24 กันยายน 2567, 05:03:44
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 454 455 [456] 457 458 ... 681   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: คุย กับ คุณมานพ กลับดี อดีตประธานชมรม ๓ สมัย  (อ่าน 3465720 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 24 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #11375 เมื่อ: 19 ธันวาคม 2556, 07:08:47 »

อ้างถึง
ข้อความของ เหยง 16 เมื่อ 18 ธันวาคม 2556, 21:59:12
พี่สิงห์


วันนี้พี่กุศลเข้ามาในเว็ป ช่วงบ่ายสองกว่าๆ แต่ไม่ได้โพสต์อะไรเลย


สวัสดีครับ คุณเหยง

ดร.กุศล  เขาไม่เขียน  แต่จะส่งรูปมาให้เอาลงอีกที  กำลังส่งมาทางไปรษณีย์

วันนี้เอารถ Yaris มาที่ศูนย์ TOYOTA เพื่อตรวจสอบที่ระยะ 1000 กิโลเมตร

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #11376 เมื่อ: 19 ธันวาคม 2556, 07:11:04 »

อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 19 ธันวาคม 2556, 05:51:04

สวัสดียามเช้าครับ ชาวซีมะโด่ง และแขกผู้มาเยือน ที่รักทุกท่าน

อากาศในประเทศไทย กำลังหนาวเย็นสบาย  ระวังสุขภาพด้วยครับ ใส่เสื้อผ้าหนา ๆ มีผ้าพันคอ รักษาอุณหภูมิในร่างกายเอาไว้  จะได้ไม่เป็นหวัด

เช้านี้อย่าลืม คุณสมบัติของพุทธศาสนิกชนม์ที่ดีต้องมี
ศรัทธา ศีล จาคะ วิริยะ  สูตะ มีสติ และปัญญา ในการดำรงชีวิตประจำวัน จะมาก จะน้อยขึ้นอยู่กับ กำลังของ อินทรีย์ และพละ

ศรัทธา คือ มีเความเชื่อมั่นในพระพุทธ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ สิ้นความสงสัยในธรรม ในการตรัสรู้ของพระพุทธองค์ และเหล่าพระอรหันต์

ศีล คือเครื่องมือที่จะทำให้เราสามารถที่จะรักษากาย วาจา ใจให้เป็นปกติ อย่าน้อยต้องมีศีล ๕ อยู่ในจิตเพื่อการดำรงชีวิตที่สงบสุข

จาคะ คือการให้ การอนุเคราะห์ช่วยเหลือกับคนที่ด้อยโอกาส การให้เป็นการแสดงออกถึงจิตใจที่ไม่ตระหนี่ ไม่เห็นแก่ตนเอง เป็นการชำระจิตใจเบื้องต้น เป็นการสร้าง ทานะบาระมี

วิริยะ คือ การรพากเพียรกระทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ เป็นกุศลธรรม กระทำแต่ความดีอย่างเสมอต้นเสมอปลาย

สูตะ คือการใฝ่ศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์อยู่เสมอ และมีใจใคร่ที่จะได้ศึกษาตลอดเวลา เพื่อให้คำสอนนี้อยู่ในจิต จะได้ทำให้อารมณ์ในทางอกุศลไม่เกิดขึ้น เพราะธรรมของพระพุทธองค์มาสอนให้จิตยังดำรงในทางก่อกุศลได้ทัน

สติ คือการระลึกรู้ที่รูปนาม จนเป็นสมาธิ จะเป็นการชำระใจ ไม่ให้อยากมี อยากเป็น ได้ หรือละตัณหา ได้ เพราะจิตมันจะเห็นความจริงในรูปนาม ความเป็นไตรลักษณ์ ละความยึดมั่นถือมั่นในรูป-นามลงได้

ปัญญา คือพุทธศาสนาสอนให้ใช้ปัญญาในการดำรงชีวิต ยึดหลักกาลามสูตร และมรรคมีองค์ ๘ ไม่เชื่อสิงศักดิ์สิทธ์ เชื่อเรื่องกรรม

ลองพิจารณาดูครับ

อรุณสวัสดิ์ทุกท่านครับ


วันนี้ช่วงเช้าอยู่บ้าน ได้หุงข้าว ฝากพี่โส  ให้ช่วยใส่บาตรพระแทน เพราะต้องนำรถไปเข้าอู่ในเวลาเจ็ดโมงเช้า

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #11377 เมื่อ: 19 ธันวาคม 2556, 10:08:10 »


กทม.และปริมณฑล อากาศหนาวเย็น 18-19 องศา พอดีครับ
ภาคเหนือ ภาคอีสาน ยังหนาวเย็นต่ออีก 3-4 วันจนถึงสิ้นอาทิตย์นี้

พยากรณ์อากาศ ประจำวันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม 2556
ลักษณะอากาศทั่วไปเมื่อเวลา 04:00 น.  บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนยังคงแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยมีอากาศหนาวเย็นลง และยังคงหนาวเย็นต่อไปอีก 3-4 วัน สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนตกในระยะนี้ ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังแรง ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังไว้ด้วย
 
พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้.

ภาคเหนือ  อากาศหนาว
อุณหภูมิต่ำสุด 10-17 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 21-25 องศาเซลเซียส
สำหรับบริเวณยอดดอย อากาศหนาวจัด และมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 1-3 องศาเซลเซียส
ลมเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
 
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  อากาศหนาว
อุณหภูมิต่ำสุด 13-15 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 23-24 องศาเซลเซียส
สำหรับบริเวณยอดภู อากาศหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 3-6 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
 
ภาคกลาง  อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า
อุณหภูมิต่ำสุด 17-18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 24-26 องศาเซลเซียส
สำหรับบริเวณเทือกเขา อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 11-15 องศาเซลเซียส
ลมเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
 
ภาคตะวันออก  อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า
อุณหภูมิต่ำสุด 18-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-28 องศาเซลเซียส
สำหรับบริเวณเทือกเขา อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-14 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
 
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา : อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า
อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-32 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป : มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่
และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดสงขลา ปัตตานี และนราธิวาส

ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร
 
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)  มีเมฆเป็นส่วนมากและมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 30 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดกระบี่ ตรัง และสตูล

อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร
 
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า
อุณหภูมิต่ำสุด 18-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-30 องศาเซลเซียส
ลมเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #11378 เมื่อ: 19 ธันวาคม 2556, 13:05:05 »

วันที่ ๑๐ - ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ไปสักการะ ๔ สังเวชนีย์สถาน


              เนื่องจากผมต้องนำคณะของ พนักงาน PSTC จำนวน ๑๐ ท่านไป ๔ สังเวย์ชนียสถาน และรับปากกับชาวซีมะโด่ง ที่สนใจจะไป อินเดีย ขอเรียนเชิญ แจ้งความประสงค์มาได้เลยครับ

              ออกเดินทางวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ โดย Jet Airway ไปลงที่เมืองโกลกัตต้า แล้วต่อเครื่องบินภายในไปลงที่เมืองคยา

              พักวัดไทยมคธพุทธวิปัสสนา(๓ วัน) วัดไทยสาวัตถีพุทธวิปัสสนา(๑ วัน) ที่เหลือพักโรงแรม

              กลับวันที่ ๒๐ กุมพาภันธ์ ออกจากเมืองคยา โดยสายการบินภายในมาลงที่เมืองโกลกัตต้า และต่อเครื่องบิน Jet Airway จากเมืองโกลกัตต้า มาลงสุวรรณภูมิ เช้ามืดวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์

              ราคา ๒๙,๕๐๐ บาท

              หลักฐานที่ต้องเตรียม คือ รูปถ่าย ขอ VISA อินเดีย ขนาดสองนิ้วภาพสี หลังขาว ๔ ใบ สำเนา PASSPORT สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำนเาทะเบียนบ้าน

               ท่านต้องไปจ่ายสตางค์ และกรอกใบไปอินเดีย กับบริษัท ทับทิมเทศน์ทัวร์ จำกัด ที่หลวงพ่อ ดร.พระมหาสุเทพ   อกิญจโณ ที่สถานีวิทยุยานเกราะ กองพล ม.๒ ถ้าหลวงพ่อไม่อยู่ ก็มีหลวงปู้ปฐมพจน์ อยู่ที่สถานี จะเป็นองค์รับเรื่องแทน เพราะเวลานี้หลวงพ่ออยู่อินเดีย นำคณะญาติโยมไป ๔ สังเวย์ กลับประมาณวันที่ ๒๗ ธันวาคม

               ก็เรียนให้ทราบทั่วกัน โปรแกรมจริงยังไม่ออก เมื่ออกจะมาแจ้งให้ทราบ

               สมัครเร็วได้นั่งที่นั่งด้านหน้า สมัครช้านั่งหลัง มัวรีรอตัดสินใจช้า รถเต็ม รับจำนวน ๖๐ ท่าน

               สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #11379 เมื่อ: 19 ธันวาคม 2556, 13:15:51 »

สวัสดีครับ คุณเหยง

ขอบคุณมาก สำหรับข่าวอากาศ

อยู่ที่สนามบินดอนเมือง  จะเดินทางไปทำงานที่นครศรีธรรมราช กลับวันเสาร์เย็น

ไปรับอากาศแบบฝนตกทั้งวันที่นครศรีธรรมราช

วันอาทิตย์ที่ ๒๑ วันจันทร์ที่ ๒๒ ธันวาคม ไปรับอากาศหนาวที่ นครเวียงจันทร์ พรรคพวกที่สุรินทร์บังคับให้ไปร่วมกิจกรรมที่ทาง COTTO จัดพาผู้แทนจำหน่ายรายใหญ่ของอิสานไปแอ่วเวียงจันทร์ตีกอล์ฟ  ก็ต้องไปครับ

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #11380 เมื่อ: 19 ธันวาคม 2556, 14:14:45 »

พี่สิงห์


มวลอากาศเย็นแผ่ลงไปถึงภาคใต้ครับ


      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #11381 เมื่อ: 19 ธันวาคม 2556, 15:39:02 »

สวัสดีครับ คุณเหยง

พี่สิงห์ ถึงนครศรีธรรมราชเรียบร้อยแล้ว
ที่สนามบิน แสงแดดจัด ลมพัดแรง จนเครื่องบินต้องเปลี่ยนทิศลงจากทางด้านทิศใต้เพราะลมปะทะแรงมาด ปกติจะลงทางทิศเหนือเป็นหลักเช่นเดียวกับสนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ

ท้องฟ้าแจ่มใสไร้เมฆ ร้อน ฝนคงไม่ตก ดีครับ ถ้าเจอฝนอาจจะไม่สบายได้

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #11382 เมื่อ: 19 ธันวาคม 2556, 20:42:22 »

สวัสดียามค่ำครับ ชาวซีมะโด่ง และแขกผู้มาเยือน ที่รักทุกท่าน

พระไตรปิฎกพระสูตร นี้อยากให้ทุกท่านได้อ่าน เพราะเป็นหัวใจแห่งการปฏิบัติธรรม ที่พระอานนท์ สรุป ภายหลังจากพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพาน  ท่านจะได้มีแนวทางในการปฏิบัติธรรมของท่านได้ถูกต้องครับ

ราตรีสวัสดิ์ทุกท่าน


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๙  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑
ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค


๑๐. สุภสูตร
เรื่องสุภมาณพ



            [๓๑๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
             สมัยหนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพานแล้วไม่นาน ท่านพระอานนท์อยู่ ณ
พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี.
             [๓๑๕] ก็สมัยนั้น สุภมาณพโตเทยยบุตร พักอยู่ในพระนครสาวัตถี ด้วยกรณียกิจ
บางอย่าง ครั้งนั้น สุภมาณพโตเทยยบุตร เรียกมาณพน้อยคนหนึ่งมาว่า มานี่แน่ พ่อมาณพ
พ่อจงเข้าไปหาพระอานนท์ถึงที่อยู่แล้ว เรียนถามพระสมณอานนท์ผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง
กระปรี้กระเปร่า มีกำลัง อยู่สำราญ ตามคำของเราว่า สุภมาณพโตเทยยบุตร เรียนถามถึงท่าน
และจงกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าขอโอกาส ขอท่านพระอานนท์ จงอนุเคราะห์เข้าไปยังนิเวศน์
ของสุภมาณพโตเทยยบุตรเถิด มาณพน้อยนั้นรับคำสุภมาณพโตเทยยบุตรแล้ว เข้าไปหาท่าน
พระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอานนท์ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง จึงเรียนว่า สุภมาณพโตเทยยบุตรถามถึงท่าน และเขาสั่งมาอย่างนี้ว่า
ขอท่านพระอานนท์ จงอนุเคราะห์เข้าไปยังนิเวศน์ของสุภมาณพโตเทยยบุตรเถิด.
             [๓๑๖] เมื่อมาณพน้อยกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกะเขาว่า มิใช่กาล
เสียแล้วพ่อมาณพ เผอิญวันนี้ ฉันดื่มยาถ่าย ถ้ากระไรไว้พรุ่งนี้เถิด ได้เวลาและสมัยแล้ว
เราจึงจะเข้าไปหา.
             ขอรับคำท่านพระอานนท์แล้วลุกจากที่นั่ง เข้าไปหาสุภมาณพโตเทยยบุตร แล้วบอกว่า
ข้าพเจ้าได้บอกพระอานนท์ตามคำของท่านแล้ว เมื่อข้าพเจ้าบอกอย่างนั้นแล้ว ท่านพระสมณอานนท์
ได้กล่าวกะข้าพเจ้าว่า มิใช่กาลเสียแล้วพ่อมาณพ เผอิญวันนี้ ฉันดื่มยาถ่าย ถ้ากระไรไว้พรุ่งนี้
เถิด ได้เวลาและสมัยแล้ว ฉันจึงจะเข้าไป ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ข้าพเจ้าชื่อว่าทำกิจที่เป็นเหตุ
ให้ท่านพระอานนท์ทำโอกาสเพื่อเข้ามาฉันในวันพรุ่งนี้แล้ว.

