Cmadong Chula

"กิจกรรมสมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" => ข่าวประกาศทั่วไป => ข้อความที่เริ่มโดย: ผู้ดูแล ที่ 23 ธันวาคม 2556, 13:29:52



หัวข้อ: วันขึ้นปีใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: ผู้ดูแล ที่ 23 ธันวาคม 2556, 13:29:52
ปีพุทธศักราช ๒๕๕๗ จุลศักราช ๑๓๗๖ วันพุธ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๒ ปีมะเส็ง


หัวข้อ: Re: วันขึ้นปีใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: ผู้ดูแล ที่ 23 ธันวาคม 2556, 13:57:02
(http://www.cmadong.com/picup/201212/2055913877818059501831647.jpg)
เรียบเรียงโดยกระปุกดอทคอม
ภาพประกอบจาก glitter.kapook.com


          ปีใหม่ หรือ วันขึ้นปีใหม่ 2557 หรือ ปีใหม่ภาษาอังกฤษ Happy New Year 2014 ใกล้มาถึงแล้ว วันขึ้นปีใหม่ หลาย ๆ คนคงชอบที่จะได้หยุดหลาย ๆ วัน ว่าแต่ที่หยุดและฉลองปีใหม่กันอยู่ทุกปี แล้วรู้หรือไม่ว่า ประวัติปีใหม่ หรือ วันขึ้นปีใหม่ มีความเป็นมาอย่างไร วันนี้เรามี ความหมายวันขึ้นปีใหม่ ประวัติวันขึ้นปีใหม่ มาฝาก 

ความหมายของวันขึ้นปีใหม่

          วันขึ้นปีใหม่ ตามความหมายในพจนานุกรมให้ความหมายคำว่า "ปี" หมายถึง เวลาชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน หรือ เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ ดังนั้น "ปีใหม่" จึงหมายถึง การขึ้นรอบใหม่หลังจาก 12 เดือน หรือ 1 ปี

ความเป็นมาของ วันขึ้นปีใหม่

          วันขึ้นปีใหม่ มีประวัติความเป็นมาซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยตามความเหมาะสม ตั้งแต่ในสมัยเริ่มแรกเมื่อชาวบาบิโลเนีย เริ่มคิดค้นการใช้ปฏิทินโดยอาศัยระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือน ก็กำหนดว่าเป็น 1 ปี และเพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทินกับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน เป็น 13 เดือนในทุก ๆ 4 ปี

          ต่อมาชาวอียิปต์ กรีก และชาวเซมิติค ได้นำการปฏิบัติของชาวบาบิโลเนียมาดัดแปลงแก้ไขอีกหลายคราวเพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากยิ่งขึ้น จนถึงสมัยของกษัตริย์จูเลียต ซีซาร์ (ประมาณ 46 ปี ก่อนคริสต์ศักราช) ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอียิปต์ชื่อโยซิเยนิส มาปรับปรุงให้หนึ่งปีมี 365 วัน โดยทุก ๆ 4 ปี ให้เติมเดือนที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน เป็น 29 วัน คือเดือนกุมภาพันธ์ เรียกว่า อธิกสุรทิน เมื่อเพิ่มให้เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน ให้ทุกๆ 4 ปี แต่วันในปฏิทินก็ยังไม่ค่อยตรงกับฤดูกาลนัก คือเวลาในปฏิทินยาวกว่าปีตามฤดูกาล เป็นเหตุให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทิน

          และในวันที่ 21 มีนาคม ตามปีปฏิทินของทุก ๆ ปี จะเป็นช่วงที่มีเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน คือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออก และลับลงตามทิศตะวันตก วันนี้ทั่วโลกจึงมีช่วงเวลาเท่ากับ 12 ชั่วโมงเท่ากัน เรียกว่า วันทิวาราตรีเสมอภาคมีนาคม (Equinox in March)

          แต่ในปี พ.ศ. 2125 วัน Equinox in March กลับไปเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม ดังนั้นพระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 13 จึงทำการปรับปรุงแก้ไขหักวันออกไป 10 วัน จากปีปฏิทิน และให้วันหลังจากวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2125 แทนที่จะเป็นวันที่ 5 ตุลาคม ก็ให้เปลี่ยนเป็นวันที่ 15 ตุลาคมแทน (ใช้เฉพาะในปี พ.ศ. 2125) ปฏิทินแบบใหม่นี้จึงเรียกว่าปฏิทินเกรกอเรี่ยน จากนั้นได้ปรับปรุงประกาศใช้ วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปีเป็นต้นมา

