Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #16750 เมื่อ: 08 กุมภาพันธ์ 2561, 18:35:49 » |
|
พระพุทธเมตตา เจดีย์พุทธคยา เมืองคยา รัฐพิหาร อินเดีย จิต หรือ วิญาณ คือธาตุรู้ เป็นธรรมชาติที่มนุษย์จะรู้เมื่อ อายตนะภายใน อันได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่เป็นทวารรับรู้ ได้ผัสสะ(ผัสสะประกอบไปด้วยการ เห็น ได้ยิน ได้ดมกลิ่น ำด้ลิ้มรส ได้สัมผัสทางกาย ใจนึกคิด) กับอายตนะภายนอก อันได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธัมมารมภ์ จะเกิดการรู้แจ้งทางทวารนั้น ๆ เกิดวิญาณ อันได้แก่ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ ทุกท่านจงมองไปรอบ ๆ ตัวท่าน บนโลกใบนี้ จะประกอบด้วย มหาธาตุทั้ง ๔ อันได้แก่ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ แต่มนุษย์ และสัตว์โลกที่ยังมีชีวิต จะมีธาตุที่ ๕ คือวิญญาณธาตุ หรือธาตุรู้ ดังนั้น จิต หรือธาตุรู้ สามารถที่จะเสวยอารมภ์ คิด นึก ตรึก ตรอง ปรุงแต่งอารมภ์ไปตามเหตุ-ปัจจัยที่มาปรุงแต่ง หรือผัสสะ เกิคความโลภ ความโกรธ ความหลง ความอยาก ความไม่อยาก และสามารถมีสติ หรือรู้สึกตัวได้เป็นต้น จิต นี้มาอาศัยอยู่ในรูป และเป็นใหญ่สุดที่คอยบงการกาย วาจา เผลอคิด ไปต่าง ๆ นา ๆ เพื่อตนเองเป็นหลัก จิตจึงใหญ่สุดเหนือทั้งรูป-นาม รูป-นาม หรือขันธ์ ๕ ที่ประกอบไปด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มนุษย์ เกิดมา ท่านให้สร้างกุศล สร้างความดี สร้างบารมี ๑๐ ทัศน์ และบารมี ๓๐ ทัศน์ เพื่อตนเองในชาตินี้ และภพหน้าที่ดีกว่า และถึงซึ่งพระนิพพาน สวัสดี
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #16751 เมื่อ: 09 กุมภาพันธ์ 2561, 18:18:03 » |
|
รูป หรือ กาย ที่ประกอบไปด้วย ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ปกติ เขาจะสมดุลย์ตามธรรมชาติ แต่เพราะเราใช้ร่างกายไม่ถูกวิธี และไม่ดูแลเขา ผลคืออวัยยวะบางส่วนมันเสื่อมลง เกิดโรคตามมา ดังนั้น อาหารที่รับประทานแต่ละมื้อ คือยาตามธรรมชาติ ที่เราต้อง หามากิน เพื่อให้ธาตุทั้ง ๔ สมดุลย์ตบอดเวลาก็จะไม่เจ็บป่วย - กินอาหารให้ครบหมู่ - ใช้สูตร 2:1:1 ในแต่ละมื้อคือ ผักสองส่วน โปรตีนหนึ่งส่วน และคาร์โบไฮเดรตหนึ่งส่วน - มื้อเช้าต้องกินอย่างราชา มื้อเย็นไม่กินได้ก็ดี หรือรับประทานพออยู่ได้ - กินของร้อน ใช้ช้อนกลาง - กินเสร็จ ให้เดินจงกรม นั่ง ไม่นอน หนึ่งชั่วโมงขึ้นไป - ออกกำลังกาย อาทิตย์ละ 3-4 วัน ครั้งละเกินหนึ่งชั่วโมง - นอนให้หลับลึก วันละ ๘ ชั่วโมง ด้วยการนอนหัวค่ำ คนเป็นโรค เพราะนอนน้อย พักผ่อนไม่พอเพียง - ฯลฯ สวัสดี
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #16752 เมื่อ: 10 กุมภาพันธ์ 2561, 06:12:42 » |
|
อาหารใจ คือ สติ หรือ เอาธรรมะของพระพุทธองค์ไปปฏิบัติในการดำรงค์ชีวิต อาหารใจที่ดีที่สุดคือ คือการภาวนาตั้งสติปัฏฐาน ๔ เพราะจะไท่ปล่อยใจออกนอกกาย ด้วยการรู้สึกตัวทั้วพร้อม หรือมีสติ เมื่อมีสติ ก็จะไม่หลงไปกับการคิด หรืออารมภ์ที่มาปรุงแต่งจิต และถ้ามีวาสนาเก่า จะได้เห็นธรรม เห็นความจริงในรูปนาม จนสามารถละความเป็นตัวตนลงได้ ถึงซึ่งพระนิพพาน สำหรับบุคคลธรรมดา คือดำรงคฺชีวิตด้วย มรรคมีองค์ ๘ นั่นละอาหารใจอย่างดีเช่นกัน สวัสดี
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #16753 เมื่อ: 11 กุมภาพันธ์ 2561, 13:46:23 » |
|
บวชเป็นสามเณรใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ คนเราหลงอยู่ในความคิด หลงอยู่ในความฝัน การหลงอยู่ในความคิด ต้องรู้สึกตัวว่าเราคิด เมื่อฝัน ต้องรู้สึกตัวให้เร็ว หลุดออกมาจากความฝันโดยพลัน ถึงเรายังหลงคิด เพราะการดำรงชีวิต ต้องพึ่งความคิด แต่ถ้าเรามีศีล มีธรรม เราก็อยู่กับความคิดที่พอเพียง ไม่ทำให้ใครเดือดร้อนรวมถึงตนเอง และอยู่อย่างสุขสงบได้เช่นกัน สวัสดี
|
|
|
|
kumpolcomcai
Global Moderator
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
คิดดี พูดดี ทำดี คบคนดี อยู่ในสถานที่ดีดี
ออฟไลน์
รุ่น: 2525
คณะ: สัตวแพทยศาสตร์
กระทู้: 10,307
|
|
« ตอบ #16754 เมื่อ: 11 กุมภาพันธ์ 2561, 14:16:08 » |
|
ติดตามอ่านครับ
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #16755 เมื่อ: 11 กุมภาพันธ์ 2561, 18:35:27 » |
|
ขอบคุณมากครับ
พี่สิงห์ เขียนเพื่อเตือนตนเอง
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #16756 เมื่อ: 12 กุมภาพันธ์ 2561, 16:14:51 » |
|
