22 พฤศจิกายน 2567, 05:49:52
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: [1]   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: กทม.ไม่สนเสียงค้าน!ลุยโมโนเรลเฟส1  (อ่าน 3698 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Samrotri2517
Cmadong Member
Hero Cmadong Member
****


จะเป็นด้านที่1และ2ของ3เหลี่ยมฯ เพื่อให้เกิดด้านที่3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: รหัสเข้า 17 รุ่น 57
คณะ: แพทยศาสตร์ จุฬาฯรุ่น 30
กระทู้: 1,915

« เมื่อ: 20 ตุลาคม 2553, 20:47:35 »


                                กทม.ไม่สนเสียงค้าน!ลุยโมโนเรลเฟส1
                   ขอขอบคุณเวบฐานนิวส์ วันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม 2010 ที่เอื้อเฟื้อข่าว
http://www.thannews.th.com/index.php?option=com_content&view=article&id=44390:1&catid=129:2009-02-08-11-47-38&Itemid=479

                               

         หลังคณาจารย์และนิสิตรั้ว "จามจุรี" จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บางกลุ่ม ออกมาค้านสุดโต่ง! โครงการก่อสร้าง รถไฟฟ้าร่างเดี่ยว (โมโนเรล ) สายแรกของกรุงเทพมหานคร (กทม.) และสายแรกของประเทศไทย เฟส1  โมโนเรล ระยะทาง สายสั้นๆเพียง 1.5กิโลเมตรช่วง " จุฬาฯ-สยาม" (สยามสแควร์-จามจุรีสแควร์)

         โดยพวกเขาให้เหตุผลว่า หากสร้างแล้วจะบดบังทัศนียภาพ บริเวณหน้ามหาวิทยาลัย  หากจะดำเนินการจริงอยากให้ทำมุดลงใต้ดิน  หรือ ไม่ก็ให้ลงมือทำเฟสที่ 3 อังรีดูนังต์ก่อนน่าจะเหมาะสมกว่า 

         ต่อเรื่องนี้ ดร.ธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าฯกทม. ออกมาตอกย้ำว่า เดินหน้าลุยแน่  สำหรับเฟสแรก และต้องเป็นโมโนเรลรูปแบบ"ลอยฟ้า"เท่านั้น  และยืนยันว่าไม่บดบังทัศนียภาพแต่อย่างใด

        เนื่องจากการออกแบบรายละเอียดจะต้องดูความเหมาะสมของแต่ละสถานี  และ เน้นความสวยงาม 

        ที่สำคัญ ช่วงนี้มีความจำเป็นเร่งด่วน  เพื่อเชื่อมต่อ กับรถไฟฟ้าใต้ดินเอ็มอาร์ที ที่สถานีสามย่าน และรถไฟฟ้าบีทีเอสที่สถานีสยามและสนามกีฬาแห่งชาติ    โดยจะช่วยให้ ผู้โดยสารหรือ บรรดาขาช็อปไม่ต้องเดินไกล ยาวเป็น"กิโล"ๆ เพื่อ ต่อเชื่อม เพื่อใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส  ที่สถานีสยามและ รถไฟฟ้าใต้ดินเอ็มอาร์ที ที่สถานีสามย่าน โดยสามารถใช้โมโนเรล เดินทางเชื่อมถึงกันได้อย่างรวดเร็วและช่วยไม่ให้การจราจรติดขัดอีกด้วย 
 
         ส่วนงบประมาณลงทุนก็ไม่มาก วงเงินเพียง กว่า 2,000 ล้านบาท เท่านั้น และถือว่าคุ้มค่าที่จะมีผู้โดยสารใช้บริการ เกือบ10,000รายต่อวัน    ซึ่งประกอบด้วย 3 สถานี ได้แก่สถานีสามย่าน สถานีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถานีปลายทางสถานีสยาม  ผ่านย่านใจกลางแหล่งช็อปปิ้งสำคัญๆ  อาทิ สยามสแควร์ สยามพารากอน สยามดิสคัฟเวอรี่ มาบุญครองฯลฯ

        "โมโนเรล"สายนี้ จะเป็นรูปแบบลอยฟ้า ระยะทางสั้นๆ เหมือน รถไฟฟ้า บีทีเอส แต่จะช่วยขนผู้โดยสาร ป้อนให้รถไฟฟ้าสายหลักทั้งสองสายได้ เป็นอย่างดี  สะดวกต่อการเดินทางและอยู่ในย่านสำคัญที่มีคนเข้าใช้พื้นที่จำนวนมากๆ "   

