวิตหลายปีแล้ว


                        บ่อยครั้งที่ผู้คุมได้รับการแบ่งปันอาหารที่พวกเรารับประทานกัน ปรุงสุขร้อนๆ หอมกรุ่นๆ มีรสอร่อย จัดเป็นสำรับให้กินกันบนโต๊ะของผู้คุม
      <ขอบคุณครับขอบคุณ  เลี้ยงข้าวผมอีกแล้ว นี่ถ้าเอายาใส่ลงในข้าวแล้วผมหลับไปตื่นมาอีกทีผมต้องอยู่ในคุกแทนพวกคุณละยุ่งเลย ฮ่าๆ> (ผู้คุมแซวด้วยความคุ้นเคย) 

           นกได้มีโอกาสไปเดินเล่นหน้าห้อง<ของนักโทษผู้พ้นคดีแล้ว>ในช่วงที่พวกเขาเข้าห้องควบคุมไปแล้ว นกจะยืนเกาะอยู่หน้าลูกกรง แต่จะเลือกยืนอยู่ไม่กี่ห้อง เฉพาะคดีการเมืองเท่านั้น     

                     เท่าที่จำได้มีอาแปะอายุกว่า70แล้ว 3คน  ถูกจับเรื่องปลุกระดมการเมืองที่ภาคใต้  อยู่ขังห้องเดียวกัน ลูกชายของอาแปะคนหนึ่งถูกจับแล้วถูกฆ่าตายเหลือภรรยาทำสวนยางอยู่บ้านคนเดียว น่าสงสารมาก

          อีกคนหนึ่งเป็นคนเขมร แกบอกว่าแกเคยเป็นเขมรกู้ชาติ อยู่กองกำลังอะไรสักอย่าง คล้ายกับแนวที่ห้าอะไรทำนองนั้น  แกภูมิใจมากว่าแกเคยมีลูกน้องมากมาย มีคนรับใช้ด้วย
                  ในห้องของแกมีโต๊ะบูชาพระพุธรูป และเครื่องศักดิ์สิทธิ์มากมายที่นกไม่รู้จัก รวมถึงแขวนรูปของในหลวง ร.5 ที่หนังสือพิมพ์…(จำไม่ได้) พิมพ์ลงเป็นภาพสีเต็มหน้า
                  แกชอบลูบหนวดที่ยาวงามของแกหลายๆครั้งแล้วมองมาที่นกจนนกต้องหันมาสนใจกับการลูบหนวดของแก แล้วแกก็จะรีบหันไปมองที่รูป ร. 5  แสดงอาการที่พึงพอใจอะไรสักอย่างที่แกไม่ยอมพูดออกมา   แล้วก็ยกมือไหว้ไปที่โต๊ะบูชาและรูป ร.5   


     แกเป็นหมอดู นั่งทางใน ดูให้กับตัวเอง และคนอื่น    แกบอกว่าได้ทำเรื่องถึงผู้แทน ว่าแกจะได้ออกจากที่นี่แล้ว   
       วันหนึ่งนกเห็นแกนั่งทางในอยู่ นกยืนรอจนกว่าแกจะลืมตาขึ้น   แกบอกว่า พรุ่งนี้ จะมีผู้แทนมารับแกออกไปจากที่นี่ แกจะได้กลับบ้านแล้ว ได้ดูทางในแล้วไม่มีอุปสรรคเรื่องเดินทาง  ถ้านกจะมาส่งแกต้องมาที่หน้าห้องแกก่อน สิบเอ็ดโมงเช้า     
        ก่อน11.00น.นกมารอที่จะส่งแกกลับบ้าน พอเที่ยงนกขอตัวกลับไปบอกแม่ก่อน แล้วรีบวิ่งกลับมาอีก บ่ายโมงก็แล้ว บ่ายสองก็แล้ว ไม่มีวี่แววของผู้แทนมารับแกเลย  สีหน้าแกออกจะผิดหวัง  แกคงต้องคอยการแจ้งข่าวจากผู้แทนในคราวต่อไป
         นกจึงถือโอกาสขอ  ลักยม กับแกเป็นของที่ระลึก แต่แกไม่ยอมให้ บอกว่านกเป็นเด็กเลี้ยงไม่เป็นเดี๋ยวเขาจะไม่อยู่   
    แต่สมัยนั้นไม่รู้เป็นอะไร  นกรู้สึกชอบ ลักยม มากเพราะพอเพ่งมองเข้าไปในขวดแล้ว ได้เห็น ตุ๊กตาไม้ตัวเล็กๆ สีขาว1ตัว สีดำ1ตัว อยู่ในขวดน้ำมันจันทน์ แกบอกว่าต้องคอยเติมน้ำมันด้วยเพราะจะแห้งไปเอง นกจึงรู้สึกว่าเขาคงมีชีวิต
      เมื่อขอแล้วแกไม่ให้ นกจึงบอกแกว่านกจะไปทำ ลัก ยม มาเองแล้วจะมาให้แกปลุกเสกให้
แกได้แต่ยิ้ม….ไม่ตอบ
        งานใหญ่ของนกเริ่มแล้ว  นกวิ่งไปขอขวดเปล่ายาฉีด เพนนิซิลิน ที่ห้องพยาบาล เอาก้านไม้ขีดมา2ก้าน ก้านหนึ่งเอาปากาวาด ตา จมูก ปาก บนก้านไม้ขีด อีกก้านหนึ่งเอาปากกาดำละเลงหมึกให้เป็นตุ๊กตาสีดำ หักก้านไม้ขีดทั้งสองลงขวด ไปขอน้ำมันพืชจากแม่มาเทใส่ แล้วปิดจุกยาง
 เป็นอันเรียบร้อย รีบวิ่งตื๋อมาหาแกเพื่อให้ปลุกเสกให้ ทันทีที่ยื่นให้แก แกหัวเราะท้องแข็งเลย
 ก็น้ำมันพืชที่ใส่ เริ่มเป็นสีดำเพราะหมึกดำเริ่มละลายออกมากับน้ำมันแล้ว
        แกได้ให้พระห้อยคอ กรอบพลาสติกเป็นพระพลาสติกฉาบทอง เป็นพระ2หน้า หน้าหนึ่งพิมพ์ว่าหลวงพ่อกบ อีกหน้าไม่รู้หลวงพ่ออะไรจำไม่ได้แล้ว
                     อีกไม่นาน แกก็ได้กลับบ้านจริงๆ โดยไม่ได้นั่งทางในอีก

    มีข่าวจากผู้คุมว่า พวกเราทั้งหมดจะถูกย้ายไปที่คุมขังแห่งใหม่ คราวนี้ เด็กๆที่มีอายุเกิน.?.ขวบ(จำไม่ได้) ไม่สามารถเข้าไปอยู่ในที่คุมขังนั้นได้ ซึ่งนกกับน้องๆ คงจะอยู่กับแม่ต่อไปได้อีกไม่นานแล้ว
                                                                                                                                                           

 นกลืมเล่าไปว่า นกได้มีโอกาสเรียนในข้องขัง โดยมีคุณน้าลูกของอาเหล่าสิ้มเป็นคนสอน ใช้หนังสือแบบเรียนที่เขาใช้ในโรงเรียน ระยะแรกๆ คุณน้าบอกว่าดี มีอะไรทำไม่เครียด  ต่อมา คุณน้าเครียดกว่าเดิม  เพราะนกดื้อ

           วันนี้มีการนำตัวคุณอาบางคนออกไปจากที่ควบคุมแล้วขึ้นรถไป ทุกคนเป็นห่วงเอามากๆ  รู้ภายหลังจากที่แกมาเยี่ยมพวกเราว่า ตัวแกไม่ถูกสั่งฟ้องศาล จึงต้องถูกปล่อยตัว    ดังนั้นคนส่งข้าวส่งน้ำ จะ มีคุณอา ท่านนี้มาแบ่งเบา ภาระของ อาแหมะ และ อาเหล่าสิ้มได้เป็นอย่างดี      ส่วนนกและน้อง หากเขาไม่ให้อยู่กับแม่ ก็ต้องไปอยู่กับคุณอา
     ในช่วงที่คุณอา มาส่งข้าวส่งน้ำ นกจึงมีโอกาสออกไปเที่ยวบ้านคุณอาเพื่อสร้างความคุ้นเคยกับสถานที่ใหม่   
 ขณะที่นกกำลังเดินตามคุณอาไปซื้อของในตลาด อยู่นั้น นกรู้สึกว่าชีวิตของเรานี้แปลกดี มีใครกี่คนที่รู้มั่งว่า ในขณะที่นกน้อยตนนี้เดินอยู่กลางตลาด เมื่อวันก่อนยังอยู่ในคุกอยู่เลย แล้วพรุ่งนี้ก็จะกลับเข้าไปอยู่ในคุกอีก ชีวิตเหมือนเราเหมือนนิยายที่เขียนด้วยดินสอ จะหันไปบอกใครเขาก็ต้องว่าเด็กเขียนนิยายหลอกผู้ใหญ่ (ในสมัยนั้น คดีการเมืองเป็นเรื่องที่ชาวบ้านทั่วไปเกลียดกลัว จะเริ่มเข้าใจเมื่อใกล้ยุค14ตุลา พ.ศ.2516)
    ถ้าจะถามใจของนกแล้วนกอยากจะอยู่ในคุกกับแม่มากกว่าที่จะอยู่บ้านจริงๆ นะ    แต่ก่อนรู้สึกว่า เรื่องคุกนี่เป็นสถานที่ไม่ดี  มารู้ด้วยตัวเองว่าบางเรื่องก็ต้องมีข้อยกเว้นเหมือนกัน ทุกอย่างต่างมีเหตุผลของตัวมันเอง   
       นกๆ เดินคิดอะไรอยู่หรือ…?  กลับบ้านได้แล้ว เย็นนี้จะได้รีบไปทำกับข้าว พรุ่งนี้นกจะได้ไปอยู่กับแม่ไง    นกและคุณอาต่างช่วยกันหิ้วของและรีบกลับบ้านในทันที


           วันนี้แล้ว…………..ที่
      <สหายร่วมรุ่น>แม่ นก และน้องๆ ขึ้นรถไปสถานที่คุมขังแห่งที่ 3   ผู้ใหญ่ถูกส่งฟ้องศาลทั้งหมด    สถานที่คุมขังนี้แยก เป็นแดนชาย – แดนหญิง ไม่ได้อยู่ใกล้กัน หรือเห็นหน้ากันเช่นแต่ก่อน
       นกและน้องๆ ได้มีโอกาสเข้าไปกับแม่ในช่วงที่เขาทำประวัติผู้ต้องหา เงิน ทอง ของมีค่า ไม่อนุญาตให้นำเข้าไป ทุกคนสมัครใจที่จะเอามาฝากอาแหมะ อาเหล่าสิ้ม และคุณอา
            ในแดนหญิง ผู้ต้องหา (ที่ไม่ใช่คดีการเมือง) เวลาจะเข้ามาหาผู้คุมจะต้องย่อตัวลงต่ำๆนั่งพับเพียบด้วยกิริยาที่นอบน้อม แล้วเอ่ยคำเรียกเขาว่า คุณแม่     นกยังได้ยินคุณแม่บางคนพูดใส่นักโทษด้วยอาการระเบิดอารมณ์ และพูดไม่เพราะ กับนักโทษ  นี่เป็นชีวิตที่เกิดขึ้นจริงๆต่อหน้าต่อตาไม่ใช่ละคร เรื่องบ้านทรายทองที่นกเคยดูใน ทีวี   
           นกรู้สึกเป็นห่วงแม่ของนก และ<เพื่อนร่วมรุ่น> ขึ้นมาทันที เมื่อทำประวัติเสร็จแล้วก็จะถูกส่งเข้าไปที่เรือนนอน
            นกกับน้องๆ จึงต้องจำต้องแยกกับแม่ ณ ที่ตรงนั้น  น้ำตามันไหลเอ่อ ออกมาแบบรู้ตัวแต่มันกลั้นไม่อยู่ รู้ว่าเวลาแม่ไปขึ้นศาลก็ยังจะได้เจอกับแม่ แต่ความรู้สึกของการขาดซึ่งความรัก ความอบอุ่นที่เคยได้รับ นั้นบัดนี้คงเหลือไว้ซึ่งความทรงจำ
                                                                                                                 

            ศาลที่ส่งฟ้องแม่และคนอื่นๆ เป็นศาลทหาร  อ้าววว.. ศาลทหารไม่ใช่เอาไว้ ลงโทษแต่ทหารที่ทำความผิดหรือ
เขาฟ้องผิดศาลหรือเปล่า  แล้วแม่ คุณลุง คุณน้า คุณอา และคนอื่นๆไม่ได้เป็นทหารสักหน่อย
     ** หนูถ้าถูกกล่าวหาว่ามีการกระทำอันเป็นเป็น คอมมูอิ๊ด บ่อนทำลายความมั่นคงของชาติทั้งในและนอกราชอาณาจักร แล้ว แม้ไม่เป็นทหารเขาก็จะให้ขึ้นศาลทหาร **   
     วันแรก นกที่เข้าไปในศาลฯ ได้เห็นชายและหญิงที่ทำงานในที่แห่งนั้นแต่งกายด้วยชุดทหารทุกคน เห็นนักโทษที่เป็นทหาร อายุไม่มาก น่าจะเป็นทหารเกณฑ์          เออนี่ไงถ้าจะเป็นคนที่บ่อนทำลายความมั่นคงของชาติทั้งในและนอกราชอาณาจักร แล้วให้ขึ้นศาลทหารน่าจะต้องอยู่ในวันนี้เรี่ยวแรงกำลังดี  ไม่เหมือนพวกแม่ ลุงน้า อา   
มีแต่โรคประจำตัว
       ในห้องพิจารณาคดี แม่ คุณลุง คุณน้า คุณอา และคนอื่นๆถูกผลัดฟ้องไปอีกหลายครั้งๆละ3เดือน
โดยให้เหตุผลว่ายังสอบสวนไม่เสร็จ    และแล้ววันนี้เป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่ง
  ในห้องพิจารณาคดี นกเห็น อัยการในชุดทหาร บรรยายคำฟ้องยาวเหยียดดดดดดด  จนจบ
จากนั้นคณะศาลจึงได้หันมาถามฝ่ายจำเลยว่าจะรับสารภาพตามคำฟ้องหรือไม่
                   ถ้ารับสารภาพ ศาลก็จะตัดสินคดี เลย
                   แต่ถ้าไม่รับสารภาพ การคุมขังผู้ต้องหาต้องยืดเยื้อออกไปอีก เนื่องจากต้อง @สืบพยานโจทก์  และ
#ซักค้านจำเลย ต้องใช้เวลาอีกนาน  กว่าจะมาเริ่มตัดสินคดี

           จำเลยทุกคนขอปฏิเสธตามคำฟ้องข้อกล่าวหาของโจทก์ทุกกรณี
หมายเหตุ:
@สืบพยานโจทก์  คล้ายกับ  เรียกพยานที่ตำรวจอ้างถึงมาเล่าให้ศาลฟังว่าได้เห็นว่าจำเลยทำผิดอะไรบ้าง
#ซักค้านจำเลย     คล้ายกับ  ศาลจะให้จำเลยแก้ตัวว่าตนเองไม่ได้ทำผิดอย่างไร