แต่การบวชเป็นพระ ต้องบวชที่โบสถ์ อยู่ในเขตเสมา ภายใต้ที่ประชุมสงฆ์ ที่โบสถ์ วัดไทยพุทธคยา โดยมีท่านเจ้าคุณ พระธรรมโพธิวงศ์ เป็นพระอุปัชฌา การหลับ คือการที่จะทำให้จิตนั้นสงบ เป็นสมาธิ เพราะการหลับ คือการไม่คิด ไม่ฝัน อันใดเลย จิตได้พัก จิตสงบ เป็นสมาธิ(ไม่ใช่สติ) สงบนิ่ง เมื่อท่านหลับ ธาตุทั้ง ๔ สมดุลย์ ท่านก็จะหลับได้สนิท กลับได้ลึก กลับได้นาน จิตเป็นสมาธิอยู่กับความสงบ แต่เมื่อใดที่ธาตุทั้ง ๔ ไม่สมดุลย์ จิตมันจะตื่น และจะฝันทันที(เพราะหลับจิตจึงฝัน เพื่อให้ท่านรู้ตัว แต่ถ้าท่านไม่รู้ตัว หลงไปเป็นท่านฝัน ท่านก็ฝันไปเรื่อย ๆ จนท่านตื่น) ถ้าท่านปล่อยให้มันฝัน มันก็ฝันไปตลอดเวลา จิตไม่ได้พักอันใดเลย ทางที่ถูกต้องเมื่อท่านฝันปุ๊ป ต้องรู้สึกตัวปั๊ปทันที ไม่ให้มันฝันต่อ จงตื่นมาทำให้ธาตุทั้ง ๔ สมดุลย์เถิด เสร็จแล้วก็ไปนอนต่อ รักษาสติสบาย ๆ ให้รู้สึกตัว อย่าคิด เมื่อไม่คิดจิตมันก็สงบ หลับลงได้ ดังนี้แล สวัสดี
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #16757 เมื่อ: 13 กุมภาพันธ์ 2561, 08:53:33 » |
|
จิตนั้น มาอาศัยอยู่ในรูป จึงทำให้เกิด รูป-นาม ที่มีวิญญาณขึ้น จิตนั้น เป็นใหญ่ในรูป-นาม จิตนั้น ชอบทำอะไรเพื่อตนเอง จิตนั้น ชอบคิดเข้าข้างตนเอง จิตนั้น จะหลงไปกับความคิดตนเอง จนลืมว่ามาอาศัยเขาอยู่ชั่วคราว จิตนั้น คิดว่าตนเองคิดถูกเสมอ จิตนั้น จะสั่งให้กาย วาจา กระทำตามตนเองเสมอ จิตนั้น ชอบอิสสระ จิตนั้น ชอบคิดตลอดเวลาเมื่อผัสสะกับอายตนะภายนอก จิตนั้น จะปรุงแต่งตามอารมณ์ที่มากระทบ ชอบ ไม่ชอบ เฉย ๆ จิตนั้น จะเสียดายในสิ่งที่ผ่านำปแล้ว จิตนั้น จะวิตกกังวลในสิ่งที่ยังมาไม่ถึง จิตนั้น โลภไม่มีที่สิ้นสุด ไม่รู้จักพอ จิตนั้น ไม่อยากประสพในสิ่งที่ตนเองไม่ชอบ จิตนั้น ... สวัสดีครับ
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #16758 เมื่อ: 13 กุมภาพันธ์ 2561, 16:16:07 » |
|
นิทานวันแห่งความรัก
ณ ที่สวนสาธารณะแห่งหนึ่ง มีชายหญิงคู่หนึ่ง ทั้งสองชวนกันเดินเล่นชมความงามของธรรมชาติ ทั้งสองรักกันมากฝ่ายชายให้สัญญากับฝ่ายหญิงว่า ผมจะรักคุณตลอดไป ผู้หญิงจึงตอบกลับไปว่า ฉันเชื่อใจคุณ และจะรักคุณอย่างที่รักฉันตลอดไปเช่นกัน ไม่ว่าชีวิตจะมีอุปสรรคหรือเกิดอะไรขึ้นก็ตาม
ขณะนั้นนางฟ้าใจดี ปรากฎกายขึ้น ทราบถึงความรักของทั้งคู่ และต้องการที่จะทดสอบว่าทั้งคู่รักกันจริงไหม จึงกล่าวว่า "เธอทั้ง สองรักกันมาก เราอยากจะให้พวกเธอ ได้เห็นอนาคตของทั้งคู่สนใจไหม“
ชายหญิงคู่รักดีใจมากจับมือกันไว้แน่นอย่างสุดซาบซึ้งใจ นางฟ้าจึงพูดขึ้นว่า "เธอทั้งสองจะดูอนาคตที่จะเกิดขึ้นต่อไปภายหน้าหรือไม่” ชายและหญิงคู่รักมองตากัน แล้วตอบพร้อมกันว่า "เราทั้งคู่ ไม่กลัวอนาคตที่จะเกิดขึ้น เราเชื่อใจมั่นใจในความรักของกันและกัน" นางฟ้าได้ยินดังนั้น จึงร่ายมนต์เสก ซีดี ขึ้นมา 2 แผ่น และให้ทั้งคู่ไปดูอนาคตคนละแผ่น
ครั้นกลับถึงบ้าน หญิงสาวนำแผ่นซีดีที่ได้จากนางฟ้า แล้วเปิดดูทันที ภาพที่เห็น ในภาพแรกๆเธอและแฟนของเธอแต่งงานกัน เธอยิ้มแก้มปริมีอย่างความสุขมาก ในภาพหลังๆ หญิงสาวได้เห็นว่า มีภาพของแฟนเธอคบชู้ เธอถึงกับนั่งร้องไห้ด้วยความเสียใจ ทันใดนั้น มีเสียงประตูเคาะขึ้นที่หน้าห้อง เธอรีบปิดเครื่องเล่น และซับน้ำตา รีบไปเปิดประตู ปรากฎว่าเป็นแฟนของเธอเอง แฟนเธอยิ้ม แต่เธอยังรู้สึกโกรธอยู่จึงตบหน้าแฟนอย่างแรง และปิดประตูอย่างแรงโดยที่ฝ่ายชายยังงง ๆ อยู่ว่าโดนตบด้วยเรื่องอะไร? เธอนอนร้องไห้เสียใจถึงอนาคตที่จะต้องเกิดเช่นในแผ่นซีดีนั้น
ตั้งแต่วันนั้นมา เธอก็พยายามหนีหน้าชายคนรัก โดยที่ฝ่ายชายตามมาง้องอน โดยที่ไม่รู้ว่าตัวเองทำผิดอะไร? ฝ่ายหญิงพยายามทำทุกอย่างเพื่อหาทางเลิกกับฝ่ายชาย จนในที่สุดก็เลิกกันจนได้
กาลเวลาผ่านไป วันหนึ่งได้มีเสียงเคาะประตูหน้าบ้าน หญิงสาว จึงเปิดประตู แต่คนที่เคาะประตูก็รีบเดินหันหลังจากไปจนลับสายตาแล้ว เธอเห็นและจำได้ว่าเป็นชายคนที่เคยรัก มองดูที่พื้น พบจดหมายกับซีดีอีกแผ่นหนึ่งของที่นางฟ้าได้มอบให้กับฝ่ายชาย
เธอรีบนำซีดีแผ่นนี้ไปเปิดดูทันที ภาพที่เห็นเหมือนกันคือภาพที่ทั้งคู่แต่งงานกันอย่างมีความสุข แต่ภาพหลังจากการแต่งงานคือ ภาพที่เธอมีชู้กับผู้ชายคนใหม่ โดยมีแฟนของเธอร้องไห้อยู่ข้างๆ ....... เธอน้ำตาไหลและปิดเครื่องเล่นอย่างช้าๆ ...เธอค่อยๆ เปิดจดหมายที่แนบมากับซีดีนี้อ่าน ข้อความเขียนว่า "ผมไม่กลัวอนาคตเรามั่นใจในความรักของกันและกัน ขอบคุณแม้ผมจะเชื่อใจใน คุณฝ่ายเดียวก็ตาม ที่รักขอลาก่อน
การเชื่อใจเท่านั้น ที่ทำให้ คนทั้ง 2 คน คบกันอย่างมีความสุข แล้วคุณละเชื่อใจคนรักของคุณมากแค่ไหน ?
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #16759 เมื่อ: 18 กุมภาพันธ์ 2561, 18:38:44 » |
|
เมื่อวันที่ ๑๕ กพ. ที่ผ่านมา ได้ไปสอนหนังสือ ให้นักศึกษา แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา ชั้นปีที่ 3 และ 4 มหาสิทยาลัยวลัยลักษณ์(มวล.)ในเรื่องการออกแบบ การผลิต และการตอกเสาเข็ม ภาคเช้าเรียนในห้องเรียน ภาคบ่าย พาไปดูการผลิตเสาเข็มจริง ที่โรงงาน SICON ท่าศาลา
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #16760 เมื่อ: 18 กุมภาพันธ์ 2561, 18:41:38 » |
|
นักศึกษา รุ่นนี้ตั้งใจฟังการบรรยาย ครับ เพราะมีคืออาชีพของเขาในอนาคตได้
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #16761 เมื่อ: 02 มีนาคม 2561, 06:52:50 » |
|
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะSelect English version :-metta : eaccesstoinsight : thanaccesstoinsight : olen ฉบับหลวง ฉบับมหาจุฬาฯ บาลีอักษรไทย PaliRoman พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สฬายตนวรรค ๑. อนาถปิณฑิโกวาทสูตร (๑๔๓) [๗๒๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล อนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ทนทุกขเวทนา เป็นไข้หนัก จึงเรียกบุรุษคนหนึ่งมาสั่งว่า มาเถิดพ่อมหาจำเริญ พ่อ จงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ แล้วจงถวายบังคมพระบาทพระผู้มีพระภาค ด้วยเศียรเกล้าตามคำของเรา แล้วจงกราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ทนทุกขเวทนา เป็นไข้หนัก ขอถวายบังคมพระบาท พระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า อนึ่ง จงเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรยังที่อยู่ แล้ว จงกราบเท้าท่านพระสารีบุตรตามคำของเรา และเรียนอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ทนทุกขเวทนา เป็นไข้หนัก ขอกราบเท้าท่านพระ- *สารีบุตรด้วยเศียรเกล้า และเรียนอย่างนี้อีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โอกาสเหมาะ แล้ว ขอท่านพระสารีบุตรจงอาศัยความอนุเคราะห์ เข้าไปยังนิเวศน์ของอนาถ- *บิณฑิกคฤหบดีเถิด บุรุษนั้นรับคำอนาถบิณฑิกคฤหบดีแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ยังที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ [๗๒๑] พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้า แต่พระองค์ผู้เจริญ อนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ทนทุกขเวทนา เป็นไข้หนัก ขอ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า ต่อนั้น เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรยังที่ อยู่ กราบท่านพระสารีบุตรแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว จึงเรียนท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ทน ทุกขเวทนา เป็นไข้หนัก ขอกราบเท้าท่านพระสารีบุตรด้วยเศียรเกล้าและสั่งมา อย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โอกาสเหมาะแล้ว ขอท่านพระสารีบุตรจงอาศัยความ อนุเคราะห์เข้าไปยังนิเวศน์ของอนาถบิณฑิกคฤหบดีเถิด ท่านพระสารีบุตรรับนิมนต์ ด้วยดุษณีภาพ ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรนุ่งสบงทรงบาตรจีวร มีท่านพระอานนท์ เป็นปัจฉาสมณะ เข้าไปยังนิเวศน์ของอนาถบิณฑิกคฤหบดี แล้วนั่งบนอาสนะที่ เขาแต่งตั้งไว้ ฯ [๗๒๒] พอนั่งเรียบร้อยแล้ว จึงกล่าวกะอนาถบิณฑิกคฤหบดีดังนี้ว่า ดูกรคฤหบดี ท่านพอทน พอเป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนาทุเลา ไม่กำเริบ ปรากฏ ความทุเลาเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความกำเริบละหรือ ฯ อ. ข้าแต่พระสารีบุตรผู้เจริญ กระผมทนไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว ทุกขเวทนาของกระผมหนัก กำเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏความกำเริบเป็นที่สุด ไม่ ปรากฏความทุเลาเลย ฯ [๗๒๓] ข้าแต่พระสารีบุตรผู้เจริญ ลมเหลือประมาณกระทบขม่อม ของกระผมอยู่ เหมือนบุรุษมีกำลังเอาของแหลมคมทิ่มขม่อมฉะนั้น กระผมจึงทน ไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว ทุกขเวทนาของกระผมหนัก กำเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏ ความกำเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความทุเลาเลย ฯ [๗๒๔] ข้าแต่พระสารีบุตรผู้เจริญ ลมเหลือประมาณเวียนศีรษะกระ ผมอยู่ เหมือนบุรุษมีกำลังให้การขันศีรษะด้วยชะเนาะมั่นฉะนั้น กระผมจึงทน ไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว ทุกขเวทนาของกระผมหนัก กำเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏมี ความกำเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความทุเลาเลย ฯ [๗๒๕] ข้าแต่พระสารีบุตรผู้เจริญ ลมเหลือประมาณปั่นป่วนท้องของ กระผมอยู่ เหมือนคนฆ่าโค หรือลูกมือคนฆ่าโคผู้ฉลาดเอามีดแล่โคอันคมคว้าน ท้อง ฉะนั้น กระผมจึงทนไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว ทุกขเวทนาของกระผมหนัก กำเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏความกำเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความทุเลาเลย ฯ [๗๒๖] ข้าแต่พระสารีบุตรผู้เจริญ ความร้อนในกายของกระผมเหลือ ประมาณ เหมือนบุรุษมีกำลัง ๒ คน จับบุรุษมีกำลังน้อยกว่าที่อวัยวะป้องกันตัว ต่างๆ แล้ว นาบ ย่าง ในหลุมถ่านเพลิง ฉะนั้นกระผมจึงทนไม่ไหว เป็นไป ไม่ไหว ทุกขเวทนาของกระผมหนัก กำเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏความกำเริบเป็นที่ สุด ไม่ปรากฏความทุเลาเลย ฯ [๗๒๗] สา. ดูกรคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกอย่าง นี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นจักษุ และวิญญาณที่อาศัยจักษุจักไม่มีแก่เรา พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นโสต และวิญญาณที่อาศัยโสต จักไม่มีแก่เรา พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นฆานะ และวิญญาณที่อาศัยฆานะ จักไม่มีแก่เรา พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นชิวหา และวิญญาณที่อาศัยชิวหา จักไม่มีแก่เรา พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นกาย และวิญญาณที่อาศัยกาย จักไม่มีแก่เรา พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นมโน และวิญญาณที่อาศัยมโน จักไม่มีแก่เรา ดูกรคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด ฯ [๗๒๘] ดูกรคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นรูป และวิญญาณที่อาศัยรูปจักไม่มีแก่เรา พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเสียง และวิญญาณที่อาศัยเสียงจัก ไม่มีแก่เรา พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นกลิ่น และวิญญาณที่อาศัยกลิ่น จักไม่มีแก่เรา พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นรส และวิญญาณที่อาศัยรสจัก ไม่มีแก่เรา พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นโผฏฐัพพะ และวิญญาณที่อาศัย โผฏฐัพพะจักไม่มีแก่เรา พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นธรรมารมณ์ และวิญญาณที่อาศัย ธรรมารมณ์จักไม่มีแก่เรา ดูกรคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด ฯ [๗๒๙] ดูกรคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นจักษุวิญญาณ และวิญญาณที่อาศัยจักษุวิญญาณจักไม่มีแก่เรา พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นโสตวิญญาณ และวิญญาณที่ อาศัยโสตวิญญาณจักไม่มีแก่เรา พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นฆานวิญญาณ และวิญญาณที่ อาศัยฆานวิญญาณจักไม่มีแก่เรา พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นชิวหาวิญญาณ และวิญญาณที่ อาศัยชิวหาวิญญาณจักไม่มีแก่เรา พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นกายวิญญาณ และวิญญาณที่อาศัย กายวิญญาณจักไม่มีแก่เรา พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นมโนวิญญาณ และวิญญาณที่อาศัย มโนวิญญาณจักไม่มีแก่เรา ดูกรคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด ฯ [๗๓๐] ดูกรคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เรา จักไม่ยึดมั่นจักษุสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยจักษุสัมผัสจักไม่มีแก่เรา พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นโสตสัมผัส และวิญญาณที่อาศัย โสตสัมผัสจักไม่มีแก่เรา พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นฆานสัมผัส และวิญญาณที่อาศัย ฆานสัมผัสจักไม่มีแก่เรา พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นชิวหาสัมผัส และวิญญาณที่อาศัย ชิวหาสัมผัสจักไม่มีแก่เรา พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นกายสัมผัส และวิญญาณที่อาศัย กายสัมผัสจักไม่มีแก่เรา พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นมโนสัมผัส และวิญญาณที่อาศัย มโนสัมผัสจักไม่มีแก่เรา ดูกรคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด ฯ [๗๓๑] ดูกรคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เรา จักไม่ยึดมั่นเวทนาเกิดแต่จักษุสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยเวทนาเกิดแต่จักษุสัมผัส จักไม่มีแก่เรา พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาเกิดแต่โสตสัมผัสและวิญญาณ ที่อาศัยเวทนาเกิดแต่โสตสัมผัสจักไม่มีแก่เรา พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาเกิดแต่ฆานสัมผัส และ วิญญาณที่อาศัยเวทนาเกิดแต่ฆานสัมผัสจักไม่มีแก่เรา พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาเกิดแต่ชิวหาสัมผัส และ วิญญาณที่อาศัยเวทนาเกิดแต่ชิวหาสัมผัสจักไม่มีแก่เรา พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาเกิดแต่กายสัมผัส และ วิญญาณที่อาศัยเวทนาเกิดแต่กายสัมผัสจักไม่มีแก่เรา พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาเกิดแต่มโนสัมผัส และ วิญญาณที่อาศัยเวทนาเกิดแต่มโนสัมผัสจักไม่มีแก่เรา ดูกรคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด ฯ [๗๓๒] ดูกรคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นปฐวีธาตุ และวิญญาณที่อาศัยปฐวีธาตุจักไม่มีแก่เรา พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นอาโปธาตุ และวิญญาณที่อาศัย อาโปธาตุจักไม่มีแก่เรา พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเตโชธาตุ และวิญญาณที่อาศัย เตโชธาตุจักไม่มีแก่เรา พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นวาโยธาตุ และวิญญาณที่อาศัย วาโยธาตุจักไม่มีแก่เรา พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นอากาสธาตุ และวิญญาณที่อาศัย อากาสธาตุจักไม่มีแก่เรา ดูกรคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด ฯ [๗๓๓] ดูกรคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เรา จักไม่ยึดมั่นรูป และวิญญาณที่อาศัยรูปจักไม่มีแก่เรา พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเวทนา และวิญญาณที่อาศัย เวทนาจักไม่มีแก่เรา พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นสัญญา และวิญญาณที่อาศัย สัญญาจักไม่มีแก่เรา พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นสังขาร และวิญญาณที่อาศัย สังขารจักไม่มีแก่เรา พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นวิญญาณ และวิญญาณที่อาศัย วิญญาณจักไม่มีแก่เรา ดูกรคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด ฯ [๗๓๔] ดูกรคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เรา จักไม่ยึดมั่นอากาสานัญจายตนฌาน และวิญญาณที่อาศัยอากาสานัญจายตนฌาน จักไม่มีแก่เรา พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นวิญญาณัญจายตนฌาน และวิญญาณ ที่อาศัยวิญญาณัญจายตนฌานจักไม่มีแก่เรา พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นอากิญจัญญายตนฌาน และวิญญาณ ที่อาศัยอากิญจัญญายตนฌานจักไม่มีแก่เรา พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน และ วิญญาณที่อาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌานจักไม่มีแก่เรา ดูกรคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด ฯ [๗๓๕] ดูกรคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เรา จักไม่ยึดมั่นโลกนี้ และวิญญาณที่อาศัยโลกนี้จักไม่มีแก่เรา พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นโลกหน้า และวิญญาณที่อาศัย โลกหน้าจักไม่มีแก่เรา ดูกรคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด ฯ [๗๓๖] ดูกรคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า อารมณ์ใดที่เราได้เห็น ได้ฟัง ได้ทราบ ได้รู้แจ้ง ได้แสวงหา ได้พิจารณาด้วย ใจแล้ว เราจักไม่ยึดมั่นอารมณ์แม้นั้น และวิญญาณที่อาศัยอารมณ์นั้นจักไม่มีแก่ เรา ดูกรคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด ฯ [๗๓๗] เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวแล้วอย่างนี้ อนาถบิณฑิกคฤหบดี ร้องไห้ น้ำตาไหล ขณะนั้นท่านพระอานนท์ได้กล่าวกะอนาถบิณฑิกคฤหบดีดังนี้ ว่า ดูกรคฤหบดี ท่านยังอาลัยใจจดใจจ่ออยู่หรือ ฯ อ. ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ กระผมมิได้อาลัย มิได้ใจจดใจจ่อ แต่ ว่ากระผมได้นั่งใกล้พระศาสดาและหมู่ภิกษุที่น่าเจริญใจมาแล้วนาน ไม่เคยได้สดับ ธรรมีกถาเห็นปานนี้ ฯ อา. ดูกรคฤหบดี ธรรมีกถาเห็นปานนี้ มิได้แจ่มแจ้งแก่คฤหัสถ์ผู้นุ่งผ้าขาว แต่แจ่มแจ้งแก่บรรพชิต ฯ อ. ข้าแต่พระสารีบุตรผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น ขอธรรมีกถาเห็นปานนี้ จง แจ่มแจ้งแก่คฤหัสถ์ผู้นุ่งผ้าขาวบ้างเถิด เพราะมีกุลบุตรผู้เกิดมามีกิเลสธุลีในดวงตา น้อย จะเสื่อมคลายจากธรรม จะเป็นผู้ไม่รู้ธรรม โดยมิได้สดับ ฯ ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรและท่านพระอานนท์กล่าวสอนอนาถบิณฑิก คฤหบดีด้วยโอวาทนี้แล้ว จึงลุกจากอาสนะหลีกไป ฯ [๗๓๘] ต่อนั้น อนาถบิณฑิกคฤหบดีเมื่อท่านพระสารีบุตรและท่าน พระอานนท์หลีกไปแล้วไม่นาน ก็ได้ทำกาลกิริยาเข้าถึงชั้นดุสิตแล ครั้งนั้น ล่วง ปฐมยามไปแล้ว อนาถบิณฑิกเทพบุตรมีรัศมีงามส่องพระวิหารเชตวันให้สว่างทั่ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ แล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอยืนเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วย คาถาเหล่านี้ว่า พระเชตวันนี้มีประโยชน์ อันสงฆ์ผู้แสวงบุญอยู่อาศัยแล้ว อัน พระองค์ผู้เป็นธรรมราชาประทับ เป็นที่เกิดปีติแก่ข้าพระองค์ สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ด้วยธรรม ๕ อย่างนี้ คือ กรรม ๑ วิชชา ๑ ธรรม ๑ ศีล ๑ ชีวิตอุดม ๑ ไม่ใช่บริสุทธิ์ด้วยโคตร หรือด้วยทรัพย์ เพราะฉะนั้นแล บุคคลผู้เป็นบัณฑิต เมื่อเล็ง เห็นประโยชน์ของตน พึงเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย จะ บริสุทธิ์ในธรรมนั้นได้ด้วยอาการนี้ พระสารีบุตรนั้นแล ย่อม บริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา ด้วยศีล และด้วยความสงบ ความจริง ภิกษุผู้ถึงฝั่งแล้ว จะอย่างยิ่งก็เท่าพระสารีบุตรนี้ ฯ อนาถบิณฑิกเทวบุตรกล่าวดังนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย ต่อนั้น