Cmadong Chula

เรือนประจำรุ่น อบอุ่นทุกสมัย => รุ่น 2540 => ข้อความที่เริ่มโดย: (n_n)Cellkrub ที่ 03 พฤศจิกายน 2550, 11:13:35



หัวข้อ: A brief history of CU อิอิ น่ารักดี
เริ่มหัวข้อโดย: (n_n)Cellkrub ที่ 03 พฤศจิกายน 2550, 11:13:35
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สีประจำมหาวิทยาลัยคือ สีชมพู
ตราประจำมหาวิทยาลัยคือ ตราพระเกี้ยว (ที่มา : www.chula.ac.th)

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
สนามกีฬาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียกกันว่า “สนามจุ๊บ” โดยเรียกให้คล้องจองกับ “สนามศุภ”
สามารถนำรถเข้าไปจอดในคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้ แม้ไม่ต้องมีสติกเกอร์ ถ้าคนขับหน้าตาดี(ผู้หญิงเท่านั้น)เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะทำการเลื่อนที่กั้นให้อย่างสุภาพเรียบร้อย
คณะอักษรฯ มีภาควิชาการละครด้วยนะ แต่เป็นละครเวที เทอมนึงมีหลายเรื่องเหมือนกัน แต่แต่ละเรื่องก็แนวมั่กๆ น้องปีหนึ่งเข้ามาใหม่ๆ ต้องเริ่มด้วยการดูละครและวิจารณ์ละครเวที(ที่ดูยากมั่กๆ)
เชื่อหรือไม่ คณะอักษรฯมีแสงเสียงเป็นของตัวเองด้วย
โต๊ะหน้าตึกสี่ เรียกว่า โต๊ะไผ่ เป็นแหล่งรวม Arts Men
เวลาแข่งกีฬาเฟรชชี่ หรืออะไรก็ตามที่ต้องใช้มีตัวเล่นเป็นผู้ชาย เช่น ฟุตบอล คณะอักษรฯต้องระดมพล Arts Men ทั้งสี่ชั้นปีเลยทีเดียว
คนนอกจะมองคณะอักษรฯ ว่าเป็นคณะหรูหราไฮโซ แต่เชื่อหรือไม่ ชาวอักษรไม่เคยจัดงานใดๆ ที่โรงแรมเลย ไม่มีการสิ้นเปลืองด้านนี้ ไม่ว่าจะเป็นเฟรชชี่ไนท์ บายเนียร์ ฯลฯ สถานที่ประจำคือห้อง 103 ตึกสี่ กับส้วมหมา (สนามหญ้าเล็กๆหน้าตึกบรมฯ)
เนกไทวิศวะกับครุจะไม่เหมือนชาวบ้าน
คณะวิทยาฯมีการประกวดดนตรีอะคูสติก ชื่อว่า Under Tab (ส่วนใหญ่อ่านกันว่า “อันเดอร์แท๊บ”) จริงๆแล้วมาจากคำว่า “Under Tab” (อันเดอร์(ตึก)แถบ) เพราะสมัยก่อนจัดงานใต้ตึกแถบ ตึกแถบเป็นชื่อตึกหนึ่งของคณะวิทยาศาสตร์
คณะแพทย์มี sing'n contest ด้วย แรกๆมีแบคเป็น GMM ด้วยนะ
Human Relation คือวิชายอดฮิต ลงกันล้นจนต้องเปิดเซคเพิ่มทุกเทอม
สนามวอลเลย์บอลคณะรัฐศาสตร์ ปัจจุบันเป็นที่จอดรถ
คณะรัฐศาสตร์จุฬามีสนามฟุตบอลเป็นของตัวเอง และ หวงมากด้วย
โรงอาหารอักษรมีข้าวเหนียวไก่เป็นอาหารชูโรง และลูกค้าหลักคือเด็กเตรียม
คณะที่ใกล้ห้างที่สุดคือสหเวชศาสตร์ ใกล้สยามที่สุดคือทันตแพทยศาสตร์
รองเท้าขาวสำหรับนิสิตหญิงปี1 ฮิตใส่ยี่ห้อ peppermint
ข้างหอประชุมจุฬามักเป็นที่ซ้อมละครของเด็กอักษร
นิเทศ ที่ดูต้องใช้เครื่องมือเยอะๆนั้น มีตึกเรียนเพียงสองตึก คือ ตึกหนึ่งและตึกสอง (มันไม่มีสามสี่ห้าแน่ๆ) ตึกหนึ่งมีห้าชั้น ใช้การได้สี่ชั้น และตึกสอง มีหกชั้น ใช้งานได้จริงๆ สามชั้น...(สงสัยตัวเองเหมือนกันว่ายัดตัวเองอยู่ที่ไหนของคณะ)เป็นตึกจิ๋วๆที่อยู่ระหว่างครุกับนิติ นี่แหละ ปล.ก็อยู่กันใต้ถุนคณะนั้นแหละ คาดว่าเป็นคณะเดียวที่สามารถเปิดเพลงฟังได้ที่ใต้ถุนคณะ โดยไม่โดนอาจารย์ด่า หิหิ
รถโดยสารภายใน "จุฬาฯ" เรียกกันติดปากว่า "รถป็อป" ซึ่งมีที่มาจาก "รถ ปอ.พ."
30% ของนิสิตจุฬา มารู้เอาตอนปี 3 ว่า "รถป๊อป" มาจากคำว่า "รถ ปอ.พ."
ครุอาร์ท เป็นครุศาสตร์ที่ตึกเรียนอยู่ตรงข้ามกับคณะครุศาสตร์(งงม้าย คือเค้าว่า เค้าเป็นครุอาร์ท.. ไม่ใช่ครุศาสตร์ นะ)
เด็กฝั่งมาบุญครองเรียกฝั่งตรงข้ามว่า "ฝั่งในเมือง"(แปลว่าฝั่งนี้เป็นบ้านนอกหรือ ไม่น้า<= ฝั่งMBK เรียกว่าฝั่งบ้านนอก
เด็กฝั่งสยาม(เภสัช,ทันตะ,สัตวะ)จะเรียกจะเรียกบริเวณอื่นๆว่าจุฬาใหญ่และถูกเรียกว่าบ้านนอก (ถึงบ้านนอกก็มีห้างเป็นของตัวเองจ้า)
โรงอาหารนิติ เป็นโรงอาหารที่มีเด็กสาธิตและเด็กนิเทศนั่งกินมากที่สุด (เปล่านะ เราใช้รวมกันหรอก)
ลุงฟร๊ตตี้ขี่เวสป้ามาขายผลไม้ในจุฬาทุกวันตอนเย็น (จริงๆ ลุงเค้าชื่อประมวล แซ่ลิ้ม (หนังสือเปิดรั้วจามจุรี ปี 49))
อักษรชอบถาปัด แต่ถาปัดชอบกันเอง
การเดินสยามถือเป็นการเดินช่วยย่อยได้ดี ไม่ต้องซื้อไรหรอก..เพราะมันแพง
แต่ก่อนเข็มพระเกี้ยวรัศมีจะเป็นทรงแหลม เดี๋ยวนี้รัศมีอ้วนๆ
หอยทากมักเดินเล่นบนถนนในหน้าฝน และมันจะไม่หยุดให้เราเดินไปก่อน...
นอกจากหอยทากแล้วเรายังสามารถพบหนูได้ทั่วไปในอาณาเขตจุฬาฯ เวลากลางคืน
ตอนประธานาธิบดีคลินตันมาที่มหาลัยหลายปีก่อนมีหน่วนswat องค์รักษ์ติดมาด้วย1คันรถ ทุกคนถืออาวุธครบมืออยู่ในท่าเตรียมพร้อมตลอดเวลา ไม่รู้จะไปรบกะใคร
ถนนอังรีมีอาชญากรรมบ่อยๆ
ก่อนมีรถป๊อป ไม่เคยมีการใช้มอไซค์หรือจักรยาน เดินจุฬาเท่านั้นพี่น้อง น่องโป่งเรย.......
นิสิตบางคนทึกทักเอาเองว่า DotA คือกีฬาประจำมหาลัย (จะสู้พวกเกษตรฯได้เร้อออ)
คณะรัฐศาสตร์ และ เศรษฐศาสตร์ ตั้งอยู่บนถนนเดียวกัน ทำให้ ถนนนั้นชื่อว่า ถนนไฮโซสตรีท เพราะรวมไว้ซึ่งคณะ ไฮโซ ดังๆ ทั้งน้าน
คณะที่ทุกคนใฝ่ฝันเมื่อเห็นการแสดงเชียร์โต้ คือ ศิลปกรรมศาสตร์ และเพลงยอดฮิตติดหู คือ เพลงน้องนางลูบไข่ และเพลงโอ้ทะเล (บัลเล่ย์)
คณะที่มีตึกสูงที่สุด คือ ตึกมหามกุฏ คณะวิทยาศาสตร์
ถ้ามองจากมุมสูง จะเห็นศาลาพระเกี้ยว เป็นรูปพระเกี้ยวจริงๆ และ ตึกจุลฯจะเป็นฐานพระเกี้ยว ไฮโซเวอร์
สายรถป๊อบที่ฮิตที่สุด คือ สาย 1 ศาลาพระเกี้ยว-สยาม และสาย 2 สำนักวิทย์กีฬา-ศาลาพระเกี้ยว
ห้องสมุดอักษรเป็นห้องสมุดที่เงียบมาก เพราะเด็กอักษรไม่นิยมอ่านกันที่นี่
หอใน จุฬาฯ ชื่อว่า ซีมะโด่ง และมีงานรับน้องเป็นของตัวเอง ว่ากันว่า ช่วงเดือนมิถุนาทั้งเดือน แถวๆมาบุญครอง จะได้ยินเสียงโวยวาย เสียงเพลง ตอนดึกๆ
หอกลาง เคยมีคดี ชกกัน เนื่องจากแย่งที่นั่งอ่านหนังสือกัน
นิสิตจุฬาฯ กว่าครึ่ง สามารถ บูม บาก้า ได้ก่อน เอนท์ ติดจุฬาฯ
 
