หัวข้อ: พณฯ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฐ์ ตั้งคณะกรรมการร่วมมือด้านสุขภาพ เคลื่อนนโยบายสาธารณสุข เริ่มหัวข้อโดย: Samrotri2517 ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2554, 20:43:23 ตั้งคกก.ร่วมมือด้านสุขภาพ เคลื่อนนโยบายสาธารณสุข โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 12 กุมภาพันธ์ 2554 10:55 น. http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9540000019005 (http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9540000019005) (http://www.cmadong.com/imgup/pics/1090651.jpg) พณฯ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.สธ. รมว.สธ.ลงนามคำสั่งแต่งตั้ง คกก.ประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในการดำเนินงานด้านสาธารณสุข ให้ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานสาธารณสุข หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและหน่วยงานในกำกับ ในการขับเคลื่อนนโยบายการดำเนินงานด้านสาธารณสุข นายบุณย์ธีร์ พานิชประไพ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า เเมื่อเร็วๆนี้ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ได้ลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับด้านสุขภาพ ในการดำเนินงานด้านสาธารณสุข 1 ชุด เพื่อขับเคลื่อนนโยบายด้านสาธารณสุขในปีงบประมาณ 2554 ลงสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น นายบุณย์ธีร์กล่าวต่อว่า คณะกรรมการชุดดังกล่าวมีจำนวน 16 คน โดยมี (http://www.cmadong.com/imgup/pics/9970391.jpg) นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานกรรมการฯ นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ รองปลัด สธ. เป็นรองประธาน มีกรรมการ ดังนี้ รองปลัด สธ.ด้านพัฒนาการสาธารณสุข และ ด้านสนับสนุนงานบริการสุขภาพ อธิบดีกรมการแพทย์ อธิบดีกรมควบคุมโรค(คร.) อธิบดีกรมอนามัย เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ผู้อำนวยการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล ผู้จัดการกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ และ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้อำนวยการสำนักบริหารการสาธารณสุข เป็นกรรมการและเลขานุการร่วม สำหรับบทบาทของคณะกรรมการชุดนี้ มีหน้าที่ 1.การประสานความร่วมมือในการดำเนินงานด้านสาธารณสุขระหว่างหน่วยงานไปในทิศทางเดียวกัน 2.กำกับติดตาม ปัญหาอุปสรรค เร่งรัดการดำเนินงานและแก้ไขปัญหาการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานร่วมกัน 3.ประสานข้อตกลงในทางปฏิบัติร่วมกัน และสนับสนุนให้หน่วยงาน องค์กรที่เกี่ยวข้อง นำนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข สู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล emo6::)) emo6::)) emo6::)) XXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXX สาธารณสุขมูลฐานเพื่อสุขภาพดี ตามOttawa Charterต้องสำเร็จปี 2 emo20:)):) emo20:)):) emo20:)):) กระทรวงสาธารณสุข รับมาทำเป็นนโยบาย ถึงแม้จะไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ในปี ค.ศ.2000 Health For All By The Year 2000 (พ.ศ.2543) แต่ก็จะสามารถถึงได้ มีตัวชี้วัดครบ 4 ตัวชี้วัด (http://www.cmadong.com/imgup/pics/5835871.jpg) ช้าไป 12 ปี (2555-2543=12)ถึงช้าก็ยังดีกว่าไม่ถึง ประเทศไทยได้กำหนดตัวชี้วัดความก้าวหน้า ของงานสาธารณสุขมูลฐาน ไว้ 4 ข้อ เปรียบได้กับ การวางเสาเข็มบ้าน 4 เสา เพื่อค้ำจุนบ้านไม่ให้ทรุด คือ 1.การที่ทุกคนได้สิ่งจำเป็นพื้นฐาน(จปฐ.)ที่จำเป็นต่อชีวิต ตามเกณฑ์ถ้วนหน้า 2.การที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการมีสุขภาพดี 3.การเข้าถึงสถานบริการสุขภาพได้สะดวก เข้าถึงได้ง่าย โดยถ้วนหน้า 4.การมีสถานพยาบาลที่ให้บริการสุขภาพ อย่างมีคุณภาพ ทุกแห่ง การมีสาธารณสุขมูลฐาน ดี เป็นพื้นฐานที่จะทำให้เกิดสุขภาพดีถ้วนหน้าได้ง่าย สุขภาพดีถ้วนหน้าตาม Ottawa Charter ที่กระทู้ http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,3394.0.html (http://www.cmadong.com/board/index.php/topic,3394.0.html) emo28:win: emo28:win: emo28:win: |