23 พฤศจิกายน 2567, 13:55:39
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 649 650 [651] 652 653 ... 681   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: คุย กับ คุณมานพ กลับดี อดีตประธานชมรม ๓ สมัย  (อ่าน 3558493 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 28 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16250 เมื่อ: 20 พฤศจิกายน 2559, 20:02:25 »



สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์  ปยุตฺโต  ป.ธ.๙)

พระพรหมคุณาภรณ์  ได้รับการสถาปณาเป็นพระสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ องค์ที่ ๑๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นสมเด็จองค์สุดท้าย ในรัชกาลที่ ๙

ท่านเป็นสามเณร  องค์ที่ ๒ ในรัชกาลที่ ๙ ที่เป็นนาคหลวง คือ สอบ ป.ธ ๙ ได้ตั่งแต่ยังเป็นสามเณร และอาวุโสสูงสุดในบรรดานาคหลวงที่ยังครองสมณเพศอยู่
(สามเณร นาคหลวงองค์แรกในรัชกาลที่ ๙ คือ เสถียรพงษ์  วรรณปก)

สาธุ สาธุ สาธุ

กรณี พระสงฆ์ ระเมิดพระวินัย คงจะได้สะสางกันเสียที !
ก็คราวนี้ละ เพราะท่าน เป็นพระสงฆ์ ที่ไม่ได้อยู่ในอาณัติ ใคร และท่านไม่สะสมทรัพย์อันใดเลย
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16251 เมื่อ: 21 พฤศจิกายน 2559, 07:08:17 »



อรุณสวัสดิ์ ทุกท่านครับ

อริยะมรรค มีองค์ ๘ ประกอบด้วย
- สัมมาทิฏฐิ             ความเห็นชอบ
- สัมมาสังกัปโป       ความดำริชอบ
- สัมมาวาจา            การพูดจาชอบ
- สัมมากัมมันโต      การทำการงานชอบ
- สัมมาอาชีโว          การเลี้ยงชีวิตชอบ
- สัมมาวายาโม        ความพากเพียรชอบ
- สัมมาสติ                ความระลึกชอบ
- สัมมาสมาธิ            ความตั้งใจมั่นชอบ

สัมมาทิฏฐิ  ความเห็นชอบ
คือความเห็นชอบในธรรม อริยสัจ ๔ เห็นจริงตามนั้นแน่วแน่
เห็นจริงอย่างไร? หรือ

ทุกข์ เห็นจริงว่า ความรู้อันใดเป็นความรู้ในทุกข์ ให้รู้จักทุกข์  ทุกข์คือความไม่สบายใจ ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ความร่ำไรรำพัน ความโศก การเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ การประสพกับสิ่งไม่รักไม่ชอบก็เป็นทุกข์ ความปราถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นนั่นก็เป็นทุกข์ การพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์
เมื่อเรารู้จักทุกข์แล้ว เวลาเราประสพทุกข์ คือมีอารมณ์ปรุงแต่งเกิดขึ้นในจิตจากการผัสสะทางทวารทั้งหก อันได้แก่ ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้ดมกลิ่น ลิ้นได้ลิ้มรส กายได้สัมผัสทางกายเกิดโผฏทัพพะ ได้สัมผัสทางใจเกิดธัมมารมภ์ เมื่อเรารู้สึกตัว ก็จะสามารถวางอุเบกขาได้ เพราะรู้ว่านี้คือทุกข์ เป็นธรรมชาติที่ต้องประสพ ก็จะยังประคองจิตตนเองเอาไว้ได้ไม่ให้หลง ไม่ให้ไหล ไปกับทุกข์นั้นได้

สมุทัย เห็นจริงในความรู้ที่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ อันได้แก่ตัณหา ความทะยานอยาก ที่เกิดขึ้นในจิต จากการผัสสะในทวารทั้งหก ซึ่งประกอบไปด้วย
กามตัณหา ความทะยานอยากในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏทัพพะ
ภวตัณหา ความทะยานอยากแห่งจิตที่อยากมี อยากเป็น
วิภวตัณหา ความทะยานอยากแห่งจิตที่ไม่อยากหลุดพ้น ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น