เชื่อหรือไม่?
ห้องสังสรรค์ เอ้ย!!ห้องสมุด คณะเศรษฐศาสตร์ มีบรรณารักษ์ที่ดุที่สุดในโลก
กีฬาเฟรชชี่ครั้งล่าสุด มวยหญิงตัวแทนบัญชีต่อยตัวเองจนเข้าโรงพยาบาล
รุ่นพี่หลายคนชอบหลอกน้องให้ลงวิชาเลือกยากๆ เพราะแค้นที่ตัวเองโดนหลอกมาก่อน (เช่นผม เจอ C+ มาหมาดๆเทอมที่แล้ว - -*)
ปัจจุบันรถป๊อปกลายสภาพเป็นรถไฟฟ้าแล้วนะ สีชมพูแหววเหมือนเดิม รถกระชากแรงมาก ควรจับราวให้ดี อาจารย์ท่านหนึ่งของวิชา REC CAMP เคยบอกไว้ว่าเวลาขับรถต้องระวังข้างหลังดีๆเพราะรถไฟฟ้าขับมาเงียบมาก เกือบชน
ห้องสมุดรัฐศาสตร์สามารถคุยได้ แต่ถ้าเสียงดังเข้าขั้นตลาดสดเมื่อไหร่จะมีกริ่งเตือน นิสิตจะเงียบไปประมาณสองนาที แล้วก็คุยกันเหมือนเดิม
บะหมี่อดทนรัฐศาสตร์ อดทนจริงๆ (เพราะป้าทำช้ามั่ก) และแพงจริงๆ (ใครกินฟูลออพชั่น เหยียบ 40)
ปูนปั้นรูปตุ๊กแกที่แปะอยู่หน้าตึกศิลกัมหายไป...ไปไหน....ลึกลับจริงๆ
จริงๆแล้วต๊กแกตรงมุมตึงศิลปกรรม ไม่ใช่ปูนปั้น แต่มันเป็นโฟม แปะด้วยกาวสองหน้า อยู่ทนทานมานานจนผุกร่อน เลยดูคล้ายปูนปั้น
และที่หายไปก็ไม่ลึกลับหลอก จารย์บั๊ค(คณบดี)สั่งให้ทาสีตึกใหม่ แล้วคงเห็นว่าไร้สาระมั๊ง เลยแกะออก
แต่ว่าล่าสุด ตุ๊กแก กลับมาแล้ว เป็นไฟเบอร์ทำสีอย่างดี อยู่ในตำแหน่งเดิมเป๊ะ (พวกเราไร้สาระ แต่ทำจริงวะ 555)
นกพิราบชอบบินใส่กระจกรถที่วิ่งมา...ตายประจำ ไม่รู้ทำไม
หมาของศิล'กัมถ้าเป็นสีขาวจะโดนbody paint
นิสิตหญิงที่ใส่เสื้อฟิดติ้วตีเกล็ดจะถูกประนามหยามเหยียด
จุฬามีหมูปิ้งเดลิเวอรี่ด้วยนะ โทรสั่งได้ไว้จะเอามาแปะไว้
พนักงานหน้าห้องคอมที่วิศวะจุฬาเป็นเกย์ ชอบแอบจับมือผู้ชายตอนขอดูบัตรนิสิต
และถ้าหน้าตาถูกตาถูกใจพนักงานหน้าห้องคอมที่วิศวะจุฬาละก้ออาจได้ยินประโยคต่อท้ายว่า "ช่วยหันหลังให้ดูด้วยคับ"
รวมทั้งถ้าไม่ยอมมองสบตาตรงๆก้ออาจโดนว่าด้วยว่า "ช่วยมองหน้าตรงๆด้วยคับ"
แล้วถ้าเขาชอบใครเป็นพิเศษ จะถูกกล่าวหาว่าแต่งกายผิดะเบียบ เพืื่อตรวจสอบต่อไป
หมาที่วิศวะ นาม"หมาอ้วน" เข้าเรียนมากกว่านิสิตหลายๆคนในคณะด้วยซ้ำ เช่น แคล เคมี แมททีเรียล ดรออิ้ง
งานรับน้องก้าวใหม่ เคยมีบ้านที่มีชื่อเป็นคำผวน เช่น บ้านเพชรกันยา แต่ต่อมาอาจารย์เริ่มผวนคำเป็น เลยไม่มีชื่อบ้านแบบนี้ให้เห็กอีก

ธรรมเนียมประเพณี

นิสิตใหม่ตอนเข้ามาต้องถวายบังคมพระรูปสองรัชกาล ตอนเรียนจบรับปริญญาก็ต้องถวายบังคมลา เช่นเดียวกัน
คืนวันคริสมาสและวันวาเลนไทน์ ที่หอในจะมีการตะโกนบอกรักกันข้ามหอ อิอิ (จริงๆมันเป็นช่วงสอบแหละ เครียดๆกันเลยหาเรื่องตะโกน)
“รับน้องก้าวใหม่” คือการรับน้องรวมของมหาลัย เป็นการรับน้องขำๆ ไม่มีว้าก ไม่มีโหด พี่ๆเอาใจน้องๆราวกับพระเจ้า มีพี่บ้าน มีน้องบ้าน ส่วนใหญ่แต่ละบ้านสังกัดชมรม เช่น บ้านโซ้ยตี๋หลีหมวย คือชมรมสลัม บ้านโรงเรียนก็มี เช่น บ้านยิ้ม บ้านแรง
ความเชื่อ
เวลาต้องการพึ่งบารมีของเสด็จพ่อร.๕ ให้ขอ ไม่ให้บน (มีรุ่นพี่บอกมาอีกที)คอนเฟิร์มว่าขลังจริง อิฉันเคยขอเรื่องเรียนมาแล้ว (แต่ไม่ได้แก้ด้วยการวิ่งนะ แก้ด้วยการถวายดอกไม้แทน)แต่ห้ามขอหวยนะ(นิสิตคนไหนจะเล่นหวยฟะน่ะ)
เคยมีเคยขอเสด็จพ่อว่า หากได้เกรดเกิน 2.5 จะวิ่งรอบสนามหน้าพระรูปสิบรอบ สรุปปลายภาคมา ได้เกรด 2.51
คณะวิศวะฯ มีลานเรียกว่าลานเกียร์ หากใครสะดุดลานเกียร์จะมีแฟนเป็นเด็กวิศวะฯ (สาวบัญชีบางกลุ่มชอบไปเดินสะดุด)ส่วนอักษรมีความเชื่อว่า หากสาวคนไหนสะดุดพรมแดง (ตึกเทวาลัย) จะได้แฟนเป็น artsmen
นิสิตป.ตรีที่กำลังศึกษาอยู่ห้ามถ่ายรูปเดี่ียวคู่กับพญานาค ที่หัวบันได ตึกมหาจุฬาฯ(ตึกที่สวยๆ ตรงข้ามหอประชุมจุฬาฯ) ไม่งั้นจะโดนรีไทร์ (แต่ถ้ารูปหมู่ก็ไม่เป็นไรนะ)
รัฐศาสตร์จุฬา ถ้าเข้าตึกหนึ่งหน้าคณะ ห้ามเดินเข้าประตูกลาง ไม่งั้นจะเรียนไม่จบ
ห้ามลงบันไดกลางคณะครุศาสตร์(ฝั่งที่ตรงข้ามกับสาธิตและนิเทศ)ไม่งั้นไม่จบ
มีความเชื่อว่า หากได้ลอยกระทงกับคนที่ชอบที่สระน้ำ "จุฬาฯ" หน้าหอประชุม จะได้เป็นแฟนกัน แต่ถ้าเป็นแฟนกันอยู่แล้ว ดันมาลอย... ก็จะเลิกกัน
ห้ามมองเต่าตรงบ่อน้ำที่อยู่แถวๆ โรงอาหารตึกจุล ไม่งั้นเอนท์ไม่ติด (เจอทุกวันที่ข้ามไปฝั่งนู้นเลยแหะ)
ถ้าเห็นเต่าที่บ่อน้ำตรงหน้าตึก physics จะไม่ตกmean วิชา physics.. แต่ถ้าตะพาบก็...
ห้ามเหยียบคำว่า สถ. ที่ประตูกลางถาปัด ไม่งั้นเรียนไม่จบ (แล้วไปไว้ที่พื้นทำไมหล่ะพ่อคุณ)

เรื่องลึกลับ
ตึกอักษรเก่าจัดเลยเรื่องผีเยอะ ส่งผลให้ต้องทุบทิ้งไปแล้ว
สมัยยังใช้การตึก 2 นิเทศได้เต็มที่นั้น มีเรื่องเล่าว่า หลังสามทุ่มไปถ้าเดินลงบันไดเวียนจะลงมาเจอชั้นสามประมาณสี่ครั้ง (บรื๋อออ) แล้วตึกนิเทศก็โดนทุบอีกเช่นกัน
 