อนาถบิณฑิกเทวบุตรทราบว่า พระศาสดาทรงพอพระทัยจึงถวายอภิวาทพระผู้มี พระภาค แล้วกระทำประทักษิณ หายตัวไป ณ ที่นั้นเอง ฯ [๗๓๙] ครั้งนั้นแล พอล่วงราตรีนั้นไปแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสกะ ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ล่วงปฐมยามไปแล้ว มีเทวบุตรตน หนึ่ง มีรัศมีงาม ส่องพระวิหารเชตวันให้สว่างทั่ว เข้ามาหาเรายังที่อยู่ อภิวาท เราแล้ว ได้ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอยืนเรียบร้อยแล้ว ได้กล่าวกะเราด้วย คาถานี้ว่า พระวิหารเชตวันนี้มีประโยชน์ อันสงฆ์ผู้แสวงบุญอยู่อาศัยแล้ว อันพระองค์ผู้เป็นธรรมราชาประทับอยู่ เป็นที่เกิดปีติแก่ข้าพระองค์ สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยธรรม ๕ อย่างนี้ คือ กรรม ๑ วิชชา ๑ ธรรม ๑ ศีล ๑ ชีวิตอุดม ๑ ไม่ใช่บริสุทธิ์ด้วยโคตร หรือด้วยทรัพย์ เพราะฉะนั้นแล บุคคลผู้เป็นบัณฑิต เมื่อเล็งเห็น ประโยชน์ของตน พึงเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย จะบริสุทธิ์ ในธรรมนั้นได้ด้วยอาการนี้ พระสารีบุตรนั้นแล ย่อมบริสุทธิ์ ได้ด้วยปัญญา ด้วยศีล และด้วยความสงบ ความจริง ภิกษุผู้ ถึงฝั่งแล้วจะอย่างยิ่งก็เท่าพระสารีบุตรนี้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวบุตรนั้นได้กล่าวดังนี้แล้ว รู้ว่าพระศาสดาทรงพอ พระทัย จึงอภิวาทเรา แล้วกระทำประทักษิณ หายตัวไป ณ ที่นั้นแล ฯ [๗๔๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ได้กราบ ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เทวบุตรนั้น คงจักเป็น อนาถบิณฑิกเทวบุตรแน่ เพราะอนาถบิณฑิกคฤหบดีได้เป็นผู้เลื่อมใสแล้วในท่าน พระสารีบุตร ฯ พ. ดูกรอานนท์ ถูกแล้วๆ เท่าที่คาดคะเนนั้นแล เธอลำดับเรื่องถูก แล้ว เทวบุตรนั้นคืออนาถบิณฑิกเทวบุตร มิใช่อื่น ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ จบ อนาถปิณฑิโกวาทสูตร ที่ ๑ ----------------------------------------------------- เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ บรรทัดที่ ๙๓๑๑-๙๕๒๔ หน้าที่ ๓๙๔-๔๐๒. http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=9311&Z=9524&pagebreak=0 อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=14&siri=43 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=720 ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [720-740] http://www.84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=14&item=720&items=21 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://www.84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=10&A=5954 The Pali Tipitaka in Roman :- [720-740] http://www.84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=14&item=720&items=21 The Pali Atthakatha in Roman :- http://www.84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=10&A=5954 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_14 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://metta.lk/tipitaka/2Sutta-Pitaka/2Majjhima-Nikaya/Majjhima3/143-anathapindikovada-e.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/mn/mn.143.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/mn/mn.143x.olen.html บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ DhammaPerfect@yahoo.com
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #16762 เมื่อ: 03 มีนาคม 2561, 07:26:14 » |
|
อรูปฌาน ๔
ศาลาปฏิบัติ ฌาน,สมาบัติ ปฐมฌาน,๑,๒ ฌาน๓, ๔ อรูปฌาน ๔
วิธีปฏิบัติในอรูปฌาน คือฌานที่ไม่มีรูป ๔ อย่าง คือ อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานา สัญญายตนะ รวม ๔ อย่างด้วยกัน
อรูปฌานทั้ง ๔ นี้ เป็นฌานละเอียดและอยู่ในระดับฌานที่สูงสุด ท่านที่ปฏิบัติได้อรูปทั้ง ๔ นี้แล้ว เจริญวิปัสสนาญาณ ย่อมได้บรรลุมรรคผลรวดเร็วเป็นพิเศษ เพราะอารมณ์ในอรูปฌานและอารมณ์ในวิปัสสนาญาณ มีส่วนคล้ายคลึงกันมาก ต่างแต่ อรูปฌานเป็นสมถภาวนา มุ่งดำรงฌานเป็นสำคัญสำหรับวิปัสสนาภาวนามุ่งรู้แจ้งเห็นจริง ตามอำนาจของกฎธรรมดาเป็นสำคัญ แต่ทว่าอรูปฌานนี้ก็มีลักษณะเป็นฌานปล่อยอารมณ์ คือ ไม่ยึดถืออะไรเป็นสำคัญ ปล่อยหมดทั้งรูปและนาม ถือความว่างเป็นสำคัญ
อานิสงส์อรูปฌาน
ท่านที่ได้อรูปฌานทั้ง ๔ นี้ นอกจากจะมีผลทำให้จิตว่าง มีอารมณ์เป็นสุข ประณีตในฌานที่ได้ แล้วยังมีผลให้สำเร็จมรรคผลง่ายดายอย่างคาดไม่ถึงอีกด้วย นอกจากนั้นท่านที่ได้ อรูปฌานนี้แล้วเมื่อสำเร็จมรรคผลจะได้เป็น พระอรหันต์ขั้นปฏิสัมภิทาญาณ คือ มีคุณสมบัติพิเศษเหนือจากที่ทรงอภิญญา ๖ อีก ๔ อย่าง สำหรับท่านที่ได้ปฏิสัมภิทาญาณนี้ ท่านทรงอภิญญา ๖ และคุณสมบัติพิเศษอีก ๔ คือ
ปฏิสัมภิทา ๔
อัตถปฏิสัมภิทา มีปัญญาแตกฉานในอรรถ คือฉลาดในการอธิบายถ้อยคำที่ ท่านอธิบายมาแล้วอย่างพิสดาร ถอดเนื้อความที่พิสดารนั้นให้ย่อสั้นลงมาพอได้ความชัด ไม่เสียความธัมมปฏิสัมภิทา ฉลาดในการอธิบายหัวข้อธรรม ที่ท่านกล่าวมาแต่หัวข้อให้ พิสดารเข้าใจชัดนิรุตติปฏิสัมภิทา มีความฉลาดในภาษา รู้และเข้าใจภาษาทุกภาษาได้อย่าง อัศจรรย์ปฏิภาณปฏิสัมภิทา มีปฏิภาณเฉลียวฉลาด สามารถแก้อรรถปัญหาได้อย่าง อัศจรรย์