สุภสูตร อริยขันธ์ ๓-อริยศีลขันธ์

             [๓๑๗] พอล่วงราตรีนั้นไป เวลาเช้าท่านพระอานนท์ครองอันตรวาสก แล้วถือบาตรจีวร
มีพระเจตกภิกษุเป็นปัจฉาสมณะ เข้าไปยังนิเวศน์ของสุภมาณพโตเทยยบุตรแล้ว นั่งบนอาสนะ
ที่เขาปูลาดไว้.
             ครั้งนั้น สุภมาณพโตเทยยบุตร เข้าไปหาท่านพระอานนท์ แล้วปราศรัยกับท่าน ครั้นผ่าน
การปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กล่าวว่า ท่านพระอานนท์
เป็นอุปัฏฐากอยู่ในสำนักใกล้ชิดท่านพระโคดมมานาน ท่านพระโคดมได้ตรัสสรรเสริญคุณแห่งธรรม
เหล่าใด และทรงยังประชุมชนนี้ ให้สมาทาน ให้ตั้งอยู่ ให้ดำรงอยู่ในธรรมเหล่าใด ท่านพระ
อานนท์ควรจะรู้ธรรมนั้น ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านพระโคดม ได้ตรัสสรรเสริญคุณแห่งธรรม
เหล่าไหน และทรงยังประชุมชนนี้ ให้สมาทาน ให้ตั้งอยู่ ให้ดำรงอยู่ ในธรรมเหล่าไหน.

อริยขันธ์ ๓

อริยศีลขันธ์

             ท่านพระอานนท์ตอบว่า ดูกรมาณพ พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสสรรเสริญขันธ์ ๓ และทรง
ยังประชุมชนนี้ ให้สมาทาน ให้ตั้งอยู่ ให้ดำรงอยู่ในขันธ์ ๓ นี้ ขันธ์ ๓ เป็นไฉน? คือ
สีลขันธ์อันเป็นอริยะ สมาธิขันธ์อันเป็นอริยะ ปัญญาขันธ์เป็นอริยะ ดูกรมาณพ พระผู้มีพระภาค
ได้ตรัสสรรเสริญขันธ์ ๓ นี้ และทรงยังประชุมชนนี้ ให้สมาทาน ให้ตั้งอยู่ ให้ดำรงอยู่ใน
ขันธ์ ๓ นี้.
             [๓๑๘] ข้าแต่ท่านพระอานนท์ สีลขันธ์อันเป็นอริยะ ที่ท่านพระโคดมได้ตรัสสรรเสริญ
และทรงยังประชุมชนนี้ ให้สมาทาน ให้ตั้งอยู่ ให้ดำรงอยู่เป็นไฉน?
             ดูกรมาณพ พระตถาคตเสด็จอุบัติในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อม
ด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม พระตถาคต
พระองค์นั้น ทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่ง
ของพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม ทรง
แสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ
พร้อมทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง คฤหบดี บุตรคฤหบดี หรือผู้เกิดเฉพาะในตระกูลใด
ตระกูลหนึ่ง ย่อมฟังธรรมนั้น ครั้นฟังแล้ว ได้ศรัทธาในพระตถาคต เมื่อได้ศรัทธาแล้ว
ย่อมเห็นตระหนักว่า ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง การที่
บุคคลผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์ ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียวดุจสังข์ขัด ไม่ใช่
ทำได้ง่าย ถ้ากระไร เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต
สมัยต่อมา เขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ ละเครือญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและหนวด นุ่งห่ม
ผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต. เมื่อบวชแล้ว สำรวมระวังในพระปาติโมกข์อยู่ ถึง
พร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท
ทั้งหลาย ประกอบด้วยกายกรรมวจีกรรมที่เป็นกุศล มีอาชีพบริสุทธิ์ ถึงพร้อมด้วยศีล คุ้มครอง
ทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เป็นผู้สันโดษ.

จุลศีล

             [๓๑๙] ดูกรมาณพ อย่างไร ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล.
             ๑. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ
วางศาตรา มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณา หวังประโยชน์ แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่
ข้อนี้เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
             ๒. เธอละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของ
ที่เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
             ๓. เธอละกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล
เว้นขาดจากเมถุนอันเป็นกิจของชาวบ้าน แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
             ๔. เธอละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ พูดแต่คำจริง ดำรงคำสัตย์ มีถ้อยคำ
เป็นหลักฐาน ควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลก แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
             ๕. เธอละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด ฟังจากข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้น
เพื่อให้คนหมู่นี้แตกร้าวกัน หรือฟังจากข้างโน้นแล้วไม่มาบอกข้างนี้ เพื่อให้คนหมู่โน้นแตกร้าว
กัน สมานคนที่แตกร้าวกันแล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง ชอบคนผู้
พร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน เพลิดเพลินในคนผู้พร้อมเพรียงกัน กล่าวแต่คำ
ที่ทำให้คนพร้อมเพรียงกัน แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
             ๖. เธอละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ เพราะหู ชวนให้รัก
จับใจ เป็นของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่ พอใจ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
             ๗. เธอละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำที่เป็นจริง
พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐาน มีที่อ้าง มีที่กำหนด ประกอบด้วย
ประโยชน์ โดยกาลอันควร แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
             ๘. เธอเว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม.
             ๙. เธอฉันหนเดียว เว้นการฉันในราตรี งดจากการฉันในเวลาวิกาล.
             ๑๐. เธอเว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึก
แก่กุศล.
             ๑๑. เธอเว้นขาดจากการทัดทรงประดับ และตบแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ ของหอมและ
เครื่องประเทืองผิว อันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว.
             ๑๒. เธอเว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่.
             ๑๓. เธอเว้นขาดจากการรับทองและเงิน.
             ๑๔. เธอเว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ.
             ๑๕. เธอเว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ.
             ๑๖. เธอเว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี.
             ๑๗. เธอเว้นขาดจากการรับทาสีและทาส.
             ๑๘. เธอเว้นขาดจากการรับแพะและแกะ.
             ๑๙. เธอเว้นขาดจากการรับไก่และสุกร.
             ๒๐. เธอเว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา.
             ๒๑. เธอเว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน.
             ๒๒. เธอเว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้.
             ๒๓. เธอเว้นขาดจากการซื้อการขาย.
             ๒๔. เธอเว้นขาดจากการโกงด้วยตราชั่ง การโกงด้วยของปลอม และการโกงด้วยเครื่อง
ตวงวัด.
             ๒๕. เธอเว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง.
             ๒๖. เธอเว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้น และกรรโชก
แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

จบจุลศีล.

มัชฌิมศีล

             ๑. ภิกษุเว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญ
บางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังประกอบการพรากพืชคามและภูตคามเห็นปานนี้
คือ พืชเกิดแต่เหง้า พืชเกิดแต่ลำต้น พืชเกิดแต่ผล พืชเกิดแต่ยอด พืชเกิดแต่เมล็ด
เป็นที่ครบห้า แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
             ๒. ภิกษุเว้นขาดจากการบริโภคของที่ทำการสะสมไว้ เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญ
บางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังประกอบการบริโภคของที่ทำการสะสมไว้
เห็นปานนี้ คือ สะสมข้าว สะสมน้ำ สะสมผ้า สะสมยาน สะสมที่นอน สะสมเครื่อง
ประเทืองผิว สะสมของหอม สะสมอามิส แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
             ๓. ภิกษุเว้นขาดจากการดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์
ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวายดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่
กุศลเห็นปานนี้ คือ การฟ้อน การขับร้อง การประโคมมหรสพมีการรำเป็นต้น การเล่า
นิยาย การเล่นปรบมือ การเล่นปลุกผี การเล่นตีกลอง ฉากภาพบ้านเมืองที่สวยงาม การเล่น
ของคนจัณฑาล การเล่นไม้สูง การเล่นหน้าศพ ชนช้าง ชนม้า ชนกระบือ ชนโค ชนแพะ
ชนแกะ ชนไก่ รบนกกระทา รำกระบี่กระบอง มวยชก มวยปล้ำ การรบ การตรวจพล
การจัดกระบวนทัพ กองทัพ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
             ๔. ภิกษุเว้นขาดจากการขวนขวายเล่นการพนันอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เช่น
อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวายเล่น
การพนันอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเห็นปานนี้ คือ เล่นหมากรุกแถวละแปดตา แถวละ
สิบตา เล่นหมากเก็บ เล่นดวด เล่นหมากไหว เล่นโยนบ่วง เล่นไม้หึ่ง เล่นกำทาย เล่นสะกา
เล่นเป่าใบไม้ เล่นไถน้อยๆ เล่นหกคะเมน เล่นกังหัน เล่นตวงทราย เล่นรถน้อยๆ เล่น
ธนูน้อยๆ เล่นเขียนทายกัน เล่นทายใจ เล่นเลียนคนพิการ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอ
ประการหนึ่ง.
             ๕. ภิกษุเว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์
ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่
เห็นปานนี้ คือ เตียงมีเท้าเกินประมาณ เตียงมีเท้าทำเป็นรูปสัตว์ร้าย ผ้าโกเชาว์ขนยาว
เครื่องลาดที่ทำด้วยขนแกะสีขาว เครื่องลาดที่มีสัณฐานเป็นช่อดอกไม้ เครื่องลาดที่ยัดนุ่น
เครื่องลาดขนแกะวิจิตรด้วยรูปสัตว์ร้ายมีสีหะ และเสือเป็นต้น เครื่องลาดขนแกะมีขนตั้ง
เครื่องลาดขนแกะมีขนข้างเดียว เครื่องลาดทองและเงินแกมไหม เครื่องลาดไหมขลิบทอง
และเงิน เครื่องลาดขนแกะจุนางฟ้อน ๑๖ คน เครื่องลาดหลังช้าง เครื่องลาดหลังม้า
เครื่องลาดในรถ เครื่องลาดที่ทำด้วยหนังสัตว์ชื่ออชินะอันมีขนอ่อนนุ่ม เครื่องลาดอย่างดี
ทำด้วยหนังชะมด เครื่องลาดมีเพดาน เครื่องลาดมีหมอนข้างแม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอ
ประการหนึ่ง.
             ๖. ภิกษุเว้นขาดจากการประกอบการประดับตกแต่งร่างกายอันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว
เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวาย
ประกอบการประดับตบแต่งร่างกายอันเป็นฐานแห่งการแต่งตัวเห็นปานนี้ คือ อบตัว ไคล-
*อวัยวะ อาบน้ำหอม นวด ส่องกระจก แต้มตา ทัดดอกไม้ ประเทืองผิว ผัดหน้า
ทาปาก ประดับข้อมือ สวมเกี้ยว ใช้ไม้เท้า ใช้กลักยา ใช้ดาบ ใช้ขรรค์ ใช้ร่ม สวมรองเท้า
ประดับวิจิตร ติดกรอบหน้า ปักปิ่น ใช้พัดวาลวิชนี นุ่งห่มผ้าขาว นุ่งห่มผ้ามีชาย แม้ข้อนี้
ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
             ๗. ภิกษุเว้นขาดจากติรัจฉานกถา เช่น อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก
ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังประกอบติรัจฉานกถา เห็นปานนี้ คือ พูดเรื่องพระราชา
เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า
เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องนคร
เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับ
ไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อมด้วยประการนั้นๆ
แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
             ๘. ภิกษุเว้นขาดจากการกล่าวถ้อยคำแก่งแย่งกัน เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญ
บางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวายกล่าวถ้อยคำแก่งแย่งกันเห็นปานนี้
เช่น ว่าท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึง ท่านจักรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร ท่าน
ปฏิบัติผิด ข้าพเจ้าปฏิบัติถูก ถ้อยคำของข้าพเจ้าเป็นประโยชน์ ของท่านไม่เป็นประโยชน์
คำที่ควรจะกล่าวก่อน ท่านกลับกล่าวภายหลัง คำที่ควรจะกล่าวภายหลัง ท่านกลับกล่าวก่อน
ข้อที่ท่านเคยช่ำชองมาผันแปรไปแล้ว ข้าพเจ้าจับผิดวาทะของท่านได้แล้ว ข้าพเจ้าข่มท่านได้แล้ว
ท่านจงถอนวาทะเสีย มิฉะนั้นจงแก้ไขเสีย ถ้าสามารถ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
             ๙. ภิกษุเว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้ เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญ
บางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวายประกอบทูตกรรมและการรับใช้
เห็นปานนี้ คือ รับเป็นทูตของพระราชา ราชมหาอำมาตย์ กษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี
และกุมารว่า ท่านจงไปในที่นี้ ท่านจงไปในที่โน้น ท่านจงนำเอาสิ่งนี้ไป ท่านจงนำเอาสิ่งนี้
ในที่โน้นมา ดังนี้ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
             ๑๐. ภิกษุเว้นขาดจากการพูดหลอกลวง และการพูดเลียบเคียง เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์
ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังพูดหลอกลวง พูดเลียบเคียง พูดหว่าน-
*ล้อม พูดและเล็ม แสวงหาลาภด้วยลาภ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

จบมัชฌิมศีล.

