25 พฤศจิกายน 2567, 20:50:47
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: [1]   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: กองทุนสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดี จะแก้ปัญหาเรื่องความเสียหายจากการรับบริการได้  (อ่าน 8723 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« เมื่อ: 17 มกราคม 2554, 14:54:31 »


                                      

                           โดยคลังข้อมูลของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข สวรส.
                          http://kb.hsri.or.th/dspace/handle/123456789/3074

Title:  ทางเลือกเชิงนโยบาย เรื่องกองทุนสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุข
Authors:  ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์ หทัยชนก สุมาลี
Author's Email:  siriwan@ihpp.thaigov.net
Subjects:  การบริการสาธารณสุข
Issue Date:  Jul-2553  
Publisher:  สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข

Abstract:  

              ผลการรักษาหรืออาการที่ไม่พึงประสงค์จากการรับบริการทางด้านสาธารณสุข ไม่ว่าจะเกิดจาก เหตุสุดวิสัยหรือความประมาทของผู้ให้บริการทางการแพทย์ก็ตาม นำมาซึ่งความสูญเสีย และความ ขัดแย้งระหว่างผู้รับบริการและผู้ให้การรักษา ซึ่งมีผลกระทบต่อระบบการให้บริการด้านสุขภาพของ ประเทศ ที่ความศรัทธาและความเชื่อมั่นระหว่างกันและกันกำลังจะสูญหายไป

              กระบวนการชดเชย ในปัจจุบันที่ต้องใช้กระบวนการทางศาล ไม่อาจเสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้ให้และผู้รับบริการ

             ส่วน การชดเชยเบื้องต้นตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 มาตรา 41 ที่ให้เงิน ชดเชยโดยไม่ต้องมีการพิสูจน์ถูกผิด สามารถบรรเทาความเดือดร้อนของผู้เสียหายได้ระดับหนึ่ง แต่ ครอบคลุมเฉพาะผู้ใช้สิทธิ์หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเท่านั้น ทำให้ผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายเกิดแนวคิดที่ จะขยายความคุ้มครองผู้เสียหายจากบริการทางการแพทย์ให้ครอบคลุมประชาชนไทยทุกคน และ ร่างกฎหมายที่ว่าด้วยเรื่องดังกล่าว

             คณะวิจัยจึงเห็นสมควรที่จะได้มีการสรุปทางเลือกเชิงนโยบาย และ ชี้ให้เห็นผลดีผลเสีย เพื่อให้ข้อมูลแก่สาธารณะ เพื่อให้ทุกฝ่ายมีองค์ความรู้ที่เท่าทันกัน และสามารถ ประเมินความเป็นไปได้ของทางเลือกและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในระยะยาว การศึกษานี้จึงมี วัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์ทางเลือกเชิงนโยบายเรื่องกองทุนสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการ สาธารณสุข โดยใช้วิธีการศึกษาแบบวิเคราะห์เอกสาร และสร้างสมการทำนายค่าใช้จ่ายของกองทุน

             ผลการศึกษาพบว่าการชดเชยผู้เสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์โดยไม่พิสูจน์ความผิด ผ่านกลไกที่มิใช่ศาลได้รับการยอมรับและนำไปใช้ในหลายประเทศ แถบสแกนดิเนเวียและประเทศ นิวซีแลนด์

             แนวคิดนี้อยู่บนหลักการที่ตระหนักใน ความรับผิดชอบของผู้ที่ทำให้เกิดความเสียหายโดยไม่ ต้องพิสูจน์ความผิด รูปแบบของแหล่งที่มาของเงินชดเชยโดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิด มี 2 แบบที่แตกต่าง กัน คือ

1) รายได้จากการเก็บจากผู้ให้บริการหรือกองทุนสุขภาพที่ดูแลสถานพยาบาล ซึ่งผู้ให้บริการใน ภาครัฐมีแหล่งเงินมาจากภาษีเงินได้ ส่วนผู้ให้บริการภาคเอกชนต้องจ่ายเบี้ยประกันเอง และ