ปฏิสัมภิทาญาณนี้ มีความแปลกจากอภิญญา ๖ อยู่อย่างหนึ่ง คือท่านที่จะทรงปฏิสัมภิทา หรือทรงอรูปฌานนี้ได้ ท่านต้องได้กสิณ ๑๐ และทรงอภิญญามาก่อนแล้วจึงจะปฏิบัติต่อในอรูปนี้ได้ ถ้าท่านนักปฏิบัติที่ไม่เคยเรียนกสิณเลย หรือทรงกสิณได้บางส่วนยังไม่ถึงขั้นอภิญญาแล้วท่านมาเรียนปฏิบัติในอรูปนี้ย่อมปฏิบัติไม่สำเร็จ เพราะการที่ทรงอรูปฌานได้ ต้องใช้กสิณ ๙ ประการ ปฐวี เตโช วาโย อาโป นีล ปีตะ โลหิตะ โอทาตะ อาโลกะ เว้นอากาสกสิณอย่างเดียว เอามาเป็นบาทของอรูปฌานคือต้องเอากสิณ ๘ อย่างนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งมาตั้งขึ้น แล้วเข้าฌานในกสิณนั้นจนถึงจตุตถฌาน แล้วเพิกนิมิตในกสิณนั้นเสีย คำว่าเพิก หมายถึงปล่อยไม่สนใจในกสิณนั้นการที่จะปฏิบัติ ในอรูปฌาน ต้องเข้ารูปกสิณก่อนอย่างนี้ ฉะนั้นท่านที่จะเจริญในอรูปฌานจึงต้องเป็นท่าน ที่ได้กสิณจนคล่องอย่างน้อย ๙ กอง จนชำนาญและได้อภิญญาแล้วจึงจะมาปฏิบัติในอรูปฌานนี้ได้ ฉะนั้นท่านที่ได้ปฏิสัมภิทาญาณจึงเป็นผู้ทรงอภิญญาด้วย สำหรับอภิญญากับ ปฏิสัมภิทาญาณนี้ มีข้อแตกต่างกัน อยู่อย่างหนึ่งที่นักปฏิบัติควรทราบ อภิญญานั้น ท่านที่ปฏิบัติกสิณครบ ๑๐ หรืออย่างน้อยครบ ๘ ยกอาโลกกสิณและอากาสกสิณเสีย เมื่อชำนาญในกสิณทั้ง ๑๐ หรือทั้ง ๘ นี้แล้ว ก็ทรงอภิญญาได้ทันทีในสมัยที่เป็นฌานโลกีย์ ส่วนปฏิสัมภิทาญาณ ๔ นี้ เมื่อทรงอรูปฌานที่เป็นโลกียฌานแล้วยังทรงปฏิสัมภิทาไม่ได้ ต้องสำเร็จมรรคผลอย่างต่ำเป็นพระอนาคามี หรือพระอรหัตตผลปฏิสัมภิทาจึงจะปรากฏ บังเกิดเป็นคุณพิเศษขึ้นแก่ท่านที่บรรลุ ข้อแตกต่างนี้นักปฏิบัติควรจดจำไว้
๑. อากาสานัญจายตนะ
การอธิบายในอรูป ๔ นี้ ขอกล่าวแต่พอเป็นแนวเล็กน้อยเท่านั้น เพราะเป็นกรรมฐาน ละเอียดทั้งผู้ที่จะปฏิบัติก็ต้องทรงอภิญญามาก่อน เรื่องการสอนหรืออธิบายในกรรมฐานนี้ มีความสำคัญอยู่อย่างหนึ่ง คือ ถ้ากรรมฐานกองใดท่านผู้อธิบายไม่ได้มาก่อน ก็อธิบาย ไม่ตรงตามความเป็นจริง ท่านที่จะอธิบายได้ถูกต้องและตรงจริง ๆ ก็ต้องได้กรรมฐานกอง นั้นๆ มาก่อน ผู้เขียนนี้ก็เช่นกันอาศัยที่ศึกษาเรื่องของกรรมฐานมาเฉพาะประเภทวิชาชาสามสำหรับเรื่องของวิชชาสามเรียนมาพอเขียนได้อ่านออก ถึงแม้จะไม่ได้สำเร็จมรรคผล ใด ๆ ก็ตาม แต่ก็ฟังคำสอนมาพอเอาตัวรอดได้บ้างพอควร ไม่ถึงเก่งและถ้าไปโดนท่านที่ ฉลาดจริงเข้าท่านอาจไล่เบี้ยเอาจนมุมเหมือนกัน ส่วนด้านอภิญญานั้น อาศัยที่เคยศึกษา ในกสิณบางส่วนมาบ้าง พอเห็นทางไร ๆ แต่ก็ได้ไม่ครบ แต่ถึงจะได้ไม่ครบก็ทราบว่าแนว ของกสิณมีแนวเป็นอันเดียวกัน ฉะนั้นเรื่องอภิญญาพอจะแอบ ๆ ฟุ้งได้บ้างพอสมควร
อากาสานัญจายตนะนี้ ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคว่า ก่อนที่จะเจริญอรูปอากาสานัญจายตนะนี้ ท่านจะเข้าจตุตถฌานในกสิณกองใดกองหนึ่งแล้วให้เพิก คือไม่สนใจในกสิณนิมิตนั้นเสีย ใคร่ครวญว่า กสิณนิมิตนี้เป็นอารมณ์ที่มีรูปเป็นสำคัญ ความสุข ความทุกข์ ที่เป็นปัจจัยของภยันตราย มีรูปเป็นต้นเหตุ เราไม่มีความต้องการในรูปแล้วละรูปนิมิตกสิณ นั้นถืออากาศเป็นอารมณ์จนวงอากาศเกิดเป็นนิมิตที่มีขอบเขตกว้างใหญ่ แล้วย่อให้สั้นลงมา อธิษฐานให้เล็กใหญ่ได้ตามประสงค์ ทรงจิตรักษาอากาศไว้โดยกำหนดใจว่า อากาศหาที่สุด มิได้ดังนี้จนจิตเป็นอุเบกขารมณ์ เป็นฌาน ๔ ในอรูปฌาน
๒. วิญญาณัญจายตนะ
อรูปนี้กำหนดวิญญาณเป็นอารมณ์ โดยจับอากาสานัญจายตนะ คือกำหนด อากาศจากอรูปเดิมเป็นปัจจัย ถือนิมิตอากาศนั้นเป็นฐานที่ตั้งของอารมณ์ แล้วกำหนด ว่า อากาศนี้ยังเป็นนิมิตที่อาศัยรูปอยู่ ถึงแม้จะเป็นอรูปก็ตามแต่ยังมีความหยาบอยู่มาก เราจะทิ้งอากาศเสีย ถือเฉพาะวิญญาณเป็นอารมณ์ แล้วกำหนดจิตว่า วิญญาณหาที่สุด มิได้ ทิ้งอากาศและรูปทั้งหมดเด็ดขาดกำหนดวิญญาณ คือถือวิญญาณ ตัวรู้เป็นเสมือน จิต โดยคิดว่าเราต้องการจิตเท่านั้นรูปกายอย่างอื่นไม่ต้องการจนจิตตั้งอยู่เป็นอุเบกขารมณ์
๓. อากิญจัญญายตนะ
อรูปนี้กำหนดความไม่มีอะไรเลยเป็นสำคัญ โดยเข้าฌาน ๔ ในวิญญาณ แล้วเพิกวิญญาณคือ ไม่ต้องการวิญญาณนั้น คิดว่าไม่มีอะไรเลยเป็นสำคัญ อากาศ ก็ไม่มีวิญญาณก็ไม่มี ถ้ายังมีอะไรสักอย่างหนึ่งแม้แต่น้อยหนึ่ง ก็เป็นเหตุของภยันตราย ฉะนั้นการไม่มีอะไรเลยเป็นการปลอดภัยที่สุดแล้วก็กำหนดจิตไม่ยึดถืออะไร ทั้งหมดจนจิตตั้งเป็นอุเบกขารมณ์ เป็นจบอรูปนี้
๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ
เนวสัญญานาสัญญายตนะนี้ กำหนดว่ามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ คือ ทำความรู้สึกตัวเสมอว่า ทั้งมีสัญญาอยู่นี้ก็ทำความรู้สึกเหมือนไม่มีสัญญา คือไม่ยอมรับรู้จดจำอะไรหมด ทำตัวเสมือนหุ่นที่ไร้วิญญาณ ไม่รับรู้ ไม่รับอารมณ์ใดๆ ทั้งสิ้น หนาวก็รู้ว่าหนาวแต่ไม่เอาเรื่อง ร้อนก็รู้ว่าร้อนแต่ไม่ดิ้นรนกระวนกระวาย มีชีวิตทำ เสมือนคนตาย คือไม่ปรารภสัญญาคำจดจำใด ๆ ปล่อยตามเรื่องเปลื้องความสนใจใด ๆ ออกจนสิ้น จนจิตเป็นเอกัคคตาและอุเบกขารมณ์