                                                                                                                                                                               ชีวิตของนกและน้องๆ ตอนที่ไม่ได้ไปเยี่ยมแม่  กว่าจะผ่านไปแต่ละวันมันช่างนานแทบขาดใจ นกต้องแอบร้องให้คิดถึงแม่วันละหลายหน ส่วนน้องๆ ถ้าไม่วาดรูป หรือเล่นตุ๊กตาเบื่อแล้วก็จะนั่งซึม
            คุณอาให้บอกกับเพื่อนบ้านว่า พ่อ-แม่ของนกค้าขาย อยู่ต่างจังหวัด   เวลาไปเยี่ยมแม่ตอนแม่ขึ้นศาล ให้บอกว่าเขาว่าคุณอาพาไปเที่ยว  ห้ามบอกว่าแม่อยู่ในคุกต้องข้อหาคดีการเมืองเด็ดขาด เรื่องเข้าโรงเรียนให้นกบอกเขาว่าเรียนจบป.7แล้ว(สมัยนั้นยังมีป.7อยู่) ทั้งๆที่อายุของนกก็ยังไม่ถึงที่จะเรียนป.7สักหน่อย (แต่ต้องโกงอายุกับข้างบ้าน) แล้วให้บอกเขาว่านกเป็นเด็กโตช้า   ส่วนน้องๆ ก็ให้บอกเขาว่ายังไม่เข้าเกณฑ์ ทั้งๆที่ถึงวัยเรียนแล้ว โดยคุณอาจะเป็นผู้สอนหนังสือให้กับเด็กๆเอง
          ต่อมาเกิดการตื่นตัวทางการเมืองของนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนในการเรียกร้องเสรีภาพ ประชาธิปไตย รวมถึง การต่อสู้ของคนเดือนตุลา ทำให้การปฏิบัติต่อนักโทษการเมืองที่ถูกขังลืมไม่ถูกเปิดเผยต่อสาธารณะชนนั้นมีมนุษยธรรมมากขึ้น     นกและน้องๆเตรียมตัวที่จะได้ไปพบกับพ่อ โดยไม่ต้องห่วงแม่แต่อย่างใด
                และแล้วนกและน้องๆก็ได้มีโอกาสพบกับพ่อจริงๆ     น้องๆได้เรียนหนังสือโดยมีพี่ๆนักศึกษาเป็นผู้สอนให้  หลายปีต่อมาเมื่อถึงยุคที่บนถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ หนุ่มพเนจรตัดป่าสู่รัง.  นกได้กลับมาอยู่ในกรุงเทพฯอีกครั้ง ไปเรียนหนังสือที่ไหนเขาก็ไม่รับ เพราะไม่มีหลักฐานวุฒิการศึกษาใดๆ ไปขอที่โรงเรียนเก่าก็ไม่จบ ป.4 โรงเรียนไม่รู้จะออกให้ได้อย่างไร ท้ายสุดต้องไปกวดวิชาแล้วสอบเทียบที่กระทรวงศึกษาธิการ 3ปี ปีแรกได้วุฒิป.6 ปีต่อมาได้ ม.3 และม.6 ตามลำดับ เข้าเรียนที่รามคำแหงจนจบ ไม่กล้าไปลองเอ็นทรานซ์ ถ้าเกิดเอ็นติดกลัวจะเสียใจเพราะตลอดเวลานกต้องประกอบอาชีพตั้งแต่สอบเทียบ ป.6 ไม่มีโอกาสได้เรียนภาคปกติเหมือนคนทั่วไป
              จึงต้องขอจบเรื่องเล่าโดยย่อไว้เพียงเท่านี้   ยังมีอีกหลายชีวิตที่  น่าตื่นเต้น ประสบเรื่องที่เลวร้าย น่าสนใจกว่านี้หลายเท่าตัว
    สิ่งที่ได้เล่ามาทั้งหมดนี้อยากจะให้หนูๆทุกคนที่ได้รับรู้เรื่องดังกล่าวได้ใช้ โอกาส เวลา เงินทอง ที่คุณพ่อคุณแม่ หรือผู้ปกครอง หามาให้ใช้ จะได้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่าที่สุด ในสังคมปัจจุบันยังมีเด็ก เยาวชนอีกมากที่ไม่มีโอกาสเช่นหนูๆ พวกเขาไม่ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี
      ดังนั้นขอให้หนูๆได้เก็บเกี่ยวสิ่งดีที่ผ่านเข้ามาในวัยนี้ให้มากที่สุด เพราะมันจะไม่ย้อนกลับมาในวัยเดิมของเราได้อีก                                                                         
                 
                                                                           
                                  จบบริบูรณ์[/b]


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: seree_60 ที่ 10 ธันวาคม 2551, 11:11:28



                                              เพลงแดนตะราง


                                     จันทร์…..เจ้าอยู่บนแดนฟ้า โปรดมาเห็นใจฉันบ้าง
                                             ฟังทำนองที่ร่ำร้องครวญคราง เสียงเพลงในแดนตาราง
                                               ร้องครวญครางจากจิตใจ

                                                       ทำดี….กลับมีคนเห็นเป็นร้าย ใจฉันนั้นเฝ้าคิดไป
                                                       แต่คราวนี้ถูกเขาจงใจ หาความไม่ดีมาให้
                                                       ช้ำใจทุกวันทุกคืน

                                                    ใครรู้……ใครก็ต้องประนาม สังคมและโลกนี้ทราม
                                                             ล้วนความไม่จริงสุดฝืน
                                                             หวล….. คิดไปหัวใจเต็มตื้น ……คนจนระทมขมขื่น
                                                             ทุกคืนมันโศกไม่จาง


                                       คน…….มั่งมีกดขี่คนจน กี่หนแล้วเป็นตัวอย่าง
                                         จับเอาเรามาเข้าตาราง ถึงทีของเราเข้าบ้าง
                                    พวกมันจะต้องล่มจม


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: seree_60 ที่ 10 ธันวาคม 2551, 11:43:48
เบื้องหลัง


แดนตะรางฮิตมากโดยเฉพาะหลัง 6ตุลาฯ เมื่อนักเรียนนักศึกษาถูกจับ สุธรรมและเพื่อนถูกขังยาว ก่อนที่เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์จะยอมปล่อยในปี2521
ใครเรียนหนังสือช่วงนั้นคงจำได้ว่ามีภารกิจต้องไปเยี่ยมสุธรรมและเพื่อน มีคนพิมพ์เนื้อเพลงนี้แจกด้วย
สปท.ก็ชอบเปิดเพลงนั้ในยุคนั้น เตือนใจให้เห็นความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้น และย้อนกลับไปถึงนักสู้รุ่นก่อนๆที่ถูกจับกุมคุมขัง บางคนโดนประหาร อย่างศุภชัย ศรีสติ ใครมีความทรงจำมาเล่าอีกก็ดีครับ ผมจำเขามาอีกที

“แดนตาราง” ผู้แต่งคือ “ร.ต.ต.วาศ สุนทรจามร” จริง ๆ ขอรับ ผมจำสับสนจนทำให้ข้อมูลที่ให้ไว้คลาดเคลื่อนอย่างยิ่ง

ร.ต.ต.วาศ สุนทรจามร ถูกขนานนามเป็น “ปัญญาชนปฏิวัติของชนชั้นกรรมกรไทย" เขาเป็นเพื่อนที่ร่วมงานกับ ถวัติ ฤทธิเดช ผู้นำกรรมการยุคแรก ออกหนังสือพิมพ์กรรมกร ต่อมาเขายังได้รับเป็นที่ปรึกษาสมาคมกรรมกรต่าง ๆ กระทั่งถูกจับกุมหลังการรัฐประหารปี ๒๔๙๐ และในปี ๒๔๙๒ เขาลี้ภัยไปอยู่ประเทศจีน และอาศัยอยู่ที่นั่นจนถึงแก่กรรม

 เคยได้รับรู้ว่า วาศ สุนทรจามร อดีตผู้นำกรรมกร ในช่วงปี ๒๔๗๕ ซึ่งเป็นญาติกับ เวศ สุนทรจามร แห่งวงสุนทราภรณ์ (ภายหลังเข้าเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เดินทางไปจีนเมื่อต้นทศวรรษ ๒๔๙๐ และไปเสียชีวิตที่นั่น) ยังเป็นผู้เขียนเพลง “แด่เธอ” อีกด้วย

คุรุชน" มีนักร้องนำเป็นผู้หญิงคนหนึ่ง (เสียดาย จำชื่อไม่ได้ชัดเจน) เธอมีเสียงที่มีเอกลักษณ์อย่างยิ่ง หลังเหตุการณ์ ๖ ตุลา ๑๙ เธอร่วมเข้าป่ากับผองเพื่อน และได้รวมวงกับศิลปินหลายคนในยุคเดียวกัน มีงานบันทึกเสียงในป่าหลายต่อหลายเพลง

คิดถึงเพลงหนึ่ง ที่เธอคอยร้องเอาไว้ เป็นเพลงซึ่ง "จิตร ภูมิศักดิ์" เขียนเอาไว้ ชื่อเพลง "แดนตาราง"
 


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: seree_60 ที่ 10 ธันวาคม 2551, 11:50:59
ขอแก้บันทัดสุดท้ายของช่องข้างบน ( จิตร ไม่ได้แต่งเพลงนี้ ) ผมลบไม่เป็น ลบแล้ว หายไปทั้งช่องเลย วานพี่ป๋องลบให้หน่อย เฉพาะบันทัดสุดท้าย ที่เขียนว่า
จิตร ภูมิศักดิ์ เป็นผู้แต่งเพลงนี้


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: seree_60 ที่ 10 ธันวาคม 2551, 12:02:42
อยากเล่าประวัติ  ความเป็นมาของเพลงเพื่อชีวิต แต่ บทความนี้ ผมไม่ได้เขียนเองนะครับ ขออนุญาต คัดลอก มาเพื่อการเรียนรู้นะครับ



จากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 อันมีการต่อสู้ของนักศึกษาประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ทำให้จิตสำนึกเพื่อชีวิต เพื่อมวลชนเบ่งบาน จนเป็นจุดกำเนิดของบทเพลงประเภทที่ เรียกว่า "เพลงเพื่อชีวิต" ตามที่รู้จักกันในปัจจุบัน และได้รับความนิยมตั้งแต่นั้นมา

เพลงเพื่อชีวิตถือกำเนิดขึ้นโดยได้รับอิทธิพลจากแนวคิด "ศิลปะต้องรับใช้ประชาชน" ซึ่งปรากฏในหนังสือ "ศิลปะเพื่อชีวิต ศิลปะเพื่อประชาชน" ของ จิตร ภูมิศักดิ์ นักคิดนักเขียนฝ่ายก้าวหน้า ซึ่งขบวนการนักศึกษาให้การยอมรับ

นับตั้งแต่ประมาณช่วงปี พ.ศ. 2514 เป็นต้นมา ประเทศไทยอยู่ภายใต้การปกครองด้วยกฎอัยการศึกของจอมพลถนอม กิตติขจร สถานการณ์บ้านเมืองในขณะนั้นเป็นบรรยากาศของเผด็จการทหารสมบูรณ์แบบ นักศึกษาประชาชนถูกจำกัดการแสดงออกทางความคิดเห็น การปกครองด้วยกฎอัยการศึกของรัฐบาลทหารได้สร้างความกดดันอึดอัดใจให้แก่ประชาชน ในช่วงปี พ.ศ. 2516 ความกดดันยิ่งเพิ่มมากขึ้น เมื่อเกิดเหตุการณ์กรณี "ทุ่งใหญ่" ที่จังหวัดกาญจนบุรี ที่เกิดเหตุเครื่องบินตก และได้เปิดเผยความเหลวแหลกของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ที่ใช้เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ของทางราชการพาดาราสาวไปเที่ยวล่าสัตว์ในป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ในการนี้ มีคณะนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงออกหนังสือเสียดสีเหตุการณ์ดังกล่าว มีผลให้ถูกตั้งกรรมการสอบสวนและถูกลบชื่อจากมหาวิทยาลัย นักศึกษาและประชาชนจำนวนหนึ่งเห็นว่าเป็นการไม่ยุติธรรม จึงรวมตัวกันชุมนุมประท้วง บทเพลงเพื่อชีวิตบทเพลงแรกๆ ที่สะท้อนอุดมการณ์แห่งยุคสมัยก็ถือกำเนิดขึ้น คือเพลง "สู้ไม่ถอย" โดย เสกสรรค์ ประเสริฐกุล

ในเวลาเดียวกัน สุรชัย จันทิมาธร ซึ่งร่วมในการประท้วงด้วย ได้แต่งเพลง "สานแสงทอง" โดยเอาทำนองมาจากเพลง Find the Cost of Freedom ของวงดนตรีครอสบี สติล แนช แอนด์ ยังก์ เพลงทั้งสองกลายมาเป็นจุดกำเนิดเพลงเพื่อชีวิตในยุคต่อมา

แม้การประท้วงจะประสบความสำเร็จ เหตุการณ์บ้านเมืองก็ยังตึงเครียดต่อไปด้วยปัญหาต่างๆ ที่รุมเร้า ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหากรรมกรชาวนา การคอรัปชั่น นักศึกษาและประชาชนจำนวนหนึ่งได้รวมกลุ่มกันเรียกร้องรัฐธรรมนูญ และนำไปสู่เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ซึ่งแม้ผู้เผด็จการทั้งสามจะหนีออกนอกประเทศแล้ว ก็ยังมีการเคลื่อนไหวของขบวนการนักศึกษาโดยต่อเนื่อง

วงดนตรีเพื่อชีวิตที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในสมัยนั้นคือ "คาราวาน" - สุรชัย จันทิมาธร กับวีระศักดิ์ สุนทรศรี ได้ร่วมกันก่อตั้งวงดนตรี "ท.เสนและสัญจร" เพื่อร่วมแสดงดนตรีในการชุมนุมประท้วง มีบทเพลงที่ได้รับความนิยมเช่น เพลงคนกับควาย เปิบข้าว และข้าวคอยฝน ซึ่งต่อมา ทั้งสองได้มีโอกาสรู้จักสนิทสนมกับวงดนตรีบังคลาเทศแบนด์ ที่มีทองกราน ทานา และมงคล อุทก จนได้มารวมตัวกัน กลายเป็นวงดนตรี "คาราวาน" ในที่สุด

ในช่วงนี้ เพลงเพื่อชีวิตได้รับความนิยมสูงสุดในแวดวงนักศึกษา ปัญญาชน วงดนตรีเพื่อชีวิตหลายวงเกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ พวกแรกใช้เครื่องดนตรีอะคูสติก เช่น กีตาร์ ไวโอลิน ซึง ฮาโมนิก้า และเครื่องดนตรีเคาะจังหวะ และมีท่วงทำนองผสมผสานตะวันออกกับตะวันตก ได้แก่ คาราวาน, คุรุชน, กงล้อ, รวมฆ้อน, โคมฉาย ส่วนอีกพวกหนึ่งจะใช้เครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์บรรเลง เพื่อปลุกเร้าให้เกิดความคึกคัก เช่น กรรมาชน, รุ่งอรุณ และไดอะเล็คติค และอีกพวกหนึ่งจะมีท่วงทำนองเพลงไทยเดิมและพื้นบ้านประยุกต์ ได้แก่ ต้นกล้า และลูกทุ่งสัจธรรม ฯลฯ เนื้อหาของเพลงเพื่อชีวิตมักเกี่ยวกับกิจกรรมนักศึกษา สถานการณ์บ้านเมือง บทกวีจากนักคิดนักเขียนรุ่นเก่าๆ อุดมการณ์สังคมนิยม และต่อต้านจักรวรรดินิยมอเมริกา

