24 พฤศจิกายน 2567, 07:10:28
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 445 446 [447] 448 449 ... 681   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: คุย กับ คุณมานพ กลับดี อดีตประธานชมรม ๓ สมัย  (อ่าน 3569877 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 21 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #11150 เมื่อ: 29 พฤศจิกายน 2556, 09:59:44 »

อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 29 พฤศจิกายน 2556, 08:40:06
ธรรมะเตือนตนเอง เช้าวันนี้

                   รูปเอย จงอย่าเจ็บ จงอย่าเสื่อมสภาพคงความเป็นหนุ่มเป็นสาวเอาไว้ และจงอย่าตายจากโลกนี้ไปเร็วนัก หรือไม่ตายเลย โอ้อนิจจา เราไม่สามารถสัง หรือบังคับรูปของเราให้เป็นไปตามที่เราปราถนาได้เลย เพราะรูปมันไม่ใช่ตัวตนของเรา มันจึงไม่เชื่อในคำสั่งของเรา มันเป็นธรรมชาติ ที่อิสสระจากคำสั่งเรา มันคงอยู่ของมันด้วยเหตุปัจจัยทางอาหาร และ....... เมื่องบังคับมันไม่ได้ อย่าหลงว่ารูป เป็นตัวตนของเราเลย จะทำความรู้อันนี้ให้แจ้งเสีย

                    เวทนา ความสุขเอย ขอให้ข้าพเจ้าได้รับกับความสุข  อยู่กับความสุชชั่วฟ้าดินสลาย  ความสุขอย่าได้ไปจากจิตฉันเลย โอ้ความทุกข์ จงอย่าเกิดกับข้าเลย ข้าไม่ปราถนาเลยความทุกข์ แต่อนิจจา ความสุข  ความทุกข์ที่เกิดขึ้นกับจิตของเรา มันไม่ฟังเราเลย มันก็ไม่มีตัวตน เราก็สั่งมันไม่ได้ บังคับมันไม่ได้ มันเกิดสุข เกิดทุกข์ ด้วยเหตุปัจจัยทั้งนั้น เราควรที่จะทำความจริงนี้ให้แจ้งในจิต  จงอย่าไปยินดีในสุข หรือไปเกลียดทุกข์เสียเลย มันเป็นธรรมชาติ ไม่แน่นอน จงทำความรู้ในเวทนานี้ให้แจ้งเสีย

                   สัญญา ความจำเอย ข้าไม่อยากจำเรื่องนี้เลยมันมีแต่ทุกข์ จนหายสิ้นไปจากสมองของข้าเสีย  ข้าขอจดจำแต่สิ่งดี ๆ ที่ข้าจะสุขได้เท่านั้น  อนิจจาความจำมันไม่ฟังเราเลย มันอยากจะคิดขึ้นมา มันก็คิด เห็นหน้าคนที่ทำความเดือดร้อนให้เรามันก็เกิดความโมโห โกรธ ทำไมเราเราสั่งการ ลบความจำของเราไม่ได้เลยหนอ หรือเราไม่มีอำนาจสั่งการมัน  มันไม่ใช่ตัวตนของเราเลย  เราเองต่างหากไปหลงว่าเราเป็นเจ้านายมันสั่งมันได้  แท้จริงมันเป็นอารมณ์ธรรมชาติที่มาอาสัยในรูปอยู่เท่านั้น มันเลยบังคับบัญชาไม่ได้  เราอย่าหลงอยู่ในความจำว่ามันเป็นตัวตนของเราเลย  จงทำความจริงอันนี้ให้แจ้งเสีย


                  สังขาร หรือความคิดปรุงแต่งเอย จงอย่าโศก อย่าวิตกกังวลไปในอนาคต ในสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นเลย จงอย่าเสียดายในสิ่งที่ผ่านไปแล้วเลย ทำอย่างไรหนอเราจึงจะสั่งการไม่ให้จิตของเราโลภ โกรธ หลง วิตกกังวล ดีใจ เสียใจ ได้ อนิจจาเราสั่งการความคิดของเราไม่ได้เลย เราไม่ได้เป็นเจ้านายมัน ความคิดไม่ได้เป็นตัวตนของเราเลย  เราเองต่างหากไปหลงว่าความคิดนั้น เป็นตัวตนของเรา  เราจึงมีแต่ทุกข์ตามมาไม่หยุดหย่อน คิดจนปวดหัว คิดๆๆๆๆๆๆ จะเป็นบ้าอยู่แล้ว จงหยุดคิดเสียเถิด เราสั่งมันไม่ได้  มันไม่ใช่ตัวตนของเราจริง ๆ นี่นา เราเองไปหลงไปยึด ไปคิดว่าเป็นตัวตนของเรา จงทำความจริงอันนี้ให้แจ้งในจิตเราเสียเถิด

                   วิญาณเอยของจงอย่ารู้แจ้งในอารมณ์ที่ไม่ยินดี ไม่พอใจเลยที่เมื่อตาเห็นรูป  หูได้ยินเสีย  จมูกได้ดมกลิ่น ลิ้นได้ลิ้มรส กายได้สัมผัสกาย ใจได้นึกคิด จงประสบแต่สิ่งที่เราชอบ เราปราถนาเถิด  อนิจจาเราก็สั่งมันไม่ได้สักที เพราะสั่งมันไม่ได้นี่ละ การรู้แจ้งทางอารมณ์จากอายตนะภายใน อายตนะภายนอก มันจึงเป็นประตูเปิดรับความทุกข์ทั้งสิ้น  ทำไฉนหนอเราจะละมันได้  เราต้องทำให้จิตของเราเห็นแจ้งในธรรมนี้แล้วละ ไม่ควรที่จะไปยินดี พอใจ ในอายตนะ ๑๒ นั้นเลย ปล่อยให้มันเป็นธรรมชาติ ตามเหตุปัจจัยดีกว่า ต้องทำให้แจ้งจริง ๆด้วย

                  สรุป ขันธ์ ๕ อันได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นตัวทุกข์ เราไม่มีตัว ไม่ตน มีแต่ขันธ์ ๕ ที่เป็นตัวทุกข์ เราอย่าหลงไปว่า ขันธ์ ๕ เป็นตัวตนของเราเลย ต้องทำให้แจ้งในความจริงนี้ จึงจะพ้นทุกข์ถาวร

                  เราก็เขียนเตือนตัวเองไป มีคนอ่านก็เฉย ไม่มีคนอ่านก็เฉย เพื่อนฝูงรักใคร่ เขาคิดถึงเรา เขาก็แวะมาดูเอง อ้อไอ้สิงห์ ยังเขียนอยู่ อ้อพี่สิงห์ ยังเขียนอยู่ แสดงว่า มันยังไม่เจ็บ ไม่ป่วย  ยังมีชีวิตอยู่  มันก็เท่านั้นเอง

                  สวัสดี




มื้อเช้าต้องกินอย่างราชา เพราะอยู่โรงแรมทวินโลตัส เลือกได้

                
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #11151 เมื่อ: 29 พฤศจิกายน 2556, 11:47:21 »

สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง และแขกผู้มาเยือน ที่รักทุกท่าน

                ขอให้ทุกท่าน จงทำปัญญาให้แจ้ง เป็นวิชชาในธรรมนี้เถิด เพื่อให้จิตคลายความยินดีในอายตนะ เพราะนั่นละหนทางแห่งการละความยึดมั่นถือมั่นใน รูป-นาม หรือขันธ์ ๕ ที่เราไปหลงยึดว่ามันคือตัวตนของเรา