มหาศีล

             [๓๒๐] ๑. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่าง
สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย
ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ทายอวัยวะ ทายนิมิต ทายอุปบาต ทำนายฝัน ทำนายลักษณะ
ทำนายหนูกัดผ้า ทำพิธีบูชาไฟ ทำพิธีเบิกแว่นเวียนเทียน ทำพิธีซัดแกลบบูชาไฟ ทำพิธีซัด
รำบูชาไฟ ทำพิธีซัดข้าวสารบูชาไฟ ทำพิธีเติมเนยบูชาไฟ ทำพิธีเติมน้ำมันบูชาไฟ ทำพิธีเสกเป่า
บูชาไฟ ทำพลีกรรมด้วยโลหิต เป็นหมอดูอวัยวะ ดูลักษณะที่บ้าน ดูลักษณะที่นา เป็นหมอ
ปลุกเสก เป็นหมอผี เป็นหมอลงเลขยันต์คุ้มกันบ้านเรือน เป็นหมองู เป็นหมอยาพิษ
เป็นหมอแมลงป่อง เป็นหมอรักษาแผลหนูกัด เป็นหมอทายเสียงนก เป็นหมอทายเสียงกา
เป็นหมอทายอายุ เป็นหมอเสกกันลูกศร เป็นหมอทายเสียงสัตว์ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอ
ประการหนึ่ง.
             ๒. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์
ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา
เห็นปานนี้ คือ ทายลักษณะแก้วมณี ทายลักษณะไม้พลอง ทายลักษณะผ้า ทายลักษณะศาตรา
ทายลักษณะดาบ ทายลักษณะศร ทายลักษณะธนู ทายลักษณะอาวุธ ทายลักษณะสตรี
ทายลักษณะบุรุษ ทายลักษณะกุมาร ทายลักษณะกุมารี ทายลักษณะทาส ทายลักษณะทาสี ทาย
ลักษณะช้าง ทายลักษณะม้า ทายลักษณะกระบือ ทายลักษณะโคอุสภะ ทายลักษณะโค
ทายลักษณะแพะ ทายลักษณะแกะ ทายลักษณะไก่ ทายลักษณะนกกระทา ทายลักษณะวรนุช
ทายลักษณะตุ่น ทายลักษณะเต่า ทายลักษณะมฤค แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
             ๓. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์
ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา
เห็นปานนี้ คือ ดูฤกษ์ยาตราทัพว่า พระราชาจักยกออก พระราชาจักไม่ยกออก พระราชาภายใน
จักยกเข้าประชิด พระราชาภายนอกจักถอย พระราชาภายนอกจักยกเข้าประชิด พระราชาภายใน
จักถอย พระราชาภายในจักมีชัย พระราชาภายนอกจักปราชัย พระราชาภายนอกจักมีชัย พระราชา
ภายในจักปราชัย พระราชาองค์นี้จักมีชัย พระราชาองค์นี้จักปราชัย เพราะเหตุนี้ๆ แม้ข้อนี้
ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
             ๔. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์
ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา
เห็นปานนี้ คือ พยากรณ์ว่า จักมีจันทรคราส จักมีสุริยคราส จักมีนักษัตรคราส ดวงจันทร์
ดวงอาทิตย์จักเดินถูกทาง ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักเดินผิดทาง ดาวนักษัตรจักเดินถูกทาง ดาว
นักษัตรจักเดินผิดทาง จักมีอุกกาบาต จักมีดาวหาง จักมีแผ่นดินไหว จักมีฟ้าร้อง ดวงจันทร์
ดวงอาทิตย์ และดาวนักษัตรจักขึ้น ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักตก ดวงจันทร์
ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักมัวหมอง ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักกระจ่าง จันทร-
*คราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ สุริยคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้  นักษัตรคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์
ดวงอาทิตย์เดินถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้  ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เดินผิดทางจักมีผลเป็นอย่างนี้
ดาวนักษัตรเดินถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดาวนักษัตรเดินผิดทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ มีอุกกาบาต
จักมีผลเป็นอย่างนี้ มีดาวหางจักมีผลเป็นอย่างนี้ แผ่นดินไหวจักมีผลเป็นอย่างนี้ ฟ้าร้องจักมีผล
เป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรขึ้นจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์
และดาวนักษัตรตกจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรมัวหมองจักมีผลเป็น
อย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรกระจ่างจักมีผลเป็นอย่างนี้ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอ
ประการหนึ่ง.
             ๕. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์
ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา
เห็นปานนี้ คือ พยากรณ์ว่า จักมีฝนดี จักมีฝนแล้ง จักมีภิกษาหาได้ง่าย จักมีภิกษาหาได้ยาก
จักมีความเกษม จักมีภัย จักเกิดโรค จักมีความสำราญหาโรคมิได้ หรือนับคะแนน คำนวณ
นับประมวล แต่งกาพย์ โลกายตศาสตร์ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
             ๖. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์
ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา
เห็นปานนี้ คือ ให้ฤกษ์อาวาหมงคล ให้ฤกษ์วิวาหมงคล ดูฤกษ์เรียงหมอน ดูฤกษ์หย่าร้าง
ดูฤกษ์จ่ายทรัพย์ ดูโชคดี ดูเคราะห์ร้าย ให้ยาผดุงครรภ์ ร่ายมนต์ให้ลิ้นกระด้าง ร่ายมนต์ให้
คางแข็ง ร่ายมนต์ให้มือสั่น ร่ายมนต์ไม่ให้หูได้ยินเสียง เป็นหมอทรงกระจก เป็นหมอทรง
หญิงสาว เป็นหมอทรงเจ้า บวงสรวงพระอาทิตย์ บวงสรวงท้าวมหาพรหม ร่ายมนต์พ่นไฟ
ทำพิธีเชิญขวัญ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
             ๗. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์
ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา
เห็นปานนี้ คือ ทำพิธีบนบาน ทำพิธีแก้บน ร่ายมนต์ขับผี สอนมนต์ป้องกันบ้านเรือน
ทำกะเทยให้กลับเป็นชาย ทำชายให้กลายเป็นกะเทย ทำพิธีปลูกเรือน ทำพิธีบวงสรวงพื้นที่
พ่นน้ำมนต์ รดน้ำมนต์ ทำพิธีบูชาไฟ ปรุงยาสำรอก ปรุงยาถ่าย ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องบน
ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องล่าง ปรุงยาแก้ปวดศีรษะ หุงน้ำมันหยอดหู ปรุงยานัตถุ์ ปรุงยาทากัด
ปรุงยาทาสมาน ป้ายยาตา ทำการผ่าตัด รักษาเด็ก ใส่ยา ชะแผล แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอ
ประการหนึ่ง.
             ดูกรมาณพ ภิกษุสมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้ ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เลย เพราะศีลสังวร
นั้น เปรียบเหมือนกษัตริย์ผู้ได้มุรธาภิเษก กำจัดราชศัตรูได้แล้ว ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ
เพราะราชศัตรูนั้น ดูกรมาณพ ภิกษุก็ฉันนั้น สมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้แล้ว ย่อมไม่ประสบภัย
แต่ไหนๆ เพราะศีลสังวรนั้น ภิกษุสมบูรณ์ด้วยอริยศีลขันธ์นี้ ย่อมได้เสวยสุขอันปราศจากโทษ
ในภายใน ดูกรมาณพ ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล.

จบมหาศีล.

            ดูกรมาณพ ศีลขันธ์อันเป็นอริยะนี้แล ที่พระผู้มีพระภาคได้ตรัสสรรเสริญ และทรงยัง
ประชุมชนนี้ ให้สมาทาน ให้ตั้งอยู่ ให้ดำรงอยู่ อนึ่ง ในพระธรรมวินัยนี้ ยังมีกรณียกิจที่
ยิ่งขึ้นไปอยู่อีก.
             ส. ข้าแต่ท่านพระอานนท์ น่าอัศจรรย์นัก ไม่เคยมีมาแล้ว ศีลขันธ์อันเป็นอริยะนี้
บริบูรณ์แล้ว มิใช่ไม่บริบูรณ์ ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นศีลขันธ์อันเป็นอริยะที่บริบูรณ์อย่างนี้ ในสมณ-
*พราหมณ์เหล่าอื่นภายนอกพระศาสนานี้เลย ท่านพระอานนท์ สมณพราหมณ์เหล่าอื่นภายนอก
พระศาสนานี้ พึงเห็นศีลขันธ์อันเป็นอริยะที่บริบูรณ์แล้วอย่างนี้ในตน เขาเหล่านั้นจะพึงพอใจ
เพราะเหตุเพียงเท่านั้นแล ด้วยเหตุเพียงเท่านี้เป็นอันพอแล้ว ด้วยเหตุเพียงเท่านี้เป็นอันทำเสร็จ
แล้ว สำคัญตนว่า เราได้บรรลุถึงประโยชน์แห่งสามัญคุณแล้วโดยลำดับ ไม่มีกรณียกิจอะไรที่
จะยิ่งขึ้นไปอีก แต่ท่านพระอานนท์ก็ยังกล่าวอย่างนี้ว่า ในพระธรรมวินัยนี้ ยังมีกรณียกิจที่ยิ่ง
ขึ้นไปอยู่อีก.

อริยสมาธิขันธ์

             [๓๒๑] ส. ข้าแต่ท่านพระอานนท์ สมาธิขันธ์อันเป็นอริยะที่ท่านพระโคดมได้ตรัส
สรรเสริญ และทรงยังประชุมชนนี้ให้สมาทาน ให้ตั้งอยู่ ให้ดำรงอยู่นั้น เป็นไฉน.
             อ. ดูกรมาณพ อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย? ดูกรมาณพ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อ
สำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและ
โทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ภิกษุฟังเสียง
ด้วยโสต ... ดมกลิ่นด้วยฆานะ ... ลิ้มรสด้วยชิวหา ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้แจ้ง
ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์
ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่า
รักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุประกอบด้วยอินทรีย์สังวรอันเป็นอริยะ
เช่นนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันไม่ระคนด้วยกิเลสในภายใน ดูกรมาณพ ด้วยประการดังกล่าวมานี้
แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย.
             [๓๒๒] ดูกรมาณพ อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ? ดูกร
มาณพ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการก้าว ในการถอย ในการแล ในการ
เหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวร ในการฉัน
การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน
การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง ดูกรมาณพ ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ภิกษุชื่อ
ว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ.
             [๓๒๓] ดูกรมาณพ อย่างไรภิกษุชื่อว่าเป็นผู้สันโดษ? ดูกรมาณพ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง เธอจะไปทาง
ทิศาภาคใดๆ ก็ถือไปได้เอง ดูกรมาณพ นกมีปีก จะบินไปทางทิศาภาคใดๆ ก็มีแต่ปีกของตัว
เป็นภาระบินไปฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วย
บิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง เธอจะไปทางทิศาภาคใดๆ ก็ถือไปได้เอง ดูกรมาณพ ด้วย
ประการดังกล่าวมานี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้สันโดษ.
             [๓๒๔] ภิกษุนั้น ประกอบด้วยศีลขันธ์ อินทรีย์สังวร สติสัมปชัญญะและสันโดษ
อันเป็นอริยะเช่นนี้แล้ว ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า
ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง ในกาลภายหลังภัต เธอกลับจากบิณฑบาตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกาย
ตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอละความเพ่งเล็ง มีใจปราศจากความเพ่งอยู่ ย่อมชำระจิตให้
บริสุทธิ์จากความเพ่งเล็งได้ ละความประทุษร้าย คือ พยาบาท ไม่คิดพยาบาท มีความกรุณาหวัง
ประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้ายคือพยาบาทได้ ละ
ถีนมิทธะแล้ว เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีความกำหนดหมายอยู่ที่แสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะ
อยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะได้ ละอุทธัจจกุกกุจจะเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ ณ
ภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะได้ ละวิจิกิจฉา เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉา
ไม่มีความคลางแคลงในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉาได้.

