อ่านมุมมอง ดร.นที (กทช.) จาก Facebook ...
----
แผนสนับสนุนการขยายโครงข่ายบรอดแบนด์ ตอนที่ 3 (posted October 14, 2010)
โดย Natee Sukonrat ณ วันที่ 14 ตุลาคม 2010 เวลา 9:52 น.
(1) จากความสำคัญของการให้บริการบรอดแบนด์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ การให้บริการสาธารณะ และการพัฒนาด้านอื่นๆ ในทุกมิติ
(2) ระบบบรอดแบนด์นับได้ว่าเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานที่สำคัญยิ่ง นโยบายบรอดแบนด์ในหลายประเทศ กำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายแห่งชาติ
(3) การ ส่งเสริมบริการบรอดแบนด์ให้ทั่วถึงด้วยราคาที่เหมาะสมกับภาวะความเป็นอยู่ ของประชาชน ต้องเข้าใจถึงองค์ประกอบของบรอดแบนด์ที่จะต้องดูแล
(4) โครงข่ายบรอดแบนด์มีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ 1.โครงข่ายเชื่อมต่อระดับท้องถิ่น 2.โครงข่ายหลัก และ 3.การเชื่อมต่อไปสู่ต่างประเทศ
(5) โครงข่ายเชื่อมต่อระดับท้องถิ่น เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ต้องลงทุนมากที่สุด และมักเป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาระบบบรอดแบนด์
(6) โครงข่ายเชื่อมต่อระดับท้องถิ่น เป็นโครงข่ายที่เชื่อมต่อจากอุปกรณ์ชุมสายไปยังบ้านหรือสำนักงานของผู้ใช้บริการบรอดแบนด์
(7) เนื่อง จากเป็นโครงข่ายที่เชื่อมต่อไปยังบ้านของผู้ใช้ เป็นส่วนสุดท้ายของโครงข่าย (Last Mile) ที่จะนำสัญญาณไปยังอุปกรณ์ของผู้รับบริการ
(
โครงข่าย เชื่อมต่อในระดับท้องถิ่นเป็นได้ทั้งโครงข่ายที่ใช้สาย (เช่น ทองแดง หรือใยแก้วนำแสง) และโครงข่ายไร้สาย ( เช่น 3G / WiMAX / LTE )
(9) ผู้ ใช้บริการอยู่ต่างพื้นที่กันตามภูมิศาสตร์ดังนั้นการให้บริการแก่ผู้ใช้แต่ ละรายจึงต้องการ Last Mile ที่แยกจากกัน ไม่สามารถใช้ร่วมกันได้
(10) ถ้าเป็นระบบสายก็ต้องลากสายทองแดงหรือใยแก้วนำแสงไปยังบ้านหรือสำนักงาน ของผู้ใช้บริการบรอดแบนด์ แต่ละรายแยกกันคนละเส้น
(11) จาก ข้อจำกัดดังกล่าวทำให้การใช้โครงข่ายเชื่อมต่อระดับท้องถิ่นผ่านโครงข่ายใช้ สายไม่ว่าจะเป็นทองแดงหรือใยแก้วนำแสงจึงต้องลงทุนสูง
(12) ในประเทศที่พัฒนาแล้วมีโทรศัพท์พื้นฐานที่ค่อนข้างทั่วถึงการให้บริการบรอดแบนด์สามารถให้บริการด้วย ADSL ผ่านคู่สายทองแดงเดิม
(13) กรณี ของประเทศไทยการให้บริการโทรศัพท์ประจำที่ไม่ทั่วถึงมาในอดีต ทำให้การขยายการให้บริการบรอดแบนด์ผ่านโครงข่ายเป็นไปได้อย่างจำกัด
(14) ใน กรณีที่มีข้อจำกัดในเชิงโครงสร้าง ซึ่งมักประสบในประเทศกำลังพัฒนา มักที่จะใช้เทคโนโลยีไร้สาย เป็นทางเลือกสำหรับโครงข่ายในระดับท้องถิ่น
(15) เทคโนโลยีไร้สายที่สำคัญ และนำมาใช้อย่างแพร่หลายสำหรับโครงข่ายเชื่อมต่อในระดับท้องถิ่นได้แก่ เทคโนโลยี 3G และเทคโนโลยี WiMAX
(16) นอกจาก 3G และ WiMAX ซึ่งเทียบเท่ากับการให้บริการบรอดแบนด์ด้วยเทคโนโลยี ADSL แล้วในอนาคต LTE จะเป็นทางเลือกที่สำคัญ
(17) องค์ประกอบที่สองของระบบบรอดแบนด์ที่จะต้องคำนึงถึงในการที่จะส่งเสริมให้การบริการบรอดแบนด์มีความทั่วถึง ได้แก่ โครงข่ายหลัก
(18) โครงข่ายหลัก (Core Networks หรือ Backbone) เป็นโครงข่ายที่เชื่อมต่อระหว่างชุมสายและโครงข่ายเชื่อมต่อระดับท้องถิ่น ทั่วประเทศเข้าด้วยกัน
(19) โครงข่ายหลัก เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานที่สำคัญ มีเฉพาะผู้ให้บริการบรอดแบนด์รายใหญ่เท่านั้น จึงจะสามารถมีโครงข่ายหลักเป็นของตนเองได้
(20) โครงข่ายหลัก โดยทั่วไปแล้วเป็นโครงข่ายใยแก้วนำแสง ซึ่งต้องวางไปตามถนน เส้นทางรถไฟ หรือใต้น้ำ ซึ่งต้องใช้ทรัพยากรสาธารณะของชาติ
(21) องค์ประกอบสุด ท้ายในการให้บริการบรอดแบนด์ คือ การเชื่อมต่อไปยังต่างประเทศ เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถค้นหาเนื้อหาในต่างประเทศได้
(22) จะเห็น ได้ว่าองค์ประกอบทั้งสามส่วน คือ โครงข่ายเชื่อมต่อระดับท้องถิ่น โครงข่ายหลักและการเชื่อมต่อไปต่างประเทศ ล้วนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ
(23) การ พัฒนาระบบบรอดแบนด์จะต้องคำนึงถึงการพัฒนาองค์ประกอบทั้งหมด ถ้าส่วนใดส่วนหนึ่งไม่ได้รับการพัฒนาจะทำให้ไม่เกิดประโยชน์และเกิดปัญหา ครับ
-----------------