ระหว่างปี พ.ศ. 2516-2519 สถานการณ์บ้านเมืองวุ่นวาย สับสน และทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นเป็นลำดับ ในที่สุด จุดแตกหักก็มาถึง เมื่อนักศึกษารวมตัวกันต่อต้านการกลับมาเมืองไทยของจอมพลถนอม กิตติขจร กลายเป็นเหตุการณ์นองเลือดในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 นิสิต นักศึกษา ประชาชน ถูกสังหารอย่างโหดเหี้ยมในบริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และท้องสนามหลวง

วงดนตรีคาราวานได้ทราบข่าวก็ยุติการแสดง หลบหนีการล่าสังหารไปพร้อมกับเพื่อนนักดนตรีจากวงโคมฉาย รวม 11 คน เดินทางเข้าป่า

นักศึกษา ประชาชนกลุ่มหนึ่งเข้าป่าไปเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย

ในช่วงระยะเวลาต่อเนื่องจาก 14 ตุลาคม 2516 ถึง หลัง 6 ตุลาคม 2519 ในช่วงนี้มีการผลิตผลงานเพลงเพื่อชีวิตแนวหนึ่งที่เรียกว่า "เพลงปฏิวัติ" ตัวอย่างผู้ประพันธ์เพลงในแนวนี้ก็ได้แก่ จิตร ภูมิศักดิ์ เช่น เพลงภูพานปฏิวัติ แสงดาวแห่งศรัทธา วาศ สุนทรจามร เช่น เพลงแดนตะราง นายผี อัศนี พลจันทร์ วัฒน์ วรรลยางกูร จิ้น กรรมาชน และ ส.เพลิง นาหลัก เป็นต้น บทเพลงเหล่านี้มีแนวร่วมคือ สะท้อนอุดมคติพรรคคอมมิวนิสต์ นำเสนอค่านิยมหลักของชาติในอุดมคติที่มีความเสมอภาค เป็นประชาธิปไตยและเป็นของประชาชน

ในสมัยนั้น มีการจำกัดสิทธิเสรีภาพทางความคิดเป็นอย่างมาก มีการตรวจสอบสิ่งพิมพ์และมีประกาศรายชื่อหนังสือที่ห้ามอ่าน หรือมีไว้ในครอบครอง มีการควบคุมสื่อมวลชน ในยุคสมัยนี้ ไม่มีเวทีให้เพลงเพื่อชีวิตมาแสดงได้ แต่ในขณะเดียวกันก็เกิดมีขบวนการนักศึกษา และบทเพลงที่สอดแทรกอุดมการณ์เพื่อสังคมนำมาแสดงอย่างไม่เป็นที่เปิดเผย ตัวอย่างวงดนตรีในแนวนี้ก็ได้แก่ วงฟ้าสาง วงชีวี วงสตริง อมธ. ขององค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นอกจากนั้น ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงยังมีวงเกี่ยวดาว, ดาวเหนือ ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีวงนฤคหิต และที่มหาวิทยาลัยมหิดลมีวงประกายดาว มศว.บางแสนมีวงกอไผ่ นอกจากวงดนตรีเหล่านี้แล้ว ก็มีวงลูกทุ่งเปลวเทียน, พลังเพลง, น้ำค้าง พรีเชียสลอร์ด (เป็นวงชนะเลิศการประกวดเพลงโฟล์คซอง) ทะเลชีวิต เป็นต้น วงดนตรีเหล่านี้ล้วนแต่สืบสานแนวคิดมาจากยุคสมัย 14 ตุลา และ 6 ตุลา ทั้งสิ้น

 ( มีต่อครับ คอยติดตาม )


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: seree_60 ที่ 10 ธันวาคม 2551, 23:08:48
-ขอแทรกด้วย เพลง จากวนาสู่นาคร


ฝากใจสู่นาคร" เป็นบทเพลงที่ "แสงธรรมดา" ร่วมแต่งกับ "ปกรณ์ รวีวร" หรือสหายตา ณ ป่าภูบรรทัด(เขตงานพัทลุง ตรัง สตูล) โดยเป็นการเขียนเพลงแบบเขียนกลอน กันคนละวรรค คือ "แสง" ขึ้นต้นมาหนึ่งวรรค แล้ว "ปกรณ์" ก็แต่งต่ออีกหนึ่งวรรค สลับกันไปจนจบเพลงครับ

เพลงนี้ เมื่อเข้ามาอยู่ในเมือง มีการแปลงเนื้อนิดหน่อย ซึ่ง "ปกรณ์" เคยบอกว่า เนื้อหาอ่อนลงไปบ้าง แต่ก็เข้าใจว่า เป็นเพราะความจำเป็นในห้วงเวลานั้น

"ฝากใจสู่นาคร" เมื่อบันทึกเสียงในเมืองโดย "พลังเพลง" ในชื่อเพลงว่า "ยามห่างไกล"
ในยุคหลัง "คีตาญชลี" เคยนำมาบันทึกเสียงใหม่ในอัลบั้ม "คู่เท่" โดยเขียนเครดิตผู้แต่งเพลง "ยามห่างไกล" ในปกเทปว่า "ชด อิสรา" ครับ

ในขณะที่อยู่ในป่า เพลงนี้ได้บรรเลงกับวงจรยุทธที่ตรัง หลังจากนั้นก็แพร่เข้าเมืองอย่างรวดเร็ว โดยมีการแปลงเนื้อ เป็นเพลงเพื่อชีวิตที่ดีที่สุดเพลงหนึ่งจากป่าในขณะนั้น
วงในป่าสมัยนั้น เขาเดินสายเล่นตามหมู่บ้าน จุดนัดพบ มีมวลชนแห่เข้าไปฟัง ทุกวันนี้คุณแสงก็ยังร้องเพลงอยู่ เห็นขึ้นเวทีเพลงปฏิวัติที่ศูนย์วัฒนธรรมเมื่อเร็วๆนี้


                                         ฝากใจสู่นาคร     


                       ขอฝากเสียงเพลงจากใจไปสู่นาคร
                     ข้ามเทือกสิงขรห้วงน้ำทะเลกว้างใหญ่
                   ถึงไกลกันสุดขอบฟ้า
                    ภูผาพนาหรือมาขวางกั้น
                    สายใยสัมพันธ์ผูกพันแน่นแฟ้น

                                          เพราะเรามีรักผูกพันด้วยอุดมการณ์
                                           ร่วมใจใฝ่ฝันมั่นในศรัทธายิ่งใหญ่
                                          อุทิศชีวิตเลือดเนื้อ
                                          เพื่อมวลประชาชนไทย
                                          นี่คือรักอันยิ่งใหญ่ศัตรูใดๆไม่อาจทำลาย


                    ไม่เคยลืมเลือน ย้ำเตือนสัมพันธ์
                     มั่นใจใฝ่ฝันสักวันคงได้กลับคืน
                     ลา.......[/b]                 

        มุ่งไปเถิดหนาฝ่าผองภัยด้วยใจเริงรื่น
                          ยิ้มเย้ยกับความขมขื่น
                          หยัดยืนท้าทายทมิฬ


              ขอให้ศรัทธาเราเป็นเหมือนดั่งดวงดาว
              ทอแสงสกาวพร่างพราวพลังยิ่งใหญ่
                 โหมเพลิงแห่งความคับแค้น
               ที่จำฝังแน่นอยู่ในดวงใจ
               ประสานเสียงเพลงแห่งชัย
             มุ่งสู่ไทยเสรี...

 
 
 

 
   [/b] 
 
 




หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: seree_60 ที่ 10 ธันวาคม 2551, 23:21:25
วงดนตรี พลังเพลง


วงพลังเพลง - เรียบเรียงจากบทสัมภาษณ์ คุณคเณศวร์ วรรณโชติ และคุณน้ำทิพย์ โยธินพัฒนะ


หลังเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 การเคลื่อนไหวทางการเมืองทุกรูปแบบมีอันต้องหยุดชะงักไปอย่างเด็ดขาด นักศึกษาปัญญาชนส่วนใหญ่เดินทางเข้าป่าเพื่อสานต่ออุดมการณ์ที่ตนยึดมั่น ส่วนนักศึกษาปัญญาชนที่ยังอยู่ในเมืองก็ต้องยุติบทบาทของตนไปโดยปริยาย แต่ก็ยังมีหนุ่มสาวกลุ่มหนึ่งรวมตัวกันขึ้นในฐานะที่เป็นตัวแทนแนวร่วมด้านวัฒนธรรมในภาคสังคมเมือง และเริ่มการเคลื่อนไหวอีกครั้งในรูปแบบของการออกเทปเพลงใต้ดิน เพื่อใช้เพลงเพื่อชีวิตเป็นสื่อเชื่อมประสานระหว่างเมืองกับป่า ให้เสียงเพลงเป็นกำลังใจปลุกปลอบขวัญนิสิตนักศึกษาปัญญาชนที่บอบช้ำและเคว้งคว้างให้มีหลักยึดร่วมกัน และให้เสียงเพลงทำหน้าที่ปลุกเร้าจิตสำนึกของความถูกต้องดีงามในสังคม หล่อเลี้ยงกำลังใจที่ยังหลงเหลืออยู่ เสริมสร้างพลังใจให้เต็มเปี่ยมขึ้นมาใหม่ด้วยพลังของเสียงเพลง และเป็นกำลังใจให้กับคนที่เข้าไปอยู่ในป่า ว่าสิ่งที่สร้างมาร่วมกันจะดำเนินอยู่ต่อไป

หนุ่มสาวเหล่านี้รวมตัวกันขึ้นในนามของ "กลุ่มพลังเพลง"

กลุ่มพลังเพลงผลิตผลงานออกจำหน่ายทั้งสิ้น 3 ชุด เทปชุดแรกชื่อชุด "พลังเพลง" (พ.ศ. 2520)  เกิดจากการรวมตัวของ นิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เมื่อผลงานได้รับการเผยแพร่เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางในหมู่นิสิตนักศึกษาสถาบันต่างๆ อย่างรวดเร็ว
กลุ่มพลังเพลงก็ออกผลงานชุดที่สอง "เธอคือความหวัง" (พ.ศ. 2521) ตามมา โดยมีสมาชิกเป็นนักศึกษาจากสถาบันต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร มหาวิทยาลัยรามคำแหง และมหาวิทยาลัยหอการค้า เพิ่มเข้ามา
 ตามมาด้วยผลงานชุดที่สาม คือ "ชุดปรับปรุงใหม่" (พ.ศ. 2522) โดยมีศิลปินวงโฮป (สุเทพ ถวัลย์วิวัฒนกุล - ผู้เขียน) ที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกในกลุ่มพลังเพลงได้นำเอาเพลงในชุดที่ 1 มาเรียบเรียงดนตรีและเสียงประสานใหม่ ทำเป็นเทปชุดที่สามออกเผยแพร่

ในปี พ.ศ. 2523 การแตกแยกทางความคิดของนักศึกษาที่เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ในป่า รวมทั้งนโยบาย 66/23 "ป่าคืนเมือง" ของรัฐบาล เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยล่มสลาย เหตุการณ์การต่อสู้ทางการเมืองเปลี่ยนไป นักศึกษาและผู้รักความเป็นธรรมทยอยกลับคืนสู่เมือง ประกอบกับมีวงดนตรีเพื่อชีวิตที่จัดการแสดงดนตรีอย่างเปิดเผยเกิดขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก บทบาทของกลุ่มพลังเพลงในการออกเทปใต้ดินเพื่อเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างเมืองกับป่าจึงสิ้นสุดลง

แต่ช่วงเวลาเพียงแค่ 3 ปีกับผลงานเพลง 3 ชุด ก็ทำให้ชื่อของกลุ่มพลังเพลงได้จารึกลงในหน้าประวัติศาสตร์ของวงการเพลงเพื่อชีวิตของไทย
 ในฐานะที่เป็นกลุ่มศิลปินเพลงเพื่อชีวิตเพียงกลุ่มเดียวที่สามารถผลิตผลงานออกเผยแพร่ได้ในช่วงเวลาแห่งการจำกัดสิทธิเสรีภาพทางความคิด

ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2519 ก่อนจะมาเป็นวงพลังเพลง นิสิตคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รวมตัวกันตั้งวงดนตรีกลุ่มผู้หญิงจุฬา
เพื่อเคลื่อนไหวเรื่องปัญหาผู้หญิง และพยายามเคลื่อนไหวให้นิสิตนักศึกษาเข้าใจแนวคิดทางการเมือง
 คุณคเณศวร์ วรรณโชติ ซึ่งขณะนั้นเป็นนิสิตปริญญาโทคณะวิทยาศาสตร์ได้เข้าร่วมเล่นดนตรีกับวงผู้หญิงจุฬาด้วย

ช่วงเปิดภาคเรียนที่ 1 ปี พ.ศ. 2519 ประมาณช่วงเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม เป็นช่วงที่วงดนตรีกลุ่มผู้หญิงจุฬาเริ่มออกแสดง
 โดยตระเวนเล่นดนตรีตามคณะต่างๆ ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในขณะที่วงอื่นๆ เริ่มเล่นเพลงเพื่อชีวิตหนักๆ
มีเพียงวงดนตรีกลุ่มผู้หญิงจุฬาวงเดียวที่ยังคงเล่นเพลงเบาๆ ที่เข้าถึงผู้ฟังในวงกว้าง
 ตัวอย่างเช่น เพลงฉันปรารถนา สิ่งฝันในใจนี้ สลัม เป้าหมายการศึกษา
แต่วงดนตรีเปิดแสดงอยู่ได้ไม่นานก็ต้องยุติบทบาทตัวเองลงด้วยเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519

หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาผ่านพ้น
 คุณคเณศวร์จึงรวบรวบเพื่อนพ้องที่เคยเล่นดนตรีด้วยกันในกลุ่มผู้หญิงจุฬาอีกครั้ง
และตั้งวงพลังเพลงขึ้นในช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2520

"การเคลื่อนไหวทางการเมืองตอนช่วงนั้นอันตรายมากเลยนะครับ ไม่ว่าจะทำอะไรนี่ มีโอกาสจะตายได้ตลอด ทุกครั้งที่มีการชุมนุมนี่จะมีการขว้างระเบิดใส่หมู่นักศึกษา ตายกันไปเยอะ

เหตุการณ์มันวิกฤตมาตลอด การเมืองมันใกล้จุดแตกหักมาเรื่อยๆ แต่ละคนไม่กลัวอะไรแล้ว จะคิดอะไร พูดอะไร ทำอะไร ก็แสดงออกมาหมด ทุกคนเคลื่อนไหวกันอิสระมาก มันก็เลยบีบสถานการณ์ให้งวดเข้ามาเรื่อยๆ แต่พอหลัง 6 ตุลาถือเป็นจุดแตกหัก ทุกอย่างหยุดหมดเลย เพราะถูกจับง่ายมาก มีโอกาสเสี่ยงสูงมาก

การเคลื่อนไหวต่างๆ ตายสนิท เราทำอะไรไม่ได้เลย ยาวนานมาก มหาวิทยาลัยปิดไปเลย ปิดไปนานมาก จนเปิดเทอมการเคลื่อนไหวก็ไม่เกิด เพราะพวกเด็กกิจกรรมจำนวนมากหายไปหมดแล้ว หากันไม่เจอเลย เรียกว่าไม่เหลืออะไรแล้ว มันหมดไปแล้ว เหมือนกับมืดแปดด้าน ก็งงกับสถานการณ์ว่าทำไมมันถึงผิดพลาดทำให้ต้องหยุดเคลื่อนไหวไปอย่างนี้

