26 พฤศจิกายน 2567, 23:33:17
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 360 361 [362] 363 364 ... 681   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: คุย กับ คุณมานพ กลับดี อดีตประธานชมรม ๓ สมัย  (อ่าน 3582707 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 22 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #9025 เมื่อ: 05 พฤษภาคม 2556, 18:52:49 »

เป็นภาพโรงเรือนหรือโรงงานอะไรครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #9026 เมื่อ: 05 พฤษภาคม 2556, 19:14:31 »



โรงงานผลิตแผ่นพื้น  เสาเข็ม และชิ้นส่วนคอนกรีตหล่อสำเร็จ


สวัสดีครับ คุณน้องเริง ๒๐ ชาวซีมะโด่ง และแขกผู้มาเยือน ที่รักทุกท่าน

              พี่สิงห์ เดินทางมาดูการสร้างโรงงานเพื่อผลิตแผ่นพื้น  เสาเข็ม และชิ้นส่วนคอนกรีตหล่อสำเร็จ ที่สุรินทร์ เพราะได้รับออกแบบเอาไว้ มาเพื่อตอบปัญหา และเร่งสร้างให้เสร็จ  เนื่องจากเขาไม่เคยทำมาก่อนจึงดำเนินการได้ช้า  แต่ก็สวยงาม ทำตามที่ได้ออกแบบเอาไว้  เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่พี่สิงห์  ได้มาแนะนำให้  สอนทั้งอาชีพ  การทำงาน  การบริหาร และการดูแลร่างกาย

               ถือเป็นความสุขเล็กๆ น้อย ๆทางใจที่ได้รับ และทำในสิ่งที่ตนเองอยากกระทำ คือการให้ความรู้แก่คน

               ชาวซีมะโด่งท่านใด มาลงทุนที่สุรินทร์  บอกผมมา  ผมจะให้เขาช่วยเหลือได้

               อากาศที่สุรินทร์แสงแดดจ้า  ร้อน  ฝนไม่ตก  พี่สิงห์ พักอยู่ที่โรงแรมทองธารินทร์

               พรุ่งนี้กลับ กทม. ไปขึ้น Nok Air ที่อุบล Boarding 17:20 น.

               ค่ำนี้ราตรีสวัสดิ์ทุกท่านครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #9027 เมื่อ: 05 พฤษภาคม 2556, 19:30:21 »



อาจารย์ถาวร  โชติชื่น  ก็ไปร่วมกิจกรรมของ สามเณรปลูกปัญญา

น้องสาวคุณวีรยา   บรรจาง   ส่งมาให้ดู
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #9028 เมื่อ: 05 พฤษภาคม 2556, 19:40:50 »

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๙  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑

ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค


๒. สามัญญผลสูตร
-----------------------------------------------------
เรื่องพระเจ้าอชาตศัตรู