อุปมานิวรณ์

             [๓๒๕] ดูกรมาณพ เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงกู้หนี้ไปประกอบการงาน การงานของเขา
จะพึงสำเร็จผล เขาจะพึงใช้หนี้ที่เป็นต้นทุนเดิมให้หมดสิ้น และทรัพย์ที่เป็นกำไรของเขาจะ
พึงมีเหลืออยู่สำหรับเลี้ยงภริยา เขาพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเรากู้หนี้ไปประกอบ
การงาน บัดนี้ การงานของเราสำเร็จผลแล้ว เราได้ใช้หนี้ที่เป็นต้นทุนเดิมให้หมดสิ้นแล้ว และ
ทรัพย์ที่เป็นกำไรของเรายังมีเหลืออยู่สำหรับเลี้ยงภริยา ดังนี้ เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความ
โสมนัส มีความไม่มีหนี้นั้นเป็นเหตุ ฉันใด.
             ดูกรมาณพ เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงเป็นผู้มีอาพาธ ถึงความลำบาก เจ็บหนัก บริโภค
อาหารไม่ได้ และไม่มีกำลังกาย สมัยต่อมา เขาพึงหายจากอาพาธนั้น บริโภคอาหารได้
และมีกำลังกาย เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราเป็นผู้มีอาพาธถึงความลำบาก เจ็บหนัก
บริโภคอาหารไม่ได้ และไม่มีกำลังกาย บัดนี้ เราหายจากอาพาธนั้นแล้ว บริโภคอาหารได้
และมีกำลังกายเป็นปกติ ดังนี้ เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัส มีความไม่มีโรคนั้น
เป็นเหตุ ฉันใด.
             ดูกรมาณพ เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงถูกจำอยู่ในเรือนจำ สมัยต่อมา เขาพึงพ้นจาก
เรือนจำนั้นโดยสวัสดีไม่มีภัย ไม่ต้องเสียทรัพย์อะไรๆ เลย เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อน
เราถูกจองจำอยู่ในเรือนจำ บัดนี้ เราพ้นจากเรือนจำนั้นโดยสวัสดีไม่มีภัยแล้ว และเราไม่ต้อง
เสียทรัพย์อะไรๆ เลย ดังนี้ เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัส มีการพ้นจากเรือนจำ
นั้นเป็นเหตุ ฉันใด.
             ดูกรมาณพ เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงเป็นทาส ไม่ได้พึ่งตัวเอง พึ่งผู้อื่น ไปไหน
ตามความพอใจไม่ได้ สมัยต่อมา เขาพึงพ้นจากความเป็นทาสนั้น พึ่งตัวเอง ไม่ต้องพึ่งผู้อื่น
เป็นไทยแก่ตัว ไปไหนได้ตามความพอใจ เขาจะพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราเป็นทาส
พึ่งตัวเองไม่ได้ ต้องพึ่งผู้อื่น ไปไหนตามความพอใจไม่ได้ บัดนี้ เราพ้นจากความเป็นทาสนั้น
แล้ว พึ่งตัวเอง ไม่ต้องพึ่งผู้อื่น เป็นไทยแก่ตัว ไปไหนได้ตามความพอใจ ดังนี้ เขาจะพึงได้
ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัส มีความเป็นไทยแก่ตัวนั้นเป็นเหตุ ฉันใด.
             ดูกรมาณพ เปรียบเหมือนบุรุษ มีทรัพย์ มีโภคสมบัติ พึงเดินทางไกลกันดาร
หาอาหารได้ยาก มีภัยเฉพาะหน้า สมัยต่อมา เขาพึงข้ามพ้นทางกันดารนั้นได้ บรรลุถึงหมู่บ้าน
อันเกษมปลอดภัยโดยสวัสดี เขาจะพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเรามีทรัพย์ มีโภคสมบัติ
เดินทางไกลกันดาร หาอาหารได้ยาก มีภัยเฉพาะหน้า บัดนี้ เราข้ามพ้นทางกันดารนั้น บรรลุ
ถึงหมู่บ้านอันเกษม ปลอดภัยโดยสวัสดีแล้ว ดังนี้ เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความ
โสมนัส มีภูมิสถานอันเกษมนั้นเป็นเหตุ ฉันใด.
             ดูกรมาณพ ภิกษุพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ประการเหล่านี้ ที่ยังละไม่ได้ในตนเหมือนหนี้
เหมือนโรค เหมือนเรือนจำ เหมือนความเป็นทาส เหมือนทางไกลกันดาร และเธอพิจารณา
เห็นนิวรณ์ ๕ ประการที่ละได้แล้วในตน เหมือนความไม่มีหนี้ เหมือนความไม่มีโรค เหมือน
การพ้นจากเรือนจำ เหมือนความเป็นไทแก่ตน เหมือนภูมิสถานอันเกษม ฉันนั้นแล.

รูปฌาน ๔

             เมื่อเธอพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ ที่ละแล้วในตน ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อ
ปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปิติ เมื่อมีปีติในใจ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้วย่อมได้เสวยสุข
เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น เธอสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร
มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่
วิเวก ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง
ดูกรมาณพ เปรียบเหมือนพนักงานสรงสนาน หรือลูกมือพนักงานสรงสนานผู้ฉลาด จะพึง
ใส่จุรณสีตัวลงในภาชนะสำริด แล้วพรมด้วยน้ำ หมักไว้ ตกเวลาเย็นก้อนจุรณสีตัวซึ่งยางซึม
ไปจับติดกันทั่วทั้งหมด ย่อมไม่กระจายออก ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น
เอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว
ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง ข้อนี้เป็นสมาธิของเธอประการหนึ่ง.
             [๓๒๖] ดูกรมาณพ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตใน
ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุข
เกิดแต่สมาธิอยู่ เธอทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่าน ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ
ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง ดูกร
มาณพ เปรียบเหมือนห้วงน้ำลึก มีน้ำปั่นป่วน ไม่มีทางที่น้ำจะไหลมาได้ ทั้งในด้านตะวันออก
ด้านใต้ ด้านตะวันตก ด้านเหนือ ทั้งฝนก็ไม่ตกเพิ่มตามฤดูกาล แต่สายน้ำเย็นพุขึ้นจากห้วง
น้ำนั้นแล้ว จะพึงทำห้วงน้ำนั้นแหละให้ชุ่มชื่นเอิบอาบซาบซึมด้วยน้ำเย็น ไม่มีเอกเทศไหนๆ
แห่งห้วงน้ำนั้นทั้งหมด ที่น้ำเย็นจะไม่พึงถูกต้องฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมทำกายนี้แหละ
ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอ
ทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง แม้ข้อนี้ก็เป็นสมาธิของเธอประการหนึ่ง.
             [๓๒๗] ดูกรมาณพ อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติมีสัมปชัญญะ เสวยสุข
ด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่าผู้ได้ฌานนี้
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เธอทำกายนี้ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยสุขอันปราศจากปีติ
ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัวที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง ดูกรมาณพ เปรียบ
เหมือนในกอบัวขาบ ในกอบัวหลวง หรือในกอบัวขาว ดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง หรือ
ดอกบัวขาว  บางเหล่าซึ่งเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ น้ำหล่อเลี้ยงไว้
ดอกบัวเหล่านั้น ชุ่มชื่นเอิบอาบซาบซึมด้วยน้ำเย็นตลอดยอด ตลอดเหง้า ไม่มีเอกเทศไหนๆ
แห่งดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาวทั่วทุกส่วน ที่น้ำเย็นจะไม่พึงถูกต้อง ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยสุขปราศจากปีติ ไม่มีเอกเทศ
ไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง แม้ข้อนี้ก็เป็นสมาธิของเธอ
ประการหนึ่ง.
             [๓๒๘] ดูกรมาณพ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละ ด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอ
ทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง ดูกรมาณพ เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงนั่งคลุมตัว
ตลอดศีรษะด้วยผ้าขาว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายทุกๆ ส่วนของเขาที่ผ้าขาวจะไม่ถูกต้อง
ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีเอกเทศ
ไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัวที่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง แม้ข้อนี้ก็เป็นสมาธิของเธอ
ประการหนึ่ง.
             ดูกรมาณพ สมาธิขันธ์อันเป็นอริยะนี้แล ที่พระผู้มีพระภาคได้ตรัสสรรเสริญและทรงยัง
ประชุมชนนี้ให้สมาทาน ให้ตั้งอยู่ ให้ดำรงอยู่ อนึ่ง ในพระธรรมวินัยนี้ ยังมีกรณียกิจที่ยิ่งขึ้น
ไปอยู่อีก.
             ส. ข้าแต่ท่านพระอานนท์ น่าอัศจรรย์นัก ไม่เคยมีมาแล้ว สมาธิขันธ์อันเป็นอริยะนี้
บริบูรณ์แล้ว มิใช่ไม่บริบูรณ์ ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นสมาธิขันธ์อันเป็นอริยะของท่านพระอานนท์ ที่
บริบูรณ์แล้วอย่างนี้ในสมณพราหมณ์เหล่าอื่น ภายนอกพระศาสนานี้เลย ข้าแต่ท่านพระอานนท์
ก็สมณพราหมณ์เหล่าอื่น ภายนอกพระศาสนานี้พึงเห็นสมาธิขันธ์อันเป็นอริยะที่บริบูรณ์แล้ว
อย่างนี้ในตน เขาเหล่านั้นจะพึงพอใจด้วยสมาธิขันธ์เพียงเท่านี้ พอแล้วด้วยสมาธิขันธ์เพียง
เท่านี้ว่า เราได้ทำสมาธิขันธ์เสร็จแล้ว สำคัญตนว่า เราได้บรรลุถึงประโยชน์แห่งสามัญคุณ ไม่
มีกรณียกิจอะไรๆ ที่ยิ่งขึ้นไปอีก. แต่ท่านพระอานนท์ก็ยังกล่าวอย่างนี้ว่า อนึ่งในธรรมวินัยนี้ยัง
มีกรณียกิจที่ยิ่งขึ้นไปอยู่อีก.

อริยปัญญาขันธ์

             [๓๒๙] ส. ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ปัญญาขันธ์อันเป็นอริยะที่พระผู้มีพระภาคได้ตรัส
สรรเสริญและยังทรงประชุมชนนี้ ในสมาทาน ให้ตั้งอยู่ ให้ดำรงอยู่นั้น เป็นไฉน.

วิชชา ๘

วิปัสสนาญาณ


             อ. ภิกษุนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อญาณทัสนะ. เธอ
ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายของเรานี้แล มีรูป ประกอบด้วยมหาภูต ๔ เกิดแต่มารดาบิดา เติบโต
ขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสด ไม่เที่ยง ต้องอบ ต้องนวดฟั้น มีอันทำลายและกระจัดกระจายเป็น
ธรรมดา และวิญญาณของเรานี้ก็อาศัยอยู่ในกายนี้ เนื่องอยู่ในกายนี้. ดูกรมาณพ เปรียบเหมือน
แก้วไพฑูรย์อันงามเกิดเองอย่างบริสุทธิ์ แปดเหลี่ยม นายช่างเจียระไนดีแล้ว สุกใส แวววาว
สมส่วนทุกอย่าง มีด้ายเขียวเหลืองแดงขาวหรือนวลร้อยอยู่ในนั้น บุรุษมีจักษุจะพึงหยิบ
แก้วไพฑูรย์นั้นวางไว้ในมือแล้วพิจารณาเห็นว่า แก้วไพฑูรย์นี้งาม เกิดเองอย่างบริสุทธิ์
แปดเหลี่ยม ช่างเจียระไนดีแล้ว สุกใส แวววาว สมส่วนทุกอย่าง มีด้ายเขียวเหลืองแดง
ขาวหรือนวลร้อยอยู่ในแก้วไพฑูรย์นั้น ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว
ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้ม
น้อมจิตไปเพื่อญาณทัสนะ เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายของเรานี้แล มีรูป ประกอบด้วยมหาภูต ๔
เกิดแต่มารดาบิดา เติบโตด้วยข้าวสุกและขนมสด ไม่เที่ยง ต้องอบ ต้องนวดฟั้น มีอันทำลาย
กระจัดกระจายเป็นธรรมดา และวิญญาณของเรานี้ก็อาศัยอยู่ในกายนี้ เนื่องอยู่ในกายนี้
ข้อนี้เป็นปัญญาของเธอประการหนึ่ง.