2) เก็บ ภาษีสมทบจากผู้มีรายได้โดยมีเพดานรายได้ระดับหนึ่ง และรัฐสมทบให้กับผู้ไม่มีรายได้ และอนุญาตให้ เรียกเก็บจากผู้ให้บริการทางการแพทย์ทั้งรายบุคคลและองค์กรได้ (รูปแบบของประเทศนิวซีแลนด์)

             นักวิจัยเห็นว่า ประเทศไทยควรเลือกรูปแบบที่อยู่บนแนวคิดความรับผิดชอบของผู้ที่ทำให้เกิด ความเสียหายโดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิด (No-Fault Liability)

             ซึ่งจะช่วยลดความขัดแย้งระหว่างผู้รับและ ผู้ให้บริการได้ และ ควรสร้างกลไกการชดเชยเต็มรูปและตัดสิทธิทางศาล (ไม่ตัดสิทธิทางศาลถ้าไม่ขอรับ เงินชดเชยจากกองทุน)
ซึ่งจะช่วยเยียวยาความเสียหายจากการบริการสุขภาพของผู้เสียหายได้อย่าง ครอบคลุมและรวดเร็ว ประเภทความเสียหายที่จะได้รับการชดเชย ควรครอบคลุม ความเสียหายแก่ชีวิต การสูญเสียอวัยวะหรือพิการหรือทุพพลภาพ การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสมรถภาพทั้งร่างกายและ จิตใจ การขาดงานและค่าขาดไร้อุปการะส่วนแหล่งการคลังจากการศึกษานี้ เสนอให้กองทุนสุขภาพที่ดูแลหลักประกันสุขภาพของผู้มี สิทธิ์ จ่ายแทนสถานพยาบาล ส่วนสถานพยาบาลเอกชนให้จ่ายเบี้ยประกันเอง

             นักวิจัยได้ประมาณการรายจ่ายของกองทุน และคาดประมาณเบี้ยสมทบหรืองบประมาณ ตาม ทางเลือกของแหล่งที่มาของเงิน เพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้พิจารณา พบว่า

ค่าใช้จ่ายของ กองทุนมีค่าอยู่ระหว่าง 332 - 659 ล้านบาทต่อปี

เบี้ยประกันเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 5-10 บาท/ประชากรต่อปี


             แต่ถ้าคำนวณหารด้วยจำนวน ผู้ป่วยในทั้งหมด จะอยู่ระหว่าง 80 – 159 บาท / รายผู้ป่วยใน ทั้งนี้ยัง ไม่ได้นำจำนวนผู้ป่วยนอกมาคิด ถ้าเก็บเบี้ยประกันจากกองทุนประกันสุขภาพ ตามจำนวนผู้มีสิทธิ์ 5-10 บาท/ประชากร กองทุน หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าต้องจ่ายสมทบระหว่าง 247-492 ล้านบาทต่อปี ที่เหลือ รัฐสมทบ 85-167 ล้านบาทต่อปี และเก็บจากสถานพยาบาลเอกชน เฉพาะบริการที่อยู่นอกหลักประกันสุขภาพของรัฐ การถกเถียงในประเด็นต่างๆ ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จะช่วยให้มีการนำข้อมูลมาเปิดเผยต่อ สาธารณะมากยิ่งๆขึ้น

             ดังนั้นการศึกษาให้ได้ข้อมูลเชิงประจักษ์ที่จะสามารถแสดงให้ทุกฝ่ายได้รับทราบ ข้อมูลอย่างเท่าเทียมกัน จะช่วยให้สังคมมีส่วนในการตัดสินใจเชิงนโยบายร่วมด้วยมากยิ่งๆขึ้น นอกเหนือจากการแทรกแซงของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียเท่านั้น

              ข้อควรระวังคือ

             หากระบบสุขภาพด้อยคุณภาพ มีปัญหาความผิดพลาดที่เกิดจาก ภาวะแทรกซ้อนและจากความผิดพลาดของระบบสูง จะทำให้จำนวนการชดเชยความเสียหายจากกรณี ของภาวะแทรกซ้อนและระบบ สูงกว่าจำนวนการชดเชยความเสียหายจากความผิดพลาดของผู้ ให้บริการ และมีผลทำให้ต้นทุนการชดเชยในระบบสูงขึ้น

