หัวข้อ: เครือข่าย VPN ทุก ร.พ.เป็นสมาชิกทำให้เข้าไปใน ร.พ.เครือข่ายได้จะแก้ปัญหาเบิกจ่ายได้ เริ่มหัวข้อโดย: Samrotri2517 ที่ 31 มกราคม 2554, 19:44:20 คุมค่าเบิกจ่ายยา emo29:P: ข้า(ฆ่า)ราชการ โดยเวบโพสต์ทูเดย์ วันจันทร์ ที่ 31 มกราคม 2554 http://www.posttoday.com/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88/72234/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%88%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%86%E0%B9%88%E0%B8%B2-%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3 (http://www.posttoday.com/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88/72234/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%88%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%86%E0%B9%88%E0%B8%B2-%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/lfvy82-95cf06.jpg) “มาตรการควบคุมการเบิกจ่าย และการใช้ยาข้าราชการ” โดย...ทีมข่าวการเงิน ต้องบอกว่า เรื่องที่พูดกันอื้ออึง และเป็นที่โจษจันกันใน หมู่ข้าราชการมากที่สุดในขณะนี้ ไม่มีเรื่องใดจะเกินหน้า “มาตรการควบคุมการเบิกจ่าย และการใช้ยาข้าราชการ” ของกระทรวงการคลังอีกแล้ว ไม่เฉพาะข้าราชการและคนในครอบครัวที่เป็นผู้ป่วยเท่านั้นที่พูดกันอื้ออึง บรรดา “หมอ” ที่รักษาคนไข้ก็สะท้านกับมาตรการคุมเข้มแบบนี้ เพราะกลัวว่าคนไข้ที่เป็นข้าราชการและได้รับการจ่ายยาเพื่อรักษาพยาบาล จะมาฟ้องหมอในภายหลังได้หากเกิดอาการข้างเคียงจากการหยุดใช้ยา emo4:)) emo4:)) emo4:)) ปัญหาหลักๆ น่าจะมาจากระบบข้อมูลในการควบคุม และ ตรวจสอบค่ารักษาพยาบาล ถ้าวางระบบดีๆ มีประสิทธิภาพย่อมไม่เกิดช่องโหว่ให้เกิดการตักตวงผลประโยชน์ส่วนตน ต้องไปควบคุมต้นเหตุของการรั่วไหลของการเบิกจ่ายยาที่ไร้ประสิทธิภาพจะตรงจุดมากกว่า เพราะ ปัจจุบันโรงพยาบาลจะเป็นผู้วางฎีกามาขอเบิกเงินค่ารักษาพยาบาล เป็นจำนวนเท่าใด กรมบัญชีกลางมักจะโอนเงินเข้าบัญชีโรงพยาบาลไปตามนั้น เพราะ การเชื่อมโยงข้อมูลของคนไข้ เนื่องจากปัจจุบันข้อมูลถูกเก็บไว้ในโรงพยาบาลที่ เข้าไปใช้บริการ เท่านั้น ไม่สามารถจะเข้าไปดูได้ เพราะ เป็นความลับของผู้่ป่วย ยังไม่มีการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างโรงพยาบาลผ่านทางระบบออนไลน์ จึงเป็นช่องโหว่ให้ข้าราชการไปขอเบิกยาจากโรงพยาบาลหลายแห่งได้ เพราะ ไม่กำหนดกฎเกณฑ์แนวทางปฏิบัติ เรื่อง การสั่งจ่ายยา เรื่องขั้นตอนการวินิจฉัย เรื่อง ระดับใดควรให้ยาชนิดใด จึงเกิดการใช้ยา ฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็น emo26:D emo26:D emo26:D XXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXX ปัจจุบัน มีซอฟแวร์อินเตอร์เนต เชื่อมโยงสถานที่ ที่อยู่คนละสถานที่กันให้มาเป็นเครือข่ายได้ (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/l9j8v2-a5c9c2.jpg) ถ้าให้ทุก ร.