มโนมยิทธิญาณ

             [๓๓๐] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิตรูปอันเกิดแต่ใจ
คือนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง.
ดูกรมาณพ เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า
นี้หญ้าปล้อง นี้ไส้ หญ้าปล้องอย่างหนึ่ง ไส้อย่างหนึ่ง ก็แต่ไส้ชักออกจากหญ้าปล้องนั่นเอง
อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักดาบออกจากฝัก เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้ดาบ นี้ฝัก
ดาบอย่างหนึ่ง ฝักอย่างหนึ่ง ก็แต่ดาบชักออกจากฝักนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษ
จะพึงชักงูออกจากคราบ เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้งู นี้คราบ งูอย่างหนึ่ง คราบอย่างหนึ่ง
ก็แต่งูชักออกจากคราบนั่นเอง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว
ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ เธอย่อม
โน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิตรูปอันเกิดแต่ใจ คือนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะ
น้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง แม้ข้อนี้ก็เป็นปัญญาของเธอประการหนึ่ง.

อิทธิวิธญาณ

             [๓๓๑] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออิทธิวิธี เธอบรรลุ
อิทธิวิธีหลายประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏ
ก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลง
แม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศ
เหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจ
ทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้. ดูกรมาณพ เปรียบเหมือนช่างหม้อหรือลูกมือของช่างหม้อ
ผู้ฉลาด เมื่อนวดดินดีแล้ว ต้องการภาชนะชนิดใดๆ พึงทำภาชนะชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้
อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนช่างงาหรือลูกมือของช่างงาผู้ฉลาด เมื่อแต่งงาดีแล้ว ต้องการเครื่องงา
ชนิดใดๆ พึงทำเครื่องงาชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้ อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนช่างทองหรือลูกมือ
ของช่างทองผู้ฉลาด เมื่อหลอมทองดีแล้ว ต้องการทองรูปพรรณชนิดใดๆ พึงทำทองรูปพรรณ
ชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส
ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไป
เพื่ออิทธิวิธี เธอบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียว
ก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพงไปได้ ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้
ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไป
ในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้
ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ แม้ข้อนี้ก็เป็นปัญญาของเธอประการหนึ่ง.

ทิพยโสตญาณ

             [๓๓๒] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน
ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อทิพยโสตธาตุ. เธอย่อม
ได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ด้วยทิพยโสตธาตุอัน
บริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์. ดูกรมาณพ เปรียบเหมือนบุรุษเดินทางไกล เขาจะพึงได้ยินเสียง
กลองบ้าง เสียงตะโพนบ้าง เสียงสังข์บ้าง เสียงบัณเฑาะว์บ้าง เสียงเปิงมางบ้าง เขาจะพึง
เข้าใจว่า เสียงกลองดังนี้บ้าง เสียงตะโพนดังนี้บ้าง เสียงสังข์ดังนี้บ้าง เสียงบัณเฑาะว์ดังนี้บ้าง
เสียงเปิงมางดังนี้บ้าง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส
ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไป
เพื่อทิพยโสตธาตุ เธอย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกล
และใกล้ด้วยทิพยโสตธาตุอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์ แม้ข้อนี้ก็เป็นปัญญาของเธอประการ
หนึ่ง.

เจโตปริยญาณ

             [๓๓๓] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อเจโตปริยญาณ.
เธอย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นด้วยใจ คือจิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิต
ปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ
ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจาก
โมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็น
มหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่น
ยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ
ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น.
ดูกรมาณพ เปรียบเหมือนหญิงสาวชายหนุ่มที่ชอบการแต่งตัว เมื่อส่องดูเงาหน้าของตนใน
กระจกอันบริสุทธิ์สะอาด หรือในภาชนะน้ำอันใส หน้ามีไฝ ก็จะพึงรู้ว่าหน้ามีไฝ หรือหน้า
ไม่มีไฝ ก็จะพึงรู้ว่าหน้าไม่มีไฝ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว
ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อม
จิตไปเพื่อเจโตปริยญาณ เธอย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นด้วยใจ คือจิตมีราคะ
ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ
หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจาก
โมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน
จิตเป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต จิตมีจิตอื่น
ยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ
ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น
หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น แม้ข้อนี้ก็เป็นปัญญาของเธอประการหนึ่ง.

ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ

             [๓๓๔] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสสติญาณ.
เธอย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง
สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบ
ชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอด
วิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น
มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนด
อายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น
มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนด
อายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอัน
มากพร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ ดูกรมาณพ เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงจาก
บ้านตนไปบ้านอื่น แล้วจากบ้านนั้นไปยังบ้านอื่นอีก จากบ้านนั้นกลับมาสู่บ้านของตนตามเดิม
เขาจะพึงระลึกได้อย่างนี้ว่า เราได้จากบ้านของเราไปบ้านโน้น ในบ้านนั้น เราได้ยืนอย่างนั้น
ได้นั่งอย่างนั้น ได้พูดอย่างนั้น ได้นิ่งอย่างนั้น เราได้จากบ้านแม้นั้นไปยังบ้านโน้น แม้ในบ้าน
นั้นเราก็ได้ยืนอย่างนั้น ได้นั่งอย่างนั้น ได้พูดอย่างนั้น ได้นิ่งอย่างนั้น แล้วเรากลับจากบ้านนั้น
มาสู่บ้านของตนตามเดิม ดังนี้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว
ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อม
จิตไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสสติญาณ เธอย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้
หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง
สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง
ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมาก
บ้างว่า ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น
เสวยสุขทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้น
แม้ในภพนั้นเราก็มีชื่อนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุข
ทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อม
ระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ แม้ข้อนี้ก็เป็น
ปัญญาของเธอประการหนึ่ง.

จุตูปปาตญาณ

             [๓๓๕] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้จุติและอุปบัติของ
สัตว์ทั้งหลาย เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ ไม่ดี ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณ
ทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วง จักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์
ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า
เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อม
เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต
ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตาย
เพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ ดังนี้ เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ
ไม่ดี ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุ
ของมนุษย์ ย่อมรู้ชัด ซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมด้วยประการฉะนี้ เปรียบเหมือนปราสาทตั้ง
อยู่ ณ ทาง ๓ แพร่ง ท่ามกลางพระนคร บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนปราสาทนั้น จะพึงเห็นหมู่ชน
กำลังเข้าไปสู่เรือนบ้าง กำลังออกจากเรือนบ้าง กำลังสัญจรเป็นแถวอยู่ในถนนบ้าง นั่งอยู่ที่ทาง
๓ แพร่ง ท่ามกลางพระนครบ้าง เขาจะพึงรู้ว่า คนเหล่านี้เข้าสู่เรือน เหล่านี้ออกจากเรือน
เหล่านี้สัญจรเป็นแถวอยู่ในถนน เหล่านี้นั่งอยู่ที่ทาง ๓ แพร่ง ท่ามกลางพระนคร ฉันใด ภิกษุ
ก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่
การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย
เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ ไม่ดี ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี
ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม
ว่า สัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็น
มิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้า
ถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต
ไม่ติเตียนพระอริยะเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตาย
เพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ ดังนี้ เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลัง
อุปบัติ ไม่ดี ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์
ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ แม้ข้อนี้ก็เป็น
ปัญญาของเธอประการหนึ่ง.

อาสวักขยญาณ

             [๓๓๖] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ
ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
เหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้
จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มี
ญาณว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ดูกรมาณพ เปรียบเหมือนสระน้ำบนยอดเขาใสสะอาด ไม่ขุ่นมัว
บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนขอบสระนั้น จะพึงเห็นหอยโข่งและหอยกาบต่างๆ บ้าง ก้อนกรวดและ
ก้อนหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง กำลังว่ายอยู่บ้าง หยุดอยู่บ้าง ในสระน้ำนั้น เขาจะพึงคิดอย่างนี้ว่า
สระน้ำนี้ใสสะอาด ไม่ขุ่นมัว หอยโข่งและหอยกาบต่างๆ บ้าง ก้อนกรวดและก้อนหินบ้าง
ฝูงปลาบ้าง เหล่านี้กำลังว่ายอยู่บ้าง กำลังหยุดอยู่บ้าง ในสระน้ำนั้น ดังนี้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น
แล เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน
ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้ อาสวะ นี้อาสวสมุทัย
นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ
แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติ
สิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
แม้ข้อนี้ก็เป็นปัญญาของเธอประการหนึ่ง.
สุภมาณพแสดงตนเป็นอุบาสก
             [๓๓๗] ดูกรมาณพ ปัญญาขันธ์อันเป็นอริยะนี้แล ที่พระผู้มีพระภาคได้ตรัสสรรเสริญ
และทรงยังประชุมชนนี้ให้สมาทาน ให้ตั้งอยู่ ให้ดำรงอยู่ และในพระธรรมวินัยนี้ มิได้มี
กรณียกิจที่ยิ่งขึ้นไปอีก.
             ส. ข้าแต่ท่านพระอานนท์ น่าอัศจรรย์นัก ไม่เคยมีมาแล้ว ปัญญาขันธ์อันเป็นอริยะนี้
บริบูรณ์แล้ว มิใช่ไม่บริบูรณ์ ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นปัญญาขันธ์อันเป็นอริยะที่บริบูรณ์แล้วอย่างนี้
ในสมณพราหมณ์พวกอื่นภายนอกพระศาสนานี้เลย และในธรรมวินัยนี้ ไม่มีกรณียกิจอะไรที่
ยิ่งขึ้นไปอีก.
             ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ
ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คน
หลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วยคิดว่าผู้มีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ฉันใด พระอานนท์ประกาศ
พระธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ข้าพเจ้านี้ขอถึงท่านพระ-
*โคดม พระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระอานนท์ จงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสก
ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฉะนี้แล.

                                   จบสุภสูตร ที่ ๑๐
                    -----------------------------------------------------
      บันทึกการเข้า
Khun28
Full Member
**


ดูกายเห็นจิต ดูคิดเห็นธรรม
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: RCU2528
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์
กระทู้: 784

« ตอบ #11383 เมื่อ: 19 ธันวาคม 2556, 22:27:35 »

อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 19 ธันวาคม 2556, 13:05:05
วันที่ ๑๐ - ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ไปสักการะ ๔ สังเวชนีย์สถาน


              เนื่องจากผมต้องนำคณะของ พนักงาน PSTC จำนวน ๑๐ ท่านไป ๔ สังเวย์ชนียสถาน และรับปากกับชาวซีมะโด่ง ที่สนใจจะไป อินเดีย ขอเรียนเชิญ แจ้งความประสงค์มาได้เลยครับ

              ออกเดินทางวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ โดย Jet Airway ไปลงที่เมืองโกลกัตต้า แล้วต่อเครื่องบินภายในไปลงที่เมืองคยา

              พักวัดไทยมคธพุทธวิปัสสนา(๓ วัน) วัดไทยสาวัตถีพุทธวิปัสสนา(๑ วัน) ที่เหลือพักโรงแรม

              กลับวันที่ ๒๐ กุมพาภันธ์ ออกจากเมืองคยา โดยสายการบินภายในมาลงที่เมืองโกลกัตต้า และต่อเครื่องบิน Jet Airway จากเมืองโกลกัตต้า มาลงสุวรรณภูมิ เช้ามืดวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์

              ราคา ๒๙,๕๐๐ บาท

              หลักฐานที่ต้องเตรียม คือ รูปถ่าย ขอ VISA อินเดีย ขนาดสองนิ้วภาพสี หลังขาว ๔ ใบ สำเนา PASSPORT สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำนเาทะเบียนบ้าน

               ท่านต้องไปจ่ายสตางค์ และกรอกใบไปอินเดีย กับบริษัท ทับทิมเทศน์ทัวร์ จำกัด ที่หลวงพ่อ ดร.พระมหาสุเทพ   อกิญจโณ ที่สถานีวิทยุยานเกราะ กองพล ม.๒ ถ้าหลวงพ่อไม่อยู่ ก็มีหลวงปู้ปฐมพจน์ อยู่ที่สถานี จะเป็นองค์รับเรื่องแทน เพราะเวลานี้หลวงพ่ออยู่อินเดีย นำคณะญาติโยมไป ๔ สังเวย์ กลับประมาณวันที่ ๒๗ ธันวาคม

               ก็เรียนให้ทราบทั่วกัน โปรแกรมจริงยังไม่ออก เมื่ออกจะมาแจ้งให้ทราบ

               สมัครเร็วได้นั่งที่นั่งด้านหน้า สมัครช้านั่งหลัง มัวรีรอตัดสินใจช้า รถเต็ม รับจำนวน ๖๐ ท่าน

               สวัสดี


ขอบคุณมากครับพี่สิงห์
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #11384 เมื่อ: 20 ธันวาคม 2556, 07:41:39 »

สวัสดียามเช้าครับ ม่านขุน

สบายดีนะครับ ก้าวหน้าในธรรมไปถึงไหนแล้ว นำมาแบ่งปันกันบ้าง กุศลจะเกิด

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #11385 เมื่อ: 20 ธันวาคม 2556, 07:51:44 »



สวัสดียามเช้าครับ ชาวซีมะโด่ง และแขกผู้มาเยือน ที่รักทุกท่าน

เช้านี้ได้สวดมนต์ทำวัตรเช้า นั่งเจริญสติ  เดินจงกรมออกกำลังกาย ได้ทบทวนธรรมที่พระอานนท์สอนสุภมาณพ ได้ฝึกชิกง-โยคะ และรับประทานอาหารเช้า

อย่าลืม !

