15 มกราคม 2568, 15:32:21
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: [1]   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: การดูแลทางด้านสาธารณสุขที่อังกฤษและฟินแลนด์พึ่งสาธารณสุขมูลฐานมากกว่า 90 %  (อ่าน 6732 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« เมื่อ: 29 ตุลาคม 2553, 16:52:53 »

   
                     การดูแลทางด้านสาธารณสุขเบื้องต้นที่อังกฤษ และ ฟินแลนด์
                        พึ่งระบบPrimary health careมากประมาณ90%ของงาน


                                    

                          สถานีอนามัยที่สร้างไว้แล้วทุกตำบล สามารถพัฒนาเป็น
                          สถานพยาบาลใกล้บ้านเป็นสถานที่ทำงานปฐมภูมิ ของ
                                 แพทย์ทั่วไป หรือ แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

                                    .........................................................

               การดูแลทางด้านสาธารณสุขเบื้องต้น(ระดับปฐมภูมิ)ที่อังกฤษ และ ฟินแลนด์

        บทความนี้ ผมในฐานะ แพทย์จุฬาฯ รุ่น 30 ลูกศิษย์ ท่านอาจารย์ พินิจ กุลละวณิชย์ เคยรับฟัง
ท่าน สอน เกี่ยวกับโรคทางเดินอาหาร เมื่อมาได้พบ เรื่อง ที่ท่านเขียนลงคอลัมภ์ใน นสพ. มติชน
ก็เก็บข่าวไว้ในเครื่องคอมพ์เพื่อนำมาอ้างอิง วันนี้จึงนำมาลงเผยแพร่ และ เรียนขออนุญาต
ท่านอาจารย์พินิจ มาด้วยความเคารพอย่างสูง ขอนำมาลง โดยยังไม่ได้ติดต่อกับท่าน

        หวังว่า ท่านอาจารย์คงไม่ขัดข้อง เพราะ ว่าเป็นบทความที่เป็นประโยชน์ต่อวงการสาธารณสุข
ของประเทศ และ เกี่ยวข้องกับงานที่ผมรับผิดชอบ ในตำแหน่งหัวหน้า งาน

                                          "เวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน"

         จึงขอเรียนอนุญาต นำมาเผยแพร่ ให้ชาวหอซีมะโด่ง จุฬาฯ ได้อ่านด้วย เนื้อข่าวมีดังต่อไปนี้

                              ...........................................................................

                            

                           อาจารย์ ศ.น.พ.พินิจ กุลละวณิชย์
                                   เลขาธิการแพทยสภา
                                     ..........................

                                 "แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป "

                  ในคอลัมภ์ ส่องโลกส่องสุขภาพ กับ แพทยสภา จาก
             น.ส.พ.มติชน วันศุกร์ ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2548 มีใจความดังนี้

         เมื่อเร็วๆนี้ ผมได้เดินทางไปดูงานทางด้าน Primary health care หรือ การดูแลทางด้านสาธารณสุขเบื้องต้น(ระดับปฐมภูมิ)ที่อังกฤษ และ ฟินแลนด์ กับ กรรมการบริหารของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. หรือ โครงการ”30บาท”จริงๆแล้ว ผมไม่ได้เป็นกรรมการบริหารของ สปสช.แต่ท่าน นายกแพทยสภา ศ.เกียรติคุณ น.พ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา เป็น แต่ท่านไปไม่ได้เลยให้ผมไปแทนในนามของแพทยสภา

        จาการดูงานอาจกล่าวได้โดยสรุปว่าทั้ง 2 ประเทศ พึ่งระบบ Primary health care มาก กล่าวคือ 90% ของการดูแลสุขภาพของประชาชนจะอยู่ที่การป้องกัน สร้างเสริมสุขภาพ การดูแลการเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆ เท่านั้น ซึ่งงาน 90% นี้จะขึ้นอยู่กับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป(General practisioner หรือ GP.), พยาบาล และ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขต่างๆ

         ประชาชนทุกคนถ้ามีปัญหาทางด้านสุขภาพจะต้องไปหา GPถ้า GPแก้ปัญหาไม่ได้จึงจะส่งต่อไปให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญในโรงพยาบาล ประชาชนทุกๆ คนจะต้องขึ้นทะเบียนไว้กับ GP ฉะนั้น แพทย์ GP1คนจะมีผู้ป่วยหรือ ประชาชนประจำเป็นพันคน