ความเป็นมาวันปีใหม่ในประเทศไทย

          สำหรับวันปีใหม่ในประเทศไทยนั้น แต่เดิมเราถือเอาวันแรม 1 ค่ำเดือนอ้าย ซึ่งตรงกับเดือนมกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับคติแห่งพระพุทธศาสนา ที่ถือช่วงเหมันต์หรือหน้าหนาวเป็นการเริ่มต้นปี ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงไปตามคติพราหมณ์ คือถือเอาวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งตรงกับวันสงกรานต์ ดังนั้นในสมัยโบราณเราจึงถือเอาวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทย

          แต่การนับวันปีใหม่หรือวันสงกรานต์ตามวันทางจันทรคติ เมื่อเทียบกับวันทางสุริยคติ ย่อมคลาดเคลื่อนกันไปในแต่ละปี ดังนั้นในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ปี พ.ศ.2432 (ร.ศ.108) ซึ่งตรงกับวันที่ 1 เมษายน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงให้ถือเอาวันที่ 1 เมษายนเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยนับแต่นั้นมา เพื่อวันปีใหม่จะได้ตรงกันทุกปีเมื่อนับทางสุริยคติ (แม้ว่าวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ปีต่อๆ มาจะไม่ตรงกับวันที่ 1 เมษายน แล้วก็ตาม) ดังนั้นจึงถือเอาเดือนเมษายนเป็นเดือนแรกของปีนับแต่นั้นมา  อย่างไรก็ดีประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่อยู่

          ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการจึงเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน มักจะไม่มีงานรื่นเริงอะไรมากนักและเห็นสมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นในกรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก จนแพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อ ๆ มา โดยในปี พ.ศ. 2479 ก็ได้มีการจัดงานปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด มีชื่อทางราชการ "วันตรุษสงกรานต์"




เหตุผลเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จาก 1 เมษายน เป็น 1 มกราคม

          ต่อมาก็ได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาโดยมี หลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานคณะกรรมการ และที่ประชุมก็ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2484 ในวันที่ 24 ธันวาคม ในสมัยคณะรัฐบาลของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยเหตุผลสำคัญก็คือ

           เป็นการไม่ขัดกับหลักพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ

           เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมศาสนาพุทธ

           ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก

           เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย

          ตั้งแต่นั้นมา วันขึ้นปีใหม่ของไทยจึงตรงกับวันที่ 1 มกราคมของทุกปี เหมือนดังเช่นวันขึ้นปีใหม่ของประเทศอื่นๆ ทั่วโลก

เพลงวันปีใหม่

          แน่นอนว่า เพลงที่มักจะได้ยินบ่อย ๆ ในช่วงวันขึ้นปีใหม่ ก็คือ "เพลงพรปีใหม่" ซึ่งเป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 13 ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ.2494 เมื่อครั้งเสด็จนิวัตพระนครและประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต โดยมีพระราชประสงค์ให้เพลงนี้ เป็นพรปีใหม่ที่พระราชทานแก่พสกนิกรทุกหมู่เหล่า

          ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องเป็นคำอำนวยพรปีใหม่ แล้วพระราชทานแก่วงดนตรี 2 วง คือ วงดนตรีนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำออกบรรเลง ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวงดนตรีสุนทราภรณ์ นำออกบรรเลง ณ ศาลาเฉลิมไทยเป็นครั้งแรกในวันปีใหม่ วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2495 โดยเพลงพรปีใหม่ มีเนื้อร้องดังนี้


          เพลงวันปีใหม่ (เพลงพรปีใหม่ เพลงพระราชนิพนธ์ในหลวง)
         
                ทำนอง: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
                คำร้อง: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ

                สวัสดีวันปีใหม่พา ให้บรรดาเราท่านรื่นรมย์
                ฤกษ์ยามดีเปรมปรีดิ์ชื่นชม ต่างสุขสมนิยมยินดี
                ข้าวิงวอนขอพรจากฟ้า ให้บรรดาปวงท่านสุขศรี
                โปรดประทานพรโดยปรานี ให้ชาวไทยล้วนมีโชคชัย

                ให้บรรดาปวงท่านสุขสันต์ ทุกวันทุกคืนชื่นชมให้สมฤทัย
                ให้รุ่งเรืองในวันปีใหม่ ผองชาวไทยจงสวัสดี
                ตลอดปีจงมีสุขใจ ตลอดไปนับแต่บัดนี้
                ให้สิ้นทุกข์สุขเกษมเปรมปรีดิ์ สวัสดีวันปีใหม่เทอญ