สรุปธรรมของพระพุทธองค์ ตามที่พระอานนท์ รวบรวมไว้คือ

อริยะศีลขันธ์ หรือ ศีล

อริยะสมาธิขันธ์ หรือ สมาธิ

อริยะปัญญา หรือ ปัญญา

เราในฐานะพุทธศาสนิชนม์ ก็ต้องศึกษา ปฏิบัติให้เกิดผลในการดำรงชีวิตตาม ศีล สมาธิ ปัญญา ในเมื่อมีโอกาสเกิดมาเป็นมนุษย์ในชาตินี้ พบพระพุทธศาสนา ได้ศึกษาแล้ว เหลือเพียงปฏิบัติให้บังเกิดผลกับตัวเราเองเท่านั้น

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #11386 เมื่อ: 20 ธันวาคม 2556, 10:26:09 »

สุภสูตร

                 สูตรนี้ กล่าวถึงเหตุการณ์หนึ่งหลังพุทธปรินิพพาน อรรถกถากล่าวว่า หลังพุทธปรินิพพานประมาณ ๑ เดือน (ก่อนปฐมสังคายนา) พระอานนท์ในเวลานั้น มีพระเจตกะเป็นพระอุปัฏฐาก สุภมาณพ ได้ให้คนใช้ไปนิมนต์พระอานนท์มาฉันอาหารที่บ้านและอยากฟังธรรม ที่ดีที่สุดในฐานะที่พระอานนท์รับใช้พระพุทธองค์มานานย่อมรู้ว่าพระพุทธองค์ให้ธรรมบทใดที่มีคุณค่าที่สุด

                  ดังนั้นพระสูตรนี้ จึงน่าศึกษายิ่ง  ขอเรียนเชิญทุกท่านติดตาม ในอีกแง่หนึ่งที่แปลความโดย คุณอุทัย  บัญเย็น

พระพุทธเจ้าให้อยู่ในธรรมข้อใด

                  (314 - 324) หลังจากพระบามศาสดาเสด็จปรินิพพานไม่นาน พระอานนท์อยู่พำนักที่วัดเชตวัน คราวนั้นหนุ่มสุภะ ได้เรียกหนุ่มผู้รับใช้ให้นำความไปอาราธนาพระอานนท์มาฉันอาหารที่บ้าน เพราะอยากจะฟังธรรมโดยเฉพาะจากพระอานนท์

                   วันรุ่งขึ้น พระอานนท์ ซึ่งมีพระเจตกะเป็นพระติดตามได้ไปที่บ้านของหนุ่มสุภะ เรื่องที่หนุ่มสุภะนมัสการถามมีอยู่ว่า  ในฐานะที่พระคุรเจ้าเป็นพระอุปัฏฐากใกล้ชิดกับพระพุทธองค์มานาน คงทราบดีว่าทรงยกย่องคุณธรรมเรื่องใด และทรงให้คนทั้งหลายตั้งอยู่ในธรรมข้อใดบ้าง  พระอานนท์ตอบว่า ธรรมที่ทรงยกย่องและให้ปฏิบัติคือ ศีล  สมาธิ  ปัญญา

                    ศีล พระอานนท์ชี้ไปที่ จุลศีล  มัชฌิมศีล  และมหาศีล (เหมือนในพรหมชาลสูตร) ซึ่งผู้เข้ามาขอบวชในพระธรรมวินัยนี้ ต้องสมาทาน  สำรวมระวัง ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีลย่อมมีความปลอดภัย เหมือนพระราชาผู้ได้มูรธาภิเษกปราบศัตรูได้ราบคาบแล้ว

                     สมาธิ พระอานนท์กล่าวถึงตั้งแต่การที่ภิกษุมองเห็นรูปแล้วสำรวมระวังตาไม่ให้เกิดรักชังครอบงำจิตใจได้  เมื่อได้ฟังเสียง  ดมกลิ่น  ลิ้มรส  ถูกต้องทางกายและคิดนึกใด ๆ ก็สำรวมระวังเช่นเดียวกัน  การสำรวมอนทรีย์ดังกล่าวนี้ จะทำให้ภิกษุมีแต่สุขอันหมดจดจากกิเลส  ได้ชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย (อินฺทฺริเยสุ  คุตฺตทฺวาโร = อ่านว่า อิน ทริ (ตัว ทฺ ออกครึ่งเสียงควบกับตัว ร ) เย สุ คุต ตัด วา โร (ตัว ฑ ท  ในภาษาบาลีออกเสียงเป็นตัว ด)

                      สำหรับสติสัมปชัญญะและสันโดษ  พระอานนท์กล่าวว่าการที่ภิกษุเป็นผู้รู้สึกตัวในการก้าว  การถอย  การแล  การเหลียว ฯลฯ ในการหลับ ตื่น พูด นั่ง นั่นเรียกว่ามีสติสัมปชัญญะ การที่ภิกษุยินดีพอใจในจีวรและบิณฑบาตเท่าที่จะถือติดตัวไปได้เอง เหมือนนกที่มีแต่ปีกเป็นภาระ เรียกว่าเป็นผู้สันโดษ

                      เมื่อภิกษุมรศีล  มีการสำรวมอินทรีย์ มีสติสัมปชัญญะ มีความสันโดษเช่นนั้นแล้ว  ก็ยินดีพอใจในที่อยู่อันสงัด คือป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ที่โล่ง ล้อมฟาง กลับจากบิณฑบาต ฉันเสร็จแล้วก็นั่งขัดสมาธิตั้งกายตรง  มีสติจดจ่อ ละนิวรณ์ทั้ง ๕ คือ
                      ๑. อภิชฌาโลภะ (โลภะ คือความเพ่งเล็งอยากได้)
                      ๒. พยาปาทปโทสะ (ความประทุษร้าย คือพยาบาท)
                      ๓. ถีนมิทธะ (ความง่วงซึม)
                      ๔. อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่าน)
                      ๕. วิจิกิจฉา (ความสงสัยในกุศลธรรม)
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #11387 เมื่อ: 20 ธันวาคม 2556, 10:39:35 »

จากนิวรณ์ ถึง ปฐมณาน

                  (325) การละนิวรณ์ทั้ง ๕ ได้นั้น พระอานนท์กล่าวแก่สุภมาณพว่า ทำให้เกิดความปราโมทย์ (ปาโมชฺชํ = ความยินดีอย่างอ่อน เป็นความยินดีที่อ่อนกว่าปีติ) เหมือนความยินดีของคนหลุดจากหนี้สิน  คนป่วยหายขาดจากโรค นักโทษที่พ้นจากเรือนจำ ทาสที่ได้ความเป็นไท และคนเดินทางไกลที่พ้นจากทางกันดาร เพราะนิวรณ์ ๕ เหมือนหนี้ เหมือนโรค เหมือนเรือนจำ เหมือนความเป็นทาส และเหมือนทางไกลกันดาร

                  เมื่อได้ความปราโมทย์เพราะละนิวรณ์ ๕ ได้แล้ว ย่อมเกิดปีติ  ปีติทำให้กายสงบ  กายที่สงบแล้วย่อมเป็นสุข  จิตของผู้มีความสุขย่อมตั้งมั่น  สงัดจากกามและอกุศลธรรม  นั่นคือการเข้าสู่ปฐมณาน (ณาน ที่ ๑) ในณานนี้ จิตถูกจรดอยู่กับอารมณ์(วิตก) จิตผูกพันอยู่กับอารมณ์นั้น(วิจาร) เกิดปีติชนิดซาบซ่านไปทั่วกาย (ผรณาปีติ) เกิดความรู้สึกปลอดโปร่งใจ  ไม่มีอะไรบีบคั้นรบกวน (วิเวกสุข) กายของผู้ได้ปฐมณาน พระอานนท์กล่าวว่า มีความสดชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกไม่มีส่วนไหนๆ ของกายที่ปีติและสุขนั้นจะไม่ถูกต้อง  เปรียบเหมือนการโรยผงทำจุณในภาชนะสำริด  ซึ่งเอาน้ำพรหมหมักไว้ก่อน  ตกเย็นก็จะเกิดก้อนจุณซึ่งมียางซึมกลมกลืนอย่างทั่วถึง  ไม่มีไหลซึมออกไปไหนได้ (เป็ยวิธีทำจุณ สำหรับอาบน้ำในสมัยโบราณ)


      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #11388 เมื่อ: 20 ธันวาคม 2556, 10:40:51 »

ทุติยณาน - ตติยณาน - จตุตถณาน

                  (326-328) พระอานนท์กล่าวถึง ทุติยณาน (ณานที่ ๒) ว่า ในณานนี้ จิตจะผ่องใสอยู่ภายใน ผุดขึ้นโดดเด่น (เอโกทิภาวํ) ไม่มีวิตกวิจาร  มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ  ซึ่งเอิบอิ่มซาบซ่านไปทั่วกายทุกส่วน  เปรียบเหมือนห้วงน้ำลึกที่เกิดน้ำพุขึ้นตรงกลาง ไม่มีน้ำจากทิศไหนจะไหลเข้าหาได้  และไม่มีฝนตกลงมาด้วย  แต่น้ำพุจากห้วงน้ำลึกนั้นก็จะทำให้ห้วงน้ำทั้งหมดเย็นชุ่มไปทั่ว  ไม่มีส่วนไหนๆ ของห้วงน้ำจะไม่เย็นเพราะน้ำพุนั้น

                   ตติยณาน (ณานที่ ๓) พระอานนท์กล่าวว่า ผู้เข้าถึงจะมีอุเบกขา  มีสติสัมปชัญญะ  มีความสุขทางกาย  ปีติหายไป  ผู้ได้ณานนี้จึงเป็นผู้มีอุเบกขามีสติ  อยู่เป็นสุข  เป็นสุขทางกายทุกส่วนโดยไม่มีปีติ  เปรียบเหมือนกอบัวที่งอกอยู่ใต้น้ำ  ซึ่งไม่มีส่วนไหนๆ ของกอบัวจะไม่สดชื่นเอิบอิ่มด้วยน้ำเย็น

                   จตุตณาน (ณานที่ ๔) พระอานนท์กล่าวว่า  เป็นณานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีแต่อุเบกขาและสติ  ไม่มีสุขและทุกข์ทั้งกายและใจ  มีแต่ความบริสุทธิ์ผุดผ่องของจิตที่แผ่ไปทั่วกายทุกส่วน  เปรียบเหมือนคนนั่งคลุมตัวด้วยผ้าขาว  ไม่มีส่วนไหนๆ ของกายนั้นที่จะไม่ถูกผ้าขาวห่มคลุม

                   สุภมาณพ ได้ฟังเรื่องสมาธิ ก็กล่าวขึ้นด้วยความพิศวงว่า ไม่เคยได้ยินได้ฟังที่ไหนมาก่อน  โดยเฉพาะจากนอกศาสนานี้ ถ้านักบวชพวกอื่นได้สมาธิถึงขั้นนี้คงจะตื่นเต้นดีใจกันใหญ่  คงจะคิดว่าได้บรรลุธรรมสูงสุดแล้ว  แต่พระอานนท์ยังบอกว่า  ในพระธรรมวินัยนี้ ยังมีการปฏิบัติที่สูงกว่านั้นอีก

      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #11389 เมื่อ: 20 ธันวาคม 2556, 10:42:21 »

ปัญญา คือ วิชชา ๘

                  (329-337) หลังจากแสดงเรื่องศีลและสมาธิแล้ว พระอานนท์กล่าวถึง ปัญญาอันเกิดขึ้นต่อจาก จตุตถณาน (ซึ่งได้แก่ วิชชา ๘ คือ ๑. วิปัสสนาญาณ  ๒. มฌนมยิทธิ  ๓. อิทธิวิธี (หรือ อิทธิวิชา) ๔. ทิพพโสต  ๕. เจโตปริยญาณ  ๖. ปุพเพนิวาสานุสสติ  ๗. ทิพพจักษุ  ๘. อาสวักขยญาณ ) โดยลำดับดังนี้