                และเมื่อรู้แจ้งในธรรม นี้แล้ว ท่านจะเห็นหนทางแห่งการพ้นทุกข์ถาวร เชียวละ

                ขออนุโมทนา

                สวัสดี



สฬายตนวิภังคสูตร (๑๓๗)


            [๖๑๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก
ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว พระผู้มี-
*พระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสฬายตนวิภังค์แก่เธอ
ทั้งหลาย พวกเธอจงฟังสฬายตนวิภังค์นั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ภิกษุ
เหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ
             [๖๑๘] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า พวกเธอพึงทราบอายตนะ
ภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖ หมวดวิญญาณ ๖ หมวดผัสสะ ๖ ความนึก
หน่วงของใจ ๑๘ ทางดำเนินของสัตว์ ๓๖ ใน ๓๖ นั้น พวกเธอจงอาศัยทาง
ดำเนินของสัตว์นี้ ละทางดำเนินของสัตว์นี้ และพึงทราบการตั้งสติ ๓ ประการ
ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่ อันเราเรียกว่า
สารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ยอดเยี่ยมกว่าอาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลาย นี้เป็นอุเทศแห่ง
สฬายตนวิภังค์ ฯ
             [๖๑๙] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายใน ๖ นั่น เราอาศัย
อะไรกล่าวแล้ว ได้แก่อายตนะคือจักษุ อายตนะคือโสต อายตนะคือฆานะ
อายตนะคือชิวหา อายตนะคือกาย อายตนะคือมโน ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบ
อายตนะภายใน ๖ นั่น เราอาศัยอายตนะดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ
             [๖๒๐] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายนอก ๖ นั่น เรา
อาศัยอะไรกล่าวแล้ว ได้แก่อายตนะคือรูป อายตนะคือเสียง อายตนะคือกลิ่น
อายตนะคือรส อายตนะคือโผฏฐัพพะ อายตนะคือธรรมารมณ์ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า
พึงทราบอายตนะภายนอก ๖ นั่น เราอาศัยอายตนะดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ
             [๖๒๑] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดวิญญาณ ๖ นั่น เราอาศัย
อะไรกล่าวแล้ว ได้แก่จักษุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ
กายวิญญาณ มโนวิญญาณ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดวิญญาณ ๖ นั่น
เราอาศัยวิญญาณดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ
             [๖๒๒] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดผัสสะ ๖ นั่น เราอาศัย
อะไรกล่าวแล้ว ได้แก่จักษุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส
มโนสัมผัส ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดผัสสะ ๖ นั่น เราอาศัยสัมผัสดังนี้
กล่าวแล้ว ฯ
             [๖๒๓] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบความนึกหน่วงของใจ ๑๘ นั่น
เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ ใจย่อมนึกหน่วงรูปเป็นที่ตั้ง
แห่งโสมนัส นึกหน่วงรูปเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส นึกหน่วงรูปเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
             เพราะฟังเสียงด้วยโสต ...
             เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ ...
             เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา ...
             เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ...
             เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน ใจย่อมนึกหน่วงธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่ง
โสมนัส นึกหน่วงธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส นึกหน่วงธรรมารมณ์เป็นที่ตั้ง
แห่งอุเบกขา ฉะนี้ เป็นความนึกหน่วงฝ่ายโสมนัส ๖ ฝ่ายโทมนัส ๖ ฝ่าย
อุเบกขา ๖ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบความนึกหน่วงของใจ ๑๘ นั่น เราอาศัย
ความนึกหน่วงดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ
             [๖๒๔] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบทางดำเนินของสัตว์ ๓๖ นั่น
เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ โสมนัสอาศัยเรือน ๖ โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖
โทมนัสอาศัยเรือน ๖ โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ อุเบกขาอาศัยเรือน ๖ อุเบกขา
อาศัยเนกขัมมะ ๖ ฯ
             [๖๒๕] ใน ๓๖ ประการนั้น โสมนัสอาศัยเรือน ๖ เป็นไฉน คือ บุคคล
เมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ
เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ ประกอบด้วยโลกามิส โดยเป็นของอันตนได้เฉพาะ หรือ
หวนระลึกถึงรูปที่เคยได้เฉพาะในก่อน อันล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไป
แล้ว ย่อมเกิดโสมนัสขึ้น โสมนัสเช่นนี้นี่เราเรียกว่า โสมนัสอาศัยเรือน
             บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งเสียงที่รู้ได้ด้วยโสต ...
             บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งกลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ ...
             บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งรสที่รู้ได้ด้วยชิวหา ...
             บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย ...
             บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโน อันน่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ ประกอบด้วยโลกามิส
โดยเป็นของอันตนได้เฉพาะ หรือหวนระลึกถึงธรรมารมณ์ที่เคยได้เฉพาะในก่อน
อันล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว ย่อมเกิดโสมนัสขึ้น โสมนัส
เช่นนี้นี่เราเรียกว่า โสมนัสอาศัยเรือน เหล่านี้โสมนัสอาศัยเรือน ๖ ฯ
             [๖๒๖] ใน ๓๖ ประการนั้น โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ เป็นไฉน คือ
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของรูป
ทั้งหลายนั่นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า รูปในก่อน
และในบัดนี้ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ย่อมเกิด
โสมนัสขึ้น โสมนัสเช่นนี้นี่เราเรียกว่า โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ฯ
             บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ
ของเสียงทั้งหลายนั่นแล ...
             บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ
ของกลิ่นทั้งหลายนั่นแล ...
             บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ
ของรสทั้งหลายนั่นแล ...
             บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ
ของโผฏฐัพพะทั้งหลายนั่นแล ...
             บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ
ของธรรมารมณ์ทั้งหลายนั่นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
ธรรมารมณ์ในก่อนและในบัดนี้ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวน
เป็นธรรมดา ย่อมเกิดโสมนัสขึ้น โสมนัสเช่นนี้นี่เราเรียกว่า โสมนัสอาศัย
เนกขัมมะ เหล่านี้โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ ฯ
             [๖๒๗] ใน ๓๖ ประการนั้น โทมนัสอาศัยเรือน ๖ เป็นไฉน คือ
บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่
น่าชอบใจ เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ ประกอบด้วยโลกามิส โดยเป็นของอันตนไม่ได้
