หัวข้อ: จิตใจอ่อนไหวมาก ทำอย่างไรให้ไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรม เริ่มหัวข้อโดย: ปุจฉา ที่ 17 กรกฎาคม 2550, 11:25:23 นมัสการค่ะ พระอาจารย์
ก่อนอื่นต้องขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ที่เสียสละเวลามาให้คำแนะนำและข้อคิดดีๆ ที่คาดไม่ถึงกับพวกเรา อ่านทุกคำตอบของพระอาจารย์แล้วประทับใจมากค่ะ คงจะนำไปใช้ได้หลายเรื่อง หลายๆประโยคของพระอาจารย์โดนใจมาก สั้น ง่าย ตรง ได้ใจความชัดเจน ปัญหาที่จะถามพระอาจารย์มีว่า... ช่วงนี้จิตใจ สับสนวุ่นวาย เกิดภาวะจิตตก ด้วยหลายสาเหตุ ซึ่งอาจจะไม่ร้ายแรงมากมายในความรู้สึกของคนอื่นทั่วไป เพราะอย่างไรปัญหาทุกปัญหาย่อมมีหนทางแก้ไขได้อยู่แล้ว แต่เนื่องจากเป็นคนคนอ่อนไหวง่าย จิตอ่อนถูกกระทบง่าย เคยปรึกษาหมอ หมอบอกเป็นโรค PSD (ปสด) จึงอยากเรียนปรึกษาพระอาจารย์ว่า ทำอย่างไร จึงจะทำใจให้เข้มแข็ง ไม่ถูกกระทบได้โดยง่ายแบบนี้ มีวิธึใดจึงจะหลุดออกจากปัญหาต่างๆรอบตัวได้ เพราะตอนนี้เป็นโรคนอนไม่หลับ เพราะเครียดเกินกว่าเหตุ ขอพระอาจารย์กรุณาให้คำแนะนำด้วยค่ะ หัวข้อ: จิตใจอ่อนไหวมาก ทำอย่างไรให้ไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรม เริ่มหัวข้อโดย: วิสัชนา ที่ 18 กรกฎาคม 2550, 14:39:29 อ้างจาก: "ปุจฉา" นมัสการค่ะ พระอาจารย์ ก่อนอื่นต้องขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ที่เสียสละเวลามาให้คำแนะนำและข้อคิดดีๆ ที่คาดไม่ถึงกับพวกเรา อ่านทุกคำตอบของพระอาจารย์แล้วประทับใจมากค่ะ คงจะนำไปใช้ได้หลายเรื่อง หลายๆประโยคของพระอาจารย์โดนใจมาก สั้น ง่าย ตรง ได้ใจความชัดเจน ปัญหาที่จะถามพระอาจารย์มีว่า... ช่วงนี้จิตใจ สับสนวุ่นวาย เกิดภาวะจิตตก ด้วยหลายสาเหตุ ซึ่งอาจจะไม่ร้ายแรงมากมายในความรู้สึกของคนอื่นทั่วไป เพราะอย่างไรปัญหาทุกปัญหาย่อมมีหนทางแก้ไขได้อยู่แล้ว แต่เนื่องจากเป็นคนคนอ่อนไหวง่าย จิตอ่อนถูกกระทบง่าย เคยปรึกษาหมอ หมอบอกเป็นโรค PSD (ปสด) จึงอยากเรียนปรึกษาพระอาจารย์ว่า ทำอย่างไร จึงจะทำใจให้เข้มแข็ง ไม่ถูกกระทบได้โดยง่ายแบบนี้ มีวิธึใดจึงจะหลุดออกจากปัญหาต่างๆรอบตัวได้ เพราะตอนนี้เป็นโรคนอนไม่หลับ เพราะเครียดเกินกว่าเหตุ ขอพระอาจารย์กรุณาให้คำแนะนำด้วยค่ะ วิสัชนา... พยายามหาเวลาศึกษาธรรมะคำสอนของพระพุทธเจ้าหรือของครูบาอาจารย์ที่มีอยู่ หาเวลาว่างสักวันละ 15 นาที หรือ 30 นาทีก็ได้ หยิบหนังสือธรรมะขึ้นมาอ่าน เพื่อให้เข้าใจความจริงของชีวิต ทุกวันนี้คนสับสน วุ่นวาย เพราะไม่เข้าใจความจริงของชีวิต เรามีความแก่..