จุ๊ง2522
Full Member
ออฟไลน์
กระทู้: 781
|
|
« เมื่อ: 24 สิงหาคม 2553, 10:32:31 » |
|
เมื่อวานเห็นคุณแหลมแกเสนอว่าน่าจะเปิดกระทู้เรื่องจีนๆขึ้นมาบ้าง ในฐานะเราก็ศิษย์เก่าจีน คุณแหลมก็ศิษย์เขยจีน เลยรับภาระไปขุดๆที่เขาเอามาแปะไว้ที่อื่น มาโปะที่นี่ตามระเบียบ จะพยายามจัดหาแบบจีนๆมาให้เป็นแบบไทยๆให้มากที่สุด
เริ่มต้นด้วยวันนี้ละกัน เพราะวันนี้คือเทศกาลสารทจีน เชื่อว่าหลายคนคงได้ฟังเสียงประทัดแบบประเภทไม่ต้องแคะหูไปหลายวันแน่
สารทจีน : เทศกาลสำคัญที่กำลังลบเลือน
สารท จีน เป็นเทศกาลสำคัญทั้งของลัทธิขงจื๊อ พุทธศาสนา ศาสนาเต๋า และชาวบ้าน ในอดีตเป็นเทศกาลใหญ่มาก แต่ปัจจุบันลดความสำคัญลง นอกจากในวัดพุทธและวัดเต๋าแล้ว แพร่หลายอยู่ในหมู่ชาวบ้านจีนภาคใต้ ตั้งแต่มณฑลหูเป่ย อานฮุย เจ้อเจียง ลงมาจนถึงกวางตุ้ง กวางสี ยูนนาน ในหมู่ชาวจีนแคะ กวางตุ้ง ฮกเกี้ยน แต้จิ๋ว และไหหลำ ยังคงเป็นเทศกาลใหญ่ เป็น ๑ ใน ๘ เทศกาลสำคัญประจำปีของจีนแต้จิ๋ว ในไทยสารทจีนเป็นเทศกาลจีนสำคัญอันดับ ๒ รองจากตรุษจีนเท่านั้น เทศกาล นี้มีชื่อเป็นทางการว่า "จงหยวนเจี๋ย" (中元节) แต้จิ๋วว่า "ตงหง่วงโจ็ย" แต่ชื่อทั่วไปนิยมเรียกว่า " " แต้จิ๋วอ่านว่า "ชิกว็วยะปั่ว" แปลว่า "(เทศกาล) กลางเดือน ๗" นอกจากนี้ยังมีชื่อที่นิยมเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า "กุ่ยเจี๋ย ( กุ๋ยโจ็ย)" แปลว่า "เทศกาลผี" ชื่อทั้งสามนี้ถ้าคุยกับคนจีนภาคใต้ ฮ่องกง และไต้หวัน ทุกคนจะรู้จักดี แต่คนปักกิ่งจะไม่รู้จักเลย เพราะเทศกาลนี้ปัจจุบันชาวบ้านจีนภาคเหนือไม่ได้ทำแล้ว คงเหลือแต่ในวัดพุทธและเต๋าเท่านั้น คำ "จงหยวน " ที่เป็นชื่อเทศกาลนี้เป็นคนละคำกับ "จงหยวน " ซึ่งหมายถึง "ดินแดนลุ่มแม่น้ำฮวงโหตอนกลางและตอนล่างอันเป็นศูนย์กลางอารยธรรมจีน" จงหยวนที่เป็นชื่อเทศกาลได้มาจากชื่อเทพประจำเทศกาลนี้ของศาสนาเต๋า ศาสนา เต๋ามีเทพสำคัญประจำฟ้า ดิน และแม่น้ำ อยู่ ๓ องค์เป็นพี่น้องกัน เรียกรวมกันว่า "ซานกวน ( ซำกัว)" แปลว่า "สามขุนนาง" แต่หมายถึงขุนนางผู้ใหญ่ระดับมหาเสนาหรือเสนาบดีของสวรรค์ จึงขอแปลเอาความว่า "ตรีมหาเสนา" องค์โตประจำท้องฟ้า จึงเรียกว่า "เทียนกวน ( เทียนกัว-นภเสนา)" มีหน้าที่ประทานโชค เป็นเทพแห่ง "ฮก (โชควาสนา)" องค์รองประจำแผ่นดิน (แต่ไม่ใช่พระธรณีหรือเจ้าที่) จึงเรียกว่า "ตี้กวน ( ตี่กัว-ธรณิศเสนา)" มีหน้าที่ประทานอภัยโทษ องค์เล็กประจำท้องน้ำ จึงเรียกว่า "สุ่ยกวน ( จุ๋ยกัว-สินธุเสนา)" มีหน้าที่ขจัดทุกข์ภัย วันเทวสมภพของอธิบดีเทพทั้ง ๓ องค์นี้คือกลางเดือนอ้าย กลางเดือน ๗ และกลางเดือน ๑๐ ตามลำดับ วันกลางเดือนพระจันทร์เต็มดวง ภาษาจีนเรียกว่า "หยวนเย่ (圆月)" แปลว่า "คืนเพ็ญ" สมัยโบราณอักษร圆 กับ 元ใช้แทนกันได้ อักษร 元 ยังมีความหมายว่า "หัวหน้า อธิบดี" อีกด้วย ฉะนั้นจึงเรียกวันกลางเดือนอ้ายอันเป็นวันเทวสมภพของเทพซ่างกวน (นภเสนา) ว่า "ซ่างหยวน เสี่ยงง้วง" แปลว่า "เพ็ญแรก" เพราะเป็นคืนเพ็ญคืนแรกของปี วันกลางเดือน ๗ อันเป็นวันเทวสมภพของเทพตี้กวน (ธรณิศเสนา) เรียกว่า "จงหยวน ( ตงง้วง)" แปลว่า "เพ็ญกลาง" เพราะเป็นวันเพ็ญแรกของกลางปี (ครึ่งปีหลัง) วันกลางเดือน ๑๐ อันเป็นวันเทวสมภพของเทพสุ่ยกวน (สินธุเสนา) เรียกว่า "เซี่ยหยวน ( เหี่ยง้วง)" แปลว่า "เพ็ญล่าง" หรือ "เพ็ญปลาย" เพราะเป็นวันเพ็ญแรกของฤดูหนาว (เดือน ๑๐-๑๒) อันเป็นฤดูท้ายของปี และใช้ชื่อคืนเพ็ญทั้งสามเป็นชื่อเรียกเทพ ๓ องค์นี้อีกชื่อหนึ่งด้วยว่าเทพซ่างหยวน เทพจงหยวน เทพเซี่ยหยวน เรียกรวมกันว่า "ซานหยวนต้าตี้ ( ซำง้วงไต้ตี้)" แปลว่า "ตรีเพ็ญอธิบดี" หรือ "ซานกวนต้าตี้ ( ซำกัวไต้ตี้)" แปลว่า "ตรีมหาเสนาธิบดี"
|
|
|
|
จุ๊ง2522
Full Member
ออฟไลน์
กระทู้: 781
|
|
« ตอบ #1 เมื่อ: 24 สิงหาคม 2553, 10:36:08 » |
|
วันเทศกาลสารทจีนคือวันเทวสมภพของเทพจงหยวน จึงเรียกว่า "จงหยวนเจี๋ย (ตงหง่วงโจ็ย)" แปลว่า เทศกาลเทพจงหยวน ตรงกับวันกลางเดือน ๗ จึงเรียกว่า "ชีเย่ว์ปั้น ( ชิกว็วยะปั่ว) หมายถึงเทศกาลกลางเดือน ๗ แต่เทศกาลนี้มีกิจกรรมเกี่ยวเนื่องตั้งแต่ต้นจนถึงสิ้นเดือน ๗ คือวัน ๑ ค่ำ เป็นวัน "เปิดยมโลก" ให้ผีทั้งหลายออกมารับการเซ่นสังเวย วัน ๑๕ ค่ำ เป็นวันไหว้ใหญ่ทั้งผีบรรพชนและผีไม่มีญาติ วันสิ้นเดือน ๗ (๓๐ ค่ำ หรือแรม ๑๕ ค่ำ) เป็นวัน "ปิดประตูยมโลก" ผีทั้งที่ยังไม่ได้ไปผุดไปเกิดต้องกลับเข้ายมโลก วันต้นเดือน สิ้นเดือน มีพิธีไหว้ด้วย และมีพิธีทิ้งกระจาดอุทิศส่วนกุศลให้เปตชนครั้งใหญ่ในช่วงครึ่งหลังของเดือน ๗ อีกต่างหาก กิจกรรมทั้งหมดล้วนแต่เกี่ยวกับผี คนจีนจึงถือว่าเดือน ๗ เป็น "เดือนผี" และเทศกาลกลางเดือน ๗ คือ "เทศกาลผี" แต่ที่คนไทยเรียกสารทจีนเพราะวันนี้ใกล้กับวันสารทไทย อีกทั้งอยู่ในช่วงต้นฤดูสารทหรือชิวเทียน ( Autumn) ของจีนอีกด้วย เทศกาล จงหยวนมีที่มาจากประเพณีจีนโบราณ คือวันอุลลัมพนบูชาของพุทธศาสนาและความเชื่อของศาสนาเต๋ารวมกันอย่างกลมกลืน วัฒนธรรมประเพณีจีนโบราณเป็นที่มาของลัทธิขงจื๊อและคตินิยมพื้นฐานของคนจีน ตลอดมา ลัทธิขงจื๊อจึงเป็นศาสนาสำคัญที่สุดของจีนไปโดยปริยาย แต่ก็เข้ากันได้กับศาสนาพุทธและศาสนาเต๋าซึ่งเข้ามาแพร่หลายและเกิดขึ้นใน ภายหลัง จนในวิถีชีวิตคนจีนมีอิทธิพลของ ๓ ศาสนานี้อยู่คละเคล้ากันไป ตาม ประเพณีจีนโบราณมีพิธีเซ่นไหว้ฟ้าดินและบรรพบุรุษทั้ง ๔ ฤดู คือ ฤดูวสันต์ (ใบไม้ผลิ) คิมหันต์ (ร้อน) สารท (ใบไม้ร่วง) และเหมันต์ (หนาว) ในคัมภีร์หลี่จี้ ( คัมภีร์วัฒนธรรมประเพณี) ซึ่งบันทึกประเพณีสมัยราชวงศ์โจว (ก่อน พ.ศ. ๕๐๓-พ.ศ. ๓๒๒) บรรพ "เทศกาลประจำเดือน" กล่าวว่า "เดือน ๗ ข้าวสุกเก็บเกี่ยวได้ โอรสสวรรค์ชิมข้าวใหม่ โดยนำไปบูชาที่ปราสาทเทพบิดรก่อน" อีกตอนหนึ่งกล่าวว่า "เดือน ๗ วันลี่ชิว (เริ่มฤดูสารท) โอรสสวรรค์นำสามนตราช สามมหาเสนาบดี มนตรีทั้งเก้า มุขอำมาตย์ราชเสนา ไปทำพิธีรับฤดูสารทที่ชานเมืองด้านตะวันตก...เซ่นสรวงเทพประจำฤดูสารทอัน เป็นเทพแห่งมรณะ" ลี่ชิวเป็นชื่อปักษ์หนึ่งใน ๒๔ อุตุปักษ์ตามระบบปฏิทินจีนเก่า
|
|
|
|
จุ๊ง2522
Full Member
ออฟไลน์
กระทู้: 781
|
|
« ตอบ #2 เมื่อ: 24 สิงหาคม 2553, 10:38:42 » |
|
ปฏิทินจีนเก่ามี ๒ แบบ คือ ปฏิทินจันทรคติมีเดือนละ ๒๙-๓๐ วัน ๑ ปี ๑๒ เดือน ๓๕๔ วัน ปฏิทินสุริยคติปีหนึ่งมี ๔ ฤดู ฤดูละ ๓ เดือน เดือนละ ๒ ปักษ์ ตามลักษณะอากาศจึงเรียกว่าอุตุปักษ์ ปีหนึ่งมี ๒๔ ปักษ์ ๓๖๕ วัน เดือนตามปฏิทินจันทรคติอาจคลาดเคลื่อนกับฤดูได้ ภายหลังจึงใช้ระบบอธิกมาส (เพิ่มเดือน) และอธิกวาร (เพิ่มวัน) ที่คนจีนเรียกว่า "ญุ่น " กำกับ ระบบอธิกมาสของไทยเพิ่มเฉพาะเดือน ๘ แต่ของจีนมีหลักต่างออกไป ไม่ได้เพิ่มเฉพาะเดือน ๘ เช่น ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ นี้ ปฏิทินจีนมีเดือน ๗ สองหน เรียกว่า "ญุ่นชี ( หยุ่งฉิก-เพิ่มเดือน ๗) การใช้ระบบอธิกมาส อธิกวารทำให้ฤดูกับเดือนตรงกันทุกปี คือ เดือน ๑-๓ ฤดูใบไม้ผลิ เดือน ๔-๖ ฤดูร้อน เดือน ๗-๙ ฤดูสารท เดือน ๑๐-๑๒ ฤดูหนาว วันลี่ชิวคือวันเริ่มฤดูใบไม้ร่วง จะตรงกับวันที่ ๗ หรือ ๘ สิงหาคม แต่จะตรงกับวันกี่ค่ำเดือน ๗ นั้น แล้วแต่ช่วงคลาดเคลื่อนของจันทรคติ (การนับค่ำ-เดือน) กับสุริยคติ (การนับฤดูและ ๒๔ อุตุปักษ์) ในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ นี้ วันลี่ชิวตรงกับวันที่ ๘ สิงหาคม ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ ซึ่งเป็นวันเทศกาลจงหยวน หรือวันสารทจีนพอดี ตามความเชื่อจีนโบราณ เดือน ๗ เป็นทั้งเดือนดีและเดือนร้าย เพราะข้าวเริ่มเก็บเกี่ยวได้ นำผลแรกได้ (ข้าวใหม่) ไปเซ่นไหว้บรรพบุรุษก่อน แต่เทพประจำเดือน ๗ เป็นเทพแห่งความตายจึงต้องเซ่นสรวงต่างหากออกไป ทั้งยังมีความเชื่ออีกว่ามีผีร้ายร่อนเร่เรียกว่า "ลี่ ( )" ไม่มีญาติเซ่นไหว้ พอถึงฤดูสารทซึ่งผู้คนนำผลแรกได้เซ่นไหว้บรรพบุรุษ ผีพวกนี้จะคอยมาแย่งกินของไหว้หรือไม่ก็ทำร้ายผู้คนด้วยความหิวโหย ฉะนั้นพอถึงฤดูสารทจึงต้องเซ่นไหว้ทั้งบรรพชนและผีไม่มีญาติแยกกัน ประเพณีนี้ปฏิบัติกันในหมู่ชนทุกชั้นทั้งกษัตริย์ ขุนนาง ไพร่บ้านพลเมือง ความเชื่อว่าเดือน ๗ เป็นเดือนผีคงมีมาตั้งแต่โบราณ ต่อมาในยุคหลัง "ลี่" เป็นชื่อพญาผีผู้เป็นหัวหน้าของผีร้ายทั้งปวง การเซ่นไหว้เดือน ๗ ในยุคโบราณคงทำในวันลี่ชิวหรือไม่ก็วันกลางเดือน ต่อมาอิทธิพลพุทธ ศาสนาทำให้การเซ่นไหว้เดือน ๗ มีพัฒนาการไปจากเดิม พุทธศาสนาเข้าสู่จีนรัชกาลพระเจ้าฮั่นหมิงตี้ (พ.ศ. ๖๐๑-๖๑๘) ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (พ.ศ. ๕๕๑-๗๖๐) แพร่หลายในยุคสามก๊ก (พ.ศ. ๗๖๓-๘๐๘) และราชวงศ์จิ้น (พ.ศ. ๘๐๘-๙๖๓) รุ่งเรืองในยุคราชวงศ์เหนือ-ใต้ (พ.ศ. ๙๖๓-๑๑๓๒) สมัยราชวงศ์จิ้นมีผู้แปล "อุลลัมพนสูตร (อ่านว่า อุน-ลัม-พะ-นะ-สูด) ของนิกายโยคาจาร เรื่องในพระสูตรนี้มีอิทธิพลต่อเทศกาลไหว้บรรพบุรุษในเดือน ๗ ของจีนมาก
|
|
|
|
จุ๊ง2522
Full Member
ออฟไลน์
กระทู้: 781
|
|
« ตอบ #3 เมื่อ: 24 สิงหาคม 2553, 10:41:08 » |
|