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #16763 เมื่อ: 14 มีนาคม 2561, 06:55:06 » |
|
สวัสดี ทุกท่านครับ หายไปหลายวัน! ความคิด ว่าใหญ่ที่สุดแล้วในรูป-นาม(สำหรับผู้หลงในความคิด หรือยังมีความยึดมั่นสูง) แต่สตินั้น ใหญ่กว่า ความคิดมากมายนัก พระพุทธองค์ ทรงเปรียบเทียบ ดังนี้ รอยเท้าของสัตว์ทุกชนิด นั้น จะเห็นว่ารอยเท้าช้าง นั้นใหญ่ที่สุด ที่เท้าของสัตว์ทั้งหลาย จะลงได้ในรอยเท้าช้าง รอยเท้าของสัตว์ต่าง ๆ เปรียบได้กับความคิด อารมภ์ความโลภ ความโกรธ ความหลง แต่สติคือรอยเท้าช้าง ที่ไม่มีรอยเท้าสัตว์ชนิดไหน? ที่ใหญ่กว่า ดังนั้น เราจงฝึกมีสติให้มากในแต่ละวัน ชั่วโมง นาที เราฝึกบ่อย ๆ สติมันจะโตขึ้น โตขึ้น คือรู้สึกตัวได้รวดเร็วขึ้น จนสามารถคิดปุ๊ป รู้สึกตัวปั๊ป ได้เลย เมื่อมีสติ มันจะก่อเกิดปัญญาไตร่ตรอง และมีธรรมะ หรือจิตใจทำดี เป็นกุศล มีศีล ให้ได้คิด เราก็จะกระทำแต่สิางที่สมควรกระทำ ในทางกุศล ไม่ทำให้ตนเอง หรือผู้อื่น สัตว์เดือดร้อน ถึงแม้ว่าเรายังต้องอยู่กับความคิด ยังต้องใช้ความคิดในการดำรงค์ชีวิต ก็ตาม มาแข่งกอล์ฟอาชีะของ Senior Thai PGA. ขอนแก่นครับ สวัสดี ครับ
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #16764 เมื่อ: 18 มีนาคม 2561, 12:00:41 » |
|
สวัสดี ทุกท่านครับ อย่าลืมอาหารกาย ก็ต้องคอบดูแล ระวัง อย่ากินตามความอยากของตนเอง ให้กิน ตามที่ร่างกายมันต้องการ ในสารอาหารนั้น ๆ จะได้ห่างไกลโรค กินอาหารให้เป็นยา และอย่าลืมเคี้ยวให้ละเอียดจนมันไม่อร่อย แล้วค่อยกลืนลงคอ ท่านจะรู้ได้เองว่า จะรับประทานน้อยลง สวัสดี
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #16765 เมื่อ: 18 มีนาคม 2561, 14:17:24 » |
|
สวัสดีครับ พี่ีสิงห์
นับแต่วันงาน 100 ปีหอจุฬาฯ ผมไม่ได้เข้ามาในเว็ปเลย พึ่งเข้ามาในวันนี้ครับ และเข้ามาในห้องนี้เป็นลำดับแรก ที่ผ่านมามีแต่ไลน์คุยกับพี่แอ๊ะ-ประภาศรี กันตลอดมา และรวมทั้งห้องสายใยซีมะโด่ง, ห้องชาวหอ 2516,00 ห้องของชาวเภสัช จุฬาฯ 2516 รวมทั้งห้องชาวจุฬาฯนครสวรรค์
มีพี่สิงห์ พี่ป๋อง พี่ปี๊ด-รองรัตน์ เหนียวแน่นกับเว็ปนี้ เลยตั้งใจจะกลับมาช่วยกันยืดให้เว็ปนี้ยินยาวต่อไปครับ
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #16766 เมื่อ: 18 มีนาคม 2561, 14:19:30 » |
|
ลืมไป น้องเกสร และน้องห้อง 24 ก็ยังมั่นคงกับเว็ปนี้มาโดยตลอด
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #16767 เมื่อ: 19 มีนาคม 2561, 15:21:58 » |
|
สวัสดี ครับ คุณเหยง ขอบคุณมาก ๆ ยังระลึกถึงอยู่เสมอ ครับ ทุกสิ่งล้วนไม่เที่ยง มีนิยิม ไม่มีนิยม มันเป็นเรื่องธรรมดา ครับ ไลน์ ก็ดี ไม่ดี น่ารำคาญ มีแต่ขยะ และไป copy เขามากาเรื่องเสียเงินให้ บริษัท ที่ได้สัมปทานมา พี่สิงห์ ก็ไม่ได้ตามอะไรเลย ไม่อ่าน กดผ่านไปเท่านั้น วันหนึ่ง ๆ เอาไว้เฉพาะติดต่องาน รับรายงาย อละส่งข่าวเท่สนั้น พวกขยะทั้งหลาย ไม่เอาเลย สวัสดี
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #16768 เมื่อ: 20 มีนาคม 2561, 18:16:53 » |
|
สวัสดี ทุกท่านครับ สองปีแล้ว ที่ถ่ายภาพนี้ ที่เจดีย์พุทธคยา อินเดีย อายุมากขึ้น คงจะไปอินเดียน้อยลง เพื่อไม่ให้เป็นภาระสังคม ขออยู่อย่างปกติ ที่ไหนก็เห็นธรรมได้ เมื่อเห็นธรรมแล้ว ก็ระวังจิตตนเองไม่ให้หลง ไม่ให้ไหลไปตามกิเลส ไม่ให้หลงไปตามความคิด สวัสดี
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #16769 เมื่อ: 21 มีนาคม 2561, 17:41:14 » |
|
สงกรานต์ ปีนี้ ทุกท่สนอย่าลืม กลับบ้าน บ้านเดิม ภูมิลำเนาเดิม หรือสถานที่ ที่ท่านได้เก็บอัฏฐิ บรรพบุรุษ พ่อ-แม่-ญาติพี่ น้อง ไปทำบุญให้ท่าน ระลึกถึงคุณงามความดีของท่าน ดันด้วยนะครับ สวัสดี
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #16770 เมื่อ: 21 มีนาคม 2561, 19:53:04 » |
|
ซีมะโด่ง สัญจรไปเที่ยวใต้ สงขลา หาดใหญ่ พัทลุง เบตง และมีบางส่วน เช่น ดร.กุศล ชะแว่บไปเมืองปีนัง อย่าลืม! สงดรานต์นี้ ไปบังสุกุลให้พ่อ-แม่ ที่ตรัง และนครศรีธรรมราช ที่บรรจุอัฏฐิ ท่านเิาไว้ด้วย สวัสดี
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #16771 เมื่อ: 21 มีนาคม 2561, 19:56:13 » |
|
อุดหนุน สินค้าท้องถิ่น ด้วยการนุ่งสะโหร่ง ก็เท่ไปอีกแบบหนึ่ง สวัสดี
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #16772 เมื่อ: 21 มีนาคม 2561, 19:59:22 » |
|
ดูโนราห์ เพื่อสนับสนุนนให้ศิลปการรำโนราห์ ให้คงอยู่ คู่ภาคใต้ ถ้าไม่มีเวทีแสดง มันก็จะหายไป สวัสดี
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #16773 เมื่อ: 21 มีนาคม 2561, 20:06:13 » |
|
เที่ยวให้มีความสุข และได้เยี่ยมเพื่อนฝูงชาวซีมะโด่งภาคใต้ สวัสดี
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #16774 เมื่อ: 22 มีนาคม 2561, 06:34:20 » |
|
การท่องเที่ยวไปในที่ ที่เรายังไม่เคยไป มีทั้งความสุข ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ แต่ระวังใจตนเอง มันจะมีกิเบสเพิ่มพูนขึ้นมา เพราะความอยากแห่งจิต จงมีสติ ละความเป็นตัวตนให้มากเถิด สวัสดี
|
|
|
|
|