 [๑๐๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันขอทูลถามพระผู้มีพระภาคบ้างว่า ศิลปศาสตร์
เป็นอันมากเหล่านี้ คือพลช้าง พลม้า พลรถ พลธนู พนักงานเชิญธง พนักงานจัดขบวนทัพ
พนักงานจัดส่งเสบียง พวกอุคคราชบุตร พลอาสา ขุนพล พลกล้า พลสวมเกราะหนัง
พวกบุตรทาส ช่างทำขนม ช่างกัลบก พนักงานเครื่องสรง พวกพ่อครัว ช่างดอกไม้ ช่างย้อม
ช่างหูก ช่างจักสาน ช่างหม้อ นักคำนวณ นักนับคะแนน หรือศิลปศาสตร์เป็นอันมาก
แม้อย่างอื่นใดที่มีคติเหมือนอย่างนี้ คนเหล่านั้น ย่อมอาศัยผลแห่งศิลปศาสตร์ที่เห็นประจักษ์
เลี้ยงชีพในปัจจุบัน ด้วยผลแห่งศิลปศาสตร์นั้น เขาย่อมบำรุงตน มารดาบิดา บุตรภริยา มิตร
อำมาตย์ ให้เป็นสุขอิ่มหนำสำราญ บำเพ็ญทักษิณาทานอันมีผลอย่างสูง เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี
มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ ในสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ฉันใด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์
อาจบัญญัติสามัญผลที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบัน เหมือนอย่างนั้นได้หรือไม่ พระเจ้าข้า.
             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อาจอยู่ มหาบพิตร แต่ในข้อนี้ อาตมภาพจะขอย้อนถาม
มหาบพิตรก่อน โปรดตรัสตอบตามที่พอพระทัย มหาบพิตรจะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน
สมมติว่า มหาบพิตรพึงมีบุรุษผู้เป็นทาสกรรมกรมีปกติตื่นก่อน นอนทีหลังคอยฟังพระบัญชาว่า
จะโปรดให้ทำอะไร ประพฤติถูกพระทัย กราบทูลไพเราะ คอยเฝ้าสังเกตพระพักตร์ เขาจะมี
ความคิดเห็นอย่างนี้ว่า คติของบุญ วิบากของบุญ น่าอัศจรรย์นัก ไม่เคยมีมา ความจริง
พระเจ้าแผ่นดินมคธพระนามว่าอชาตศัตรู เวเทหีบุตรพระองค์นี้เป็นมนุษย์ แม้เราก็เป็นมนุษย์
แต่พระองค์ท่านทรงเอิบอิ่มพรั่งพร้อมบำเรออยู่ด้วยเบญจกามคุณดุจเทพเจ้า ส่วนเราสิเป็นทาส
รับใช้ของพระองค์ท่าน ต้องตื่นก่อนนอนทีหลัง ต้องคอยฟังพระบัญชาว่าโปรดให้ทำอะไร
ต้องประพฤติให้ถูกพระทัย ต้องกราบทูลไพเราะ ต้องคอยเฝ้าสังเกตพระพักตร์ เราพึงทำบุญ
จะได้เป็นเหมือนพระองค์ท่าน ถ้ากระไร เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกบวช
เป็นบรรพชิต สมัยต่อมา เขาปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต
เมื่อบวชแล้ว เป็นผู้สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจอยู่ สันโดษด้วยความมีเพียงอาหารและ
ผ้าปิดกายเป็นอย่างยิ่ง ยินดียิ่งในความสงัด ถ้าพวกราชบุรุษพึงกราบทูลถึงพฤติการณ์ของเขา
อย่างนี้ว่า ขอเดชะ ขอพระองค์พึงทรงทราบเถิด บุรุษผู้เป็นทาสกรรมของพระองค์ผู้ตื่นก่อน
นอนทีหลัง คอยฟังพระบัญชาว่าจะโปรดให้ทำอะไร ประพฤติถูกพระทัย กราบทูลไพเราะ
คอยเฝ้าสังเกตพระพักตร์อยู่นั้น เขาปลงผมและหนวดนุ่งผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต
เมื่อบวชแล้ว เป็นผู้สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจอยู่ สันโดษด้วยความมีเพียงอาหาร
และผ้าปิดกายเป็นอย่างยิ่ง ยินดียิ่งในความสงัด มหาบพิตรจะพึงตรัสอย่างนี้เทียวหรือว่า เฮ้ย
คนนั้น จงมาสำหรับข้า จงมาเป็นทาสและกรรมกรของข้า จงตื่นก่อนนอนทีหลัง จงคอยฟังบัญชา
ว่าจะให้ทำอะไร ประพฤติให้ถูกใจ พูดไพเราะ คอยเฝ้าสังเกตดูหน้าอีกตามเดิม.
             พระเจ้าอชาตศัตรูทูลว่า จะเป็นเช่นนั้นไม่ได้เลย พระเจ้าข้า อันที่จริงหม่อมฉันเสียอีก
ควรจะไหว้เขา ควรจะลุกรับเขา ควรจะเชื้อเชิญเขาให้นั่ง ควรจะบำรุงเขาด้วยจีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ควรจะจัดการรักษาป้องกันคุ้มครองเขาอย่างเป็นธรรม.
             มหาบพิตร จะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน ถ้าเมื่อเป็นเช่นนั้น สามัญผลที่เห็น
ประจักษ์จะมีหรือไม่?
             ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็นเช่นนั้น สามัญผลที่เห็นประจักษ์มีอยู่อย่างแน่แท้.
             ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบัน ซึ่งอาตมภาพบัญญัติถวาย
มหาบพิตรเป็นข้อแรก.
สันทิฏฐิกสามัญญผลเทศนา
             [๑๐๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์อาจบัญญัติสามัญผลที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบัน
แม้ข้ออื่น ให้เหมือนอย่างนั้นได้หรือไม่?
             อาจอยู่ มหาบพิตร แต่ในข้อนี้ อาตมภาพจะขอย้อนถามมหาบพิตรก่อน โปรดตรัส
ตอบตามที่พอพระทัย มหาบพิตรจะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน สมมติว่า มหาบพิตรพึงมี
บุรุษเป็นชาวนา เป็นคหบดี ซึ่งเสียค่าอากรเพิ่มพูนพระราชทรัพย์อยู่คนหนึ่ง เขาจะมีความคิด
เห็นอย่างนี้ว่า คติของบุญ วิบากของบุญ น่าอัศจรรย์นัก ไม่เคยมีมา ความจริง พระเจ้าแผ่นดิน
มคธพระนามว่าอชาตศัตรู เวเทหีบุตรพระองค์นี้ เป็นมนุษย์ แม้เราก็เป็นมนุษย์ แต่พระองค์
ท่านทรงเอิบอิ่มพรั่งพร้อมบำเรออยู่ด้วยเบญจกามคุณดุจเทพเจ้า ส่วนเราสิเป็นชาวนา เป็นคหบดี
ต้องเสียค่าอากรเพิ่มพูนพระราชทรัพย์ เราพึงทำบุญ จะได้เป็นเหมือนพระองค์ท่าน ถ้ากระไร
เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต สมัยต่อมา เขาละ
กองโภคสมบัติน้อยใหญ่ ละเครือญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์
ออกบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้ว เป็นผู้สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ อยู่สันโดษ
ด้วยความมีเพียงอาหารและผ้าปิดกายเป็นอย่างยิ่ง ยินดียิ่งในความสงัด ถ้าพวกราชบุรุษพึงกราบทูล
พฤติการณ์ของเขาอย่างนี้ว่า ขอเดชะ ขอพระองค์พึงทรงทราบเถิด บุรุษผู้เป็นชาวนา เป็นคฤหบดี
ซึ่งเสียค่าอากรเพิ่มพูนพระราชทรัพย์ของพระองค์อยู่นั้น เขาปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้า
กาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้ว เขาเป็นผู้สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวม
ใจอยู่ สันโดษด้วยความมีเพียงอาหารและผ้าปิดกายเป็นอย่างยิ่ง ยินดียิ่งในความสงัด มหาบพิตร
จะพึงตรัสอย่างนี้เทียว หรือว่า เฮ้ย เจ้าคนนั้น เจ้าจงมา จงเป็นชาวนา เป็นคหบดีเสียค่าอากร
เพิ่มพูนทรัพย์ตามเดิม.
             จะเป็นเช่นนั้นไม่ได้เลย พระเจ้าข้า อันที่จริงหม่อมฉันเสียอีกควรจะไหว้เขา ควรจะลุก
รับเขา ควรจะเชื้อเชิญเขาให้นั่ง ควรจะบำรุงเขาด้วยจีวร บิณฑบาต เสนานะ และคิลาน-
*ปัจจัยเภสัชบริขาร ควรจะจัดการรักษาป้องกันคุ้มครองเขาอย่างเป็นธรรม.
             มหาบพิตร จะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน ถ้าเมื่อเป็นเช่นนั้น สามัญผลที่เห็น
ประจักษ์ จะมีหรือไม่?
             ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็นเช่นนั้น สามัญผลที่เห็นประจักษ์มีอยู่อย่างแน่แท้.
             ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบัน ซึ่งอาตมภาพบัญญัติถวาย
มหาบพิตรเป็นข้อที่สอง.
             [๑๐๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์อาจบัญญัติสามัญผลที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบัน
แม้ข้ออื่น ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์เหล่านี้ได้หรือไม่?
             อาจอยู่ มหาบพิตร ถ้าอย่างนั้น มหาบพิตรจงคอยสดับ จงตั้งพระทัยให้ดี อาตมภาพ
จักแสดง.
             ครั้นพระเจ้าแผ่นดินมคธพระนามว่าอชาตศัตรู เวเทหีบุตร ทูลสนองพระพุทธพจน์แล้ว
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรมหาบพิตร พระตถาคตเสด็จอุบัติในโลกนี้
เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก
เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้
เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม พระตถาคตพระองค์นั้น ทรงทำโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก
มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม ทรงแสดงธรรม งามในเบื้องต้น งามในท่าม
กลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง
คฤหบดี บุตรคฤหบดี หรือผู้เกิดเฉพาะในตระกูลใดตระกูลหนึ่งย่อมฟังธรรมนั้น ครั้นฟังแล้ว ได้
ศรัทธาในพระตถาคต เมื่อได้ศรัทธาแล้ว ย่อมเห็นตระหนักว่า ฆราวาสคับแคบเป็นทางมาแห่งธุลี
บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง การที่บุคคลผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์ให้บริสุทธิ์
โดยส่วนเดียวดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย ถ้ากระไร เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์
ออกบวชเป็นบรรพชิต สมัยต่อมา เขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ ละเครือญาติน้อยใหญ่ ปลงผม
และหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้ว สำรวมระวังในพระปาติ-
*โมกข์อยู่ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษา
อยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรมที่เป็นกุศล มีอาชีพบริสุทธิ์ ถึงพร้อม
ด้วยศีล คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เป็นผู้สันโดษ.
จุลศีล
             [๑๐๓] ดูกรมหาบพิตร อย่างไร ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล.
             ๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางศาตรา
มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ข้อนี้เป็นศีลของ
เธอประการหนึ่ง.
             ๒. เธอละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของที่
เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
             ๓. เธอละกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล
เว้นขาดจากเมถุนอันเป็นกิจของชาวบ้าน แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
             ๔. เธอละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ พูดแต่คำจริง ดำรงคำสัตย์ มีถ้อยคำ
เป็นหลักฐาน ควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลก แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอ ประการหนึ่ง.
             ๕. เธอละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด ฟังจากข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้น
เพื่อให้คนหมู่นี้แตกร้าวกัน หรือฟังจากข้างโน้นแล้วไม่มาบอกข้างนี้ เพื่อให้คนหมู่โน้นแตก
ร้าวกัน สมานคนที่แตกร้าวกันแล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง ชอบคนผู้พร้อม
เพรียงกัน เพลิดเพลินในคนผู้พร้อมเพรียงกัน กล่าวแต่คำที่ทำให้คนพร้อมเพรียงกัน แม้ข้อนี้
ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
             ๖. เธอละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ เพราะหู ชวนให้รัก
จับใจ เป็นของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่ พอใจ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
             ๗. เธอละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำที่เป็นจริง พูดอิง
อรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐาน มีที่อ้าง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์
โดยกาลอันควร แม้ข้อนี้เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
             ๘. เธอเว้นจากการพรากพืชคามและภูตคาม.
             ๙. เธอฉันหนเดียว เว้นการฉันในราตรี งดจากการฉันในเวลาวิกาล.
             ๑๐. เธอเว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรีและดูการเล่น อันเป็นข้าศึกแก่กุศล
             ๑๑. เธอเว้นขาดจากการทัดทรงประดับ และตบแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ ของหอมและ
เครื่องประเทืองผิว อันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว.
             ๑๒. เธอเว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่.
             ๑๓. เธอเว้นขาดจากการรับทองและเงิน.
             ๑๔. เธอเว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ.
             ๑๕. เธอเว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ.
             ๑๖. เธอเว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี.
             ๑๗. เธอเว้นขาดจากการรับทาสีและทาส.
             ๑๘. เธอเว้นขาดจากการรับแพะและแกะ.
             ๑๙. เธอเว้นขาดจากการรับไก่และสุกร.
             ๒๐. เธอเว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา.
             ๒๑. เธอเว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน.
             ๒๒. เธอเว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้.
             ๒๓. เธอเว้นขาดจากการซื้อการขาย.
             ๒๔. เธอเว้นขาดจากการโกงด้วยตราชั่ง การโกงด้วยของปลอม และการโกงด้วยเครื่อง
ตวงวัด.
             ๒๕. เธอเว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง.
             ๒๖. เธอเว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้น และกรรโชก
แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
จบจุลศีล.
มัชฌิมศีล
             [๑๐๔] ๑. ภิกษุเว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์
ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังประกอบการพรากพืชคามและภูตคาม
เห็นปานนี้ คือ พืชเกิดแต่เหง้า พืชเกิดแต่ลำต้น พืชเกิดแต่ผล พืชเกิดแต่ยอด พืชเกิดแต่เมล็ด
เป็นที่ครบห้า แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
             [๑๐๕] ๒. ภิกษุเว้นขาดจากการบริโภคของที่ทำการสะสมไว้ เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์
ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังประกอบการบริโภคของที่ทำการสะสมไว้
เห็นปานนี้ คือ สะสมข้าว สะสมน้ำ สะสมผ้า สะสมยาน สะสมที่นอน สะสมเครื่อง
ประเทืองผิว สะสมของหอม สะสมอามิส แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
             [๑๐๖] ๓. ภิกษุเว้นขาดจากการดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล เช่น อย่างที่สมณ-
*พราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวายดูการเล่นอันเป็น
ข้าศึกแก่กุศล เห็นปานนี้คือ การฟ้อน การขับร้อง การประโคมมหรสพ มีการรำเป็นต้น การเล่า
นิยาย การเล่นปรบมือ การเล่นปลุกผี การเล่นตีกลอง ฉากภาพบ้านเมืองที่สวยงาม การเล่น
ของคนจัณฑาล การเล่นไม้สูง การเล่นหน้าศพ ชนช้าง ชนม้า ชนกระบือ ชนโค ชนแพะ
ชนแกะ ชนไก่ รบนกกระทา รำกระบี่กระบอง มวยชก มวยปล้ำ การรบ การตรวจพล
การจัดกระบวนทัพ กองทัพ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
             [๑๐๗] ๔. ภิกษุเว้นขาดจากการขวนขวายเล่นการพนันอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวาย
เล่นการพนันอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเห็นปานนี้ คือ เล่นหมากรุกแถวละแปดตา แถวละ
สิบตา เล่นหมากเก็บ เล่นดวด เล่นหมากไหว เล่นโยนบ่วง เล่นไม้หึ่ง เล่นกำทาย เล่นสะกา
เล่นเป่าใบไม้ เล่นไถน้อยๆ เล่นหกคะเมน เล่นกังหัน เล่นตวงทราย เล่นรถน้อยๆ เล่น
ธนูน้อยๆ เล่นเขียนทายกัน เล่นทายใจ เล่นเลียนคนพิการ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอ
ประการหนึ่ง.
             [๑๐๘] ๕. ภิกษุเว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ เช่น อย่างที่
สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังนั่งนอนบนที่นั่งที่นอน
อันสูงใหญ่เห็นปานนี้ คือ เตียงมีเท้าเกินประมาณ เตียงมีเท้าทำเป็นรูปสัตว์ร้าย ผ้าโกเชาว์ขนยาว
เครื่องลาดที่ทำด้วยขนแกะวิจิตรด้วยลวดลาย เครื่องลาดที่ทำด้วยขนแกะสีขาว เครื่องลาดที่มี
สัณฐานเป็นช่อดอกไม้ เครื่องลาดที่ยัดนุ่น เครื่องลาดขนแกะวิจิตรด้วยรูปสัตว์ร้ายมีสีหะและ
เสือเป็นต้น เครื่องลาดขนแกะมีขนตั้ง เครื่องลาดขนแกะมีขนข้างเดียว เครื่องลาดทองและ
เงินแกมไหม เครื่องลาดไหมขลิบทองและเงิน เครื่องลาดขนแกะจุนางฟ้อน ๑๖ คน เครื่องลาด
หลังช้าง เครื่องลาดหลังม้า เครื่องลาดในรถ เครื่องลาดที่ทำด้วยหนังสัตว์ชื่ออชินะอันมีขน
อ่อนนุ่ม เครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชะมด เครื่องลาดมีเพดาน เครื่องลาดมีหมอนข้าง
แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
             [๑๐๙] ๖. ภิกษุเว้นขาดจากการประกอบการประดับตกแต่งร่างกายอันเป็นฐานแห่งการ
แต่งตัว เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยัง
ขวนขวายประกอบการประดับตบแต่งร่างกายอันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว เห็นปานนี้ คือ อบตัว
ไคลอวัยวะ อาบน้ำหอม นวด ส่องกระจก แต้มตา ทัดดอกไม้ ประเทืองผิว ผัดหน้า
ทาปาก ประดับข้อมือ สวมเกี้ยว ใช้ไม้เท้า ใช้กลักยา ใช้ดาบ ใช้ขรรค์ ใช้ร่ม สวมรองเท้า
ประดับวิจิตร ติดกรอบหน้า ปักปิ่น ใช้พัดวาลวิชนี นุ่งห่มผ้าขาว นุ่งห่มผ้ามีชาย แม้ข้อนี้
ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
             [๑๑๐] ๗. ภิกษุเว้นขาดจากติรัจฉานกถา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก
ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังประกอบติรัจฉานกถา เห็นปานนี้ คือ พูดเรื่องพระราชา
เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า
เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องนคร
เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับ
ไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อมด้วยประการนั้นๆ
แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
             [๑๑๑] ๘. ภิกษุเว้นขาดจากการกล่าวถ้อยคำแก่งแย่งกัน เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์
ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวายกล่าวถ้อยคำแก่งแย่งกันเห็น
ปานนี้ เช่น ว่าท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึง ท่านรู้จักทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร
ท่านปฏิบัติผิด ข้าพเจ้าปฏิบัติถูกถ้อยคำของข้าพเจ้าเป็นประโยชน์ ของท่านไม่เป็นประโยชน์
คำที่ควรจะกล่าวก่อน ท่านกลับกล่าวภายหลัง คำที่ควรจะกล่าวภายหลัง ท่านกลับกล่าวก่อน
ข้อที่ท่านเคยช่ำชองมาผันแปรไปแล้ว ข้าพเจ้าจับผิดวาทะของท่านได้แล้ว ข้าพเจ้าข่มท่านได้แล้ว
ท่านจงถอนวาทะเสีย มิฉะนั้นจงแก้ไขเสีย ถ้าสามารถ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
             [๑๑๒] ๙. ภิกษุเว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้ เช่นอย่างที่สมณ-
*พราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวายประกอบทูตกรรมและ
การรับใช้เห็นปานนี้ คือ รับเป็นทูตของพระราชา ราชมหาอำมาตย์ กษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี
และกุมารว่า ท่านจงไปในที่นี้ ท่านจงไปในที่โน้น ท่านจงนำเอาสิ่งนี้ไป ท่านจงนำเอาสิ่งนี้
ในที่โน้นมา ดังนี้ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
             [๑๑๓] ๑๐. ภิกษุเว้นขาดจากการพูดหลอกลวง และการพูดเลียบเคียง เช่นอย่างที่
สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังพูดหลอกลวง พูด
เลียบเคียง พูดหว่านล้อม พูดและเล็ม แสวงหาลาภด้วยลาภ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอ
ประการหนึ่ง.
จบมัชฌิมศีล.
มหาศีล
             [๑๑๔] ๑. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่าง
สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย
ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ทายอวัยวะ ทายนิมิต ทายอุปบาต ทำนายฝัน ทำนายลักษณะ
ทำนายหนูกัดผ้า ทำพิธีบูชาไฟ ทำพิธีเบิกแว่นเวียนเทียน ทำพิธีซัดแกลบบูชาไฟ ทำพิธีซัด
รำบูชาไฟ ทำพิธีซัดข้าวสารบูชาไฟ ทำพิธีเติมเนยบูชาไฟ ทำพิธีเติมน้ำมันบูชาไฟ ทำพิธีเสกเป่า
บูชาไฟ ทำพลีกรรมด้วยโลหิต เป็นหมอดูอวัยวะ ดูลักษณะที่บ้าน ดูลักษณะที่นา เป็นหมอ
ปลุกเสก เป็นหมอผี เป็นหมอลงเลขยันต์คุ้มกันบ้านเรือน เป็นหมองู เป็นหมอยาพิษ
เป็นหมอแมลงป่อง เป็นหมอรักษาแผลหนูกัด เป็นหมอทายเสียงนก เป็นหมอทายเสียงกา
เป็นหมอทายอายุ เป็นหมอเสกกันลูกศร เป็นหมอทายเสียงสัตว์ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอ
ประการหนึ่ง.
             [๑๑๕] ๒. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่
สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว เลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย
ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ทายลักษณะแก้วมณี ทายลักษณะผ้า ทายลักษณะไม้พลอง
ทายลักษณะศาตรา ทายลักษณะดาบ ทายลักษณะศร ทายลักษณะธนู ทายลักษณะอาวุธ
ทายลักษณะสตรี ทายลักษณะบุรุษ ทายลักษณะกุมาร ทายลักษณะกุมารี ทายลักษณะทาส
ทายลักษณะทาสี ทายลักษณะช้าง ทายลักษณะม้า ทายลักษณะกระบือ ทายลักษณะโคอุสภะ
ทายลักษณะโค ทายลักษณะแพะ ทายลักษณะแกะ ทายลักษณะไก่ ทายลักษณะนกกระทา
ทายลักษณะวรนุช ทายลักษณะตุ่น ทายลักษณะเต่า ทายลักษณะมฤค แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอ
ประการหนึ่ง.
             [๑๑๖]  ๓. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่
สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย
ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ดูฤกษ์ยาตราทัพว่า พระราชาจักยกออก พระราชาจักไม่ยกออก
พระราชาภายในจักยกเข้าประชิด พระราชาภายนอกจักถอย พระราชาภายนอกจักยกเข้าประชิด
พระราชาภายในจักถอย พระราชาภายในจักมีชัย พระราชาภายนอกจักปราชัย พระราชาภายนอก
จักมีชัย พระราชาภายในจักปราชัย พระราชาองค์นี้จักมีชัย พระราชาองค์นี้จักปราชัย เพราะเหตุ
นี้ๆ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
             [๑๑๗] ๔. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่
สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย
ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ พยากรณ์ว่า จักมีจันทรคราส จักมีสุริยคราส จักมีนักษัตรคราส
ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักเดินถูกทาง ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักเดินผิดทาง ดาวนักษัตรจักเดินถูกทาง
ดาวนักษัตรจักเดินผิดทาง จักมีอุกกาบาต จักมีดาวหาง จักมีแผ่นดินไหว จักมีฟ้าร้อง ดวงจันทร์
ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักขึ้น ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักตก ดวงจันทร์
ดวงอาทิตย์ และดาวนักษัตรจักมัวหมอง ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ และดาวนักษัตรจักกระจ่าง
จันทรคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ สุริยคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ นักษัตรคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้
ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เดินถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เดินผิดทางจักมีผลเป็น
อย่างนี้ ดาวนักษัตรเดินถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดาวนักษัตรเดินผิดทางจักมีผลเป็นอย่างนี้
มีอุกกาบาตจักมีผลเป็นอย่างนี้ มีดาวหางจักมีผลเป็นอย่างนี้ แผ่นดินไหวจักมีผลเป็นอย่างนี้
ฟ้าร้องจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรขึ้นจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์
ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรตกจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรมัวหมอง
จักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรกระจ่างจักมีผลเป็นอย่างนี้ แม้ข้อนี้
ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
             [๑๑๘] ๕. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่
สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย
ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ พยากรณ์ว่า จักมีฝนดี จักมีฝนแล้ง จักมีภิกษาหาได้ง่าย จักมีภิกษา
หาได้ยาก จักมีความเกษม จักมีภัย จักเกิดโรค จักมีความสำราญหาโรคมิได้ หรือนับคะแนน
คำนวณ นับประมวลแต่งกาพย์ โลกายศาสตร์ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
             [๑๑๙] ๖. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่
สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย
ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ให้ฤกษ์อาวาหมงคล ให้ฤกษ์วิวาหมงคล ดูฤกษ์เรียงหมอน ดูฤกษ์
หย่าร้าง ดูฤกษ์เก็บทรัพย์ ดูฤกษ์จ่ายทรัพย์ ดูโชคดี ดูเคราะห์ร้าย ให้ยาผดุงครรภ์ ร่ายมนต์
ให้ลิ้นกระด้าง ร่ายมนต์ให้คางแข็ง ร่ายมนต์ให้มือสั่น ร่ายมนต์ไม่ให้หูได้ยินเสียง เป็นหมอ
ทรงกระจก เป็นหมอทรงหญิงสาว เป็นหมอทรงเจ้า บวงสรวงพระอาทิตย์ บวงสรวงท้าวมหาพรหม
ร่ายมนต์พ่นไฟ ทำพิธีเชิญขวัญ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
             [๑๒๐] ๗. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่
สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วย
ติรัจฉานวิชา เห็นปานนี้ คือ ทำพิธีบนบาน ทำพิธีแก้บน ร่ายมนต์ขับผี สอนมนต์ป้องกัน
บ้านเรือน ทำกะเทยให้กลับเป็นชาย ทำชายให้กลายเป็นกะเทย ทำพิธีปลูกเรือน ทำพิธี
บวงสรวงพื้นที่ พ่นน้ำมนต์ รดน้ำมนต์ ทำพิธีบูชาไฟ ปรุงยาสำรอก ปรุงยาถ่าย ปรุงยา
ถ่ายโทษเบื้องบน ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องล่าง ปรุงยาแก้ปวดศีรษะ หุงน้ำมันหยอดหู ปรุงยาตา
ปรุงยานัตถุ์ ปรุงยาทากัด ปรุงยาทาสมาน ป้ายยาตา ทำการผ่าตัด รักษาเด็ก ใส่ยา ชะแผล
แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
             [๑๒๑] ดูกรมหาบพิตร ภิกษุสมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้ ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เลย
เพราะศีลสังวรนั้นเปรียบเหมือนกษัตริย์ผู้ได้มุรธาภิเษก กำจัดราชศัตรูได้แล้ว ย่อมไม่ประสบภัย
แต่ไหนๆ เพราะราชศัตรูนั้น ดูกรมหาบพิตร ภิกษุก็ฉันนั้น สมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้แล้ว
ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหนๆ เพราะศีลสังวรนั้น ภิกษุสมบูรณ์ด้วยอริยศีลขันธ์นี้ ย่อมได้เสวยสุข
อันปราศจากโทษในภายใน ดูกรมหาบพิตร ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถึง
พร้อมด้วยศีล.
จบมหาศีล.
อินทรียสังวร
             [๑๒๒] ดูกรมหาบพิตร อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย?
ดูกรมหาบพิตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ
เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก
คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ภิกษุฟังเสียงด้วยโสต ... ดมกลิ่นด้วยฆานะ ... ลิ้มรสด้วยชิวหา ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...
รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์
ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่า
รักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุประกอบด้วยอินทรีย์สังวรอันเป็นอริยะ
เช่นนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันไม่ระคนด้วยกิเลสในภายใน ดูกรมหาบพิตร ด้วยประการดังกล่าวมานี้
แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย.
สติสัมปชัญญะ
             [๑๒๓] ดูกรมหาบพิตร อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ? ดูกร
มหาบพิตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการก้าว ในการถอย ในการแล
ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวร ในการฉัน
การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน
การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง ดูกรมหาบพิตร ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ.
สันโดษ
             [๑๒๔] ดูกรมหาบพิตร อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้สันโดษ? ดูกรมหาบพิตร ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง
เธอจะไปทางทิศาภาคใดๆ ก็ถือไปได้เอง ดูกรมหาบพิตร นกมีปีกจะบินไปทางทิศาภาคใดๆ
ก็มีแต่ปีกของตัวเป็นภาระบินไปฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่อง
บริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง เธอจะไปทางทิศาภาคใดๆ ก็ถือไปได้เอง
ดูกรมหาบพิตร ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้สันโดษ.
             [๑๒๕] ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์ อินทรียสังวร สติสัมปชัญญะและสันโดษอัน
เป็นอริยะเช่นนี้แล้ว ย่อมเสพเสนาสนะ อันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ
ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง ในกาลภายหลังภัต เธอกลับจากบิณฑบาตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า เธอละความเพ่งเล็งในโลก มีใจปราศจากความเพ่งเล็งอยู่
ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความเพ่งเล็งได้ ละความประทุษร้ายคือพยาบาท ไม่คิดพยาบาท
มีความกรุณาหวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้ายคือ
พยาบาทได้ ละถีนมิทธะแล้ว เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีความกำหนดหมายอยู่ที่แสงสว่าง
มีสติสัมปชัญญะอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะได้ละอุทธัจจกุกกุจจะแล้ว เป็นผู้ไม่
ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ ณ ภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะได้ ละวิจิกิจฉาแล้ว
เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉา ไม่มีความคลางแคลงในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก
วิจิกิจฉาได้.
อุปมานิวรณ์
             [๑๒๖] ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงกู้หนี้ไปประกอบการงาน การงาน
ของเขาจะพึงสำเร็จผล เขาจะพึงใช้หนี้ที่เป็นต้นทุนเดิมให้หมดสิ้น และทรัพย์ที่เป็นกำไรของเขา
จะพึงมีเหลืออยู่สำหรับเลี้ยงภริยา เขาพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเรากู้หนี้ไปประกอบ
การงาน บัดนี้ การงานของเราสำเร็จผลแล้ว เราได้ใช้หนี้ที่เป็นต้นทุนเดิมให้หมดสิ้นแล้ว และ
ทรัพย์ที่เป็นกำไรของเรายังมีเหลืออยู่สำหรับเลี้ยงภริยา ดังนี้ เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความ
โสมนัส มีความไม่มีหนี้นั้นเป็นเหตุ ฉันใด.
             ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงเป็นผู้มีอาพาธถึงความลำบาก เจ็บหนัก
บริโภคอาหารไม่ได้ และไม่มีกำลังกาย สมัยต่อมา เขาพึงหายจากอาพาธนั้น บริโภคอาหารได้
และมีกำลังกาย เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราเป็นผู้มีอาพาธถึงความลำบาก เจ็บหนัก
บริโภคอาหารไม่ได้ และไม่มีกำลังกาย บัดนี้ เราหายจากอาพาธนั้นแล้ว บริโภคอาหารได้
และมีกำลังกายเป็นปกติ ดังนี้ เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัส มีความไม่มีโรคนั้น
เป็นเหตุ ฉันใด.
             ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงถูกจำอยู่ในเรือนจำ สมัยต่อมา เขาพึงพ้นจาก
เรือนจำนั้นโดยสวัสดีไม่มีภัย ไม่ต้องเสียทรัพย์อะไรๆ เลย เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อน
เราถูกจองจำอยู่ในเรือนจำ บัดนี้ เราพ้นจากเรือนจำนั้นโดยสวัสดีไม่มีภัยแล้ว และเราไม่ต้อง
เสียทรัพย์อะไรๆ เลย ดังนี้ เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัส มีการพ้นจากเรือนจำ
นั้นเป็นเหตุ ฉันใด.
             ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงเป็นทาส ไม่ได้พึ่งตัวเอง พึ่งผู้อื่น ไปไหน
ตามความพอใจไม่ได้ สมัยต่อมา เขาพึงพ้นจากความเป็นทาสนั้น พึ่งตัวเอง ไม่ต้องพึ่งผู้อื่น
เป็นไทยแก่ตัว ไปไหนได้ตามความพอใจ เขาจะพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราเป็นทาส
พึ่งตัวเองไม่ได้ ต้องพึ่งผู้อื่น ไปไหนตามความพอใจไม่ได้ บัดนี้ เราพ้นจากความเป็นทาสนั้น
แล้ว พึ่งตัวเอง ไม่ต้องพึ่งผู้อื่น เป็นไทยแก่ตัว ไปไหนได้ตามความพอใจ ดังนี้ เขาจะพึงได้
ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัส มีความเป็นไทยแก่ตัวนั้นเป็นเหตุ ฉันใด.
             ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษ มีทรัพย์ มีโภคสมบัติ พึงเดินทางไกลกันดาร
หาอาหารได้ยาก มีภัยเฉพาะหน้า สมัยต่อมา เขาพึงข้ามพ้นทางกันดารนั้นได้ บรรลุถึงหมู่บ้าน
อันเกษมปลอดภัยโดยสวัสดี เขาจะพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเรามีทรัพย์ มีโภคสมบัติ
เดินทางไกลกันดาร หาอาหารได้ยาก มีภัยเฉพาะหน้า บัดนี้ เราข้ามพ้นทางกันดารนั้น
บรรลุถึงหมู่บ้านอันเกษม ปลอดภัยโดยสวัสดีแล้ว ดังนี้ เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความ
โสมนัส มีภูมิสถานอันเกษมนั้นเป็นเหตุ ฉันใด.
             ดูกรมหาบพิตร ภิกษุพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ประการเหล่านี้ที่ยังละไม่ได้ในตนเหมือนหนี้
เหมือนโรค เหมือนเรือนจำ เหมือนความเป็นทาส เหมือนทางไกลกันดาร และเธอพิจารณา
เห็นนิวรณ์ ๕ ประการที่ละได้แล้วในตน เหมือนความไม่มีหนี้ เหมือนความไม่มีโรค เหมือน
การพ้นจากเรือนจำ เหมือนความเป็นไทยแก่ตน เหมือนภูมิสถานอันเกษม ฉันนั้นแล.
รูปฌาน ๔
             [๑๒๗] เมื่อเธอพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ ที่ละได้แล้วในตน ย่อมเกิดปราโมทย์
เมื่อปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปีติ เมื่อมีปีติในใจ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้วย่อมได้เสวยสุข
เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น. เธอสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร
มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่
วิเวก ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง
ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนพนักงานสรงสนาน หรือลูกมือพนักงานสรงสนานผู้ฉลาด
จะพึงใส่จุรณสีตัวลงในภาชนะสำริด แล้วพรมด้วยน้ำ หมักไว้ ตกเวลาเย็นก้อนจุรณสีตัวซึ่งยาง
ซึมไปจับติดกันทั่วทั้งหมด ย่อมไม่กระจายออก ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ทำกายนี้แหละให้
ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว
ที่ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า
ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.
             [๑๒๘] ดูกรมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิต
ในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตก วิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุข
เกิดแต่สมาธิอยู่ เธอทำกายนี้แหละ ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่าน ด้วยปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ
ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง. ดูกร
มหาบพิตร เปรียบเหมือนห้วงน้ำลึกมีน้ำปั่นป่วน ไม่มีทางที่น้ำจะไหลมาได้ ทั้งในด้านตะวันออก
ด้านใต้ ด้านตะวันตก ด้านเหนือ  ทั้งฝนก็ไม่ตกเพิ่มตามฤดูกาล แต่สายน้ำเย็นพุขึ้นจากห้วง
น้ำนั้นแล้ว จะพึงทำห้วงน้ำนั้นแหละให้ชุ่มชื่นเอิบอาบซาบซึมด้วยน้ำเย็น ไม่มีเอกเทศไหนๆ
แห่งห้วงน้ำนั้นทั้งหมด ที่น้ำเย็นจะไม่พึงถูกต้องฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมทำกายนี้แหละ
ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอ
ทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์
ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.
             [๑๒๙] ดูกรมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุข
ด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่าผู้ได้ฌานนี้
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เธอทำกายนี้ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยสุขอันปราศจากปีติ
ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัวที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง ดูกรมหาบพิตร
เปรียบเหมือนในกอบัวขาบ ในกอบัวหลวง หรือในกอบัวขาว ดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง
หรือดอกบัวขาว บางเหล่าซึ่งเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ น้ำหล่อเลี้ยงไว้
ดอกบัวเหล่านั้น ชุ่มชื่นเอิบอาบซาบซึมด้วยน้ำเย็นตลอดยอด ตลอดเหง้า ไม่มีเอกเทศไหนๆ
แห่งดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว ทั่วทุกส่วน ที่น้ำเย็นจะไม่พึงถูกต้อง ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยสุขปราศจากปีติ ไม่มีเอกเทศ
ไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง ดูกรมหาบพิตร นี้แหละ
สามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.
             [๑๓๐]  ดูกรมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละ ด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอ
ทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง  ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงนั่ง
คลุมตัวตลอดศีรษะด้วยผ้าขาว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายทุกๆ ส่วนของเขาที่ผ้าขาวจะไม่
ถูกต้อง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว
ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง ดูกรมหาบพิตร
นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.
วิชชา ๘
วิปัสสนาญาณ
             [๑๓๑] ภิกษุนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อญาณทัสนะ ๑- เธอ
ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายของเรานี้แล มีรูปประกอบด้วยมหาภูต ๒- ๔ เกิดแต่มารดาบิดา เติบโต
ขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสดไม่เที่ยง ต้องอบ ต้องนวดฟั้น มีอันทำลายและกระจัดกระจายเป็น
ธรรมดาและวิญญาณของเรานี้ ก็อาศัยอยู่ในกายนี้ เนื่องอยู่ในกายนี้ ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือน
แก้วไพฑูรย์อันงาม เกิดเองอย่างบริสุทธิ์ แปดเหลี่ยม นายช่างเจียระไนดีแล้ว สุกใสแวววาว
สมส่วนทุกอย่าง มีด้ายเขียวเหลืองแดงขาวหรือนวลร้อยอยู่ในนั้น บุรุษมีจักษุจะพึงหยิบ
แก้วไพฑูรย์นั้นวางไว้ในมือแล้วพิจารณาเห็นว่า แก้วไพฑูรย์นี้งาม เกิดเองอย่างบริสุทธิ์
แปดเหลี่ยม นายช่างเจียระไนดีแล้ว สุกใสแวววาว สมส่วนทุกอย่าง มีด้ายเขียวเหลืองแดง
ขาวหรือนวลร้อยอยู่ในแก้วไพฑูรย์นั้นฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว
ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้ม
น้อมจิตไปเพื่อญาณทัสนะ เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายของเรานี้แลมีรูป ประกอบด้วยมหาภูต ๔
เกิดแต่มารดาบิดา เติบโตด้วยข้าวสุกและขนมสด ไม่เที่ยง ต้องอบ ต้องนวดฟั้น มีอันทำลาย
กระจัดกระจายเป็นธรรมดา และวิญญาณของเรานี้ก็อาศัยอยู่ในกายนี้ เนื่องอยู่ในกายนี้
ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็น
ประจักษ์ข้อก่อนๆ.
มโนมยิทธิญาณ
             [๑๓๒] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิต รูปอันเกิด
แต่ใจ คือนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง
ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า
นี้หญ้าปล้อง นี้ไส้ หญ้าปล้องอย่างหนึ่ง ไส้อย่างหนึ่ง ก็แต่ไส้ชักออกจากหญ้าปล้องนั่นเอง
อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักดาบออกจากฝัก เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้ดาบ นี้ฝัก
@๑. ญาณทัสสนะ เป็นชื่อของญาณชั้นสูง คือมรรคญาณ ผลญาณ สัพพัญญุตญาณ ปัจจ-
@   เวกขณญาณ และวิปัสสนาญาณ ฯ
@๒. ได้แก่ธาตุ ๔ คือ ดิน, น้ำ, ไฟ, ลม ฯ
ดาบอย่างหนึ่ง ฝักอย่างหนึ่ง ก็แต่ดาบชักออกจากฝักนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษ
จะพึงชักงูออกจากคราบ เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้งู นี้คราบ งูอย่างหนึ่ง คราบอย่างหนึ่ง
ก็แต่งูชักออกจากคราบนั่นเอง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว
ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ เธอย่อม
โน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิตรูปอันเกิดแต่ใจ คือนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะ
น้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์
ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.
อิทธิวิธญาณ
             [๑๓๓] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออิทธิวิธี เธอบรรลุ
อิทธิวิธีหลายประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏ
ก็ได้ ทำให้หายก็ได้ ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลง
แม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศ
เหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจ
ทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนช่างหม้อหรือลูกมือของช่างหม้อ
ผู้ฉลาด เมื่อนวดดินดีแล้ว ต้องการภาชนะชนิดใดๆ พึงทำภาชนะชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้
อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนช่างงาหรือลูกมือของช่างงาผู้ฉลาด เมื่อแต่งงาดีแล้ว ต้องการเครื่องงา
ชนิดใดๆ พึงทำเครื่องงาชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้ อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนช่างทองหรือลูกมือ
ของช่างทองผู้ฉลาด เมื่อหลอมทองดีแล้ว ต้องการทองรูปพรรณชนิดใดๆ พึงทำทองรูปพรรณ
ชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส
ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไป
เพื่ออิทธิวิธี เธอบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียว
ก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพงไปได้ ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้
ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไป
ในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้
ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดี
ยิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.
ทิพยโสตญาณ
             [๑๓๔] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากกิเลส อ่อน
ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อทิพยโสตธาตุ เธอย่อม
ได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ด้วยทิพยโสตธาตุ อัน
บริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์ ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษเดินทางไกล เขาจะพึงได้ยินเสียง
กลองบ้าง เสียงตะโพนบ้าง เสียงสังข์บ้าง เสียงบัณเฑาะว์บ้าง เสียงเปิงมางบ้าง เขาจะพึง
เข้าใจว่า เสียงกลองดังนี้บ้าง เสียงตะโพนดังนี้บ้าง เสียงสังข์ดังนี้บ้าง เสียงบัณเฑาะว์ดังนี้บ้าง
เสียงเปิงมางดังนี้บ้าง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส
ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไป
เพื่อทิพยโสตธาตุ เธอย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกล
และใกล้ด้วยทิพยโสตธาตุอันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์ ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่
เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.
เจโตปริยญาณ
             [๑๓๕] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อเจโตปริยญาณ
เธอย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ คือจิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิต
ปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ
ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจาก
โมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรรคต ก็รู้ว่าจิตเป็น
มหรรคต หรือจิตไม่เป็นมหรรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่น
ยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ
ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น
ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนหญิงสาวชายหนุ่มที่ชอบการแต่งตัว เมื่อส่องดูเงาหน้าของตน
ในกระจกอันบริสุทธิ์สะอาด หรือในภาชนะน้ำอันใส หน้ามีไฝ ก็จะพึงรู้ว่าหน้ามีไฝ หรือหน้า
ไม่มีไฝ ก็จะพึงรู้ว่าหน้าไม่มีไฝ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว
ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อม
จิตไปเพื่อเจโตปริยญาณ เธอย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นด้วยใจ คือจิตมีราคะ
ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ
หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจาก
โมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน
จิตเป็นมหรรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรรคต หรือจิตไม่เป็นมหรรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรรคต จิตมีจิตอื่น
ยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ
ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น
หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์
ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
             [๑๓๖] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสสติญาณ
เธอย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง
สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบ
ชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอด
วิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น
มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนด
อายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น
มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนด
อายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก
พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงจาก
บ้านตนไปบ้านอื่น แล้วจากบ้านนั้นไปยังบ้านอื่นอีก จากบ้านนั้นกลับมาสู่บ้านของตนตามเดิม
เขาจะพึงระลึกได้อย่างนี้ว่า เราได้จากบ้านของเราไปบ้านโน้น ในบ้านนั้น เราได้ยืนอย่างนั้น
ได้นั่งอย่างนั้น ได้พูดอย่างนั้น ได้นิ่งอย่างนั้น เราได้จากบ้านแม้นั้นไปยังบ้านโน้น แม้ในบ้าน
นั้นเราก็ได้ยืนอย่างนั้น ได้นั่งอย่างนั้น ได้พูดอย่างนั้น ได้นิ่งอย่างนั้น แล้วเรากลับจากบ้านนั้น
มาสู่บ้านของตนตามเดิม ดังนี้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว
ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อม
จิตไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสสติญาณ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้
หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง
สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง
ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมาก
บ้างว่า ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น
เสวยสุขทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้น
แม้ในภพนั้นเราก็มีชื่อนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุข
ทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อม
ระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ ดูกรมหาบพิตร
นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ข้อก่อนๆ.
จุตูปปาตญาณ
             [๑๓๗] ภิกษุนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้จุติและอุปบัติของ
สัตว์ทั้งหลาย เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ ไม่ดี ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณ
ทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วง จักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์
ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า
เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อม
เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต  วจีสุจริต มโนสุจริต
ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตาย
เพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ
ไม่ดี ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุ
ของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ เปรียบเหมือนปราสาท
ตั้งอยู่ ณ ทาง ๓ แพร่งท่ามกลางพระนคร บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนปราสาทนั้น จะพึงเห็นหมู่ชน
กำลังเข้าไปสู่เรือนบ้าง กำลังออกจากเรือนบ้าง กำลังสัญจรเป็นแถวอยู่ในถนนบ้าง นั่งอยู่ที่ทาง
๓ แพร่งท่ามกลางพระนครบ้าง เขาจะพึงรู้ว่า คนเหล่านี้เข้าไปสู่เรือน เหล่านี้ออกจากเรือน
เหล่านี้สัญจรเป็นแถวอยู่ในถนน เหล่านี้นั่งอยู่ที่ทาง ๓ แพร่งท่ามกลางพระนคร ฉันใด ภิกษุ
ก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่
การงานตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย
เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ ไม่ดี ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี
ตกยากด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า
สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ
ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียน
พระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ
กายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ
ไม่ดี ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุ
ของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ ดูกรมหาบพิตร นี้แหละ
สามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.
อาสวักขยญาณ
             [๑๓๘] ภิกษุนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ
ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา  เหล่านี้
อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อม
หลุดพ้นแม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณว่า
หลุดพ้นแล้ว. รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนสระน้ำบนยอดเขาใสสะอาด ไม่ขุ่นมัว
บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนขอบสระนั้น จะพึงเห็นหอยโข่งและหอยกาบต่างๆ บ้าง ก้อนกรวดและ
ก้อนหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง กำลังว่ายอยู่บ้าง หยุดอยู่บ้าง ในสระน้ำ เขาจะพึงคิดอย่างนี้ว่า
สระน้ำนี้ใสสะอาด ไม่ขุ่นมัว หอยโข่งและหอยกาบต่างๆ บ้าง ก้อนกรวดและก้อนหินบ้าง
ฝูงปลาบ้าง เหล่านี้กำลังว่ายอยู่บ้าง กำลังหยุดอยู่บ้าง ในสระน้ำนั้น ดังนี้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น
แล เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน
ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้ อาสวะ นี้อาสวสมุทัย
นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นแม้จากกามาสวะ
แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติ
สิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็น
ประจักษ์ข้อก่อนๆ ดูกรมหาบพิตร ก็สามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้ออื่น ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่า
สามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อนี้ ย่อมไม่มี.
พระเจ้าอชาตศัตรูแสดงพระองค์เป็นอุบาสก
             [๑๓๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พระเจ้าแผ่นดินมคธ พระนามว่า
อชาตศัตรู เวเทหีบุตร ได้กราบทูลพระดำรัสนี้กะพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบ
เหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยคิดว่า
ผู้มีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ฉันใด พระผู้มีพระภาคทรงประกาศพระธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้น
เหมือนกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันนี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรมและพระสงฆ์ว่า
เป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำหม่อมฉันว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่
วันนี้เป็นต้นไป โทษได้ครอบงำหม่อมฉัน ซึ่งเป็นคนเขลา คนหลง ไม่ฉลาด หม่อมฉัน
ได้ปลงพระชนมชีพ พระบิดาผู้ดำรงธรรม เป็นพระราชาโดยธรรมเพราะเหตุแห่งความเป็นใหญ่
ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงรับทราบความผิดของหม่อมฉันโดยเป็นความผิดจริง เพื่อสำรวมต่อไป.
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า จริง จริง ความผิดได้ครอบงำมหาบพิตรซึ่งเป็นคนเขลา คนหลง
ไม่ฉลาด มหาบพิตรได้ปลงพระชนมชีพพระบิดาผู้ดำรงธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม เพราะเหตุ
แห่งความเป็นใหญ่ แต่เพราะมหาบพิตรทรงเห็นความผิดโดยเป็นความผิดจริงแล้ว ทรงสารภาพ
ตามเป็นจริง ฉะนั้น อาตมภาพ ขอรับทราบความผิดของมหาบพิตร ก็การที่บุคคลเห็นความผิด
โดยเป็นความผิดจริง แล้วสารภาพตามเป็นจริงรับสังวรต่อไป นี้เป็นความชอบในวินัยของ
พระอริยเจ้าแล.
             [๑๔๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท้าวเธอได้กราบทูลลาว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้นหม่อมฉันขอทูลลาไปในบัดนี้ หม่อมฉันมีกิจมาก มีกรณียะมาก พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่า ขอมหาบพิตรทรงสำคัญเวลา ณ บัดนี้เถิด. ครั้งนั้นแล พระเจ้าแผ่นดินมคธพระนามว่า
อชาตศัตรู เวเทหีบุตร ทรงเพลิดเพลินยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว เสด็จลุกจากอาสนะ
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทรงกระทำประทักษิณแล้วเสด็จไป. เมื่อท้าวเธอเสด็จไปไม่นาน
พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระราชาพระองค์นี้ถูกขุดเสียแล้ว
พระราชาพระองค์นี้ถูกขจัดเสียแล้ว  หากท้าวเธอจักไม่ปลงพระชนมชีพพระบิดาผู้ดำรงธรรม เป็น
พระราชาโดยธรรมไซร้ ธรรมจักษุ ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน จักเกิดขึ้นแก่ท้าวเธอ ณ ที่
ประทับนี้ทีเดียว. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสคำเป็นไวยากรณ์นี้แล้ว. ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดีภาษิต
ของพระผู้มีพระภาคแล้วแล.