ความตอนหนึ่งในคัมภีร์อุลลัมพนสูตรกล่าวว่า พระโมคคัลลานะเห็นมารดาเกิดเป็นปรทัตตูปชีวีเปรตอดอยากหิวโหย จึงใช้ฤทธิ์นำบาตรข้าวไปส่งให้ เปรตมารดาใช้มือซ้ายประคองบาตร มือขวาเปิบข้าวแต่ยังไม่ทันจะเข้าปากก็กลายเป็นถ่านไปสิ้น พระเถรเจ้าจึงนำความมากราบทูลพระพุทธเจ้า มีพุทธฎีกาตรัสว่า "โยมมารดาของเธอมีบาปหนัก เกินกำลังฤทธิ์และบุญกุศลของเธอเพียงผู้เดียวจะช่วยได้ ต้องใช้บุญฤทธิ์ของสงฆ์จากทั่วทุกสารทิศประมวลกันเป็นมหากุศลจึงจะโปรดมารดา เธอให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งปวงในอบายได้ ตถาคตจะบอกวิธีให้ ในวัน ๑๕ ค่ำกลางเดือน ๗ อันเป็นวันมหาปวารณาออกพรรษา เพื่อโปรดบิดามารดาทั้ง ๗ ชาติในอดีตและบิดามารดาในชาติปัจจุบันให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งปวง เธอจงจัดภัตตาหารหลากรส ผลไม้นานาชนิด น้ำปานะ ธูปเทียนแลเครื่องไทยทานใส่พานภาชนะเป็นสังฆทานถวายแด่พระสงฆ์จากทุกสารทิศ ด้วยบุญฤทธิ์ที่พระสงฆ์ได้รักษาพรตพรหมจรรย์มาครบถ้วน ๑ พรรษาแลอานิสงฆ์แห่งสังฆทานนี้ บิดามารดาในชาติก่อน ๗ ชาติและบิดามารดาในชาตินี้ตลอดจนวงศาคณาญาติจะพ้นจากอบายภูมิทั้งสาม (นรก เปรต เดรัจฉาน) โดยพลัน หากบิดามารดาในชาตินี้ยังมีชีวิตอยู่ก็จะเกษมสำราญอยู่ถึง ๑๐๐ ปี หากบิดามารดาในชาติก่อนทั้ง ๗ ชาติขึ้นสวรรค์ก็จะเกิดทันทีเป็นโอปปาติกะกำเนิดในสรวงสวรรค์อันเรืองโรจน์" พระโมคคัลลาน์เถระจึงจัดการทำพุทธบรรหาร มารดาก็พ้นจากอบายภูมิ พระเถรเจ้าจึงทูลว่า "ต่อไปภายหน้าหากลูกหลานผู้มีกตเวทิตาจิตปรารถนาช่วยบิดามารดาให้พ้นจากอบาย แลทุกข์ภัยก็ควรจัดสังฆทานอุลลัมพนบูชาเช่นนี้หรือพระเจ้าข้า" พระศาสดาตรัสตอบว่า "สาธุ" ขอชี้แจงไว้ตรงนี้ว่าช่วงจำพรรษาของพระ สงฆ์ประเทศจีนกับประเทศไทยไม่ตรงกันเ พราะฤดูกาลต่างกัน ภิกษุจีนจำพรรษาช่วงฤดูร้อนซึ่งฝนตกชุก ข้าวกำลังเจริญเติบโต จึงเข้าพรรษากลางเดือน ๔ ต้นฤดูร้อน ออกพรรษากลางเดือน ๗ ต้นฤดูใบไม้ร่วง การจำพรรษาบำเพ็ญสมณกิจอย่างเต็มที่ครบ ๓ เดือน ทั้งได้ทำมหาปวารณาในวันออกพรรษาอย่างสมบูรณ์ ตามคตินิยมของมหายานถือว่าท่านได้บำเพ็ญบุญกุศลไว้เต็มเปี่ยมยิ่งกว่าช่วง อื่นใด หากได้ทำบุญกับท่านในวันมหาปวารณาหรือวันออกพรรษาจะมีอานิสงส์แรงกล้ากว่า วันอื่น อนึ่งพุทธศาสนาถือว่าการทำสังฆทานถวายแด่สงฆ์ส่วนรวมมีอานิสงส์มากกว่าปฏิปุ คลิกทานถวายเจาะจงแด่ภิกษุรูปเดียวหรือหลายรูป แต่ไม่เป็นสังฆทาน ฉะนั้นการทำสังฆทานใหญ่ถวายแด่สงฆ์ในวันออกพรรษาซึ่งท่านทำมหาปวารณาเสร็จมา ใหม่ๆ จึงได้อานิสงส์สูงส่งถึงสามารถโปรดบิดามารดาในอดีตได้ถึง ๗ ชาติ รวมทั้งบิดามารดาในชาติปัจจุบันและวงศาคณาญาติให้พ้นจากอบายและได้ผลานิสงส์ อันดีงามอีกอเนกประการ แต่เน้นที่การช่วยบิดามารดาให้พ้นจากอบายภูมิเป็นสำคัญ ฉะนั้นการ ทำมหาสังฆทานในวันออกพรรษาจึงเรียกว่าอุลลัมพนบูชาหรืออุลลัมพนสังฆทาน "อุลลัมพนะ" เป็นคำสันสกฤตซึ่งปราชญ์ทางพุทธศาสนาของจีนแปลว่า "ช่วยผู้ที่ถูกแขวนห้อยหัวกลับขึ้นมา" โดยอธิบายว่าโทษทัณฑ์ในอบายภูมิทำให้ผู้รับเสวยทุกขเวทนาแสนสาหัสดุจถูกแขวน ห้อยหัวลงมา คำว่า "แขวนห้อยหัว" ซึ่งแปลจากคำว่า "อุลลัมพนะ" นี้ ภาษาจีนว่า "เต้าเสวียน (倒悬)" มีความหมายเชิงอุปมาว่า ทุกข์หรือภัยอันใหญ่ยิ่ง "มหันต (ทุกข์)" "มหันต (ภัย)" ความหมายนี้มีที่มาจากอุลลัมพนสูตร เป็นอิทธิพลภาษาสันสกฤตของพุทธศาสนาต่อภาษาจีนประการหนึ่ง
|
|
|
|
จุ๊ง2522
Full Member
ออฟไลน์
กระทู้: 781
|
|
« ตอบ #4 เมื่อ: 24 สิงหาคม 2553, 10:43:07 » |
|
ศาสนาเต๋าได้เอาคุณธรรมเรื่อง "孝 (กตัญญูต่อพ่อแม่และบรรพชน)" และ "仁 (เมตตากรุณา)" ของลัทธิขงจื๊อเป็นหลัก เอาเรื่องจัดพิธีทางศาสนาเพื่อให้พ่อแม่และบรรพชนพ้นจากบาปและทุกข์ภัยทั้ง ปวงของพุทธศาสนามาประกอบสร้างวันเทศกาลจงหยวนให้ตรงกับวันอุลลัมพนบูชา แต่ให้ความสะดวกกว่าตรงที่ไหว้เทพจงกวนหรือจงหยวนเพียงองค์เดียวก็ทำให้ วิญญาณบรรพชนและผีทั้งปวงพ้นบาปและทุกข์ภัยได้ทั้งหมด เพราะท่านเป็นเทพสูงสุดในการ "อภัยโทษ" อนึ่งตามหลักลัทธิขงจื๊อการเซ่นไหว้บรรพชนในวันเทศกาลต่างๆ ถือเป็นกิจสำคัญของลูกหลานจะงดเว้นมิได้ ประกอบกับสถานะของภิกษุ ภิกษุณีในจีนไม่ได้เป็นที่เคารพมากนัก ศูนย์กลางชุมชนไม่ได้อยู่ที่วัดแต่อยู่ที่ศาลประจำตระกูล ตั้งแต่ราชวงศ์ถังเป็นต้นมา ศาสนาเต๋ารุ่งเรืองแข่งเคียงกับพุทธศาสนา แต่ลัทธิขงจื๊อเป็นแกนกลางของสังคมจีนตลอดมา นานเข้าการอุทิศส่วนกุศลให้บรรพชนและผีอื่นผ่านพระโดยจัดพิธีใหญ่โตอย่างอุ ลลัมพนบูชาก็เสื่อมลง แต่ยังมีอิทธิพลแฝงอยู่ไม่น้อยในกิจกรรมอันเนื่องด้วยสารทจีนเสมอมา ตั้งแต่ ราชวงศ์ถังเป็นต้นมาชื่อ "จงหยวนเจี๋ย (เทศกาลบูชาเทพจงหยวน)" เป็นชื่อทางการของเทศกาลกลางเดือน ๗ หรือสารทจีนตลอดมาจนปัจจุบัน ชาวบ้านจีนนั้นรับกิจกรรมทั้งของพุทธ เต๋า และขงจื๊อมาคัดสรร ผสมผสานจนกลมกลืนกันไป แต่มีจุดมุ่งหมายสำคัญร่วมกันอยู่ที่เซ่นไหว้บรรพชน และอุทิศส่วนกุศลให้ผีไม่มีญาติ ส่วนในวัดพุทธและเต๋าต่างฝ่ายยังรักษากิจกรรมของตนอยู่ไม่ปนกัน ตั้งแต่ ราชวงศ์ซ่ง สังคมเมืองขยายตัว มีตลาดใหญ่ในเมืองต่างๆ เป็นศูนย์กลางการค้า