เฉพาะ หรือหวนระลึกถึงรูปที่ไม่เคยได้เฉพาะในก่อน อันล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว
แปรปรวนไปแล้ว ย่อมเกิดโทมนัส โทมนัสเช่นนี้นี่เราเรียกว่า โทมนัสอาศัย
เรือน
             บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งเสียง ...
             บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งกลิ่น ...
             บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งรส ...
             บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งโผฏฐัพพะ ...
             บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโน อันน่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ ประกอบด้วยโลกามิส โดย
เป็นของอันตนไม่ได้เฉพาะ หรือหวนระลึกถึงธรรมารมณ์ที่ไม่เคยได้เฉพาะในก่อน
อันล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว ย่อมเกิดโทมนัส โทมนัสเช่นนี้นี่
เราเรียกว่า โทมนัสอาศัยเรือน เหล่านี้โทมนัสอาศัยเรือน ๖ ฯ
             [๖๒๘] ใน ๓๖ ประการนั้น โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ เป็นไฉน คือ
บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของรูป
ทั้งหลายนั่นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า รูปในก่อน
และในบัดนี้ ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดาแล้ว
ย่อมเข้าไปตั้งความปรารถนาในอนุตตรวิโมกข์ เมื่อเข้าไปตั้งความปรารถนาใน
อนุตตรวิโมกข์ดังนี้ว่า เมื่อไร ตัวเราจึงจักบรรลุอายตนะที่พระอริยะทั้งหลาย
ได้บรรลุอยู่ในบัดนี้เล่า ย่อมเกิดโทมนัสเพราะความปรารถนาเป็นปัจจัยขึ้น โทมนัส
เช่นนี้นี่เราเรียกว่า โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ
             บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ
ของเสียงทั้งหลายนั่นแล ...
             บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ
ของกลิ่นทั้งหลายนั่นแล ...
             บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ
ของรสทั้งหลายนั่นแล ...
             บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ
ของโผฏฐัพพะทั้งหลายนั่นแล ...
             บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ
ของธรรมารมณ์ทั้งหลายนั่นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
ธรรมารมณ์ในก่อนและในบัดนี้ ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวน
เป็นธรรมดาแล้ว ย่อมเข้าไปตั้งความปรารถนาในอนุตตรวิโมกข์ เมื่อเข้าไปตั้งความ
ปรารถนาในอนุตตรวิโมกข์ดังนี้ว่า เมื่อไร ตัวเราจึงจักบรรลุอายตนะที่พระอริยะ
ทั้งหลายได้บรรลุอยู่ในบัดนี้เล่า ย่อมเกิดโทมนัสเพราะความปรารถนาเป็นปัจจัยขึ้น
โทมนัสเช่นนี้นี่เราเรียกว่า โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ เหล่านี้โทมนัสอาศัย
เนกขัมมะ ๖ ฯ
             [๖๒๙] ใน ๓๖ ประการนั้น อุเบกขาอาศัยเรือน ๖ เป็นไฉน คือ เพราะ
เห็นรูปด้วยจักษุ ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้นแก่ปุถุชนคนโง่เขลา ยังไม่ชนะกิเลส ยังไม่
ชนะวิบาก ไม่เห็นโทษ ไม่ได้สดับ เป็นคนหนาแน่น อุเบกขาเช่นนี้นั้น ไม่
ล่วงเลยรูปไปได้ เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่า อุเบกขาอาศัยเรือน
             เพราะฟังเสียงด้วยโสต ...
             เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ ...
             เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา ...
             เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ...
             เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้นแก่ปุถุชนคนโง่เขลา
ยังไม่ชนะกิเลส ยังไม่ชนะวิบาก ไม่เห็นโทษ ไม่ได้สดับ เป็นคนหนาแน่น
อุเบกขาเช่นนี้นั้น ไม่ล่วงเลยธรรมารมณ์ไปได้ เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่า
อุเบกขาอาศัยเรือน เหล่านี้ อุเบกขาอาศัยเรือน ฯ
             [๖๓๐] ใน ๓๖ ประการนั้น อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖ เป็นไฉน คือ
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของรูป
ทั้งหลายนั่นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า รูปในก่อน
และในบัดนี้ ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้น อุเบกขาเช่นนี้นั้น ไม่ล่วงเลยรูปไปได้ เพราะฉะนั้น เราจึง
เรียกว่าอุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ
             บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ
ของเสียงทั้งหลายนั่นแล ...
             บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ
ของกลิ่นทั้งหลายนั่นแล ...
             บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ
ของรสทั้งหลายนั่นแล ...
             บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ
ของโผฏฐัพพะทั้งหลายนั่นแล ...
             บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ
ของธรรมารมณ์ทั้งหลายนั่นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
ธรรมารมณ์ในก่อนและในบัดนี้ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวน
เป็นธรรมดา ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้น อุเบกขาเช่นนี้นั้น ไม่ล่วงเลยธรรมารมณ์ไปได้
เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่า อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ เหล่านี้อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ
๖ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบทางดำเนินของสัตว์ ๓๖ นั่น เราอาศัยทาง
ดำเนินดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ
             [๖๓๑] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ในทางดำเนินของสัตว์ ๓๖ นั้น พวกเธอ
จงอาศัยทางดำเนินของสัตว์นี้ ละทางดำเนินของสัตว์นี้ นั่นเราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใน ๓๖ ประการนั้น พวกเธอจงอาศัย คืออิงโสมนัสอาศัย
เนกขัมมะ ๖ นั้นๆ แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งโสมนัสอาศัยเรือน ๖ นั้นๆ อย่างนี้
ย่อมเป็นอันละโสมนัสนั้นๆ ได้ เป็นอันล่วงโสมนัสนั้นๆ ได้  ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ใน ๓๖ ประการนั้น พวกเธอจงอาศัย คืออิงโทมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆ
แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งโทมนัสอาศัยเรือน ๖ นั้นๆ อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละ
โทมนัสนั้นๆ ได้ เป็นอันล่วงโทมนัสนั้นๆ ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใน ๓๖
ประการนั้น พวกเธอจงอาศัย คืออิงอุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆ แล้วละ
คือล่วงเสียซึ่งอุเบกขาอาศัยเรือน ๖ นั้นๆ อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละอุเบกขานั้นๆ
ได้ เป็นอันล่วงอุเบกขานั้นๆ ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใน ๓๖ ประการนั้น พวกเธอ
จงอาศัย คืออิงโสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆ แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งโทมนัส
อาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆ อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละโทมนัสนั้นๆ ได้ เป็นอันล่วง
โทมนัสนั้นๆ ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใน ๓๖ ประการนั้น พวกเธอจงอาศัย
คืออิงอุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้นๆ แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งโสมนัสอาศัย
เนกขัมมะ ๖ นั้นๆ อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละโสมนัสนั้นๆ ได้ เป็นอันล่วง
โสมนัสนั้นๆ ได้ ฯ
             [๖๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยอารมณ์ต่างๆ
ก็มี อุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่งก็มี
             ก็อุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยอารมณ์ต่างๆ เป็นไฉน คือ อุเบกขา
ที่มีในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ นี้อุเบกขาที่มีความเป็น
ต่างๆ อาศัยอารมณ์ต่างๆ
             ก็อุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่ง เป็นไฉน คือ อุเบกขา
ที่มีอาศัยอากาสานัญจายตนะ อาศัยวิญญาณัญจายตนะ อาศัยอากิญจัญญายตนะ
อาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนะ นี้อุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่ง
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอุเบกขา ๒ อย่าง พวกเธอจงอาศัย คืออิงอุเบกขา
ที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่งนั้น แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งอุเบกขาที่มี
ความเป็นต่างๆ อาศัยอารมณ์ต่างๆ นั้น อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละอุเบกขานี้ได้
เป็นอันล่วงอุเบกขานี้ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงอาศัย คืออิงความเป็นผู้
ไม่มีตัณหา แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็น
หนึ่งนั้น อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละอุเบกขานี้ได้ เป็นอันล่วงอุเบกขานี้ได้ ข้อที่เรา
กล่าวดังนี้ว่า ในทางดำเนินของสัตว์ ๓๖ นั้น พวกเธอจงอาศัยทางดำเนินของ
สัตว์นี้ ละทางดำเนินของสัตว์นี้ นั่นเราอาศัยการละ การล่วง ดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ
             [๖๓๓] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า และพึงทราบการตั้งสติ ๓ ประการที่
พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่ นั่น เราอาศัย
อะไรกล่าวแล้ว ฯ
             [๖๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศาสดาเป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงประโยชน์
เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า นี่เพื่อประโยชน์เกื้อกูล
แก่พวกเธอ นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ เหล่าสาวกของศาสดานั้น ย่อมไม่ฟัง
ด้วยดี ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ และประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น ตถาคตไม่เป็นผู้ชื่นชม ไม่เสวยความชื่นชม และ
ไม่ระคายเคือง ย่อมมีสติสัมปชัญญะอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้ เราเรียกว่าการ
ตั้งสติประการที่ ๑ ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอน
หมู่ ฯ
             [๖๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ศาสดาเป็นผู้อนุเคราะห์
แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า นี่เพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ เหล่าสาวกของศาสดานั้น
บางพวกย่อมไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ และประพฤติหลีกเลี่ยง
คำสอนของศาสดา บางพวกย่อมฟังด้วยดี เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตรับรู้ ไม่ประพฤติ
หลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น ตถาคตไม่เป็นผู้ชื่นชม
ไม่เสวยความชื่นชม ทั้งไม่เป็นผู้ไม่ชื่นชม ไม่เสวยความไม่ชื่นชม เว้นทั้งความ
ชื่นชมและความไม่ชื่นชมทั้งสองอย่างนั้นแล้ว เป็นผู้วางเฉย ย่อมมีสติสัมปชัญญะ
อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้ เราเรียกว่าการตั้งสติประการที่ ๒ ที่พระอริยะเสพ
ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่ ฯ
             [๖๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ศาสดาเป็นผู้อนุเคราะห์
แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า นี่เพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ เหล่าสาวกของศาสดานั้น
ย่อมฟังด้วยดี เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตรับรู้ ไม่ประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น ตถาคตเป็นผู้ชื่นชม เสวยความชื่นชม และไม่
ระคายเคือง ย่อมมีสติสัมปชัญญะอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้ เราเรียกว่าการตั้ง
สติประการที่ ๓ ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่
ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า และพึงทราบการตั้งสติ ๓ ประการที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อ
เสพชื่อว่าเป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่ นั่น เราอาศัยเหตุนี้ กล่าวแล้ว ฯ
             [๖๓๗] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ศาสดานั้นเราเรียกว่า สารถี ฝึกบุรุษที่
ควรฝึก ยอดเยี่ยมกว่าอาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลาย นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ช้างที่ควรฝึก อันอาจารย์ฝึกช้างไสให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปได้ทิศเดียว
เท่านั้น คือ ทิศตะวันออก หรือทิศตะวันตก หรือทิศเหนือ หรือทิศใต้ ม้าที่
ควรฝึก อันอาจารย์ฝึกม้าขับให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปได้ทิศเดียวเหมือนกัน คือ ทิศ
ตะวันออก หรือทิศตะวันตก หรือทิศเหนือ หรือทิศใต้ โคที่ควรฝึก อันอาจารย์
ฝึกโคขับให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปได้ทิศเดียวเหมือนกัน คือ ทิศตะวันออก หรือทิศ
ตะวันตก หรือทิศเหนือ หรือทิศใต้ แต่บุรุษที่ควรฝึก อันตถาคตผู้อรหันตสัมมา
สัมพุทธสอนให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปได้ทั่วทั้ง ๘ ทิศ คือ ผู้ที่มีรูป ย่อมเห็นรูปทั้งหลายได้
นี้ทิศที่ ๑ ผู้ที่มีสัญญาในอรูปภายใน ย่อมเห็นรูปทั้งหลายภายนอกได้ นี้ทิศที่ ๒
ย่อมเป็นผู้น้อมใจว่างามทั้งนั้น นี้ทิศที่ ๓ ย่อมเข้าอากาสานัญจายตนะอยู่ด้วย
ใส่ใจว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่ใส่ใจ
นานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ ๔ ย่อมเข้าวิญญาณัญจายตนะอยู่ด้วย
ใส่ใจว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง
นี้ทิศที่ ๕ ย่อมเข้าอากิญจัญญายตนะอยู่ด้วยใส่ใจว่า ไม่มีสักน้อยหนึ่ง เพราะล่วง
วิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ ๖ ย่อมเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ
อยู่ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ ๗ ย่อมเข้าสัญญา
เวทยิตนิโรธอยู่ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ ๘
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษที่ควรฝึก อันตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธสอนให้วิ่ง
ย่อมวิ่งไปได้ทั่วทั้ง ๘ ทิศดังนี้ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ศาสดานั้นเราเรียกว่าสารถีฝึก
บุรุษที่ควรฝึก ยอดเยี่ยมกว่าอาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลาย นั่นเราอาศัยเหตุดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ


                                    จบ สฬายตนวิภังคสูตร ที่ ๗
                       -----------------------------------------------------
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #11152 เมื่อ: 29 พฤศจิกายน 2556, 12:48:55 »

สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง และแขกผู้มาเยือน ที่รักทุกท่าน

                ธรรมะนี้ เป็นทางสายเอก ความทำปัญญาให้แจ้งเถิด

                ขออนุโมทนา

                สวัสดี


สฬายตนวิภังคสูตร (๑๔๙)



             [๘๒๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถ-
*บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุ
ทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาค
ได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันเนื่องด้วยอายตนะ ๖
มากมายแก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้วพระพุทธเจ้าข้า ฯ
             [๘๒๖] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อ
ไม่รู้ไม่เห็นจักษุ ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นรูป ตามความเป็นจริง เมื่อ
ไม่รู้ไม่เห็นจักษุวิญญาณ ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นจักษุสัมผัส ตามความ
เป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่
ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง ย่อม
กำหนัดในจักษุ กำหนัดในรูป กำหนัดในจักษุวิญญาณ กำหนัดในจักษุสัมผัส
กำหนัดในความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุข
ก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลนั้นกำหนัดนักแล้ว ประ-
*กอบพร้อมแล้ว ลุ่มหลง เล็งเห็นคุณอยู่ ย่อมมีอุปาทานขันธ์ ๕ ถึงความพอกพูน
ต่อไป และเขาจะมีตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจ
ความยินดี อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ เจริญทั่ว จะมีความกระวน-
*กระวายแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว จะมีความเดือดร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจ
เจริญทั่ว จะมีความเร่าร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว เขาย่อมเสวยทุกข์ทาง
กายบ้าง ทุกข์ทางใจบ้าง ฯ
             [๘๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นโสตะ ตามความ
เป็นจริง...
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นฆานะ ตามความเป็นจริง...
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นชิวหา ตามความเป็นจริง...
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นกาย ตามความเป็นจริง...
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นมโน ตามความเป็นจริง เมื่อ
ไม่รู้ไม่เห็นธรรมารมณ์ ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นมโนวิญญาณ ตามความ
เป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นมโนสัมผัส ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นความ
เสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง ย่อมกำหนัดในมโน กำหนัดใน
ธรรมารมณ์ กำหนัดในมโนวิญญาณ กำหนัดในมโนสัมผัส กำหนัดในความ
เสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้น
เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลนั้นกำหนัดนักแล้ว ประกอบพร้อมแล้ว
ลุ่มหลง เล็งเห็นคุณอยู่ ย่อมมีอุปาทานขันธ์ ๕ ถึงความพอกพูนต่อไป และเขา
จะมีตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี อันมี
ความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ เจริญทั่ว จะมีความกระวนกระวายแม้ทางกาย
แม้ทางใจเจริญทั่ว จะมีความเดือดร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว จะมีความ
เร่าร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว เขาย่อมเสวยทุกข์ทางกายบ้าง ทุกข์
ทางใจบ้าง ฯ
             [๘๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุ ตามความ
เป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นรูป ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุวิญญาณ ตาม
ความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุสัมผัส ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นความ
เสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้น
เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง ย่อมไม่กำหนัดในจักษุ ไม่กำหนัด
ในรูป ไม่กำหนัดในจักษุวิญญาณ ไม่กำหนัดในจักษุสัมผัส ไม่กำหนัดในความ
เสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้น
เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดนักแล้ว ไม่ประกอบพร้อม
แล้ว ไม่ลุ่มหลง เล็งเห็นโทษอยู่ ย่อมมีอุปาทานขันธ์ ๕ ถึงความไม่พอกพูน
ต่อไป และเขาจะละตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจ
ความยินดี อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ ได้ จะละความกระวนกระวาย
แม้ทางกาย แม้ทางใจได้ จะละความเดือดร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ จะละ
ความเร่าร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ เขาย่อมเสวยสุขทางกายบ้าง สุขทางใจ
บ้าง บุคคลผู้เป็นเช่นนั้นแล้ว มีความเห็นอันใด ความเห็นอันนั้นย่อมเป็น
สัมมาทิฐิ มีความดำริอันใด ความดำริอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะ มีความ
พยายามอันใด ความพยายามอันนั้นย่อมเป็นสัมมาวายามะ มีความระลึกอันใด
ความระลึกอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสติ มีความตั้งใจอันใด ความตั้งใจอันนั้นย่อม
เป็นสัมมาสมาธิ ส่วนกายกรรม วจีกรรม อาชีวะของเขา ย่อมบริสุทธิ์ดีใน
เบื้องต้นเทียว ด้วยอาการอย่างนี้ เขาชื่อว่ามีอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐถึงความ
เจริญบริบูรณ์ ฯ
             [๘๒๙] เมื่อบุคคลนั้นเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐนี้อยู่อย่างนี้ ชื่อว่า
มีสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗
ถึงความเจริญบริบูรณ์ บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้ คือสมถะและวิปัสสนา
คู่เคียงกันเป็นไป เขาชื่อว่ากำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ละธรรม
ที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง เจริญธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำให้แจ้งธรรม
ที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน มีข้อที่
เรากล่าวไว้ว่า อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แก่อุปาทานขันธ์ คือรูป คือเวทนา คือสัญญา
คือสังขาร คือวิญญาณ เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คืออวิชชา
และภวตัณหา เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คือสมถะ
และวิปัสสนา เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คือ
วิชชาและวิมุตติ เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ
             [๘๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นโสตะ ตามความเป็น
จริง ...
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นฆานะ ตามความเป็นจริง ...
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นชิวหา ตามความเป็นจริง ...
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นกาย ตามความเป็นจริง ...
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นมโน ตามความเป็นจริง เมื่อรู้
เมื่อเห็นธรรมารมณ์ ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นมโนวิญญาณ ตามความ
เป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นมโนสัมผัส ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นความเสวย
อารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะ
มโนสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง ย่อมไม่กำหนัดในมโน ไม่กำหนัดใน
ธรรมารมณ์ ไม่กำหนัดในมโนวิญญาณ ไม่กำหนัดในมโนสัมผัส ไม่กำหนัดใน
ความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่
เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดนัก
แล้ว ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ไม่ลุ่มหลง เล็งเห็นโทษอยู่ ย่อมมีอุปาทานขันธ์ ๕
ถึงความไม่พอกพูนต่อไป และเขาจะละตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่ สหรคตด้วย
ความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ ได้
จะละความกระวนกระวายแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ จะละความเดือดร้อนแม้ทาง
กาย แม้ทางใจได้ จะละความเร่าร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ เขาย่อมเสวย
สุขทางกายบ้าง สุขทางใจบ้าง บุคคลผู้เป็นเช่นนั้นแล้ว มีความเห็นอันใด
ความเห็นอันนั้นย่อมเป็นสัมมาทิฐิ มีความดำริอันใด ความดำริอันนั้นย่อมเป็น
สัมมาสังกัปปะ มีความพยายามอันใด ความพยายามอันนั้นย่อมเป็นสัมมาวายามะ
มีความระลึกอันใด ความระลึกอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสติ มีความตั้งใจอันใด
ความตั้งใจอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสมาธิ ส่วนกายกรรม วจีกรรม อาชีวะของเขา
ย่อมบริสุทธิ์ในเบื้องต้นเทียว ด้วยอาการอย่างนี้ เขาชื่อว่ามีอัฏฐังคิกมรรคอัน
ประเสริฐถึงความเจริญบริบูรณ์ ฯ
             [๘๓๑] เมื่อบุคคลนั้นเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐอยู่อย่างนี้ ชื่อว่า
มีสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗
ถึงความเจริญบริบูรณ์ บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้ คือ สมถะและวิปัสสนา
คู่เคียงกันเป็นไป เขาชื่อว่ากำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ละธรรม
ที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง เจริญธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำให้แจ้งธรรม
ที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน มีข้อที่
เรากล่าวไว้ว่า อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แก่อุปาทานขันธ์คือรูป คือเวทนา คือสัญญา
คือสังขาร คือวิญญาณ เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คืออวิชชา
และภวตัณหา เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คือสมถะ
และวิปัสสนา เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คือ
วิชชาและวิมุตติ เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ

                                          จบ สฬายตนวิภังคสูตร ที่ ๗
                             -----------------------------------------------------

      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #11153 เมื่อ: 29 พฤศจิกายน 2556, 13:16:01 »



นี่คือท้องฟ้า เมฆ  ลมแรง ที่ Nok Air และพี่สิงห์  ต้องเผชิญ เย็นนี้

เช้าที่ผ่านมา ฝนตก แต่ไม่มีลม

แต่บ่ายนี้ฝนตก ลมแรงมาก น้อง ๆ พายุ เชียวละ

ไม่ดีเลย

ตอนนี้ลมพัดเป็นพายุ  ฝนตกหนัก  มองไม่เห็นเลย  Nok Air ลงไม่ได้แน่นอน ถ้าอากาศเป็นอย่างนี้ มองสนามบินไม่เห็น และลมคงพัดทำให้เครื่องบินไม่ตรง Runway

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #11154 เมื่อ: 29 พฤศจิกายน 2556, 13:27:02 »



ภาวนาให้ ฝนมันรีบตกให้หมด  ให้มันผ่านไปโดยเร็ว อีกหนึ่งชั่วโมงครึ่ง Nok Air มาลง จะได้ลงได้

ถ้ามาตอนนี้ลงไม่ได้แน่นอน ลมแรงเป็นพายุ พัดตก Runway แน่นอน

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #11155 เมื่อ: 29 พฤศจิกายน 2556, 15:16:27 »

พี่สิงห์

15.15 น.แล้ว ฝนยังตกและลมแรงอยู่หรือไม่ ??
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #11156 เมื่อ: 29 พฤศจิกายน 2556, 15:30:28 »

อ้างถึง
ข้อความของ เหยง 16 เมื่อ 29 พฤศจิกายน 2556, 15:16:27
พี่สิงห์

15.15 น.แล้ว ฝนยังตกและลมแรงอยู่หรือไม่ ??


ฝนหยุดตก เครื่องบินลงเรียบร้อยแล้ว

ยังคุยกับพนักงาน check in อยู่เลย ที่ผ่านมาโชคดีมาตลอดคือ พอเครื่องจะลง ฝนหยุดตกมาทุกวัน ทุกครั้ง

วันนี้ก็โชคดีครับ

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #11157 เมื่อ: 29 พฤศจิกายน 2556, 15:31:40 »

เดินทางกลับอย่างปลอดภัยครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #11158 เมื่อ: 29 พฤศจิกายน 2556, 17:16:11 »



โชคดี ฝนหยุดตกทำให้เครื่องบินลง และขึ้นได้

พี่สิงห์  ถึงสนามบินดอนเมืองเรียบร้อยแล้ว  ปลอดภัย
      บันทึกการเข้า
khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #11159 เมื่อ: 29 พฤศจิกายน 2556, 20:34:51 »


พี่สิงห์ที่เคารพ,
แล้วตกลงพี่ท่านจะไปงานค่ายของน้องๆมั้ยคะ?



