พระบรมราโชวาทเรื่องป่าชายเลน...คิดแบบองค์รวมหรือแยกส่วนถึง...เขาพระวิหารแนวคิดองค์รวมแตกต่างกับแนวคิดแบบแยกส่วนโดยสิ้นเชิง เริ่มต้นจากการนิยามความสัมพันธ์ระหว่างความคิดติดตัวตน กับความเป็นจริงที่ปรากฏ ฝ่ายที่อ้าง "คิดแบบองค์รวม" หรือใช้ภาษาต่างด้าวก็ต้องเรียกว่า Holistic
ส่วนแนวคิดแบบแยกส่วนนั้น เริ่มต้นจากความเชื่อว่า คนแต่ละคนสามารถแยกแยะอัตวิสัย หรือความรู้สึกนึกคิดของตนออกจากภาวะวิสัยหรือความเป็นจริงที่ดำรงอยู่ภายนอก นอกเหนืออิทธิพลจากความรู้สึกนึกคิดของผู้ใดผู้หนึ่งมีสภาพเป็นเอกพจน์เป็นสากลคือ เป็นอิสระจากการถูกครอบงำแต่จริงหรือ?
การกล่าวอ้างว่า ในขณะเดียวกัน ความเป็นจริงทั้งหลายก็สามารถนำมาแยกแยะออกเป็นส่วนๆ ได้โดยเมื่อรวมความเป็นจริงทั้งหมดเข้าด้วยกันแล้วก็ได้องค์รวมคือ ความเป็นจริงอย่างครบถ้วนจากทุกส่วนนั่นเอง
หลังจากเกิดความเข้าใจในความเป็นจริงครบถ้วนแล้ว คนเราแต่ละคนหรือภาษาหรูเรียกว่า ปัจเจกชนก็สามารถควบคุมจัดการทุกสิ่งให้เป็นไปได้ตามต้องการโดยมีขอบเขตของความรู้ของแต่ละคนและความเป็นจริงเป็นตัวกำหนด ดังมักกล่าวอ้างว่า เมื่อเข้าถึงความเป็นจริงของส่วนหนึ่งส่วนใดแล้ว ก็ควบคุมจัดการส่วนนั้นได้ เมื่อรู้ทุกส่วนครบแล้ว ก็สามารถคุมการจัดการทั้งหมดได้ โดยไม่ตกภายใต้อิทธิพลใดๆ ดังนั้นคนแต่และคนหรือมนุษย์
แต่ละคนจึงมีอิสระทางการคิดและทำ ทว่า เชื่อได้สนิทกระนั้นหรือ
อย่างไรก็ตาม เมื่อสภาวะของความเป็นจริงมีลักษณะสมบรูณ์เป็นเอกพจน์และเป็นสากล เรื่องควบคุมการจัดการจึงต้องรวมศูนย์ขึ้นตรงต่อผู้ที่มีความรู้สูงสุดคือ ผู้ที่ทำหน้าที่คิดแทนจัดการแทนผู้ที่มีความรู้น้อยกว่า และเป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์และวิธีการในการจัดการ เช่นกันกับความเป็นจริง การจัดการจึงมีแนวทางเดียวและเป็นสากล หรืออีกนัยหนึ่งก็คือเป็นสูตรสำเร็จ หรือที่ทางปรัชญาเรียกลักษณะดังกล่าวนี้ว่า ญาณวิเศษคือต้องเชื่อคนที่มีความรู้เข้าถึงความรู้มากที่สุด และมากกว่าคนอื่นตามความคิดของเฮเกล จนทำให้ฮิตเลอร์หลงตนเอง ก่อสงครามโลกครั้งที่สองขึ้น