ประวัติการส่ง ส.ค.ส. ในวันปีใหม่

          การส่ง ส.ค.ส หรือบัตรอวยพรนั้น ประเทศไทยรับวัฒนธรรมมาจากต่างประเทศ ซึ่งนิยมส่งบัตรอวยพรกันมาเป็นเวลากว่า 200 ปีแล้ว ตั้งแต่ราวศตวรรษที่ 18 หรือตรงกับปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา บัตรอวยพรนี้ปรากฎในรูปแบบ "บัตรเยี่ยม" (Visiting Card) เป็นบัตรกระดาษขนาดเท่าไพ่ นิยมเขียนข้อความ หรือพิมพ์รูปภาพต่าง ๆ ลงไปเพื่อเยี่ยมเยียนกันในวันขึ้นปีใหม่ ต่อมาแพร่หลายไปในเทศกาลต่าง ๆ เช่น วาเลนไทน์ คริสต์มาส มีการส่งพิมพ์และส่งบัตรอวยพรกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น

          สำหรับในประเทศไทยนั้น เชื่อกันว่าบัตรอวยพรปีใหม่ที่เก่าแก่ที่สุด คือ บัตรอวยพรที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประดิษฐ์ขึ้น เมื่อ 120 กว่าปีก่อน โดยในรัชสมัยของพระองค์ เป็นยุคที่มีการติดต่อสื่อสารกับต่างประเทศเป็นจำนวนมาก จึงมีการรับเอาขนบธรรมเนียมของตะวันตกมาด้วย

          ทั้งนี้การส่งบัตรอวยพรของพระองค์นั้น ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าเริ่มต้นตั้งแต่เมื่อใด แต่ได้ปรากฎสำเนาคำพระราชทานพรขึ้นปีใหม่ ในปี พ.ศ.2409 ของพระองค์ ในหนังสือพิมพ์บางกอกรีคอร์ดเดอร์ (ภาษาอังกฤษ) ฉบับวันที่ 13 มกราคม 2409 แปลได้ใจความว่า "ทรงขอส่งบัตรตีพิมพ์คำอวยพรนี้ถึงบรรดากงสุล เจ้าหน้าที่กงสุลต่าง ๆ และชาวต่างประเทศที่ทรงคุ้นเคยโดยทั่วถึงกัน"

          ต่อมาในช่วงต้นรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 ความนิยมการส่งบัตรอวยพรแพร่หลายอย่างมาก มีหลักฐานบัตรอวยพรประเภทต่างๆ ถูกเก็บรวบรวมไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติเป็นจำนวนมาก โดยมักนิยมส่งกันในช่วงเดือนเมษายน ตามวันขึ้นปีใหม่เดิมที่ตรงกับวันที่ 1 เมษายน และบนบัตรอวยพรเหล่านั้น ยังพบคำว่า "ส.ค.ศ" หรือ "ส.ค.ส" ปรากฎอยู่ จึงเชื่อกันว่า คำว่า "ส.ค.ส" เกิดขึ้นในรัชสมัยนี้ โดยย่อมาจากคำว่า "ส่งความศุข" หรือ "ส่งความสุข"

          หลังจากนั้น ส.ค.ส ก็เป็นสิ่งที่นิยมส่งให้กันในวันขึ้นปีใหม่ จนถึงปัจจุบันนี้ และ ส.ค.ส. ก็ได้เปลี่ยนรูปแบบไปมีการนำวัสดุต่าง ๆ มาประดิษฐ์ ตกแต่ง มีรูปแบบ ลวดลายหลากหลายมากขึ้น


หัวข้อ: Re: วันขึ้นปีใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: พธู ๒๕๒๔ ที่ 31 ธันวาคม 2556, 20:49:05
(http://www.cmadong.com/picup/201212/7136113884962059110222845.jpg)

(http://www.cmadong.com/picup/201212/3508113884962057028190083.jpg)

(http://www.cmadong.com/picup/201212/7082013884962056298148734.jpg)


หัวข้อ: Re: วันขึ้นปีใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: Mooonnnooo ที่ 19 กรกฎาคม 2557, 10:37:05
52 ร้านที่ต้องกินก่อนตาย กินทุกวันอาทิตย์ ครบปีพอดี