กิจกรรมสังคม และความบันเทิง วันเทศกาลต่างๆ มีเรื่องบันเทิงเข้ามาเกี่ยวข้อง ได้ทั้งบุญกุศลและความสนุกสนาน เทศกาลจงหยวนมีกิจกรรมประกอบเพิ่มขึ้นที่สำคัญคือการลอยโคม มีการละเล่นต่างๆ มหรสพสมโภช สมัยราชวงศ์ซ่งเหนืองิ้วมีรูปแบบชัดเจนขึ้นแม้ยังไม่สมบูรณ์ก็ตาม แต่หลังจากผ่าน "เทศกาลเจ็ดเจ็ด" คือ ๗ ค่ำ เดือน ๗ (วันแห่งความรักของหนุ่มสาวจีน) แล้วจะมีงิ้วเล่นเรื่อง "พระโมคคัลลาน์โปรดมารดาในนรก" ฉลองเทศกาลจงหยวนไปจนถึงวันกลางเดือน งิ้วเรื่องนี้แต่งตามเค้าเรื่องในอุลลัมพนสูตร เป็นงิ้วที่ "มีเนื้อเรื่องสมบูรณ์เรื่องแรก" ในประวัติการละครจีน เนื้อเรื่องมีรายละเอียดเพิ่มเติมจากพระสูตรว่า พระโมคคัลลาน์เดิมชื่อฟู่หลอปู่ (โป่วหล่อปก) บิดาชื่อฟู่เซี่ยง (โป่วเสี่ยง) มารดาชื่อหลิวชิงถี (เหล่าแชที้) ฟู่เซี่ยงและฟู่หลอปู่มีศรัทธาในศาสนา เคารพนักบวช โดยเฉพาะอย่างยิ่งภิกษุ ภิกษุณี แต่นางหลิวชิงถีเป็นคนบาปหยาบช้า เกลียดชังนักบวชมาก เมื่อบิดาล่วงลับ ฟู่หลอปู่ต้องค้าขายแทน ครั้งหนึ่งก่อนออกไปค้าขายต่างเมืองได้ขอร้องมารดาให้มีศรัทธาเคารพภิกษุ ภิกษุณี นางรับปากแต่กลับร้ายต่อนักบวชทั้งหลายเหมือนเดิม พอบุตรชายกลับมาถามว่าได้ทำตามที่รับปากไว้หรือเปล่า นางสาบานว่าถ้าไม่ได้ทำขอให้ตกอเวจีนรก พญายมจึงส่งยมทูตมาเอาตัวนางลงนรกทันที ฟู่หลอปู่ออกบวชมีนามว่าโมคคัลลาน์ สำเร็จอรหันต์เป็นเลิศในทางมีฤทธิ์ รู้ว่ามารดาอยู่ในนรกจึงตามลงไป พอได้พบกันก็ส่งอาหารให้ นางรับไปยังไม่ทันได้กินก็ถูกเหล่าเปรตแย่งไปสิ้น แล้ววิญญาณก็ถูกส่งไปเกิดเป็นหมาในบ้านขุนนางแซ่เจิ้ง (แต้) พระเถรเจ้าจึงตามไปซื้อเอามาเลี้ยงดูจนตาย ก็กลับไปเกิดในนรกอีก ต่อมาท่านจัด "อุลลัมพนสังฆทาน" ตามที่พระพุทธองค์ทรงแนะนำ มารดาจึงพ้นจากนรกและได้รับสถาปนาจากเง็กเซียงฮ่องเต้เทวบดีให้เป็น "เชวี่ยนซ่านฟูเหญิน (คึ่งเสียงฮูหยิน)-ชักชวนให้คนทำกุศล" ในเนื้อเรื่องมีรายละเอียดสนุกสนานชวนติดตาม แง่งามทางศิลปะและข้อคิดสอนใจอีกมาก เป็นอันว่าถึงสมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ (พ.ศ. ๑๕๐๓-๑๖๖๙) เทศกาลจงหงวนเป็นงานนักขัตฤกษ์สนุกสนานงานหนึ่ง
|
|
|
|
จุ๊ง2522
Full Member
ออฟไลน์
กระทู้: 781
|
|
« ตอบ #5 เมื่อ: 24 สิงหาคม 2553, 10:45:20 » |
|
พอถึงราชวงศ์ซ่งใต้ (พ.ศ. ๑๖๖๙-๑๘๒๒) จีนกลัวศึกมองโกลจึงจัดงานนี้ในวัน ๑๔ ค่ำ เดือน ๗ ปัจจุบันในมณฑลกวางสียังคงไหว้สารทจีนในวัน ๑๔ ค่ำอยู่ ถึง สมัยราชวงศ์หมิง (พ.ศ. ๑๙๑๑-๒๑๘๗) และต้นราชวงศ์ชิง (พ.ศ. ๒๑๘๗-๒๔๕๔) เทศกาลจงหยวนยิ่งคึกคักสนุกสนาน มีมหรสพและการละเล่นนานาชนิดเฉลิมฉลอง เช่น เพลงพื้นเมือง เชิดสิงโต งิ้ว ประกวดโคม ลอยโคม แห่เจ้า แห่ขบวนผี กายกรรม ฯลฯ ถึงปลายราชวงศ์ชิงเทศกาลนี้ก็ยังคึกคักแพร่หลายทั่วประเทศ เช่นที่ปักกิ่ง วัด ๘๔๐ กว่าแห่งจัดงานอุลลัมพนบูชาใหญ่เล็กต่างกันไปตามกำลัง ถึงยุคนี้การไหว้บรรพบุรุษเป็นกิจกรรมสำคัญที่สุดเช่นเดียวกับวันเช็งเม้ง (ชิงหมิง) มีทั้งไหว้ที่บ้านหรือศาลประจำตระกูลและออกไปไหว้ที่สุสาน (ฮวงซุ้ย) แต่จุดมุ่งหมายต่างกัน ไหว้เช็งเม้งเป็นการแสดงความกตัญญูรำลึกถึงบรรพชน ไหว้สารทจีนเพื่อให้ท่านพ้นอบายภูมิและสรรพทุกข์ภัย ทั้งยังมีใจเกื้อกูลไหว้ผีไม่มีญาติอีกด้วย การไหว้ผีไม่มีญาติมีทั้งไหว้ที่บ้าน และจัดงานทิ้งกระจาดอุทิศส่วนกุศลให้ ตั้งแต่ จีนเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบสาธารณรัฐ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๔ เป็นต้นมา ภัยสงครามและความเปลี่ยนแปลงทางสังคมทำให้เทศกาลนี้เสื่อมลงอย่างรวดเร็วใน จีนภาคเหนือ คงเหลืออยู่แต่ทางภาคใต้ แต่ในยุครุ่งเรืองเทศกาลนี้ได้แพร่ไปยังชนชาติส่วนน้อยในจีนหลายเผ่า เช่น จ้วง หลี เซอ แม้ว ต่างชาติที่รับอารยธรรมจีนคือญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม ยังคงมีเทศกาลนี้อยู่ โดยเฉพาะในญี่ปุ่นเป็นเทศกาลใหญ่เทศกาลหนึ่ง เทศกาล สารทจีนที่เต็มรูปแบบ มีกิจกรรมสำคัญและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องหลายประการ คือ ไหว้เทพจงหยวน ไหว้บรรพบุรุษ ไหว้ผีไม่มีญาติ ลอยโคม ไหว้เทพารักษ์ประจำเมือง (เจ้าพ่อหลักเมือง) ทิ้งกระจาด ในอดีตบางแห่งมีการไหว้เทพแห่งนาด้วย ในวัดพุทธจัดงานอุลลัมพนสังฆทาน วัดเต๋าไหว้เทพจงหยวนและจัดพิธีกรรมทางศาสนาของตน
|
|
|
|
จุ๊ง2522
Full Member
ออฟไลน์
กระทู้: 781
|
|
« ตอบ #6 เมื่อ: 24 สิงหาคม 2553, 10:47:44 » |
|