ทุกขะนิโรธ คือเห็นจริงในความรู้ในความดับทุกข์ คือต้องดับที่เหตุ-ปัจจัยในการเกิดทุกข์ เหตุ-ปัจจัยในการเกิดทุกข์ คือตัณหา และเหตุ-ปัจจัยในการเกิดตัณหา คือ อุปาทาน
อุปาทาน คือการเข้าไปยึดถือว่าเป็นเรา เป็นตัวตนของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวเรา ดังนั้น ต้องละความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา สิ่งของ ให้จงได้ ไม่มีตัว ไม่มีตน มันเป็นเพียงรูป-นาม หรือขันธ์ ๕ ตามธรรมชาติ

ทุกขะนิโรธะคามินิยา คือเห็นจริงในความรู้ในทางดำเนินชีวิตตาม มรรคมีองค์ ๘ ประการ จนสามารถดำเนินชีวิตให้ถึงความดับแห่งทุกข์ หรือให้เข้าใจง่ายขึ้นคือ การดำรงชีวิต ไม่ทำให้ใครเดือดร้อนเพราะเรานั่นเอง ทุกสิ่งเกิดจากเหตุ-ปัจจัย และทุกสิ่งดับเมื่อเหตุ-ปัจจัยไม่มี ดังนั้น เราต้องเดินตามมรรคมีองค์ ๘  และมีวิธีทำงานที่ถูกต้อง

ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ นี้เกิดขึ้นในจิตของผู้ใด คนนั้นจะประสพความสำเร็จในการอยู่อย่างสุข สงบ ทำงานแก้ไขปัญหาได้ทุกชนิด จนถึงพระนิพพาน
เพราะรู้ว่า
นี่คือทุกข์ นี่คืองานที่ต้องทำ นี่คือการดำรงชีวิตในสังคม
นี่คือต้นเหตุแห่งการเกิดทุกข์ นี่คือต้นเหตุแห่งการเกิดอุปสรรคในการทำงาน นี่คือต้นเหตุแห่งการเกิดอุปสรรคการดำรงค์ชีวิต
นี่คือการแก้ปัญหาในการเกิดทุกข์ นี่คือการแก้ปัญหาในการทำงาน นี่คือการแก้ปัญหาในการดำรงชีวิตในสังคม คือแก้ที่ต้นเหตุ ต้องหาต้นเหตุแห่งการเกิดปัญหานั้นให้พบ
นี่คือหนทางการดำรงชีวิต นี่คือวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องในการทำงาน นี่คือวิธีการดำรงค์ชีวิต หรือให้เข้าใจง่ายคือ วิธีการกระทำในทางตรงกันข้ามกับต้นเหตุ-ปัจจัยในการเกิดทุกข์ ปัญหา การดำเนินชีวิต  นั่นเอง

จงเห็นจริงตามนี้แล จากการภาวนา ไม่ใช่จากการเข้าใจ ท่อง บ่น พิจารณาตรึกตรอง

สวัสดีครับ
[/quote]
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16252 เมื่อ: 21 พฤศจิกายน 2559, 07:09:09 »




อริยะมรรค มีองค์ ๘
องค์ที่ ๒ สัมมาสังกัปโป   ตวามดำหริชอบ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความดำหริชอบ เป็นอย่างไรเล่า?
สัมมาสังกัปโป  ความดำหริชอบ คือการคิดในทางที่ชอบ เป็นกุศล เป็นมงคล สมควรที่จะกระทำ อันประกอบไปด้วย
- เนกขัมมะสังกัปโป        ความดำหริในการออกจากกาม
- อะพยาปาทะสังกัปโป   ความดำหริในการไม่มุ่งร้าย
- อะวิหิงสาสังกัปโป         ความดำหริในการไม่เบียดเบียน

ความดำหริในการออกจากกาม คือการคิดที่จะออกบวชประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ข้องแวะในทางโลก สวมรวมกาย วาจา ใจ ไม่ยินดีในรูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ ธัมมารมณ์ หรือถ้ายังเป็นปุถุชนม์อยู่ก็มีความคิดที่จะ ระวังตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ยินดีใน รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ ธัมมารมณ์

ความดำหริในการไม่มุ่งร้าย คือการคิดที่จะไม่ทำร้ายใคร ไม่คิดทำร้ายสัตว์ให้ถึงกับได้รับบาดเจ็บ และตาย

ความดำหริในการไม่เบียดเบียน คือการคิดที่จะไม่กระทำให้ใครเดือดร้อน ทั้งตนเอง ผู้อื่น และสัตว์
[/quote]
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16253 เมื่อ: 21 พฤศจิกายน 2559, 07:16:30 »


อริยะมรรคมีองค์ ๘

มรรค องค์ที่ ๓
สัมมาวาจา   การมีวาจาชอบ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาวาจา การพูดจาชอบ เป็นอย่างไรเล่า?