                   เมื่อภิกษุมีสติตั้งมั่น บริสุทธิ์ผุดผ่อง  ไม่มีกิเลส  ปราศจากอุปกิเลส  และมีจิตนุ่มนวลพร้อมที่จะใช้งาน  มั่นคงไม่หวั่นไหว (เป็นจิตในจตุตถณาน) แล้ว  ก็ย่อมจะน้อมจิตไปได้ (จิตฺตํ อภินีหรติ อภินินฺนาเมติ) เพื่อญาณทัสสนะ(วิปัสนาญาณ) ซึ่งจะเกิดความรู้ัดแจ้งว่า กายประกอบด้วยธาตุ ๔ มีการดำรงอยู่และแตกดับไปเป็นธรรมดา และวิญญาณก็อาศัยอยู่ในกายนี้ (วิญฺญาณํ เอตฺถ สิตํ เอตฺถ ปฏิพทฺธํ) เหมือนคนตาดีมองเห็นเส้นสีต่างๆที่เกิดโดยธรรมชาติในแก้วมณีและแก้วไพทูรย์อันเจียรไนอย่างดี

                   ภิกษุนั้นย่อมน้อมจิตไปได้เพื่อเนรมิตรูปอันเกิดจากใจ (มโนมยิทธิ) คือเนรมิตกายขึ้นอีกกายหนึ่งด้วยใจ  กายนั้นมีอวัยวะและอินทรีย์ครบทุกอย่าง (ไม่ใช่เป็นเพียงภาพมายา) เหมือนดึงไส้ออกจากหญ้าปล้อง เหมือนชักดาบออกจากฝัก เหมือนดึงงูออกจากกล่อง  คือกายที่เนรมิตขึ้นนั้นเกิดจากใจ  แยกออกมาจากกายแท้ๆ ของภิกษุนั้น

                    ภิกษุนั้นย่อมน้อมจิตไปได้เพือ่สำแดงฤทธิ์ (อิทธิวิธี) เช่น ปรากฏตัวก็ได้  หายตัวก็ได้  เดินทะลุกำแพงก็ได้  ดำดินก็ได้ เหาะเหินก็ได้  เหมือนช่างหม้อ  อยากปั้นดินให้เป็นอะไรก็ได้  เหมือนช่างงา ช่างทอง  จะทำงา ทำทองให้เป็นรูปอะไรก็ได้

                     ภิกษุนั้นย่อมน้อมจิตไปได้เพื่อฟังเสียงที่คนธรรมดาไม่ได้ยิน (ทิพพโสต) คือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ทั้งไกลและใกล้เหมือนคนเดินทางไกลที่ได้ยินเสียงกลอง เสีงสังข์เป็นต้น สามารถรู้ได้ว่าเป็นเสียงอะไร

                     ภิกษุนั้นย่อมน้อมจิตไปได้ เพื่อกำหนดรู้ใจ (เจโตปริยญาณ) ของคนอื่น สัตว์อื่น (ปรสตฺนานํ ปรปุคฺคลานํ) ว่าเป็นจิตชนิดใด เช่น จิตมีราคะ โทสะหรือโมหะ จิตหดหู่ ฟุ้งซ่าน  จิตเป็นโลกุตระ  จิตเป็นสมาธิหรือไม่เป็นสมาธิเป็นต้น เหมือนคนส่องดูหน้าตัวเองในกระจกเงาใส หน้ามีไฝไม่มีไฝก็เห็นได้ชัด

                     ภิกษุนั้นย่อมน้อมจิตไปได้เพื่อระลึกชาติก่อนของตน (ปุพเพนิวาสานุสสติ) เป็นสิบชาติร้อยชาติหรือเป็นกัปๆ ว่าเคยเกิดเป็นอะไร  มีชีวิตเป็นอยู่อย่างไรในแต่ละชาติ เหมือนคนระลึกได้ว่าตนเคยออกจากบ้านนี้ไปบ้านโน้นแล้วกลับมาบ้านเดิม ระหว่างนั้นก็ระลึกได้ว่าเคยทำอะไรบ้าง

                     ภิกษุนั้นย่อมน้อมจิตไปได้เพื่อหยั่งรู้การตายและการเกิดของสัตว์ทั้งหลายด้วยตาทิพย์ (ทิพพจักขุ) ซึ่งเป็นไปตามกรรม ว่าใครทำอะไรแล้วตายและเกิดด้วยผลกรรมนั้นอย่างไร  เหมือนคนตาดียืนอยู่บนปราสาทที่ทาง ๔ แพร่ง ย่อมมองเห็นคนทั้งหลายไปไหนมาไหนรอบทิศทาง

                     ภิกษุนั้นย่อมน้อมจิตไปได้เพื่ออาสวักขยญาณ คือรู้ชัดตามความเป็นจริงในอริยสัจ ๔ เมื่อรู้อย่างนั้น  จิตก็พ้นจากอาสวะทั้งหลาย  เมื่อจิตหลุดพ้น  ก็เกิดญาณหยี่งรู้ว่าตนสิ้นทุกข์แล้วโดยสิ้นเชิง (เป็นพระอรหันต์) เหมือนคนตาดีอยู่บนขอบสระ ณ ยอดเขาที่น้ำใส  มองเห็นหอยโข่ง หอยกาบ กรวดหินและปลาปหวกว่ายไปมาได้อย่างชัดเจน

                      สุภมาณพได้ฟังเรื่องปัญญาตามลำดับดังกล่าวนี้  ก็ยอมรับว่า เป็นเรื่องที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังจากนักบวชเหล่าอื่น  และยอมรับว่า ไม่มีอะไรอีกแล้วที่คนเราจะปฏิบัติให้บรรลุได้ยิ่งกว่านี้ เขากล่าวชื่นชมว่า พระอานนท์แสดงธรรมได้แจ่มแจ้ง  ทำให้หมดข้อสงสัยโดยสิ้นเชิง  และประกาศตนเป็นอุบาสกตั้งแต่บัดนั้น

                      (พระสูตรนี้ทำให้เห็นชัดว่า  ศีล  สมาธิ  ปัญญา  ในพระพุทธศาสนา มีขอบเขตอย่างไร และสัมพันธ์กันอย่างไร  โดยเฉพาะสมาธินั้น มีกระบวนการปฏิบัติตั้งแต่เริ่มต้นอย่างไร และปัญญา ก็คิอวิชชา ๘ ซึ่งเกิดจากญาณ  วิปัสสนาญาณเป็นปัญญาอย่างหนึ่งที่เกิดจากญาณ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ญาณทัสสนะ)


                      ข้อน่าสังเกตุ คือขณะนั้น พระอานนท์ ยังไม่ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์  ท่านจึงไม่ได้สอนอย่างผู้รู้ เพียงแต่ท่านรับฟังมาจากสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงสอนเหล่าสาวก เท่านั้น

                  แต่ถือว่าสิ่งที่ท่านสอนนั้น เป็นขั้นตอนของการเจริญ ศีล  สมาธิ  ปัญญา  ที่ถูกต้องตามหลักพุทธศาสนา  ที่เราคนรุ่นปัจจุบัน จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามขั้นตอนนั้น  จึงจะพ้นทุกข์ได้ ไม่มากก็น้อย ขอให้มีศรัทธา วิริยะ สติ และปัญญา
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #11390 เมื่อ: 20 ธันวาคม 2556, 11:03:22 »

อากาศยังหนาวเย็นต่อเนื่อง จากความกดอากาศสูงจากจีนแผ่ลงไปถึงภาคใต้
ภาคใต้ตั้งแต่สุราษฎร์ธานีลงไปมีฝนร้อยละ 40
มีหย่อมความกดอากาศต่ำ 2 จุดในมาเลเซียและอินโดนีเซีย




พยากรณ์อากาศ ประจำวันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม 2556
ลักษณะอากาศทั่วไปเมื่อเวลา 04:00 น.  บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนยังคงแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน และมีความกดอากาศสูงระลอกใหม่จะแผ่เสริมลงมาในช่วงวันที่ 21-22 ธันวาคม 2556 ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยยังคงมีอากาศหนาวเย็นต่อไปอีกจนถึงวันปีใหม่ สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนตกในระยะนี้ ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังแรง ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังไว้ด้วย
 
พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้. 

ภาคเหนือ อากาศหนาวกับมีหมอกบางในตอนเช้า
อุณหภูมิต่ำสุด 9-14 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 21-26 องศาเซลเซียส
สำหรับบริเวณยอดดอย อากาศหนาวจัด และมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 1-3 องศาเซลเซียส ลมเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
 
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  อากาศหนาว
อุณหภูมิต่ำสุด 12-16 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 24-26 องศาเซลเซียส
สำหรับบริเวณยอดภู อากาศหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 3-6 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. 

ภาคกลาง  อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกบางในตอนเช้า
อุณหภูมิต่ำสุด 15-18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-28 องศาเซลเซียส
สำหรับบริเวณเทือกเขา อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 11-15 องศาเซลเซียส
ลมเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. 

ภาคตะวันออก อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า
อุณหภูมิต่ำสุด 18-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-30 องศาเซลเซียส
สำหรับบริเวณเทือกเขา อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-14 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร 

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา : อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า
อุณหภูมิต่ำสุด 19-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-31 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป : มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่
และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดสงขลา ปัตตานี และนราธิวาส

ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร 

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)  มีเมฆเป็นส่วนมากและมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่
ส่วนมากทางตอนล่างของภาค

อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-32 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร 

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า
อุณหภูมิต่ำสุด 18-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-30 องศาเซลเซียส
ลมเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. 
 
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #11391 เมื่อ: 20 ธันวาคม 2556, 12:40:04 »

 
                  ทุกท่านได้ทราบวิธีการ ขั้นตอน ในการทำสมาธิโดยลำดับ จากคำสอนของพระอานนท์ แล้ว

                  ดังนั้น ในการเจริญสติ จนเป็นสมาธิ จะใช้เวลาเพียง สิบ สิบห้านาทีไม่ได้ เพราะใจยังไม่สงบ ยังเอาชนะนิวรณ์ ๕ ไม่ได้เลย  

                   ท่านต้องใช้เวลาในการเจริญสตินานเกินชั่วโมง ( แล้วแต่คน) จนจิตเป็นสมาธิ คือมีอารมณ์เดียว สามารถละนิวรณ์ทั้ง ๕ ได้ จึจะเข่้าปฐมญาณ เป็นอย่างน้อย ในแต่ละครั้งที่ท่านเจริญสติ

                   เมื่อท่านรู้คือ แยกรูปนาม  ออกมาเป็นสติ - ความคิด ได้แล้ว เห็นความเกิดดับในความคิดและสติ ท่านจ้องอยู่กับสติ เกือบ ๒๔ ชั่วโมงในทุกอิริยาบถ และกิจวัตรประจำวัน เป็นส่วนใหญ่ ไม่หลงตนลืมตัว ต้องสร้างสติให้เกิดขึ้นตลอดเวลา

                   ไม่เชื่อท่านลองเจริญสติดู  วิธีไหนก็ได้ถูกหมด จนมีสติเป็นอารมณ์เดียว ละนิวรณ์ได้  ท่านจะรู้ได้ด้วยตัวของท่านเอง

                  ปฐมญาณ  ทุติยญาณ  ตติถญาณ และจตุตถญาณ มันเกิดขึ้นได้จริง ๆ สุดท้ายมันจะเป็น "เอตคตา" จะนานหรือไม่นาน ก็ขึ้นกับแต่ละบุคคล

                  สำหรับปฐมญาณนั้น ท่านจะรู้ได้ว่าตัวท่านจะเบาหวิว (ลอย) เมื่อท่านละนิวรณ์ ๕ ได้  จิตจะนิ่ง

                  และเมือ่ท่านละวิตก  วิจาร  ไม่มีการปรุงแต่ง จิตจะนิ่ง มีสติสัมปชัญญะ นั่นละท่านเข้าทุติยญาณ แล้ว

                  ตติถญาณ นั้น เมื่อท่านเกิดปีติได้ ท่านจะสดชื่นในจิต โปร่ง  โล่ง เบาหวิว แบบไม่เคยได้รับมาก่อนซาบซ่านทั้งตัว ไม่มีการคิดใดๆ เลย มีแต่สุขทั้งกาย ใจยิ่ง และหลังจากนั้น ท่านจะลืมทุกข์ลืมสุข จิตแจ่มใสเกิดวิปัสสนารู้ในธรรมขึ้นมาเอง นั่นคือท่านเข้าจตุตถญาณแล้ว มีอารมภ์เป็นหนึ่ง  จิตจะเกิดรู้ขึ้นมาได้ คือรู้ได้เองในธรรมที่จิตมันยกขึ้นมาพิจารณานั้น

