หัวข้อ: อภิชาตบุตร เริ่มหัวข้อโดย: ปุจฉา ที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551, 17:41:17 ขออนุญาตเอาข้อความ ในกระทู้ ของเวปมาสเตอร์ มาขยายผลต่อเนื่องเจ้าค่ะ
ท้าวความเดิม ถ้าบิดา-มารดา เป็นพุทธศาสนิกที่ดีในระดับโลกียธรรม และมุ่งหวังให้ลูกเจริญทางโลกและดำรงชีวิตด้วยฆราวาสธรรม แต่ลูกเป็นอภิชาติบุตร มุ่งศึกษาในระดับโลกุตรธรรม จึงละทิ้งบ้านเรือน ละทิ้งอาชีพที่กำลังรุ่งโรจน์ ขอไปปฏิบัติธรรมเพื่อจะได้หลุดพ้นจากสังสารวัฏฏ์ ให้ได้ โดยไม่ฟังคำทัดทานใดๆ จากบิดามารดา เป็นเหตุให้บ้านที่เคยเป็นสุข มีชีวิตชีวา กลายเป็นความเงียบเหงาและตึงเครียด เป็นทุกข์และหดหู่ มารดาเต็มไปด้วยความอาลัย โศกเศร้า บิดาเสียใจมาก และได้กระทำกรรมชั่วขึ้น คือพาลโกรธพระสงฆ์ หมดศรัทธาที่จะปฏิบัติตัวเป็นพุทธมามกะที่ดีอย่างที่เคยทำ หลายครั้งล่วงเกินพระสงฆ์ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ สร้างมโนทุจริต วจีทุจริต บ่อยๆ ปุจฉา 1.ลูกที่เป็นต้นเหตุความทุกข์ของบ้าน จะถือว่าเป็นสุขบนความทุกข์ของบิดามารดาหรือไม่ 2.จากความทุกข์ที่ได้รับจากการละทิ้งบ้านของลูก ทำให้บิดาได้ทำกรรมชั่วเพิ่มขึ้นดังกล่าว ลูกที่เป็นต้นเหตุแห่งความเสียใจนั้น จะได้รับกรรมจากการละทิ้งบิดามารดาหรือไม่ อย่างไร 3.ถ้าท่านเป็นผู้ที่จะต้องเยียวยา ครอบครัวนี้จะทำอย่างไร พระอาจารย์ วิสัชนา ว่า เหตุการณ์ตามคำถามข้างต้นเคยเกิดขึ้นมาแล้วในสมัยพุทธกาลกับครอบครัวของเจ้าชายสิทธัตถะ คงพอจะจำกันได้ในพุทธประวัติ วิชาศีลธรรม และจากโศกนาฏกรรมครั้งนั้น ทำให้พระพุทธศาสนากำเนิดขึ้นหลังจากนั้นอีกหกปีต่อมา หากใครสักคนที่ได้รับความร่มเย็นจากร่มเงาของพระศาสนา ก็ไม่ควรลืมโศกนาฏกรรมในครั้งนั้น ปุจฉาข้อ๑. ลูกมิได้เป็นต้นเหตุของความทุกข์ในบ้าน ต้นเหตุของความทุกข์ในบ้านเกิดจากความเห็นของบิดามารดาต่างหาก ถ้าเปลี่ยนความเห็นของบิดามารดาเสีย คือต้องการอยากให้ลูกออกบวช ละทิ้งทางโลก เมื่อลูกออกบวช บิดามารดาก็เป็นสุขเหตุการณ์เหมือนเดิมทุกอย่าง คือลูกออกบวช แต่คราวนี้บิดามารดากลับเป็นสุข ในมุมกลับหากบิดามารดาใดต้องการให้ลูกบวช แต่ลูกไม่ยินยอม