มุสาวาทา  เวระมณี,
                  เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดไม่จริง
ปิสุณายะ วาจายะ เวระมณี,
                  เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดส่อเสียด
ผะรุสายะ วาจายะ เวระมณี,
                  เจตนาเป็นครื่องเว้นจากการพูดหยาบ
สัมผัปปะลาปา เวระมณี,
                  เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  อันนี้เรากล่าวว่า  สัมมาวาจา การพูดจาชอบ

มนุษย์ เป็นสังสัตว์สังคม  คือต้องอยู่ร่วมกับเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เป็นหมู่บ้าน เป็นตำบล เป็นอำเภอ เป็นเมือง เป็นจังหวัด เป็นภาค เป็นประเทศ  ต้องติดต่อกันในทุกเรื่องเพื่อการดำรงชีวิต สืบพันธุ์  ดังนั้นย่อมเป็นที่รัก พอใจต่อกัน ย่อมเป็นที่ชัง ไม่พอใจต่อกัน

มนุษย์ ใช้ปาก วาจา ในการสื่อสารให้เข้าใจกันได้ จิตทุกดวง ชอบการสรรเสริญ ชอบรับฟังการพูดที่ดีต่อตนเอง

ดังนั้น ถ้าเราไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ ที่จิตทุกดวงไม่ชอบ ก็จะเป็นการดีที่สุด  เราจึงต้องมีวาจาที่พูดด้วยความปกติ ไพเราะชวนฟัง ได้สาระ ตรงประเด็น ไม่ทำให้ใครเดือดร้อนเพราะคำพูดของเรา เราก็จะไม่มัภัยมาถึงตน ฉะนี้แล

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16254 เมื่อ: 21 พฤศจิกายน 2559, 15:24:18 »

      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16255 เมื่อ: 21 พฤศจิกายน 2559, 15:24:54 »

      บันทึกการเข้า
Dtoy16
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424

« ตอบ #16256 เมื่อ: 22 พฤศจิกายน 2559, 09:12:10 »

    สวัสดีค่ะพี่สิงห์  อ่าวนางมิติได้ต้อนรับน้องซีมะโด่งจากแดนไกลค่ะดูรูปตาม ลองวิชาก่อนจะผ่านไหม
      บันทึกการเข้า

Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16257 เมื่อ: 22 พฤศจิกายน 2559, 11:49:50 »

สวัสดีค่ะ คุณน้องต้อย ที่รัก

เธอสบายดีนะคะ
พี่สิงห์  ก็อยู่สุขสบายตามเหตุ-ปัจจัย ไปวันหนึ่ง ๆ จะติดตามดูค่ะ

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16258 เมื่อ: 22 พฤศจิกายน 2559, 11:52:50 »


ลูก-หลาน คุณพ่อแก้ว - คุณแม่อิม   กลับดี

มรรค องค์ที่ ๔
สัมมากัมมันโต   การทำการงานชอบ    

กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมากัมมันโต
               ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  การทำการงานชอบเป็นอย่างไรเล่า?
ปาณาติปาตา  เวระมณี,
                เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการฆ่า
อะทินนาทานา  เวระมณี,
                เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการถือเอาสิ่งของ ที่เจ้าของไม่ได้ให้แล้ว
กาเมสุ  มิจฉาจารา เวระมณี,
                 เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมากัมมันโต,
                  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าวว่า การทำการงานชอบ

                   สัมมากัมมันโต  การทำการงานชอบ หรือการประพฤติทางกายที่สมควรจะต้องงดเว้น เพราะถ้าไม่งดเว้น จะเป็นการกระทำที่ผิด มุ่งร้ายต่อผู้อื่น มีแต่ตกนรกอเวจี สถานเดียว และเมื่อละเว้นแล้ว จะไม่มีภัยมาถึงตัวได้ ประกอบด้วย
- มีเจตนาที่จะไม่เบียดเบียนสัตว์ ไม่ทำให้ให้เดือดร้อน หรือเสียชีวิตลง
- มีเจตนาที่จะไม่ลักทรัพย์ของผู้อื่น ที่เจ้าขิงเขาไม่ได้ให้
- มีเจตนาจะไม่พรากลูก เมีย ผัว ของผู้อื่น