จบสามัญญผลสูตร ที่ ๒.
-----------------------------------------------------

น่าอ่านมาก ถือว่าเป็นแกนหลักของพุทธศาสนา เลยทีเดียว

ในธรรมที่พระพุทธองค์ ทรงสอน พระเจ้าอชาตศัตรู
      บันทึกการเข้า
เริง2520
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 6,341

« ตอบ #9029 เมื่อ: 06 พฤษภาคม 2556, 08:29:28 »

ข้าราชการบำนาญ รอการอบรมจากพี่อยู่นะ

ทุกท่านได้มาเจอกัน คุยกันและได้ความรู้กลับไปด้วยครับ
      บันทึกการเข้า
too_ploenpit
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2514
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 7,778

เว็บไซต์
« ตอบ #9030 เมื่อ: 06 พฤษภาคม 2556, 10:44:50 »

...สวัสดีค่ะ...พี่สิงห์และสมาชิกทุกท่าน...
...เข้ามาตามอ่านค่ะ...
...พอดีคอมที่บ้านเสียอีกแล้ว...
...เลยไม่ค่อยสะดวกที่จะเข้ามาพิมพ์...
...ใช้แท็บเล็ตต้องจิ้มเอาค่ะ...น๊านนาน...
      บันทึกการเข้า

i love pink, you are pink = i love you
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #9031 เมื่อ: 06 พฤษภาคม 2556, 16:16:54 »

สวัสดีค่ะ คุณน้องตู่ และคุณน้องเริง 20 ที่รัก

                                 พี่สิงห์ เดินทางจากสุรินทร์ แวะดูเครื่องมือที่โรงงานศรีษะเกษ และเดินทางมาถึงสนามบินอุบลราชธานี เรียบร้อยแล้ว รอขึ้นเครื่องกลับ กทม. b0arding 17:20 น.

                                สำหรับการอบรมครูบำนาญ  คงไม่สามารถไปสิงห์บุรีคืนนี้ได้    คงออกเดินทางตอนตีห้า  จะสะดวกกว่า  ไม่ลืมครับ

                                 คาดว่าบุคคลที่มารับการอบรม  คงรู้จักเป็นส่วนใหญ่  แต่ไม่ได้พบกันนานมากแล้ว  และวันนี้ผู้จัดการอบรม  ได้โทรศัพท์ มาเตือนแล้ว

                                  ขอบคุณ น้องเริง ที่เตือน ครับ

                                  สวัสดี
      บันทึกการเข้า
ติ๋ม จันทร์ฉาย
Hero Cmadong Member
***


เป็นญาติพี่น้องกับซีมะโด่ง
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2516
กระทู้: 1,692

« ตอบ #9032 เมื่อ: 06 พฤษภาคม 2556, 18:34:01 »



สวัสดีค่ะพี่สิงห์
พี่สิงห์ตามเจอสามท่านนี้ที่เราตามหาแล้ว

อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 05 พฤษภาคม 2556, 19:30:21


อาจารย์ถาวร  โชติชื่น  ก็ไปร่วมกิจกรรมของ สามเณรปลูกปัญญา

น้องสาวคุณวีรยา   บรรจาง   ส่งมาให้ดู
      บันทึกการเข้า

ติ๋ม จันทร์ฉาย
ติ๋ม จันทร์ฉาย
Hero Cmadong Member
***


เป็นญาติพี่น้องกับซีมะโด่ง
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2516
กระทู้: 1,692

« ตอบ #9033 เมื่อ: 06 พฤษภาคม 2556, 18:36:36 »


ขอบพระคุณพี่สิงห์ค่ะ สำหรับเรื่อง เรื่องพระเจ้าอชาตศัตรู
      บันทึกการเข้า

ติ๋ม จันทร์ฉาย
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #9034 เมื่อ: 06 พฤษภาคม 2556, 21:09:18 »

อ้างถึง
ข้อความของ ติ๋ม จันทร์ฉาย เมื่อ 06 พฤษภาคม 2556, 18:36:36

ขอบพระคุณพี่สิงห์ค่ะ สำหรับเรื่อง เรื่องพระเจ้าอชาตศัตรู

สวัสดีค่ะ คุณน้องจันทร์ฉาย ที่รัก

           พระสูตร ในพระสุตันปิฎก สามพระสูตร เป็นอย่างน้อย พระองค์ทรงสอนเหมือนกันหมด  แต่ต่างกันที่บุคคลที่พระองค์ทรงพบ

           ถ้าพิจารณาให้ดี  จะพบว่า

           ประการที่ ๑ พระองค์เน้นเรื่องการประพฤติทางกาย  วาจา  ใจ ให้เป็นปกติ ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน และเป็นตัวอย่างที่ดี  ที่ผู้รู้ว่าปฏิบัติดี  คือ อยู่ในศีลหรือสิกขา นั่นเอง โดยยึดศีลเป็นเกราะป้องกันการประพฤติ

            ประการที่ ๒ พระองค์เน้นให้มีสติ -สัมปชัญญะ ด้วยการตั้งสติปัฏฐาน ๔ เพราะจะทำให้ไม่อยู่ในโลกของความคิด  เพราะมันจะไม่ทุกข์