        โดยจะเร่งรัดเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) เห็นชอบให้ดำเนินโครงการ เร็วๆนี้ ภายใต้โครงการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554  เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรด้วยระบบขนส่งมวลชนตามแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดย โมโนเรล สยามสแควร์ -จามจุรีสแควร์ จะผลักดันให้เกิดขึ้นเป็นรูปเป็นร่างภายใน 2 ปีนี้   หรือกำหนดวางศิลาฤกษ์ในเดือนธันวาคม 2554  และก่อสร้างพร้อมเปิดให้บริการในเดือนธันวาคม 2555

         ส่วน"เดโป" ศูนย์ซ่อมและบำรุง ซึ่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ให้พื้นที่บริเวณสามย่าน กทม.   รวมถึงจัดสรรพื้นที่พัฒนาศูนย์ราชการ ปทุมวัน จำนวน 2 แปลง เนื้อที่ประมาณ 15 ไร่  ย่านสามย่าน บริเวณจามจุรีสแควร์ให้กทม.เข้าดำเนินการ 3 โครงการ ประกอบด้วย

1.โครงการก่อสร้างโรงจอดและอู่ซ่อมบำรุง หรือเดโป

2.โครงการก่อสร้างระบบรถไฟฟ้ามวลชนรางเดี่ยว หรือ โมโนเรล เส้นทางสยาม-สามย่าน(จามจุรีสแควร์) จำนวน 5ไร่

3.โครงการก่อสร้างศูนย์ราชการ 5ไร่ และโครงการก่อสร้างสวนสาธารณะอีก 5ไร่

        ทั้งนี้  โครงการศูนย์ราชการ จะเป็นโครงการก่อสร้างอาคารสำนักงานแห่งใหม่ แทนพื้นที่เดิม ที่หมดสัญญากับทางจุฬา ฯไปนานแล้ว อีกทั้งบริเวณดังกล่าวมีพื้นที่เล็กเกินไป โดยสำนักงานเขตปทุมวันแห่งใหม่ จะเป็นอาคารสูงชั้นล่างจะเป็นที่จอดรถดับเพลิงของสถานีดับเพลิงบรรทัดทอง ส่วนอาคารชั้นอื่นๆ นอกเหนือจากนี้จะเปิดพื้นที่ให้เอกชนเช่าพื้นที่เพื่อสร้างรายได้ให้กับกทม.     

        ส่วนเฟสที่ 2 เส้นบรรทัดทอง และ เฟส 3 เส้นทางอังรีดูนังต์ ทยอยลงทุนในปีถัดๆไป 

         ขณะที่ รศ.มานพ พงศทัต อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาเคหะการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สะท้อนมุมมองว่า เห็นด้วยกับกทม.เพราะจะช่วยแก้ปัญหาจราจรและช่วยระบายผู้โดยสารได้ในปริมาณมาก โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินเป็นระยะทาง 1.5กิโลเมตรเพื่อต่อเชื่อมรถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้าใต้ดินเอ็มอาร์ที

         ส่วนการบดบังทัศนียภาพบริเวณหน้าจุฬาฯ ที่ นิสิตและอาจารย์บางกลุ่มออกมาคัดค้าน นั้นมองว่าไม่น่ากระทบ และอยากให้เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่า แค่ หน้าตาของคนจุฬาฯเพราะ ย่านนั้นจะมี ประชาชน จำนวนมากอยู่อาศัย รวมทั้งผู้บริโภคที่เดินทางมาจับจ่ายซื้อสินค้า ซึ่งควรที่จะมีโครงข่ายเชื่อมต่อที่เหมาะสมต่อไป


          แน่นอนว่า กทม.ปักธงแน่จะเดินหน้าสร้างโมโนเรลเฟสแรก ช่วง"จุฬาฯ-สามย่าน"  ปี 2554 และกำหนดเปิดให้บริการ ปี 2555แน่ โดยไม่สนเสียงค้านแต่อย่างใด!

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,575  17-20  ตุลาคม พ.ศ. 2553

                              win win win
      บันทึกการเข้า

3 เหลี่ยมเขยื้้อนภูเขา เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี มี 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ด้านให้ความรู้กับกลุ่มคน ด้านที่ 2 กลุ่มคน ที่ได้รับความรู้ เห็นด้วย สร้างวัฒนธรรมไม่มีบทลงโทษถ้าไม่ทำ ด้านที่ 3 ด้านการเมือง เป็นด้านออกกฏหมาย มีบทลงโทษถ้าไม่ปฏิบัติ ถ้ามีครบ 3 ด้านจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง
  หน้า: [1]   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><