หนิงคลับคล้ายว่าวันนี้วันเกิดพี่กุศล?
จะเข้ามาขอคุณพระ..รักษา คุ้มครอง
ให้พี่กุศลมีความสุข มีความสดชื่น
มีรสนิยมที่ดียิ่งๆ มีอารมณ์ขัน
และมีกำลังไปอินตะระเดีย กะพี่สิงห์
ทุกปี ทุกปี ทุกปี คะ


ลงชื่อ
น้องหนิง(หิ้วกระเป๋าช้างเก๋ไก๋)
      บันทึกการเข้า


khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #11160 เมื่อ: 29 พฤศจิกายน 2556, 20:46:27 »

เก๋จริงคะ!
หนูรับรอง



      บันทึกการเข้า


Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #11161 เมื่อ: 29 พฤศจิกายน 2556, 20:46:46 »



วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน เป็นวันเกิด ดร.กุศล    อิสดุลย์

ขอให้มีสุขภาพแข็งแรง อย่าเจ็บ อย่าจน

ตามคำพระท่านให้พร เวลาใส่บาตรตอนเช้า จากพระมหาอมรินทร์  รองเจ้าอาวาสวัดลาดพร้าว

      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #11162 เมื่อ: 29 พฤศจิกายน 2556, 20:50:51 »

สวัสดีค่ะ คุณน้องหนุ๋งหนิ๋ง ที่รัก

กระเป๋า ที่ ดร.กุศล  เขาถืออยู่นั้น เขาโชว์ ให้คุณแววตา พี่ติ๋ว  ทุกคนชมว่ากระเป๋าสวย จากยิบแซงโบ้เบ้

กระเป๋าเธอของไทย  สวยดี ค่ะ

พี่สิงห์  ลืมไปแล้วว่า มีงานค่ายของหอพัก  ถ้าเธอไม่เตือนก็ลืม  นึกว่าจัดไปแล้วเสียอีก

สวัสดีค่ะ

      บันทึกการเข้า
khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #11163 เมื่อ: 29 พฤศจิกายน 2556, 21:10:54 »


พี่สิงห์อย่าเอ็ดไป จุ๊ๆ
นี่ล่ะกระเป๋าไทยแท้..
พี่กุศลเขาให้หนู.
ไก่ฟ้าตาแวว"แม่ให้น้องได้แม้ะ?"
หนิงต้องบอก"ไม่ได้ค่ะ,ลุงกุศลให้แม่มา ต้องรักษาค่ะ"
หิ้วทีไร แฟนหนิงถามทุกทีคะ"ซื้อเมื่อไหร่ ซื้อมาจากไหน?"
เค้าก็เหล่ๆช้างอยู่เหมือนกัน!!สัตว์โปรดของเค้า

พี่สิงห์,พี่ๆชาวหอให้ของขวัญหนิงสวยๆคะ
ทุกชิ้นเก็บรักษาอย่างดี มีคุณค่าทางจิตใจค่ะ
      บันทึกการเข้า


Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #11164 เมื่อ: 30 พฤศจิกายน 2556, 07:38:50 »

อ้างถึง
ข้อความของ khesorn mueller เมื่อ 29 พฤศจิกายน 2556, 21:10:54

พี่สิงห์อย่าเอ็ดไป จุ๊ๆ
นี่ล่ะกระเป๋าไทยแท้..
พี่กุศลเขาให้หนู.
ไก่ฟ้าตาแวว"แม่ให้น้องได้แม้ะ?"
หนิงต้องบอก"ไม่ได้ค่ะ,ลุงกุศลให้แม่มา ต้องรักษาค่ะ"
หิ้วทีไร แฟนหนิงถามทุกทีคะ"ซื้อเมื่อไหร่ ซื้อมาจากไหน?"
เค้าก็เหล่ๆช้างอยู่เหมือนกัน!!สัตว์โปรดของเค้า

พี่สิงห์,พี่ๆชาวหอให้ของขวัญหนิงสวยๆคะ
ทุกชิ้นเก็บรักษาอย่างดี มีคุณค่าทางจิตใจค่ะ


สวัสดีค่ะ คุณน้องหนุ๋งหนิ๋ง ที่รัก

เดี๋ยวนี้ ดร.กุศล  เขามีหน้าที่ไปเดินช๊อปปิ้งซื้อกระเป๋าสวบ ๆ ราคาถูก ๆ ไปแจก สาว ๆ เช่น พี่ติ๋ว  คุณแววตา เป็นต้น

พี่สิงห์ก็มีกระเป๋าเหมือนกัน เป็นย่ามที่หลวงพ่อให้เมื่อไปอินเดียคราวที่แล้ว ไม่มีอะไรใส่ของ เช่น กล้อง เทปเล ตเสื่อรองนั่ง ... หลวงพ่อก็เลยให้ย่ามมาใส่ของ

ไปญี่ปุ่น พี่พงษ์ศักดิ์  ได้ซื้อกระเป๋า Coach สีส้มให้เอาไว้ใส่ของ แล้วจะถ่ายภาพไปให้ดู

สวัสดีค่ะ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #11165 เมื่อ: 30 พฤศจิกายน 2556, 07:50:28 »

สวัสดียามเช้าครับ ชาวซีมะโด่ง และแขกผู้มาเยือน ที่รักทุกท่าน

วันนี้อยู่บ้าน เช้าตื่นขึ้นมาก็นั่งเจริญสติ  หุงข้าว สวดมนต์ทำวัตรเช้า เดินจงกรมออกกำลังกาย/ฝึกชิกงที่หน้าบ้าน  เดินไปตลาดซอย ๑๘ ไปซื้อกับข้าว เจ็ดโมงพระมาบิณฑบาตร ก็ไส่บาตรพระ และรับประทานอาหารเช้า เป็นแกงมะละกอ กับไข่ต้ม

ล้างจานเสร็จ ก็มานั่งหน้า Computer วันนี้ต้องจัดกระเป๋าเดินทางไปอินเดียให้เรียบร้อย จัดเกือบเสร็จแล้วมาสองวัน เพียงมาทบทวนว่ายังขาดอะไรอยู่เท่านั้น

เพื่อนบ้าน พี่โส ไปกับลูกชายสองคน คือคุณหมอ กับ วิศวกรขุดน้ำมันที่ลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร ไปด้วย ผมจึงสบายใจ

เช้า ๆ ท่านลองเดินจงกรมออกกำลังกายสักสามสิบนาที เดินตั้งแต่มันคิด จนจิตมันเลิกคิด คือเราเอาชนะ นิวรณ์ ๕ ได้ เสร็จแล้ว รำชิกงต่ออีก สิบห้านาที รวมเวลา ๔๕ นาที ท่านจะรู้ได้ทันทีเลยว่ารู้สึกสดชื่อนกระปี้กระเป่า ทังกายและใจ ไม่ปวดเหมือ่นเลย  ลองทำดู ท่านจะรู้ด้วยตัวท่านเอง

ถ้าเราชิกงไม่เป็นก็ทำอย่างไรก้ได้ให้มีการเคลื่อนไหวทุกสัดส่วนของกล้ามเนื้อ อวัยวะ และอย่าลืมหายใจเข้าลึก ๆ หายใจออกลึก ๆ ให้สอดคล้องกับท่ารำ และมีสติอยุ่ที่ลมหายใจเข้า-ออก จนเป็นสมาธิคือไม่คิด มีจิตเป็นอารมณ์เดียว