สามประการนี้ถ้าประพฤติ จะมีแต่ความฉิบหายนำทุกข์มาสู่ตน และครอบครัวได้

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Dtoy16
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424

« ตอบ #16259 เมื่อ: 23 พฤศจิกายน 2559, 12:56:36 »

  พี่สิงห์สดชื่นมากเมื่ออยู่ท่ามกลางพี่น้องหลานเหลน
  ต้อยก็เช่นกันสบายดีค่ะ พาน้องหนิงกับดร.รูดี้เที่ยว
ทะเลมาหลายวันดำน้ำว่ายน้ำในเกาะห้องวันนี้พา
มาวัดถ้ำเสือน้องหนิงกับดร.แข็งแรง
ขึ้นบันได1500ขั้นจนถึงเจดีย์ส่วนต้อยเคยขึ้นกับ
นายธวัชและเปี้ยกสำเร็จมาแล้ววันนี้ได้แค่เกาะอยู่ตีนบันได
      บันทึกการเข้า

Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16260 เมื่อ: 26 พฤศจิกายน 2559, 08:02:13 »



อีกหนึ่งความภูมิใจ คือการเอาดครื่องจักร Prensoland มารีดเสาเข็มรูปตัวไอ-300×300mm. ฝรั่ง ทางสเปญ ก็ไม่เคยทำ และทำ molds เองในเมืองไทย โดยช่างธรรมดา ๆ แต่ต้องทำตามที่ได้ออกแบบเอาไว้
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16261 เมื่อ: 26 พฤศจิกายน 2559, 08:04:49 »



ในอีกสามปีข้างหน้า ประเทศไทยจะขาดแคลนคนงานก่อสร้าง เป็นอย่างมาก
ดังนั้น การผลิตเสาเข็ม ด้วยวิธีการรีด เอาจะเป็นทางเลือกใหม่ สำหรับการผลิตเสาเข็ม

สวยไม่สวยท่านตัดสินใจเอาเอง ได้ครับ ราคาขายน่าจะถูกกว่าเสาเข็มรูปตัวไอที่ผลิตใช้อยู่ ณ ปัจจุบัน
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16262 เมื่อ: 26 พฤศจิกายน 2559, 08:06:40 »



ตอนนี้ผมมีสองทางเลือก ในการผลิตเสาเข็ม
คือ
- ใช้เครื่อง Prensoland รีด
- ทำเสาเข็มแบบเดิม แต่ต้องออกแบบให้ลดคนงานลงได้เกินครึ่ง ด้วยการนำเครื่องจักรมาใช้ในการผลิตให้มาก
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16263 เมื่อ: 26 พฤศจิกายน 2559, 08:07:49 »



เสาเข็มรูปตัวไอ ขนาด 300×300mm.



รีดครั้งละ 360 m. ใช้เวลา 1.5 ชั่วโมง

      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16264 เมื่อ: 26 พฤศจิกายน 2559, 08:08:50 »



เสาเข็มรูปตัวไอ ขนาด 150×150mm.



รีดคนั้งละ 600 m. ใช้เวลาหนึ่งชั่วโมง กว่า ๆ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16265 เมื่อ: 26 พฤศจิกายน 2559, 08:15:28 »



เวลารีด ใช้คนงาน ๓ คน เท่านั้นเอง
เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการผลิตเสาเข็ม
แบบทำเองทั้งหมด เป็นรายแรกของโลกสำหรับเสาเข็มตัวไอ ขนาดใหญ่

ตอนนี้กำลังทำ molds เสาเข็มรูปตัวไอ ขนาด 260×260mm., 220×220mm., 180×180mm., 150×150mm. ทั้งหมดไม่เกินสองเดือนสามารถรีดได้ครบ เป็นทางเลือกหนึ่ง
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16266 เมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2559, 10:00:04 »



มรรค องค์ที่ ๕
สัมมาอาชีโว  การเลี้ยงชีวิตชอบ

กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาอาชีโว,
               ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การเลี้ยงชีวิตชอบ เป็นอย่างไรเล่า ?
อิธะ ภิกขะเว อะริยะสาวะโก,
                ดูก่อนสาวกทั้งหลาย สาวกของพระอริยเจ้า ในธรรมวินัยนี้
มิจฉาอาชีวัง ปัหายะ,
                 ละการเลี้ยงชีวิตที่ผิดเสีย
สัมมาอาชีเวนะ ชีวิกัง กัปเปติ,
                  ย่อมสำเร็จความเป็นอยู่ด้วยการเลี้ยงชีวิตที่ชอบ
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาอาชีโว,
                  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าวว่า การเลี้ยงชีวิตชอบ

ภิกษุ ในสมัยพุทธกาล  ท่านบวช ละออกจากเรือนจริง ๆ ทิ้งทุกสิ่งออกหมด ท่านบวชเพื่อให้มีเวลา ปฏิบัติ จนถึงซึ่งพระนิพพาน อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค  ท่านต้องพึ่งชาวบ้าน ท่านจึงต้องอยู่แบบง่าย

ต่างกับภิกษุ ในสมัยนี้

สำหรับเราปุถุชนม์คนธรรมดา มีอาชีพที่สุจริต อยู่ในศีล ๕ ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน ก็ถือว่ามีอาชีพที่ชอบแล้ว และมีเมตตา กรุณา มุฑิตา  อุเบกขา ก็จะประเสริฐยิ่ง

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16267 เมื่อ: 28 พฤศจิกายน 2559, 07:14:36 »



มรรค องค์ที่ ๖
สัมมาวายาโม ความพากเพียรชอบ

กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาวายาโม,
               ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความพากเพียรชอบ เป็นอย่างไรเล่า?
อิธะภิกขะเว ภิกขุ,
                ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
อะนุปปันนานัง ปาปะกานัง อะกุสะลานัง ธัมมามัง อะนุปปาทายะ, ฉันทัง ชะเนติ, วายะมะติ, วิริยัง อาระภะติ, จิตตัง ปัคคัณหาติ ปะทะหะติ,
                 ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น, ย่อมพยายาม, ปรารภความเพียน, ประคองตั้งจิตใว้, เพื่อจะยังอกุศลธรรม อันเป็บาป ที่ยังไม่เกิดขึ้นไม่ให้เกิดขึ้น
อุปปันนานัง ปาปะกานัง อะกุสะลานัง ธัมมานัง ปะหานายะ, ฉันทังชะเนติ, วายะมะติ, วิริยัง อาระภะติ, จิตตัง ปัคคัณหาติ ปะทะหะติ,
                  ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น, ย่อมพยายาม, ปรารภความเพียร, ประคองตั้งจิตไว้, เพื่อจะละอกุศลธรรมอันเป๋บาปที่เกิดขึ้นแล้ว
อะนุปปันนานัง กุสะลานัง ธัมมานัง อุปปาทายะ, ฉันทังชะเนติ , วายะมติ, วิริยัง อาระภะติ, จิตตัง ปัคคัณหาติ ปะทะหะติ,
                   ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น, ย่อมพยายาม, ปรารภความเพียร, ประคองตั้งจิตไว้, เพื่อจะยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
อุปปันนานัง กุสะลานัง ธัมมานัง ฐิติยา, อะสัมโมสายะ, ภิยโยภาวายะ, เวปุลลายะ, ภาวะนายะ, ปาริปูริยา, ฉันทังชะเนติ, วายะมะติ, วิริยัง อาระภะติ, จิตตัง ปัคตัณหาติ ปะทะหะติ,
                    ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น, ย่อมพยายาม, ปรารภความเพียร, ประคองตั้งจิตไว้, เพื่อความตั้งอยู่, ความไม่เลอะเลือน, ความงอกงามยิ่งขึ้น, ความไพบูลย์, ความเจริญ, ความเต็มรอบแห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาวายาโม,
                     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าวว่า ความพากเพียรชอบ

เราปุถุชนม์คนธรรมดา ถึงแม้ตั้งใจจะถือศีล ปฏิบัติธรรมภาวนา แต่เพราะเรสยังมีอุปาทาน ยึดมั่นในเรา ตัวตนของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นเรา ยังเห็นเป็นสัตว์ บุคคล เรา เขา สิ่งของ อยู่ ความหย่อนยาน ละเลย ขี้เกียจ เกียรคร้านในทางปฏิบัติธรรม ย่อมบังเกิดขึ้น  จึงต้องนึกถึง มรรคองค์นี้ สัมมาวายาโม เอามาชนะใจตนเอง ในกานภาวนา ถือศีล สร้างกุศล ให้เกิดขึ้น ยั่งยืน จนเห็นพระนิพพานได้