ของกิน
ที่จุฬาฯก็มี KFC เหมือนกันนะ ย่อมาจาก Karusart Food Center ของคณะครุศาสตร์ มีอาหารให้เลือกมากมาย แต่จุดเด่นไม่ได้อยู่ที่โรงอาหารแต่เป็นซุ้มโค้กแถวนั้นมากกว่า มีน้ำปั่นเลื่องชื่อ อิอิ
โรงอาหารวิดวะมีก๊วยเตี๊ยวอร่อยทั้งสองร้าน
โรงอาหารอักษรย้ายมาติดกับโรงอาหารวิดวะแล้ว ส่งผลให้โรงอาหารวิดวะโล่งขึ้นทันตาเห็น
อาหารตามสั่งร้านเจ๊กุ้งที่โรงอาหารวิศวะอร่อยมาก (อะไรก็ได้แต่ขอให้ใส่ปลาทอด)
โรงอาหารคณะทันตะหรูมาก คุณภาพสยามแต่ราคาเป็นกันเอง
โรงอาหารคณะวิศวะเป็นโรงอาหารที่เล็กมากเมื่อเทียบกับขนาดคณะและจำนวนคน จะทำให้นิสิตต้องไปกินโรงอาหารข้างเคียง เช่น อักษร หรือไม่ก็ รัฐศาสตร์ แต่บางทีก็ไปด้วยสาเหตุอื่น เช่น ส่องสาว(See-food)
โรงอาหารวิศวะสมัยก่อนเปิดโล่ง ปัจจุบันมีกรงล้อม เนื่องจากเหตุการณ์นกพิราบบุกกินอาหารที่คนวางไว้บนโต้ะ(ในช่วงไปซื้อน้ำ)และที่เก็บจาน คาดว่าเหตุการณ์เกิดจากนักศึกษาวางจัดไม่มีอะไรทำซื้อถั่วเลี้ยงนก เลี้ยงจนบินมากินถั่วในมือได้ จนมันไม่กลัวคนเริ่มบุกโรงอาหารในกาลต่อมา
อาหารที่อร่อยที่สุดของโรงอาหาร ตึกจุลฯ คือ "น้ำเปล่า"--> แล้วอาหารโรงอื่นมันอร่อยนักหรือไง
หาก"ตัน"เรื่องของกินจริงๆ นิสิตจุฬาสามารถ ใช้บริการร้าน"จีฉ่อย"ได้ เพราะจีฉ่อยมีทุกอย่างจริงๆ งะ
จีฉ่อยกะร้านโจ๊กสามย่านไม่ถูกกัน ฉะนั้น อย่าเอ่ยชื่อจีฉ่อย ให้เจ๊ร้านโจ๊กได้ยิน ไม่เชื่อลองดูดิ่
ร้านโจ๊กจะปิดร้านตอน 7.30 ตอนเช้า เปิด5โมงเย็น อร่อยด้วย...

 บทความที่เกี่ยวข้อง
ตอนนี้จีฉ่อยลงหนังสือพิมพ์ไทยโพสแทบลอยด์แล้ว ดังใหญ่ละ (X-cite ไทยโพสต์ฉบับ22-23กันยายน หิหิ)
แต่คุณยังสามารถหาซื้อทุกอย่างจริงๆ ย้ำว่าทุกอย่าง อยากได้ตั๋วเครื่องบิน จีฉ่อยก็ขายให้ได้ เปียโนยังมีขายเลย (ไม่รู้แกไปเอามาจากไหนงะ!)รถยนต์แกเอามาขายให้ได้ ถ้าเราสั่ง --" ฮาร์ดดิสยังขายเลย ฮ่วย!
เคยอ่านเจอในนิตยสารสายใย ของนิเทศฯ บอกว่าเคยมีคนอุตริไปสั่งซื้อกิโมโน วันรุ่งขึ้นแกเอามาขายให้ได้!
จีฉ่อยขายทุกอย่างจริงๆ


หัวข้อ: A brief history of CU อิอิ น่ารักดี
เริ่มหัวข้อโดย: Jim ที่ 05 พฤศจิกายน 2550, 10:29:30
อ่านแล้วคิดถึงอดีตเลย
 
อ้างถึง   
คณะรัฐศาสตร์จุฬามีสนามฟุตบอลเป็นของตัวเอง และ หวงมากด้วย

อันนี้ตรูยืนยัน มันหวงจริงๆ กว่าตรูจะได้ไปแตะ ยากยิ่งกว่าหนามจุ๊บอีก

 
อ้างถึง   
ตอนนี้จีฉ่อยลงหนังสือพิมพ์ไทยโพสแทบลอยด์แล้ว ดังใหญ่ละ (X-cite ไทยโพสต์ฉบับ22-23กันยายน หิหิ)
แต่คุณยังสามารถหาซื้อทุกอย่างจริงๆ ย้ำว่าทุกอย่าง อยากได้ตั๋วเครื่องบิน จีฉ่อยก็ขายให้ได้ เปียโนยังมีขายเลย (ไม่รู้แกไปเอามาจากไหนงะ!)รถยนต์แกเอามาขายให้ได้ ถ้าเราสั่ง --" ฮาร์ดดิสยังขายเลย ฮ่วย!
เคยอ่านเจอในนิตยสารสายใย ของนิเทศฯ บอกว่าเคยมีคนอุตริไปสั่งซื้อกิโมโน วันรุ่งขึ้นแกเอามาขายให้ได้!
จีฉ่อยขายทุกอย่างจริงๆ

อีนนี้ก็ยืนยัน ลงทะเบียนไม่ทัน ใบลงทะเบียนหมด ไปหาซื้อได้ที่แก มีทุกอย่างที่คุณต้องการ


หัวข้อ: A brief history of CU อิอิ น่ารักดี
เริ่มหัวข้อโดย: บ่าวหน่อ เมืองพลาญ ที่ 05 พฤศจิกายน 2550, 14:19:33
แล้วไอ้จูดี้ กับ ลำไย ยังอยู่ที่หอหรือเปล่าวะ
ตอนรับน้องเห็นมีการอ้าง seniority แล้วยังขำไม่หาย


หัวข้อ: A brief history of CU อิอิ น่ารักดี
เริ่มหัวข้อโดย: เน๊ะ เภสัช 40 ที่ 12 พฤศจิกายน 2550, 11:11:16
"คณะที่ใกล้ห้างที่สุดคือสหเวชศาสตร์ "

เฮ้ย!!!มันไม่ใช่คณะฉันเหรอวะอยู่จ่อ MBK ขนาดนั้น


หัวข้อ: A brief history of CU อิอิ น่ารักดี
เริ่มหัวข้อโดย: เน๊ะ เภสัช 40 ที่ 12 พฤศจิกายน 2550, 11:12:16
เออลืมไป ฉันมันคนรุ่นเก่าอ้
ตอนนี้มันมีติกคณะตรง 14 เหรียญนี่หว่า
อิอิ หน้าแตก


หัวข้อ: A brief history of CU อิอิ น่ารักดี
เริ่มหัวข้อโดย: @ tukta @ ที่ 13 พฤศจิกายน 2550, 02:21:21
คิดถึงจัง
และรู้สึกว่ารํฐศาสตร์ขอเราก็ถูกพาดพิงเยอะ

เออ ตอน freshy เราก็ใช้ pepermint นะ ทนมากๆๆๆๆ จำได้ว่าซื้อมาจากมาบุญครอง คู่ละ 450 บาท ใส่ตั้งแต่ เดือนที่สองของการเรียน จนกระทั่งจบ ปีหนึ่ง หลังจากนั้นก็มีเพื่อนที่ Ent' ใหม่เอาไปใส่ต่อหละ

 :D  :D  :D


หัวข้อ: A brief history of CU อิอิ น่ารักดี
เริ่มหัวข้อโดย: เน๊ะ เภสัช 40 ที่ 13 พฤศจิกายน 2550, 15:23:52
เราไม่เคยใส่pepermintอ้ะ
แบบว่ามันแพง ใส่คู่ละ 199 น่ะ
ถือว่าผิดระเบียบไหมเนี่ย


หัวข้อ: A brief history of CU อิอิ น่ารักดี
เริ่มหัวข้อโดย: Jim ที่ 16 พฤศจิกายน 2550, 09:02:14
อ้างจาก: "เน๊ะ"
เราไม่เคยใส่pepermintอ้ะ
แบบว่ามันแพง ใส่คู่ละ 199 น่ะ
ถือว่าผิดระเบียบไหมเนี่ย


เย้....มีเพื่อน 199 แล้ว เพราะเคยซื้อคู่ละ 2500 ตอนปี 1 ใช้ได้ปีเดียว พัง พอปี 2 เปลี่ยนเป็น 199 ใช้มาถึงปี 4 เลย ใครว่าของถูกคุณภาพไม่ดี เถียงตายเลย


หัวข้อ: A brief history of CU อิอิ น่ารักดี
เริ่มหัวข้อโดย: @ tukta @ ที่ 25 มกราคม 2551, 00:06:04
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