             ประการที่ ๓ เมื่อมีสติ จนเป็นสมาธิ จิตตั้งมั่นแล้ว ก็จะสามารถบรรลุญาณที่ ๑-๔ จะรู้ด้วยตนเอง จนรู้ว่ากิจต่าง ๆ ที่พึงกระทำได้กระทำหมดแล้ว สำเร็จเป็นพระอรหันต์ และนิพพาน

              นี่คือแนวทาง หรือหลักของพุทธศาสนา  ที่แตกต่างจากศาสนาอื่น ๆ

              สวัสดีค่ะ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #9035 เมื่อ: 06 พฤษภาคม 2556, 21:14:49 »


สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่งและแขกผู้มาเยือน ที่รักทุกท่าน

                พี่สิงห์ เดินทางจากอุบลราชธานี  ถึงบ้านเรียบร้อยแล้ว ด้วยความสวัสดิภาพ

                พรุ่งนี้วันอังคารที่ ๗ พฤษภาคม พี่สิงห์  ต้องขับรถออกจากบ้าน ตีห้าเพื่อเดินทางไปอำเภออินทร์บุรี  จังหวัดสิงห์บุรี ไปสอน TAICHI - YOGA ให้กับชมรมครูบำนาญของอำเภออินทร์บุรี  จัดโดยกระทรวงพัฒนาสังคมและมนุษย์ ประจำจังหวัดสิงห์บุรี

                ค่ำนี้ราตรีสวัสดิ์ครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #9036 เมื่อ: 08 พฤษภาคม 2556, 18:52:47 »







                        อีกหนึ่งสิ่งที่ได้กระทำ  และมีความสุขที่ได้กระทำ

                         วันจันทร - อังคารหน้า จะไปสอน Thaichi - Yoga  ให้กับชุมชนหมู่บ้านบางพระนอน

                         จากการที่ได้สัมผัส  ผู้สูงอายุ  มีความต้องการ ทางเลือกในการออกกำลังกาย แทนการกินยา  แต่หาคนสอนไม่ได้

                         ชุมชนผู้สูงอายุวัดโพธิ์ลังกา  อินทร์บุรี   จะเชิญไปสอนการปฏิบัติธรรม  เพราะปฏิบัติธรรม ไม่เป็น มีอยู่ร้อยกว่าท่าน

                          พี่สิงห์  ขอเป็นส่วนหนึ่งในความต้องการนั้น  ที่สามารถช่วยได้
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #9037 เมื่อ: 08 พฤษภาคม 2556, 21:33:11 »



ปลัดอาวุโส ทำหน้าที่แทนนายอำเภออินทร์บุรี  กล่าวเปิดการอบรม

สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่งและแขกผู้มาเยือน ที่รักทุกท่าน

              จากการสัมผัสกับผู้อาวุโส  ทุกท่านมีโรคประจำตัวเกือบทุกคน ความดันเบาหวาน  หลอดเลือด อ้วน เจ็บเข่า และปวดตามร่างกาย  ผลจากทุกท่านได้ทดลองฝึกชิกง-โยคะ  คือมีความรู้สึกสบายขึ้นกว่าเก่า  ชอบ และอยากฝึกอีก

              หลายท่านฟังผมบรรยายชอบที่จะขอปฏิบัติธรรมตามแนวทางแบบผม และรักษาโรคแบบผม  คือใช้ธรรมชาติช่วย

              มีอยู่ท่านหนึ่ง  อยู่แถวบ้านผม บอกว่าดีใจที่มาวันนี้  ถ้าไม่มาจะเสียใจมาก เพราะได้รู้วิธีดูแลตนเอง  ได้ฝึกออกกำลังกายที่ถูกทางแล้ว และได้ฟังธรรม  ทำให้ได้รู้ความจริง  เพราะเขาก็พบว่าเวลาตนเองสวดมนต์อยู่นั้น  จิตตนเองชอบไปคิดเรื่องอื่น และบางครั้งกลับมาที่บทสวดมนต์  เขาบอกว่า เขามีสองคนอยู่ในร่างเดียวกัน (เหมือนกับพี่สิงห์  ที่เคยมีความรู้สึกอันนี้ ในตอนแรกของการปฏิบัติธรรม)  ผมเลยอธิบายให้ฟังว่า ขอแสดงความยินดีด้วยที่สามารถแยกตนเองบางขณะออกจากโมหะได้  ความจริงไม่ใช่สองคนหรอก แต่เป็นสองความรู้สึกที่แยกตนเองออกมาจากความหลงอยู่ในความคิดได้ ต่างหาก เป็นสิ่งที่ดี เพราะคนส่วนใหญ่แยกไม่ออก หลงอยู่ในความคิด

                ผมอธิบายว่าสิ่งที่พบได้นั้นคือ หนึ่งคือจิตตนเองที่ชอบคิด และควบคุมไม่ได้ อีกหนึ่งคือความระลึกได้ หรือสติ หรือความรู้สึกตัวว่า ณ ปัจจุบันเรากำลังกระทำอะไรอยู่  ความรู้สึกอันนี้จะพบว่าเมื่อไรรู้สึกหรือระลึกขึ้นมาได้ว่ากำลังกระทำอะไร ณ ปัจจุบัน  จิตมันไม่คิด และจะเห็นความคิดของตนเอง  ขอให้จำความรู้สึกอันนี้เอาไว้  อยู่กับมันให้มาก  อย่าไปหลงอยู่กับความคิด เธอเข้าใจ  แต่ปฏิบัติธรรมภาวนาไม่เป็น  ได้แต่สวดมนต์อิติปิโส  อย่างเดียว

                 ดังนั้น วันจันทร์-อังคาร ที่จะถึง ผมจะไปสอนเธอปฏิบัติธรรมภาวนาให้ เพราะเธอแยกความรู้สึก กับความคิดออกแล้ว  ถ้าปฏิบัติธรรมภาวนา อย่างถูกต้องเธอจะอยู่อย่างหมดความทุกข์ได้  มีชีวิตที่ดีขึ้น และจะสอนโยคะให้ เพราะเธอปวดไหล่  จากการทำนาที่จะต้องกระทำเพื่อหาเลี้ยงชีพตนเอง  เพราะเธอบอกว่าจากการที่ออกกำลังกายวันนี้  มีความรู้สึกที่ดีขึ้นเป็นอย่างมาก หายใจคล่องขึ้น และเคลื่อนไหวแบบไม่ติดขัด

                  หลาย ๆท่านได้มาพูดกับผม ว่ารู้สึกดีขึ้น ชอบการออกกำลังกายแบบนี้  ขอให้ผมมาสอนให้อีก

                  หลายท่านมาหาผมเพื่อจะให้สอนโยคะแก้อาการปวดที่เกิดขึ้น......อีกมาก

                  มันเป็นโอสถ สำหรับผม ที่สามารถดูจิตตนเอง เมื่อสุขเกิดขึ้น

                  วันจันทร์ - อังคาร ผมจะไปสอนที่วัดพระนอน ในหมู่บ้านผม เพราะทุกท่านรู้แล้วว่า  ผมสามารถช่วยได้  ทำอย่างไรให้มีชีวิตที่ไม่ทุกข์ และอยู่อย่างไม่เจ็บป่วยมากนัก  ผมจึงแนะนำให้ไปขอสปอนเซอร์จาก อบจ. อบต. สส ปรากฏว่าได้ผล  สามารถรวบรวมเงินได้จำนวนหนึ่งเพื่อเปิดการอบรม และสามารถจะมีน้ำดื่มและข้าวกลางวันรับประทาน  คาดว่าจะมีผู้สนใจมารับการฝึก ชิกง-โยคะ จำนวนมาก

                   ผมทำสิ่งใดให้กับชุมชนบ้านเกิดได้  ยินดีเป็นอย่างยิ่ง เพราะส่วนใหญ่ก็เป็นญาติ เพราะอยู่หมู่บ้านเดียวกัน  หลายท่านนึกไม่ถึงว่า ใกล้เกลือกินด่าง  ไม่รู้ว่าผมสามารถจะแก้โรคของเขาได้ด้วยการฝึก ชิกง - โยคะ

                   และทราบข่าวว่า ผู้ที่มาอบรมเมื่อวันอังคาร ที่ผ่านมา จะขอมาร่วมกิจกรรมนี้ด้วย เพราะต้องการจดจำท่า  ให้ได้ เพราะรู้แล้วว่าดีจริง  มีประโยชน์เป็นอย่างมาก  จะได้จำเอาไว้ดูแลตนเอง

                   ก็รายงานให้ทุกท่านได้ทราบ  ในสิ่งที่ได้ไปกระทำมา

                    จากตัวอย่างที่ประสบ  ถ้ามีเวลา ผมจะลองทำโครงการเสนอจังหวัด ผ่านกระทรวงพัฒนาการสังคมฯ  จังหวัด  ของบเพื่อสอนชาวบ้านในสิงห์บุรี  ให้มากขึ้นในการออกกำลังกายแบบชิกง - โยคะ  แทนการกินยา เพราะต้องเลี้ยงข้าวและน้ำกับผู้มาอบรม  แต่จริง ๆ  ทุกคนสามารถจ่ายเงินค่าข้าวได้ และยินดี ขอให้มาสอนเท่านั้น

                   ดร.สุริยา ชาวทับทันก็เคยเลี้ยงข้าวผม  ลองของบจาก สส. อบจ. และกระทรวงพัฒนาการฯ กับจังหวัด  รับรองได้แน่นอน  ผมยินดีจะไปสอนให้   มันเป็นทางเลือกหนึ่งที่ดีกว่าการกินยา
 
                   ราตรีสวัสดิ์ครับ
      บันทึกการเข้า
ติ๋ม จันทร์ฉาย
Hero Cmadong Member
***


เป็นญาติพี่น้องกับซีมะโด่ง
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2516
กระทู้: 1,692

« ตอบ #9038 เมื่อ: 08 พฤษภาคม 2556, 23:21:11 »


พี่สิงห์ที่เคารพรัก

ไม่ทราบว่าจะเริ่มอย่างไร ทันทีที่อ่านข้อความของพี่สิงห์จบ ดีใจมากตื่นเต้น แต่มีเสียงของตัวเองบอกว่า หยุดก่อน อยู่นิ่งๆ อุเบกขา

ช่วงหลังนี่ติ๋มมีมากๆๆ เร็วขึ้นๆ คือ ตัวเองบอกตัวเองว่า นี่ไม่ถูก นี่ต้องหยุดคิดแล้วกลับไปพุธโท หรือ ทำหนอใหม่ จับผิตัวเองได้เร็วขึ้นเรื่อยๆค่ะ



อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 08 พฤษภาคม 2556, 21:33:11


ปลัดอาวุโส ทำหน้าที่แทนนายอำเภออินทร์บุรี  กล่าวเปิดการอบรม

สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่งและแขกผู้มาเยือน ที่รักทุกท่าน

              จากการสัมผัสกับผู้อาวุโส  ทุกท่านมีโรคประจำตัวเกือบทุกคน ความดันเบาหวาน  หลอดเลือด อ้วน เจ็บเข่า และปวดตามร่างกาย  ผลจากทุกท่านได้ทดลองฝึกชิกง-โยคะ  คือมีความรู้สึกสบายขึ้นกว่าเก่า  ชอบ และอยากฝึกอีก

              หลายท่านฟังผมบรรยายชอบที่จะขอปฏิบัติธรรมตามแนวทางแบบผม และรักษาโรคแบบผม  คือใช้ธรรมชาติช่วย

              มีอยู่ท่านหนึ่ง  อยู่แถวบ้านผม บอกว่าดีใจที่มาวันนี้  ถ้าไม่มาจะเสียใจมาก เพราะได้รู้วิธีดูแลตนเอง  ได้ฝึกออกกำลังกายที่ถูกทางแล้ว และได้ฟังธรรม  ทำให้ได้รู้ความจริง  เพราะเขาก็พบว่าเวลาตนเองสวดมนต์อยู่นั้น  จิตตนเองชอบไปคิดเรื่องอื่น และบางครั้งกลับมาที่บทสวดมนต์  เขาบอกว่า เขามีสองคนอยู่ในร่างเดียวกัน (เหมือนกับพี่สิงห์  ที่เคยมรความรู้สึกอันนี้ ในตอนแรกของการปฏิบัติธรรม)  ผมเลยอธิบายให้ฟังว่า ขอแสดงความยินดีด้วยที่สามารถแยกตนเองบางขณะออกจากโมหะได้  ความจริงไม่ใช่สองคนหรอก แต่เป็นสองความรู้สึกที่แยกตนเองออกมาจากความหลงอยู่ในความคิดได้ ต่างหาก เป็นสิ่งที่ดี เพราะคนส่วนใหญ่แยกไม่ออก หลงอยู่ในความคิด

                ผมอธิบายว่าสิ่งที่พบได้นั้นคือ หนึ่งคือจิตตนเองที่ชอบคิด และควบคุมไม่ได้ อีกหนึ่งคือความระลึกได้ หรือสติ หรือความรู้สึกตัวว่า ณ ปัจจุบันเรากำลังกระทำอะไรอยู่  ความรู้สึกอันนี้จะพบว่าเมื่อไรรู้สึกหรือระลึกขึ้นมาได้ว่ากำลังกระทำอะไร ณ ปัจจุบัน  จิตมันไม่คิด และจะเห็นความคนตนเอง  ขอให้จำความรู้สึกอันนี้เอาไว้  อยู่กับมันให้มาก  อย่าไปหลงอยู่กับความคิด เธอเข้าใจ  แต่ปฏิบัติธรรมภาวนาไม่เป็น  ได้แต่สวดมนต์อิติปิโส  อย่างเดียว

                 ดังนั้น วันจันทร์-อังคาร ที่จะถึง ผมจะไปสอนเธอปฏิบัติธรรมภาวนาให้ เพราะเธอแยกความรู้สึก กับความคิดออกแล้ว  ถ้าปฏิบัติธรรมภาวนา อย่างถูกต้องเธอจะอยู่อย่างหมดความทุกข์ได้  มีชีวิตที่ดีขึ้น และจะสอนโยคะให้เพราะเธอปวดไหล่  จากการทำนาที่จะต้องกระทำเพื่อหาเลี้ยงชีพตนเอง  เพราะเธอบอกว่าจากการที่ออกกำลังกายวันนี้  มีความรู้สึกที่ดีขึ้นเป็นอย่างมาก หายใจคล่องขึ้น และเคลื่อนไหวแบบไม่ติดขัด

                  หลาย ๆท่านได้มาพูดกับผม ว่ารู้สึกดีขึ้น ชอบการออกกำลังกายแบบนี้  ขอให้ผมมาสอนให้อีก