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16268 เมื่อ: 29 พฤศจิกายน 2559, 10:58:59 »


วันนี้ วันพระ

มรรค องค์ที่ ๗
สัมมาสติ ความระลึกชอบ

กะตะมา จะ ภิกขะเว สัมมาสะติ,
               ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความระลึกชอบ เป็นอย่างไรเล่า?
อิธะ ภิกขะเว ภิกษุ,
                ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ,
                 ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ
อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา, วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง,
                  มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้
เวทะนาสุ เวทะนานุปัสสี วิหะระติ,
                  ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา, วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง,
                  มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้
จิตเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ,
                   ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ
อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา, วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง,
                   มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้
ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ,
                   ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา, วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง,
                    มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ ถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาสะติ,
                    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าวว่า ความระลึกชอบ.

นี่คือทางสายเอก ที่จะนำพาให้เราได้รู้จักทุกข์ และพ้นทุกข์ สายเดียวเท่านั้น คือ สติปัฏฐาน ๔ เป็นงานที่ยากมาก ๆ และต้องตรงแน่วแน่เท่านั้น หยุดพักกลางทาง เดินผิดทาง ไม่ได้ทั้งนั้น

เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ในชาตินี้ ได้รู้จักธรรม แล้วจะไม่ขอทิ้งโดกาสนั้น แน่นอน

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16269 เมื่อ: 03 ธันวาคม 2559, 12:26:10 »



มรรค องค์ที่ ๘
สัมมาสมาธิ  ความตั้งใจมั่นชอบ

กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาสะมาธิ,
               ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความตั้งใจมั่นชอบ เป็นอย่างไรเล่า?
อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ,
               ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
วิวิจเจวะ กาเมหิ,
               สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย
วิวิจจะ อะกุสะเลหิ ธัมเมหิ,
               สงัดแล้วจากธรรมที่เป็นอกุศลทั้งหลาย
สะวิตักกัง สะวิจารัง, วิเวกกะชัง ปีติสุขัง ปะฐะมัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ,
               เข้าถึงปฐมฌาน, ประกอบด้วยวิตกวิจาร, มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกแล้วแลอยู่
วิตักกะวิจารนัง วูปะสะมา,
               เพราะความที่วิตกวิจารทั้งสองระงับลง
อัชฌัตตัง สัมปะสาทะนัง เจตะโส, เอโกทิภาวัง, อะวิตักกัง อะวิจารัง, สะมาธิชัง ปีติสุขัง ทุติยัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ,
                เข้าถึงทุติยฌาน, เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน, ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น, ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร, มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิแล้วแลอยู่
ปีติยา จะ วิราคา,
                อนึ่ง เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ
อุเปกขะโก จะ วิหะระติ, สะโต จะ สัมปะชาโน,
                ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา, มีสติและสัมปชัญญะ
สุขัญจะ กาเยนะ ปะฏิสังเวเทติ,
                และย่อมเสวยความสุขด้วยนามกาย
ยันตัง อะริยา อาจิกขันติ, อุเปกขะโก สะติมา สุขะวิหารีติ,
                ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า "เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปกติสุข" ดังนี้
ตะติยัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ,
                เข้าถึงตติยฌาน แล้วแลอยู่
สุขัสสะ จะ ปะหานา,
                เพราะละสุขเสียได้
ทุกขัสสะ จะ ปะหานา,
                และเพราะละทุกข์เสียได้
ปุพเพวะ โสมะนัสสะโทมะนัสสานัง อัตถังคะมา,
                เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสอง ในกาลก่อน
อะทุกขะมะสุขัง อุเปกขาสะติปาริสุทธัง,
จะตุตถัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ,
                เข้าถึงจตุตถฌาน, ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข, มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่
อะวัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาสัมาธิ,
                ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าวว่า ความตั้งใจมั่นชอบ.