บิดามารดาก็เป็นทุกข์เช่นกัน ความสุขและความทุกข์ล้วนแล้วแต่เกิดจากความเห็นทั้งสิ้น ปุจฉาข้อ๒. ลูกมิได้มุ่งหวังให้บิดามารดาทำกรรมชั่วใดๆ กรรมชั่วนั้นเกิดจากความเห็นผิดของบิดามารดาเองทั้งสิ้น เมื่อลูกมิได้มุ่งหวังให้บิดามารดาทำกรรมชั่ว ลูกจึงมิต้องรับกรรมใดๆ และหากศึกษาประวัติของครูบาอาจารย์ทั้งในสมัยพุทธกาล จนถึงสมัยปัจจุบัน จะเห็นว่าส่วนใหญ่แล้วบิดามารดาของท่านเหล่านั้น สุดท้ายก็หันกลับมาเดินตามรอยท่าน คือมีศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่งๆ ขึ้นไป ปุจฉาข้อ๓.ให้ความเห็นที่ถูกต้อง ชี้ให้เห็นว่าความเจริญในทางโลก ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สมบัติ ชื่อเสียง เกียรติยศสิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ไม่ได้ทำให้ผู้ครอบครองมีความสุขอย่างแท้จริง ความสุขที่แท้จริงคือการศึกษาให้เข้าใจธรรมชาติของชีวิต ทุกวันนี้ที่คนเป็นทุกข์กันก็เพราะไม่เข้าใจธรรมชาติของชีวิต เมื่อชีวิตแสดงความเป็นธรรมชาติออกมาก็ยอมรับไม่ได้ ส่วนท่านผู้ที่เข้าใจแล้ว ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับชีวิต ท่านเหล่านั้นล้วนยอมรับได้หมด เพราะนั่น ! เป็นธรรมชาติของชีวิต :idea: :idea: :idea: หัวข้อ: อภิชาตบุตร เริ่มหัวข้อโดย: ปุจฉา ที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551, 18:30:09 กราบนมัสการพระอาจารย์
ในการ ถามตอบ ย่อมมีส่วนของการไม่เห็นด้วย อาจโต้แย้งให้สิ้นความสงสัย หรือเอาความเห็นแย้งที่เคยได้ยินมา มาตอบโต้ สนทนา หรือเสวนา ประหนึ่งคนในเพศระดับเดียวกัน ก็เพิ่งจะรู้ชัดว่า พระอาจารย์เป็นภิกษุ ก็ขยาดไป ด้วย บารมีแห่งเพศบรรพชิต ทำให้ฝ่อโดยอัตโนมัติเจ้าค่ะ ดังนั้น จึงขอกราบนมัสการ ขออโหสิกรรมล่วงหน้า หากได้พลั้งเผลอล่วงเกิน ใดๆ ขอพระอาจารย์เมตตา อโหสิให้ ได้โปรดงดซึ่งโทษล่วงเกินนั้นๆด้วยเถิด ประเด็น ปุจฉา เจ้าค่ะ จากเรื่องอภิชาติบุตรข้างต้น อันที่จริงการทำให้พ่อแม่ เป็นทุกข์ ลูกจะไม่เกิดบาปกรรมเลยหรือเจ้าคะ หรือว่า พ่อ แม่และ ลูกคนนี้ มีกรรมที่ต้องชดใช้กันในเรื่องการทำร้าย จิตใจกันมาก่อน นอกจากนี้ยังมีพระสงฆ์ที่จัดว่าเป็นพระสุปฏิปันโน