1.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย(อันนี้รู้มานานแล้ว)
2.เป็นมหาวิทยาลัยเดียวในประเทศ ที่ไม่ได้ขึ้นต้นด้วยคำว่ามหาวิทยาลัย
3.เป็นมหาวิทยาลัยเดียวที่ไม่มีป้ายชื่อมหาวิทยาลัย มีแต่เพียงป้ายบอกอาณาเขต (อยู่ 2 ที่ ที่แรกคือตรงสาธิตฯ ปทุมวัน/ เตรียมฯ หรือคณะศิลปกรรมตึกที่เพิ่งสร้างใหม่ แต่เด็กเตรียมฯ ชอบใช้เรียกว่า Black Gate อีกที่หนึ่งอยู่ข้างหลังมาบุญครอง/สนามกีฬาแห่งชาติ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา)
4.เป็นมหาวิทยาลัยที่ สถาปนาโดย พระมหากษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ มาลงเสาเอกด้วยพระองค์เอง
5. เงินที่นำมาสร้างจุฬาฯ คือเงินบริจาคของประชาชนครับ เงินที่เหลือจากการบริจาคสร้างพระบรมรูปทรงม้า เรียกว่า "เงินหางม้า"
"หางม้าสีชมพู"
6. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานที่ดินของพระคลังข้างที่จำนวน ๑,๓๐๙ ไร่ ซึ่งอยู่ที่อำเภอปทุมวัน ให้เป็นสถานที่ตั้งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อก่อสร้างอาคารเรียนและเป็นตึกบัญชาการ นอกจากนี้ได้พระราชทานเงินทุนจำนวน ๙๘๒,๖๗๒.๔๗ บาท เป็นทุนก่อสร้างโรงเรียน (ทุนที่ใช้ก่อตั้งจุฬาฯ ก็คือรัชกาลที่ 6 ได้พระราชทานมา + เงินหางม้า ด้วย)
7. พระบรมรูป 2 รัชกาลศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพสักการะ
8. ลานหน้าพระบรมรูป ไว้ถวายสัตย์และถวายบังคมลา บางทีก็ใช้เล่นบอล
9. จุฬาฯ ยึดธรรมเนียมปฏิบัติไว้ว่าก่อนที่จะเข้ามาศึกษาชั้นปีที่ 1 ก็ต้องมีพิธีการถวายสัตย์ และพอตอนเรียนจบปริญญาตรีก็ต้องมีพิธีการถวายบังคมลา และทุก ๆ วันที่ 23 ต.ค. ของทุกปี ชาวนิสิต-คณาจารย์-บุคลากรจุฬาฯ จะไปทำพิธีเคารพสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พระบรมรูปทรงม้า (เหมือนอยู่ในรั้วในวังกลาย ๆ เลย ศักดิ์สิทธิ์มาก ๆ และทั้งสามพิธีการนี้ จะออกข่าวทางสื่อโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ internet ทุกปี )
10. ในปีการศึกษา 2548 พิธีการถวายสัตย์นั้นพระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ให้เกียรติมาเป็นผู้นำถวายสัตย์ (แต่ในขณะที่มีพิธีถวายสัตย์ ท่านหญิงยังคงพระยศ ม.จ.สิริวัณวรี มหิดล)
11. นิสิตใหม่ปี 1 ที่ได้มาถวายสัตย์จะรู้สึกว่าเริ่มต้นชีวิตนิสิตใหม่อย่างสมบูรณ์แบบและภาคภูมิใจในจุฬาฯ และสถาบันกษัตริย์
12. เพียงท่านพลิกแบงค์ 100 บาท ท่านก็จะเห็นพระบรมรูป 2 รัชกาล คือ รัชกาลที่ 5 และ ที่ 6 ที่ประดิษฐานที่จุฬาฯ (เป็นมหาวิทยาลัยแห่งเดียวในไทยด้วยที่มีพระบรมรูปแบบเดียวกับในธนบัตร)
13.สัญลักษณ์ตราพระเกี้ยว เป็นสัญลักษณ์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นตราประจำรัชกาลที่ 5และเป็นเครื่องหมายแห่งความภาคภูมิใจของนิสิตจุฬาฯทุกคน
14.สีประจำมหาวิทยาลัยคือสีชมพู เป็นสีแห่งความรัก สีแห่งรักรมณ์ละมุนอุ่นไอหวาน สีสถานศึกษาสง่าไฉน.... สีประจำจุฬาฯ และการเทิดทูนล้นเกล้าสองรัชกาล อัญเชิญมาใช้ครั้งตอนงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์
15.จุฬาฯ เป็นสถานที่ที่เกิดขึ้นจากความรักของ 2 พระองค์ที่มีแก่กัน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระประสงค์อยากให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นอนุสรณ์ในพระราชบิดาของพระองค์
คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็เป็นสถานที่ที่เป็นอนุสรณ์ บ่งบอกถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้อย่างถ่องแท้ นอกจากนี้พระองค์ยังมีพระประสงค์อยากให้สถานที่แห่งนี้เป็นประโยชน์ทั้งในปัจจุบัน(พ.ศ.2459)และในอนาคตกาล
16.เหตุที่ให้ชื่อมหาวิทยาลัยว่า "จุฬาลงกรณ์" เพราะว่า มีการสืบต่อเนื่องมาจากโรงเรียนที่รัชกาลที่ ๕ ทรงก่อตั้งขึ้นในรัชสมัยของพระองค์ ชื่อแรกคือ " สำนักวิชาฝึกหัดข้าราชการฝ่ายพลเรือน " - - - - > "โรงเรียนมหาดเล็ก" - - - - >" โรงเรียนข้าราชการพลเรือน ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว " - - - - > " จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย " รัชกาลที่ 6 ทรงเล็งเห็นว่าใช้ชื่อเกี่ยวกับพระราชบิดาของพระองค์มาโดยตลอด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีความหมายว่า มหาวิทยาลัยของสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ หรือ University of Prince Chulalongkorn
17.จามจุรี เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย มีอยู่ 5 ต้นที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯมาปลูกด้วยพระองค์เองโดยพระองค์ทรงนำต้นจามจุรีทั้ง 5 ต้นมาจากพระราชวังไกลกังวล หัวหินด้วยพระองค์เองโดยมิได้แจ้งทางมหาวิทยาลัยล่วงหน้า นำความปลาบปลื้มมาสู่ชาวจุฬาฯทุกคน
("นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้นต่อชาวจุฬาฯ ถือเป็นนิมิตหมายที่ดี โดยที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน ในวันที่ 15 มกราคม 2505 พระบาทสมเด็จพระปร มินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ได้เสด็จพระราชดำเนิน ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พระราชทานต้นจามจุรีแก่มหาวิทยาลัย จำนวน 5 ต้น ซึ่งพระองค์ทรงนำมาจากพระราชวังไกลกังวล หัวหิน และทรงปลูกด้วยพระองค์เอง บริเวณด้านหน้าหอประชุมจุฬาฯ ฝั่งด้านสนามฟุตบอล ทางด้านขวา จำนวน 3 ต้น ด้านซ้ายจำนวน 2 ต้น และยังได้พระราชทานพระราชดำรัสถึงความผูกพันระหว่างชาวจุฬาฯ กับจามจุรีว่ามีมานานตั้งแต่สร้างมหาวิทยาลัย ทรงเน้นว่าดอกสีชมพูเป็นสัญลักษณ์สูงสุดอย่างหนึ่งของจุฬาฯ พระองค์ทรงเห็นว่าจามจุรีที่นำมานั้นโตขึ้น สมควรจะเข้ามหาวิทยาลัยเสียที และสถานที่นี้เหมาะสมที่สุด "จึงขอฝากต้นไม้ไว้ห้าต้นให้เป็นเครื่องเตือนใจตลอดกาล") และคำเรียกติดปากก็คือ ~จามจุรีสีชมพู-จามจุรี...ศรีจุฬาฯ~
18. เครื่องแบบการแต่งกายของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเครื่องแบบแห่งแรกและเพียงแห่งเดียวของประเทศไทยที่ได้รับพระราชทานมาจากองค์พระมหากษัตริย์ และเป็นแห่งแรกที่มีการสวมใส่เครื่องแบบนิสิต(เหมารวมถึงนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย)