         การทำงานของระบบ Primary health care ถือ ว่าสำคัญมากเป็นการสกัดกันไม่ให้ผู้ป่วยไปโรงพยาบาลโดยไม่จำเป็น แต่ถ้ามีกรณีฉุกเฉินก็ไปโรงพยาบาลได้เลย สมัยก่อนที่อังกฤษ GPอาจทำงานคนเดียว แต่ปัจจุบันนี้ GPจะรวมตัวกัน เป็นกลุ่ม อาจจะมี 6-10 คน มีพยาบาลเจ้าหน้าที่อื่นๆ รวมแล้วอาจมีถึง 30-40 คนทำงานค่อนข้างสบาย เพราะผู้ป่วยไม่หนัก

        บ้านเราพยายามมีระบบ GP แต่ยังทำไม่ครบวงจร ถ้าจะทำให้มีประสิทธิภาพ จะต้องทำคล้ายๆระบบอังกฤษ ฟินแลนด์ คือ ประชาชนทุกคนต้องไปขึ้นทะเบียนกับแพทย์ GPท่านหนึ่งท่านใด เงินเดือน GPต้องดีพอ แต่ปัจจุบันนี้ GPของเราได้เงินเดือนเท่าแพทย์อื่น ถ้าทำราชการ และ ต้องไปหารายได้พิเศษเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ผู้ป่วยมักชอบไปหาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมากกว่า

        แต่เขาก็ยังให้ความสำคัญกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญยังต้องมีมากพอ ยังต้องใช้งบประมาณมาก เพราะผู้ป่วยหนักๆ จะต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญ ใช้เครื่องมือที่แพงในการตรวจ ยาที่แพง และ งบประมาณในการฝึกผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ

        ถ้าเราทำตามฝรั่งต้องทำให้ครบวงจร แต่ต้องเอาเฉพาะส่วนที่ดี เหมาะสมกับบ้านเราเท่านั้น และ นำมาปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นกับสภาพของบ้านเรา

                                                                น.พ.พินิจ กุลละวณิชย์
                                                                 เลขาธิการแพทยสภา

                                                                 win win win

XXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXX

        ในภาวะที่ยังขาดแคลนแพทย์ แต่มีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สามารถทำให้ใช้แพทย์
น้อยลงได้ โดยการให้แพทย์จบใหม่ หรือ แพทย์ทั่วไป ประจำ ร.พ.สร้างเสริมสุขภาพอำเภอ
และ ให้พยาบาลวิชาชีพ เรียนเสริมเป็นพยาบาลเวชปฏิบัติ ต่ออีกตามที่กำหนด เพื่อมาอยู่
ประจำที่ โรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพตำบล : รพสต.อย่างน้อย 2 คนเพื่ออยู่เวรนอกเวลา
ได้ เมื่อผ่านการอบรมเป็นพยาบาลเวชปฏิบัติแล้วสามารถให้การรักษาเบื้องต้นได้ 5 ใน 10 คน
เมื่อเกินความสามารถ ปรึกษาแพทย์ที่เป็นแพทย์ประจำ รพสต.นั้นได้


          

        แพทย์สามารถมาตรวจที่ รพสต.ทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้ เรียก

                          VPN หรือ Virtual Private Network

                 http://www.vcharkarn.com/varticle/17748

       แพทย์มี User Name และ Password จะเข้าไปที่ รพสต.ทางเครือข่ายได้พยาบาลเวชปฏิบัติ
ทำหน้าที่ เหมือนพยาบาลหน้าห้องตรวจที่ต้องซักประวัติ อาการนำมาหา ประวัติเจ็บป่วยปัจจุบัน
ประวัติแพ้ยา และ โรคประจำตัว พร้อมวัดสัญญาณชีพ