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #11166 เมื่อ: 30 พฤศจิกายน 2556, 08:36:46 »

ธรรมะ สำหรับสอนตนเอง เช้าวันนี้

ไตรลักษณ์

                ไตรลักษณ์ คือลักษณะสามประการของที่เกิดขึ้นกับสัตว์โลก และทุกสรรพสิ่ง คือ อนิจจัง  ทุกขัง  อนัตตา

                 อนิจจัง คือ ไม่เที่ยง หรือไม่สามารถคงสภาพเดิมอยู่ได้ตลอดไป ทุกสรรพสิ่งบนโลกใบนี้ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงเสมอ โดยเฉพาะ รูป-นาม ของมนุษย์ รูป ไม่สามรรถคงอยู่ตลอดไป เมื่อเกิดมาเป็นทารก โตเป็นเด็ก เป็นหนุ่ม-สาว แก่ลง  เจ็บป่วย และตายในที่สุด กลับไปเป็นมหาธาตุทั้ง ๔ ตามเดิม  รูปอาจจะใช้เวลาในการเปลี่นแปลงนาน  แต่นามนั้น รวดเร็วมาก เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ในเวลารวดเร็วมาก จะดับช้าดับเร็วขึ้นอยู่กับการหลงคิดของท่าน ถ้าท่านรู้สึกตัวมันก็ดับของมันไปทันที  เป็นอยู่อย่างนั้น พระพุทธองค์ถึงสอนให้ท่านมีสติ เพราะเมื่อใดมีสติ นามมันก็ดับไปทันทีเหมือนกัน เพราะจิตคนนั้นรับรู้อารมณได้ทีละอย่างเท่านั้น เมื่อมีสติ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ดับไปชั่วครู่ เมื่อขาดสติ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็มาครอบงำจิตต่อ เป็นอย่างนี้ จนกว่าท่านจะตายจากโลกใบนี้ไป

                 ทุกขัง คือ สัตว์และทุกสรรพสิ่งบนโลกนี้ เมื่อมันไม่สามารถดำรงอยู่อย่างเดิมได้ มันย่อมเปลี่ยนแปลไป การเปลี่ยบแปลไปนี้ ล้วนทำให้เกิดทุกข์ คือความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ วิตกกังวล เสียใจ คร่ำครวณรำพัน........อีกมาก โดยเฉพาะกับมนุษย์  ทุกข์ คือเกิดกับรูป-นาม คือเกิดก็ทุกข์ แก่ก็ทุกข์ เจ็บก็ทุกข์ ตายก็ทุกข์ อยากได้สิ่งไหนเมื่อไม่ได้ก็ทุกข์ใจ ประสบแต่สิ่งไม่รักไม่ชอบก็ทุกข์ใจ พลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก็ทุกข์ใจ

                  อนัตตา คือธรรมชาติทุกสิ่งที่เกิดขึ้นกับรูป-นาม หรือขันธ์ ๕ นั้น ล้วนมีเหตุปัจจัยทั้งสิ้น และเราไม่สามารถที่จะไปบังคับ ไปสั่ง หรือมีอำนาจเหนือมันได้เลยในรูป-นาม นั้น เมื่อเราไม่มีอำนาจเหนือมัน บังคับบัญชามันไม่ได้ เราต้องคิดว่า มันไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริงของเรา มันเป็นเพียงธรรมชาติ เท่านั้น เมื่อเราไม่คิดว่ามันมีตัวตนแล้ว ความยึดมั่นถือมั่นในรูป-นามนั้น มันก็คลายหายไป ความอยาก(ตัณหา) มันก็ไม่เกิด ทุกวันนี้ที่มันมีความยึดมั่นถือมั่น เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย

                   เรามาปฏิบัติธรรม ในเบื้องต้นนั้น เพื่อที่เราจะแยกรูปแยกนามออก ด้วยการเห็นอารมณ์รูป-นาม หรืออย่างน้อย ท่านต้องแยกตัวสติ หรือความรู้สึกตัว ออกจากความคิดของท่านให้ได้ อย่าหลงอยู่ในความคิด เมื่อท่านแยกสติ ความคิดออกจากกันได้  ท่านจะเห็นรูป-นาม และท่านจะเห็นความเป็นไตรลักษณ์ โดยเฉพาะ ท่านจะเห็นความคิด หรืออารมณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ล้วนเกิดขึ้นด้วยมีเหตุ-ปัจจัย  ดำรงอยู่ชั่วครู่ ถ้าท่านไม่คิดหรือกระทำต่อ  จากนั้นมันก็ดับของมันไป แต่ถ้าท่านมีสติเร็วมันก็ดับทันที แต่ถ้าท่านหลงไปคิดกับมัน มันก้จะคงอยู่นานเช่นเดียวกัน

                    นาม อันได้แก่ เวทนา สัญญา  สังขาร วิญญาณ มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป  ตลอดเวลาของมันเป็นอย่างนั้น จนกว่าท่านจะตาย

                   สวัสดี
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #11167 เมื่อ: 30 พฤศจิกายน 2556, 09:55:47 »

ภาคเหนือ ภาคอีสานบางแห่งอากาศจะหนาวเย็นลงเหลือ 16 องศา ถึงวันที่ 3 ธันวาคม
เด็ก และคนชรา ต้องระวังการปรับเปลี่ยนอากาศในครั้งนี้ ผ้าห่มคือสิ่งจำเป็นในการสร้างความอบอุ่น
อาหารรสร้อน เช่น แกงเลียง ผักสะเดา ช่วยเพิ่มความต้านทานในร่างการได้
ภาคใต้ทั้งสองฝั่งยังมีฝนตกชุก คลื่นสูง ลมแรง โดยเฉพาะฝั่งอ่าวไทย

ท่านที่จะเดินทางออกต่างจังหวัดในช่วงปลายเดือนธันวาคม โปรดเตรียมจองที่พัก แต่เนิ่นๆ




พยากรณ์อากาศ ประจำวันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2556
ลักษณะอากาศทั่วไปเมื่อเวลา 04:00 น.  บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนยังคงแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทย และจะแผ่เสริมลงมาอย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่ 3 ธันวาคม 2556 ทำให้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีอากาศหนาวเย็นลง โดยอุณหภูมิจะลดลงอีก 2-4 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง ในขณะที่บางพื้นที่ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา น่าน แพร่ ลำพูน ลำปาง หนองคาย บึงกาฬ เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม และมุกดาหาร จะมีอากาศหนาว โดยมีอุณหภูมิต่ำกว่า 16 องศาเซลเซียส ขอให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากอากาศที่หนาวเย็นลงไว้ด้วย
สำหรับ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้มีกำลังแรง ประกอบกับในช่วงวันที่ 2-3 ธันวาคม 2556 จะมีหย่อมความกดอากาศต่ำจากทะเลจีนใต้ตอนล่างเคลื่อนเข้ามาปกคลุมประเทศมาเลเซีย และภาคใต้ตอนล่าง ทำให้ภาคใต้บริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไปมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระมัดระวังอันตรายและผลกระทบจากฝนตกหนักถึงหนักมาก ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กในอ่าวไทยตอนกลางตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไปควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 30 พฤศจิกายน - 3 ธันวาคม 2556 ไว้ด้วย
 
พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้.