พอเปิดเทอมมา ผมก็พยายามตั้งสติ รู้สึกเหมือนเราถูกปิดล้อม ก็ค่อยๆ ตั้งสติ คิดว่าทำยังไงจะสร้างความเคลื่อนไหวได้ ผมจึงรวบรวมคนที่เคยเล่นดนตรีด้วยกัน มาคุยกันว่า เราน่าจะมาเคลื่อนไหวด้วยเพลงเพื่อชีวิตอีกครั้งไหม เพราะว่าถ้าเป็นเพลงที่มีลักษณะเป็นการเมืองจริงๆ ก็คงจะทำไม่ได้ เพราะคงจะอันตรายเกินไป ก็คิดว่าน่าจะลองดูด้วยเพลงลักษณะนี้ พยายามจะเปิดความเคลื่อนไหวให้ได้"

 


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: seree_60 ที่ 10 ธันวาคม 2551, 23:38:33
อ่านต่อ



กลุ่มพลังเพลงได้รวบรวมเพลงที่เป็นที่รู้จักกันในขณะนั้น นำมาเรียบเรียงดนตรีใหม่
เพลงที่วงพลังเพลงนำเสนอนั้น มีจุดเด่นอยู่ที่เนื้อหาของเพลงที่ออกไปในแนวสร้างสรรค์ ให้กำลังใจ สร้างความหวัง และสร้างศรัทธาในพลังของนักศึกษา
 โดยนำเสนอผ่านท่วงทำนองที่ไพเราะ อ่อนหวาน ไม่ได้ออกไปในแนวเสียดสีสังคมหรือปลุกระดมให้เกิดความคิดที่รุนแรง
คุณคเณศวร์อธิบายเหตุผลในการคัดเลือกเพลงเหล่านี้ว่า

"จุดประสงค์ของวงตอนนั้น เราพยายามเผยแพร่เพลงที่มีเนื้อหาง่ายๆ เราพยายามรวบรวมเพลงที่มีอยู่ในสมัยนั้นให้มากที่สุดเพื่อมาเผยแพร่
 ตอนที่ทำงานตอนนั้นเราไม่ได้สนใจว่าเป็นเพลงขอใคร มาจากไหนยังไง แต่เป็นเพลงที่มวลชนฟังได้ รับได้ เราก็รวบรวมมา

เราเล่นเพลงที่ไม่รุนแรง มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับสังคม เพลงที่เกี่ยวข้องกับตัวเขา (นักศึกษา) สมัยนั้น
ในช่วงนั้นวงอื่นๆ เล่นเพลงปฏิวัติ จับปืนกันหมดแล้ว เราเห็นว่ามีแนวร่วมอีกจำนวนมากที่ไม่ฟังเพลงแนวนั้น
 เพราะฟังแล้วเขาอาจจะกลัว อาจจะรู้สึกแปลกแยก

กระแสการเมืองยุคนั้นมันบอกว่า ถ้าคุณเล่นแต่เพลงรัก คุณก็จะเป็นคนไม่มีคุณค่า
 กระแสสังคมมันแรง ใครๆ ก็อยากเล่นเพลงแบบนี้ แต่ถ้าแรงเกินไป จะจับแต่ปืน คนส่วนใหญ่ก็ไม่เอาด้วย
 มันเลยมีขอบเขตมาให้เราเคลื่อนไหวอยู่ตรงนี้ เพลงมันไม่ใช่เพลงรัก มีเนื้อหาพอใช้ได้
แต่บางทีก็มีความเพ้อฝัน พูดถึงสิ่งสวยงาม บางคนในสมัยนั้นก็มองว่าเราเล่นเพลงอ่อนเกินไป อยากจะให้เล่นอะไรที่แรงกว่านี้"

นอกจากจะรวบรวมเพลงเพื่อชีวิตที่ไพเราะ ฟังง่าย มานำเสนอแล้ว
วงพลังเพลงยังได้แต่งเพลงใหม่เพิ่มขึ้นด้วย เนื่องจากเห็นว่าเพลงที่รวบรวมมาบางส่วนยังไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจนมากพอ
คุณคเณศวร์เล่าถึงการแต่งเพลงในยุคนั้นว่า "อย่างเพลงสู่เส้นชัย เพลงนี้เป็นของพลังเพลงเองครับ
 เพราะว่าเริ่มต้นมีคนในวงแต่งบรรทัดแรกขึ้นมา ผมก็ใส่ทำนองเข้าไป
พอได้คู่แรกปั๊บ คนในวงก็มาช่วยกันทีละบรรทัดสองบรรทัด จนออกมาเป็นเพลง ไม่มีเพลงไหนของพลังเพลงที่แต่งคนเดียวเลย

รำวงสามัคคี ผมสตาร์ทไว้ 2 บรรทัดแรก ใส่ทำนองไว้ แล้วคนในวงอีก 2 คนก็มาช่วยแต่งต่อจนจบ

ในการแต่งเพลง เนื้อเพลงจะมาก่อน ดังนั้น ทำนองเพลงของเราจะถูกบังคับด้วยเสียงวรรณยุกต์ของคำ
 แล้วก็ใส่คอร์ดพื้นฐานเข้าไปเป็นเพลง เพลงที่เล่นส่วนใหญ่ก็เป็นเพลงโฟล์คซองน่ะครับ
แล้วก็มีเครื่องดนตรีอื่นเพิ่มเข้าไปบ้าง เช่น มีขลุ่ยบ้าง ออร์แกนบ้าง กลองเล็กๆ บ้าง"

หลังจากรวมกลุ่มกันได้แล้ว กลุ่มพลังเพลงก็เริ่มการเคลื่อนไหวด้วยการทำเทปเพลงใต้ดิน
โดยตั้งใจจะทำเทปเพลงอย่างเดียว ไม่แสดงดนตรีเป็นอันขาด เนื่องจากคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยเป็นสำคัญ
 เพราะสถานภาพของนิสิตนักศึกษาตอนนั้นยังไม่มั่นคงเพียงพอ

"จุดที่เริ่มตั้งหลักได้คือเดือนมกรา ปี 20 เราก็ทดลองเริ่มการเคลื่อนไหวดู
แต่ทำเป็นเทป ไม่ได้เป็นตัวคน ก็ยังอุ่นใจว่าอันตรายมันน่าจะไม่มาก แต่ก็ไม่ได้มั่นใจว่าจะปลอดภัย
เพียงแต่ว่าในกระบวนในการทำงาน สิ่งสำคัญก็คือเราปิดลับทุกขั้นตอน
 ที่สำคัญก็คือคนในวงเป็นคนที่รู้จักกันมายาวนาน ทุกอย่างปิดลับหมด ก็จะปลอดภัย

เราทำเทป ไม่มีใครรู้จักตัวเรา เราบันทึกเสียง เราไม่ใช้ห้องอัด เราใช้บ้าน
 เพราะฉะนั้นก็ไม่มีใครรู้การเคลื่อนไหว เราไม่เคยจ้างใคร ทำเองหมด มันเลยปิดลับอยู่ทุกขั้นตอน
 การขายก็กระจายไปตามสายงาน เป็นคนคนเดียวที่รู้จักผม พอมันกระจายออกไปเรื่อยๆ ก็มีคนที่รู้จักมารับไปบ้าง
แต่ก็มีแค่ 2-3 คนที่สนิทกันจริงๆ ทุกอย่างมันก็เลยปิดลับอยู่ได้

ตอนมกรานี่เราเริ่มนัดพบกัน ซ้อมดนตรีกันจริงๆ
ตอนปิดเทอม ช่วงเดือนเมษา ซ้อมกันที่ศาลาพระเกี้ยวชั้นบน ตรงที่มันเป็นมุมๆ
ตอนแรกเราตั้งใจว่าเปิดเทอม ปี 20 เทอมหนึ่ง เราจะเคลื่อนไหว แต่ทำไม่ทัน ช้าไปเดือนนึง
 แต่พอเทปออกไปสัก 2-3 สัปดาห์ เดินผ่านหอประชุม เอ๊ะ มีคนเปิดเพลงเรา ก็ยังแปลกใจว่ามาได้ยังไง
เพราะคนที่เราให้ไป ที่เป็นสายงานก็ไม่ใช่คนในจุฬา ก็ไม่รู้เหมือนกัน"

คุณน้ำทิพย์ โยธินพัฒนะ เล่าให้เราฟังถึงบรรยากาศในการทำเทปเพลงใต้ดินในช่วงนั้นว่า

"เราไม่เปิดตัว เราออกจากบ้านก็ไม่บอกพ่อแม่ เราได้ยินเพลงเราก็ทำเป็นไม่รู้ว่าเป็นเพลงของใคร
แต่เรารู้สึกว่าเป็นพันธกิจที่เราต้องทำ ต้องเดินทางไปไกลแค่ไหนเราก็ไปกัน ไปเจอกันทุกอาทิตย์เลย
 ช่วยกันทำเทป ก็เป็นช่วงที่เหนื่อยกันมาก การทำเพลงเหมือนกับเป็นการทำงานใต้ดิน ต้องทำกันตามบ้าน
 เราตระเวนไปเรื่อยๆ ตามบ้านเพื่อน ใช้ห้องนอนเกือบทุกบ้านเพราะมันเงียบสงบที่สุด

จริงๆ ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่เสี่ยงเลยนะ สมาชิกบางคนอย่างนักร้องชื่อน้องกุ้งเต้น (นันทนา เดชะบุญประทาน - ผู้เขียน) นี่
เสียงเป็นเอกลักษณ์มากเลย คือถ้าเรียกมาร้องเทียบกับเทปนี่ก็รู้เลยว่าเป็นใคร ติดคุกได้เลย
 เพราะฉะนั้นไม่ใช่ว่ามันไม่เสี่ยงนะ มันก็เสี่ยงมาก แต่เขาก็ยังอยู่กับเรามาตลอด
อันนี้มันทำให้เห็นว่าพลังนักศึกษาเป็นพลังบริสุทธิ์ ถึงเราจะไม่มีแนวคิดทางการเมืองที่เข้มแข็งหรือว่าซ้ายสุดขั้ว
 แต่เรื่องใจรักความเป็นธรรมนี่ เราเชื่อว่าทุกคนมีอยู่ ทุกคนมีใจให้"

สำหรับวิธีการบันทึกเสียงนั้น คุณคเณศวร์เล่าว่า "ในการบันทึกเสียง เราจะเล่นเครื่องดนตรีทุกเครื่องพร้อมกัน
ความดัง ความชัด ความเบามันจะขึ้นอยู่กับระยะห่างระหว่างเครื่องดนตรีกับเครื่องบันทึก
ไม่ได้อัดเสียงทีละชิ้นแล้วค่อยเอามามิกซ์กันเหมือนสมัยนี้ เราเล่นพร้อมกันหมดหลายๆ รอบ
 พอรอบไหนสมบูรณ์เราก็หยุด เพลงนั้นเราก็จะไม่แตะมันอีก เปลี่ยนไปอัดเพลงใหม่

ช่วงทำเทป จะนัดกันอาทิตย์ละครั้ง ทั้งซ้อม ทั้งบันทึกเสียง การซ้อมกับการบันทึก
จริงๆ มันก็คือสิ่งเดียวกัน ซ้อมไปด้วยอัดไปด้วย จนกว่ามันจะใช้ได้ เพลงไหนอัดแล้วก็ทิ้งมันไปเลย
ไม่หยิบมาเล่นอีกเพราะไม่ได้แสดง เพลงเดิมเสร็จเราก็แสวงหาเพลงใหม่มาทำอีก ไม่เล่นเพลงเดิมซ้ำ มาทำซ้ำเพลงเดิมก็ตอนชุดที่สาม

ส่วนชุดสองห่างจากชุดแรกไม่เกิน 1 ปี ช่วงนั้นการผลิตเป็นเรื่องหนักมาก
ผลิตได้ช้ามากเพราะใช้เทปคาสเซ็ทมาต่อกัน ทั้งการสั่งของและอื่นๆ เป็นปัญหามาก
ช่วงที่ผมผลิตเองมีประมาณ 6,000-7,000 ม้วน พอเราได้เงินทุนกลับมาส่วนนึงเราก็ไปซื้อ tape deck มาพ่วง
ให้มันเพิ่มปริมาณมากขึ้น พอการผลิตมันอยู่ตัว ก็เริ่มมาทำเพลงชุดสอง ทำกันหามรุ่งหามค่ำ 24 ชั่วโมงน่ะครับ
เพราะว่าเครื่องมันน้อย แทบไม่ได้นอนเลยครับ ความคิดที่ว่าเราจะไม่จ้างใครผลิต มันปลอดภัยมากขึ้น แต่ก็เหนื่อยมาก

แต่ก็ดีที่ช่วงแรกๆ เขาก็สั่งนะครับ ไม่ไปก๊อปปี้กันต่อ พอผ่านไปสักปีก็มีคนเอาไปก๊อปปี้ขายกันเยอะ
 ซึ่งเราก็ว่าดีนะ เพราะเราต้องการให้มันแพร่หลายไปในวงกว้าง ครั้งสุดท้ายมี tape deck 10 เครื่อง
การผลิตเกือบไม่หยุดเลย ทุกวัน เป็นปีๆ สลับเวรกันทำ ระหว่างผมกับแม่

เราไม่มีเวลาคิดถึงผลของมันเลย มีคนสั่งมาก็ทำไป ผลของมันแค่ไหนยังไงนี่ไม่ได้อยู่ในหัวเลย
เรื่องผลกระทบของมันเราก็ไม่ได้นึกถึง เราแค่พยายามผลักดันให้มีการเคลื่อนไหวเท่าที่เป็นไปได้"

คุณคเณศวร์ได้เล่าถึงแรงผลักดันที่ทำให้เขาทุ่มเทให้กับวงพลังเพลงให้เราฟังว่า
 "สำหรับผม การทำงานเกี่ยวกับพลังเพลง ไม่เคยคิดว่ามันสำเร็จหรือไม่สำเร็จ
 แต่เวลาที่ผ่านมายาวนาน ความคิดสำคัญที่ทำพลังเพลงมาได้ มี 2 อย่าง

หนึ่งก็คือ เรามีปรัชญาที่เรียนรู้มา สอนเราว่า ท่ามกลางความมืด มันต้องหาหนทางให้เจอ
ในวัยของเราที่อยู่ตอนนั้น เราไม่รู้หรอกว่านี่มันคือสิ่งที่เป็นจริง มันเหมือนกับว่ารู้จักสิ่งนี้มานะ อ่านจากสรรนิพนธ์มา
 เราจะพยายามทำมัน มันเป็นเหมือนการชี้นำที่สำคัญ ทำให้เราพยายามหาหนทางนี้ออกมาให้ได้ ท่ามกลางความมืด มันต้องมีหนทางที่ฝ่าได้

อีกอย่างนึงก็คือ การทำงาน มันเหมือนลุงโง่ย้ายภูเขา เราต้องทำให้เหมือนลุงโง่ให้ได้
ความรู้สึกยากลำบากในการทำงานของเราที่อยู่กับงานนี้อาจจะไม่เหมือนคนอื่น คนอื่นอาจจะไม่รู้สึกว่ามีความยากลำบาก
 แต่ผมรู้สึกว่าการทำงานนี้เป็นสิ่งที่หนักมากสำหรับชีวิตผม และผมรู้ว่าในชีวิตนี้ทำอย่างนี้ได้เพียงครั้งเดียว
ให้ทำอีกครั้งนึงไม่มีวันทำ แต่ที่ทำมาได้เพราะนิทานเรื่องลุงโง่ย้ายภูเขาเป็นสิ่งที่ชี้นำเรา ผมจึงอดทนทำมาได้เป็นเวลาหลายๆ ปี