ความเจ็บไข้..ความตาย เป็นธรรมดา เราต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจ เป็นธรรมดา เราต้องพบกับสิ่งที่ชอบใจและไม่ชอบใจ เป็นธรรมดา เรื่องเหล่านี้คือความจริงของชีวิต คือสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนเอาไว้ เเต่คนทุกวันนี้ส่วนมากไม่พยายามทำความเข้าใจ ไม่ศึกษา ไม่ปฏิบัติ ดังนั้นเมื่อความจริงของชีวิตเขาแสดงตัวออกมา...ก็เป็นทุกข์ เครียด กังวล นอนไม่หลับ ยาชนิดเดียวที่จะรักษาโรคนี้ได้คือ..ศึกษาธรรมะคำสอนของพระพุทธเจ้า ของครูบาอาจารย์ เมื่อเข้าใจความจริงของชีวิตแล้ว ความคิดความเห็นในเรื่องต่างๆ ก็จะเปลี่ยนไปเอง ความทุกข์ ความกังวล ในสิ่งที่ไม่ควรทุกข์ ไม่ควรกังวล ก็จะค่อยๆ ลดน้อยลง ศึกษาและปฏิบัติธรรมกันเสียตั้งแต่วันนี้ ก่อนที่จะไม่มีวันนี้ให้ศึกษาและปฏิบัติ หัวข้อ: จิตใจอ่อนไหวมาก ทำอย่างไรให้ไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรม เริ่มหัวข้อโดย: ปุจฉา ที่ 25 กรกฎาคม 2550, 14:38:48 อ้างจาก: "ปุจฉา" นมัสการค่ะ พระอาจารย์ ก่อนอื่นต้องขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ที่เสียสละเวลามาให้คำแนะนำและข้อคิดดีๆ ที่คาดไม่ถึงกับพวกเรา อ่านทุกคำตอบของพระอาจารย์แล้วประทับใจมากค่ะ คงจะนำไปใช้ได้หลายเรื่อง หลายๆประโยคของพระอาจารย์โดนใจมาก สั้น ง่าย ตรง ได้ใจความชัดเจน ปัญหาที่จะถามพระอาจารย์มีว่า... ช่วงนี้จิตใจ สับสนวุ่นวาย เกิดภาวะจิตตก ด้วยหลายสาเหตุ ซึ่งอาจจะไม่ร้ายแรงมากมายในความรู้สึกของคนอื่นทั่วไป เพราะอย่างไรปัญหาทุกปัญหาย่อมมีหนทางแก้ไขได้อยู่แล้ว แต่เนื่องจากเป็นคนคนอ่อนไหวง่าย จิตอ่อนถูกกระทบง่าย เคยปรึกษาหมอ หมอบอกเป็นโรค PSD (ปสด) จึงอยากเรียนปรึกษาพระอาจารย์ว่า ทำอย่างไร จึงจะทำใจให้เข้มแข็ง ไม่ถูกกระทบได้โดยง่ายแบบนี้ มีวิธึใดจึงจะหลุดออกจากปัญหาต่างๆรอบตัวได้ เพราะตอนนี้เป็นโรคนอนไม่หลับ เพราะเครียดเกินกว่าเหตุ ขอพระอาจารย์กรุณาให้คำแนะนำด้วยค่ะ นำข้อความมาฝากให้อ่านเพิ่มเติมค่ะ ถาม – เป็นคนอ่อนไหว คิดมาก และทำอะไรจับจด อยากทราบวิธีเปลี่ยนนิสัยทางความคิดของตัวเองค่ะ คนส่วนใหญ่ที่อ่อนไหวเพราะไม่มั่นคงกับความตั้งใจดีๆที่เป็นบุญเป็นกุศล เพราะฉะนั้นการแก้ลำด้วยการตั้งใจอะไรดีๆอย่างมั่นคงเป็นการสวนกระแส บุญเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความสุข ความอบอุ่น และบุญเป็นสิ่งมีอำนาจดัดแปลงใจ ทำให้จิตมีคุณสมบัติที่ดี ที่พร้อมจะเผชิญอุปสรรคและเรื่องยุ่งยากทั้งหลาย เมื่อคิดจะเปลี่ยนแปลงนิสัยจึงควรเอาบุญมาเป็นตัวตั้ง แทนที่จะหาเทคนิคแบบโลกๆมาใช้ ซึ่งอาจได้ผลบ้าง ไม่ได้บ้างผลบ้างในแต่ละคน บุญในขอบเขตของพุทธศาสนาก็คือการให้ทาน การรักษาศีล และการเจริญสติ วิธีทำบุญแก้จิตที่อ่อนไหวคือ ๑) ให้ทาน ตั้งใจแน่วแน่ว่าจะเป็นฝ่ายให้ เลือกเอาที่เห็นว่าทำได้ทุกวันและเป็นเรื่องเล็กน้อยที่สุด เป็นไปได้จริงที่สุด เช่นเมื่อขับรถก็ตั้งใจจะเป็นฝ่ายให้ทางในจังหวะที่สามารถให้ได้อย่างปลอดภัยเสมอ หรือเจอขอทานที่ไหนให้ ๕ บาท หรือถ้าขัดเคืองใครอยู่ด้วยความไม่พอใจนิดๆหน่อยๆก็ถือเอาเป็นเป้าหมายของการฝึกอภัยทาน ตั้งใจว่าจะเป็นฝ่ายไม่ถือสาหาความ สรุปคือเลือกเอาอะไรอย่างหนึ่งเป็นเป้าหมายของการให้ เมื่อทำได้จริงอย่างต่อเนื่อง แม้เป็นเรื่องเล็กน้อยที่สุด พอนานไปจะทำให้นึกเมตตาคนรอบข้างมากขึ้น ใจเปิดกว้างมากขึ้น และให้ความรู้สึกหนักแน่นมั่นคงยิ่งๆขึ้น อันนี้ต้องดูผลข้างเคียงในทางลบดีๆด้วยนะครับ ถ้าตั้งองศามุมมองผิดไปนิดเดียว คือไปคิดให้ทานแบบหวังผล หวังว่าอะไรๆภายนอกจะดีตอบแทนเราทันใจ ก็อาจยิ่งทำให้สงสารตัวเองหนักขึ้น เพราะโลกมักไม่ตามใจเรา มีเราเท่านั้นที่อยากตามใจตัวเองจริงๆ ๒) ถือศีล ตั้งใจแน่วแน่ว่าจะถือศีลให้ได้ ถ้าไม่สามารถครบ ๕ ข้อ ก็ขอให้เลือกเอาข้อใดข้อหนึ่งที่ทำผิดเป็นประจำ แต่ง่ายที่สุดที่เราจะรักษา เช่นเคยพูดปดเอาตัวรอดก็ตั้งใจงดเว้นเด็ดขาด เพียงคิดรักษาศีลข้อใดข้อหนึ่งให้ได้มั่นคง ก็จะสร้างวินัยขึ้นมา ตัววินัยนั่นเองที่เป็นขันติบารมี ทำให้จิตใจแกร่งขึ้นเรื่อยๆตามวันเวลาที่สามารถรักษา ถ้ายิ่งรักษาได้ครบ ๕ ข้อ จิตจะสะอาดปลอดโปร่งกว่าเดิมอีกหลายเท่า