อีกทั้งการรวมตัวกันเป็นกลุ่มสังคม เป็นไปเพื่อเป้าหมายในการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการ ด้วยการแบ่งแยกบทบาทหน้าที่ระหว่างกัน ดังเช่นระดับประเทศแยกสามอำนาจคือ นิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ ตลอดจนเพื่อการรวบรวมข้อมูลความเป็นจริงของแต่ละส่วนป้อนสู่ศูนย์กลางการจัดการ หรือเหมือนทำหน้าที่องค์รวมความสัมพันธ์ระหว่างคนแต่ละคนที่มีต่อกัน จึงมีลักษณะขึ้นตรงต่อผู้ที่มีความรู้ที่สุดที่จะจัดการให้เป็นไปเสมอมา ปราศจากอคติ เพราะความแตกต่างหลากหลายของตัวตนคนคิดคนจัดการมักมีสิ่งปนเปื้อนที่ทำให้ความเป็นจริงนั้นขุ่นมัว จึงจำเป็นต้องตัดออกและทำลายเสีย คงเหลือไว้แต่เอกภาพของความเป็นกลางหรือสิ่งที่จะยังประโยชน์ในการนำไปอธิบายชัดเจนได้ทั้งองค์รวมและแยกส่วน
เหตุนี้แนวคิดองค์รวมนั้นจึงเชื่อว่า ความเป็นจริงที่คนแต่ละคนรับรู้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความเป็นจริงทั้งหมดที่ดำรงอยู่ กล่าวคือไม่ครบถ้วนสมบรูณ์และไม่มีวันจะครบถ้วนจริงๆ ด้วย เพราะการรับรู้ความเป็นจริงของแต่ละคนต้องอาศัยระบบประสาทสัมผัสที่มีขอบเขตความสามารถจำกัด การตีความที่มักเข้าข้างตัวเองเสมอและอ้างปรากฏการณ์หรือเรื่องอื่นๆ ดังนั้นความเป็นจริงที่รับรู้จึงมีสภาพจำกัดไปด้วย
หรือทำนองผู้รู้สูงสุดจะกำหนดความจริงและความรู้ไว้ไม่เพียงความเป็นจริงที่คนแต่ละคนรับรู้จะเป็นเพียงความเป็นจริงที่ไม่สมบรูณ์เท่านั้น หรือจริงอย่างที่อยากให้จริง แต่ยังแยกออกจากอคติของค่านิยมไม่ได้อีกด้วย หรืออีกนัยหนึ่งก็คือไม่สามารถเป็นกลางได้หรือจริงแบบเชื่อได้ทุกฝ่ายเหตุเพราะที่มาแห่งความเป็นจริง ความเป็นจริงที่ดำรงอยู่อย่างอิสระ แท้จริงเป็นเพียงข้อมูลความเป็นจริงบางส่วนที่รับรู้ผ่านระบบประสาทสัมผัสเข้าสู่สมอง เพื่อตีความและประกอบขึ้นใหม่เป็นภาพเสมือนจริงเท่านั้น ซึ่งมีการเตรียมการให้เป็นเช่นนั้นแล้วจากผู้รู้สูงสุดหรือเหล่าผู้ละม้ายคล้ายมีญาณวิเศษ
ด้วยเหตุนี้ ความเป็นอัตลักษณ์หรือตัวตนที่เป็นเอกลักษณ์ของผู้รู้สูงสุด จึงมีผลต่อภาพความเป็นจริงที่สร้างขึ้น ตั้งแต่ประสบการณ์ ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม สภาพแวดล้อม สังคม เป้าหมาย ฯลฯ เป็นต้น ปัจจัยเหล่านี้ที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเรา คือผู้รับความรู้จากผู้รู้สูงสุดอีกทอดหนึ่ง ล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อความเป็นจริงที่สร้างขึ้นทั้งสิ้น แล้วเชื่อว่าเป็นเราสร้างขึ้นเอง เมื่ออัตลักษณ์อัตวิสัยของผู้รู้สูงสุดเปลี่ยนไป ความเป็นจริงก็เปลี่ยนไปด้วย