ปรัชญาชีวิตจึงเป็นสิ่งที่เราควรให้กับเยาวชนของเรา เพราะถ้าไม่มีมัน มันยากที่จะให้เขาก้าวไปสู่สิ่งที่ดีได้
และให้เขาคิดเองไม่มีวันเจอ ผมเองก็ไม่ได้เจอมันด้วยตัวเอง แต่เป็นเพราะว่าเรียนรู้จากหนังสือ
จากสิ่งที่คนอื่นสอน อะไรหลายๆ อย่าง มันจึงทำให้เราเดินบนหนทางนี้ได้มาตลอดรอดฝั่ง


 ผมว่า ถ้าไม่มี 2 สิ่งนี้ก็จะไม่มีพลังเพลง ไม่รู้จะต้องขอบคุณอะไร
อาจจะขอบคุณสรรนิพนธ์ กับขอบคุณลุงโง่ ท่ามกลางความยากลำบาก ถ้าไม่มีอะไรชี้นำเรา เราอดทนทำมันไม่ได้หรอกครับ"

แม้เวลาจะผ่านมาแล้วถึง 30 ปี สมาชิกในกลุ่มพลังเพลงต่างแยกย้ายกันไปดำเนินชีวิตตามวิถีที่แตกต่าง
 แต่ก็ยังคงไปมาหาสู่ติดต่อกันอยู่อย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากความผูกพันแนบแน่นที่ก่อตัวขึ้นจากการทำงานร่วมอุดมการณ์กันในครั้งนั้น
คุณน้ำทิพย์เล่าถึงความประทับใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มพลังเพลงว่า

"บรรยากาศที่เรามาร่วมกันทำงาน เป็นอะไรที่ประทับใจ เราไม่ได้รู้จักเพื่อนจากมหาวิทยาลัยอื่นมาก่อน
แต่ก็มีการเชื่อมประสานกันได้โดยธรรมชาติ บางทีเพื่อนจากประสานมิตรก็มาช่วย ไม่รู้ว่าใครพาเข้ามา
 มันมีความหลากหลาย แล้วทุกคนก็มีความตั้งใจที่จะผลักดันให้มีอะไรดีๆ ออกมาให้สังคม
 สิ่งเหล่านี้ เพลงเหล่านี้เป็นตัวหล่อเลี้ยงเป็นกำลังใจให้เราอยากทำสิ่งดีๆ อยู่ ถึงแม้เราจะไม่เข้าใจคนที่อยู่ในป่า
เพื่อนฝูงที่เข้าไป หรือไม่ได้เข้าใจระบบพรรคมากมาย เพลงมันมีความหมายด้วยตัวมันเอง แม้จะไม่มีใครมาบอกเราเป็นคำพูดก็ตาม

ในความที่เรามีส่วนร่วมในการร้องเพลง เรารู้สึกว่าเพลงที่เราร้องมันไม่ใช่แค่เพลง
แต่มันเหมือนเป็นการ commit ตัวเองด้วยนะ ถ้าเราร้องเพลงออกมาแล้ว มันเหมือนกับเราจะต้องเป็นแบบสิ่งที่เราร้องด้วย
ไม่อย่างนั้นเราจะร้องไม่ได้ สิ่งที่จะฝากกับคนรุ่นใหม่ก็คือ อยากให้หาอะไรที่มันเป็นแรงจูงใจให้มีเป้าหมาย
ให้เห็นคุณค่าของชีวิตที่จะทำให้เดินไปข้างหน้าได้"

นับจากปี พ.ศ. 2520 ที่กลุ่มพลังเพลงได้ผลิตเทปเพลงชุดแรกออกจำหน่าย
เพลงทุกเพลงในอัลบั้มก็ได้รับความนิยมแพร่หลายในเวลาอันรวดเร็ว
แต่ก็ไม่มีใครได้รู้จักสมาชิกในกลุ่มพลังเพลงที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงเลย จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2541 องค์กร 14 ตุลา
ได้ใช้ความเพียรพยายามในการค้นหากลุ่มพลังเพลงซึ่งปิดตัวมานาน
และในที่สุด กลุ่มพลังเพลงก็ได้เปิดตัวแสดงสดเป็นครั้งแรกที่ท้องสนามหลวง ในงาน 25 ปี 14 ตุลา
คนเดือนตุลาและคนในวงการเพลงเพื่อชีวิตจึงได้มีโอกาสได้รู้จักตัวตนของวงดนตรีที่ได้รับความนิยมสูงสุด
จนกลายเป็นตำนานของเพลงเพื่อชีวิตในยุคหลัง 6 ตุลา 2519[/b
]


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: สมชาย17 ที่ 11 ธันวาคม 2551, 09:07:03
อ่านที่ พี่ตะวัน เล่าให้ฟัง ทำให้หวนไปถึงอดีต สมัย 6 ตุลา 19
ใครอยู่ในสมัยนั้น จะเข้าใจบรรยากาศ สมัยนั้นได้ดี
ทำให้รู้ กลุ่มพลังเพลง
พี่ยังมีเพลงของ กลุ่มพลังเพลง เหลืออยู่บ้างหรือเปล่า
จะได้รวมชุด เอามาอัด แจกจ่าย ให้ผู้สนใจได้ฟังกัน

ขอบคุณ พี่ตะวัน หลายๆเด้อ


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: seree_60 ที่ 11 ธันวาคม 2551, 10:03:46
น้องสมชาย

พี่มี เทปพลังเพลง อยู่เพียง 1 ม้วน และวงน้ำค้าง 1 ม้วน ยินดีที่จะให้ไป ก๊อป แจกจ่ายพรรคพวก นอกจากนี้พี่จะคัดเพลงเด่นๆ ที่เป็นเพลงปฏิวัติ เช่น
จากลานโพธิ ถึงภูพาน คนทำทาง แสงดาวแห่งศรัธา ฯลฯ ทำเป็นมาสเตอร์ให้สมชายไปอัดแจกแก่ผู้ที่สนใจ จะดีมั้ย
 


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: seree_60 ที่ 11 ธันวาคม 2551, 10:35:56
วงน้ำค้าง  เป็นวงดนตรีเพื่อชีวิตอีกวงที่เกิดขึ้นในช่วง 6 ตุลา 19
และนี่ คือเรื่องราวที่น่าสนใจ ของวง น้ำค้าง



วงน้ำค้าง - เรียบเรียงจากบทสัมภาษณ์ ผศ.นพ.สัญญา ภัทราชัย (ภาควิชาสูติศาสตร์ นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี)


แม้ภารกิจในอาชีพปัจจุบันของคุณหมอสัญญาจะอยู่นอกวงการดนตรี แต่ด้วยอิทธิพลครอบครัวที่หล่อหลอมมาแต่เด็ก
 ทำให้ไม่น่าแปลกใจที่ทำให้คุณหมอผลิตงานเพลงเพื่อชีวิตที่ไพเราะเป็นที่จดจำออกมาได้
 คุณหมอสัญญาเกิดในครอบครัวคนรักดนตรี พ่อเล่นซอจีนและฮาร์โมนิก้าได้เก่งมาก
 พี่ชายเล่นเมาท์ออร์แกน แถมยังเป็นนักฟังเพลง สะสมแผ่นเสียงเพลงคลาสสิกเป็นพันแผ่น
คุณหมอจึงได้ฟังเพลงพวกนี้ตั้งแต่เด็ก ตอนที่พี่ชายไปอเมริกา ก็ยกแผ่นเสียงเหล่านั้นมาให้น้องชายฟังต่อ จนเกิดความคุ้นเคย

 พอไปอยู่โรงเรียนอัสสัมชัญซึ่งมีวงออร์เคสตร้าที่สมบูรณ์แบบ ได้เห็นบราเธอร์เล่นไวโอลินชั้นเยี่ยมจากเยอรมัน
 ก็ไปขอเรียนด้วย เรียนจนจบ บราเธอร์แถมไวโอลินเยอรมันมาให้อีกต่างหาก คุณหมอสัญญาจึงเล่นไวโอลินมาเรื่อยๆ

จนมาเป็นนักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ไม่ได้ละทิ้ง
 ไปร่วมเล่นไวโอลินในวงจามจุรีออร์เคสตร้าที่อาจารย์โกวิทย์ (รศ.ดร.โกวิทย์ ขันธศิริ - ผู้เขียน) ก่อตั้งขึ้น
พอตกเย็น บางทีอาจารย์ไปรับเล่นดนตรีในงานต่างๆ เช่น งานแต่งงาน คุณหมอก็ตามไป ได้ประสบการณ์พิเศษ
แล้วอาจารย์ยังได้ให้คำแนะนำเทคนิคการเล่นเพิ่มเติมให้ด้วย

ช่วงปี พ.ศ.2516 คุณหมออยู่ปีสาม เกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา วันมหาวิปโยค
 ตอนนั้นเพลงเพื่อชีวิตได้รับความนิยม คุณหมอก็ได้ฟังเพลงของวงคาราวาน เช่น เพลงเปิบข้าว คนกับควาย
ก็ถูกใจว่าเป็นเพลงสไตล์ที่ไม่เคยฟังมาก่อน เมื่อทางสโมสรนิสิตแพทย์พยายามจะฟอร์มวงเพื่อชีวิตเพื่อเคลื่อนไหว
คุณหมอจึงไม่รีรอที่จะเข้าร่วมด้วย โดยตั้งชื่อวงว่า วงน้ำค้าง ออกเทปชุด "ตะวัน" มีการนำเพลงของวงคาราวานมาเล่นบ้าง
เพลงของจิตร ภูมิศักดิ์บ้าง นอกจากนั้นก็มีเพลงของคุรุชน อินโดจีน ฯลฯ

คุณหมอเล่าให้ฟังถึงกำเนิดของเพลงที่วงน้ำค้างเล่นและมีชื่อเสียงมาจนทุกวันนี้ว่า
"มีอยู่วันหนึ่งคณะอักษร จุฬาฯ จัดงานชื่อ "งานพลังเพลง" เห็นคณะแพทย์มีวง ก็เชิญมาเล่น
 คืนนั้นผมก็เลยนั่งเขียนเพลง "พลังเพลง" อาศัยว่าเราคุ้นเคยกับเพลงคลาสสิก เขียนโน้ต เขียนคอร์ดได้ มันมาด้วยกัน
ความจริงก่อนหน้านั้นก็เขียนเพลงมาแล้ว แต่ว่ามันห่วย ...ผมเล่นไวโอลิน กีตาร์ เมาท์ออร์แกน สามอย่าง ก็เขียนเพลงมา
 คืนนั้นแต่งสองเพลงเลย เพลง "พลังเพลง" กับเพลง "น้องใหม่" พอตอนเช้าก็มาเล่นให้เพื่อนฟัง เขาก็บอกว่าเพลงน้องใหม่ดี ไม่ได้แก้อะไรเลย
ส่วนเพลงพลังเพลง เพื่อนแก้คำร้องบางคำ บอกว่าเนื้อมันอ่อนไป ก็ไปเล่นในงาน"

งานนั้นประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ได้รับคำชมเชยจากทุกฝ่าย รวมถึงผู้ใหญ่อย่าง คุณอนุช อาภาภิรมย์ ด้วย
นั้น คุณหมอก็ทดลองเอาเพลงเป้าหมายการศึกษา ของวิทยากร เชียงกูล มาใส่ part ไวโอลิน เป็น counterpoint เล่นมาเรื่อยๆ

จน 3 ปีต่อมา เกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 คุณหมออยู่ปี 4 ขึ้นปี 5 ในฐานะที่เป็นวงดนตรีนักศึกษาแนวเคลื่อนไหว
ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้ด้วย จึงต้องหยุดกิจกรรม
 เนื่องจากเกรงจะถูกเพ่งเล็งจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ คุณหมอเล่าถึงเหตุการณ์วันที่ 6 ตุลาคมว่า

พอบ่ายตำรวจก็มาบุกที่ทำงานของภาควิชา สโมสรนิสิตจุฬาฯ มาไล่จับรุ่นพี่ ค้นหอพัก
จับหนังสือสรรนิพนธ์เหมาเจ๋อตุงอะไรแบบนี้ จากนั้นขบวนการนักศึกษาก็ตายสนิทเลย มีไม่ได้เลย นักศึกษากลายเป็นผู้ร้าย
 ในขณะที่ 14 ตุลา นักศึกษาเป็นพระเอก ขึ้นสามล้อฟรี กินข้าวฟรี ชาวบ้านเห็นว่าขับไล่ทรราชได้
แต่หลัง 6 ตุลา นักศึกษากลายเป็นผู้ร้าย ไปไหนคนก็เขม่นกัน ว่ามันเป็นแนวร่วมคอมมิวนิสต์หรือเปล่า
และวงการเพลงเพื่อชีวิตก็ไม่มี เข้าป่ากันหมดเลย มีแต่เพลงอย่างดาวใจ ไพจิตร เพลงผัวๆ เมียๆ เพลงเมียน้อย อะไรแบบนี้"


"แม้จะกระทำกิจกรรมดนตรีกันอย่างต่อเนื่องมา แต่ก็ไม่เปิดเผยตัวมากนัก
คุณหมอเล่าว่า "จะอัดเสียงเอง ผลิตเอง ไม่ถึงกับวางขายตามห้าง
และเวลาแสดงก็ไม่เคยถ่ายรูปไว้เป็นหลักฐาน ถ้าอยากได้รูปต้องไปถามสันติบาล สันติบาลจะมี สมัยนั้นผู้ใหญ่ไม่สนับสนุน
การเมืองก็ยังมีรัฐบาลที่เป็นทหารอยู่ ไม่มีใครกล้าไปชนหรอก วงนี้ก็เลยต้องกระเสือกกระสนเล่นไปตามมีตามเกิด
นักศึกษาก็ต้อง support กันเอง ไปเล่นเขาก็เลี้ยงข้าวเรา มีข้าวห่อ อัดเทปก็ไปอัดห้องไม่ดีเท่าไหร่ สุ้มเสียงก็แย่"

ในท่ามกลางความมืดมนของการสร้างสรรค์และการเคลื่อนไหวของกิจกรรมนักศึกษา
มีเทปเพลงชุดหนึ่งเกิดขึ้นมา เป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างคุณหมอกับวงดนตรีนักศึกษาอีกคณะที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน

"มีเทปชุดหนึ่งเกิดขึ้นมาในวงการนักศึกษา เพลงแรกของเทปคือเพลงพลังเพลง เป็นเพลงที่ผมแต่ง
 มันเหมือนกับเป็นฝนที่ตกลงมาในทุ่งกุลาร้องไห้หยดแรก มันก็ดังมากๆ ดังจากเหนือจรดใต้ อีสานจรดตะวันตก
ทุกๆ คนก็ถามว่าวงนี้เป็นใคร พยายามจะหา ขอเชิญไปเล่น วงนี้ก็ไม่ยอมเปิดตัว กลัวกระแสการเมือง ขออยู่ใต้ดินดีกว่า ขายเทปไปเรื่อย"
แม้จะไม่รู้จักกันมาก่อน คุณหมอสัญญาก็รู้สึกยินดีที่เพลงของตนได้รับการเผยแพร่
"วงพลังเพลงนี่มารู้จักทีหลัง เขามาขอลิขสิทธิ์ กลัวว่าผมจะว่า ผมก็บอกว่าเอาไปเหอะ ไม่ว่าหรอก
ต้องขอบคุณที่วงของคุณทำเทปออกมาจุดประกาย"