และนอกจากนี้ เครื่องแบบนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเครื่องแบบของมหาวิทยาลัยเพียงแห่งเดียวของประเทศไทยที่ถูกตราไว้ในพระราชกฤษฎีกา พ.ศ.2498 ดังนั้นการใส่เสื้อที่มีสาบหลังและส่วนพับปลายแขนเสื้อ รวมทั้งเข็มขัดหนังกลับสีนํ้าตาลของนิสิตหญิง//ส่วนนิสิตชาย เสื้อเชิ้ตแขนยาวสีขาว
กางเกงขายาวสีขาว ถุงเท้าสีดำหรือนํ้าตาลเข้ม รองเท้าหุ้มส้นสีดำหรือสีนํ้าตาลเข้ม เข็มขัดหนังสีดำ มีหัวเข็มขัดตราพระเกี้ยวตามแบบของมหาวิทยาลัย เนคไทมีตราพระเกี้ยวตามแบบของมหาวิทยาลัย จึงเป็นเอกสิทธิ์ของนิสิตจุฬาฯ ตามข้อบัญญัติตามกฎหมาย
( เป็นเกียรติเป็นศรีเป็นศักดิ์ - - เป็นเอกลักษณ์งามสง่า - - สวมชุดนิสิตจุฬาฯ - - ประกาศค่าจุฬาลงกรณ์)
19. และจุฬาฯ แทบจะเป็นมหาวิทยาลัยเดียวในไทยที่บังคับให้นิสิตแต่งกายถูกต้องตามระเบียบทุกประการ เพราะถือว่าที่นี่เป็น Original เอามาก ๆ ทำกันมาตั้งแต่ก่อนปีพ.ศ.2459 จนถึงปัจจุบันนี้
พอน้อง ๆ ที่เข้ามาเป็นนิสิตใหม่ พวกรุ่นพี่ก็จะต้องอบรมสั่งสอนเรื่องการแต่งกายแบบเข้มงวดมาก ๆ
โดยเฉพาะน้องปี 1 หญิง-จะบังคับให้ใส่กระโปรงพลีตและรองเท้าหนังสีขาวล้วนเท่านั้น ชาย-ต้องผูกเน็คไทด์ (แต่พวกรุ่นพี่ก็ต้องผูกเน็คไทด์เวลาเข้าสอบ ไม่เช่นนั้นจะถือว่าผิดระเบียบ)
ส่วนพวกรุ่นพี่ก็ต้องคอยดูแล ควบคุมการแต่งกายของทั้งน้องปี 1(และของตัวเอง)
ให้ถูกต้องตามระเบียบอย่างเคร่งครัด (ยิ่งกว่าโรงเรียนมัธยมบางแห่งอีก)
ส่วนผู้ที่แต่งกายผิดระเบียบ เช่น ผู้หญิงเอาเสื้อออกนอกกระโปรง ก็จะถูกสายตาจากบุคคลรอบ ๆ ลงโทษเอง แถมยังมีกฎออกมาอีกว่าถ้านิสิตจุฬาฯแต่งกายผิดระเบียบก็จะโดนตัดคะแนนความประพฤติ
ก่อนครั้งแรก - ตักเตือน
ครั้งแรก 20 คะแนน - พักการเรียน 1 ภาคการศึกษา
ครั้งที่สอง 40 คะแนน - พักการเรียน 2 ภาคการศึกษา
ครั้งที่สาม 60 คะแนน - พักการเรียน 3 ภาคการศึกษา
ครั้งที่สี่ 80 คะแนน - พักการเรียน 4 ภาคการศึกษา
ครั้งที่ห้า ครบ 100 คะแนน - พ้นสภาพนิสิต
* สำหรับน้องปี 1 จะมีการกล่าวตักเตือนก่อนในสองสัปดาห์แรกของเทอมหนึ่ง ถ้าพ้นจากนี้ไปก็จะเริ่มหักคะแนนความประพฤติทันที ถึงแม้ว่าจะกระทำผิดเป็นครั้งแรกและไม่เคยได้รับคำตักเตือนเลยก็ตาม
พวกเราชาวจุฬาฯ ควรจะภาคภูมิใจในเครื่องแบบนิสิตซึ่งพระมหากษัตริย์พระราชทานมาให้และรักษากฎระเบียบเพื่อความเรียบร้อย สวยงามและได้รับคำชื่นชมจากคนรอบข้าง ว่าที่นี่นิสิตมีวินัย ให้เกียรติสถาบัน ดูงามตาน่ามอง (สมกับคำขวัญที่ว่า " แต่งกายสง่างาม สมพระนามจุฬาลงกรณ์ ")
20.พิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกที่เกิดขึ้นในไทยก็เกิดขึ้นที่จุฬาฯ
โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์พระราชทานให้แก่นิสิตคณะแพทยศาสตร์เป็นที่แรก
21. สมเด็จพระเทพฯ ทรงสำเร็จการศึกษาจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
22. พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ทรงเข้าศึกษาในคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ในปีการศึกษา2548
23. มิถุนายน 2495-2501 สมเด็จพระพี่นางฯ ทรงเคยเป็นอาจารย์สอนนิสิตคณะอักษรศาสตร์ วิชาวรรณคดีฝรั่งเศสให้แก่นิสิตชั้นปีที่ 4 และ phone'tiquie สำหรับนิสิตปี 3 และ conversation ให้แก่นิสิตชั้นปีที่ 2 เมื่อท่านมีภารกิจเยอะขึ้น ท่านก็เลยต้องล้มเลิกการสอนไป (ถ้านิสิตคนไหนอยากดูพระฉายาลักษณ์ตอนที่ท่านเคยสอนนิสิตคณะอักษรศาสตร์ ลองไปดูที่หอประวัติจุฬาฯ ชั้นสองได้ มีรูปและคำบรรยายประกอบด้วย)
24. สมเด็จพระเทพฯ ได้รับการแต่งตั้งพระยศเป็นเจ้าฟ้า ในขณะที่ทรงศึกษาอยู่ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ชั้นปีที่ 2 (สำหรับเรื่องนี้ก็ไปดูที่หอประวัติชั้นสองได้เช่นกัน มีพระฉายาลักษณ์ของท่านที่ติดอยู่กับบัตรห้องสมุดและบัตรประจำตัวนิสิตด้วย มีคำบรรยายประกอบพร้อมสรรพ)
25. จุฬาฯ เป็นมหาวิทยาลัยแรกที่ใช้คำว่า " นิสิต-นิสิตา"
26.เทวาลัย หอประชุมใหญ่จุฬาฯ เป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานทั้งแบบตะวันออกและตะวันตก ผู้ออกแบบเป็นชาวต่างชาติ
27.ศาลาพระเกี้ยว เป็นอัครสถานที่มีความโดดเด่น เป็นแหล่งรวมกิจกรรมทุกอย่าง เป็นที่ตั้งของศูนย์หนังสือจุฬาฯ( ได้รับรางวัล ๑ ใน ๑๐ ร้านค้ายอดเยี่ยมในทศวรรษ...ด้วยนะ....) สหกรณ์ ตลอดจนที่รับประทานอาหาร
คุณสามารถทำกิจกรรมต่างๆนานาได้จากอัครสถานแห่งนี้
28.สระน้ำ จุฬาฯ เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
29. สนามจุ๊บ (สนามกีฬาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ จารุเสถียร) เป็นที่อยู่ของ CU Band CU Chorus และ ที่ซ้อม ของเชียร์ลีดเดอร์
30. เมื่อถึงวันงานประเพณีต้อนรับน้องใหม่ทุก ๆ ปี นิสิตรุ่นพี่จะนำใบหรือกิ่งจามจุรีเล็ก ๆ มาผูกริบบิ้นสีชมพูคล้องคอให้นิสิตใหม่เพื่อเป็นการต้อนรับเข้าสู่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาณาจักรแห่งจามจุรีสีชมพู
31.การรับน้องใหม่ของจุฬาฯที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในปลายเดือนพฤษภาคม
น้องใหม่ทั้งหลายจะได้รับการคัดสรรเข้าบ้าน
32.ชื่อบ้านรับน้อง ก็จะมีหลากหลาย แต่กว่าครึ่งจะแปลได้สองแง่สองง่าม...
33.ถ้าเฟรชชี่คนไหนพลาดการรับน้องก้าวใหม่ มันยากจริงๆที่จะได้เจอเพื่อนต่างคณะ...
ในทางกลับกันถ้าเข้าร่วมกิจกรรมนี้ ก็จะรู้จักเพื่อนใหม่ต่างคณะเยอะแยะ ...
34.เรื่องรับน้องก้าวใหม่ยังไม่จบ...กิจกรรมที่ทำกันก็จะเน้นการเต้น กิน เต้น และก็เต้น...
เพลงฮิตในการสันทนาการที่เด็กจุฬาฯเต้นเป็นกันทุกคนคือ เพลง"หอยจี้ลี่"
35. จุฬาฯ 2 ฝั่งนะ....อิ อิ งงหละสิ ฝั่งแรกคือฝั่งอนุสาวรีย์สองรัชกาล หน้าหอประชุมใหญ่ เป็นที่รวมของหลายๆคณะ.....
อีกฝั่งคือ ฝั่ง หอกลาง เป็นที่ตั้งของคณะอีก 4 คณะ คือ นิเทศฯ นิติฯ ครุฯ และวิทย์ฯกีฬา
นอกจากนี้ยังมีคณะทันตะ,สัตวะ,เภสัช,สหเวชและจิตวิทยา ที่เป็นคณะหรูอยู่ติดสยามแสควร์
36.เป็นมหาวิทยาลัยเล็กๆ ที่รายล้อมไปด้วยย่านเศรษฐกิจและศูนย์การค้า
37.ผิดกับสมัยก่อนที่อยู่กลางทุ่งพญาไท ไกลมาก ๆ จนนิสิตต้องมาอยู่หอพักเพราะเดินทางไป-กลับไม่สะดวกและอาจไม่ปลอดภัย เป็นที่มาของคำว่า "นิสิต" แปลว่า ผู้อยู่หอ
38.การเดินจากฝั่งคณะวิทยาศาสตร์ไปนิเทศ ไปง่ายๆโดยไม่ต้องขึ้นสะพานลอย แต่จุฬาฯหรูกว่านั้น
มีอุโมงค์เชื่อมสองฟากถนนด้วย...
39. หอกลาง ไว้นอนหลับ อ่านหนังสือ เล่นเน็ท ดูหนัง ฟังเพลง MSN และจะกลายเป็นตลาดนัดในช่วง Midterm กับ Final
40.โรงอาหารที่ขึ้นชื่อในความอร่อยคงเป็น โรงอาหารคณะรัฐศาสตร์ ซึ่งถือว่ามีเมนูหลักจากร้านก๋วยเตี๋ยวอดทน