       เตรียมไว้ในห้องตรวจ ซึ่งเมื่อแพทย์เข้ามาในเครือข่าย จะเห็นชื่อ คนไข้สามารถเข้าไปดู
ได้ มีระบบ Multimedia คนไข้ แพทย์ สามารถเห็นภาพ และ ใช้เสียงติดต่อกันได้ โดยมี
พยาบาลเวชปฏิบัติ เป็นสื่อกลางเชื่อม ระหว่างคนไข้กับแพทย์ อำนวยความสะดวกตรวจ
เพิ่มเติมตามที่แพทย์ต้องการได้ เมื่อแพทย์สั่งยา จะเหมือนสั่งยา ที่ รพสต.เจ้าหน้าที่เภสัช
จะจัดยาตามแพทย์พิมพ์สั่งมาได้


        ทำให้แพทย์ทั่วไปออกตรวจคนไข้นอก ที่ รพสต.คนไข้พบแพทย์ได้โดยไม่ต้อง
เดินทางมาพบกัน จะมีเวลาตรวจเป็นเวลา ถ้าคนไข้มานอกเหนือจากเวลาที่ำกำหนด
พยาบาลเวชฯ ที่อยู่ประจำสามารถใ้ห้การดูแลได้ เนื่องจากมีการบันทึกการรักษาเก่า
ไว้ในเครื่อง สามารถ Remedication ได้ ถ้ามีปัญหาก็โทรฯมือถือถามได้ หรือ ให้แพทย์เข้า
เครือข่าย มาดูให้ได้ จะทำให้ไม่ต้องใช้แพทย์มาประจำ รพสต. แต่ประจำ รพสอ.
คอยรับคนไข้ ที่ ต้องนอน ร.พ.ส่วนใหญ่แพทย์ทั่วไปดูได้เอง มีส่วนน้อยจึงส่งต่อ
พบแพทย์เฉพาะทาง ที่อยู่ในแผนกเฉพาะ ที่ โรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพจังหวัด

        คนไข้อาการหนัก หรือ ฉุกเฉิน จะมีรถฉุกเฉินพร้อมเจ้าหน้าที่ ที่ได้รับการอบรม
ไปรับตัวมาดูแลใน ร.พ.ตามความเหมาะสมได้

        ผลของการดุแลรูปเครือข่าย 3 ระดับ เชื่อมต่อกันด้วย ระบบเทคโน ฯ VPN

ร่วมกับการ มีรถฉุกเฉินพร้อมทีมบุคลากรในรถฉุกเฉิน ทำให้สามารถใช้คนให้ตรงกับความสามารถ


สถานพยาบาลด่านแรก ได้แก่ รพสต. กับ รพสอ. ใช้แพทย์คนเดียวกัน ร่วมกับพยาบาลเวชปฏิบัติ

        พยาบาลเวชปฏิบัติ สามารถดูคนไข้ที่เดินเข้ามา 10 คน จะดูแลได้ 5 คน อยู่ประจำ รพสต.

        แพทย์ทั่วไป สามารถดูแลคนไข้เดินเข้ามา 10 คนจะดูได้ 9 คน อยู่ประจำ รพสอ.

สถานพยาบาลด่านสอง ได้แก่ โรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพจังหวััด รพสจ.

        แพทย์เฉพาะทาง สามารถดูแลคนไข้ที่เกินความสามารถของแพทย์ทั่วไป อยู่ รพสจ. เพราะ

คนไข้ที่เข้ามารักษาพยาบาล 10 คน จำเป็นต้องพบแพทย์เฉพาะทางมีน้อยมาก อาจไม่มีเลยก็ได้

สถานพยาบาลด่านสาม ได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำศูนย์ รพสศ

        มีแพทย์เฉพาะทางระดับสูง กว่าแพทย์เฉพาะทางขึ้นไปอีก เพื่อรักษาโรคยาก ๆ ที่พบน้อย

ใช้เครื่องมือราคาแพงมาก ๆ จึงควรมาไว้ใช้กับคนไข้ที่มีน้อยมารวมกันใช้ ที่ รพสศ.

        การดูแล รูปเครือข่าย 3 ระดับช่วยเหลือกัน จะทำให้การดูแล สุขภาพประชาชน ผู้สูงอายุ

ผู้พิการ ผู้ที่ไม่สามารถเดินทาง มา รพสอ. หรือ รพสจ.หรือ รพสศ.ได้รับบริการใกล้บ้านด้วยได้


                    win win win
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
  หน้า: [1]   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><