             นอกจากนี้ การดำเนินงานของกระบวนการ ชดเชยในระบบไม่พิสูจน์ผู้กระทำผิด ต้องปกป้องชื่อเสียงของผู้ให้บริการ เพื่อไม่ให้บั่นทอนกำลังใจในการ ให้บริการแต่มีระบบข้อมูลย้อนกลับให้สถานพยาบาลพัฒนาคุณภาพเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

                      รักนะ รักนะ รักนะ
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #1 เมื่อ: 28 มกราคม 2554, 22:06:49 »


พ่อค้าไก่ย่างโวยรพ.ทำคลอดมีปัญหา
โดยเวบเดลินิวส์ วันศุกร์ ที่ 28 มกราคม 2554  
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=419&contentID=118131

พ่อค้าขายไก่ย่างโวยรพ.ทำคลอดมีปัญหาสมอง
ไม่ตอบสนองนาน5เดือนสอบถามบอกเจอกันในศาล




เมื่อวันนี้ ( 28 ม.ค.) นายศุภชัย บัวลอย อายุ 32 ปี พ่อค้าขายไก่ย่าง
อยู่บ้านเลขที่ 455/78 หมู่ 1 ต.บางบ่อ อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ เข้าร้องทุกข์กับ
ผู้สื่อข่าวว่าเมื่อวันที่ 22 ส.ค.53 ได้พานางเตือนใจ เสียงอ่อน อายุ 30 ปี
ภรรยา ที่กำลังตั้งท้องลูกคนที่สอง และครบกำหนดคลอด ไปพบแพทย์โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง
ในอ.บางพลี เพื่อทำคลอดโดยใช้สิทธ์ประกันสังคม

หลังจากคลอดแล้วได้ลูกชายร่างกายสมบูรณ์ปกติ แต่ภรรยาเกิดน้ำคล่ำทะลักเข้ากระแสเลือด
เกิดอาการสมองไม่ตอบสนอง

โดยทางโรงพยาบาลรับปากจะรักษากลับคืนมาให้เป็นปกติภายใน 1 เดือน
แต่พอครบ 1 เดือน ภรรยายังไม่มีอาการดีขึ้น อาการมีแต่ทรงตัวเท่านั้น
ตนจึงเข้าแจ้งความไว้กับสภ.บางพลี  

ส่วนผอ.โรงพยาบาลและแพทย์ผู้ทำคลอด ได้บอกกับตนว่าอีก 1 เดือนนี้ไม่หาย
ต้องรอดูอาการไปเรื่อยๆ 2-3 เดือนอาจจะหาย แต่ผ่านมาเกือบ 5 เดือนแล้ว
ภรรยาก็ยังไม่หาย ล่าสุดตนเข้าไปคุยกับทางโรงพยาบาล แต่ได้คำตอบกลับมาว่า
ให้ไปคุยกันในชั้นศาล ตนจึงสงสัยว่าสาเหตุที่ภรรยามีอาการดังกล่าว
เกิดจากความผิดพลาดของทางคณะแพทย์ผู้ผ่าตัดหรือไม่ เพราะ
ก่อนเข้าทำการผ่าตัดทำคลอดภรรยายังแข็งแรง

ตนจึงมาร้องเรียนกับสื่อมวลชนเพราะเกรงว่าจะไม่ได้รับความเป็นธรรมจากโรงพยาบาล.
    
  gek gek gek

XXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXX

ขอนำมาเป็นกรณีตัวอย่าง เมื่อเกิดกรณีเสียหายจากการเข้ารับบริการ มีการสูญเสีย จะได้รับ
เงินช่วยเหลือให้ตามเกณฑ์ ทันที ไม่ต้องฟ้องร้องให้เสียประโยชน์ ทั้ง 2 ฝ่าย

ฝ่ายคนไข้ได้รับเงินช่วยเหลือทันที ฝ่าย ร.พ.ได้ประโยชน์ ได้ บทเรียน นำไปวางแผนป้องกัน
ไม่ให้เกิดขึ้นอีก - ประชุมความเสี่ยง Risk Management : RM เพื่อระมัดระวัง ความเสี่ยงที่จะเกิด
โดย ร.พ.หรือ สถานพยาบาลต้องยอมจ่ายเข้ากองทุนสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ีดีในระบบบริการฯ
ด้วยความยินดีเพื่อประกันความเสี่ยง ไว้จ่ายให้ทันทีเมื่อผิดจริง เพื่อรักษาความสัมพันธ์อันดีไว้