                  หลายท่านมาหาผมเพื่อจะให้สอนโยคะแก้อาการปวดที่เกิดขึ้น......อีกมาก

                  มันเป็นโอสถ สำหรับผม ที่สามารถดูจิตตนเอง เมื่อสุขเกิดขึ้น

                  วันจันทร์ - อังคาร ผมจะไปสอนที่วัดพระนอน ในหมู่บ้านผม เพราะทุกท่านรู้แล้วว่า  ผมสามารถช่วยได้  ทำอย่างไรให้มีชีวิตที่ไม่ทุกข์ และอยู่อย่างไม่เจ็บป่วยมากนัก  ผมจึงแนะนำให้ไปขอสปอนเซอร์จาก อบจ. อบต. สส ปรากฏว่าได้ผล  สามารถรวบรวมเงินได้จำนวนหนึ่งเพื่อเปิดการอบรม และสามารถจะมีน้ำดื่มและข้าวกลางวันรับประทาน  คาดว่าจะมีผู้สนใจมารับการฝึก ชิกง-โยคะ จำนวนมาก

                   ผมทำสิ่งใดให้กับชุมชนบ้านเกิดได้  ยินดีเป็นอย่างยิ่ง เพราะส่วนใหญ่ก็เป็นญาติ เพราะอยู่หมู่บ้านเดียวกัน  หลายท่านนึกไม่ถึงว่า ใกล้เกลือกินด่าง  ไม่รู้ว่าผมสามารถจะแก้โรคของเขาได้ด้วยการฝึก ชิกง - โยคะ

                   และทราบข่าวว่า ผู้ที่มาอบรมเมื่อวันอังคาร ที่ผ่านมา จะขอมาร่วมกิจกรรมนี้ด้วย เพราะต้องการจดจำท่า  ให้ได้ เพราะรู้แล้วว่าดีจริง  มีประโยชน์เป็นอย่างมาก  จะได้จำเอาไว้ดูแลตนเอง

                   ก็รายงานให้ทุกท่านได้ทราบ  ในสิ่งที่ได้ไปกระทำมา

                    จากตัวอย่างที่ประสบ  ถ้ามีเวลา ผมจะลองทำโครงการเสนอจังหวัด ผ่านกระทรวงพัฒนาการสังคมฯ  จังหวัด  ของบเพื่อสอนชาวบ้านในสิงห์บุรี  ให้มากขึ้นในการออกกำลังกายแบบชิกง - โยคะ  แทนการกินยา เพราะต้องเลี้ยงข้าวและน้ำกับผู้มาอบรม  แต่จริง ๆ  ทุกคนสามารถจ่ายเงินค่าข้าวได้ และยินดี ขอให้มาสอนเท่านั้น

                    ดร.สุริยา ชาวทับทันก็เคยเลี้ยงข้าวผม  ลองของบจาก สส. อบจ. และกระทรวงพัฒนาการฯ กับจังหวัด  รับรองได้แน่นอน  ผมยินดีจะไปสอนให้   มันเป็นทางเลือกหนึ่งที่ดีกว่าการกินยา
 
                   ราตรีสวัสดิ์ครับ

      บันทึกการเข้า

ติ๋ม จันทร์ฉาย
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #9039 เมื่อ: 09 พฤษภาคม 2556, 11:14:13 »

อ้างถึง
ข้อความของ ติ๋ม จันทร์ฉาย เมื่อ 08 พฤษภาคม 2556, 23:21:11

พี่สิงห์ที่เคารพรัก

ไม่ทราบว่าจะเริ่มอย่างไร ทันทีที่อ่านข้อความของพี่สิงห์จบ ดีใจมากตื่นเต้น แต่มีเสียงของตัวเองบอกว่า หยุดก่อน อยู่นิ่งๆ อุเบกขา

ช่วงหลังนี่ติ๋มมีมากๆๆ เร็วขึ้นๆ คือ ตัวเองบอกตัวเองว่า นี่ไม่ถูก นี่ต้องหยุดคิดแล้วกลับไปพุธโท หรือ ทำหนอใหม่ จับผิตัวเองได้เร็วขึ้นเรื่อยๆค่ะ



อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 08 พฤษภาคม 2556, 21:33:11


ปลัดอาวุโส ทำหน้าที่แทนนายอำเภออินทร์บุรี  กล่าวเปิดการอบรม

สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่งและแขกผู้มาเยือน ที่รักทุกท่าน

              จากการสัมผัสกับผู้อาวุโส  ทุกท่านมีโรคประจำตัวเกือบทุกคน ความดันเบาหวาน  หลอดเลือด อ้วน เจ็บเข่า และปวดตามร่างกาย  ผลจากทุกท่านได้ทดลองฝึกชิกง-โยคะ  คือมีความรู้สึกสบายขึ้นกว่าเก่า  ชอบ และอยากฝึกอีก

              หลายท่านฟังผมบรรยายชอบที่จะขอปฏิบัติธรรมตามแนวทางแบบผม และรักษาโรคแบบผม  คือใช้ธรรมชาติช่วย

              มีอยู่ท่านหนึ่ง  อยู่แถวบ้านผม บอกว่าดีใจที่มาวันนี้  ถ้าไม่มาจะเสียใจมาก เพราะได้รู้วิธีดูแลตนเอง  ได้ฝึกออกกำลังกายที่ถูกทางแล้ว และได้ฟังธรรม  ทำให้ได้รู้ความจริง  เพราะเขาก็พบว่าเวลาตนเองสวดมนต์อยู่นั้น  จิตตนเองชอบไปคิดเรื่องอื่น และบางครั้งกลับมาที่บทสวดมนต์  เขาบอกว่า เขามีสองคนอยู่ในร่างเดียวกัน (เหมือนกับพี่สิงห์  ที่เคยมรความรู้สึกอันนี้ ในตอนแรกของการปฏิบัติธรรม)  ผมเลยอธิบายให้ฟังว่า ขอแสดงความยินดีด้วยที่สามารถแยกตนเองบางขณะออกจากโมหะได้  ความจริงไม่ใช่สองคนหรอก แต่เป็นสองความรู้สึกที่แยกตนเองออกมาจากความหลงอยู่ในความคิดได้ ต่างหาก เป็นสิ่งที่ดี เพราะคนส่วนใหญ่แยกไม่ออก หลงอยู่ในความคิด

                ผมอธิบายว่าสิ่งที่พบได้นั้นคือ หนึ่งคือจิตตนเองที่ชอบคิด และควบคุมไม่ได้ อีกหนึ่งคือความระลึกได้ หรือสติ หรือความรู้สึกตัวว่า ณ ปัจจุบันเรากำลังกระทำอะไรอยู่  ความรู้สึกอันนี้จะพบว่าเมื่อไรรู้สึกหรือระลึกขึ้นมาได้ว่ากำลังกระทำอะไร ณ ปัจจุบัน  จิตมันไม่คิด และจะเห็นความคนตนเอง  ขอให้จำความรู้สึกอันนี้เอาไว้  อยู่กับมันให้มาก  อย่าไปหลงอยู่กับความคิด เธอเข้าใจ  แต่ปฏิบัติธรรมภาวนาไม่เป็น  ได้แต่สวดมนต์อิติปิโส  อย่างเดียว

                 ดังนั้น วันจันทร์-อังคาร ที่จะถึง ผมจะไปสอนเธอปฏิบัติธรรมภาวนาให้ เพราะเธอแยกความรู้สึก กับความคิดออกแล้ว  ถ้าปฏิบัติธรรมภาวนา อย่างถูกต้องเธอจะอยู่อย่างหมดความทุกข์ได้  มีชีวิตที่ดีขึ้น และจะสอนโยคะให้เพราะเธอปวดไหล่  จากการทำนาที่จะต้องกระทำเพื่อหาเลี้ยงชีพตนเอง  เพราะเธอบอกว่าจากการที่ออกกำลังกายวันนี้  มีความรู้สึกที่ดีขึ้นเป็นอย่างมาก หายใจคล่องขึ้น และเคลื่อนไหวแบบไม่ติดขัด

                  หลาย ๆท่านได้มาพูดกับผม ว่ารู้สึกดีขึ้น ชอบการออกกำลังกายแบบนี้  ขอให้ผมมาสอนให้อีก

                  หลายท่านมาหาผมเพื่อจะให้สอนโยคะแก้อาการปวดที่เกิดขึ้น......อีกมาก

                  มันเป็นโอสถ สำหรับผม ที่สามารถดูจิตตนเอง เมื่อสุขเกิดขึ้น

                  วันจันทร์ - อังคาร ผมจะไปสอนที่วัดพระนอน ในหมู่บ้านผม เพราะทุกท่านรู้แล้วว่า  ผมสามารถช่วยได้  ทำอย่างไรให้มีชีวิตที่ไม่ทุกข์ และอยู่อย่างไม่เจ็บป่วยมากนัก  ผมจึงแนะนำให้ไปขอสปอนเซอร์จาก อบจ. อบต. สส ปรากฏว่าได้ผล  สามารถรวบรวมเงินได้จำนวนหนึ่งเพื่อเปิดการอบรม และสามารถจะมีน้ำดื่มและข้าวกลางวันรับประทาน  คาดว่าจะมีผู้สนใจมารับการฝึก ชิกง-โยคะ จำนวนมาก

                   ผมทำสิ่งใดให้กับชุมชนบ้านเกิดได้  ยินดีเป็นอย่างยิ่ง เพราะส่วนใหญ่ก็เป็นญาติ เพราะอยู่หมู่บ้านเดียวกัน  หลายท่านนึกไม่ถึงว่า ใกล้เกลือกินด่าง  ไม่รู้ว่าผมสามารถจะแก้โรคของเขาได้ด้วยการฝึก ชิกง - โยคะ

                   และทราบข่าวว่า ผู้ที่มาอบรมเมื่อวันอังคาร ที่ผ่านมา จะขอมาร่วมกิจกรรมนี้ด้วย เพราะต้องการจดจำท่า  ให้ได้ เพราะรู้แล้วว่าดีจริง  มีประโยชน์เป็นอย่างมาก  จะได้จำเอาไว้ดูแลตนเอง

                   ก็รายงานให้ทุกท่านได้ทราบ  ในสิ่งที่ได้ไปกระทำมา

                    จากตัวอย่างที่ประสบ  ถ้ามีเวลา ผมจะลองทำโครงการเสนอจังหวัด ผ่านกระทรวงพัฒนาการสังคมฯ  จังหวัด  ของบเพื่อสอนชาวบ้านในสิงห์บุรี  ให้มากขึ้นในการออกกำลังกายแบบชิกง - โยคะ  แทนการกินยา เพราะต้องเลี้ยงข้าวและน้ำกับผู้มาอบรม  แต่จริง ๆ  ทุกคนสามารถจ่ายเงินค่าข้าวได้ และยินดี ขอให้มาสอนเท่านั้น

                   ดร.สุริยา ชาวทับทันก็เคยเลี้ยงข้าวผม  ลองของบจาก สส. อบจ. และกระทรวงพัฒนาการฯ กับจังหวัด  รับรองได้แน่นอน  ผมยินดีจะไปสอนให้   มันเป็นทางเลือกหนึ่งที่ดีกว่าการกินยา
 
                   ราตรีสวัสดิ์ครับ


สวัสดีค่ะ คุณน้องจันทร์ฉาย ที่รัก

           พี่สิงห์  ขอใช้คำว่า ขออนุโมทนากับเธอด้วย(เช่นเดียกับคำที่ เมื่อพี่สิงห์ เล่าให้หลวงพ่อคำเขียนทราบ หลวงพ่อได้พูดว่า อาตมาขออนุโมทนากับโยมด้วย  น้อยคนนักที่จะมาถึง ณ จุดนี้ได้  การปฏิบัติธรรม มันง่าย ๆ อย่างนี้ละ  ไม่มีอะไรอื่นทั้งสิ้น  อยู่กับความรู้สึกตัวเข้าไว้) ที่เธอสามารถแยกตนเองออกมาจากความคิดได้  ไม่หลงอยู่ในความคิดตนเอง ที่พระท่านเรียกว่า "โมหะ" เมื่อแยกได้แล้วขอให้ภาวนาต่อไป  อยู่ในความรู้สึกตัวให้มาก เธอจะทราบพฤติกรรมของจิตด้วยตนเอง  มีความสุข  มีความทุกข์ ก็ให้รู้เข้าไว้ หาสาเหตุแห่งสุข ทุกข์นั้น  ถ้าจะคิดให้พิจารณาธรรมของพระพุทธองค์  ให้จิตมันเห็นตามนั้น  ไม่มีอะไรต้องกระทำมากไปกว่าการระลึกรู้ ณ ปัจจุบันเข้าไว้ ไม่ช้าเธอจะแยกรูป-นาม และเข้าใจรูป-นาม ได้เอง เห็นความเป็นไตรลักษณ์  เมื่อนั้น เธอจะมี ศรัทธา  ศีล  จาคะ  สุตะ และปัญญา ไม่หลงเชื่ออะไรเลย  จะอยู่ด้วยเหตุ -ผล  ใช้ปัญญา  จิตจะเปลี่ยนไปจากเดิม  ความยึดมั่นถือมั่นน้อยลง  มีอุเบกขาเพิ่มขึ้น

                ค้นพบให้ได้ด้วยตนเอง  แต่อย่าไปอยากเข้า  ปล่อยให้เป็นธรรมชาติของมันเอง

                ขออนุโมทนา

                อ.มานพ  กลับดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #9040 เมื่อ: 09 พฤษภาคม 2556, 11:42:17 »

สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง และแขกผู้มาเยือน ที่รักทุกท่าน

              วันนี้บ่าย ต้องเดินทางไปทำงานที่นครศรีธรรมราช ครับ Boarding 14:15 น. by Nok Air

              ขณะนี้ กทม. ฝนตก  จริง ๆ ตกมาตั้งแต่ตีห้าแล้ว แต่กระจายไปตามที่ต่าง ๆ เป็นเรื่องที่ดีอากาศจะได้เย็นลง ย่างเข้าฤดูฝนแล้ว  ชาวนาจะได้หว่านข้าวได้  จะได้มีโอกาสเก็บเกี่ยวก่อนที่น้ำจะมาท้วมปลายปี เพราะรัฐบาลจะเอาไม่อยู่  ปี่ที่ผ่านมาแล้ง  มีนี้พายุ ฝน น้ำท้วม มีโอกาสสูงครับ  ระวัง ๆกันเอาไว้ด้วย  อย่าเชื่อคำของรัฐฐาลโดยเด็ดขาด ให้อยู่ในโลกของข้อเท็จจริง จริง ๆ ตามหลักกาลามสูตร

              วันนี้ได้ไปซื้อไมล์ลอย  สำหรับเอามาครอบศรีษะ เวลาสอนมวยจีน - โยคะ  จะได้สะดวกขึ้น  ไม่ต้องคอบถือไมค์

              ยังเหลืออีกหนึ่งเรื่องที่ยังไม่ได้กระทำคือ หาเวลาว่างทั้งผมและคุณอดิสร  เพื่อถ่ายทำ CD รำมวยจีน และโยคะ เพื่อทำ CD แจกผู้มารับการฝึกอบรม  ไม่เช่นนั้น  ผมต้องสอนมากกว่าสามครั้ง เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมจำท่าได้  ต้องขอขอบคุณ  คุณอดิสร  ล่วงหน้าที่มีจิตกระทำให้ อย่างจริงใจ  ขออานิสสงค์จงบังเกิดขึ้นกับคุณอดิสร ด้วย

