26 พฤศจิกายน 2567, 22:36:35
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 292 293 [294] 295 296 ... 681   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: คุย กับ คุณมานพ กลับดี อดีตประธานชมรม ๓ สมัย  (อ่าน 3582339 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 18 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #7325 เมื่อ: 04 พฤศจิกายน 2555, 15:46:32 »

สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่งและแขกผู้มาเยือน ที่รักทุกท่าน

                           สงสัย ดร.สุริยา  คงไม่มีเวลาผ่านเข้ามาอ่าน ครับ

                           ไม่เป็นไร  ผมตอบเองก็ได้  ผิด-ถูก ทุกท่านตัดสินใจได้

                           ท่านเคยได้ยินที่คุณพ่อ คุณแม่  ปู่ ย่า  ตา ยาย คนโบราณ บางครั้งท่านสอนให้เราหัดเป็น เตมีย์ใบ้ เข้าไว้บ้าง เพื่อว่าภัยจะได้ไม่มาถึงตัว หรือจะได้ไม่วิวาทกับใคร  เพราะบางคราวเราตกในที่นั่งลำบาก พูดก็ไม่ได้  กระทำก็ไม่ได้  เลยต้องเอาหูทวนลม หรือเป็นพระเตมีย์ใบ้  จะได้รอดตัวไป

                           ความหมายมันก็ตรงๆ คือ บางสถานะการณ์เราจะต้อง พึงเป็นคนใบ้หนึ่ง   พึงเป็นคนหูหนวกหนึ่ง  พึงเป็นคนง่อยหนึ่ง เราถึงจะปลอยภัย  แต่อย่าลืมท่านจะต้องอดทนอดกลั้นอย่างพระเตย์มี ถึง ๑๐ ปี  แสดงว่าท่านต้องบำเพ็ญความเพียรเอาชนะจิตท่านด้วยความอุตสาหะยิ่ง

                           บางครั้งท่านตกอยู่ในหมู่โจร  ท่านไปเห็น  ไปรับรู้ความลับของเขา เช่นสังคมของคนกระทำผิดกฏหมายยาเสพติด  ค้าของเถื่อน  ท่านต้องทำเป็นพระเตมีย์ใบ้  ไม่อย่างนั้น ท่านจะต้องเสียชีวิตแน่นอน

                           บางครั้งในการทำงาน มีความเห็นที่แตกต่าง  เราพูดไปก็เท่านั้น อาจจะดี อาจจะมีคนไม่ชอบ  สู้เป็นเตมีย์ใบ้ ดีกว่าแยะเพราะจะได้ไม่มีใครวิวาทด้วย

                           บางครั้งท่านถูกบังคับให้กระทำในสิ่งที่ท่านไม่อยากกระทำ  ท่านก็ทำตัวเป็นพระเตมีย์ใบ้เสีย ก็สิ้นเรื่อง

                            ดังนั้น บางโอกาส  บางเวลา  การเป็นพระเตมีย์ใบ้ก็มีประโยชน์ยิ่ง

                            แต่เราเองคงกระทำได้เพียงชั่วครู่ชั่วยาม  คงไม่มีความอดทนเท่าพระเตมีย์ แน่ ๆ เพราะท่านกระทำอยู่ถึง ๑๐ ปี เพื่อว่าท่านจะได้ไม่ต้องเป็นกษัตริย์  จะได้ไม่ต้องตัดสินคดี  จะได้ไม่ตกนรกอีก  มันไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่ปุถุคนชนเช่นเราจะกระทำได้ ครับ

                            แต่อย่างไรเราก็เอาไปใช้ประโยชน์ได้ครับ พอนึกถึงเรื่องพระเตมีย์ใบ้ขึ้นมา เราอาจจะมีความอดทนอดกลั้นขึ้นมาบ้างก็ได้ครับ

                             แต่จริงๆ แล้วชาดกเรื่องนี้แสดง ถึงการบำเพ็ญเนกขัมมบารมี คือการออกบวชหรือออกจากกาม

                            สวัสดี



                              ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญเนกขัมมบารมี คือการออกบวชหรือออกจากกาม เล่าเรื่องเตมียราชกุมาร เกรงการที่จะได้ครองราชสมบัติ เพราะทรงสลด พระหฤทัยที่เห็นราชบุรษลงโทษโจรตามพระราชดำรัสของพระราชา เช่น เฆี่ยนพันครั้งบ้าง เอาหอกแทงบ้าง เอาหลาวเสียบบ้าง จึงใช้วิธีแสร้งทำเป็นง่อยเปลี้ย หูหนวก เป็นใบ้ไม่พูดจากับใคร แม้จะถูกทดลองต่าง ๆ ก็อดกลั้นไว้ ไม่ยอมแสดงอาการพิรุธให้ปรากฏ ทั้งนี้เพื่อจะเลี่ยงการครองราชสมบัติ พระราชาปรึกษาพวกพรากมณ์ ก็ได้รับคำแนะนำใหนำราชกุมารไปฝังเสีย.
 
                              พระราชมารดาทรงคัดค้านไม่สำเร็จ ก็ทูลขอให้พระราชกุมารครองราชสัก ๗ วัน แต่พระราชกุมารก็ไม่ยอมพูด ต่อเมื่อ ๗ วันแล้ว สารถีนำราชกุมารขึ้นสู่รถ เพื่อจะฝังตามรับสั่งพระราชา ขณะที่ขุดหลุ่มอยู่พระราชกุมารก็เสด็จลงจากรถ ตรัสปราศัยกับนายสารถี แจ้งความจริงให้ทราบว่า มีพระประสงค์จะออกบวช สารถีเลื่อมใสในคำสอนขอออกบวชด้วย จึงตรัสให้นำรถกลับไปคืนก่อน สารถีนำความไปเล่าถวายพระราชมารดา พระราชบิดาให้ทรงทราบ
.
                              ทั้งสองพระองค์พร้อมด้วยอำมาตย์ราชบริพารจึงได้เสด็จออกไปหา เชิญให้พระราชกุมารเสด็จกลับไปครองราชสมบัติ แต่พระราชกุมารกลับถวายหลักธรรมให้ยินดี ในเนกขัมมะ คือการออกจากกาม. พระชนกชนนีพร้อมด้วยบริวารทรงเลื่อมใสในคำสอน ก็เสด็จออกผนวชและบวชตาม. และได้มีพระราชาอื่นอีกเป็นอันมาก สดับพระราชโอวาทขอออกผนวชตาม.
      บันทึกการเข้า
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562

« ตอบ #7326 เมื่อ: 04 พฤศจิกายน 2555, 16:03:53 »

เหมือนที่ คนไทย ได้กันสอนไว้ว่า
 นิ่งเสียตำลึงทอง ค่ะ พี่สิงห์
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #7327 เมื่อ: 04 พฤศจิกายน 2555, 16:11:06 »

ชาติที่ 2 พระมหาชนก

 



                        เมื่อครั้งอดีตกาลนานมาแล้ว พระมหาชนกนั้นเป็นกษัตริย์ผู้ครองเมืองมิถิลาพระมหาชนกมีพระโอรส ๒ พระองค์คือ พระอริฏฐชนก และพระโปลชนก ซึ่งพระราชโอรสองค์โตนั้นได้ทรงดำรงตำแหน่งอุปราชผู้มีสิทธิ์ขึ้นครองราชบัลลังก์สืบต่อไป ส่วนพระโปลชนกโอรสองค์รองนั้นดำรงตำแหน่งเสนาบดีวัง

                         กาลต่อมาเมื่อพระมหาชนกเสด็จสวรรคตแล้วพระอุปราชอริฏฐชนกก็ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์องค์ใหม่ของเมืองมิถิลา และได้ทรงสถาปนาแต่งตั้งพระอนุชาให้ดำรงอยู่ในตำแหน่งอุปราชต่อไป

                         พระเจ้าอริฏฐชจกนั้นแต่เดิมก็มีความรักใคร่กลมเกลียวกันดีกับพระอนุชาโปลชนก แต่ทว่าเมื่อดำรงอยู่ในตำแหน่งพระราชาแล้วก็ได้ถูกบรรดาเสนาอำมาตย์มุขมนตรีฝ่ายคนชั่วพากันประจบสอพลอและเท็ดทูลยุยงพระราชาอยู่เสมอเพื่อหวังความดีความชอบกลั่นแกล้งคนดี จนกระทั่งพระเจ้าอริภฐชนกนั้นก็ทรงเชื่อด้วยความหูเบา มิได้ใคร่ครวญด้วยพระองค์เองเสียก่อน แม้กระทั่งพระอนุชาโปลชนก ผู้เป็นอุปราชก็ยังถูกยุยงจากบรรดาเสนาชั่วกล่าวหาว่า พระอุปราชนั้นคิดการกบฏหมายจะลอบปลงพระชนม์เพื่อชิงราชบัลลังก์

                         แต่แรกนั้นพระเจ้าอริฎฐชนกก็มิทรงเชื่อ แต่ทว่าเมื่อมีการยุยงเพ็ดทูลครั้งแล้วครั้งเล่าพระเจ้าอริฏฐชนกก็เริ่มที่จะเชื่อฟังในคำเพ็ดทูลนั้นในที่สุดพระเจ้าอริฏฐชนกจึงได้ทรงมีพระราชโองการให้จับตัวพระอุปราชโปลชนกไปคุมขังไว้โดยที่มิได้มีการตั้งข้อหาความผิดอย่างชัดแจ้งนัก

                         ฝ่ายพระอุปราชโปลชนกนั้นก็บังเกิดความน้อยเนื้อต่ำใจเป็นยิ่งนัก ที่แม้กระทั่งความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องก็ยังคลอนแคลนไปได้ด้วยเพราะความหูเบาเชื่อในคำยุยงส่งเสริมของพวกประจบสอพลอ