ไหว้เทพจงหยวน เทพจงหยวนเป็นเทพประจำเทศกาลสารทจีน ชื่อเต็มว่า "จงหยวนต้าตี้-อธิบดีแห่งคืนเพ็ญกลาง" หรือ "ตี้กวนต้าตี้-ธรณิศมหาเสนาธิบดี" เรียกสั้นๆ ว่า "ตี้กวน-ธรณิศเสนา" มีหน้าที่ควบคุมดูแลเทพแห่งมหาบรรพตทั้งห้า (ของจีน) ภูเขาและแม่น้ำ เจ้าที่ประจำเมืองทุกเมือง เทพในเมืองที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ ตรวจดูโชคเคราะห์ของสรรพสัตว์ ตรวจบัญชีความดีความชั่วของมนุษย์ และหน้าที่สำคัญคือให้อภัยโทษแก่ผู้รู้ผิดกระทำพลีบูชาท่าน วัน ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ ท่านจะลงมาตรวจบัญชีชั่วดีของมนุษย์แล้วประทานอภัยให้ นอกจากนี้ท่านยังต้องมาเป็นประธานดูแลการไหว้ผีไม่มีญาติ ซึ่งคนเป็นผู้ไหว้ โดยท่านจะไปเจรจากับ "ลี่" ราชาของผีพวกนี้ ให้ช่วยคุมดูแลบริวารไม่ให้ทำร้ายมนุษย์ ฉะนั้นผู้คนจึงกินเจ ทำพิธีเซ่นสรวงบูชาท่าน เซ่นไหว้บรรพชน เพื่อให้ท่านอภัยโทษให้ทั้งแก่ตนเองและวิญญาณบรรพชน ปัจจุบันในไต้หวันนิยมไหว้ท่านตั้งแต่ยามแรกของวัน ๑๕ ค่ำ จีนแบ่งวันคืนออกเป็น ๑๒ ยาม ยามละ ๒ ชั่วโมง ยามแรกคือช่วง ๕ ทุ่มถึงตี ๑ (๒๓.๐๐-๐๑.๐๐ น.) ยามแรกของวัน ๑๕ ค่ำ ก็คือช่วง ๒๓.๐๐-๐๑.๐๐ น. ของคืนวัน ๑๔ ค่ำ เพราะจีนเริ่มวันใหม่ตอน ๕ ทุ่ม ถ้าไม่ไหว้ตอน ๕ ทุ่ม ก็มาไหว้ตอนเที่ยงวันของวัน ๑๕ ค่ำ หลังจากไหว้บรรพบุรุษไปแล้ว ในจีนแต่ละถิ่นเวลาไหว้ต่างกัน บางถิ่นก็ไม่ได้ไหว้แล้ว ส่วนในไทยไม่ปรากฏมีพิธีไหว้เทพจงหยวนโดยเฉพาะ ประเพณีนิยมการไหว้ในวันเทศกาลจีนของไทยจะไหว้เจ้าและเทวดาทั้งหมดตอนเช้า อนึ่งคนจีนในไทยนับถือ "ตี่จู๋เอี๊ย ( )" คือ "เจ้าที่" มาก มีศาลเล็กๆ ตั้งอยู่ในบ้านแทบทุกบ้าน ตี่จู๋เอี๊ยอยู่ใต้บังคับบัญชาของตี้กวน (ธรณิศเสนา) หรือเทพจงหยวน จึงถือได้ว่าเป็นตัวแทนของท่านประจำอยู่ทุกบ้าน การไหว้ตี่จู๋เอี๊ยจึงพออนุโลมแทนการไหว้เทพจงหยวนได้ ไหว้บรรพชน การ เซ่นไหว้บูชาบรรพชนเป็นประเพณีเก่าแก่ที่สุดของจีน เพราะจีนถือระบบวงศ์ตระกูลเป็นเรื่องสำคัญที่สุด เป็นศูนย์กลางของสังคมและวัฒนธรรมจีน การไหว้บรรพชนเป็นกิจสำคัญที่สุดของลูกหลาน เจ้าอาจไม่ต้องไหว้ก็ได้ แต่ปู่ย่าตายายไม่ไหว้ไม่ได้ การไหว้บรรพชนในวันสารทจีน เดิมมีทั้งไหว้ที่บ้านหรือศาลประจำตระกูล (ฉือถาง ) ในหมู่บ้าน และไปไหว้ที่สุสานเหมือนวันเช็งเม้ง แต่ปัจจุบันเหลือแต่การไหว้ที่บ้าน ตามความเชื่อของชาวจีนเชื่อว่า วันสารทจีนวิญญาณบรรพชนที่ยังไม่ได้ไปเกิดจะกลับมาเยี่ยมบ้าน แต่ก่อนที่เมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน มีประเพณีเชิญวิญญาณบรรพชนมาบ้านตั้งแต่เย็นวัน ๑๒ ค่ำ เดือน ๗ แล้วไหว้ตอนค่ำตั้งแต่วัน ๑๒-๑๔ ค่ำ วัน ๑๕ ค่ำไหว้ใหญ่ ตอนค่ำทำพิธีส่งวิญญาณกลับ ปกติการไหว้บรรพชนนิยมไหว้ช่วงก่อนเที่ยง ตั้งแต่ ๐๙.๐๐ น. เป็นต้นไป โดยไปไหว้ที่ศาลประจำตระกูลในหมู่บ้าน ซึ่งมีป้ายสถิตวิญญาณของบรรพชนรวมอยู่ หรือจะไหว้ในบ้านของตนเองก็ได้ ไหว้ผีไม่มีญาติ การ ไหว้ผีไม่มีญาติเป็นกิจกรรมสำคัญของวันสารทจีนมาแต่โบราณ ผีพวกนี้โบราณเรียกว่า "ลี่ ( )" ถือเป็นผีชั่วร้าย อิทธิพลพุทธศาสนาทำให้ทัศนะของผีพวกนี้เปลี่ยนไปเป็นผีที่น่าสงสาร จนปัจจุบันเรียกผีพวกนี้ว่า "ฮอเฮียตี๋ ( )" แปลว่า "พี่น้องที่ดี" การไหว้ผีพวกนี้ไม่ไหว้ในบ้าน นิยมไหว้ริมถนนหนทาง ชายน้ำ สมัยโบราณจัดสถานที่ไหว้นอกเมือง เรียกว่า "ลี่ถาน ( )" ในอดีตการไหว้ผีไม่มีญาติเป็นกิจกรรมสำคัญที่ขาดไม่ได้ นอกจากไหว้ในวันสารทจีน ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ แล้วยังไหว้ในวัน ๑ ค่ำ และวัน ๓๐ ค่ำ ซึ่งเป็นวันเปิดประตูยมโลกและปิดประตูยมโลกอีกด้วย แต่ปัจจุบันในจีนการไหว้ "ฮอเฮียตี๋" ในวันสารทจีนเหลือน้อยมาก ในถิ่นกวางตุ้ง แคะ ฮกเกี้ยน แต้จิ๋ว แทบไม่มีเลย เพราะยกไปไหว้รวมกันเป็นกิจกรรมของชุมชน โดยเรี่ยไรเงิน ข้าวของไปจัดพิธี "ซีโกว ( )" ไหว้ผีไม่มีญาติที่วัดในช่วงหลังวันสารทจีน ส่วนในไต้หวันยังมีผู้ไหว้อยู่ นิยมไหว้ช่วงเย็นตั้งแต่ ๑๖.๐๐ น. เป็นต้นไป ในไทยแต่ก่อนไหว้กันแทบทุกบ้าน ปัจจุบันยังพอมีเหลืออยู่บ้างไม่มากนัก
|
|
|
|
จุ๊ง2522
Full Member
ออฟไลน์
กระทู้: 781
|
|
« ตอบ #7 เมื่อ: 24 สิงหาคม 2553, 10:49:57 » |
|
ลอยโคม กิจกรรมนี้ถ้าคนไทยเห็นคงเรียกว่าลอยกระทง แต่ตามหลักของจีนต้องเรียกว่าโคม เพราะต้องมีเทียนหรือประทีปอื่นเป็นส่วนสำคัญที่สุด รูปทรงโคมอาจเป็นรูปดอกบัว โคมไฟ บ้านหลังเล็กๆ หรือลักษณะอื่น ข้างในมีเทียนหรือประทีปอื่นจุดสว่างไสว ที่มาของการลอยโคมตำราบาง เล่มว่า พุทธศาสนานำมาจากอินเดียสมัยราชวงศ์ถัง แต่บางเล่มก็ว่าน่าจะเกิดจากศาสนาเต๋า เพราะเต๋ามีประเพณีชักโคมบูชาดาวและเทพเทียนกวน (นภเสนา) ในวันเทศกาลหยวนเซียวกลางเดือนอ้ายมาก่อน กลางเดือน ๗ เป็นเทศกาลบูชาเทพตี้กวน (ธรณิศเสนา) จึงจุดโคมบูชาท่านบ้าง แต่ลอยลงน้ำแทนเพื่อส่องทางให้ผีขึ้นมาสู่โลกมนุษย์ รับเครื่องเซ่นสังเวยและ "การอภัยโทษ" จากเทพตี้กวน