รูปหนึ่ง ท่านเล่าว่า ท่านจะออกจากบ้านมาบวช แม่ของท่านร้องไห้น้ำตาแทบเป็นสายเลือด น่าเวทนา แต่ท่านบอกว่าใจท่านแน่วแน่ ขนาดต่อให้แม่ร้องจนขาดใจตายลงตรงหน้า ท่านก็จะยังออกมาบวชอยู่ดี ดิฉันเองก็ยังข้องใจเสมอมาเจ้าค่ะ ถ้าแม่เกิดตายลงด้วยเสียใจ อาลัยลูกที่ออกบวช แล้วลูกจะไม่ได้รับผลกรรมเลยหรือ เจ้าคะ และเป็นไปได้หรือไม่ ที่ผลกรรมจนอาจขัดขวางการบรรลุธรรมของลูกได้ ทั้งนี้เพราะพระท่านสอนเหลือเกินถึงความยิ่งใหญ่แห่งพระคุณแม่ กราบนมัสการเจ้าค่ะ บัวติดตม [/color] หัวข้อ: อภิชาตบุตร เริ่มหัวข้อโดย: วิสัชนา ที่ 05 มีนาคม 2551, 20:27:14 อ้างจาก: "ปุจฉา" กราบนมัสการพระอาจารย์ ในการ ถามตอบ ย่อมมีส่วนของการไม่เห็นด้วย อาจโต้แย้งให้สิ้นความสงสัย หรือเอาความเห็นแย้งที่เคยได้ยินมา มาตอบโต้ สนทนา หรือเสวนา ประหนึ่งคนในเพศระดับเดียวกัน ก็เพิ่งจะรู้ชัดว่า พระอาจารย์เป็นภิกษุ ก็ขยาดไป ด้วย บารมีแห่งเพศบรรพชิต ทำให้ฝ่อโดยอัตโนมัติเจ้าค่ะ ดังนั้น จึงขอกราบนมัสการ ขออโหสิกรรมล่วงหน้า หากได้พลั้งเผลอล่วงเกิน ใดๆ ขอพระอาจารย์เมตตา อโหสิให้ ได้โปรดงดซึ่งโทษล่วงเกินนั้นๆด้วยเถิด ประเด็น ปุจฉา เจ้าค่ะ จากเรื่องอภิชาติบุตรข้างต้น อันที่จริงการทำให้พ่อแม่ เป็นทุกข์ ลูกจะไม่เกิดบาปกรรมเลยหรือเจ้าคะ หรือว่า พ่อ แม่และ ลูกคนนี้ มีกรรมที่ต้องชดใช้กันในเรื่องการทำร้าย จิตใจกันมาก่อน นอกจากนี้ยังมีพระสงฆ์ที่จัดว่าเป็นพระสุปฏิปันโน รูปหนึ่ง ท่านเล่าว่า ท่านจะออกจากบ้านมาบวช แม่ของท่านร้องไห้น้ำตาแทบเป็นสายเลือด น่าเวทนา แต่ท่านบอกว่าใจท่านแน่วแน่ ขนาดต่อให้แม่ร้องจนขาดใจตายลงตรงหน้า ท่านก็จะยังออกมาบวชอยู่ดี ดิฉันเองก็ยังข้องใจเสมอมาเจ้าค่ะ ถ้าแม่เกิดตายลงด้วยเสียใจ อาลัยลูกที่ออกบวช แล้วลูกจะไม่ได้รับผลกรรมเลยหรือ เจ้าคะ และเป็นไปได้หรือไม่ ที่ผลกรรมจนอาจขัดขวางการบรรลุธรรมของลูกได้ ทั้งนี้เพราะพระท่านสอนเหลือเกินถึงความยิ่งใหญ่แห่งพระคุณแม่ กราบนมัสการเจ้าค่ะ บัวติดตม วิสัชนา.. อย่ากังวลใจในความเห็นที่ขัดแย้ง ในคำตอบ..ไม่ได้มุ่งหวังให้เชื่อโดยขาดการพิจารณา หากยังมีประเด็นไหนที่ข้องใจอยู่..