              อย่าลืมทุกนาที ชั่วโมง และในแต่ละวัน  ให้รู้สึกตัวให้มาก ๆ เป็นปัจจุบัน  อย่าไปอยู่ในโลกของความหลง  คือคิด  เพราะมันจะมีแต่ความต้องการ ก่อทุกข์  ไม่จบไม่สิ้น ร่ำไป

              สวัสดีครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #9041 เมื่อ: 09 พฤษภาคม 2556, 13:36:12 »

สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่งและแขกผู้มาเยือน ที่รักทุกท่าน

                       พี่สิงห์ อยู่สนามบินดอนเมือง  วันนี้เป็นอีกหนึ่งวัน หรือทุกวัน ที่สนามบินดอนเมืองไม่เคยหลับ คือมีผู้โดยสาร จำนวนมาก เสียดายแทน การบินไทย ที่บริการสู้ Nok Air และ Air Asia ไม่ได้

                       พี่สิงห์  กำลังเตรียมตัวว่า จะไปสอนการปฏิบัติธรรมให้ผู้อาวุโสชุมชนวัดโพธิ์ลังกา  อย่างไรดี

                       คงต้องยกเอาพุทธดำรัสมหาสติปัฏฐาน ๔ มาบอกกล่าวให้ทราบ แล้วตามด้วย ธรรมจักรกัปวัตนสูตร  รูป-นาม ไตรลักษณ์ อริยสัจ ๔ มรรค ๘ วิธีการภาวนา และเล่าประสบการณ์ให้ฟัง  ตามด้วยการฝึกปฏิบัติภาวนา  ก่อนจบคงต้องนำโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการมาสรุปให้รับฟัง

                       เป็นตามนี้ สงสัยผู้ปฏิบัติธรรม หลับแน่ๆ

                       ถ่านหมดครับ

                       สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #9042 เมื่อ: 09 พฤษภาคม 2556, 17:10:37 »

สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่งและแขกผู้มาเยือน ที่รักทุกท่าน

                         พี่สิงห์ อยู่ที่โรงแรมทวินโลตัส  นครศรีธรรมราช เรียบร้อยแล้ว  วันนี้แสงแดดจ้า ร้อน  ฝนไม่ตก  ตอนนี้ยังไม่สามารถไปเดินจงกรมออกกำลังกาย ฝึกชิกง และโยคะได้  คงต้องรอประมาณ ห้าโมงครึ่ง ให้แสงแดดอ่อนกว่านี้คงจะไปออกกำลังกายได้ครับ

                          สงสัย ดร.สุริยา  อาจารย์รุ่งศักดิ์  คงมีธุระมาก  หายหน้าหายตาไปเลย

                          ขอนำธรรมมาให้ทุกท่านได้พิจารณาครับ

                          สวัสดี


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖

มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์


๑๐. อินทริยภาวนาสูตร (๑๕๒)
     
 
   


  [๘๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ป่าไผ่ ในนิคมชื่อกัชชังคลา ครั้ง
นั้นแล อุตตรมาณพ ศิษย์พราหมณ์ปาราสิริยะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่
ประทับ แล้วทูลปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการทักทายปราศรัยพอให้
ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
             [๘๕๔] พอนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามดังนี้ว่า ดูกร
อุตตระ ปาราสิริยพราหมณ์แสดงการเจริญอินทรีย์แก่สาวกหรือเปล่า ฯ
             อุ. แสดง พระโคดมผู้เจริญ ฯ
             พ. ดูกรอุตตระ แสดงอย่างใด ด้วยประการใด ฯ
             อุ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ท่านปาราสิริยพราหมณ์แสดงการ
เจริญอินทรีย์แก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า อย่าเห็นรูปด้วยจักษุ อย่าได้ยินเสียง
ด้วยโสต ฯ
             พ. ดูกรอุตตระ เมื่อเป็นเช่นนี้ คนที่เจริญอินทรีย์แล้วตามคำของ
ปาราสิริยพราหมณ์ ต้องเป็นคนตาบอด ต้องเป็นคนหูหนวก เพราะคนตาบอด
ไม่เห็นรูปด้วยจักษุ คนหูหนวกไม่ได้ยินเสียงด้วยโสต เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัส
แล้วอย่างนี้ อุตตรมาณพ ศิษย์ปาราสิริยพราหมณ์ นั่งนิ่ง เก้อเขิน คอตก
ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ ฯ
             [๘๕๕] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า อุตตรมาณพศิษย์
ปาราสิริยพราหมณ์ นิ่ง คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ จึงรับสั่งกะ
ท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ ปาราสิริยพราหมณ์ ย่อมแสดงการเจริญอินทรีย์
แก่สาวกทั้งหลายอย่างหนึ่ง ส่วนการเจริญอินทรีย์อันไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของ
พระอริยะ ย่อมเป็นอีกอย่างหนึ่ง ฯ
             ท่านพระอานนท์ทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้สุคต เป็นการสมควรแล้ว
ที่พระผู้มีพระภาคจะทรงแสดงการเจริญอินทรีย์อันไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่า ในวินัยของพระ
อริยะ ภิกษุทั้งหลายฟังต่อพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้ ฯ
             พ. ดูกรอานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
ต่อไป ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ
             [๘๕๖] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรอานนท์ ก็การเจริญ
อินทรีย์อันไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ เป็นอย่างไร ดูกรอานนท์ ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ เกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ
ขึ้น เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบ
ใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้นแล้วเช่นนี้ ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะ หยาบ
อาศัยกันเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต นั่นคือ อุเบกขา เธอจึงดับความ
ชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย
อุเบกขาจึงดำรงมั่น ดูกรอานนท์ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบ
ใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ได้เร็วพลันทันที โดย
ไม่ลำบากเหมือนอย่างบุรุษมีตาดีกระพริบตา ฉะนั้น อุเบกขาย่อมดำรงมั่น ดูกร
อานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่า
ในวินัยของพระอริยะ ฯ
             [๘๕๗] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเกิดความชอบใจ ความ
ไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้น เพราะได้ยินเสียงด้วยโสต เธอรู้
ชัดอย่างนี้ว่า เราเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ
ขึ้นแล้วเช่นนี้ ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะ หยาบ อาศัยการเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่
ละเอียด ประณีต นั่นคืออุเบกขา เธอจึงดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้ง
ความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึงดำรงมั่น ดูกร
อานนท์ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและ
ไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ได้เร็วพลันทันที โดยไม่ลำบาก เหมือนอย่าง
บุรุษมีกำลัง ดีดนิ้วมือโดยไม่ลำบาก ฉะนั้น ดูกรอานนท์ นี้เราเรียกว่า การ
เจริญอินทรีย์ในเสียงที่รู้ได้ด้วยโสต อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ ฯ
             [๘๕๘] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเกิดความชอบใจ ความ
ไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ เธอรู้ชัด
อย่างนี้ว่า เราเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ
ขึ้นแล้วเช่นนี้ ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะ หยาบ อาศัยกันเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด
ประณีต นั่นคืออุเบกขา เธอจึงดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบ
ใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึงดำรงมั่น ดูกรอานนท์ ภิกษุ
รูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ
อันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ได้เร็วพลันทันที โดยไม่ลำบาก เหมือนอย่างหยาดน้ำกลิ้ง
ไปบนใบบัว ย่อมไม่ติดในที่ที่กลิ้งไปสักน้อยหนึ่ง ฉะนั้น ดูกรอานนท์ นี้เรา
เรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในกลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัย
ของพระอริยะ ฯ
             [๘๕๙] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเกิดความชอบใจ ความ
ไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา เธอรู้ชัดอย่าง
นี้ว่า เราเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้น
แล้วเช่นนี้ ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะ หยาบ อาศัยกันเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด
ประณีต นั่นคืออุเบกขา เธอจึงดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบ
ใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึงดำรงมั่น ดูกรอานนท์ ภิกษุ
รูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ
อันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ได้เร็วพลันทันที โดยไม่ลำบาก เหมือนอย่างบุรุษมีกำลัง
ตะล่อมก้อนเขฬะไว้ตรงปลายลิ้น แล้วถ่มไปโดยไม่ลำบาก ฉะนั้น ดูกรอานนท์
นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในรสที่รู้ได้ด้วยชิวหา อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัย
ของพระอริยะ ฯ
             [๘๖๐] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเกิดความชอบใจ ความ
ไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย
เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและ
ไม่ชอบใจขึ้นแล้วเช่นนี้ ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะ หยาบ อาศัยกันเกิดขึ้น ยัง
มีสิ่งที่ละเอียด ประณีต นั่นคืออุเบกขา เธอจึงดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ
ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึงดำรงมั่น ดูกร
อานนท์ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและ
ไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ได้โดยเร็วพลันทันที โดยไม่ลำบาก เหมือน
อย่างบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียดโดยไม่ลำบาก ฉะนั้น ดูกร
อานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย อย่างไม่มีวิธี
อื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ ฯ
             [๘๖๑] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเกิดความชอบใจ ความ
ไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน เธอรู้ชัด
อย่างนี้ว่า เราเกิดความชอบใจ เกิดความไม่ชอบใจ เกิดทั้งความชอบใจและไม่
ชอบใจขึ้นแล้วเช่นนี้ ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะ หยาบ อาศัยกันเกิดขึ้น ยังมี
สิ่งละเอียด ประณีต นั่นคืออุเบกขา เธอจึงดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ
ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึงดำรงมั่น ดูกร
อานนท์ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและ
ไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วได้เร็วพลันทันที โดยไม่ลำบากอย่างนี้ เหมือนบุรุษมี
กำลัง หยดหยาดน้ำสองหรือสามหยาดลงในกระทะเหล็กที่ร้อนจัดตลอดวัน ความ
หยดลงแห่งหยาดน้ำยังช้า ทันทีนั้น หยาดน้ำนั้นจะถึงความสิ้นไป แห้งไปเร็ว
ทีเดียว ฉะนั้น ดูกรอานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในธรรมารมณ์ที่รู้ได้
ด้วยมโนอย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ ฯ
             ดูกรอานนท์ อย่างนี้แลเป็นการเจริญอินทรีย์อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัย
ของพระอริยะ ฯ
             [๘๖๒] ดูกรอานนท์ ก็พระเสขะผู้ยังปฏิบัติอยู่เป็นอย่างไร ดูกรอานนท์
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่
ชอบใจ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ เธอย่อมอึดอัด เบื่อหน่าย เกลียดชังความชอบ
ใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้น เกิด
ความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ เพราะได้ยินเสียง
ด้วยโสต ... เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ ... เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา ... เพราะถูกต้อง
โผฏฐัพพะด้วยกาย ... เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน ... เธอย่อมอึดอัด เบื่อหน่าย
เกลียดชังความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิด
ขึ้นแล้วนั้น ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่าพระเสขะผู้ยังปฏิบัติอยู่ ฯ
             [๘๖๓] ดูกรอานนท์ ก็พระอริยะผู้เจริญอินทรีย์แล้ว เป็นอย่างไร ดูกร
อานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจ
และไม่ชอบใจขึ้น เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ เธอถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่ง
ปฏิกูลว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของ
ไม่ปฏิกูลอยู่ได้ ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งไม่ปฏิกูลว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ ก็
ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ได้ ถ้าหวังว่าจะมีความ
สำคัญในสิ่งทั้งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีความ
สำคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้ ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งทั้ง
ไม่ปฏิกูลและปฏิกูลว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้นๆ ว่า
เป็นของปฏิกูลอยู่ได้ ถ้าหวังว่าจะวางเฉยเว้นเสียซึ่งสิ่งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลทั้งสอง
นั้น อยู่อย่างมีสติสัมปชัญญะ ก็ย่อมเป็นผู้วางเฉยในสิ่งนั้นๆ อยู่อย่างมีสติ
สัมปชัญญะได้ ฯ
             [๘๖๔] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเกิดความชอบใจ ความ
ไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ เพราะได้ยินเสียงด้วยโสต ... เพราะ
ดมกลิ่นด้วยฆานะ ... เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา ... เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ...
เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน เธอ ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งปฏิกูลว่าเป็นของ
ไม่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้
ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งไม่ปฏิกูลว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีความ
สำคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ได้ ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งทั้ง
ปฏิกูลและไม่ปฏิกูลว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้นๆ
ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้ ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งทั้งไม่ปฏิกูลและปฏิกูล
ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมมีความสำคัญในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ได้
ถ้าหวังว่าจะวางเฉยเว้นเสียซึ่งสิ่งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลทั้งสองนั้น อยู่อย่างมีสติ
สัมปชัญญะ ก็ย่อมเป็นผู้วางเฉยในสิ่งนั้นๆ อยู่อย่างมีสติสัมปชัญญะได้ ดูกร
อานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่าพระอริยะผู้เจริญอินทรีย์แล้ว ฯ
             [๘๖๕] ดูกรอานนท์ เราแสดงการเจริญอินทรีย์อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่า
ในวินัยของพระอริยะ แสดงพระเสขะผู้ยังปฏิบัติอยู่ แสดงพระอริยะผู้เจริญอินทรีย์
แล้ว ด้วยประการฉะนี้แล ดูกรอานนท์ กิจใดอันศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์
เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์ อาศัยความอนุเคราะห์พึงทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้น
เราได้ทำแล้วแก่พวกเธอ ดูกรอานนท์ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลาย
จงเพ่งฌาน อย่าได้ประมาท อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลัง นี้เป็นคำ
พร่ำสอนของเราแก่พวกเธอ ฯ
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคฉะนี้แล ฯ


จบ อินทรียภาวนาสูตร ที่ ๑๐


                  จากพระสูตรที่กล่าวมานั้น  การปฏิบัติธรรมนั่งภาวนาพิจารณาลมหายใจเข้า - ออก  ไม่จำเป็นต้องหลับตา เพราะนั่งหลับตา  พอจิตหลง ลืมตนเท่านั้น ก็นั่งหลับ และมีแต่ภาพนิมิตร คือคิดไปเอง ตามที่จำเอาไว้ในสมอง เมื่อคิดขึ้นมา เป็นอันตรายสำหรับนักภาวนา

                  และอีกประการในสมัยพุทธกาล ภาวนาตามป่า  บ้านล้าง ไม่มีผู้คน แต่มีสัตว์ป่าอาสัยมาก  ถ้านั่งหลับตาอันตรายจะมาถึงตัวได้ เพราะไม่เห็น