ทั้งพุทธ เต๋า เชื่อว่าน้ำเป็นทางเชื่อมหรือแดนต่อยมโลกกับมนุษยโลก ในคัมภีร์พุทธกล่าวว่ามีแม่น้ำชื่อ "ไน่เหอ ( )" กั้นระหว่างโลกมนุษย์กับยมโลก ในพิธีอุลลัมพนสังฆทานจึงมีการลอยโคมเพื่อส่องทางให้ผีข้ามแม่น้ำไน่เห อด้วย การลอยโคมในวันสารทจีนคงมีมาตั้งสมัยราชวงศ์ถัง ถึงสมัยราชวงศ์ซ่งใต้ มีบันทึกว่า "ราชสำนักส่งขันทีไปลอยโคมนับหมื่นดวง" ในวันนี้ สมัยราชวงศ์หยวนการลอยโคมแพร่หลายไปทั่วประเทศจีน มีบันทึกของคนร่วมสมัยกล่าวถึงประเพณีนี้ในเมืองหลวงว่า "เดือน ๗ วัน ๑๕ ค่ำ วัดต่างๆ จัดงานอุลลัมพนสังฆทาน ตอนค่ำลอยโคมลงแม่น้ำ เรียกว่า ลอยคงคาประทีป" เถียนยู่เฉิงบันทึกประเพณีนี้ในเมืองหางโจวสมัยนั้นไว้ว่า "วัน ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ เรียกว่าเทศกาลจงหยวน เล่าสืบกันมาว่าเป็นวันที่เทพตี้กวนประทานอภัยโทษ ผู้คนจะถือศีลกินเจ สวดมนต์อุทิศให้บรรพชนและผีทั้งหลายให้พ้นโทษภัย---พระสงฆ์จัดงานอุลลัมพนสั งฆทาน ลอยโคมในทะเลสาบซีหูและที่เจดีย์ แม่น้ำ เรียกว่า "ส่องยมโลก"" ในสมัยราชวงศ์หมิงและชิง การลอยโคมเป็นทั้งการบุญและงานรื่นเริงสนุกสนาน หนังสือ "จิงโตวเฟิงซู่จื้อ (บันทึกประเพณีเมืองหลวง)" กล่าวว่า "วัน ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ เป็นวันเทศกาลจงหยวน เล่าสืบกันมาว่าเป็นวันที่เทพตี้กวนประทานอภัยโทษ ผู้คนไปเซ่นไหว้บรรพชนที่สุสานเหมือนวันเช็งเม้ง พระสงฆ์สวดมนต์ทำพลีกรรม เผาเรือกระดาษเรียกว่า "ส่งธรรมนาวา" เชื่อว่าจะช่วยรับผีไม่มีญาติออกจากยมโลก ในตลาดขายโคมนานาชนิด ที่ทำเป็นรูปดอกบัวเรียกว่าปทุมมาลย์ประทีป ที่ทำเป็นรูปใบบัวเรียกปทุมบรรณประทีป ตกค่ำเด็กๆ รวมกันเป็นกลุ่มๆ ต่างถือโคมดอกบัว โคมใบบัวเดินไปตามถนนตรอกซอกซอยร้องว่า "โคมดอกบัว โคมดอกบัว จุดวันนี้ พรุ่งนี้โยน" บ้างก็เอาผลไม้มาปักธูปเทียนทั่วทั้งลูก เรียกว่าโคมธูปเทียนและใช้ไม้ยาวปักธูปเทียนเป็นรูปต้นไม้ โคมพวกนี้ทำให้ที่มืดมีแสงระยิบระยับราวหิ่งห้อยนับหมื่น เหมือนแสงผีทั่วพันลี้ น่าชมยิ่งนัก" การจุดโคมพราวพร่างระยิบระยับไปทั่วนี้ยังเป็นการเซ่นสรวงบรรพชน ขอให้พืชพรรณธัญญาหารสมบูรณ์อีกด้วย บางแห่งเอาธูปเทียนปักที่ดิน ยิ่งปักมากยิ่งดี เรียกว่า "ดำนา" เป็นเครื่องหมายว่าข้าวกล้างอกงามดี และเป็นการบูชาพระกษิติครรภโพธิสัตว์ ผู้มีมหาปณิธานโปรดสัตว์ให้พ้นบาปหมดไปจากนรก ขอให้ท่านช่วยโปรดวิญญาณบรรพชนและเปตชนทั้งหลายให้พ้นนรก และอำนวยสุขสวัสดีแก่คนที่ยังมีชีวิตอยู่ การลอยโคมในอดีตมีทำ ตั้งแต่วัน ๑๓-๑๕ ค่ำ ในไต้หวันนิยมลอยวัน ๑๔ ค่ำ เพื่อส่องทางให้ผีขึ้นมารับการเซ่นไหว้ในวัน ๑๕ ค่ำ ในจีนบางแห่งลอย ๑๕ ค่ำ มีคำอธิบายว่าเมื่อผีได้รับการเซ่นไหว้และส่วนกุศลพ้นจากบาป แต่หาทางไปผุดไปเกิดไม่เจอ แสงโคมจากพิธีลอยโคมทำให้ผีเห็นภพภูมิที่จะไปเกิดได้ ความเชื่อนี้เกิดทีหลัง กล่าวโดยสรุปการลอยโคมเป็นการส่องทางให้ผี และคนก็ได้รับความสนุกสนานไปด้วย หลังจากสิ้นราชวงศ์ชิงการลอยโคม เสื่อมตามเทศกาลสารทจีนไปด้วย ในจีนยังมีทำอยู่บ้างในบางถิ่น เช่น ที่อำเภอหนันจาง จังหวัดเซียงผาน มณฑลหูเป่ย ยังมีการลอยโคมในเทศกาลสารทจีน กลางวันมีการเล่น "แปรอักษรโคม" ก่อน โดยแบ่งเป็น ๒ ทีม ทุกคนถือโคม ทีม ก จะเอาโคมไปวางเรียงเป็นรูปตัวอักษรก่อน เช่น (อี-หนึ่ง) ทีม ข ต้องใช้อักษรนี้เป็นฐาน ต่อเติมหรือเปลี่ยนแปลงให้เป็นอักษรอื่น เช่น (เออว์-สอง) (ซาน-สาม) (เฟิง-อุดมสมบูรณ์) สลับกันไปมาเช่นนี้จนกว่าจะ "จน" แปรเป็นอักษรต่อไปไม่ได้ ทีมที่ "จน" เป็นผู้แพ้ ในไต้หวันแต่ก่อนทุกวัดมีพิธีลอยโคม แต่ปัจจุบันเหลือที่วัดหลงซานเพียงแห่งเดียว ส่วนในเมืองไทยไม่มีพิธีลอยโคมในเทศกาลสารทจีนเลย การลอยโคมไปทำในเทศกาลกินเจเดือน ๙
|
|
|
|
Leam
|
|
« ตอบ #8 เมื่อ: 24 สิงหาคม 2553, 14:51:22 » |
|
ทันใจ ถูกใจดีแท้.........เพื่อนจุ๊ง
|
|
|
|
ตุ๋ย 22
|
|
« ตอบ #9 เมื่อ: 24 สิงหาคม 2553, 15:14:56 » |
|
คงจะได้อ่านอย่างเดียวมั้งเพื่อนจุ๊ง
|
น้ำใจน้องพี่สีชมพู ไม่เสื่อมคลายหายไปจากหัวใจ
|
|
|
Leam
|
|
« ตอบ #10 เมื่อ: 31 สิงหาคม 2553, 00:24:01 » |
|
เงียบไปเลย..........เพื่อนจุ๊ง
เอาสามก๊กมาชำแหละหน่อย.....ดีไหม?
จะเป็นตัวละคร หรือสมรภูมิรบ ที่เด่นๆก็ได้.
|
|
|
|
|
Leam
|
|
« ตอบ #12 เมื่อ: 14 กันยายน 2553, 15:48:37 » |
|
สรุปว่า...... เอียวสิว เป็นคนเก่งแต่โชคร้าย ได้นายไม่ดี อย่างนั้นเหรอ ท่านจุ๊ง?
|
|
|
|
เจตน์
Cmadong Member
Cmadong ชั้นเซียน
ใครๆเรียกผมว่า "กุ๊ปปิ๊"
ออฟไลน์
รุ่น: RCU2534
คณะ: ครุฯ พลศึกษา
กระทู้: 6,520
|
|
« ตอบ #13 เมื่อ: 14 กันยายน 2553, 15:53:03 » |
|
มาแสดงตนไว้ก่อนครับพี่จุ๊ง...