ทุกครั้งที่ท่านเจริญสติ อย่างน้อยต้องให้นานพอ จนสามารถละนิวรณ์ ทั้ง ๕ ได้ จะเข้าสู่ปฐมฌาน
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16270 เมื่อ: 04 ธันวาคม 2559, 10:27:39 »


วันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มหาราช ทรงเสด็จสวรรคต เสด็จสู่สวรรคาลัย
เป็นอัน สิ้นรัชกาลที่ ๙

เวลาพระสดับปกรณ์(พิจารณาผ้าบังสุกุล)

อะนิจจา วะตะ สังขารา,
               สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ
อุปปาทะวะยะธัมมิโน,
                มีความเกิดขึ้นแล้ว มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
อุปปัชชิตตะวา นิรุชฌันติ,
                ครั้งเกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไป
เตสัง วูปะสะโม สุโข,
                ความเข้าไปสงบระงับสังขารทั้งหลายเป็นสุขอย่างยิ่ง

สัพเพ สัตตา มะรินติ จะ,
           สัตว์ทั้งหลายทั้งสิ้น ตายอยู่ด้วย
มะริงสุ จะ มะริสสะเร,
            สัตว์ทั้งหลาย ตายแล้วด้วย สัตว์ทั้งหลาย จักตายด้วย
ตะเถวาหัง มะริสสามิ,
            ตัวเราจักตายอย่างนั้นนั่นเทียว
นัตถิ เม เอตถะ สังสะโย,
            ความสงสัย ในเรื่องตายนี้ ไม่มีแก่เรา ดังนี่.

ชีวิตคนเรา เมื่อเกิดขึ้น ย่อมมีแก่ มีเจ็บ และต้องตาย  
การไม่ปรุงแต่ง อยู่ด้วยการมีสติ เป็นสุขยิ่ง

สวัสดี

      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16271 เมื่อ: 05 ธันวาคม 2559, 18:28:04 »


วันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
เริ่มต้นรัชกาลที่ ๑๐
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16272 เมื่อ: 06 ธันวาคม 2559, 14:33:52 »



ทรงพระเจริญ

ชะยันโต โพธิยา มูเล, สักกะยานัง นันทิวัฑฒะโน,
เอวัง ตะวัง วิชะโย โหหิ, ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล,
อะปะราชิตะปัลลังเก, สีเส ปะฐะวิโปกขะเร,
อะภิเสเก สัพพะพุทธานัง, อัคคัปปัตโต ปะโมทะติ,
        ขอท่านจงมีชัยชนะในมงคลพิธี เหมือนพระจอมมุนีทรงชนะมารที่โคนโพธิพฤกษ์, ถึงความเป็นผู้เลิศในสรรพพุทธาภิเษก, ทรงปราโมทย์อยู่บนอปราชิตบัลลังก์อันสูงเป็นจอมมหาปฐพี, ทรงเพิ่มพูนความยินดีแก่เหล่าประยูรญาติศากยวงศ์ฉะนั้น.
สุนักขัตตัง สุมังคะลัง,
         เวลาที่สัตว์ประพฤติชอบ ชื่อว่าฤกษ์ดี มงคลดี
สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง,
         สว่างดี รุ่งดี
สุขะโณ สุมุหุตโตจะ,
         และขณะดี ครู่ดี
สุยิฏฐัง พรัมมะจาริสุ,
         บูชาดีแล้ว ในพรหมจารีบุคคลทั้งหลาย
ปะทักขิณัง กายะกัมมัง,
         กายกรรม เป็นประทักษิณ ส่วนเบื้องขวา
วาจากัมมัง ปะทักขิณัง,
         วจีกรรม เป็นประทักษิณ ส่วนเบื้องขวา
ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง,
          มโนกรรม เป็นประทักษิณ ส่วนเบื้องขวา
ปะณิธี เต ปะทักขิณา,
          ความปราถนาของท่าน เป็นประทักษิณ ส่วนเบื้องขวา
ปะทักขิณา กัตตะวานะ,
          สัตว์ทั้งหลายทำกรรมอันเป็นประทักษิณ ส่วนเบื้อขวาแล้ว
ละภันตัตเถ ปะทักขิเณ,
          ย่อมได้ประโยชน์ทั้งหลาย อันเป็นประทักษิณ ส่วนเบื้องขวา
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง,
           ขอสรรพมงคลจงมีแก่ท่าน
รักขันตุ สัพพะเทวะตา,
           ขอเหล่าเทวดาทั้งปวงจงรักษาท่าน
สัพพะพุทธานุภาเวนะ,
           ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้าทั้งปวง
สะทา โสตถี ภะวันตุ เต,
           ขอความสวัสดีทั้งหลายจงมีแด่ท่าน ทุกเมื่อ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง,
           ขอสรรพมงคลจงมีแด่ท่าน
รักขุนตุ สัพพะเทงะตา,
           ขอเหล่าเทวดาทั้งปวงจงรักษาท่าน
สัพพะธัมมานุภาเวนะ,
           ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรมทั้งปวง
สะทา โสตถี ภะวันตุ เต,
           ขอความสวัสดีทั้งหลายจงมีแด่ท่าน ทุกเมื่อ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง,
           ขอสรรพมงคลจงมีแด่ท่าน
รักขันตุ สัพพะเทวะตา,
            ขอเหล่าเทวดาทั้งปวงจงรักษาท่าน
สัพพะสังฆานุภาเวนะ,
            ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ทั้งปวง
สะทา โสตถี ภะวันตุ เต.
            ขอความสวัสดีทั้งหลายจงมีแด่ท่าน ทุกเมื่อ เทอญ.