ก็ควรที่จะซักถามให้กระจ่าง เพราะความเคลือบแคลงสงสัยย่อมกัดกร่อนศรัทธาที่มีต่อพระศาสนา การถามและตอบที่อยู่ในกรอบของเหตุและผล พร้อมทั้งประกอบไปด้วยความใคร่รู้ที่บริสุทธิ์ใจ ย่อมไม่มีโทษใดๆ ทั้งสิ้น บาปและบุญจะเกิดขึ้นได้ต้องประกอบไปด้วยเจตนาในการกระทำนั้นๆ หากการกระทำใดไม่ประกอบไปด้วยเจตนา บาปและบุญก็ไม่เกิดขึ้น ยกตัวอย่างในชีวิตประจำวันของเรา นับตั้งแต่ออกจากบ้านไปทำงาน ไม่ว่าจะขับรถไปหรือเดินออกจากซอย เราเหยียบมดแมลงที่มองไม่เห็นตายไปเท่าไร การขับรถในเวลากลางคืน..ชนแมลงตายนับไม่ถ้วน หากสิ่งเหล่านี้เป็นบาป พวกเราก็คงบาปกันทุกวัน วันละหลายครั้ง พระคุณของพ่อแม่นั้นยิ่งใหญ่แน่นอน แต่ความหมายของการทดแทนคุณหรือการเนรคุณ ไม่ได้หมายความเพียงแค่ทำให้ท่านพอใจหรือเสียใจเท่านั้น หากท่านต้องการให้ทำในสิ่งที่ผิดศีลธรรม เช่นฆ่าสัตว์เพื่อการประกอบอาชีพ แต่เราไม่ยอมทำ ซึ่งก็ทำให้ท่านเสียใจ แล้วอย่างนี้เราบาปหรือเปล่า ถ้าหากเรายอมทำ โดยฆ่าสัตว์ตามที่ท่านต้องการ แล้วอย่างนี้เราไม่บาปหรือ บาปและบุญเป็นกฎของธรรมชาติ มิใช่ขึ้นอยู่กับการทำตามความต้องการของพ่อแม่เพียงอย่างเดียว ถูกอยู่..การทำให้พ่อแม่เสียใจเป็นบาปแน่นอน แต่นั่นต้องพิจารณาเป็นกรณีไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “เจตนา” เรามีเจตนาที่จะทำให้ท่านเสียใจหรือไม่ และความเสียใจของท่านนั้นเกิดขึ้นเพราะความเห็นผิดหรือไม่ ถ้าหากท่านเสียใจเพราะความเห็นผิด อภิชาตบุตรก็ควรที่จะหาทางทำให้ท่านมีความเห็นในทางที่ถูกต้อง เพื่อท่านจะได้ไม่เสียใจอีกต่อไป อุปมาเหมือนกับพ่อแม่ของเราไม่รู้ตัวว่ากำลังเป็นโรคร้าย อีกทั้งยังไม่ยอมรับการรักษา ถ้าเราทราบวิธีการรักษา เราควรจะทำอย่างไร ตามใจท่าน..ไม่รักษาก็ไม่รักษา ปล่อยให้ท่านอยู่กับโรคร้ายต่อไป โดยไม่พยายามขัดใจท่าน หรือควรพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้ท่านเข้าใจและยอมรับการรักษา เพื่อให้ท่านพ้นจากโรคร้าย แม้ว่าจะทำให้ท่านไม่พอใจในเบื้องต้นก็ตาม อีกอุปมาหนึ่ง หากพ่อแม่เป็นโรคร้ายไม่สามารถทานของบางอย่างที่แสลงต่อโรคได้ แต่พ่อแม่ไม่ยินยอมงดเว้นของนั้น ลูกควรตามใจ ปล่อยให้พ่อแม่ทานของแสลงนั้น จนโรคกำเริบขึ้น หรือควรห้ามปรามขัดใจมิให้ท่านทานของแสลงนั้น โลกนี้ประกอบไปด้วยสิ่งมอมเมา มีการเกิดเป็นเบื้องต้น มีความตายเป็นบั้นปลาย ระหว่างทางมีแต่ความเดือดร้อน วุ่นวาย พลัดพราก พระพุทธเจ้าประกาศพระศาสนาก็เพื่อสอนให้มนุษย์หลุดพ้นไปจากโลกที่วุ่นวายนี้ หากเราผู้เป็นลูกเห็นโทษตามคำสอน แล้วเดินตามรอยท่าน ออกบวชเพื่อความหลุดพ้น หลังจากนั้นจะได้กลับมาโปรดพ่อแม่ผู้มีพระคุณให้มีความเห็นที่ถูกต้อง ลูกที่ทำอย่างนี้..เป็นบาปหรือไม่ ขอโยมโปรดพิจารณาด้วย [/color] หัวข้อ: อภิชาตบุตร เริ่มหัวข้อโดย: ปุจฉา ที่ 12 มีนาคม 2551, 11:52:16 กราบนมัสการ
พระอาจารย์ ให้คำตอบที่เต็มไปด้วยเหตุผลที่โต้แย้งไม่ได้เลย แม้กิเลสในใจยังพยายามดิ้นรนตะแบงไปเรื่อย กราบขอบพระคุณเจ้าค่ะ ปุจฉา มีคนกล่าวว่า ลูกที่มาเกิดกับเรา มีข้อสังเกตุว่า หากเป็นกัลยามิตร มักจะเริ่มตั้งแต่ แม่ตั้งท้องก็ไม่มีปัญหาลำบาก ไม่แพ้ท้อง ไม่ป่วย คลอดแล้วก็เลี้ยงง่าย เติบโตมาด้วยดี ไม่มีสร้างปัญหาใดๆให้กับพ่อแม่ พระอาจารย์เห็นว่าจริงหรือไม่ กราบนมัสการ บัวติดตม หัวข้อ: อภิชาตบุตร เริ่มหัวข้อโดย: วิสัชนา ที่ 18 มีนาคม 2551, 20:37:29 อ้างจาก: "ปุจฉา" กราบนมัสการ พระอาจารย์ ให้คำตอบที่เต็มไปด้วยเหตุผลที่โต้แย้งไม่ได้เลย แม้กิเลสในใจยังพยายามดิ้นรนตะแบงไปเรื่อย กราบขอบพระคุณเจ้าค่ะ ปุจฉา มีคนกล่าวว่า ลูกที่มาเกิดกับเรา มีข้อสังเกตุว่า หากเป็นกัลยามิตร มักจะเริ่มตั้งแต่ แม่ตั้งท้องก็ไม่มีปัญหาลำบาก ไม่แพ้ท้อง ไม่ป่วย คลอดแล้วก็เลี้ยงง่าย เติบโตมาด้วยดี ไม่มีสร้างปัญหาใดๆให้กับพ่อแม่ พระอาจารย์เห็นว่าจริงหรือไม่ กราบนมัสการ บัวติดตม การยอมรับในเหตุผลถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีงาม ส่วนกิเลสในใจนั้นอาจจะยังดิ้นรนไม่ยอมรับอยู่บ้าง..เป็นธรรมดา ต่อเมื่อศึกษาและปฏิบัติไปเรื่อยๆ กิเลสในใจจะดิ้นรนลดน้อยลง และยอมรับอย่างศิโรราบในที่สุด ความจริงมีอยู่ว่า.. เด็กที่คลอดง่าย เลี้ยงง่าย เมื่อเติบโตมาแล้วไม่สร้างปัญหาให้กับพ่อแม่ก็มี ที่สร้างปัญหาให้กับพ่อแม่ก็มี ส่วนเด็กที่คลอดยาก เลี้ยงยาก เมื่อเติบโตมาแล้วสร้างปัญหาให้กับพ่อแม่ก็มี ที่ไม่สร้างปัญหาให้กับพ่อแม่ก็มี ดังนั้นการจะใช้เกณฑ์..