นอกจากเพลงพลังเพลงและเพลงน้องใหม่ ของคุณหมอสัญญาที่ทางวงพลังเพลงเอามาเผยแพร่อย่างลับๆ แล้ว
เพลงที่โด่งดังได้รับความนิยมอื่นๆ ก็เช่น เพลง "น้ำค้างบนปลายหญ้า" อันเป็นที่มาของชื่อวง "น้ำค้าง"
คุณหมอได้รับแรงบันดาลใจในการแต่งเพลงนี้จากภาพถ่ายในนิตยสารฝรั่งเกี่ยวกับธรรมชาติ
และได้ดัดแปลงทำนองเพลง Bridge of London มาเป็นทำนองเพลงเพลงนี้ เนื้อหาเกี่ยวกับความเป็นไปของธรรมชาติ
ความไม่คงทนของสรรพสิ่งทั้งหลาย ต่อมา วงพลังเพลงได้นำเพลงนี้ไปขับร้องและเปลี่ยนเนื้อท่อนสุดท้ายเป็น
 "มองน้ำค้างบนปลายหญ้า ล่วงเวลาก็มลาย แต่ชีวิตมีความหมาย อยู่เพื่อใครในสังคม" เพื่อให้มีเนื้อหาเป็นลักษณะ "เพื่อสังคม" มากขึ้น

อย่างไรก็ดี บทเพลงที่เป็นผลงานของคุณหมอสัญญาที่โด่งดังที่สุดและได้รับความนิยมมากที่สุดก็คือ
เพลง "อยากให้ความรักแก่คนทั้งโลก" คุณหมอเล่าความเป็นมาของบทเพลงเพลงนี้ว่า

"เกิดจากการที่เพื่อนผมที่เป็นหมออีกคนหนึ่ง เอากลอนเปล่ามาให้ บอกว่าความหมายมันดี
อยากให้ยูแต่งเพลงให้ ผมก็ไปใส่คอร์ดให้ ใส่ไวโอลิน คือลักษณะเด่นของวงผมนี่ก็คือว่า
 ไวโอลินจะเป็นทั้ง leading melody, เป็น harmony และบางทีก็เล่นคอร์ดด้วย เป็น double stopping
อย่างเพลงนี้ก็ใส่ double stopping เยอะมาก มันก็สนุก คนฟังก็ติดหูก่อน ก็ไปเล่น แสดงที่หอประชุมจุฬาฯ หาเงินช่วยน้ำท่วมภาคใต้
 คนเต็มหอประชุมเลย เพราะตอนนั้นนักศึกษาไม่รู้จะฟังอะไร พอมีวงนี้มาก็มากันเต็มเลย เป็นพันเลย

ทีนี้เพื่อนผมที่เป็นโฆษกก็เกิดไปบอกว่า เรามีเพลงใหม่มาเสนอ อยากให้ความรักแก่คนทั้งโลกเนี่ย
 เป็นเพลงที่เราแต่งเอง ปรากฏว่าเล่นไปคนฟังชอบมาก ตบมือกันใหญ่เลย แต่ปรากฏว่าเล่นๆ ไปมีผู้ชายคนหนึ่งกระโดดขึ้นมาบนเวที.
 บอกว่า "คุณไม่ละอายใจเหรอ คุณแอบอ้างผลงานคนอื่น" เขาชื่อ "ดอกตะแบกสีม่วง"
เป็นนิสิตวิศวะ ใช้นามแฝงเขียนในหนังสือรุ่นที่เพื่อนผมเอามาให้นั่นแหละ ผมเลยบอกว่าขอโทษจริงๆ ไม่รู้ว่าเป็นคุณ
 ผมก็ได้เนื้อมาจากเพื่อนอีกคนหนึ่ง ผมก็ไม่รู้ว่าใครแต่ง ไม่รู้จะติดต่อกันได้ยังไง แต่ที่พลาดไปก็คือไปประกาศว่าแต่งเอง
ทั้งๆ ที่แต่งแต่เฉพาะทำนองน่ะแหละ ไม่ได้แต่งเนื้อด้วย ผมขอโทษจริงๆ คุยไปคุยมา เขาก็ดีใจ บอกว่าไม่เป็นไร
คุณก็ทำดนตรีได้ดีนะ คราวหน้าจะเอาอีกก็มาบอกละกัน จากนั้นก็ไม่เจอกันอีกเลย"

เพลงอยากให้ความรักแก่คนทั้งโลก นอกจากจะโด่งดังในฐานะเพลงใต้ดินของขบวนการนักศึกษาที่จัดทำโดยกลุ่มพลังเพลงแล้ว
ต่อมายังขยายความโด่งดังไปสู่คนทั่วไปโดยการที่วงระดับอาชีพนำมาขับร้อง เช่น วงคีตาญชลี และวงดนตรีแกรนด์เอ็กซ์ ในเวลาต่อมา
 
วงน้ำค้างของคุณหมอสัญญายังคงทำกิจกรรมดนตรีมาโดยต่อเนื่อง ในยุคเดียวกันกับที่มีวงฟ้าสางของรามคำแหง
วงอมธ. ของธรรมศาสตร์ วงประกายดาว ของมหาวิทยาลัยมหิดล บทเพลงนักศึกษาเหล่านี้
แม้จะไม่ได้มีเนื้อหาหนักหน่วงแบบเพลงปฏิวัติ แต่ก็มีเนื้อหาปลุกเร้าให้ผู้ฟังเกิดสำนึกที่ดีต่อสังคม

"ไม่ถึงขนาดปฏิวัติ เพราะต้องการให้คนรับได้ เพราะคนก็ระแวงอยู่แล้วว่านักศึกษาจะเป็นคอมมิวนิสต์ เลยจะออกเป็นสายลมแสงแดดเสียเยอะ"

อย่างไรก็ดี บทเพลงที่วงน้ำค้างสร้างสรรค์ก็มีความตั้งใจว่า
"หนึ่ง เป็นเพลงที่ทำให้นักศึกษาได้เกิดแนวคิดที่จะทำประโยชน์เพื่อสังคมแทนที่จะเรียนไปเพื่อตัวเองเท่านั้น
อย่างเพลงน้องใหม่ "เรียนไปเพื่อรับใช้มวลชน สร้างตนสร้างสังคมให้สมบูรณ์" ไม่ใช่เรียนไปเพื่อตัวเอง
 ตอนนั้นมีสูตรเพลงเพื่อชีวิต เพลงอะไรที่เพื่อชาวนาก็เพื่อชีวิต เพลงอะไรที่ด่านายทุนก็เพื่อชีวิตหมด
เพลงอะไรที่พูดถึงความคับแค้นของกรรมกรก็เป็นเพื่อชีวิต แต่สำหรับวงผมนี่ผมคิดว่าไม่อยากเข้าสูตรนี้หรอก
ดนตรีมันมีอะไรมากกว่านั้น มันมีดนตรีเพื่อดนตรี มันไม่ใช่ดนตรีเพื่อชีวิต ดนตรีดีๆ มันก็ดี เพลงคลาสสิกมันก็ดี ถึงจะเพื่อนายทุน แต่มันก็ดี
ผมก็พยายามจะเขียนให้มันออกมาดี ไม่ให้มันออกมาลวกๆ"

วงดนตรีนักศึกษาที่ชื่อว่า "น้ำค้าง" มีผลงานบันทึกเทปสองชุด ชุดแรกชื่อว่าชุด "ตะวัน"
ส่วนชุดที่สองเป็นที่น่าเสียดายที่ไม่ได้นำไปเผยแพร่หรือจำหน่ายที่ใด
 วงดนตรีน้ำค้างรับงานเล่นดนตรีไปเรื่อยๆ จะอยู่ในลิสท์ได้รับเชิญไปเล่นตามมหาวิทยาลัยต่างๆ เวลาที่นักศึกษามีกิจกรรมเคลื่อนไหว
 จนกระทั่งเรียนจบคณะแพทย์ ต่างคนก็ต่างแยกย้ายกันไปประกอบอาชีพตามสายงานของตน
เหลือไว้แต่บทเพลงเนื้อหามีสาระ สะท้อนทัศนคติหนุ่มสาวนักกิจกรรมยุค 6 ตุลาจนถึงทุกวันนี้



ในปีนี้ เหตุการณ์วิปโยค 6 ตุลาคม 2519 เวียนมาครบสามสิบสองปีแล้ว หลายบทเพลงที่เกิดขึ้นในยุคสมัยนั้น ไม่ว่าจะเป็นเพลงปฏิวัติ หรือเพลงเพื่อชีวิต ก็ยังคงได้รับความนิยมมาจวบจนปัจจุบัน ด้วยเนื้อหาสาระที่สอดแทรกอุดมการณ์ความเสียสละเพื่อสังคม และการต่อสู้เพื่อความดีงาม เพลงใต้ดินในสมัยหนึ่งกลายมาเป็นเพลงบรรเลง "บนดิน" ได้โดยเสรี และยังคงถูกบรรเลง กู่ก้องประกาศอุดมการณ์ ทุกครั้งที่บ้านเมืองตกอยู่ในสภาวะมืดมน และการต่อสู้เพื่อความถูกต้องยังคงดำเนินต่อไป
[/color]


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: สมชาย17 ที่ 11 ธันวาคม 2551, 19:41:56
ขอบคุณ พี่ตะวัน
ยินดีเป็นอย่างยิ่ง ผมจะไปแปลงเป็น CD เพื่อสะดวกในการ อัดแจก
ใครสนใจ กรุณาจองล่วงหน้าได้ครับผม



หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: seree_60 ที่ 11 ธันวาคม 2551, 21:19:29
เพลง อยากให้ความรักแก่คนทั้งโลก

                                           [size=14pt เพลง อยากให้ความรักแก่คนทั้งโลก    ผลงานประพันธ์ ของลุงนริศและเพื่อนน้ำค้าง[/size]
                                             อยากให้ความรัก เพื่อคนทั้งโลก

                                              อยากจะให้โชค เพื่อคนทั้งหล้า

                                              อยากให้รอย-ยิ้มลบคราบน้ำตา

                                              อยากให้ชีวา แด่คนทั้งปวง


                          อยากให้คนทุกข์ พ้นทุกข์ลำเค็ญ

                          ความเคืองเข็ญ แค้นยากลำบากใหญ่หลวง

                          ให้หมดทุกข์ สร้างสุขในใจทุกดวง

                           อยากให้ปวง-ชนทุกข์เป็นสุขสันต์



                                                   อยากอุทิศ ชีวิตทั้งหมดนี้

                                                       เพื่อสร้างความดีไม่เคยหวั่น

                                                           จะเร่งสร้างทั้งคืนและทั้งวัน

                                                                  เพื่อชีวิตอันสั้นนั้นมีราคา


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: khesorn mueller ที่ 11 ธันวาคม 2551, 21:25:08
อ้างถึง
ข้อความของ สมชาย17 เมื่อ 11 ธันวาคม 2551, 19:41:56
ขอบคุณ พี่ตะวัน
ยินดีเป็นอย่างยิ่ง ผมจะไปแปลงเป็น CD เพื่อสะดวกในการ อัดแจก
ใครสนใจ กรุณาจองล่วงหน้าได้ครับผม

แฮพไว้ให้หนิง 1แผ่นคะ
ต้อง inคะ...เพลงพวกนี้ร้อง-เล่น
ตอนหนิงอยู่ ป.1-ป.2
เติบโตมาด้วยกัน

nn.


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: seree_60 ที่ 11 ธันวาคม 2551, 21:31:14
เกร็ดเล็ก เก็ดน้อย ของเพลง อยากให้ความรัแก่คนทั้งโลก

เพลงอยากให้ความรักแก่คนทั้งโลก เดิมเป็นผลงานการร้องของคีตาญชลี
แต่พอเมื่อแกรนด์เอ็กซ์ ศิลปินอันดับหนึ่งขวัญใจวัยรุ่นในขณะนั้นได้ นำบทเพลงเพื่อชีวิตเพลงนี้มาทำใหม่
กลับประสบความสำเร็จมากกว่าต้นฉบับซึ่งมียอดขายได้ไม่มาก
เนื่องจากผลงานของคีตาญชลีเป็นผลงานที่ไม่สามารถกระจายสู่ท้องตลาดมากนัก

 ในขณะที่แกรนด์เอ็กซ์ไม่ว่าจะออกชุดใดก็แล้วแต่ล้วนประสบผลสำเร็จแทบทั้งสิ้น
 จนมีสื่อโปรโมทมากมาย แม้แต่นิตยสารของตนเองก็เคยทำขายมาแล้ว
ทำให้หลายคนคนเข้าใจว่าเพลงนี้แกรนด์เอ็กซ์ร้องเป็นต้นฉบับหรือไม่ ทำไมถึงโด่งดังขนาดนี้

คำตอบก็คือว่าไม่ใช่  

ในราวปี 2523-2524 วงคีตาญชลี ได้เอาเพลงนี้มาบันนทึกเสียงอีกครั้ง
ในอัลบั้มแรกของตัวเอง
ซึ่งในปกเทป ไม่ได้บอกเครดิตคนแต่งเพลงนี้เอาไว้ แต่เพลงอื่นๆบอก
คาดว่า ในตอนนั้น ยังสืบหาชื่อคนที่แต่งเพลงนี้ไม่เจอว่าเป็น นายแพทย์สัญญา ภัทราชัย
เพราะคิดว่าเพลงนี้คงขึ้นในตอนแรกเพื่อร้องกันในหมู่คณะ นักศึกษา
แล้วได้ถูกแพร่หลายออกมาวงกว้าง ด้วยเนื้อหาและความหมาย ที่งดงามของเพลงนี้
โดนส่วนตัว ผมชอบ เสียงพี่รินทร์คีตาญชลีร้องมากที่สุดนะเพลงนี้

แล้วในช่วงหลังๆถ้าใครได้ดูคีตาญชลีเล่นคอนเสิร์ต
ถ้าร้องเพลงนี้พี่เค้าจะมีเมดเลย์ต่อด้วยเพลงอีกเพลงนึงทันที
นั่นก็คือเพลง สิ่งฝันในใจนี้ ของวง รวมฆ้อน ซึ่งแต่งโดย น้าวี วีระศักดิ์ ขุขันธิน..
[/color]


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: khesorn mueller ที่ 11 ธันวาคม 2551, 21:34:22
ให้แปะมั้ยคะ??
nn.27


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: su ที่ 12 ธันวาคม 2551, 06:03:25
แล้ววงลูกทุ่งเปลวเทียนของ มช.ละคะ


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: seree_60 ที่ 12 ธันวาคม 2551, 10:41:13

    โอ.. เสียใจนะน้องสุ พี่ไม่มีลูกทุ่งเปลวเทียน เพราะช่วงนั้น ไม่ได่อยู่ในเมือง ไปทำ DR. JUNGLE อยู่ เทปที่มี เป็นของแม่บ้าน ตอนนั้น เขาเรียนอยู่
ที่เศรษฐศาสตร ปี 18 เลย ซื้อหาเก็บไว้

  เอ้า ใครมี ขอยืมหน่อย มาไรซ์ แจกกัน

ของพี่ จะมี คาราวาน เกือบทุกชุดเลย กรรมาชน คุรุชน คีตาญชลี แฮมเมอร์ เพลงในป่า ( เพลงจาก สปท. ) เทปการแสดงสด ของศิลปิน บนเทือกเขาภูพาน
เทปแสดงสด ที่มวกเหล็ก ของรวมศิลปิน
คิดถึงบ้าน ฉบับ ออริจินอล ของนาย ผี ซื้อมาในงานศพ นายผีฯลฯ

น้องหนิง แปะเลย เอางี้ดีกว่า พอพี่นำเสนอเพลงอะไร น้องหนิงก็แปะตามหลังเลย จะได้ ฟิล มากเลย ดีมั้ยครับ


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: seree_60 ที่ 12 ธันวาคม 2551, 11:35:00
ขออนุญาตออกนอกกรอบเพลง ปฏิวัติ ซักหน่อย พอดีไปได้ฟังเพลงลูกทุ่งเก่า ของยุ้ย ปัทมวรรณ เค้ามูลคดี
ไพเราะมาก เนื้อหากินใจ จึงอยากนำมาบันทึก ให้ เพื่อนพ้อง น้องพี่ ได้ รับรู้ และฟังกับ ( อันนี้ต้องรบกวน หนุงหนิง หามาแปะ นะครับ )




                                              "พ่อคนดีทีหนึ่ง\\\" ของ ยุ้ย ปัทมวรรณ เค้ามูลคดี  


แล้วก็ขอร่วมอวยพรให้คุณพ่อของเพื่อนพ้องน้องพี่ทุกคน
มีสุขภาพแข็งแรง ห่างไกลจากโรค สมปรารถนาทุกประการ กายสบาย ใจสบายตลอดปีและตลอดไปครับ




       จะกี่ พ.ศ.พ่อ ก็ยังเป็นหนึ่ง
 ทุกห้วงคำนึงพ่อคือ พระเอกในใจ
       ภาพพ่องดงามตั้งแต่ ลูกจำความได้
 ไม่มีผู้ชายคนไหน  ที่ รัก ลูกได้เหมือนพ่อ.