1. ก๋วยเตี๋ยวเรือทะเล เจ้าแรกของประเทศไทย สุขุมวิท 101/1เข้าไปในซอย 50 เมตรซ้ายมือ
2. ข้าวราดแกงวัดเล่งเน่ยยี่ : ในซอยมังกร ข้างวัดเล่งเน่ยยี่ถนนเจริญกรุง
3. โจ๊กหม้อดิน ซอยมหาดไทย
4. ข้าวขาหมูสีลม อยู่ในซอย ตรงข้าม โรงพยาบาลเลิดสิน
5. ข้าวมันไก่ตอน ประตูน้ำ
6. ข้าวหมูแดงสีมรกต ตรอก โรงหมูตรงข้ามวัดไตรมิตร
7. ข้าวขาหมู เหม่งจ๋าย
8. ข้าวผัดปู ห้าแยก ณ ระนอง
9. ร้านเต้าหู้ทอด เผือกทอด น้ำจิ้มรสเด็ด จตุจักร โครงการ 2 ซอย 2
10. ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นน้ำใส ศรีย่าน
11. ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลาเด้งได้ ท่าน้ำราชวงศ์
12. หมี่กรอบจีนหลี สมัย ร.5 ท่าน้ำตลาดพลู
13. ก๋วยเตี๋ยวสุโขทัย สมทรงโภชนา ซอยวัดสังเวช ถนนท่าพระอาทิตย์
14. ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลา โบราณ จันทบุรี วัดตรีทศเทพ
15. ก๋วยเตี๋ยวไหหลำ สะพานขาว ถนนลูกหลวง ใกล้โรงหนังแอมบาสเดอร์เก่า
16. เย็นตาโฟวัดแขก ถนนสีลม
17. ไก่ย่างแม่วันเพ็ญ ซอยอาภาภิรมย์
18. กระเพาะปลาน้ำแดง ตลาดสวนหลวง ใกล้สนามกีฬาแห่งชาติ
19. ร้านครัวอรรถรส ซอยเสือใหญ่อุทิศ
20. ส้มตำจตุจักร ฝั่งตรงข้ามตลาด อ.ต.ก.
21. ปลาหมึกย่างสยามสแควร์ สยามสแควร์ซอย 4
22. ไก่ทอด 7 กระทะ จากแยกรัชดา-สุทธิสาร มุ่งหน้าสู่แยกที่จะลัดออกสู่ลาดพร้าวอยู่ทางซ้ายมือ
23. ไก่ทอดเจ๊กี ซอยโปโล ตรงข้ามสวนลุมพินี
24. เป็ดย่างพูลสิน เลยวัดตรีทศเทพมาเล็กน้อย
25. ห่านพะโล้ฉั่วคิมเฮง ตรงมาจากถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ข้ามแยกคลองตันมาถนนพัฒนาการ จะเห็นร้านใหญ่ซ้ายมือ
ร้านดั้งเดิมปัจจุบันยังอยู่ท่าดินแดง ชื่อฉั่วกิมฮวด เก่าแก่จนได้ รับ ฉายาว่าเป็นห่านสามชั่วคน
26. ไก่ย่างจิรพันธ์ ถนนรามคำแหง
27. เนื้อย่างเกาหลี สูตรบึงพลาญชัย หมู่บ้าน ต.รวมโชค ซอยโชคชัย 4
28. สะอาด ถนนอิสรภาพ ใกล้สี่แยกบ้านแขก
29. ห่านพะโล้สะพานเหลือง ริมถนนพระราม 4
30. ร้านกาแฟโบราณเอี๊ยะแซ ถนนเยาวราช-พาดสาย
31. ขนมเบื้องวังเดิม ดิโอลด์สยามพลาซ่า
32. ไอศกรีมทิพรส สามแยกเตาปูน
33. ร้านขนมไทยหวานดำรงค์ สี่แยกศรีวรา
34. ถั่วแปบ ซอยละลายทรัพย์
35. ปอเปี๊ยะ/ มะตะบะ ท่าพระจันทร์
36. โรตีกรอบ หน้าเพาะช่าง
37. เซ็งซิมอี๊ ตลาดสวนหลวง
38. ลอดช่องสิงคโปร์ วงเวียน 22
39. ไอศกรีมไข่แข็ง ตลาดสวนหลวง
40. ซ่าหริ่มชูถิ่น
41. มนต์ นมสด ตรงข้าม กทม.
42. ราดหน้า 4 สี ร้านชิ้งกี่ อยู่ใกล้สวนรมณีย์นาถ
43. ผัดไทยสำราญราษฎร์ อยู่ ตรงข้ามประตูผีวัดสระเกศ
44. เย็นตาโฟประตูผี เลยร้านผัดไทย
45. ก๋วยเตี๋ยวคั่วไก่ ซอยตรงข้ามโรงพยาบาลกลาง
46. ก๋วยเตี๋ยวคั่วทะเล ซอยข้างตลาดวรจักร
47. ข้าวมันไก่เจ๊ยี ตรงข้ามวัดสระเกศ
48. ข้าวต้มปลา 5 แยก พลับพลาไชย
49. ก๋วยเตี๋ยวหลอด ซอยข้าง สถานีตำรวจพลับพลาไชย
50. ก๋วยจั๊บเผ็ด ซอยโรงเลี้ยงเด็ก
51. ก๋วยเตี๋ยวหลอดเยาวราช ถนนเยาวราชฝั่งขวา ก่อนแยกเข้าถนนผดุงด้าว
52. เกาเหลา เนื้อตุ๋น เจ้ผอม ตลาดปีระกา อยู่ที่เวิ้งนครเกษม
----------------------