                         ขณะที่อยู่ในห้องคุมขัง พระโปลชนกก็ทรงตั้งสัตย์อธิฐานต่อเทพยดาฟ้าดินและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ว่า
 
                        “ข้าพเจ้านั้นมิได้เคยมีความคิดที่จะมุ่งร้ายต่อพระเชษฐาเลยแม้แต่น้อย แต่กลับถูกลงโทษทั้งที่ไม่มีความผิดเช่นนี้ด้วยจิตใจอันบริสุทธิ์และสัตย์ซื่อของข้าพเจ้า ขอให้พระเสื้อเมือง พระทรงเมืองและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย จึงดลบันดาลให้ข้าพเจ้าหลุดพ้นจากโซ่ตรวนขื่อคาทั้งปวงนี้ด้วยเถิด”

                        ครั้นสิ้นคำอธิฐานนั้นก็เกิดอัศจรรย์ขึ้นในทันใดบรรดาโซ่ตรวนขื่อคาอันเป็นเครื่องจองจำทั้งปวงนั้นก็ได้หลุดออกจากพระวรกายของพระโปลชนกอย่างง่ายดาย อีกทั้งประตูเรือนจำที่ลั่นดาลไว้แน่นหนาก็สามารถเปิดออกเองได้

                        พระโปลชนกจึงหลบหนีออกจากที่คุมขังไปยังนอกเมือง คอยซุ่มซ่อนตัวอยู่บริเวณชายแดนและรวบรวมกำลังคนไว้เป็นอันมากบรรดาเสนาอำมาตย์ฝ่ายที่เป็นคนดี เมื่อได้ล่วงรู้ว่าพระโปลชนกหนีออกไปได้ก็พากันออกจากราชสำนักติดตามไปร่วมผนึกกำลังด้วยบรรดาชายฉกรรจ์ที่เป็นสามัญชนคนธรรมดาและล่วงรู้ความเป็นไปของการถูกกลั่นแกล้งใส่ร้ายพระอุปราชนั้น ก็พากันชักชวนไปขอสมัครเป็นพรรคพวกของพระโปลชนกจนกระทั่งกำลังคนนั้นมีเพิ่มพูนแข็งแกร่งมากขึ้น

                       ทางฝ่ายเสนาอำมาตย์ฝ่ายคนชั่วนั้นก็ได้ทราบข่าวการตั้งกองกำลังคนอย่างลับๆของพระโปลชนก และได้กราบทูลให้พระอริฏฐชนกได้ทรงทราบ แต่ทว่าทางมิถิลานครก็มิกล้าที่ จะส่งกองกำลังไปปราบปรามด้วยเกรงว่าจะเกิดศึกสงครามกลางเมืองขึ้นอีก ทั้งยังเกิดความขลาดมิกล้าจะยกทัพไปปราบปรามด้วยเพราะเกรงกองกำลังอันแข็งแกร่ง และฝีมือในการรบของพระโปลชนก

                       ในเวลาต่อมาพระโปลชนกจึงยกกองทัพเข้ามาประชิดติดมิถิลานคร แล้วก็ส่งสาสน์ออกไปท้า พระเชษฐาผู้เป็นกษัตริย์ออกไปชนช้างด้วยกันพระอริฏฐชนกได้ทรงตระหนักดีว่าการศึกครั้งนี้เห็นทีจะเกิดความพ่ายแพ้พระอนุชาของพระองค์เป็น แน่ ด้วยเพราะตระหนักดีว่าพระอนุชาโปลชนกนั้นได้ซ่องสุมเตรียมกำลังพลไว้เป็นช้านาน กับอีกทั้งได้แบกความแค้นเคืองไว้เป็นเวลานานแล้วในเวลานั้นพระอัครมเหสีของพระอริฏฐชนกกำลังทรงพระครรภ์อยู่ พระอริฏฐชนกจึงทรงตรัสสั่งเสียพระอัครมเหสีด้วยความเป็นห่วงเป็นใยยิ่งนักว่า

                      “หากแม้ในการศึกครั้งนี้พี่ต้องพ่ายแพ้แก่อนุชาของพี่เอง ขอให้น้องหญิงจงดูแลรักษาครรภ์และดูแลลูกของเราให้จงดีเถิด” พระอัครมเหสีแม้จะทรงสังหรณ์พระทัยแต่ก็มิสามารถที่จะทัดทานอันใดได้ ซึ่งในที่สุดการศึกครั้งนั้นพระเจ้าอริฏฐชนกก็ถูกพระอนุชาโปลชนกประหารสิ้นพระชนม์บนคอช้างนั้นเองขณะที่การศึกสงครามกำลังดำเนินไป บรรดากองทัพใหญ่ของพระโปลชนกก็บุกเข้ายึดนครมิถิลา บรรดาชาวบ้านชาวเมืองและไพร่พลทั้งปวงต่างก็แตกกระจัดกระจายหนีข้าศึกออกนอกเมืองไปกันเป็นอันมาก

                       พระอัครมเหสีนั้นทรงปลอมพระองค์ด้วยเสื้อผ้าเก่าๆ ขาดๆอุ้มท้องพลางร้องห่มร้องไห้หลบหนีออกจากพระราชวังปะปนไปกับชาวบ้านชาวเมืองด้วยความเด็ดเดี่ยว แม้จะเสียขวัญเพียงใดก็ตาม

                       พระนางเทวีนั้นทรงดำริว่าจะมุ่งไปยังเมืองกาลจัมปาหาทางพำนักพักอยู่ที่นั่นจนกว่าจะมีพระประสูติกาล ด้วยความเหน็ดเหนื่อยตรากตรำและอิดโรยเป็นยิ่งนัก พระนางเทวีจึงได้เข้าไปพัก ณ ศาลาริมทางแห่งหนึ่ง พร้อมกับความวิตกกังวลในใจด้วยมิรู้ว่าหนทางสู่เมืองกาลจัมปานั้นอยู่แห่งใดกันแน่ เวลานั้นพระอินทร์ผู้เป็นใหญ่ในสรวงสวรรค์จู่ๆ ก็ให้บังเกิดร้อนอาสน์จึงเล็งทิพยเนตรส่องดูก็รู้ได้ว่าพระกุมารในพระครรภ์ของพระเทวีนั้นเป็นพระโพธิสัตว์ผู้เปี่ยมด้วยบุญญาธิการสูงส่งนัก จึงจำเป็นต้องให้ความอนุเคราะห์ช่วยเหลือเกื้อกูลแก่พระนางเทวี

                        พระอินทร์จึงนิรมิตองค์เป็นผู้เฒ่าขับเกวียนผ่านมา และอาสานำพระนางเทวีผู้ทรงพระครรภ์แก่แล้วเดินทางสู่เมืองกาลจัมปาในบัดดล ครั้นถึงเมืองกาลจัมปาแล้วพระอินทร์ในร่างผู้เฒ่าก็ผละจากไป พระนางเทวีจึงได้เข้าไปนั่งพักในศาลาหน้าเมืองเพื่อคิดอ่านว่าจะทำการอันใดต่อไปในเมืองที่มิรู้จักผู้ใดเลยนี้ ในขณะนั้นเองได้มีพระอาจารย์ผู้หนึ่งซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวเมืองกาลจัมปาได้ผ่านศาลานั้นพร้อมกับลูกศิษย์จำนวนหนึ่ง

                        ครั้นเมื่อเห็นสตรีท้องแก่ผู้หนึ่งนั่งอยู่ในศาลาด้วยท่าทางอิดโรยเหนื่อยยาก ทั้งๆ ที่มีรูปโฉมงดงามผิวพรรณผุดผ่องราวกับเป็นคนมีเชื้อชาติดีมีสกุล แม้จะอยู่ในเสื้อผ้าที่เก่าขาดและมอมแมมเพียงใดแต่ก็มีรัศมีเปล่งประกายดูประหลาดยิ่งนัก พระอาจารย์จึงได้เข้าไปสอบถาม พระนางเทวีจึงได้บอกกล่าวเล่าว่า

                       “ตัวข้าพเจ้านั้นต้องอุ้มท้องหนีภัยจากข้าศึกระเหเรร่อนมาตามลำพังด้วยเพราะว่าเป็นสามีนั้นตายเสียแล้ว”พระอาจารย์มีความเวทนาสงสารจึงได้ชักชวนพระนางเทวีไปพำนักพักอยู่ด้วยที่บ้านของตน

                        พระนางเทวีเห็นว่าพระอาจารย์นั้นมีลักษณะเป็นคนดีน่าเลื่อมใส จึงได้ตกลงติดตามพระอาจารย์ไปพำนักพักอยู่ที่บ้านเมืองของพระอาจารย์ด้วยโดยพระอาจารย์ได้บอกแก่ลูกศิษย์ลูกหาทั้งปวงว่าสรีท้องแก่ผู้นี้เป็นญาติผู้น้องของตน

                        ไม่กี่เดือนต่อมาพระนางเทวีก็คลอดพระกุมารน้อยออกมาเป็นทารกชายผู้มีผิวพรรณหมดจดงดงามเป็นยิ่งนัก พระนางเทวีจึงได้ตั้งพระนามพระราชกุมารน้อยว่าพระมหาชนกครั้นเมื่อพระมหาชนกเจริญวัยขึ้นก็ได้เล่นกับเด็กๆ เพื่อนบ้านในละแวกนั้น

                        ครั้งหนึ่งมีเด็กคนหนึ่งคิดรังแกพระมหาชนกด้วยความคะนองแต่พระมหาชนกก็ต่อสู้เอาชนะได้เด็กที่แพ้นั้นจึงไปร้องไห้ฟ้องพ่อแม่ว่าถูกเด็กที่ไม่มีพ่อรังแกเอา เมื่อพระมหาชนก ได้ฟังเช่นนั้นจึงไปซักไซร้ไล่เลียงพระราชมารดาว่า ใครเป็นบิดาของตน