สาธุ สาธุ สาธุ

          
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16273 เมื่อ: 07 ธันวาคม 2559, 19:46:54 »



สิ่งหนึ่งที่จะเกิดขึ้นในจิต ของผู้ภาวนา คือ ต้องสะสม บารมี ๑๐ ประการ ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป !

บารมี ๑๐ ประการ ที่จะต้องประพฤติ ปฏิบัติ ของผู้ภาวนา คือ
- ทานะปาระมี        การบำเพ็ญทาน
- สีละปาระมี           การรักษาสังวรศีล ๔
- เนกขัมมะปารมี    การละออกจากเรือน ถือบวช
- ปัญญาปารมี        การบำเพ็ญทางปัญญา
- วิริยะปาระมี         มีวิริยะในการเพียรสร้างกุศล
- ขันติปาระมี          มีความอดทน
- สัจจะปาระมี         มีสัจจะ
- อธิฏฐานะปาระมี   ตั้งใจแน่วแน่ในการกระทำ
- เมตตาปาระมี        มีเมตตา
- อุเปกขาปาระ        วางเฉย

สาธุ สาธุ สาธุ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #16274 เมื่อ: 08 ธันวาคม 2559, 05:25:39 »


ต้นพระศรีมหาโพธิ์ พุทธคยา อำเภอคยา อินเดีย

อาหารของ นิวรณ์ ๕

ร่างกาย ดำรงอยู่ได้ เพราะอาศัยอาหาร
นิวรณ์ ๕ ก็มีอาหาร (คือมีปัจจัยให้เกิด, ให้ดำรงอยู่) ประกอบด้วย
๑. กามฉันท์(ความรักใคร่ ในรูป รส กลิ่น เสียง โผฏทัพพะ ธัมมารมย์) มีสุภนิมิต(ความสวยความงาม) เป็นอาหาร
๒. พยาบาท(ความคิดเบียดเบียน) มีปฏิฆนิมิต(ความหงุดหงิด) เป็นอาหาร
๓. ถีนมิทธะ(ความซึมเซา) มีความเบื่อระอา(อรติ) ความเกียจคน้าน(ตนฺทิ) ความเฉื่อยชา(วิชมฺภิตา) ความเห็นแก่ปากแก่ท้อง(ภตฺตามฺมโท) ความมีใจหดหู่(เจตโส ลีนตฺตํ) เป็นอาหาร
๔. อุทธัจจกุกกุจจะ(ความฟุ้งซ่าน) มีความไม่สงบระงับภายในใจ(เจตโส อวูปสโม) เป็นอาหาร
๕. วิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย) มีธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย(วิจิกิจฺฉานิยา ธมฺมา) เป็นอาหาร

อาหารทั้งหมดนั้น เกิดจากการไม่พิจารณาให้แยบคาย(ไม่มีโยนิโสมนสิการในธรรมนั้น ๆ) จึงหลงเข้าไปเป็น ไปยึด เสีย

ดังนั้น นิวรณ์ ๕ จึงเป็นปัจจัยแห่งการไม่ให้เกิดการกระทำความดี(การภาวนา) ที่จิตมันชอบ

ผู้ปฏิบัติธรรม เมื่อพิจารณาให้แยบคายแล้ว ต้องมีวิริยะ-ปัญญา ภาวนาให้นาน เอาชนะนิวรณ์ ๕ ให้ได้ ในแต่ละครั้งที่ภาวนา จิตจะเป็นสมาธิ ได้

สาธุ สาธุ สาธุ
      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 649 650 [651] 652 653 ... 681   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย  พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><