                เหนื่อยไม่เคยท้อขอ ให้ครอบครัวอุ่น
                       เป็นหลังคาบุญคุ้มใจปลอดภัยเพียงพอ
                          รักมากทุกวันถึงแม้ไม่เคยบอกพ่อ
                         ในใจ ลูกคนนี้หนอ  บูชา พ่อทุกเส้นทาง


                             .อยากบอกดังๆว่าลูก คนนี้รักพ่อ
                             อยาก จะขอร้องเพลง ให้พ่อ ฟัง
                             อยากบอกดังๆว่าลูก คนนี้รักพ่อ
                             อยาก จะขอร้องเพลง ให้พ่อ ฟัง.
                                     เหนื่อย มามากนักลูกอยาก ให้พ่อพักบ้าง
                                     สิ่งที่พ่อหวังปล่อยวาง ให้ลูกสานต่อ


                จะกี่ พ.ศ.พ่อ ก็ยังเป็นหนึ่ง
                กี่ความคิดถึง กี่รัก ตอบแทนไม่พอ
                 เทิด เหนือดวงใจ คือชาย ที่ชื่อว่าพ่อ
                  พระเอกรูปหล่อ ในใจ ของลูกตลอดกาล


                                          ....ดนตรี..........

                                        .อยากบอกดังๆว่าลูก คนนี้รักพ่อ
                                        อยาก จะขอร้องเพลง ให้พ่อ ฟัง
                                              อยากบอกดังๆว่าลูก คนนี้รักพ่อ
                                             อยาก จะขอร้องเพลง ให้พ่อ ฟัง.
                                                      เหนื่อย มามากนักลูกอยาก ให้พ่อพักบ้าง
                                                           สิ่งที่พ่อหวัง ปล่อยวาง ให้ลูกสานต่อ

                                จะกี่ พ.ศ.พ่อ ก็ยังเป็นหนึ่ง
                                 กี่ความคิดถึง กี่รัก ตอบแทนไม่พอ
                                 เทิด เหนือดวงใจ คือชาย ที่ชื่อว่าพ่อ
                                  พระเอกรูปหล่อ  ในใจ ของลูกตลอดกาล
                                  พระเอกรูปหล่อ  ในใจ ของลูกตลอดกาล

                                        ...................................................


สัญญาว่า วันที่ 31 มค. ที่ไปเชียร์บอลประเพณี จะร้องเพลงนี้ ให้ทนฟังกัน บนรถบัส ใครทนไม่ได้ให้หนีไปนั่งคันอื่น


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: seree_60 ที่ 12 ธันวาคม 2551, 17:01:56
ป้าแจ่ม ตอนนี้ หาเพลงรัตติกาลได้แล้ว เสียกเพรียกจากมาตุภูมิ คนทำทาง อยากให้ความรักแก่คนทั้งโลก จากภูพานถึงลานโพธิ์
กำลัง copy อยู่ รับรองว่าได้ฟังแน่นอน


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Aj.O ที่ 13 ธันวาคม 2551, 12:53:02
อ้างถึง
ข้อความของ seree_60 เมื่อ 11 ธันวาคม 2551, 21:31:14
เกร็ดเล็ก เก็ดน้อย ของเพลง อยากให้ความรัแก่คนทั้งโลก

เพลงอยากให้ความรักแก่คนทั้งโลก เดิมเป็นผลงานการร้องของคีตาญชลี
แต่พอเมื่อแกรนด์เอ็กซ์ ศิลปินอันดับหนึ่งขวัญใจวัยรุ่นในขณะนั้นได้ นำบทเพลงเพื่อชีวิตเพลงนี้มาทำใหม่
กลับประสบความสำเร็จมากกว่าต้นฉบับซึ่งมียอดขายได้ไม่มาก
เนื่องจากผลงานของคีตาญชลีเป็นผลงานที่ไม่สามารถกระจายสู่ท้องตลาดมากนัก

 ในขณะที่แกรนด์เอ็กซ์ไม่ว่าจะออกชุดใดก็แล้วแต่ล้วนประสบผลสำเร็จแทบทั้งสิ้น
 จนมีสื่อโปรโมทมากมาย แม้แต่นิตยสารของตนเองก็เคยทำขายมาแล้ว
ทำให้หลายคนคนเข้าใจว่าเพลงนี้แกรนด์เอ็กซ์ร้องเป็นต้นฉบับหรือไม่ ทำไมถึงโด่งดังขนาดนี้

คำตอบก็คือว่าไม่ใช่

คงคล้ายๆเพลง ดอกไม้ให้คุณ ของลุงหงาคาราวาน ที่น้าแจ้ดนุพล เอามาขับร้อง จนโด่งดังกว่าต้นตำรับ
จะว่าไป เพลงเพื่อชีวิตแบบ ลุงหงา เนี่ย ฟังสบายกว่าเพลงเพื่อชีวิตแนวปลุกใจเสือป่า(ไม่ใช่อย่างว่านะ)...หมายถึงแนวชักนำให้รบกับชนชั้นนำน่ะ


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: seree_60 ที่ 15 ธันวาคม 2551, 13:24:48
จารย์ โอ เรื่องราวในสังคม ก็ คือ การต่อสู้ทางชนชั้น ที่ผ่านมา มีแต่ ชนชั้นสูง หรือ คนมีเงินเท่านั้น ที่เปลี่ยนหน้ากัน เข้ามาปกครอง ประเทศ
ไม่เคยปรากฏว่า ชนชั้นล่างจะเข้ามามีอำนาจได้ แม้ว่า ทักกี้ จะมองเห็นความสำคัญของรากหญ้า ก็แค่หลอกมาเป็นเครื่องมือ ในการครองอำนาจ ของเขา โดยการโยน เศษเงินเล็กๆน้อยมาให้ แต่คนที่อำนาจที่แท้จริง คือ นายทุน นั่นแหละ จะเน อำมาตร หรือ นายทุน ก็ไม่ต่างกัน อย่างที่เขาว่า


ชนชั้นใด เขียนกฏหมาย ก็เขียน เพื่อ ประโยชน์ของชนชั้นนั้น


การต่อสู้ในอดีต จึงเป็นการต่อสู้ ระหว่าชนชั้น
ดังนั้น บทเพลงในครั้งนั้น จึงเป็นปลุกระดม ให้ ประชาชน ลุกขึ้นมาปลดแอก จากชนชั้นปกครอง
ดังนั้ อย่ารังเกียจเลย ในบทเพลงดังกล่าว หากน้อง เกิด ในสมัยนั้น ก็จะเข้าใจถึงความคับแค้น เจ็บแค้น จากการ กลั่นแกล้ง จับเข้าคุก
หรือ เข่นฆ่า เหมือนผัก ปลา จึงลุกขึ้นสู้ เหมือนพี่น้อง 3 จังหวัด ภาคใต้ ที่ลุกขึ้นมาสู้ แต่ จะผิดถูกอย่างไร ไม่ขอออกความเห็น
มีบทเพลงที่อยากนำเสนอ ให้เห็นถึงความเจ็บช้ำของชาวนา คือ

 เพลง  อาลัยพ่อหลวงอินถา" (ทำนองเพลง "วอนผีพ่อ")

 ซึ่งเนื้อหาสะท้อนภาพเหตุการณ์การลอบสังหารพ่อหลวงอินถา ศรีบุญเรือง เลขาธิการสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ภาคเหนือ เมื่อปี 2518

พ่อหลวงอินถา ศรีบุญเรือง

ประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ภาคเหนือ

และรองประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย


                ในปี 2518 พ่อหลวงอินถา ศรีบุญเรือง ประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ อำเภอสารถี
ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ภาคเหนือ ขณะที่ อ้ายโต๊ะ ตุลาทา ประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่อำเภอแม่ริม
ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่จังหวัดเชียงใหม่ พ่อหลวงอินถา อดีตผู้ใหญ่บ้านป่าบง
 มีลักษณะปราชญ์ท้องถิ่น มีความรู้ดี รูปร่างบอบบาง บุคลิกดี เป็นคนธรรมะธัมโม ใจดี
 มีรอยยิ้มที่ดึงดูดผู้คนให้เคารพนับถือ ขึ้นปราศรัยต่อหน้ามวลชนเรือนหมื่น
 ด้วยน้ำเสียงไพเราะรื่นหูและเด็ดเดี่ยว จึงสร้างพลังสามัคคีและความมั่นใจตนเองให้เกิดขึ้นในหมู่ชาวนาชาวไร่
 เมื่อพ่อหลวงอินถา นำกำลังชาวนาชาวไร่ไปสมทบสนับสนุนการต่อสู้ของชาวนาชาวไร่ทั่วประเทศ ที่สนามหลวง
ระดับทางการเมืองและความเป็นผู้นำยิ่งโดดเด่นขึ้นไปอีก

                ชัยชนะและการเติบโตของชาวนาชาวไร่ สร้างความเสียหายต่อผลประโยชน์ของเจ้าที่ดิน
 บรรดาผู้หวังฮุบที่ดินว่างเปล่าเป็นของตนเอง และบรรดาชนชั้นปกครองทุกระดับที่รู้สึกเสียหน้าเสียอำนาจลงไป
ได้ก่อกระแส ‘ขวาพิฆาตซ้าย’ ขึ้น ผู้นำสหพันธ์และกรรมการสหพันธ์ฯตั้งแต่ระดับหมู่บ้านขึ้นไป ถูกลอบสังหารคนแล้วคนเล่า
 ในระหว่างปี 2517 – 2519 มีผู้นำสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ภาคเหนือถูกลอบฆ่าไปเกือบ 40 คน
 นับว่าเป็นสภาพที่น่าอเนจอนาถมาก ด้วยความห่วงใยต่อพ่อหลวงอินถา
 พวกเราบางคนได้หาอาวุธปืนสั้นไปให้พ่อหลวงอินถาพกเพื่อป้องกันตัว ด้วยความเป็นคนใจดีและไม่คิดทำร้ายใคร
พ่อหลวงอินถาได้เอาปืนกระบอกนั้นไปซ่อนไว้ที่ยอดต้นมะพร้าวหน้าบ้าน ไม่ได้นำติดตัวไว้แต่อย่างใด
ในที่สุดมือปืนได้ลอบยิงพ่อหลวงอินถาถึงแก่ความตายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2518

                พ่อหลวงอินถาจากไปด้วยความอาลัยโศกเศร้าและเคียดแค้นของชาวนาชาวไร่และผู้รักความเป็นธรรมทั่วประเทศ
วงดนตรีของนักศึกษายุคนั้นได้แต่งเพลง ‘พ่อหลวงอินถา’ เพื่อไว้อาลัยและให้เกียรติแก่ผู้นำชาวนาชาวไร่ท่านนี้
ขึ้นต้นว่า “ปืนที่ดังสิ้นสั่งสิ้นเสียง เหลือเพียง เหลือเพียงแต่ร่างพ่ออินถา...”
 บรรดานักศึกษาทั้งในเชียงใหม่และจากส่วนกลางหลายร้อยคนได้กระจายกันลงพื้นที่หมู่บ้านต่างๆ ทั่วเชียงใหม่-ลำพูน
เพื่อปลุกขวัญและให้กำลังใจแก่ชาวนา ผลของการลอบสังหารผู้นำชาวนาชาวไร่ยิ่งทำให้การต่อสู้ในเขตชนบทขยายตัวไปมากยิ่งขึ้น[/b]


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: seree_60 ที่ 15 ธันวาคม 2551, 14:17:50


ลูกทุ่งในสถานการณ์สู้รบ
"อาลัยพ่อหลวงอินถา"



ในบันทึกแห่งตำนานเพลงเพื่อชีวิต ยุคหลัง 14 ตุลา
 ทุกคนจะจับจ้องไปที่ "คาราวาน" และ "กรรมมาชน"
ไม่มีใครพูดถึงวงดนตรีของนักศึกษารามคำแหงกลุ่ทหนึ่งมากนัก
 หรืออาจจะถูกหลงลืมไปเสียด้วยซ้ำ

วงดนตรีที่ว่านี้คือ "ลูกทุ่งสัจจธรรม" ซึ่งก่อเกิดขึ้นในรั้วลูกพ่อขุนในยุคที่ "พรรคสัจจธรรม"
 ยึดกุมชัยชนะเหนือพรรคคู่แข่ง และได้เข้าบริหารองค์การนักศึกษารามคำแหง (อศ.มร.) ปี 2518
 และนอกจากวงดนตรีลูกทุ่ง ก็ยังมีวง"โคมฉาย" ที่ร่วมเคลื่อนไหวในการชุมนุมของชาวนาและกรรมกรทั่วประเทศ

 บทเพลงของวงลูกทุ่งสัจจธรรม ที่ได้รับความนิยมในพ.ศ.โน้น มีอยู่หลายเพลง
แต่เพลง "อาลัยพ่อหลวงอินถา"
จะเป็นเพลงเปิดวงในทุกครั้งที่ไปทำการแสดงในหมู่พี่น้องชาวนาชาวไร่ในต่างจังหวัด.......