                       พระนางเทวีจึงแสร้งปดว่าท่านลุงอาจารย์นั้นแหละคือบิดาของพระมหาชนก แต่แรกนั้นพระมหาชนกทรงเชื่อ แต่ครั้นพวกเด็กๆและชาวบ้านยังล้อเลียนว่าเป็นเด็กไม่มีพ่อเช่นนั้นก็เกิดความคลางแคลงสงสัย แต่ด้วยความที่ทรงมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด แม้คาดคั้นเอาจากพระมารดาก็คงมิสามารถที่จะได้คำตอบอันแท้จริงแน่พระมหาชนกจึงใช้อุบายถามมารดาในวันหนึ่งขณะที่กำลังกินนมจากพระมารดาว่า

                       “ท่านแม่จ๋า บิดาของลูกเป็นใครขอให้บอกความจริงมาเถิด” พระนางเทวีจึงแสร้งว่า

                       “ก็แม่บอกลูกแล้วไงว่า ท่านอาจารย์นั่นแหละคือบิดาของลูก” พระมหาชนกได้ยินเช่น นั้นก็กล่าวว่า

                       “เแต่แม่ให้ลูกเรียกท่านอาจารย์ว่าลุงเสมอมานี่น่า หากท่านแม่ไม่บอกความจริงแก่ลูกๆจะกัดหัวนมแม่ให้ขาดเดี๋ยวนี้”

                        ว่าแล้วพระกุมารน้อยก็แกล้งใช้ฟันขบนมมารดาให้แรงกว่าเดิม พระนางเทวีบังเกิดความเจ็บและกลัวลูกจะกัดแรงขึ้นกว่าเก่า จึงจำต้องบอกเล่าความจริงทั้งหมดให้พระกุมารน้อยทราบโดยละเอียดเมื่อพระมหาชนกทราบเรื่องราวเช่นนั้น จึงมีขวัญกำลังใจมากขึ้นและมิทรงโกรธกริ้วเด็กๆ เพื่อนบ้านที่ล้อเลียนว่าเป็นลูกไม่มีพ่ออีก นับจากนั้นพระกุมารน้อยได้มุมานะศึกษาเล่าเรียนในวิชาการทุกแขนงมิว่าจะเป็นอักษรศาสตร์ ศิลปศาสตร์ และยุทธศาสตร์การต่อสู้ทั้งหมดทั้งมวลจนครบ ๑๘ ประการ

                        เมื่อเรียนจบครบสิ้นทุกกระบวนความแล้ว ขณะนั้นพระมหาชนกมีพระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา มีความสง่างามเยี่ยงหน่อเนื้อเชื้อกษัตริย์โดยแท้ พระมหาชนกได้กราบทูลต่อพระราชมารดาว่าพระองค์นั้นมีความมุ่งมั่นตั้งใจจะไปยังเมืองมิถิลาเพื่อชิงราชบัลลังก์คืนเป็นการแก้แค้นแก่พระราชบิดาของตน

                        พระนางเทวีจึงได้มอบสมบัติอันมีค่าที่นำติดตัวซุกซ่อนมาจากมิถิลานครให้แก่พระโอรสอันมี แก้ววิเชียรดวงหนึ่ง  แก้วมณีดวงหนึ่ง  แก้วมุกดาดวงหนึ่ง
 
                   พระนางเทวีต้องการให้โอรสนำแก้วอันล้ำค่าทั้ง ๓ ดวงนั้นไปขายเพื่อเป็นทุนในการซ่องสุมกำลังผู้คน แต่ทว่าพระมหาชนกไม่ยินยอมที่จะรับแก้วทั้ง ๓ ดวงนี้ไป พระนางเทวีจึงได้นำเงินทองออกมาให้พระราชโอรสเตรียมซื้อสำเภากับสินค้าเพื่อล่องเดินทางไปเช่นเดียวกับพวกพ่อค้าทางเรืออื่นๆ

                   “ลูกรักของแม่เอ๋ย เจ้าอยากไปมิถิลานครก็ขอให้เจ้าจงเดินทางโดยสวัสดิภาพเถิด แต่อย่าคิดจองเวรจองกรรมแก้แค้นหรือชิงราชบัลลังก์คืนเลยนะลูกแม่”
                    พระมหาชนกจึงกราบทูลพระมารดาว่าตนขอเดินทางครั้งนี้เพียงครั้งเดียวเท่านั้นก็ด้วยหวังจะเดินทางท่องเที่ยวผจญภัย เผชิญโลกกว้างตามประสาลูกผู้ชายคนหนึ่งเท่านั้น

                    ครั้นเมื่อพระมหาชนกออกเรือเดินทางไปได้ ๗ วัน ๗ คืนแล้ว ก็ปรากฏมรสุมใหญ่ที่กลางทะเลโหมกระหน่ำทำให้เรือบรรทุกสินค้าอับปางลง ท่ามกลางเสียงร้องคร่ำครวญโหยไห้ของบรรดาลูกเรือ

                    ที่ขวัญเสียตื่นตระหนกตกอยู่ในความหวาดกลัวเมื่อรู้ว่าความตายใกล้จะมาถึงแล้ว

                    พระมหาชนกนั้นทรงตั้งสติมั่นมิได้คร่ำครวญด้วยความหวาดหวั่นเluยขวัญแต่อย่างใด

                    ทรงพยายามเสวยอาหารไว้เพื่อให้อิ่มท้องแล้วเตรียมผ้าชุบน้ำมันมานุ่งไว้เพื่อมิให้ผ้าอุ้มน้ำแล้วพระมหาชนกก็ทรงปีนขึ้นอยู่บนยอดเสากระโดงในขณะที่เรือโคลงเคลงใกล้จะคว่ำลง

                     ครั้นเมื่อเรือคว่ำแล้วก็กระโจนจากยอดเสากระโดงไปไกลได้ถึง ๑ เส้นกับ ๑๕ วา ด้วยพละกำลังอันวิเศษจึงสามารถว่ายอยู่ห่างไกลในบริเวณที่กระแสน้ำกำลังดูดเรือจมลงไปใต้มหาสมุทร

                     ในขณะที่บรรดาผู้ลอยคออยู่กลางทะเลต่างก็เสียชีวิตไปกันหมดสิ้นแล้ว แต่ทว่าพระมหาชนกยังทรงพยายามว่ายน้ำและลอยคออยู่ได้กลางทะเลนานถึง ๗ วัน ๗ คืนเลยทีเดียว

                     ในวันที่ ๗ นั้นยังทรงระลึกได้ว่าเป็นวันอุโบสถ พระมหาชนกได้ทรงสมาทานโดยอธิฐานอุโบสถ แม้ขณะกำลังรอความตายที่ใกล้เข้ามาแทบทุกทีนั้นด้วย

                     ขณะนั้นนางเมขลาเทพธิดาแห่งท้องสมุทรผู้มีแก้วประจำตัวอยู่ ๑ ดวง ได้เห็นความอดทนของพระมหาชนกจึงได้ช่วยพระมหาชนกขึ้นจากทะเลนำไปส่งถึงพระอุทยานใหม่ของพระโปลชนกในมิถิลานคร

                      ขณะนั้นพระโปลชนกกษัตริย์แห่งมิถิลานครได้เสด็จสวรรคตไปเป็นเวลา ๗ วัน ๗ คืนแล้ว และระหว่างนั้นกำลังเป็นงานพิธีเลือกคู่ของพระราชธิดาพระองค์เดียว ซึ่งจำต้องคัดสรรหาบุรุษผู้เหมาะสมมาอภิเษกสมรส เพื่อจะได้ให้ผู้มาเป็นพระสวามีขึ้นเสวยราชบัลลังก์สืบต่อมา

                       บรรดาเสนาอามาตย์มุขมนตรีทั้งปวงต่างก็เสนอตนเข้ามาให้พระราชธิดาเลือกคู่ แต่ทว่าก็ยังมิมีผู้ใดถูกพระทัยองค์หญิงเลยแม้แต่คนเดียว

                       ต่อมาจึงได้ป่าวประกาศออกไปทางนอกวัง ให้บรรดาคฤหบดี เศรษฐี และลูกหลานของผู้มีตระกูลทั้งปวงเข้ามาในงานพิธีเลือกคู่ แต่ทว่าองค์หญิงก็ยังมิถูกพระทัยผู้ใดอีก

                       บรรดาอำมาตย์ราชปุโรหิตผู้อาวุโสแห่งราชสำนักจึงได้กราบทูลหารือกับองค์หญิงว่า เมื่อคัดเลือกเอาตามพระทัยก็ยังมิถูกใจเช่นนี้เห็นทีจะต้องจัดพิธีบวงสรวงสังเวยเทพยดาอารักห์ของเมืองด้วยการเสี่ยงราชรถออกไป ถ้าราชรถไปเกยผู้ใดแสดงว่าผู้นั้นย่อมมีบุญ และควรแก่การอัญเชิญมาครองราชย์ต่อไป เพราะมิเช่นนั้นหากขืนรอช้าอยู่ราชบัลลังก์จะว่างไปนานมิเป็นการสมควรอย่างแน่นอน องค์หญิงจึงเห็นดีงามด้วยตามธรรมเนียมโบราณของราชสำนัก
                      “ขอให้พวกท่านได้จัดพิธีบวงสรวงเทพยดาและเสี่ยงจากราชรถตามธรรมเนียมแต่ดั้งแต่เดิมเถิด”

                        เมื่อทางราชสำนักได้จัดพิธีบวงสรวงแล้วก็ปล่อยรถมงคลเทียมม้าออกไปจากราชวังในบัดดล

                        พระมหาชนกนั้นกำลังนอนพักอยู่ที่ใต้ร่มไม้ใหญ่ในอุทยานหน้าเมือง ขณะที่ราชรถแล่นเข้ามาในอุทยานและวิ่งวนรอบพระมหาชนกเป็นจำนวน ๓ รอบ จึงหยุดนิ่งสงบลงที่เบื้องปลายพระบาทของ พระมหาชนก