ด้านโรงอาหารคณะอักษรฯคงไม่แพ้กัน งัดเมนูเด็ดๆ..ทั้งนั้น คณะวิศวะ มีความหลากหลายในอาหาร หนุ่มๆหล่อเพียบ
โรงอาหารบัญชี&เศรษฐศาสตร์ อยู่ที่ตึกใหม่ สีขาว โปร่งโล่งสบาย ลมเย็นมาก ๆ ด้วย แต่พอฝนตกทีก็
โรงอาหารคณะทันตะ แหล่งรวมอาหารอร่อยๆ...มากมายเช่นกัน ฝั่งครุฯก็ไม่ยอมแพ้มีเครื่องดื่มขึ้นชื่อคือ โอเรโอ้ปั่นใส่วีฟครีม ...
( ข้าวเหนียวไก่ย่าง อักษรฯ น้ำปั่น ครุฯ ไอติม บัญชี )
41.กว่าร้อยละ 60 ของนิสิตจุฬาฯ ต้องเคยกินเวเฟอร์ ที่สหกรณ์จุฬาฯ ศาลาพระเกี้ยว...
เพราะกลิ่นที่ชวนไปลิ้มลองแน่ๆเลย...
42.หนุ่มที่สาวคณะต่างๆหมายปองมักจะอยู่ฝั่งในเมือง เช่น สถาปัตย์ วิดวะ หรือแม้กระทั่งหนุ่มๆสิงห์ดำ(รัฐศาสตร์)...
43.สาวๆก็ไม่แพ้กัน สาวสวยที่ขึ้นชื่อในจุฬาฯ ก็ต้องยกให้อักษรฯ รัดสาด บัญชี...ทั้ง สวย รวย เก่ง...อืม!
44. มีเรื่องเล่าขานว่า ถ้าผู้หญิงคนไหนเดินสะดุดลานเกียร์ จะได้แฟนเป็นเด็กวิศวะ (ต้องรีบไปซะแล้ว!!)
45.สถานที่ที่เหมาะแก่การไปนั่งสวีทกัน คือ หอกลาง(อาคารมหาธีรราชานุสรณ์:หอสมุดกลาง) ด้วยวิวที่ดูเป็นเมืองนอกมาก
มีวิว ตึกหอพักหญิงสีน้ำตาล ยิ่งดูยิ่งโรแมนติก...
46. หอพักนิสิตจุฬาฯ มี 5 หอ คือ จำปี พุดตาล พุดซ้อน เฟื่องฟ้า ชวนชม ++++ หอนอก หอพักพวงชมพู ยูเซ็นเตอร์ แอบไฮโซ
47.เด็ก self จัดในจุฬาฯ ต้องยกให้ นิเทศฯ ศิลปกรรมฯ(สินกำ)...แรงมากๆ...ขอบอก
สาวสวย - - อักษรฯ บัญชี
-
-
สาวหรู ไฮโซ - - รัดสาด
-
-
สาวเปรี้ยว - - นิเทศ
-
-
สาวแรง - - สินกำ
-
-
สาวห้าว - - วิดวะ
-
-
สาวดุ - - ครุ
-
-
สาวเคร่ง - - นิติ
48.คนภายนอกชอบมองว่าเด็กจุฬาฯเป็นพวกเหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ แต่จริงๆควรมองเด็กจุฬาฯจากภายในและความสามารถมากกว่า
49.คู่รักคู่แค้นของเด็กจุฬาฯคือ เด็กธรรมศาสตร์ งานบอลแต่ละครั้ง ต้องประชันกันให้เหนือกว่ากัน ซึ่งค่าใช้จ่ายจากงานบอล
แต่ละครั้ง สามารถซื้อบ้านหรูๆได้มากกว่า 3 หลัง....
50.เพลง เดินจุฬาฯ เป็นเพลงปลุกใจให้ฮึกเหิม ในการต่อสู้ที่ดีที่สุด อ้าว....เดิน เดิน เถอะรา นิสิต มหาจุฬาลงกรณ์.....
51.บูม Baka เป็นบูมที่ไม่เคยมีใครให้เหตุผลได้ว่า ทำไมต้อง baka ทำไมต้อง bow bow....
52.โรงเรียนเตรียมอุดมฯ แต่ก่อนผู้ที่จะเข้าจุฬาฯต้องมาศึกษา ณ ที่นี่ แต่ก่อนชื่อว่า โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงเรียนเตรียมฯ ยังใช้ตราสัญลักษณ์พระเกี้ยว(น้อย)-ต้นจามจุรี- สีชมพู-การบูม Baka เป็นสัญลักษณ์ของสถาบันเหมือน ๆ กับชาวจุฬาฯ อีกด้วย
53. อุเทนถวาย อยู่กับเรามานานแล้ว หุหุ
54. สยาม สามย่าน มาบุญครอง สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ หุหุ
55. สถาบันภาษา ไว้สอบ FE หุหุ
56. เป็นมหาวิทยาลัยอันดับที่ 8 ในเอเชีย อันดับที่ 60 ของโลกในด้านการแพทย์
57. เป็นมหาวิทยาลัยอันดับที่ 46 ของโลกในด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (รัฐศาสตร์,นิติศาสตร์,เศรษฐศาสตร์,อักษรศาสตร์)
58. เป็นมหาวิทยาลัยอันดับที่ 50 ของโลกในสายมนุษยศาสตร์ (คณะอักษรศาสตร์และครุศาสตร์)
59.คะแนนในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย จุฬาฯมีคะแนนนำมาตลอดทุกคณะ/สาขาวิชา...และที่นี่เปรียบเสมือนที่รวมหัวกะทิของประเทศ
60.กว่าร้อยละ 70 ของเด็กมัธยม กำลังกวดวิชาเพื่อความหวังในการเข้าศึกษาในสถาบันแห่งนี้...
61.จุฬาฯเป็นแหล่งรวมความหวังของเด็กมัธยมทั่วประเทศ...
62.การเรียนในจุฬาฯ หนักยิ่งกว่าการเอ็นทรานซ์เท่าตัว
63. ในปีการศึกษา 2548ไม่เคยมีคะแนนตํ่าสุดที่สูงมากเป็นประวัติศาสตร์ขนาดนี้ คือ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ เอกภาษาญี่ปุ่น มีคะแนนตํ่าสุดที่สูงที่สุดในประเทศในการสอบ 4 วิชาแบบสายศิลป์ (ไทย,eng,สังคม,ภาษาต่างประเทศที่สองหรือเลข 2) คือ 351คะแนน จาก 444.44 และรองลงมาคือ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ภาคIR คือ 330 คะแนน จาก 444.44 คะแนน
64. มหาจุฬาลงกรณ์ เพลงพระราชนิพนธ์ประจำมหาวิทยาลัย แต่ก่อนเคยใช้เป็นเพลงมหาฤกษ์
65.มีเพลงหนึ่งที่บอกเล่าการใช้ชีวิตในจุฬาฯ คือ เพลงจามจุรีศรีจุฬาฯ...ตอนช่วงสุดท้ายของเพลงถือเสมือนการเตือน เรื่องการเรียนที่ฟังแล้วซึ้งจริงๆ
66. สถานีรถไฟใต้ดินที่สามย่าน เขียนว่า
" สิ่งปลูกสร้างนี้ตั้งอยู่บนพิ้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย "
67. รถป๊อป 55++ จอดหน้าศาลาพระเกี้ยว
68. ที่จุฬาฯ สามารถใช้พาหนะได้หลายอย่างและสะดวก คือ BTS,MRT,รถป็อป,รถยนต์,เฮลิคอปเตอร์(สภากาชาด)<69>>>>> นี่....นัก..รัฐศาสตร์
83. ในอินเตอร์เนต หลาย ๆ คนชอบใช้ ฬ เรียกสั้น ๆ แทนจุฬาฯ ...สั้น ๆ แต่ได้ใจความ
84. นิสิตจุฬาฯ มีบัตรประจำตัวนิสิตเป็น ATM กับธนาคารไทยพาณิชย์ แต่ถ้ามีปัญหาเช่นเครื่องกินบัตรเข้าไปก็ต้องไปติดต่อที่สาขาสภากาชาดไทย(ตรงข้ามคณะรัฐศาสตร์)
85. ของที่ขายในสหกรณ์ ศาลาพระเกี้ยว ราคาถูกมาก ๆ มากกว่าใน super market-seven eleven
หรือที่ขายตามท้องตลาดทั่วไป ยิ่งเป็นนิสิตเอง ยิ่งลดเข้าไปใหญ่
86. จุฬาฯ มีรายได้จากสามย่าน- Siam Square- มาบุญครอง-โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา-อุเทนถวาย คาดว่าสำนักงานทรัพย์สินแห่งจุฬาฯ คงดูแลอยู่ (ไม่แน่ใจว่ารวมถึงสาธิตฯ จุฬาฯ กับสาธิตฯ ปทุมวัน-สภากาชาดหรือเปล่า) (ทางรัฐบาลจึงไม่ค่อยให้งบ ฯ แก่จุฬาฯ เท่าไร ข้ออ้างคือ จุฬาฯ มีรายได้มากแล้ว แต่ก็ไม่มีกฎบัญญัติข้อไหนบอกว่าถ้ามีรายได้มากแต่จะได้งบฯน้อย และมาบัดนี้ทางจุฬาฯ ยืนกรานปฏิเสธแอดมิชชั่นในปี 2549 เข้าไปอีก เลยโดนขู่จะตัดงบฯ ท่านรองอธิการบดีท่านหนึ่งเลยกล่าวกลับไปว่า "ทางจุฬาฯ เองก็ไม่ค่อยได้รับงบเต็มเม็ดเต็มหน่วยมานานแล้ว ถ้ามาบัดนี้ จะไม่ได้เลย ก็ไม่ได้ทำให้จุฬาฯ เดือดร้อน ถ้าจุฬาฯคิดจะหาเงินทำนาบนหลังคน ขูดรีดผู้เช่าที่จริง ๆ ล่ะก็ หาได้มากกว่าที่พวกคุณหาเอาไปให้มหาวิทยาลัยทั่วประเทศรวมกันด้วยซํ้าไป") <manager>>>วิศวะเท่านั้น
110. ตึกที่สูงที่สุดในจุฬาฯ คือ ตึกมหามกุฎ หรือที่เรียกติดปาก sci26 ที่คณะวิทยาศาสตร์
111. อาคารหลังแรกของจุฬาฯ หนีไม่พ้นตึกอักษรศาสตร์1 ศิลปะงดงามแบบตะวันออกผสมตะวันตก ถูกสร้างในสมัยรัชกาลที่ 6
112. และอย่าถ่ายรูปคู่กับพญานาคตรงหัวบันไดที่คณะอักษร(ยกเว้นพี่บัณฑิต) และอย่าขึ้นไปบนสี่เสาเทวาลัยเชียว เพราะมีเรื่องเล่าว่าจะทำให้เรียนไม่จบ