ปกติถ้าคิดจะถือศีลในข้อที่ทำผิดเป็นประจำ ธรรมชาติจะส่งบททดสอบมาให้ทันที และมักเป็นเรื่องชินๆอยู่ว่าต้องทำ ไม่ทำไม่ได้ หากคุณฝืนสำเร็จ ตัดใจว่าเอาชีวิตใหม่เป็นเป้าหมาย ต้องบุกน้ำลุยไฟแค่ไหนไม่สน นั่นแหละการเปลี่ยนแปลงนิสัยทางความคิดที่แท้จริง แต่ถ้ารักษาศีล ๕ ได้เป็นปกติอยู่แล้ว เพื่อความเข้มข้นขึ้น หมายเอาความหนักแน่นทางจิตยิ่งๆขึ้น ก็อาจลองขยับไปถือศีล ๘ ดู ยังไม่ต้องเคร่งครัดขนาดตั้งใจถือศีล ๘ เต็มรูปแบบก็ได้ เพียงคิดว่าในหนึ่งเดือนขอมีสัก ๔ วันที่เราจะทำตัวห่างจากกามคุณอันเป็นที่บันเทิง เช่นงดดูทีวี งดฟังเพลง ไม่กินจุบกินจิบจนง่วง เอาเวลาไปอ่านหนังสือธรรมะ ทำอะไรก็ได้ให้จิตใจปลอดโปร่ง รู้สึกสะอาดปราศจากมลทิน เท่าที่เห็นมา คนตั้งใจแล้วทำได้จะมีจิตที่หนักแน่นมั่นคงขึ้นอย่างรวดเร็ว แม้จะยังทำสมาธิไม่ได้ดี ก็มีร่องรอยบอกว่าฟุ้งซ่านน้อยลงแทบเป็นคนละคนภายในเวลาไม่กี่เดือน ๓) เจริญสติ อันนี้ยังไม่แนะนำถึงขั้นนั่งสมาธิหรือทำวิปัสสนาอะไร คือเอาจากความจริงที่คนเราอ่อนไหวง่ายและฟุ้งซ่านบ่อยนั้น ก็เพราะขาดสติอยู่เสมอๆ ถ้าหากมีเครื่องเจริญสติได้ก็ย่อมมีส่วนลดความอ่อนไหวลงอักโข เวลาเดินไปไหนมาไหนให้สังเกตเล่นๆเสมอ ว่ามีความสะเทือนจากฝ่าเท้ากระทบขึ้นมาถึงยอดอก ถ้าฝึกเดินให้สม่ำเสมอ เห็นความสะเทือนอย่างคงเส้นคงวา กระทั่งใจมีจังหวะคงที่ขึ้นมากลางอก ก็จะสังเกตง่ายว่าเมื่อใดวูบไหว เมื่อใดหนักแน่น เมื่อใดหลุดจากสติไปเป็นฟุ้งซ่านวกวน ระหว่างวัน ทุก ๕ นาทีหรือ ๑๐ นาทีถ้านึกออกก็นึกถึงลมหายใจบ้าง เพียงครั้งเดียวทุก ๕ นาทีเมื่อสะสมแล้วจะเป็นสติกองใหญ่ขึ้นมาได้เหมือนกัน สำหรับคนที่มีพื้นจิตใจอ่อนไหวนั้นมักไม่ประสบความสำเร็จในการนั่งสมาธิเร็วนัก จึงท้อง่ายและชวนให้เลิกกลางคัน แต่ถ้าอาศัยทาน ศีลมาช่วย ประกอบกับการกำหนดสติกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนคุ้น โดยไม่หวังผลอะไรเลย ก็อาจเห็นผลทันตาได้เหมือนกัน คือไม่ต้องนั่งสมาธิก็มีสมาธิอยู่ในระหว่างวันมากขึ้น ปลอดโปร่งมากขึ้น เพราะไม่คิดมากเหมือนเดิม รู้สึก นึกถึง และให้ความสำคัญกับจิตที่เป็นกุศลมากขึ้น ครึ่งปีก็อาจเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ได้ครับ (เตรียมเสบียงไว้เลี้ยงตัว โดย ดังตฤณ) |