                        บรรดาคณะอำมาตย์ราชปุโลหิตที่ติดตามราชรถมานั้น ก็สั่งให้เจ้าพนักงานประโคมดนตรีขึ้นอย่างกึกก้อง ด้วยกำหนดว่าถ้าชายผู้นี้เป็นผู้ไม่มีบุญก็จะต้องตื่นขึ้นมาพร้อมกับความตระหนกตกใจและเร่งรีบหนีไปในทันที แต่ถ้าเป็นผู้มีบุญก็จะไม่มีอาการแตกตื่นแต่อย่างใด

                        ครั้นเมื่อเจ้าพนักงานประโคมดนตรีเสียงดังกึกก้องไปทั่วอุทยานแล้ว พระมหาชนกก็สะดุ้งตื่นขึ้นเปิดผ้าคลุมหน้าออกดูเห็นมีพวกปุโรหิตและชาวบ้านชาวเมืองมากมายมารุมล้อมในอุทยาน ก็รู้ได้ทันทีว่าเกิดเหตุอันใดขึ้น พระมหาชนกจึงชักผ้าขึ้นปิดหน้านอนต่อไป

                       ราชปุโรหิตจึงได้คลานเข้าที่เบื้องปลายพระบาทเลิกผ้าคลุมออกแล้วพิจารณาดูลักษณะ ของพระบาทสักครู่หนึ่ง ก็ป่าวประกาศแก่ฝูงชนทั้งปวงว่า ชายผู้มีบุญนี้อย่าว่าแต่จะสามารถครองราชบัลลังก์มิถิลาได้เลย ต่อให้ราชสมบัติของ ๓ โลก เขาผู้นี้ก็สามารถที่จะปกครองดูแล ได้

                       จากนั้นพนักงานจึงประโคมดนตรีขึ้นบรรเลงอีกครั้งหนึ่งเป็นเสียงกึกก้องกังวานทั่วไป แล้วราชปุโรหิตก็กราบทูลอัญเชิญพระมหาชนกให้เข้าพระราชวังไปอภิเษกสมรสกับองค์หญิง แล้วขึ้นครองเมืองมิถิลาต่อไป

                         ข้างฝ่ายพระราชธิดาของพระโปลชนกนั้น เมื่อทราบว่าผู้มีบุญมาครองเมืองแล้วก็ยังใคร่อยากทดสอบว่าบุรุษผู้มีบุญผู้นั้นจะมีปัญญาด้วยหรือไม่ จึงให้มหาดเล็กไปทูลเชิญมาเข้าเฝ้า

                         แต่ทว่าพระมหาชนกยังคงใส่พระทัยในการชมปราสาทราชมณเฑียร มิสนพระทัยที่จะไปเข้าเฝ้า พระราชธิดาแม้ว่าจะมีคนมาเชิญถึง ๒ ครั้ง ๒ ครา

                         ครั้นเมื่อชมปราสาทราชมณเฑียรเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระมหาชนกจึงเสด็จขึ้นตำหนักหลวง เมื่อนั้นองค์หญิงจึงเสด็จออกมารับ แล้วยื่นพระหัตถ์ให้พระมหาชนกจับขณะพากันขึ้นไปยัง พระตำหนัก พระมหาชนกได้เรียกประชุมบรรดาเสนาอำมาตย์มุขมนตรีและปุโรหิตทั้งปวง พร้อมกับรับสั่งถามว่า พระราชาได้มีรับสั่งใดไว้ก่อนเสด็จสวรรคต

                         เสนาอำมาตย์ทูลว่า “ขอเดชะพระโปลชนกนั้นได้ตั้งปริศนาไว้นับ ๑๐ ข้อพระเจ้าข้า”

ปริศนาต่างๆ นั้นมีดังนี้

ข้อ ๑. ถ้าผู้ใดทำให้พระราชธิดาสิวลีมีความยินดีได้ก็ให้ยกพระราชสมบัติแก่คนผู้นั้น

ข้อ ๒. ผู้นั้นจะต้องรู้จักบัลลังก์ ๔ เหลี่ยมว่าที่ใดเป็นทางศีรษะ ที่ใดเป็นทางเท้า

ข้อ ๓. ผู้นั้นต้องสามารถโก่งคันธนูเมืองได้

ข้อ ๔. ผู้นั้นต้องหาขุมทรัพย์ได้ ซึ่งขุมทรัพย์นั้นมีดังนี้

๑. ขุมทรัพย์แห่งหนึ่งอยู่ในที่พระอาทิตย์ขึ้น
๒. ขุมทรัพย์แห่งหนึ่งอยู่ในที่พระอาทิตย์อัสดง
๓. ขุมทรัพย์แห่งหนึ่งอยู่ภายใน
๔ ขุมทรัพย์แห่งหนึ่งอยู่ภายนอก
๕. ขุมทรัพย์แห่งหนึ่งมิได้อยู่ข้างนอกและมิได้อยู่ข้างใน
๖. ขุมทรัพย์แห่งหนึ่งอยู่ในที่ลง
๗. ขุมทรัพย์แห่งหนึ่งอยู่ในที่ขึ้น
๘. ขุมทรัพย์แห่งหนึ่งอยู่ระหว่างไม้ทั้ง ๔
๙. ขุมทรัพย์แห่งหนึ่งอยู่ประมาณโยชน์หนึ่ง
๑๐. ขุมทพัย์แห่งหนึ่งอยู่ที่ปลายงา

                         พระมหาชนกนั้นได้แก้ปริศนาข้อแรกได้แล้วด้วยเพราะขณะเมื่อทรงเสด็จขึ้นพระตำหนักนั้นองค์หญิงสิวลีเป็นผู้ยื่นพระหัตถ์เข้ามาให้แสดงว่ามีความยินดีในพระองค์แล้ว ส่วนปริศนาข้อที่ ๒ พระมหาชนกได้ถอดปิ่นจากศีรษะให้องค์หญิงสิวลี ซึ่งองค์หญิงก็รู้เท่าทันว่าพระมหาชนกต้องการสิ่งใดจึงนำปิ่นนั้นไปวางที่บัลลังก์ ๔ เหลี่ยม พระมหาชนกจึงตอบได้ว่าทางใดเป็นศีรษะทางใดเป็นทางเท้า

                          ส่วนปริศนาข้อที่ ๓ นั้น พระมหาชนกก็สามารถโก่งคันธนูเมืองได้สำเร็จ ทั้งๆ ที่ธนูคันนี้ต้องใช้คนถึง 1000 คนจึงจะสามารถโก่งคันธนูได้

                         ส่วนปริศนาข้อที่ ๔ เป็นการค้นหาขุมทรัพย์ทั้ง ๑๐ ขุม

ขุมทรัพย์ที่ ๑ อยู่ในที่พระอาทิตย์ขึ้น

                         บรรดาเสนาอำมาตย์เคยเสาะแสวงหาอย่างไรก็มิอาจพบ แต่พระมหาชนกได้แสดงปัญหาว่าที่ใด

                         ข้อนี้พระมหาชนกได้ทรงแสดงปัญหาว่าเวลาที่พระปัจเจกโพธิจะกลับในทางใด หากพระราชาเคยไปส่งในทางนั้นก็ให้ไปขุดทรัพย์สมบัติ ณ ที่นั้น

                         บรรดาเสนาอำมาตย์ที่เคยพากันไปขุดหาทรัพย์สมบัติบริเวณทิศตะวันตกของวังแล้วไม่พบ จึงได้พากันกระทำตามคำของพระมหาชนกด้วยการไปขุดยังบริเวณที่พระราชาเคยประทับยืนส่งพระปัจเจกโพธิทุกๆ เช้า ซึ่งก็ปรากฏว่าพบทรัพย์สมบัติมากมายอีกครั้งหนึ่ง

ขุมทรัพย์ที่ ๓ อยู่ภายใน

                        พระมหาชนกได้แก้ว่าให้ไปขุดที่ใกล้ประตูพระราชนิเวศน์ซึ่งก็ปรากฏว่ามีทรัพย์สมบัติฝังอยู่บริเวณนั้นจริง

ขุมทรัพย์ที่ ๔ อยู่ภายนอก

                        พระมหาชนกได้ให้คนไปขุดที่ประตูพระราชนิเวศน์แต่เป็นบริเวณด้านนอก และก็ได้พบทรัพย์สมบัติขุมใหญ่อยู่ ณ บริเวณนั้นเช่นกัน

ขุมทรัพย์ที่ ๕ มิได้อยู่ข้างนอกและมิได้อยู่ข้างใน

                       ในข้อนี้พระมหาชนกได้ให้คนขุดลงที่ธรณีประตูพระราชนิเวศน์แล้วก็พบทรัพย์สมบัติถูกฝังไว้ในนั้นจริง

ขุมทรัพย์ที่ ๖ อยู่ในที่ลง

                      ข้อนี้พระมหาชนกให้ขุดหาทรัพย์สมบัติในบริเวณที่พระราชาองค์ก่อนได้เสด็จลงจากคชสารเป็นประจำ ซึ่งก็ได้พบทรัพย์สมบัติฝังอยู่เป็นจำนวนมาก ณ ที่นั้น

ขุมทรัพย์ที่ ๗ อยู่ในที่ขึ้น
                      ข้อนี้พระมหาชนกให้ขุดที่ประตูขึ้นพระราชนิเวศน์และก็พบว่ามีทรัพย์สมบัติถูกฝังอยู่ในพื้นดินใต้ประตูพระราชนิเวศน์จริง