รักนะ รักนะ รักนะ

 
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #2 เมื่อ: 26 กุมภาพันธ์ 2554, 10:12:00 »


แม่โร่แจ้งความ รพ.เมินทำลูกตาย
โดยเวบสนุกดอทคอม วันศุกร์ที่ 25 ก.พ. 54 16.35 น.      
http://news.sanook.com/1004540-%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B9%81%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1-%E0%B8%A3%E0%B8%9E.%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A2.html

หญิงจังหวัดพิจิตรเข้าร้องเรียนมูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรีเพื่อขอความช่วยเหลือ
หลังจากบุตรชายเสียชีวิตด้วยโรคไส้ติ่ง โดยอ้างว่า

เกิดจากความผิดพลาดในการรักษาของโรงพยาบาลพิจิตร



นางสมัย พิมพ์อักษร เข้าร้องนางปวีณา หงสกุล ที่สำนักงานมูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี
อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี เพื่อขอความช่วยเหลือและความเป็นธรรม

ให้กับ ด.ช.ธนกฤต พิมพ์อักษร บุตรชาย วัย 9 ขวบที่เสียชีวิตด้วยโรคไส้ติ่งโดยเธออ้าง
การเสียชีวิตของบุตรชาย เกิดจากการความผิดพลาดในการรักษาของโรงพยาบาลพิจิตร

นางสมัย เล่าว่า เมื่อวันที่19 ก.พ.ที่ผ่านมาบุตรชายของเธอมีอาการท้องเสียอาเจียน และปวดท้อง
อย่างรุนแรงจึงรีบพาไปพบแพทย์ ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชตะพานหิน จังหวัดพิจิตร
เมื่อมาถึงโรงพยาบาลพยาบาลได้ตรวจปัสสาวะ และ เจาะเลือดไปตรวจโดยพบว่า
บุตรชายปวดท้องไส้ติ่งจึงต้องส่งตัวไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลพิจิตร แต่เมื่อไปถึง
โรงพยาบาลได้รักษาให้เพียงแต่น้ำเกลือก่อนจะเสียชีวิต 3 ชั่วโมงต่อมา

นอกจากนี้ นางสมัย เผยก่อนหน้าที่ลูกจะเสียชีวิต  นางพยาบาลมาวัดความดันของลูกชายและ
กันตนให้ออกมา ตนจึงได้แอบดูลูกอยู่ตลอดเวลาด้วยความเป็นห่วงและเห็นลูกมองมาที่ตนและ
เรียกหาแม่ พร้อมทั้งพยายามยื่นมือมาหาตน หลังจากนั้นลูกได้หมดสติ จึงถูกนำตัวไปห้องไอซียู
ต่อมา พยาบาลแจ้งว่าลูกชายเสียชีวิตแล้วเพราะติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรง

จากการชันสูตรพลิกศพพบว่าน้องกายไส้ติ่งแตกทำให้เสียชีวิต

  sorry sorry sorry

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

งง งง งง งง งง งง

ถ้าสอบสวนแล้ว ผิดจริง ร.พ.แสดงความเสียใจ และ จ่ายเงินตามเกณฑ์การช่วยเหลือทันที



ส่วนญาติต้องให้อภัยยอมรับ ว่าความผิดพลาดเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงยาก ไม่ฟ้องโรงพยาบาล
และ

สถานบริการสาธารณสุข ต้องร่วมจ่ายเงินสะสมไว้ เพื่อบรรเทาความเสียหายกับญาติพี่น้อง ที่



กองทุนสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการฯ



รูป การนำปัญหามาประชุม"ประเมินความเสี่ยง Risk Management : RM"

สถานบริการสุขภาพ ต้องนำเรื่องผิดพลาดไปแก้ไข  ประชุม RM

ป้องกันไม่ให้เกิดเรื่อง เช่นนี้ขึ้นอีกอย่างสุดความสามารถ

  win win win
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« ตอบ #3 เมื่อ: 28 มีนาคม 2554, 19:54:40 »