113. เขาว่ากันว่าถ้าคู่รักมาลอยกระทงที่จุฬาฯ แล้วจะมีอันเลิกรากัน (จึงนิยมไปลอยที่โรงเรียนเตรียมฯ แทน) แต่ถ้าเป็นเพื่อนกันมาลอยด้วยกันก็จะเป็นแฟนกัน
114. พระยาอุปกิตศิลปสาร เป็นอาจารย์สอนคณะอักษรศาสตร์ และได้สร้างกฎไว้ว่า ก่อนที่ท่านจะเข้ามาสอน-หลังจากสอนเสร็จ-พบกันในเวลาอื่น ๆ ให้นิสิตทุกคนไหว้ท่าน เพื่อเป็นการเคารพผู้เป็นอาจารย์ที่ให้วิชาแก่ตน และแสดงความนอบน้อมต่อผู้อาวุโสกว่า ซึ่งเป็นคณะแรกที่สอนแบบนี้
115. จุฬาฯ เป็นมหาวิทยาลัยเดียวในประเทศไทยที่เวลามีเสด็จฯ ต้องมีการตั้งซองรับเสด็จ นิสิตหญิง-ชาย นั่งพับเพียบกับพื้นถนนและก้มกราบบนพื้นเวลามีรถยนต์พระที่นั่งผ่าน
116. และสาเหตุของการตั้งซองรับเสด็จฯ เกิดจาก <<"เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันศุกร์ ที่ 20 กันยายน 2506 ณ 15.00น. ยังจารึกอยู่ในความทรงจำผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือทราบเรื่องราวโดยตลอด โดยเฉพาะคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ขณะที่รถยนต์พระที่นั่ง แล่นออกจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน จะเลี้ยวซ้ายไปตามถนนพระราม 5 มีนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์กลุ่มหนึ่งเรียงรายรอเฝ้ารับเสด็จอยู่ ได้คุกเข่าลงและเข้าหมอบแทบประตูพระที่นั่ง ซึ่งทำให้จำต้องหยุดรถชั่วขณะ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัส ถามถึงความประสงค์ที่มารอดักหน้ารถพระที่นั่งครั้งนี้ ว่ามีความประสงค์อย่างไร นิสิตซึ่งเป็นหัวหน้ากลุ่มได้กราบบังคมทูลโดยย่อ แล้วนำฎีกาขึ้นทูลถวาย เมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับฎีกาแล้ว ทรงมีพระราชดำรัสแก่นิสิตเหล่านั้นเล็กน้อย แล้วรถยนต์พระที่นั่งก็เคลื่อนที่ต่อไปยังจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทโดยใกล้ชิด ดั่งเช่นทุกปีมา
ฎีกาที่กลุ่มนิสิตทูลเกล้าฯ นั้น ได้ขอพระราชทานอภัยโทษ อันสืบเนื่องมาจากสาเหตุเกิดการพิพาทกันระหว่างนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ 9 คน กับรองอธิการบดีฝ่ายปกครอง ซึ่งโดยสาเหตุอันแท้จริงนั้น ไม่อาจสืบทราบได้ถ่องแท้ เพียงแต่ทราบว่า นิสิตวิศวฯ 2 คน ถูกคัดชื่อออกจากทะเบียนมหาวิทยาลัย นอกนั้นมีความผิดหนักเบาลดหลั่นกันลงไป โดยได้รับโทษให้พักการเรียนมีกำหนดและเพิกถอนสิทธิในการสอบไล่ ซึ่งปรากฏว่าภายหลังที่ทางมหาวิทยาลัยได้ออกคำสั่งลงโทษดังกล่าวแล้ว ก็ได้มีการอุทธรณ์ การประท้วง และการวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง ซึ่งมีทีท่าว่าไม่อาจจะยุติลงได้
ครั้นถึงเวลาดังกล่าวข้างต้น ด้วยพระบารมีและพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม เหตุการณ์อันทำท่าจะรุนแรงและลุกลามไปใหญ่โต ได้กลับคืนสู่สภาพปกติ เมื่อนิสิตทั้ง 9 คนได้ถวายฎีกาแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำรัสทรงตักเตือนนิสิตว่า
“ในการที่จะถวายฎีกานั้น จะต้องมีความนึกผิดจริงๆทางใจด้วย ต้องยอมรับว่ากระทำไปแล้วเป็นความผิดจริง จึงจะให้อภัยกัน มิใช่เป็นการถวายฎีกาแต่เพียงโดยลายลักษณ์อักษร”
เมื่อรถยนต์พระที่นั่งแล่นคล้อยไป นิสิตทั้ง 9 คนก็แยกย้ายกันกลับ ไม่ตามเสด็จไปทางมหาวิทยาลัย เนื่องจากอยู่ในระหว่างลงโทษ
...ทรงมีพระราชดำรัสให้ที่ประชุมทราบถึงกรณี ที่เกิดขึ้นหน้าตำหนักจิตรลดารโหฐาน เกี่ยวกับนิสิตทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาพร้อมทั้งนำฎีกาออกไปให้ที่ประชุมดู รวมทั้งคำสั่งของมหาวิทยาลัย “ฎีกานี้นิสิตทั้งหลายที่ถูกทำโทษ เขียนมารับว่าทำผิดจริง การรับว่าทำผิดนี้ แสดงว่าเขารู้ตัวว่าทำผิด คนเราทำผิดครั้งเดียวนับว่าเก่ง นิสิตพวกนี้ไม่เคยบอกว่าทำผิดมาก่อน การที่เขาทำผิดและฎีกาบอกมาวันนี้ จึงอยากจะให้อธิการบดี และคณะอาจารย์อภัยเขาเสีย เนื่องในงานวันนี้”
...ภายหลังที่กระแสพระราชดำรัสให้อภัยโทษแก่นิสิตจบลง บรรดานิสิตที่มีจำนวนล้นหอประชุมและคณา
จารย์ ได้พากันปรบมืออยู่เป็นเวลานาน รวมทั้งอธิการบดีด้วย บรรยากาศภายในและภายนอกห้องประชุมมีแต่ความสดชื่น ร่าเริง เป็นที่น่าเสียดายที่ผู้ได้รับพระราชทานอภัยโทษไม่มีโอกาสได้รู้เห็น ซึ่งคงจะก่อให้เกิดความปิติปราโมทย์ ยิ่งกว่าจะได้ยินคำบอกเล่าจากเพื่อนฝูง">>
117. เป็นประเพณีในวันที่พี่บัณฑิตได้รับพระราชทานปริญญานั้น พี่ ๆ เขาจะให้สตางค์แก่น้องปี 1 ด้วย
118. ในปี พ.ศ. 2548 นี้ที่มีการเปลี่ยนคะแนน Toefl ใหม่เป็นเต็ม 300 มีนิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ได้คะแนนเต็ม 300 ด้วย (ฅนหรือเปล่า ????)
119. แฟน ๆ ของหนุ่มวง Freeplay ก็เรียนที่จุฬาฯ ก็มีแฟนของเพชร-เบิร์ด-แก้วไง !!!
120. ที่คณะสถาปัตย์มีธรรมเนียมที่ว่าห้ามนิสิตคณะเดินเหยียบ "สถ" บนพื้นถนน
121. ที่คณะครุศาสตร์ ห้ามนิสิตชั้นปีที่ 1 เดินบันไดกลาง เพราะว่ากันว่าจะเรียนไม่จบ
122. ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ ห้ามนิสิตชั้นปีที่ 1 ใช้ลิฟท์ตรงติดกับห้องทะเบียน ให้เดินขึ้นบันไดเท่านั้น
123. ที่คณะรัฐศาสตร์ มีนิสิตปี 2 ได้แชมป์แฟนพันธุ์แท้การเมืองไทยด้วย และผ่านเข้ารอบสุดท้าย 1 ใน 5 คนของ แฟนพันธุ์แท้ Of The Year 2004. อีกเช่นกัน
124. นิสิตหญิงคณะนิเทศศาสตร์ใส่พลีตสีดำตลอดปี 1 แต่นิสิตหญิงคณะครุศาสตร์ใส่พลีตสีกรมท่าตลอดปี 1ส่วนนิสิตชายคณะวิศวะและครุศาสตร์ ให้ใส่กางเกงสีกรมท่า(แต่ถ้าปีอื่น ๆ ใส่สีดำก็ไม่ว่ากัน)
125. อาจารย์จุฬาฯ เป็นผู้ออกข้อสอบ ent' ด้วย แต่เมื่อก่อนหลาย ๆ ที่รวมกัน ตอนนี้เป็นอาจารย์จุฬาฯที่เดียว (ไม่รู้ว่ารวมถึงระบบadmission ด้วยหรือเปล่า)
126. อาจารย์ที่สอนอังกฤษในจุฬาฯ นั้น อยู่ภายใต้ชื่อ "สถาบันภาษา" ไม่ได้สังกัดในคณะใด ๆ เลย
127. อักษร "ฬ" ที่ใช้เรียกสั้น ๆ แทนจุฬาฯ นั้น ยังเป็นตัวอักษรลำดับที่ 42 ใน 44 ตัวอักษรไทยด้วย
128. ที่คณะบัญชี มีการ Boom ดำ / Boom กลางสนามด้วย (แปลก ๆ ดี)
129. Boom ของคณะวิศวะนั้นที่เกือบจะเป็นแฝดกับBoom ของจุฬาฯเลย ตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่า เป็นเพราะเมื่อนานมากหลายสิบปีที่แล้วมีนิสิตชายวิศวะคิด Boom Baka ได้ เลยเอามาใช้กับวิศวะ (Who are we? - Intania) แต่เขาเป็นแฟนกับนิสิตหญิงที่เป็นประธานเชียร์ของจุฬาฯ เลยเอา Boom Baka มาใช้ของจุฬาฯ (Who are we? - Chulalongkorn) <130> CHULALONGKORN
Can you see Laaa…..