ยิ่งไปกว่านั้นในอีกด้านหนึ่ง ความเป็นจริงก็มิอาจถูกตัดแบ่งออกเป็นส่วนๆ ได้ เพราะการดำรงอยู่ของแต่ละส่วนนั้นขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์กับส่วนรวมทั้งหมด การแยกส่วนจึงส่งผลให้ทั้งส่วนที่ถูกแยกและส่วนรวมที่ถูกพรากส่วนออกไป ขาดความครบถ้วนสมบูรณ์ลงทันที ดังนั้นความรู้ที่ได้จากการมองแบบแยกส่วนเพื่อทำการศึกษา จึงเป็นเพียงการศึกษาชิ้นส่วนที่ไม่สมบูรณ์ทั้งสิ้น และเมื่อประกอบความรู้จากส่วนที่ไม่สมบูรณ์เข้าด้วยกัน ผลรวมจึงเป็นเพียงสภาพความเป็นจริงที่ไม่สมบูรณ์เท่านั้น ดังนั้นแนวคิดองค์รวมที่สมบูรณ์จึงต้องมาจากการแยกส่วนที่ต้องสร้างความสัมพันธ์กับองค์รวมอย่างสมบูรณ์ด้วย
แม้ว่าอย่างแน่นอน การได้รับข้อมูลความรู้ที่ใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด จำเป็นอย่างยิ่งต่อการอยู่รอดเพื่อดำรงชีวิตของสรรพสิ่ง ทุกชีวิตจำเป็นต้องติดต่อแลกเปลี่ยนกัน คัดสรรและรวบรวมความเป็นจริงที่ไม่สมบูรณ์จากแต่ละคน มาปะติดปะต่อเข้าด้วยกันเป็นภาพรวมที่เสมือนจริงมากที่สุด คือให้เกิดความจริงแบบองค์รวมที่สมบูรณ์เชื่อถือได้ที่สุดโดยไม่มีข้อกังขา
ดังนั้น ถ้าจะกล่าวให้ถูกต้องที่สุดตามแนวคิดองค์รวมแล้ว ความเป็นจริงก็คือ สิ่งที่ต้องมาจากคนแต่ละคนร่วมกันสร้างขึ้น ผู้ที่มีอัตลักษณ์อัตวิสัยหรือผู้รู้สูงสุดใกล้เคียงกัน ก็รวมกันสร้างความเป็นจริงชุดหนึ่ง ที่มีความแตกต่างกับความเป็นจริงชุดอื่นที่กลุ่มอื่นที่มีอัตลักษณ์อัตวิสัยคล้ายกันสร้างขึ้น ฉะนั้น ความเป็นจริงจึงเป็นพหูพจน์ไม่ใช่เอกพจน์ มีสภาพเฉพาะกลุ่ม เฉพาะพื้นที่ มิใช่สิ่งสากล หรือสรุปง่ายๆ ต้องเป็นความจริงที่คนแต่ละคนจากหลายๆ กลุ่มมาร่วมสร้างขึ้นกัน เพื่อให้สมบูรณ์ที่สุด แต่จะอ้างความสมบูรณ์นี้ว่าใช้ได้กับกลุ่มอื่นๆ ที่ยังไม่ร่วมสร้างไม่ได้
นอกจากนี้ ความเป็นจริงที่ปัจเจกร่วมกันสร้างขึ้นนี้ ก็ยังแปรเปลี่ยนไปตามการปฏิสัมพันธ์ของคนแต่ละคนอีกด้วย ตัวอย่างเช่น ทุกวันนี้การมีโทรศัพท์มือถือ ใช้คอมพิวเตอร์ ใช้กันอย่างแพร่หลาย นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง รูปแบบในการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ทำให้เกิดการไม่ตรงต่อเวลาของกลุ่มวัยรุ่นหรือแม้แต่คนทำงานเองทั่วโลก ไม่ใช่ความผิดอีกต่อไป ตราบใดที่ยังสามารถติดต่อกันได้ด้วยโทรศัพท์มือถือ เพราะแนวคิดสำหรับกลุ่มวัยรุ่นเหล่านี้หรือคนทำงาน การไม่มาตามนัดไม่ใช่ความผิดหนักหนา เพราะมีปัจจัยทางด้านที่สำคัญกว่าคือ ปัญหาการจราจรที่ทั่วโลกก็มีปัญหาละม้ายคล้ายกันหมด แต่ถ้าลืมเปิดโทรศัพท์มือถือ หรือการปล่อยให้แบตเตอรี่หมดต่างหากที่ถือเป็นความผิดอันใหญ่หลวงของวัยรุ่นและคนทำงานหากมีปัญหาการไม่ตรงต่อเวลาแล้วละก็ควรต้องไต่สวนที่ตรงนี้เพราะว่าถือว่า ปิดการรับสารกัน ดังนั้นเหตุจะไม่ตรงเวลาตามนัด หรือไม่ไปตามนัดย่อมเกิดขึ้นแล้วแน่นอนและชัดเจนทันที