ภาคเหนือ  อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลงอีก 1-2 องศาเซลเซียส และมีลมแรง
โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค

อุณหภูมิต่ำสุด 18-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-31 องศาเซลเซียส
สำหรับบริเวณยอดดอย อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-14 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
 
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  อากาศหนาวทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 14-15 องศาเซลเซียส
ส่วนทางตอนล่างอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-18 องศาเซลเซียส โดยอุณหภูมิจะลดลงอีกเล็กน้อยและมีลมแรง

อุณหภูมิสูงสุด 26-29 องศาเซลเซียส
สำหรับบริเวณยอดภู อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-14 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
 
ภาคกลาง  อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลงอีก 1-2 องศาเซลเซียส และมีลมแรง
อุณหภูมิต่ำสุด 19-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส
สำหรับบริเวณเทือกเขา อากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-22 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
 
ภาคตะวันออก  อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลงอีก 1-2 องศาเซลเซียส และมีลมแรง
อุณหภูมิต่ำสุด 20-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-31 องศาเซลเซียส
สำหรับบริเวณเทือกเขา อากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-22 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร
 
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีเมฆมากกับมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
บริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส
อ่าวไทยตอนบน ตั้งแต่จังหวัดชุมพรขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ
ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
อ่าวไทยตอนล่าง ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ
ความเร็ว 20-45 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2-4 เมตร
 
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)  มีเมฆมากกับมีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดพังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
 
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล  อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลงอีกเล็กน้อย และมีลมแรง
อุณหภูมิต่ำสุด 21-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
 
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #11168 เมื่อ: 30 พฤศจิกายน 2556, 09:56:18 »

พี่สิงห์


วันนี้ ค่ายหอจุฬาฯ จัดงาน นะครับ
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #11169 เมื่อ: 30 พฤศจิกายน 2556, 09:57:30 »

ท้องฟ้าอินเดียววันนี้ปลอดโปร่งดีจัง

พายุสลายไปแล้วครับ



      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #11170 เมื่อ: 30 พฤศจิกายน 2556, 12:08:09 »

งานสาธยายพระไตรปิฎกโลก ครั้งที่ ๙

ร่วมกับชาวพุทธนานาชาติ จาก ๘ ประเทศ

ณ มณฑลพุทธคยา  บริเวณต้นพระศรีมหาโพธิ

แดนตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมืองคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย



วันที่ ๑ ธันวาคม
                    03:30 น. พี่สิงห์ ออกจากบ้านโดยรถ Taxi , Counter check in เปิด 04:20 น.
                    03:30 น. ณ สนามบินสุวรรณภูมิ ชั้น ๔ ประตู ๗  counter R สายการบิน Jet Airways
                    06:50 น. ออกเดินทางสู่สนามบินโกลกัตต้า ประเทศอินเดียเที่ยวบินที่ 9W65
                    07:50 น. (เวลาอินเดีย) ถึงสนามบินโกลกัตต้า
                    08:50 น. นำคณะออกเดินทางไปวัดไทยมคธพุทธวิปัสสนา เมืองคยา รับพิหาร โดยรถปรับอากาศ
                                   รับประทานข้าวเหนียว-หมูทอด ขนม ผลไม้ เป็นอาหารกลางวัน รับประทานบนรถ
                                   แวะห้องน้ำที่มีพระอาทิตย์ส่องสว่างอยู่บนหัว
                    19:30 น. เดินทางถึงวัดไทยมคธพุทธวิปัสสนา เมืองคยา รัฐพิหาร

วันที่ ๒ ธันวาคม
                    06:00 น. รับประทานอาหารเช้าที่ศาลาเอนกประสงค์ วัดไทยมคธพุทธวิปัสสนา
                    09:00 น. ร่วมพิธีแห่พระไตรปิฎก จากวัดไทยมคธฯ ไปต้นพระศรีมหาโพธิ์
                                   (แต่งกายชุดขาว ทุกวัน)
                    10:00 น. เข้าร่วมพิธีเปิด ร่วมกับชาวพุทธนานาชาติ บริเวณมณฑลพิธีใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ และ
                                   สวดสาธยายพระไตรปิฎก
                    11:00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
                    12:30 น. ร่วมพิธีสวดสาธยายพระไตรปิฎก โดยพร้อมเพรียงกัน
                    17:00 น. เดินทางกลับวัดไทยมคธพุทธวิปัสสนา
                    17:30 น. รับประทานอาหารเย็น  พักผ่อนตามอัธยาศัย

วันที่ ๓ - ๑๑ ธันวาคม
                    06:00 น. รับประทานอาหารเช้า
                    07:30 น. ออกเดินทางจากวัดไทยมคธพุทธวิปัสสนาไป มณฑลพิธีใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์
                    08:30 - 10:30 น. สวดสาธยายพระไตรปิฎก
                    10:30 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
                    13:00 - 16:00 น. สวดสาธยายพระไตรปิฎก
                    17:00 น. ออกเดินทางกลับวัดไทยมคธพุทธวิปัสสนา

วันที่ ๑๒ ธันวาคม
                    06:00 น. รับประทานอาหารเช้า
                    07:30 น. ออกเดินทางจากวัดไทยมคธพุทธวิปัสสนาไป มณฑลพิธีใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์
                    08:30 น. ร่วมพิธีปิดการสาธยายพระไตรปิฎก รับใบวุฒิบัตรเกียรติคุณ ของที่ระลึก และถ่ายรูปร่วมกัน
                    10:00 น. ออกเดินทางจากพุทธคยา สู่เมืองโกลกัตต้า รับประทานข้าวเหนียว หมูทอด บนรถ
                    20:00 น. ถึงสนามบินโกลกัตต้า เข้าพักในสนามบิน
                    22:30 น. พร้อมกันในอาคารผู้โดยสารขาออกเพื่อ Check in

วันที่ ๑๓ ธันวาคม
                    01:30 น. ออกเดินทางสู่ สนามบินสุวรรณภูมิ เที่ยวบินที่ 9W66 สายการบิน Jet Airways
                    05:40 น. ถึงสนามบินสุวรรณภูมิ กรุงเทพมหานคร โดยสวัสดิภาพ พร้อมด้วยกุศลเต็มเปี่ยม

      บันทึกการเข้า
lek_adisorn
Hero Cmadong Member
***

ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,595

« ตอบ #11171 เมื่อ: 30 พฤศจิกายน 2556, 15:07:34 »

ขอให้บรรลุดั่งตั้งใจครับ พี่ไม่อยู่เดี๋ยวขอ อนุญาตนำภาพในหนังสือ ที่นี่..พระของประชาชน มานำเสนอครับ
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #11172 เมื่อ: 01 ธันวาคม 2556, 12:01:31 »

พี่สิงห์, พี่กุศล และคณะแสวงธรรม


เดินทางไป-กลับ ด้วยความปลอดภัยครับ
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #11173 เมื่อ: 01 ธันวาคม 2556, 12:03:16 »

เว็ปหอ ล่มเมื่อช่วง 4 โมงเย็นเศษของเมื่อวานนี้

จากการที่มีกลุ่มคนไม่ระบุฝ่าย เข้าไปที่ CAT บางรัก

ทำลายเครื่องไฟและเครื่องสำรองไฟฟ้า จนเสียหาย

เว็ปล่มพร้อมกับระบบอินเตอร์เน็ตไป ต่างประเทศ

เพิ่งใช้การได้สักครู่นี้เอง
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #11174 เมื่อ: 01 ธันวาคม 2556, 21:17:53 »

สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง และแขกผู้มาเยือน ที่รักทุกท่าน

พี่สิงห์ ถึงวัดไทยพุทธวิปัสสนา เมืองคยา รัฐพิหาร อินเดีย
เรียบร้อยแล้ว เมื่อเวลา 18:30 น.
อากาศหนาว 10 องศา

สวัสดี
      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 445 446 [447] 448 449 ... 681   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><