แต่ยังไม่ได้อ่านนิ
|
ชีวิตผมเป็นดั่งวงกลม จึงได้แต่ดอมดมความสุขจากคนอื่นๆ
|
|
|
จุ๊ง2522
Full Member
ออฟไลน์
กระทู้: 781
|
|
« ตอบ #14 เมื่อ: 14 กันยายน 2553, 16:34:26 » |
|
ไม่ใช่เอียวสิวได้นายไม่ดี เพียงแต่นักการเมืองเกลียดที่สุดก็คนรู้ใจนี่แหละ พูดถึงสามก๊กแล้ว ก็ต้องพูดถึงโจโฉ สมัยเด็กอ่านสามก๊กฉบับเจ้าพระยาคลัง(หน)จะชอบก๊กเล่าปี่ เพราะนิยายแต่งให้เป็นก๊กพระเอก แต่พอโตขึ้นมา ความคิดมีมากขึ้น ผ่านประสบการณ์มากขึ้น กลับชอบโจโฉ เพราะโจโฉมีบุคลิกหลายลักษณะที่สลับซับซ้อนที่สุดในประวัติศาสตร์จีน ตอนโจโฉเมาเคยพูดขึ้นว่าตอนนี้รับราชการได้ถึงตำแหน่งสูงสุดของสามัญชนแล้ว ความหวังตอนนี้หวังว่าหลังจากตาย ป้ายที่หลุมศพให้จารึกว่าเป็นขุนนางผู้ซื่อสัตย์ ในจีนถ้าไม่มีโฉซักคน ไม่รู้ว่าจะมีใครซักกี่คนยกตัวขึ้นเป็นเจ้า ยกตัวขึ้นเป็นกษัตริย์ และให้สังเกตุว่าในสามก๊กยุคบุกเบิก โจโฉ เล่าปี่ ซุนกวน มีโจโฉคนเดียวที่ขึ้นมาอย่างถูกทำนองครองธรรม เริ่มตั้งแต่เป็นหัวหน้าทหารรักษาพระนคร ไต่เต้ามาเรื่อยๆ ในขณะที่คนอื่นไม่ว่าจะเป็นเล่าปี่ ซุนกวน อ้วนเสี้ยว อ้วนสุด แต่งตั้งตัวเองขึ้นมาทั้งนั้น และโจโฉจนตายยังไม่ได้ตั้งตัวขึ้นเป็นกษัตริย์ ในขณะที่เล่าปี่ ซุนกวน ตั้งตัวเองเป็นกษัตริย์ให้สมอยากเมื่อพระเจ้าเหี้ยนเต้ถูกปลด ขนาดคึกฤทธิ์ยังยกย่องโจโฉให้เป็นนายกตลอดกาลเลย โจโฉให้อภัยคนได้ตลอดเวลาแม้จะเคยทรยศต่อตัวเอง ตอนโจโฉปราบอ้วนเสี้ยวซึ่งมีกำลังทหารมากกว่าตัวเองได้ มีคนเอาจดหมายที่ลูกน้องโจโฉติดต่อเข้าเป็นพวกกับอ้วนเสี้ยวมาให้โจโฉดู โจโฉกลับสั่งให้เผาทิ้ง มีคนถามว่าทำไม โจโฉถอนใจบอกว่าสภาพการณ์ในขณะนั้น แม้แต่ตัวโฉเองยังไม่รู้ว่าจะรอดปากเหยี่ยวปากกามาได้หรือไม่เลย อย่าว่าแต่บรรดาขุนทหารทั้งหลาย ฉะนั้นการติดต่อเพื่อแปรพักตร์เป็นธรรมดาของสัตว์โลก กัมมุนาวัตตะตี โลโก กุ๊ก กุ๊ก
|
|
|
|
Leam
|
|
« ตอบ #15 เมื่อ: 14 กันยายน 2553, 17:10:36 » |
|
ปีที่แล้วมีข่าวว่า.......ค้นพบหลุมศพโจโฉ.
จริงเท็จแค่ไหน?.........ท่านจุ๊ง
|
|
|
|
จุ๊ง2522
Full Member
ออฟไลน์
กระทู้: 781
|
|
« ตอบ #16 เมื่อ: 14 กันยายน 2553, 17:31:25 » |
|
ตามข่าวได้รับการยืนยันจากนักวิชาการว่าเป็นหลุมศพโจโฉจริง อาจจะมีการชำรุดบ้างเพราะมีนักขุดสุสานไปเยี่ยมมาก่อนแล้ว จริงๆในจีนมีพวกนิยมขุดสุสานเยอะเหมือนกัน แต่หลุมนี้ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการแล้วว่าเป็นหลุมศพของโจโฉจริง แถมมีแผ่นป้ายหินที่มีลักษณะแบบเครื่องหยกของเจ้าครองนครโบราณใช้ในพิธีอันสำคัญ ที่มีคำแกะสลักว่า “ หวู่หวางแห่งรํฐเว่ยผู้ใช้ง้าวใหญ่ยักษ์อย่างห้าวหาญ ”
|
|
|
|
Leam
|
|
« ตอบ #17 เมื่อ: 14 กันยายน 2553, 17:36:05 » |
|
ขอบคุณ......จุ๊ง
จะออกจากที่ทำงานแล้ว.........เจอกันใหม่ตอนดึกๆ.
|
|
|
|
khesorn mueller
|
|
« ตอบ #18 เมื่อ: 14 กันยายน 2553, 17:55:12 » |
|
พี่จุ๊ง, เมื่อวันก่อนมีงานทำบุญแด่ผีไร้ญาติ เช็งเม้ง??
หนิงถ่ายฟิล์มมาด้วยคะ ยังไม่ทำเลย. แปะที่นี่ได้ป่ะ?
|
|
|
|
BU_KA
Full Member
ออฟไลน์
กระทู้: 986
|
|
« ตอบ #19 เมื่อ: 14 กันยายน 2553, 18:06:12 » |
|
อุ๊ยยย !! ตามมาอ่านเรื่องผี เข้ากับอวตาร์พี่จุ๊งงง เลยนิ
เลยเผลออ่านเรื่องราวของสารทจีน ความเป็นมาของลัทธิ ซะเพลินเลยค่ะ
ได้ฟาามม รู้
ขอบคุณค่ะ
|
|
|
|
จุ๊ง2522
Full Member
ออฟไลน์
กระทู้: 781
|
|
« ตอบ #20 เมื่อ: 14 กันยายน 2553, 18:09:22 » |
|
ได้จ้ะน้องหนิง มีอะไรมะรุมมะตุ้มหรือจะใช้ภาษาอินตระเดียว่าลงแขกได้เลย ไม่ว่ากันอยู่แล้ว นานๆโพสต์ที นานๆขุดเรื่องสามก๊กมาดูที ชักติดใจ เลยมาโพสต์ต่อเรื่องศึกสายเลือดระหว่างโจผีกับโจสิด ลูกๆของโจโฉซึ่งทำให้เกิดโศลกเจ็ดก้าวอันลื่อลั่นในพงศาวดารจีน หลายท่านที่เคยดูหนังสามก๊ก น่าจะเคยเห็นบทนี้
ขอออกตัวไว้ก่อนว่าเป็นบทความที่เคยโพสต์ที่อื่นนานแล้ว อาจไม่มีปรับปรุงเสริมแต่งอะไรนัก แต่จะมีลบความเป็นจีนออกเท่าที่จำเป็น