                    ก็พยายามรวบรวมสิ่งที่มันเกิดขึ้นกับเราเอง พอประมาณได้ตามนั้น  ผิดถูก ไม่รู้ เพราะไม่มีครูบาอาจารย์ให้ถาม

                    แต่ผมยังไม่มีปัญญาที่จะบรรลุธรรม ได้นะครับอย่าลืม  ยังเป็นปุถุชนม์คนธรรมดา ที่ต้องฝึก ปฏิบัติอีกมาก ครับ

                    ผมมีเพียง ศรัทธา มีศีล จาคะ วิริยะ  สูตะ สติ ปัญญา ในการดำรงชีวิตที่เหลือ และรู้ในธรรมบ้างพอสมควรเท่านั้น

                    สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #11392 เมื่อ: 20 ธันวาคม 2556, 12:50:27 »

ทัวร์ ๔ สังเวย์ชนีย์


                  ทุกท่านที่มีความประสงค์ จะไปอินเดีย นั้น ท่านต้องตัดสินใจเอง ไปที่สถานีวิทยุยานเกราะ ไปแจ้งความประสงค์เอง อย่ารอผมนะครับ ตัวใครตัวมัน เพราะผมก็เอาตัวไม่รอด กำลังพยายามติดต่อหลวงพ่อ  อยู่ เพราะทราบจาก ดร.กุศล ว่า เมื่อวานฟังรายการวิทยุจากหลวงพ่อ หลวงพ่อบอกมาว่า รับหนึ่งคันรถเท่านั้น  ตอนนี้ญาติโยมจองกันมาเหลือที่นั่งไม่ถึงสิบที่นั่งแล้วครับ

                   ถ้าเป็นดังที่ ดร.กุศล  บอก ผมลำบากแล้วละ แต่ได้ Line ไปหาหลวงพ่อแล้ว ขอไปอีกสิบคน ไม่รู้ว่าจะได้ไปหรือไม่

                   ก็ขอให้ทุกท่านไปที่สถานีวิทยุยานเกราะ พล ม.๒ ถนนเกือกกาย ไปพบหลวงปู่ปฐมพจน์ ที่สถานี ท่านพำนักอยู่ที่ตู้คอนเทนเนอร์

                   ตัวใครตัวมันแล้ว เพราะการไปอินเดีย ญาติโยมท่านเชื่อในตัวหลวงพ่อ  ดังนั้น จึงมีคนจองโดยรีบด่วน ไม่รอตัดสินใจ หรือรอประเมินนั่นประเมินนี้ พอหลวงพ่อเปิด ปุ๊ป ญาติโยมก็จองพรึ่บ หมดทุกครั้งเป็นอย่างนี้  แต่ก็มีการถอนตัวบ้างแต่น้อย พี่สิงห์ ดร.กุศล  จึงเสียบไปแทนที่ได้ เพราะหลวงพ่ออยากให้สองคนนี้ไปอยู่แล้ว  จะได้เป็นตัวช่วยหลวงพ่อ  ที่พึ่งได้ในหลายเรื่อง

                   รีบ ๆ หน่อยครับ  อย่าตัดสินใจนาน จะไป รีบดำเนินการทันที เรื่องอื่นปล่อยวางให้หมด ใช้ได้  ไม่ต้องกังวล  หรือตั้งคำถาม เพราะคนที่ไปนั้น ไม่ตั้งคำถามเลยทั้งสิ้น แล้วแต่หลวงพ่อ ดร.สุเทพ  ท่านจะพาไป เพราะไม่เคยผิดหวังเลย เชื่อใจท่าน  เชื่อศรัทธาในตัวท่าน เป็นพอแล้ว

                   สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #11393 เมื่อ: 20 ธันวาคม 2556, 17:14:55 »


ผมเพียงแค่ มีความรู้สึกตัวมาก เวลาจะเดิน ยืนเดิน นั่งนอน เคลื่อนไหว หยุด จิตมันก็เตือนขึ้นมาให้เราสร้างความรู้สึกตัว แม้กระทั่งหลับ

นอกจากนี้เวลาประสบในสิ่งที่ไม่รัก ไม่ชอบ รู้สึกขัดใจ มันก็รู้เท่าทันในอารมณ์นั้น ผลคือความโลภ  ความโกรธ และความหลง มันก็ถูกระงับไป เพราะมันรู้ความจริงว่า พฤติกรรมของจิตมันต้องเป็นอย่างนั้น ไม่รู้จะโลภ  จะโกรธ และจะหลงอยู่ในความคิดทำไม

สู้กระทำในสิ่งที่ก่่อประโยชน์ ไม่เบียดเบียนใคร ไม่ทำให้ใครเดือดร้อนดีกว่า สุขกว่าแยะ  ยอมๆเขาไปเถียงไปไม่ก่อประโยชน์เพราะคนมีทิฏฐิ เรานิ่งเสียก็จบ  เลยอยู่แบบสบายๆ ไม่เดือดร้อนมากมายอะไร  อย่างไรก็ได้  สุขตามอัตภาพแบบพอเพียง  ระวังตนเองให้ปกติเอาไว้ เป็นพอ

ไม่รู้ว่าโสดาบัน นาคามี  อนาคามี และอรหันต์เป็นอย่างไร เพียงได้รับทราบจากหลวงพ่อคำเขียน เท่านั้น

เพียงแค่นี้ก็สุขสงบ  ไม่ต้องห่วงกังวลอะไร  มันหมดยุคของเราแล้ว  ยังทำงานอยู่เพราะเห็นว่ามันยังมีประโยชน์  ยังทำได้ และเราจะอยู่ได้ในสังคมนี้ ต้องมีเงิน เพราะเราทำทุกอย่างไม่ได้  ไม่มีเงินมันอยู่ไม่ได้  ยกเว้นไปบวช ให้ชาวบ้านเลี้ยง ชาวบ้านเขาก็แบกภาระมากอยู่แล้ว เราอย่าไปเพิ่มภาระให้เขาเลย ไม่ดี

ศีล  สมาธิ  ปัญญา  มันเป็นอย่างนี้เอง ต้องเข้าใจมันด้วยวิปัสสนาปัญญา คือท่องจำไม่ได้

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
pornchaiketlek
มือใหม่หัดเมาท์
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 134

« ตอบ #11394 เมื่อ: 20 ธันวาคม 2556, 21:50:05 »



   พี่สิงห์ครับวันนี้ผมและภรรยาได้ไปยื่นเอกสารและจ่ายเงินเรียบร้อยแล้วครับ. คุยกับเจ้าหน้าที่ชื่ออ๊อฟเป็นคนรับเรื่องบอกว่าสมัครมาเยอะแต่ยังส่งเอกสารและจ่ายเงินไม่มากนักครับ การได้ไปถือตามลำดับเอกสารและจ่ายเงินครับ พีสิงห์และทีมพนักงานยังทันนะครับผมบอกเขาว่าอาจารย์มานพจะพาทีมงานที่บริษัทไปหลายคน เขารู้จักอาจารย์มานพและ ดร.กุศลดีครับ

   ท่านที่จะไปโทรติดต่อเบอร์นี้ได้ครับ. 089-8164887 หรือ085-0559174หรือ02-241-7823 เจ้าหน้าที่จะบอกรายละเอียดเอกสารต้องเตรียมและเงิน ก่อนไปที่วิทยุยานเกาะเกียกกายบางซื่อครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #11395 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2556, 05:45:15 »

สวัสดีครับ คุณโด่ง

ขอบคุณมาก ที่แจ้งรายละเอียดให้ทราบ
วันนี้จะโทรศัพท์ไปคุยกับคุณอ๊อพ
คุณอ๊อพ เป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อ  รับหน้าที่ทำแทนหลวงพ่อเวลาหลวงพ่อไปอินเดีย คุณอ๊อพ ขณะนี้เรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน

ท่านใดที่ต้องการจะไปอินเดีย ๔ สังเวย์ชนี เรียนเชิญครับ

ไม่ต้องตั้งคำถาม  ไม่ต้องลังเลสงสัย ไม่ต้องขอรายละเอียด เพราะมัวช้าจะไม่มีที่ ทุกคนที่ไปกับหลวงพ่อ เพราะศรัทธา และเชื่อมั่นในตัวหลวงพ่อ ดร.พระมหาสุเทพ  อากิญจโณ  ทั้งสิ้น และหลวงพ่อก็ทำหน้าที่ดีที่สุดเท่าที่หลวงพ่อจะพึงกระทำให้ได้

สวัสดียามเช้าครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #11396 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2556, 05:49:51 »

สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง และแขกผู้มาเยือน ที่รักทุกท่าน

ในพรรษาสุดท้ายของพระพุทธองค์
พระองค์ ใช้เวลาเดินทางจากเมืองมคธ ไปเมืองกุสินารา แคว้นมัลละ ถึงหนึ่งปี และไปจำพรรษาที่แคว้นวัชชี นครเวสาลี

ธรรมที่พระพุทธองค์ทรงสอนเป็นส่วนใหญ่คือ

ศีล  สมาธิ  ปัญญา

ตามที่พระอานนท์ได้อธิบายให้ สุภะมาณพ ฟัง

ฉนั้น เราในฐานะอุบาสก  อุบาสิกา ก็ควรที่จะปฏิบัติตามคือ ศีล  สมาธิ ปัญญา

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #11397 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2556, 09:49:14 »

สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง ที่รักทุกท่าน

ผู้ที่จะไปทัวร์ ๔ สังเวชนีย์สถาน อินเดีย ช่วง 10-21 กุมภาพันธ์ ขอให้ติดต่อกับ คุณออฟ  ตามที่คุณโด่ง  ได้ให้เบอร์โทรศัพท์เอาไว้ด่วน และบอกว่าเป็นพรรคพวกอาจารย์ มานพ  กลับดี  คุณออฟ  จะจัดให้ไปรถคันแรก คันที่หลวงพ่อ  เป็นไกด์ทัวร์นำจะได้สะดวก ได้รับคำอธิบายมากขณะเดินทาง

ส่วนคันที่ ๒ นั้นเข้าใจว่า ปลัด ดร.ธีระศักดิ์ หรือพระครูบูรพา  เป็นไกด์ทัวร์ แทนหลวงพ่อ

รีบไปที่สถานีวิทยุยานเกราะ กองพล.ม ๒  ด่วน

โทรศัพท์ ไปจองที่คุณออฟ เบอร์ 0850559174

คณะของ PSTC จะไปจ่ายสตางค์ วันอังคาร

ก็เรียนให้ทราบครับ

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #11398 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2556, 12:26:48 »










      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #11399 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2556, 12:56:55 »

อากาศยังหนาวเย็นและมีลมแรงเช่นเมื่อวานนี้ รวมทั้งฝนตกในภาคใต้ และน่าจะต่อเนื่องถึงปีใหม่นี้
ช่วงเช้ามีหมอก ขับรถต้องระมัดระวัง




ประจำวันที่ 21 ธันวาคม 2556
ลักษณะอากาศทั่วไปเมื่อเวลา 10:00 น.  บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนยังคงแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยมีอากาศหนาวเย็นต่อไปอีก สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนตกในระยะนี้ ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังแรง ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังไว้ด้วย
อนึ่ง ความกดอากาศสูงจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนอย่างต่อเนื่อง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศหนาวเย็นต่อไปจนถึงปีใหม่
 
พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 12:00 วันนี้ ถึง 12:00 วันพรุ่งนี้. 

ภาคเหนือ อากาศหนาวกับมีหมอกบางในตอนเช้า
อุณหภูมิต่ำสุด 9-13 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 23-26 องศาเซลเซียส
สำหรับบริเวณยอดดอย อากาศหนาวจัด และมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 2-6 องศาเซลเซียส
ลมเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
 
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  อากาศหนาวกับมีลมแรง
อุณหภูมิต่ำสุด 10-14 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 24-26 องศาเซลเซียส
สำหรับบริเวณยอดภู อากาศหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 3-8 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
 
ภาคกลาง อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกบางในตอนเช้า
อุณหภูมิต่ำสุด 13-16 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-27 องศาเซลเซียส
สำหรับบริเวณเทือกเขา อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 11-15 องศาเซลเซียส
ลมเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
 
ภาคตะวันออก  อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า
อุณหภูมิต่ำสุด 16-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส
สำหรับบริเวณเทือกเขา อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-14 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
 
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)  ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา : อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า
อุณหภูมิต่ำสุด 18-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-31 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป : มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 30 ของพื้นที่
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร
 
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)  มีเมฆเป็นส่วนมากและมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค
อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร
 
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล  อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า
อุณหภูมิต่ำสุด 17-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-29 องศาเซลเซียส
ลมเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
 
 
      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 454 455 [456] 457 458 ... 681   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><