 Credit : http://quezie.exteen.com/20050911/vs

 

2. Baka .. Bowbow .. Cheerka .. Chowchow .. Babow .. Cheerchow
Who are we ?
- - - > CHULALONGKORN
Can you see Laaa

* แบบที่ 2 จะเป็นที่นิยมมากกว่า แบบที่ 1 จะมาจากเพลง C.U.Polka
131. เมื่อก่อนชื่อ "จุฬาลงกรณ" ไม่มีการันต์ เป็นคำสมาสที่ไม่ได้อ่าน กะ-ระ-นะ อ่านว่า" กอน " เฉย ๆ
แต่มาสมัยจอมพล ป. รัฐบาลชุดนั้นก็ได้มาเปลี่ยนให้มีตัวการันต์ เพราะเขาบอกว่าถ้าไม่อย่างนั้น
ก็ต้องอ่าน " กะ-ระ-นะ " ก็เลยต้องมีตัวการันต์จนถึงปัจจุบันนี้ -_-"
132. อาจารย์ที่สอนพิเศษต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียงก็จบจากจุฬาฯ ไปเยอะนะ เช่น พี่POP-EnConcept (ตรี:ครุศาสตร์ โท:อักษรศาสตร์),อ.ปิง-D'avance (บัญชี),อ.เหมียว เจ้าของPinnacle (อักษรศาสตร์),อ.Lilly-Pinnacle,อ.Art-Pinnacle (บัญชี),อ.มนชัย-Pinnacle (อักษรศาสตร์),อ.smith-Pinnacle,อ.พี่แนน-EnConcept (อักษรศาสตร์ เกียรตินิยมอันดับ 1),อ.เจมส์-Pinnacle,อ.เสาวนิตย์-อ.เสาวนิตย์ (อักษรศาสตร์ จุฬาฯ),พี่ตุ้ย-The Tutor (วิศวะ ภาคไฟฟ้า), อ.เจี๋ย - สอนเลข (ถูกไทร์ออกจากวิศวะ จุฬาฯ ไม่รู้ว่าหลังจากนี้ไปต่อที่ไหน)ฯลฯ
133. แม้แต่คุณเสี่ยใหญ่อย่าง " อากู๋ " ผู้ร่วมก่อตั้งGrammy ก็จบจากนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ
134. ในปี 2547(2548) มีนิสิตบัณฑิตจบจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ก็เป็นลูกหลานค่ายละครยักษ์อย่างกันตนา กับอีกคนทายาทช่อง 3 " มาลีนนท์ " (เห็นออกข่าวไปแสดงความยินดีรับปริญญายกกันไปกันทั้ง2ค่ายเลย)
135. ส่วนเจ๊ดา-ดารุณี แฟนพันธุ์แท้เพชรกับไฮโซบ้านนอกก็จบบัญชี จุฬาฯ ส่วนสามีเจ๊ดาจบวิศวะ จุฬาฯ
136. ตึกขาว(ชีววิทยา 1) ปี เดินขึ้นบันไดกลางตึกขาวจะไปซิ่วไปก็ไทร์เอา. . .แต่ความจริงแล้วเมื่อก่อนเดิมนี้ ตึกขาวเป็นตึกปฏิบัติการวิทยาศาสตร์แห่งแรกในประเทศไทย ผู้ที่เป็นอาจารย์สมัยนั้น ไม่ใช่คนสามัญธรรมดาแต่เป็นพระบรมวงศานุวงษ์ เด็กปี 1 ไม่รู้ถ้าขึ้นตรงนั้นจะเป็นห้องพักอาจารย์ทำให้เป็นกการรบกวนอาจารย์ + ไม่ได้ทำครวามเคารพอาจารย์ที่เป็นพระบรมวงศานุวงษ์ด้วย. . .ซ้ำตรงนั้นด้านล่างยังเป็นที่เก็บอาจารย์ใหญ่สำหรับนิสิตแพทย์ในสมัยนั้นด้วย
137. สหเวช ตกบันไดคณะแล้วจะโชคดี แต่มันตกง่ายมากอะ
138. พยาบาล ขึ้นลิฟท์ตอนกลางคืนควรระวัง ขึ้นบันไดดีกว่าเฮอๆ
139. วิดยา ตอนสอบฟิ หรือแคว ให้เอาขนมปังไปเลี้ยงปลาหน้าตึกฟิ แล้วจะดี แล้วจะมีคนเลี้ยงข้าวด้วย
140. วิดวะ ถ้าตั้งใจมองบ่อเห็นเต่าในบ่อได้aเห็นตะพาบในบ่อได้f เห็นกี่ตัวได้เท่านั้นตัว
141. หลายคณะ ไปไหว้พระบรมรูป 2 รัชกาลตอนวันเริ่มสัปดาห์สอบ
ถ้าเป็นวันอังคารเอากุหลาบชมพูไปถวาย วันอื่นธูป9ดอก ขอพรได้แต่ห้ามบน
142. ที่หน้าคณะวิทยาศาสตร์ตรงข้ามตึกจุลฯ มีนาฬิกาแดดด้วย เป็นโครงงานจุฬาฯวิชาการปี 2533
143. รู้ไหมว่ารถสีเขียว ๆ เก่า ๆ ของจุฬาฯ ที่เสียงดังมากขนาดวิ่งอยู่แถวอังรีได้ยินไปถึงพญาไท ที่วิ่งเก็บขยะ ตัดต้นไม้ เป็นรถโครงงานของเด็กวิศวะเมื่อ20กว่าปีมาแล้ว จนปัจจุบันยังใช้ได้อยู่ (โห....)
144. และรถกอล์ฟไฟฟ้าที่วิ่งในจุฬาฯ รับส่งผู้ปกครองตอนรับปริญญาก็เป็นโครงงานจุฬาฯ วิชาการของนิสิตวิศวะอีกเช่นกัน (คิดโดยวิศวะ แต่ไปชาร์จไฟที่เภสัช อืม.... )
145. ที่รัฐศาสตร์ ตอนนิสิตขึ้นปี 2 ต้องย้ายโต๊ะไปนั่งกับรุ่นพี่ ๆ ปีอื่น ๆ แล้วมอบลานเฟรชชี่ให้น้องปี 1 นั่งตามใจน้อง
146. ในความเห็นของเรา เพลงท่อนที่บอกความเป็นจุฬาฯได้ดีที่สุดคือ
1. นํ้าใจน้องพี่สีชมพู ทุกคนไม่รู้ลืมบูชา พระคุณของแหล่งเรียนมา จุฬาลงกรณ์
2. ขอตราพระเกี้ยวยั่งยืนยง ... นิสิตประสงค์เป็นธงชัย
3. ณ อุทยานนี้งามด้วยจามจุรี ... เขียวขจี แผ่ปกพสกจุฬาฯ
4. สีชมพู เชิดชูไว้คู่แดนไทย +++ แสนยิ่งใหญ่และเกรียงไกรในวิทยา
5. ชโย ชโย .. จุฬาฯ สถานศึกษาสง่าพระนาม
6. พระนามจุฬาฯ สูงส่ง ยืนยง .. ตราบชั่วดินฟ้าเอย
7. หมายเอาจามจุรี เป็นเกียรติเป็นศรี ของชาวจุฬาฯ
147. เพลงท่อนที่บอกความเป็นนิสิตจุฬาฯ ได้ดีอีกเหมือนกัน คือ
1. นิสิตพร้อมหน้า สัญญา...ประคอง ความดีทุกอย่างต่างปอง
2.น้องจุฬาฯ พี่จุฬาฯ พร้อมกันมารื่นฤดี +++ รักเราพูนเพิ่มทวีนิจนิรันดร์
3. C.U. will win again just as the same as previous day
- - - > We WiLL SiNg C.U. wiLL WiN,wiLL WiN. < - - -
4. เมื่อปลายปีดอกจามจุรีร่วงหล่น ทิ้งใบเกลื่อนถนนเหลือเพียงลำต้นยืนไว้ เหล่าจุฬาฯ ทิ้งความสุขาทันใด
พ่อแม่น้องพี่ใกล้ไกลอยู่ไหนลืมพลัน
ที่กินถิ่นนอน มิได้อาวรณ์นำพา มีความปร


หัวข้อ: Re: A brief history of CU อิอิ น่ารักดี
เริ่มหัวข้อโดย: Apirat T. ที่ 28 มกราคม 2551, 13:00:26
อ้างจาก: "(n_n)Cellkrub"

คณะรัฐศาสตร์จุฬามีสนามฟุตบอลเป็นของตัวเอง และ หวงมากด้วย


ยืนยันเช่นเดียวกันคับ แมร่งเก็บไว้ทำไมไม่รุ
หญ้าง๊ามงาม

แต่ก้อไม่อาจพ้นอุ้งเท้าพี่ไปได้
ไปเตะมาแล้น นิ่มเท้าดีจัง หุหุ

ตาแคม 79


หัวข้อ: A brief history of CU อิอิ น่ารักดี
เริ่มหัวข้อโดย: party ที่ 28 มกราคม 2551, 15:37:41
อ่านแล้วคิดถึงงง.......จุฬาจัง.......

 :P  :P


หัวข้อ: A brief history of CU อิอิ น่ารักดี
เริ่มหัวข้อโดย: Jim ที่ 06 กุมภาพันธ์ 2551, 08:55:29
อ้างจาก: "party"
อ่านแล้วคิดถึงงง.......จุฬาจัง.......

 :P  :P


อ่านแล้ว...อยากกลับไปเรียนอีกอ่ะ ... ยังมีหลายที่เลยที่ยังไม่ได้ไปฝากรอยเท้าเอาไว้

แต่ ไอ้สนามเศรษฐศาสตร์ นี่ก็เสร็จรอยเท้าตรูแล้วเหมือนกัน 55555