พ.ใช้คอมพิวเตอร์บันทึกข้อมูลใช้โปรแกรมเดียวกัน เช่น Hosp XP ที่ ร.พ.และ สถานีอนามัยทุกแห่ง ใน อำเภอ ใช้โปรแกรมเดียวกัน ทำให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลกันทาง อินเตอร์เนต เป็นเครือข่ายสาธารณสุข Virtual Private Network:VPN ทำให้คนไข้ไม่ว่าไปรักษาสถานพยาบาลที่ใดในอำเภอ แพทย์ และ พยาบาลเวชปฏิบัติจะ ใช้โปรแกรมได้ เพราะ เหมือนกัน ทุกแห่งในอำเภอ เมื่อแพทย์ออกไปให้บริการที่ สถานีอนามัย ซึ่งอนาคตจะเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล รพสต. ทำให้แพทย์ใช้โปรแกรมได้ โดยไม่ต้องปรับตัว เมื่อเปลี่ยนสถานที่ให้การรักษา ใช้ได้ทันที และ ในอนาคต เมื่อใช้โปรแกรมเดียวกันจะสามารถสร้างเป็นเครือข่ายสาธารณสุขระดับอำเภอ ทำให้แพทย์นั่งอยู่ที่เครื่องคอมพ์ ที่ รพสอ.ล็อคอินเข้าไปนั่งที่ รพสต.ได้ไม่ต้องขับรถไป (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/lfwxsp-55d117.jpg) (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/lfwxtg-0eeefb.jpg) ร่วมกับการใช้ โปรแกรม Skype ทำให้แพทย์ อยู่ที่ รพสอ.สามารถคุยกับคนไข้ที่อยู่ที่ รพสต. ได้ ถ้าอยากดูแผล ดูทางกล้องวิดิโอ ในโปรแกรม Skype ได้ แพทย์จึงตรวจได้ทุกวันที่ รพสต. Virtual Private Network : VPN มาใช้กับทางสาธารณสุขได้ ประโยชน์ คือ 1.ทำให้สามารถเข้าไปดู ร.พ.ได้ทุกที่ในเครือข่าย ถ้ามารักษาต่าง ร.พ.ให้คนไข้บอกว่ารักษาจาก ร.พ.ใดมาก่อน แพทย์จะล็อคอิน เข้าไปใน ร.พ.นั้นเข้าไปดูประวัติการรักษาได้และ ให้การรักษาต่อเนื่องที่ใหม่ได้ทันที ใช้ยาเก่าต่อได้ถ้าเห็นว่าเหมาะสมแล้ว 2.ทำให้แต่ละ ร.พ.สามารถเบิกจ่ายกับสำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ : สปสช.ได้ทางตรง ไม่ต้องรับเงินมาก่อนตามหัวประชากรเหมือนที่ทำอยู่ เช่น ร.พ.นี้มีคนไข้ในพื้นที่ใกล้ ร.พ.ให้ดูแล 100 คน รัฐบาลให้หัวละ x บาทก็จะได้ 100x บาท คนไข้ไปรักษาที่อื่น ๆ ไม่ได้ต้้องเสียเงินเอง ถ้าไม่อยากเสียเงินต้องกลับมารักษาใกล้บ้าน เป็นกุศโลบาย เพื่อให้เกิดการกลับมารักษาใกล้บ้านให้เป็น ร.พ.ประจำครอบครัว ยกเว้นอุบัติเหตุและฉุกเฉิน สามารถรักษาได้ทุก ร.พ.ในเครือข่าย เบิกจาก สปสช.ได้ 3.ทำให้ สปสช.ที่ได้รับข้อมูลตามข้อ 2 ที่ส่งทางอินเตอร์เนตไปให้ สปสช.เดือนละครั้ง ผ่านทาง เครือข่าย VPN นี้ สปสช.จึงสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ โดย สปสช.จะจ่ายตาม ราคากลาง หรือ Diagnostic Related Group : DRG ที่เกิดจากการประชุมตกลงกันของผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ไข้หวัด จะต้องมีประวัติ ตรวจร่างกาย บันทึก ยาที่ใช้ เป็นมาตรฐานของไข้หวัด รวมเป็นค่ารักษา เท่าไร ทุก ร.