ขุมทรัพย์ที่ ๘ อยู่ระหว่างไม้ทั้ง ๔

                      ข้อนี้พระมหาชนกได้ให้ขุดหาที่บริเวณทวารประตูทั้ง ๔ แห่ง ที่มีพระแท่นทำด้วยไม้รัง ซึ่งพวกทหารก็พบทรัพย์สมบัติทั้ง ๔ แห่งเป็น จำนวนมาก

ขุมทรัพย์ที่ ๙ อยู่ประมาณโยชน์หนึ่ง

                       ข้อนี้พระมหาชนกให้ขุดหาจากบริเวณพระแท่นบรรทมวัดออกไปทั้ง ๔ ศอก คือทั้ง ๔ ทิศ ซึ่งก็พบทพัย์สมบัติเป็นจำนวนมาก

ขุมทรัพย์ที่ ๑๐ อยู่ที่ปลายงา

                       ข้อนี้พระมหาชนกให้ขุดหาที่โรงคชสาร โดยขุดตรงบริเวณที่พระยาเศวตกุญชรนั้นยืนอยู่ และปลาย งาโค้งลงจรดดิน ณ บริเวณใดก็ให้ขุดบริเวณนั้น ซึ่งเมื่อขุดแล้วก็พบทรัพย์สมบัติเป็นจำนวนมากเช่นเดิม

                        ด้วยพระปฏิภาณอันปราดเปรื่องของพระมหาชนกนี้ ทำให้บรรดาข้าราชบริพารและพสกนิกรทั้งปวงต่างก็ยกย่องสรรเสริญแซ่ซ้องพระปัญญาบารมีของพระมหาชนกกันทั่วไปทั้งนคร

                        ครั้นเมื่อจัดพิธีอภิเษกและพิธีเฉลิมฉลองเสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว พระมหาชนกก็จัดให้สร้างโรงทาน ทั้ง ๖ แห่ง และจ่ายแจกพระราชทรัพย์บำเพ็ญบุญกุศลเป็นเวลา ๗ วัน ๗ คืน และได้เปิดเผยความจริงแก่คนทั้งปวงว่า พระองค์นั้นเป็นพระราชโอรสของพระราชาอริฏฐชนกผู้เป็นเชษฐาของพระเจ้าโปลชนก ผู้สื้นพระชนม์ไปไม่นานนี้นั่นเอง

                        จากนั้นพระมหาชนกก็ครองคู่อยู่กับเจ้าหญิงสิวลีอัครมเหสีอย่างมีความสุข ทรงปกครองบ้านเมือง ให้ร่มเย็นเป็นสุขโดยถ้วนหน้า

                        วันหนึ่งพระมหาชนกเสด็จประพาสอุทยานได้ทรงสังเกตเห็นมะม่วงต้นหนึ่งมีลูกดกเต็มต้น จึงได้เก็บมาเสวยลูกหนึ่งแล้วก็ประพาสสวนต่อไปจนกระทั่งเย็นย่ำ

                        ครั้นเมื่อเสด็จกลับออกไปในเพลาเย็นก็ต้องแปลกพระทัยที่เห็นมะม่วงต้นเดิมนั้นดูทรุดโทรมผิดไปจากเดิม ลูกดกที่เต็มต้นก็หายไป กิ่งก้านที่งดงามก็หักรานยับเยินสิ้นไป

                        เมื่อตรัสถามพนักงานผู้รักษาสวนก็ตอบว่า บรรดาพสกนิกรนั้นพากันมาแย่งยื้อเก็บมะม่วงต้นนี้ไปกิน เพราะเห็นว่าเป็นต้นที่พระราชาได้เสวย

                        ในฉับพลันทันใดนั้นเองพระมหาชนกจึงได้ดำริว่า มะม่วงต้นนี้ต้องได้รับความทุกข์ความเดือดร้อนก็เพราะมีลูกเหมือนกับเช่นพระองค์ที่มีพระราชสมบัติมากมาย ซึ่งจะต้องได้รับภัยและได้รับทุกข์ร้อนในวันหนึ่งเช่นกันนับจากนั้นพระมหาชนกจึงทรงจำศีลบำเพ็ญภาวนาอยู่แต่ในพระตำหนักมิออกว่าราชกิจราชการอีกต่อไป

                        ครั้นเมื่อเวลาล่วงเลยไปถึง ๕ เดือนแล้ว พระมหาชนกก็ให้พระกัลบกปลงพระเกศาและพระมัสสุออกเสียทั้งหมดจากนั้นทรงนุ่งห่มผ้ากาสาวะเตรียมเสด็จออกจากพระราชวังไปบำเพ็ญพรตในป่า

                        ขณะนั้นพระสีวลีอัครมเหสีได้เสด็จขึ้นมาเข้าเฝ้าบนตำหนักหลวงด้วยเพราะมิได้พบหน้า พระสวามีเป็นเวลา ๕ เดือน ตั้งแต่พระองค์ทรงบำเพ็ญศีลภาวนาอยู่แต่ในพระตำหนัก โดยสั่งห้ามมิให้ผู้ใดเข้าไปรบกวน

                        องค์หญิงสิวลีนั้น เมื่อขึ้นไปบนตำหนักก็พบแต่เครื่องทรงของกษัตริย์วางทิ้งไว้ จึงเฉลียวใจว่าเมื่อครู่นี้ทรงสวนกับพระปัจเจกโพธิองค์หนึ่ง จึงคิดว่าเป็นพระมหาชนกพระสวามีของพระนางเป็นแน่

                        ดังนั้นองค์หญิงสิวลีจึงพานางสนมกำนัลวิ่งตามพระมหาชนกไปพร้อมกับกันแสงร่ำไห้เรียกหาผู้เป็นพระสวามีของพระนาง

                        องค์หญิงสิวลีได้ทำอุบายให้คนจุดไฟขึ้นทั่วพระนคร แล้วกราบทูลเชิญให้พระมหาชนกเสด็จกลับเข้าวังก่อนที่ไฟจะไหมพระราชวังและทรัยพ์สมบัติเสียหมด แต่ทว่าพระมหาชนกก็มิใส่ใจในทรัพย์สมบัตินั้นยังคงเสด็จต่อไปมิหันหลังกลับ

                        พระสิวลีอัครมเหสีจึงให้บรรดาเสนาอำมาตย์มุขมนตรีผู้ใหญ่มาวิงวอนขอร้องให้พระมหาชนกเสด็จ คืนกลับวัง แต่ทว่าพระองค์ก็ยังคงเสด็จมุ่งสู่ป่าดงพงไพร แต่ครั้นเมื่อเห็นว่าคณะของอัครมเหสีและข้าราชบริพารยังตามติดมาไม่หยุดยั้งจึงได้ทรงขีดเส้นหนึ่งบนพื้นดิน แล้วกล่าวว่า ถ้าเห็นว่าพระองค์ยังเป็นพระราชาอยู่ก็ขอให้ทุกคนจงเชื่อฟังหากบุคคลใดข้ามเส้นนี้ตามไปจะต้องได้รับพระราชอาญาเป็นแน่

                         เมื่อเป็นดังนั้นคณะข้าราชบริพารก็มิกล้าที่จะตามติดพระองค์ต่อไปอันเป็นการล่วงละเมิดพระราชกระแสรับสั่ง

                         พระสิวลีอัครมเหสีนั้นทรงมีปฏิภาณไหวพริบล้ำเลิศเป็นยิ่งนัก ขณะที่ทรงกันแสงนั้น ก็ได้ทรงกลิ้งเกลือกพระวรกายลงกับพื้นดินจนกระทั่งเส้นที่ขีดบนพื้นดินนั้นจางหายจึงสามารถชักชวนคนทั้งปวงติดตามพระมหาชนกไปได้อีก

                          เมื่อพระมหาชนกทรงเสด็จเรื่อยไปจนเข้าเขตเมืองปุนันนครและได้ทรงเก็บเนื้อชิ้นหนึ่ง ซึ่งสุนัขคาบวิ่งหนีเจ้าของมาแล้วทำตกลงบนพื้นดิน เมื่อพระอัครมเหสีทอดพระเนตรเห็นพระสวามีหยิบชิ้นเนื้อจากพื้นทรายขึ้นปัดฝุ่นแล้วใส่ลงในบาตรก่อนจะนำไปนั่งฉันใต้ร่มไม้แห่งหนึ่งนั้น ก็ให้บังเกิดความสลดหดหู่ใจและมั่นใจแล้วว่าชะรอยพระสวามีคงจะมุ่งมั่นฝักใฝ่ในทางธรรม ปรารถนาจะประพ ฤติองค์เป็นนักบวชโดยไม่กลับคืนสู่พระนครเป็นแน่แล้ว
แต่ด้วยความอาลัยรักพระอัครมเหสีจึงยังทรงตามเสด็จพระมหาชนกเรื่อยไป

                             พระมหาชนกได้ทรงสังเกตเห็นเด็กผู้หญิงเล็กๆ คนหนึ่ง ใส่กำไลมือทั้งสองข้าง มือข้างหนึ่งใส่กำไลเส้นเดียวกำไลนั้นก็ไม่เกิดเสียงอันใด ในข้อที่มืออีกข้างหนึ่งใส่กำไลสองเส้น กำไลทั้งสองก็กระทบกันดัง กรุ๊งกริ๊งตลอดเวลา พระมหาชนกจึงดำริว่าสตรีนั้นเป็นมลทินของการประพฤติพรหมจรรย์สมควรที่จะให้ พระอัครมเหสีหยุดติดตามและแยกทางไปเสียอีกทางหนึ่ง

                             ครั้นเมื่อถึงทาง ๒ แพร่ง พระมหาชนกจึงตรัสแก่พระมเหสีว่า “น้องหญิงเอ๋ย น้องจงเลือกเอาเถิดว่าจะไปทางซ้ายหรือทางขวา ขอให้เราแยกทางเดินกันนับแต่นี้เถิด”