จากก้นบึ้งของหัวใจ ข้าพเจ้าคือ "เหยื่อ" ของความผิดพลาดทางการแพทย์ เหยื่อของผู้ประกอบ
ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนที่ไร้เมตตาธรรม ไร้ความรับผิดชอบ เหยื่อของระบบที่ห่วยแตกที่ไม่ได้
ช่วยอะไรแต่กลับเปิดทางสะดวกให้ครอบครัวข้าพเจ้าถูกกระทำย่ำยีเสียจนแทบไม่เหลือซากของ
ความเป็นคน ข้าพเจ้าไม่รู้ว่าตัวเองรอดมีลมหายใจ ตะเกียกตะกายลุกขึ้นมาเล่าเรื่องราวซ้ำแล้ว
ซ้ำเล่าโดยไม่เคยเบื่อได้อย่างไร


“มีนาคม” เดือนเกิดน้องเซ้นต์ ถึงเดือนนี้ทีไรต้องน้ำตาตกใน 20 ปีผ่านไป ปีแล้วปีเล่ากับการตั้งตา
รอคอยความเป็นธรรม ไม่มีวี่แวว ไม่มีใครรู้ว่าต้องรอจนสิ้นลมหรือไม่กับคำว่า "ยุติธรรม" ข้าพเจ้าไม่รู้
จะทำอย่างไรดี พูดดีเขาก็ไม่ฟัง ประท้วงออกสื่อเขาก็โกรธ โรงพยาบาลเขายิ่งใหญ่เสีย

จนเมตตารับผิดชอบชีวิตเด็กคนนี้ไม่ได้..!

ผู้ใหญ่หลายท่านกำชับให้เขียนเป็นหนังสือเอาไว้ สังคมจะได้ประโยชน์ เคยคิดว่าจบทุกเรื่องแล้ว
ค่อยเขียน แต่จากการต่อสู้ทั้งเรื่องส่วนตัวและเรื่องส่วนรวม มีแต่ความไม่ชอบมาพากลทำให้ตัดสินใจ
เขียนหนังสือ ชีวิตนี้เคยเขียนแต่เรียงความ เขียนป้ายประท้วง และที่เขียนได้ไม่รู้จักเบื่อคือเขียนเรื่อง
ร้องเรียน ข้าพเจ้าไม่ใช่คนดัง ไม่ใช่ดารา นักร้อง นางงามหรือนางแบบค่าตัวแพง ไม่ใช่อะไรเลย
เขียนแล้วใครเขาจะซื้ออ่าน ขายไม่ออกจะทำอย่างไร จะมีสำนักพิมพ์ไหนเขากล้าพิมพ์ให้

"ข้าพเจ้าจึงกลุ้มเรื่องเขียนหนังสือมากกว่าเรื่องสู้คดีเสียอีก”

หนังสือเล่มนี้เป็นเรื่องจริง กลั่นจากหัวใจที่เจ็บปวดรวดร้าวอย่างแสนสาหัสของมนุษย์คนหนึ่ง
เขียนไปร้องไห้ไปจนไม่รู้จะบรรยายความทุกข์ที่อัดแน่น อยู่ในหัวอกหัวใจอย่างไรได้หมด พูดเรื่อง
จริงมากก็ไม่ได้ติดคุกขึ้นมาใครจะเลี้ยงลูก ด้วยข้อจำกัดเรื่องปัญญาและสติที่แตกบ่อยครั้ง
หากผิดพลาดประการใด อ่านแล้วไม่ได้อรรถรสหรือบางคำพูดดูก้าวร้าวรุนแรง ก็ตำหนิติชมได้
ยินดีรับฟังแล้วนำไปแก้ไข จะไม่โกหกปัดความรับผิดชอบแล้วป้ายสีให้คนอื่น
เหมือนที่ครอบครัวข้าพเจ้าถูกกระทำโดยเด็ดขาด



“อุ้ย” ปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา

http://thaimedicalerror.blogspot.com/

  sorry sorry sorry
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
  หน้า: [1]   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><