ฟังนักเล่านิทานเล่าเรื่อง评书เรื่องสามก๊กถึงตอนโจผี(曹丕)บังคับให้โจสิด(曹植)ผู้น้องร่ายโศลกภายในเจ็ดก้าว อดหลั่งน้ำตาไม่ได้ ด้วยความซาบซึ้ง เลยอยากจะมาเล่าสู่กันฟัง โจผีกับโจสิดเป็นลูกของโจโฉที่เกิดจากนางเปี้ยนสี(卞氏) เหมือนกัน โจสิดเป็นลูกชายคนโปรดของโจโฉ มีความสามารถทั้งบุ๋นและบู๊ มาตั้งแต่เด็กๆ แต่เป็นคนนิยมดื่มสุรา ปกติจะร่ำดื่มกับเพื่อนๆคอสุราและร่ายกาพย์กลอนด้วยกันเป็นประจำ เป็นคู่แข่งที่จะแย่งชิงอำนาจกับโจผี และสามารถแสดงความสามารถเหนือกว่าโจผีอยู่บ่อยครั้งในการทดสอบความสามารถต่อหน้าโจโฉ แต่ด้วยเล่ห์เหลี่ยม และการช่วยเหลือจากที่ปรึกษากาเซี่ยง(贾许) ตำแหน่งทายาทเลยตกเป็นของโจผี ตอนโจโฉตาย โจสิดไม่ได้มาร่วมพิธีศพ ยังความโกรธแค้นกับโจผีอย่างมาก และการที่พ่อตายไม่ไปงานศพถือเป็นความผิดประเพณีอย่างยิ่งและถือเป็นการผิดกฏหมาย ประหารชีวิตได้เลย เลยใช้เคาทู(许褚)ไปจับตัวมา เคาทูก้ไปจับโจสิดมาได้อย่างง่ายดาย เพราะโจสิดยังเมาอยู่ นางเปี้ยนสีมีลูกกับโจโฉ4คน ก่อนหน้านี้โจหิม(曹熊) ลูกอีกคนของนางเปี้ยนสีก็ผูกคอตายหนีความผิดไปแล้ว นางเปี้ยนสีรักโจสิดมาก ได้ยินว่าโจผีไปจับโจสิดมากลัวว่าโจผีจะฆ่าน้อง เลยมาห้ามปราม บอกว่าน้องเจ้ายังเล็กก็มีความคึกคะนอง จะลงโทษก็ขอให้ไว้ชีวิตด้วย มิฉะนั้นแม่จะตายตาไม่หลับ โจผีเป็นลูกกตัญญูก็รีบแก้ตัวว่าลูกเองก็รู้ว่าน้องเป็นคนมีความสามารถและรักในพรสวรรค์ของน้อง ไหนเลยจะทำร้ายได้ นางเปี้ยนสีก็วางใจ ฮัวหิม(华歆)มาถามว่านายท่านจะไว้ชีวิตโจสิดจริงหรือ โจผีถอนใจแล้วตอบว่าคำสั่งแม่ยากจะฝ่าฝืน ฮัวหิม เลยเสนออุบายว่าในเมื่อโจสิดขึ้นชื่อในเรื่องกาพย์กลอน เดี๋ยวตอนเรียกพบ ก็ให้โจสิดร่ายโศลกในหัวข้อที่ยาก ถ้าร่ายไม่ได้ก็ให้ฆ่าเสีย คนก็จะนินทาไม่ได้ ถ้าร่ายโศลกได้ ก็ลดตำแหน่งส่งไปที่กันดาร ขจัดเภทภัยภายหลัง โจผีเห็นด้วย เลยเรียกโจสิดมาพบ แล้วพูดด้วยน้ำเสียงดุดันว่ากูกับมึงถึงแม้จะเป็นพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน แต่ก็มีอีกฐานะหนึ่งคือระหว่างข้ากับเจ้า มึงมีความผิดมากที่ท่านพ่อเสียไม่มาร่วมพิธีศพ เดิมจะฆ่าทิ้ง แต่ท่านแม่ขอไว้ มึงถือตัวนักถือตัวหนาว่าเป็นผู้มีวิชาความรู้ มักอวดความรู้และแต่งกลอนประจบต่อหน้าท่านพ่อ กูสงสัยอยู่ตลอดว่ามีคนแต่งแทนมึง ตอนนี้กูจะจำกัดให้มึงแต่งกลอนภายในเจ็ดก้าว ถ้าแต่งได้กูจะไว้ชีวิตมึง ถ้าแต่งไม่ได้ใจความ มึงตายแน่ๆ มึงจะแต่งได้ไหม โจสิดตอบว่าเชิญท่านพี่ออกหัวข้อ โจผีมองไปมองมา เห็นบนฝาผนังแขวนไว้ด้วยภาพสีหมึกภาพหนึ่ง เป็นรูปวัว2ตัวต่อสู้กันอยู่ข้างกำแพงดิน วัวตัวหนึ่งตกลงไปในบ่อตาย โจผีเลยชี้ไปที่ภาพแล้วบอกว่าใช้ภาพนี้เป็นหัวข้อละกัน ให้อธิบายภาพนี้ แต่ห้ามใช้คำว่าวัว2วัวต่อสู้กัน และตัวหนึ่งตกบ่อตาย โจผีให้เคาทูถือดาบและนับก้าวถ้าโจสิดเดินครบเจ็ดก้าวแล้วยังแต่งกลอนไม่ออก ให้ตัดหัวทันที โจสิดเดินไปเจ็ดก้าวแล้วร่ายโศลกออกมาดังนี้
เนื้อ2กลุ่มเดินสวนทางกัน ศีรษะมันมีกระดูกโค้ง เจอะกันแถวเนินเขา เป็นการประจันหน้าอย่างฉุกละหุก ทั้งคู่ต่างไม่มีกลัวกัน เนื้อกลุ่มหนึ่งนอนแผ่หราในหลุมดิน ใช่ว่าเรียวแรงจะสู้ไม่ได้ เพียงแต่ไม่ได้ใช้มันจนสุด
โจผีได้ยินก็นึกสรรเสริญในใจ แต่ในใจก็ยังอยากจะขจัดคู่แข่งตัวฉกาจ เลยแกล้วบอกว่า เออ ก็พอฟังได้อยู่ แต่กูว่ามึงเดินไปเจ็ดก้าวแล้วแต่งกลอนมันช้าไป มึงต้องแต่งกลอนทันทีที่กูออกหัวข้อเสร็จ ถ้าทำได้กูจะไว้ชีวิตมึง เดิมทีมึงกับกูเป็นพี่น้องกัน และก็ต่อสู้ห้ำหั่นกันมาตลอด ก็เอาการต่อสู้ระหว่างเรา2 พี่น้องเป็นหัวข้อละกัน แต่ห้ามใช้คำว่าพี่น้อง เอาละเริ่มได้แล้ว โจสิดคิดก็แทบไม่คิดร่ายโศลกอมตะที่ชาวจีนทุกบ้านรู้กันอย่างแพร่หลายว่าเป็นวิธีการต้มถั่วที่ถูกหลักอนามัยไม่มีเมลานีนว่า
การต้มถั่ว ต้องเริ่มต้นด้วยการเผาลำต้นถั่วเป็นเชื้อเพลิงนะ จากนั้นก็นำเม้ดถั่วที่ผ่านการร่อนตะแกรงและหมักแล้วมาตั้งหม้อเพื่อทำให้เป็นน้ำถั่วเคี่ยว ต้นถั่วก้เผาใหม้อยู่ใต้เตาประหยัดดี ถั่วในหม้อก็ร่ำไห้น้ำตาไหล ต่างเกิดมาจากรากเหง้าเดียวกัน ไยจึงเคี่ยวกันถึงขนาดนี้ จะประหยัดไปถึงไหน
โจผีฟังจบ ต่อมน้ำตาก็แตกทันที น้ำตาไหลพรากๆ นางเปี้ยนสีแอบฟังอยู่ข้างหลังก็รีบเดินออกมา ต่อว่าโจผีว่าทำไมต้องบีบคั้นน้องถึงขนาดนี้ โจผีแก้ตัวว่า กฏหมายไม่สามารถเลือกปฏิบัติได้ จากนั้นก็ลดตำแหน่งโจสิดเป็น安乡侯(ขุนปลอบโยนราษฎร์) โจสิดก็อำลาจากไปและหายหน้าไปจากหน้าประวัติศาสตร์
|
|
|
|
khesorn mueller
|
|
« ตอบ #21 เมื่อ: 14 กันยายน 2553, 18:30:28 » |
|
เดี๋ยวไปร้านเวียตก่อนคะ แล้วจะกลับมาดูฟิล์มเชิดสิงโต แปะแน่ แปะแน่... พี่จุ๊งล่วงหน้าไปก่อนคะ เดี๋ยวมา
|
|
|
|
BU_KA
Full Member
ออฟไลน์
กระทู้: 986
|
|
« ตอบ #22 เมื่อ: 14 กันยายน 2553, 18:35:36 » |
|
พี่จุ๊งง หนูอ่านอยู่ค่ะ
|
|
|
|
Leam
|
|
« ตอบ #23 เมื่อ: 14 กันยายน 2553, 21:14:28 » |
|
หวัดดี.......น้องหนิง..น้องหมี.
ดีจังที่มาเจอกันที่ห้องนี้อีก.
|
|
|
|
Leam
|
|
« ตอบ #24 เมื่อ: 14 กันยายน 2553, 21:19:27 » |
|
สุภาษิตที่ว่า..... "เถาถั่วต้มถั่ว"
มีที่มาจากเรื่องราวของโจผีและโจสิดนี้เอง........ขอบคุณ เพื่อนจุ๊ง
|
|
|
|
|