พ.ก็จะได้ เท่ากันทุกแห่งตามราคากลางนี้ ใช้ยาเกินจำเป็นค่ายามากกว่าราคากลาง ก็ได้เท่าราคากลาง ร.พ.จึงจำเป็นต้องรักษาตามมาตรฐาน เหมือนกัน และ ถ้าส่งข้อมูล ครบถ้วน ตามเกณฑ์ สปสช. ก็จะให้ 100 % ของราคากลางนี้ แต่ถ้าข้อมูลไม่สมบูรณ์ ไม่ถูกต้องจะถูกตัด เปอร์เซ็นต์ตามความบกพร่อง ถ้าบกพร่องมากถูกตัดมาก เป็นต้น เป็นการทำให้ ทุก ร.พ.ต้อง ทำตามแนวทาง ราคากลาง เป็นการรักษาตามแนวทางมาตรฐานที่ตกลงกันไม่ใช้ยาฟุ่มเฟือย 4.ทำให้ สปสช.สามารถตรวจสอบการเบิกจ่ายซ้ำได้ทันที กระทรวงสาธารณสุขจะลงโทษ ทำให้ ข้าราชการไม่กล้าเบิกยาหลาย ๆ ร.พ. อันเป็นที่มาของการออกกฏการเบิกจ่ายข้า(ฆ่า)ราชการ 5.ทำให้การรวมกองทุนสุขภาพ 3 กองทุน เป็นกองทุนสุขภาพแห่งชาติ กองเดียวได้ คือ กองทุนสุขภาพผู้มีรายได้น้อย กองทุนประกันสังคม และ กองทุนข้าราชการของกระทรวงการคลัง เป็นกองทุนเดียวกัน เหมือนกันในสิทธิประโยชน์ และ เป็นมาตรฐานเดียวกัน (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/lfw5zh-ed1b8a.jpg)(http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/lfw61i-e01285.jpg) กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเทคโนโลยี่สารสนเทศและการสื่อสาร เครือข่ายสาธารณสุข VPN นี้คือ คำตอบ ถ้าให้กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ กระทรวงเทคโนฯ จัดให้มีขึ้น จะทำให้ประหยัดค่ายา ได้อย่างถูกจุด และ ช่วยการรักษาพยาบาลให้ง่าย แพทย์ ได้เรียนรู้การรักษาของต่าง ร.พ.ได้ แพทย์ต้องรักษาตาม แนวทาง DRG ที่เป็นแนวทางที่ได้ รับการประชุมแล้วว่าเป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพ ที่ทุก ร.พ.จะต้องดำเนินตาม ซึ่งสามารถ ปรับปรุงให้ดีขึ้นไ้ด้เมื่อมีความรู้ใหม่ หรือ ราคายาเปลี่ยนแปลง หรือ มีการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ emo28:win: emo28:win: emo28:win: (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/lfw6fa-a805c6.jpg) พณฯ ท่าน จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมต.ว่าการกระทรวงสาธารณสุข (http://www.cmadong.com/imageupload/2010_Cmadong-Image/data/image/lfw6ge-73c0d6.jpg) พณฯ ท่าน จุติ ไกรฤกษ์ รมต.ว่าการกระทรวงเทคโนโลยี่สารสนเทศและการสื่อสาร ถ้าพณฯท่าน ทั้ง 2 ร่วมดำเนินการสร้างเครือข่าย โดยเริ่มจากเล็ก ไปใหญ่ คือ จากระดับอำเภอ แล้วขยายเป็นระดับจังหวัด จนในที่สุดขยายเป็นระดับประเทศ ระดับชาติ ไม่ว่าไปรักษาที่ใดใน ประเทศไทย แพทย์ สามารถเข้าไปดูประวัติในทุกแห่งได้ นำมาโพสต์เสนอ ผ่านทางเวบซีมะโด่งเพื่อให้พวกเราช่วยนำเรียนแทนด้วย จะเป็นพระคุณยิ่ง emo2:) emo2:) emo2:) อายจังไม่กล้านำเรียนเสนอเอง |