                             พระนางสิวลีทรงเลือกทางซ้าย ครั้นเมื่อพระมหาชนกเสด็จแยกทางไปยังเบื้องขวาแล้ว พระอัครมเหสีก็ยังแอบตามเสด็จไปทางเบื้องหลังของพระมหาชนกอีกด้วยความอาลัยรักอย่างลึกซึ้งและมิอาจหักห้ามพระทัยได้

                              เมื่อถูกพระสวามีตัดรอนความสัมพันธ์อย่างสิ้นเยื่อขาดใยเช่นนั้น พระอัครมเหสีถึงกับร้องไห้ฟูมฟายปิ่มว่าจะขาดใจ แม้จะร่ำไห้จนสิ้นสติไปก็มิอาจจะทำให้พระมหาชนกหันหลังกลับมาดังเดิมได้

                              พระนางสิวลีอัครมเหสีจึงทรงได้คิดว่าพระมหาชนกผู้เป็นพระสวามีของพระนางนั้นสามารถสละได้ซึ่งราชบัลลังก์และทรัพย์สมบัติทั้งหลายทั้งปวง แล้วเหตุไฉนตัวพระนางนั้นจะยังมีความอาลัยอาวรณ์ในทรัพย์สมบัติทั้งปวงอยู่อีกเล่า เมื่อดำริได้ดังนั้นพระนางสิวลีจึงรับสั่งต่อข้าราชบริพารและนางข้าหลวงทั้งปวงว่า พระนางจะออกตามเสด็จพระมหาชนกไปบรรชาด้วยเช่นกัน ขอให้อภิเษกเจ้าองค์อื่นขึ้นเสวยราชย์ต่อไปเถิด หลังจากนั้นพระนางสิวลีก็เสด็จออกบวช ครั้นเมื่อสิ้นพระชนม์ในภพนี้แล้ว ก็ได้ไป

      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #7328 เมื่อ: 04 พฤศจิกายน 2555, 16:19:49 »

อ้างถึง
ข้อความของ เอมอร 2515 เมื่อ 04 พฤศจิกายน 2555, 16:03:53
เหมือนที่ คนไทย ได้กันสอนไว้ว่า
 นิ่งเสียตำลึงทอง ค่ะ พี่สิงห์


สวัสดีค่ะ คุณน้องเอมอร  ที่รัก

                                พี่สิงห์ ไม่รู้จะเอาอะไรมาเขียนกลัวข้อกล่าวหา อุตริมนุษย์ธรรม  ก็ต้องอาศับชากด เหล่านี้ครับ และมันก็เป็นสิ่งที่ดี  ที่เราไม่รู้ และมีประโยชน์ มาอ่านผ่านตา จิตมันจะได้นึกได้เอาไปใช้ประโยชน์ ได้ครับ

                                มันก็เป็นเช่นนั้น

                                สวัสดี
      บันทึกการเข้า
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562

« ตอบ #7329 เมื่อ: 04 พฤศจิกายน 2555, 16:31:38 »

อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 04 พฤศจิกายน 2555, 16:19:49
อ้างถึง
ข้อความของ เอมอร 2515 เมื่อ 04 พฤศจิกายน 2555, 16:03:53
เหมือนที่ คนไทย ได้กันสอนไว้ว่า
 นิ่งเสียตำลึงทอง ค่ะ พี่สิงห์


สวัสดีค่ะ คุณน้องเอมอร  ที่รัก

                                พี่สิงห์ ไม่รู้จะเอาอะไรมาเขียนกลัวข้อกล่าวหา อุตริมนุษย์ธรรม  ก็ต้องอาศับชากด เหล่านี้ครับ และมันก็เป็นสิ่งที่ดี  ที่เราไม่รู้ และมีประโยชน์ มาอ่านผ่านตา จิตมันจะได้นึกได้เอาไปใช้ประโยชน์ ได้ครับ

                                มันก็เป็นเช่นนั้น

                                สวัสดี

ดี นะคะ พี่สิงห์ แม้ ว่า เราเคย รู้มาบ้าง ก็เตือนใจ ให้มีความพยายามในแต่ละเรื่อง
ดีกว่า การที่ท่อง แต่ หัวใจพระเจ้าสิบชาติ ค่ะ
เมื่อก่อน เคย ท่องสวดมนต์ให้ลูกฟังว่า
 เต ชะ สุ เน มะ ภู จ นา วิ เว 
ตามที่เคยท่อง  ลูก ยังเด็ก ก็ถามตามประสาเด็กว่า
 คำย่อ นี้ หมายถึง ใครบ้าง แล้วเพื่ออะไร
 ทำให้ เรา ต้องกลับมาอ่านอีกครั้ง
แต่พอ ในหลวง มีพระราชดำริ ให้จัดพิมพ์ หนังสือ พระมหาชนก ฉบับ การ์ตูน ก็เลยได้ ซื้อมาให้ลูกอ่าน
 แต่ก็ยังมีคึำถามมาจน ได้ ว่า ลูกที่จะกัด นมแม่ ที่กำลังให้นม ตัวเอง อยู่นั้น เด็กดีหรือ
แม่จนปัญญา ต้อง กลับมาอ่าน เพื่อวิเคราห์ เหตุผล อีก
ดังนั้น การที่ให้เด็ก อ่านชาดกนั้น คงต้องมีการอธิบาย ที่ชัดเจน เพิ่มเติม ค่ะ
 ให้อ่านเอง คงยาก นะคะ พี่สิงห์ 
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #7330 เมื่อ: 04 พฤศจิกายน 2555, 16:49:40 »

อ้างถึง
ข้อความของ เอมอร 2515 เมื่อ 04 พฤศจิกายน 2555, 16:31:38
อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 04 พฤศจิกายน 2555, 16:19:49
อ้างถึง
ข้อความของ เอมอร 2515 เมื่อ 04 พฤศจิกายน 2555, 16:03:53
เหมือนที่ คนไทย ได้กันสอนไว้ว่า
 นิ่งเสียตำลึงทอง ค่ะ พี่สิงห์


สวัสดีค่ะ คุณน้องเอมอร  ที่รัก

                                พี่สิงห์ ไม่รู้จะเอาอะไรมาเขียนกลัวข้อกล่าวหา อุตริมนุษย์ธรรม  ก็ต้องอาศับชากด เหล่านี้ครับ และมันก็เป็นสิ่งที่ดี  ที่เราไม่รู้ และมีประโยชน์ มาอ่านผ่านตา จิตมันจะได้นึกได้เอาไปใช้ประโยชน์ ได้ครับ

                                มันก็เป็นเช่นนั้น

                                สวัสดี

ดี นะคะ พี่สิงห์ แม้ ว่า เราเคย รู้มาบ้าง ก็เตือนใจ ให้มีความพยายามในแต่ละเรื่อง
ดีกว่า การที่ท่อง แต่ หัวใจพระเจ้าสิบชาติ ค่ะ
เมื่อก่อน เคย ท่องสวดมนต์ให้ลูกฟังว่า
 เต ชะ สุ เน มะ ภู จ นา วิ เว 
ตามที่เคยท่อง  ลูก ยังเด็ก ก็ถามตามประสาเด็กว่า
 คำย่อ นี้ หมายถึง ใครบ้าง แล้วเพื่ออะไร
 ทำให้ เรา ต้องกลับมาอ่านอีกครั้ง
แต่พอ ในหลวง มีพระราชดำริ ให้จัดพิมพ์ หนังสือ พระมหาชนก ฉบับ การ์ตูน ก็เลยได้ ซื้อมาให้ลูกอ่าน
 แต่ก็ยังมีคึำถามมาจน ได้ ว่า ลูกที่จะกัด นมแม่ ที่กำลังให้นม ตัวเอง อยู่นั้น เด็กดีหรือ
แม่จนปัญญา ต้อง กลับมาอ่าน เพื่อวิเคราห์ เหตุผล อีก
ดังนั้น การที่ให้เด็ก อ่านชาดกนั้น คงต้องมีการอธิบาย ที่ชัดเจน เพิ่มเติม ค่ะ
 ให้อ่านเอง คงยาก นะคะ พี่สิงห์ 


               
                มันก็จริงของเธอ  แต่เราก็สามารถอธิบายให้ลุกฟังได้ ครับ

                สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #7331 เมื่อ: 04 พฤศจิกายน 2555, 16:51:48 »


                             ชาดก เรื่องพระมหาชนกนั้นแสดงถึง การบำเพ็ญ "วิริยบารมี"

                             ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญวิริยบารมี คือความพากเพียร ใจความสำคัญ คือพระมหาชนกราชกุมารเดินทางไปทางทะเล เรือแตก คนทั้งหลายจมน้ำตายบ้าง เป็นเหยี่อของสัตว์น้ำบ้าง แต่ไม่ทรงละความอุตสาหะ ทรงว่ายน้ำโดยกำหนดทิศทางแห่งกรุงมิถิลา ในที่สุดก็ได้รอดชีวิตกลับไปถึงกรุงมิถิลาได้ครองราชสมบัติ. ชาดกเรื่องนี้เป็นที่มาแห่งภาษิตที่ว่า เป็นชายควรเพียรร่ำไป อย่างเบื่อหน่าย ( ความเพียร ) เสีย, เราเห็นตัวเองเป็นได้อย่างที่ปรารถนา, ขึ้นจากน้ำมาสู่บกได้
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #7332 เมื่อ: 04 พฤศจิกายน 2555, 16:58:55 »

วันนี้ พี่สิงห์ ไปดูโขน เรื่อง "จองถนน" รอบ 19:30 น. ครับ
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #7333 เมื่อ: 04 พฤศจิกายน 2555, 20:18:49 »

พี่สิงห์

ไม่ทันแล้วครับ จองถนน เป็นแค่ผู้รับเหมา
เขาจองประเทศนี้กันไปแล้วล่ะ อย่างน้อยก็ 8 ปีเต็ม ??
      บันทึกการเข้า
อ้อย17
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,908

« ตอบ #7334 เมื่อ: 05 พฤศจิกายน 2555, 07:43:09 »


    ตามมาอ่านชาดก อย่างเอาจริงเอาจัง  ขอบคุณที่พี่สิงห์นำมาให้อ่านค่ะ...
    ความจริงก็ตามหลังพี่สิงห์มาอยู่ตลอดแต่ไม่ได้ส่งเสียงค่ะ..
               ขอบคุณในความหวังดีต่อพี่น้องของพี่ค่ะ...
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #7335 เมื่อ: 05 พฤศจิกายน 2555, 08:48:28 »

อ้างถึง
ข้อความของ เหยง 16 เมื่อ 04 พฤศจิกายน 2555, 20:18:49
พี่สิงห์

ไม่ทันแล้วครับ จองถนน เป็นแค่ผู้รับเหมา
เขาจองประเทศนี้กันไปแล้วล่ะ อย่างน้อยก็ 8 ปีเต็ม ??