                  และอีกประการ บรรดาพระพุทธรูปปางสมาธิ  พระท่านก็ไม่ได้หลับตา เพียงแต่มองต่ำ

                  พระพุทธองค์ทรงเน้น การปฏิบัติภาวนาต้อง ดำรงสติให้มั่น เป็นสมาธิ

                  พระทรงสอนว่า ถ้าปิดตา  อุดหู คนหูหนวก ตาบอด  เท่านั้นจึงจะบรรลุธรรมได้  ซึ่งมันไม่จริงไปได้เลย

                  ต้องเปิดอายตนะทังหก ให้สัมผัส เพียงแต่ทำอย่างไรให้อุเบกขาเกิดขึ้นเร็วเท่านั้น

                  เอวัง ฉะนี้
      บันทึกการเข้า
lek_adisorn
Hero Cmadong Member
***

ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,595

« ตอบ #9043 เมื่อ: 09 พฤษภาคม 2556, 19:27:21 »

อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 09 พฤษภาคม 2556, 11:42:17
สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง และแขกผู้มาเยือน ที่รักทุกท่าน

              วันนี้บ่าย ต้องเดินทางไปทำงานที่นครศรีธรรมราช ครับ Boarding 14:15 น. by Nok Air

              ขณะนี้ กทม. ฝนตก  จริง ๆ ตกมาตั้งแต่ตีห้าแล้ว แต่กระจายไปตามที่ต่าง ๆ เป็นเรื่องที่ดีอากาศจะได้เย็นลง ย่างเข้าฤดูฝนแล้ว  ชาวนาจะได้หว่านข้าวได้  จะได้มีโอกาสเก็บเกี่ยวก่อนที่น้ำจะมาท้วมปลายปี เพราะรัฐบาลจะเอาไม่อยู่  ปี่ที่ผ่านมาแล้ง  มีนี้พายุ ฝน น้ำท้วม มีโอกาสสูงครับ  ระวัง ๆกันเอาไว้ด้วย  อย่าเชื่อคำของรัฐฐาลโดยเด็ดขาด ให้อยู่ในโลกของข้อเท็จจริง จริง ๆ ตามหลักกาลามสูตร

              วันนี้ได้ไปซื้อไมล์ลอย  สำหรับเอามาครอบศรีษะ เวลาสอนมวยจีน - โยคะ  จะได้สะดวกขึ้น  ไม่ต้องคอบถือไมค์

              ยังเหลืออีกหนึ่งเรื่องที่ยังไม่ได้กระทำคือ หาเวลาว่างทั้งผมและคุณอดิสร  เพื่อถ่ายทำ CD รำมวยจีน และโยคะ เพื่อทำ CD แจกผู้มารับการฝึกอบรม  ไม่เช่นนั้น  ผมต้องสอนมากกว่าสามครั้ง เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมจำท่าได้  ต้องขอขอบคุณ  คุณอดิสร  ล่วงหน้าที่มีจิตกระทำให้ อย่างจริงใจ  ขออานิสสงค์จงบังเกิดขึ้นกับคุณอดิสร ด้วย

              อย่าลืมทุกนาที ชั่วโมง และในแต่ละวัน  ให้รู้สึกตัวให้มาก ๆ เป็นปัจจุบัน  อย่าไปอยู่ในโลกของความหลง  คือคิด  เพราะมันจะมีแต่ความต้องการ ก่อทุกข์  ไม่จบไม่สิ้น ร่ำไป

              สวัสดีครับ


สวัสดีครับพี่สิงห์ และพี่น้องชาวซีมะโด่งทุกท่าน

          พี่สิงห์ครับ ด้วยความยินดียิ่งครับ จากความรักความผูกพันของรุ่นพี่ๆต่อหอฯ ต่อชาวหอฯที่สืบต่อกันมา ทำให้เกิดความร่วมมือเสมือนครอบครัวเดียวกันครับ สิ่งใดที่สามารถที่จะช่วยได้และโอกาสอำนวยก็ทำครับ ไม่ได้คิดอะไรมาก ทำตามอัตภาพ เครื่องไม้เครื่องมือเท่าที่พอจะทำครับ ไม่ได้เลิศเลอ แต่ทำด้วยใจครับ
      บันทึกการเข้า
lek_adisorn
Hero Cmadong Member
***

ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,595

« ตอบ #9044 เมื่อ: 09 พฤษภาคม 2556, 19:35:02 »



วันสงกรานต์ครับ เด็กหายกันหมด เหลือศิษย์ 1 ครูอีก1   (คนน้องเล่น  คนพี่ถ่ายครับ)
คุณครูเป็นหลานครูกาหลง พึ่งทองคำ ศิลปิน แห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง(ดนตรีไทย) ปี 2549 จบจากคณะศิลปกรรมจุฬาฯครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #9045 เมื่อ: 09 พฤษภาคม 2556, 20:19:08 »

อ้างถึง
ข้อความของ lek_adisorn เมื่อ 09 พฤษภาคม 2556, 19:35:02


วันสงกรานต์ครับ เด็กหายกันหมด เหลือศิษย์ 1 ครูอีก1   (คนน้องเล่น  คนพี่ถ่ายครับ)
คุณครูเป็นหลานครูกาหลง พึ่งทองคำ ศิลปิน แห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง(ดนตรีไทย) ปี 2549 จบจากคณะศิลปกรรมจุฬาฯครับ

สวัสดีครับ อดิสร

              เขาเล่นดนตรีไทยเพื่อสืบสานศิลปไทย และเป็นสิ่งที่เขารัก  เมื่อจะเอาดีทางนี้  ต้องพยายามให้ถึงที่สุด มันก็จะประสบความสำเร็จได้เหมือนกัน   เราเป็นเพียงกำลังใจ  คอยดูห่าง ๆ  ดีกว่าไปเล่นเกมส์  คบเพื่อนเที่ยวตั้งไหน ๆ

              ยุคสมัยมันเปลี่ยนไปแล้ว  สมัยพ่อพี่สิงห์ มันเลี้ยงครอบครัวไม่ได้  จึงต้องเลิกอาชีพนักคนตรี เพื่อไม่ให้ลูก ๆ เอาเป็นตัวอย่าง  แต่สมัยนี้นักดนตรีไทย  มีกินทั้งครอบครัว และมีโอกาสเป็นศิลปินแห่งชาติ  ถ้าเก่งจริง  มันก็น่าส่งเสริม ครับ

               แต่อย่างไร ต้องเข้าคณะศิลปกรรมให้ได้ก่อนเป็นอันดับแรก ครับ

               ยังระลึกถึงเสมอ ทั้งครอบครัว

               สวัสดี
      บันทึกการเข้า
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562

« ตอบ #9046 เมื่อ: 09 พฤษภาคม 2556, 20:59:39 »

สวัสดีค่ะพี่สิงห์
ไม่ได้ทักทายพี่่ค่ะได้แต่เข้ามาอ่าน
ชื่นชมนะคะที่ได้กลับไปทำประโยชน์ให้บ้านเกิดได้ค่ะ
      บันทึกการเข้า
ติ๋ม จันทร์ฉาย
Hero Cmadong Member
***


เป็นญาติพี่น้องกับซีมะโด่ง
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2516
กระทู้: 1,692

« ตอบ #9047 เมื่อ: 09 พฤษภาคม 2556, 21:46:10 »


ภูมิใจค่ะ ดีใจด้วย ชอบด้วยที่ลูกหลานช่วยรักษาเอกลักษณ์ไทย
อ้างถึง
ข้อความของ lek_adisorn เมื่อ 09 พฤษภาคม 2556, 19:35:02


วันสงกรานต์ครับ เด็กหายกันหมด เหลือศิษย์ 1 ครูอีก1   (คนน้องเล่น  คนพี่ถ่ายครับ)
คุณครูเป็นหลานครูกาหลง พึ่งทองคำ ศิลปิน แห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง(ดนตรีไทย) ปี 2549 จบจากคณะศิลปกรรมจุฬาฯครับ
      บันทึกการเข้า

ติ๋ม จันทร์ฉาย
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #9048 เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2556, 05:46:17 »

อ้างถึง
ข้อความของ เอมอร 2515 เมื่อ 09 พฤษภาคม 2556, 20:59:39
สวัสดีค่ะพี่สิงห์
ไม่ได้ทักทายพี่่ค่ะได้แต่เข้ามาอ่าน
ชื่นชมนะคะที่ได้กลับไปทำประโยชน์ให้บ้านเกิดได้ค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณน้องเอมอร และชาวซีมะโด่ง - แขกผู้มาเยือน ที่รักทุกท่าน

            การจะกลับไปสอนชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง มันเป็นเรื่องยากมาก เพราะเป็นผู้อาวุโสกว่าเรา  รู้จักกันทั้งนั้น  ความน่าเชื่อถือมันไม่มี  เราต้องพิสูจน์  ตัวเราให้เขาเห็นจริง  เกิดศรัทธาก่อน  เมื่อเขาเห็นจริงตามนั้นแล้ว  เขามาเชิญเอง  อยู่ๆ เราจะไปสอนนั้น  มันเป็นไปไม่ได้  ต้องเกิดจากศรัทธา  เห็นจริง  ของชุมชนเท่านั้น  จึงจะกระทำได้

             ธรรมะ ก็เหมือนกัน  ถ้าเกิดศรัทธา  พี่สิงห์ จึงจะสอน  ตัวอย่าง ที่ผ่านมา  พี่สิงห์ สอนไม่มาก เพียงแค่ อ.อารมณ์ แต่ผู้ฟัง ซึ่งเป็นอดีตครู เข้าใจได้  เมื่อพี่สิงห์  หยุดพัก  เขามาขอคุยด้วย และขอเชิญให้ไปสอนปฏิบัติธรรม ให้กับชุมชนของเขาที่มีอยู่ประมาณ หนึ่งร้อยกว่าท่าน  ทุกเดือนจะมารวมกลุ่มสวดมนต์กัน เพราะไม่ทราบ ไม่รู้เรื่องการปฏิบัติธรรม ทั้ง ๆ ที่อำเภออินทร์บุรี กับ วัดอัมพวัน ของหลวงพ่อจรัล ห่างกัน ๒๐ กิโลเมตร เอง พี่สิงห์เชื่อว่า ชุมชนวัดโพธิลังกา ก็ทราบ

           เธอและครอบครัว สบายดีนะ

           ยังระลึกถึงเสมอ

           ต้องไปเดินจงกรมออกกำลังกายยามเช้า  ฝึกชิกง - โยคะ  แล้วครับ

           สวัสดียามเช้ามืดครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #9049 เมื่อ: 10 พฤษภาคม 2556, 08:10:53 »

สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง และแขกผู้มาเยือน ที่รักทุกท่าน

                       เช้านี้ขอทบทวนเรื่อง "กรรมฐานของเณร" ที่สอนพระใบลาน  ให้ทุกท่านและตัวผมได้ทบทวน

                       "อุโมงค์ มีหกช่องทางเข้า มีสัตว์เข้าไปอาศัยในอุโมงค์นั้น การที่เราจะจับสัตว์นั้นให้ได้ ต้องปิดอุโมงค์ทั้ง ๕ ก่อน แล้วเดินเข้าไปทางอุโมงค์ที่ยังเปิดอยู่ แล้วจะจับสัตว์นั้นได้"

                       คนเรานั้น ช่องทางที่เปิดรับทุกข์ หรือการกระทำในสิ่งที่เป็นอกุศลกรรม ทั้งมวล เกิดความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ขึ้น สร้างความเดือดร้อนให้กับตัวเรา  ครอบครัว และสังคม มีด้วยกัน ๖ ช่องทาง คือ เมื่อ

                       ตา เห็น รูป

                       หู ได้ยิน เสียง

                       จมูก ได้ดม กลิ่น

                       ลิ้น ได้ลิ้ม รส

                       กาย ได้ สัมผัส

                       ใจ ได้ นึกคิด

                       เมื่อสัมผัส หรือได้ประสบแล้ว อันไหนชอบใจ  ก็ต้องการได้อีกเสมอ  อันไหนไม่ชอบใจ ก็ไม่อยากประสบอีก

                       ช่องทางที่อยากได้นั้น หรือไม่อยากได้นั้น  ถ้ากระทางในทางที่เป็นกุศล ก็ดี  แต่ถ้ากระทำไปในทางอกุศล ก็ก่อทุกข์

                       จากกรมฐานของเณร ในการปฏิบัติธรรมภาวนานั้น เราต้องสำรวมกาย  วาจา  เพราะมันเป็นของหยาบที่เราสามารถกระทำได้

                       เมื่อเห็น ก็สักแต่ว่าเห็น ไม่คิดต่อ

                       เมื่อได้ยินเสียง ก็สักแต่ว่าได้ยินเสียง ไม่คิดต่อ

                       เมื่อได้กลิ่ม ก็สักแต่ว่าได้ดมกลิ่น ไม่คิดต่อ

                       เมื่อได้ลิ้มรส ก็สักแต่ว่าได้ลิ้มรส ไม่คิดต่อ

                       เมื่อได้สัมผัสทางร่างกาย ก็สักแต่ว่าได้สัมผัสทางร่างกาย ไม่คิดต่อ

                       แต่ใจ หรือจิต นั้นเป็นของละเอียด เราต้องเปิด แต่ตามจิตนั้นให้ทันด้วยการมีสติ คอยระลึกรู้ว่าจิตมันอยู่ส่วนไหน ในร่างกาย(อยู่ตามอวัยวะ ที่เราระลึกรู้ได้) หรือส่งออกไปนอกร่างกาย(คิดนอกตัว) ติดตามหาให้พบทุกวินาที ทุกนาที ชั่วโมง เราก็จะสามารถจับสัตว์ได้ คือรู้พฤติกรรมของจิต เห็นความคิด แยกรูป-นามได้ เห็นความเป็นไตรลักษณ์  จนกระทั่งจิตมันรู้ความจริงของมันเอง  จนสามารถถอนความยึดมั่นถือมั่นลงได้  สามารถปล่อยวาได้ ......... โดยอัตโนมัติ  ด้วยตนเอง

                       จะเห็นว่า ช่องทางก่อทุกข์คือ ตา หู  จมูก  ลิ้น  กาย  และใจ  โดยเฉพาะใจ เป็นของละเอียดที่ควบคุมยาก เพราะชนม์ส่วนใหญ่ หลงอยู่ในความคิดตนเอง  จนแยกไม่ออกว่ายังมีตัวสติ เป็นลูกตุ้มถ่วง  ที่จะก่อให้เกิดปัญญาว่า สิ่งไหนสมควรกระทำ  สิ่งไหนไม่สมควรกระทำ คือ ตัวสติจะเป็นตัวรู้  ทำให้รู้ตัว เกิดการไตร่ตรอง ด้วยปัญญา แล้วลงมือกระทำแต่ในทางกุศล  ด้วยวิริยะ

                        เอวังโดยย่อด้วยประการฉะนี้เทอญ

                        สวัสดีครับ
           
      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 360 361 [362] 363 364 ... 681   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย  พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><