                                            อาลัยพ่อหวงอินถา
.
                         ปืน...ที่ดังสิ้นสั่งสิ้นเสียง
                         เหลือเพียงๆแต่ชื่อพ่ออินถา
                      ทิ้งแนวร่วมชาวนา
                      พ่ออินถาเหมือนเป็นเช่นร่มไทร
                      วิญญาณ...พ่ออยู่แห่งไหน
                       ทุกคนแสนห่วงอาลัย
                         ทุกคนร้องไห้  พากันหลั่งน้ำตา

                (แหล่) จากไปแล้ว  ไปลับไม่กลับแน่ หมดหนทางแก้ทุกคนเฝ้าบ่นหา
            ไอ้คนโหดอำมหิตปลิดชีวา เลือดพ่อทาแผ่นดินก่อนสิ้นใจ
            อำนาจอันชั่วช้าพร่าชีวิต โลมโลหิตพร่างพื้นสะอื้นไหว
          ศพทุกศพสืบทอด ตลอดไป สั่งสอนให้จดจำเป็นตำนาน

         ว่าพ่อเอ๋ย...ว่าพ่อเอ๋ย   พ่ออินถาอย่าเป็นห่วง ลูกจะทวงเลือดหลั่งอย่างห้าวหาญ
         ปืนกับปืนยืนหยัดขึ้นรอนนาญ เลือดกับเลือดจะเดือดพล่านทุกย่านไป
         เมื่อแผ่นดินเคยตรากตรำถูกจำกัด ย่อมวิบัติหมดสิ้นแผ่นดินไหน
               เมื่อจะมาอวดเบ่งข่มเหงใจ ศพต่อศพก็แลกได้อย่างไม่กลัว

            วิญญาณพ่ออินถา...วิญญาณพ่ออินถาอย่าเป็นห่วง
             บ่าทั้งปวงรับแอกหนักจักเงยหัว
             หากใครมันเหลิงอำนาจขลาดเมามัว  ไอ้เลือดชั่วจะต้องตาย ทลายลง

                        หลับเถิดพ่อหลับไปให้สนิท แบบชีวิตพ่อเป็นหลักจักสูงส่ง
                        ถ้าลูกยังสู้ได้ไม่ตายลง จะยังคงเจตนา...ชั่วฟ้าดิน


บทเพลงนี้วงลูกทุ่งสัจธรรมแต่งเพื่อรำลึกการจากไปของพ่อหลวงอินถา ศรีบุญเรือง
ประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ภาคเหนือ และรองสหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย

ย้อนไปเมื่อต้นปี 2517 ชาวนาชาวไร่ยกขบวนเข้ามาเรียกร้องให้รัฐบาลพระราชทาน
 จัดการปัญหาการไร้ที่ดินทำกิน และปัญหาหนี้สิน ขบวนแล้วขบวนเล่า จวบจนวันที่ 19 พฤศจิกายน 2517
จึงมีการประกาศจัดตั้ง "สหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย" ที่มี ใช่ วังตะกู
 เป็นปรธาน การต่อสู้ของสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ฯดำเนินไปอย่างเข้มข้น
 จนมีการเผชิญหน้ากับกลุ่มนายทุนแบบตาต่อตา ฟันต่อฟัน
 อันนำไปสู่การลอบสังหารผู้นำชาวนาในหลายจังหวัดภาคเหนือและภาคอีสาน

แล้วก็ถึงวันสูญเสียครั้งสำคัญของขบวนการชาวนาไทย.
..เมื่อ 30 กรกฎาคม 2518 พ่อหลวงอินถา ถูกลอบยิงเสียชีวิตที่บ้านพัก ต.ป่าบง อ.สารภี จ.เชียงใหม่
และเป็นความตายที่ปลุกกระแสชาวนาให้ลุกขึ้นสู้ทั่วไทย

ท่วงทำนองดนตรีอันโหยไห้อาลัยหาของเพลง "วอนผีพ่อ"
 ที่ครูจิ๋ว พิจิตร ฟระพันธ์ให้ กังวานไพร ลูกเพชร ขับร้อง
ในช่วงที่แยกตัวออกมาตั้งวง "ศิษย์สุรพล"
 จึงถูกนำมาประยุกต์เข้ากับเนื้อหาของเพลงปห่งการรำลึกและบันทึกชีวิตผู้นำชาวนา
โดยสมาชิกวงลูกทุ่งสัจจธรรม


   
 
 


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: khesorn mueller ที่ 15 ธันวาคม 2551, 21:01:31
อ้างถึง
ข้อความของ seree_60 เมื่อ 07 ธันวาคม 2551, 21:17:09
    วันนี้อยากเเสนอเพลงที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน คือ การเมืองใหม่ ที่จะนำความ สุข สงบกลับมายังบ้านเมืองของเรา นั่นคือ เพลง
                                         ฟ้าใหม่

                     
       โน่น ขอบฟ้าเรืองรอง   ทาบทองอำไพ
                                       ใสสดงามตา
                     คือฟ้าใหม่ใกล้มา   นำมวลทาสเป็นไทย

                                                   อาบด้วยแสงเสรี   ภราดรธรรม
                                                  ฟุ้งเฟื่องประจำ   งามล้ำกว่าก่อนไกล    ชีพสดใสเริงรื่น

                                     เร็วลุกขึ้นเถิด   เร็วลุกขึ้นเถิด   ทุกชั้นชนไทย
                                ชนผู้รักชาติ   รักความเป็นไทย     จงสามัคคี

                     เร็วลุกขึ้นเถิด   เร็วลุกขึ้นเถิด ทุกชั้นชนไทย
                             พร้อมใจกัน  ก้าวตรงไป    สู่ไทยเสรี "
 
คุณภาพเสียงไม่ค่อยดีคะ
และฟังตรง...ไม่ได้!!
ขอถาม mentorก่อนค่ะ
http://fb.esnips.com//escentral/images/widgets/flash/esnips_player.swf

http://www.esnips.com/doc/15855fe9-dae9-4554-bd27-1ff95b7f94c3/002%20%3F%3F%3F%3F%3F%3F%3F


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: khesorn mueller ที่ 15 ธันวาคม 2551, 21:39:11
หายากขึ้นเรื่อยๆ
sheเริ่ม...มาตรการ
"ตามใจฉัน!"
http://www.youtube.com/v/m5zWwaj8mtw&hl=en&fs=1.swf


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Aj.O ที่ 17 ธันวาคม 2551, 18:00:18
 
อ้างถึง   
จารย์ โอ เรื่องราวในสังคม ก็ คือ การต่อสู้ทางชนชั้น ที่ผ่านมา มีแต่ ชนชั้นสูง หรือ คนมีเงินเท่านั้น ที่เปลี่ยนหน้ากัน เข้ามาปกครอง ประเทศ
ไม่เคยปรากฏว่า ชนชั้นล่างจะเข้ามามีอำนาจได้ แม้ว่า ทักกี้ จะมองเห็นความสำคัญของรากหญ้า ก็แค่หลอกมาเป็นเครื่องมือ ในการครองอำนาจ ของเขา โดยการโยน เศษเงินเล็กๆน้อยมาให้ แต่คนที่อำนาจที่แท้จริง คือ นายทุน นั่นแหละ จะเน อำมาตร หรือ นายทุน ก็ไม่ต่างกัน อย่างที่เขาว่า

ชนชั้นใด เขียนกฏหมาย ก็เขียน เพื่อ ประโยชน์ของชนชั้นนั้น

ครับ ผมก็ว่าทักกี้แค่หลอกใช้คนรากหญ้าเท่านั้นแหละ ตรงนี้เห็นด้วย
แต่การที่อยู่ดีๆ จะให้ชนชั้นล่างขึ้นมาปกครองแบบพลิกแผ่นดินเนี่ย ผมว่ามันอิมพอสสิเบิ้ล?
หรือถ้าต่อให้ทำอย่างนั้นได้จริง ก็เกิดภาวะอนาธิปไตยแน่นอน(แบบรัฐบาลเขมรแดง หรือบอลเชวิคยุคสตาลิน)
แต่ก็เข้าใจ(ที่พี่ seree เคยกล่าวมา)ว่า การให้ความรู้กับชาวบ้านในบางสมัยมันยาก  เพราะรัฐมีสภาพเผด็จการมาก...
แต่คำถามคือ ชนชั้นนำบางสมัย อย่าง รัฐบาลสัญญาธรรมศักดิ์, เสนีย์ปราโมช, เกรียงศักดิ์ชมะนันทน์ หรือพลเอกเปรม ฯลฯ เลวร้ายมากถึงขนาดต้องโค่นล้ม แบบรัฐบาลถนอม&ประภาส หรือรัฐบาลธานินทร์ เลยหรือเปล่า?

จะว่าไป บางทีผมอาจสับสนในตัวเองก็ได้ ผมอาจจะไม่ได้เกลียดเพลงปฏิวัติ(ซึ่งเป็นคนละสไตล์กับเพลงเพื่อชีวิต)แต่เกลียดคนนำไปใช้(บางคน) มากกว่า
เช่น ไอ้จิ้นกรรมาชน ที่เอาเพลงปฏิวัติมาใช้เพื่อต่อต้านพันธมิตร  หรือไอ้ใจ(อึ้ง)ที่มักเอาเพลงปฏิวัติมาใช้เพื่อเสียดสีสถาบันฯ
(เพลงปฏิวัติไทยส่วนมากไม่ได้ตั้งใจสร้างมาชนกับสถาบันฯโดยตรง)เพราะสถาบันฯหมดอำนาจทางการเมืองไปตั้งแต่ปี 2475 แล้ว(ที่เหลือเป็นอำนาจตามประเพณีเท่านั้น)  ในขณะที่รัสเซียตอนที่พรรคบอลเชวิคจัดตั้งขึ้น ยังอยู่ในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชอยู่ สถาบันกษัตริย์มีอำนาจเต็มที่ พลเมืองไม่พอใจกับการใช้อำนาจของขุนนางที่ขึ้นตรงต่อสถาบันฯ เลยสนับสนุนบอลเชวิคให้โค่นสถาบันฯ
พวก"ซ้ายในซ้าย"(ที่ผมเคยเล่าให้พี่หนุงหนิงฟัง อย่างไอ้หัวโต)มักชอบเอา พคท.ไทย ไปเทียบกับของรัสเซีย ซึ่งมันคนละกรณี(แม้จุดมุ่งหมายโดยรวมจะคล้ายกัน แต่กลุ่มบุคคลที่เป็นเป้าหมายต่างกัน)
พวกนี้จะด่า"สหายเก่า"ที่เคยเข้าป่า อย่าง อ.ธีรยุทธที่เคยเขียนบทความเชียร์พลเอกเปรม(เมื่อสองปีก่อน) ด่าว่าธีรยุทธเป็นซ้ายเทียม ซ้ายแท้ต้องพวกข้าเท่านั้น ไม่เขียนเชียร์อะไรที่เกี่ยวกับสถาบัน(แต่เสือกเชียร์นายทุนใหญ่อย่างทักกี้ได้ แปลกเนอะ?)
ทั้งที่พวกมึงไม่เคยจับปืนรบกับตำรวจหรือทหารเลยสักแอะ ไม่ว่าจะเป็นไอ้หัวโต หรือไอ้ใจ(ม๋า)
...ธีรยุทธ, เสกสรรค์ พิภพธงชัยฯลฯ เค้าเคยรบจริงๆมาแล้ว


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: Aj.O ที่ 17 ธันวาคม 2551, 18:14:12
ไอ้จิ้นกรรมาโจร อาจจะเคยถูกใส่ความ จนต้องออกรบในป่ากับ พคท.ก็จริง
แต่ทุกวันนี้ล่ะ มันลืมเรื่องตอนนั้นไปแล้วเหรอ? ถึงเชียร์ภาพการปราบปรามยาเสพติด(โดยไม่ผ่านกลไกตุลาการ)ของรัฐบาลทักกี้?
ข้างล่างนี่เป็นบทความที่ ไอ่จิ้น มันเผยแพร่ในหมู่ นปก.(แนวร่วมเป็ดไก่)

 
อ้างถึง   
วาทกรรมระบอบทักษิณ ผมก็งง มันคืออะไร มันต่างกับระบอบประชาธิปไตยอย่างไร ต่างจากระบอบเปรมอย่างไร ต่างจากระบอบอำมาตยาธิปไตยอย่างไร อย่างน้อยๆ เขาก็ยังมาจากการเลือกตั้ง ทักษิณเขาไม่ใช่คนที่เพอร์เฟ็กต์ เป็นนักการเมือง ถามว่าถึงขั้นเป็นรัฐบุรุษหรือยัง ก็ยังไม่ถึง ก็มีข้ออ่อน ข้อดี ก็ว่ากันไปตามเนื้อผ้า ในบางด้านเขาก็ทำไม่ดี แต่ในด้านเศรษฐกิจเขาทำได้ดีมาก อย่างน้อยๆ ไทยก็หลุดพ้นจากไอเอ็มเอฟ (กองทุนการเงินระหว่างประเทศ) ในแง่ทางการเมืองเราก็มีสิทธิเสรีภาพ อย่างน้อยๆ ก็ด่าทักษิณได้เต็มปากเต็มคำ โดยที่ไม่โดนจับติดคุกว่าอย่างนั้นเถอะ ด่าเขาได้เต็มปากเต็มคำ ออกสื่อได้ทุกสื่อ และในด้านสังคม เขากล้าหาญที่จะปราบปรามยาเสพติดกับพวกมาเฟีย พวกนอกระบบ ไม่ว่าหวย บ่อน การพนันต่างๆ เขากล้านะ ถ้าผมมีเงินหมื่นล้านเหมือนอย่างเขานะ โอ้โห ต้องคิดหนักว่าผมจะเล่นการเมืองเพื่อเอาชีวิตมาเสี่ยงกับตรงนี้หรือเปล่า"
http://www.chiangmainews.co.th/webboard/viewtopic.php?id=00006779

ฮ่าฮ่าฮ่า ตลกเฟ้ย! emo5:(
1) แล้วใครบ้างที่มีส่วนทำให้เงินบาทลอยตัว ในยุคบิ๊กจิ๋วเป็นนายกฯ ? ปชป.งั้นเหรอ? หรือพวกทักกี้(ที่มันตุนดอลลาร์ไว้ในกระเป๋า)กันแน่?
2) ก่อนเดือนสิงหาฯ ก็มีการชุมนุม ด่า พล.อ.สนธิ  ด่า พล.อ.เปรม ตั้งมากมาย? ไม่เห็นจะมีใครเอาผิดเลย?(ผมก็เคยกลัวเหมือนกันว่า คมช.จะบ้าอำนาจแบบเผด็จการทหารในอดีต...แต่ตอนนี้เปลี่ยนมุมมองไปมากแล้ว) รัฐบาลสุรยุทธสลายม็อบไม่มีคนตายสักคน..ทำไมรัฐบาลนอมินี่แม้ว สลายม็อบจนมีคนตายไปแล้วสองสามคน?
3) อ้อ..ที่แท้ ไอ้จิ้น ก็นิยมศาลเตี้ย ฆ่าตัดตอนด้วยกะเค้าเหรอ? ทั้งที่ตัวเองก็เคยโดนไล่ปราบปราม(โดยไม่มีโอกาสแก้ต่าง)มาก่อน  ต่างกันแค่ว่า ตอนนั้นเค้าอ้างว่าปราบคอมฯ  แต่ตอนนี้เค้าอ้างว่าปราบมาเฟียยาเสพติด?  แต่สรุปก็คือเป็นการปราบโดยไม่ผ่านกลไกตุลาการ เหมียนกัน?...แล้วมันต่างกันตรงไหน? โธ่ไอ้ควายลืมตรีน emo26:D


หัวข้อ: Re: ผลึกแห่งชีวิตและเสียงเพลงปฏิวัติไทย
เริ่มหัวข้อโดย: khesorn mueller ที่ 17 ธันวาคม 2551, 18:23:43
ชื่อจัดตั้งล้วนโลดโผน!
ชื่อธรรมดาพี่ก็เค้นอองออกันจะแย่แล้วคะ
แต่ตามสบายคะ...แต่ละชื่อล้วนให้ภาพ!
แต่คุณเป็ดสุดหล่อของพี่น่ะ....แหมนะ...
ห้อยงี้ สามinter-combinationงี้...โลดโผนไม่แพ้กัน

ต่อค่ะ!นี่แค่อู้ฆ่าเวลาช่วงหาเพลงแปะ!

p.nn