  ผมก็ปล่อยวางแล้ว  ในเมื่อประชาชนเป็นคนเลือกเอง  ก็ต้องรับกรรมนั้น
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #7336 เมื่อ: 05 พฤศจิกายน 2555, 08:52:04 »

อ้างถึง
ข้อความของ อ้อย17 เมื่อ 05 พฤศจิกายน 2555, 07:43:09

    ตามมาอ่านชาดก อย่างเอาจริงเอาจัง  ขอบคุณที่พี่สิงห์นำมาให้อ่านค่ะ...
    ความจริงก็ตามหลังพี่สิงห์มาอยู่ตลอดแต่ไม่ได้ส่งเสียงค่ะ..
               ขอบคุณในความหวังดีต่อพี่น้องของพี่ค่ะ...

สวัสดีค่ะ คุณน้องอ้อย 17 ที่รัก

                            ขอบคุณมาก

                            พี่สิงห์ คิดเพียงอย่าเดียว การบำเพ็ญบารมีนั้น ถ้าได้อ่าน  ได้คิด  จิตมันจะจำ บางโอกาส เราจะนึกขึ้นมาได้เอง สามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์ได้ เมื่องต้องประสบเหตุการณ์ในทำนองนั้น

                           หลายคนก็ลืมไปแล้ว  หรือไม่เคยรับทราบมาเลย

                          จะนำมาเสนอจนครบ ๑๐ ชาดก  เพราะเคยรับปากคุณวัฒนา  โอภานนท์อมตะ เอาไว้ครับ

                          สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #7337 เมื่อ: 05 พฤศจิกายน 2555, 09:16:59 »





สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง และแขก ที่รักทุกท่าน

                              เมื่อวานผมไปดูโขน เรื่อง "จองถนน" มาครับ การแสดงคงประทับใจผู้ชมเป็นอันมาก เพราะมีเสียงปรลมือตลอด และมีเสียงผู้ชม ที่อินกับการแสดงเป็นอันมาก

                              สำหรับผมนั้น ก็นั่งปฏิบัติธรรม  สร้างความรู้สึกตัวไปด้วย  ได้ดูสภาวะธรรม ที่เกิดขึ้น ชอบ   สุข  ตื่นตันใจ  ประทับใจ  พลอยเศร้า  สงสาร  ก็รู้ได้ นับว่าเป็นประโยชน์ยิ่งต่อรูป-นาม ของเรา

                              การดูโขนนั้นนอกเหนือจาก การแสดง  ฉาก  เครื่องแต่งกาย ที่ดีเลิสแล้ว  ผู้พากษ์โขนนั้น ก็สำคัญ  รวมทั้งนักร้องบทโขน  แต่สิ่งที่ผมให้เครดิตอย่างมากก็คือ วงปี่พาทย์ ทั้งสองวง  ท่านไปดูโขน ท่านลองสังเกตุดู  ท่านจะทราบได้เอง

                             ปีนี้ มันคงมีบทดุดัน ดังนั้นวงปี่พาทย์ทั้งสองวง ระนาดเอกจึงบรรเลงด้วยสุภาพบุรุษ  ซึ่งฝีมือดีทั้งสองคน วงที่ ๑ ดุดัน  วงที่ ๒ นุ่มนวล ปีนี้อาจารย์นิตยา ที่เคยบรรเลงระนาดเอกเมื่อปีที่แล้วฝ่ายนุ่มนวล  มาเล่นระนาดเอกรางเหล้กแทนในวงที่ ๑

                            วงที่ ๑ เล่นเพลงรบ  ยกทัพ ดีมาก เสียอย่างเดียว เวลาหนุมานเกี้ยวนางสุพรรณมัจฉา นั้น ปี่ใน เล่นน้อยไปหน่อยรอบเดียว หนุมานไม่เล่นกับผู้ชม  นางสุพรรณมัจฉา ไม่มีซ่อนกับผู้ชม เลยทำให้บทหนุมานจับนางสุพรรณมัจฉา ไม่โดดเด่น  เพราะจริงๆ แล้วบทนี้จะโดดเด่นมาก เป็นการแสดงของหนุมาน และนางสุวรรณมัจฉา ปี่ใน หรือระนาดเอก โดยเฉพาะ สามารถเล่นได้นาน ๆ เลยทีเดียว จึงทำให้ปี่ในเล่นเพลงกราวใน รอบเดียว (สงสัยคนรำคงไม่ชำนาญ เพราะต้องซ้อมมาก) เลยขาดอรรถรสไปหน่อย

                            วงที่ ๒ นั้น คนเป่าปี่ในเก่งมากโดยเฉพาะเป่าบทโศกที่นิลพลัดคร่ำครวญ เมื่อต้องอาญาจากรพะราม คนเป่าปี่สามารถเป่าตามอาการโศก ได้ชนิดผู้ชมโศกตามทั้งโลงเลย มีอ้อยอิ่ง  จนผมเองที่เฝ้าดูจิตอยู่ เกือบไปเหมือนกันกับบท และนอกจากนี้  ฆ้องวงยังเล่นได้โดดเด่นมาก  และโดยเฉพาะผู้ที่ตีตะโพนนั้น ฝีมือร้ายกาจมากทั้งเสียงและท่าทางการตี

                            ใครที่ยังไม่ได้ไปชมนั้น  ไปเถอะครับ เขาแสดงทั้งเดือนพฤศจิกายน เลยทีเดียว

                             เราต้องสนับสนุน เป็นการรักษาวัฒนธรรมไทยครับ

                            เท่าที่เห็นผู้ชมนั้น มีวัยหนุ่ม สาว  จำนวนพอ ๆกับผู้สูงอายุ แล้วครับ

                            สวัสดี


การแสดงโขนพระราชทาน ชุด จองถนน











เรื่องย่อโขน

 
                           พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ขึ้นเพื่อใช้เป็นมหรสพสำหรับพระนครแล้ว พระราชประสงค์ที่แฝงไว้อีกประการหนึ่ง คือ ใช้เป็นแบบอย่างของการประพฤติปฏิบัติ เป็นคติสอนใจ เช่น ความจงรักภักดีของข้าทหารที่มีแก่เจ้านายของตน เช่น หนุมาน หรือ คุณธรรมคุณความดีในสิ่งที่ถูกต้องที่พิเภกยึดมั่นประจำในใจของตน เป็นต้น
 
                            ด้วยเหตุนี้เอง สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการแสดงโขนพระราชทานขึ้นเป็นประจำทุกปีสืบมาและในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าฯทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา ในปีพุทธศักราชนี้ ทรงเลือกชุดจองถนน คณะกรรมการได้รับสนองพระมหากรุณาธิคุณน้อมรับพระราชดำริให้มาดำเนินการ
 
                             การแสดงโขน ชุด จองถนน ในครั้งนี้ดำเนินตามบทพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประกอบกับบทโขนที่ครูอาจารย์ในกรมศิลปากรได้เรียบเรียงไว้ นำมาสอดประสานปรับเปลี่ยนการดำเนินเรื่องให้เหมาสมกับปัจจุบัน โดยจุดประสงค์ที่ยังอนุรักษ์ศิลปะการแสดงแบบโขนหลวงไว้อย่างครบถ้วน ทั้งรูปแบบการบรรเลงขับร้องและกระบวนท่ารำที่วิจิตรงดงามมาแต่อดีตที่ถ่ายทอดผ่านครูอาจารย์มาถึงปัจจุบัน
 