คลอดง่าย..เลี้ยงง่ายมาเป็นตัววัด ความเป็นกัลยาณมิตรนั้น อันนี้อาจมีความผิดพลาดได้ ดีที่สุด..ไม่ว่าเด็กคนนั้นจะเลี้ยงยากหรือง่าย พ่อแม่ก็ต้องพยายามเลี้ยงเขาให้เป็นคนดี ความดีงามทั้งหมดที่พ่อแม่พยายามหล่อหลอมให้ลูกน้อย สิ่งเหล่านี้ล่ะ..จะทำให้เด็กคนนั้นเติบโตขึ้นเป็นกัลยาณมิตรกับทุกคนที่เขาเข้าไปเกี่ยวข้อง. หัวข้อ: อภิชาตบุตร เริ่มหัวข้อโดย: ปุจฉา ที่ 22 พฤษภาคม 2551, 19:30:23 กราบนมัสการพระอาจารย์
เราจะฝึกตายโดยไม่กลัวได้อย่างไรเจ้าคะ ดิฉันพยายามอ่านและหาวิธีเลิกกลัว หรือเตรียมความพร้อมรับความตาย แต่ก็ไม่สำเร็จ ลองคิดตามที่มีผู้บอกสอนแต่ก็ยังกลัวอยู่ลึกๆ อยากจะขอคำแนะนำจากพระอาจารย์บ้างเจ้าค่ะ กราบนมัสการ บัวติดตม หัวข้อ: อภิชาตบุตร เริ่มหัวข้อโดย: วิสัชนา ที่ 05 มิถุนายน 2551, 16:03:41 อ้างจาก: "ปุจฉา" กราบนมัสการพระอาจารย์ เราจะฝึกตายโดยไม่กลัวได้อย่างไรเจ้าคะ ดิฉันพยายามอ่านและหาวิธีเลิกกลัว หรือเตรียมความพร้อมรับความตาย แต่ก็ไม่สำเร็จ ลองคิดตามที่มีผู้บอกสอนแต่ก็ยังกลัวอยู่ลึกๆ อยากจะขอคำแนะนำจากพระอาจารย์บ้างเจ้าค่ะ กราบนมัสการ บัวติดตม การพิจารณาความตายบ่อยๆ ช่วยให้คลายจากความกลัวได้ แรกๆ อาจยังมีความกลัวอยู่ลึกๆ แต่ก็ให้อดทนพิจารณาไปเถอะ ทำบ่อยๆ ทำเรื่อยๆ จะช่วยให้จิตใจเคยชินกับคำว่า “ความตาย” พระพุทธเจ้าท่านสอนให้พิจารณาเนืองๆ พิจารณาทุกวันก็ได้... ตื่นเช้าขึ้นมาก็บอกกับตัวเองว่า.. “ถ้าวันนี้เป็นวันสุดท้ายของชีวิต ฉันควรจะทำอะไรบ้าง นอกจากหน้าที่การงานที่มีอยู่ประจำ” บอกแล้วก็ฟังดูว่าใจเราจะตอบว่าอย่างไร หรือจะพิจารณาก่อนนอนก็ได้ ้ “หากวันนี้เป็นวันสุดท้าย ฉันจะยังห่วงกังวลเรื่องอะไรอีก” คำตอบที่ปรากฏขึ้นที่ใจ เป็นสิ่งที่เราควรรีบทำโดยเร็ว ถามทุกวัน ถามทุกคืน ถามจนใจตอบว่า “ไม่มีอะไรที่จะต้องทำ ไม่มีอะไรที่จะต้องห่วงอีกแล้ว” พิจารณามันขนาดนั้นล่ะ แล้วดูซิว่ามันยังจะกลัวตายอีกไหม อย่าพิจารณาเพียงครั้งสองครั้ง แล้วก็บอกว่ายังกลัวอยู่ ทานข้าวคำสองคำ..มันจะอิ่มหรือ. [/size] |