เช่นเดียวกัน กรณีปัญหาที่เกิดขึ้นกับเขาพระวิหารขณะนี้ก็ไม่ผิดกับเรื่องของป่าชายเลน ที่ขัดแย้งกันในความคิดแบบองค์รวมกับแยกส่วนนั่นเอง เช่น ปัญหาป่าชายเลนเป็นเรื่องการบุกรุกป่าชายเลน การสัมปทานป่าชายเลน แย่งชิงทรัพยากรในป่าชายเลนล้วนเป็นการคิดแบบแยกส่วน แต่ความคิดแบบองค์รวมที่นำความคิดแบบแยกส่วนนี้มาอธิบายแล้วได้ความจริงแท้สมบูรณ์ที่สุดคือ พื้นที่ป่าชายเลนที่เป็นปัญหาตามความคิดแยกส่วนนั้นทำรายได้มหาศาลหรือผลประโยชน์อื่นใด ให้แก่คนบางกลุ่มบางพวกมานับไม่ถ้วนข้าง ซึ่งอธิบายเรื่องของความบกพร่องทางจิตสำนึกได้อย่างดีที่สุด
เหตุนี้ จึงขอฝากเป็นข้อคิดในเรื่องอุทาหรณ์จากป่าชายเลนถึง "เขาพระวิหาร" เวลานี้ด้วยพระราชดำรัสที่ทรงพระอัจฉริยภาพอย่างยิ่งและอธิบายคิดแบบองค์รวมและแยกส่วนที่เป็นความจริงแท้สมบูรณ์ที่สุดอย่างยิ่ง ด้วยการขออัญเชิญพระบรมราโชวาทจากพระราชดำรัสของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานแก่คณะบุคคลที่เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ 11 สิงหาคม 2544 ใจความตอนหนึ่งว่า.....
"ขณะนี้ป่าชายเลนถูกทำลายมากมายก่ายกอง เราก็น่าจะสอนลูกหลานเรา ให้รู้ถึงคุณค่าของป่าชายเลนที่มีประโยชน์ต่อคนไทยทุกคนในแผ่นดินด้วยที่ช่วยเก็บรักษาอาหาร เช่น พืชพันธุ์ปลาต่างๆ ข้าพเจ้าคิดเอาเองว่าพวกเรานี้ รู้สึกยังรักแผ่นดินนี้น้อยไป..."
กรณีเขาพระวิหาร...ไม่ได้บอกว่ากลุ่มที่อาจคิดไม่ลึกใจร้อนไปหน่อยและเป็นองค์รวมแท้จริงว่า ไม่รักชาติ...แต่รักชาติน้อยไปฤาเปล่าหนอ...โปรดน้อมรับพระราชดำรัสข้างต้นนี้น้อมใส่เกล้าไว้ก็จะดีเน้อ!...ทบทวนซะให้ดี
ผศ.ดร.ชวนะ มหิทธิชาติกุล - ภวกานันท์
บ้านเมืองเรื่องจริง : นสพ.แนวหน้า
http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:q64nOhSCA3sJ:market.spiceday.com/redirect.php%3Ftid%3D2397%26goto%3Dlastpost%26sid%3D55089p+%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%97+%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3&cd=1&hl=th&ct=clnk&gl=th