                            เนื้อเรื่องย่อเริ่มตั้งแต่ พระรามปรึกษาการศึก หลังจากที่ได้พาพลวานรจากเมืองขีดขินและเมืองชมพู ยกกองทัพมาตั้งทัพตรงข้ามกับเกาะกรุงลงกา พระรามปรึกษาหาวิธีที่จะข้ามไปยังกรุงลงกา ข้าทหารทั้งหลายต่างทูลอาสาต่างๆกันไป แต่เมื่อพญาวานรชามภูวราช ทูลแนะนำว่าควรจะถมถนนข้ามไปกรุงลงกาเพื่อให้ปรากฎเป็นเกียรติยศสืบไปชั่วกาลนาน พระรามทรงเห็นชอบ โดยให้สุครีพเป็นผู้กำกับคอยคุมหนุมานและนิลพัทรับอาสาผลัดกันเป็นฝ่ายขนหินมาถม แต่เนื่องจากทั้งหนุมานและนิลพัทหมางใจขุ่นเคืองกัน แต่ครั้งที่หนุมานเคยไปสะกดท้าวมหาชมพูให้มาเฝ้าพระราม ซึ่งเป็นการกระทำที่หักหน้านิลพัท นิลพัทจึงผูกใจเจ็บกับหนุมานตลอดมา ในการจองถนนครั้งนี้นิลพัทคิดการแก้แค้น เมื่อฝ่ายตนรับอาสาเป็นผู้ขนหินมาถมถนนก่อน นิลพัทขนหินมามากมาย หนุมานให้นิลพัทโยนหินลงมาทีละสองก้อน แต่นิลพัทท้าทายว่าเมื่อขนมาเท่าใดหนุมานจะต้องรับหินให้ได้ ในที่สุดหนุมานก็รับไว้ได้ ครั้นถึงคราวที่หนุมานขนมาบ้าง หนุมานเนรมิตรกาย ขนหินมาเต็มทั้งตัวโดยผูกไว้กับขนรอบกาย นิลพัทก็เกี่ยงให้โยนมาทีละน้อย ถ้าโยนมามากรับไม่ไหวจะใช้เท้ารับ ในที่สุดเมื่อนิลพัท ใช้เท้าช่วยรับจึงเกิดการวิวาทต่อสู้กันขึ้น สุครีพเข้าห้ามปราม เมื่อพระรามได้ยินเสียงอึกทึกครึกโครม จึงให้พระลักษณ์เสด็จออกมาดู พระลักษณ์ทราบเรื่องจึงพาทั้งสองพญาวานรเข้าเฝ้า พระรามได้พิจารณาโทษเห็นว่าทั้ง 2 ฝ่ายก็ล้วนแต่เรืองฤทธานุภาพ เปรียบเสมือนเสือ 2 ตัว ไม่สมควรที่จะให้อยู่ถ้ำเดียวกัน พระรามจึงให้นิลพัทกลับไปช่วยท้าวมหาชมพูดูแลเมืองขีดขินและมีหน้าที่ส่งเสบียงเลี้ยงกองทัพ ส่วนหนุมานนั้นให้ดำเนินการถมถนนข้ามไปกรุงลงกาแต่ผู้เดียวให้สำเร็จ หนุมานจึงดำเนินการ แต่ในขณะที่ถมหินทำถนนนั้น ทศกัณฐ์ทราบข่าวจึงใช้ให้นางสุพรรณมัจฉา ธิดาซึ่งเกิดจากนางปลา พาบริวารไปทำลายการจองถนน เมื่อหนุมานเห็นมีเหตุการ์ณผิดปกติจึงดำน้ำลงไปสำรวจ พบนางสุพรรณมัจฉา ในที่สุดหนุมานได้นางเป็นชายาและขอให้นางพาบริวารปลาไปขนก้อนหินมาถมไว้ดังเดิม การถมถนนข้ามไปกรุงลงกาจึงสำเร็จลงได้ พระอินทร์ใช้ให้พระวิสุกรรม นำเวชยันตราชรถมาถวายพระราม พระรามทรงรถพาพลวานรข้ามไปยังกรุงลงกาได้สำเร็จ และเป็นพระเกียรติยศยิ่งใหญ่ ปรากฎเป็นถนนพระรามข้ามไปทำศึกกับกรุงลงกาของทศกัณฐ์ พระรามทำศึกต่อสู้กับฝ่ายกรุงลงกาที่นำพระญาติวงศ์และราชสัมพันธมิตรออกรบ แต่ก็พ่ายแพ้ ในการศึกที่ทศกัณฐ์ออกรบเป็นครั้งแรกนี้ ทศกัณฐ์ประเดิมศึกพาพระโอรสที่เกิดจากนางสนม 10 ตนพร้อมกับ สิบขุน ออกรบด้วย ทั้งสองฝ่ายต่อสู้กันเป็นสามารถ ในการศึกครั้งนี้สิบขุนสิบรถถูกฆ่าตายหมด ทศกัณฐ์แผลงศรบันดาลเป็นไฟไหม้กองทัพพระราม พระรามแผลงศรเป็นน้ำดับไฟได้ ศรพระรามปักอุระทศกัณฐ์ ทศกัณฐ์แก้ไขได้ ประจวบกับเป็นเวลาใกล้ค่ำพระอาทิตย์อัสดง กองทัพของทั้งสองฝ่ายจึงหยุดหย่าทัพตามจารีตกระบวนศึกที่มีมา
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #7338 เมื่อ: 05 พฤศจิกายน 2555, 17:15:58 »

การบำเพ็ญเมตตาบารมี


 
                          ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญเมตตาบารมี คือการแผ่ไมตรีจิตคิดจะให้สัตว์ทั้งปวงเป็นสุขทั่วหน้า มีเรื่องเล่าว่า สุวรรณสามเลี้ยงมารดาบิดาของตน ซึ่งเสียจักษุในป่า และเนื่องจากเป็นผู้มีเมตตาปรารถนาดีต่อผู้อื่น หมู่เนื้อก็เดินตามแวดล้อมไปในที่ต่าง ๆ วันหนึ่งถูกพระเจ้ากรุงพาราณสี ชื่อปิลยักษ์ยิงเอาด้วยธนู ด้วยเข้าพระทัยผิด ภายหลังเมื่อทราบว่าเป็นมาณพผู้เลี้ยงมารดาบิดา ก็สลดพระทัย จึงไปจูงมารดาบิดาของสุวรรณสามมา.

                            มารดาบิดาของสุวรรณสามก็ตั้งสัจจกิริยา อ้างคุณความดีของสุวรรณสามขอให้พิษของศรหมดไป สุวรรณสามก็ฟื้นคืนสติ และได้สอนพระราชา แสดงคติธรรมว่า ผู้ใดเลี้ยงมารดาบิดาโดยธรรม แม้เทวดาก็ย่อมรักษาผู้นั้น ย่อมมีคนสรรเสริญในโลกนี้ ละโลกนี้ไปแล้วก็บันเทิงในสวรรค์ ต่อจากนั้นเมื่อพระราชาให้สั่งสอนต่อไปอีก ก็สอนให้ทรงปฏิบัติธรรมปฏิบัติชอบในบุคคลทั้งปวง.


ชาติที่ ๓ สุวรรณสาม

 


                           เมื่อครั้งอดีตกาลนานมาแล้วยังมีหมู่บ้านพรานแห่งหนึ่งตั้งอยู่บนสองฝั่งแม่น้ำทางใต้ของเมืองพาราณสีหมู่บ้านพรานทั้งสองฝั่งแม่น้ำนั้น ต่างก็มีความสนิทสนมกลมเกลียวกันเสมอมาด้วยเพราะนายบ้านของสองหมู่บ้านนั้นต่างก็เป็นสหายสนิทที่เคยสัญญากันว่าหากมีลูกสาวลูกชายก็จะให้ลูกทั้งสองฝ่ายได้แต่งงานกันในวันข้างหน้า

                           ครั้นต่อมาภรรยาของนายบ้านทั้งสองฝั่งต่างก็คลอดลูกออกมาพร้อมๆ กัน บ้านหนึ่งนั้นคลอดลูกเป็นชายชื่อว่า “ทุรกะ” อีกบ้านหนึ่งนั้นคลอดลูกเป็นหญิงให้ชื่อว่า “ปาริกา”

                           เด็กชายและเด็กหญิงของทั้งสองด้านนั้นมีความผิดแปลกแตกต่างไปจากผู้เป็นบิดามารดาของตนเป็นอันมาก เพราะครอบครัวของทั้งสองด้านและทั้งหมู่บ้านนั้นล้วนแต่ทำมาหากินเลี้ยงชีพด้วยการเป็นพรานออกเข้าป่าล่าสัตว์ต่างๆ เพื่อนำมาประทังชีวิต ในขณะที่เด็กชายและเด็กหญิงทั้งสองกลับมิปรารถนาในการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตด้วยเพราะมีจิตใจเมตตาอารีเป็นพิเศษ มักจะคอยช่วยกันห้ามปรามผู้ที่จะเอาชีวิตสัตว์ทั้งหลายอยู่เสมอ

                           ครั้นเมื่อเจริญวัยขึ้นถึงวัยอันสมควรแก่การมีเหย้ามีเรือนได้แล้ว หนุ่มสาวทั้งสองก็ต้องแต่งงานกันตามที่พ่อแม่แต่ละฝ่ายสัญญาไว้แต่ทว่าทั้งสองนั้นแม้อยู่ร่วมบ้านเดียวกันแต่ก็มิได้ประพฤติเยี่ยงสามีภรรยาทั่วไป ด้วยเพราะทั้งคู่ตกลงเข้าใจกันว่าเมื่อต่างมิได้มีจิตเสน่หาต่อกันเยี่ยงชายหญิงก็ขอให้อยู่ร่วมบ้านกันอย่างมิตรแต่เพียงเท่านั้นเถิด

                           ข้างฝ่ายชายนั้นแม้บิดาจะให้ร่ำเรียนวิชาธนูเพื่อเตรียมเป็นนายพรานต่อไป เขาก็มิยินดีในการร่ำเรียนวิชาธนูนั้น จนกระทั่งผู้เป็นบิดาโกรธที่ลูกชายยืนยันมิอยากจะเป็นนายพรานฆ่าสัตว์ตัดชีวิต จึงได้กล่าวเป็นเชิงขับไล่ให้เขาออกไปจากหมู่บ้านนี้เลย

                           ผู้เป็นลูกชายจึงกล่าวคำขออนุญาตบิดามารดาว่าตนจะขอออกบวช ซื่งฝ่ายหญิงนั้นก็มีจิตใจมุ่งมั่นที่จะออกบวชด้วยเช่นกัน ทั้งสองจึงได้ล่ำลาบิดามารดาของตนแล้วออกเดินทางเข้าป่าเพื่อหาที่สงบบำเพ็ญพรตเป็นนักบวชต่อไป

                           ในวันหนึ่งพระอินทร์ได้บังเกิดร้อนอาสน์จึงได้เล็งทิพยเนตรอันวิเศษตรวจตราดู ก็ได้รู้เห็นว่ามีหนุ่มสาวคู่หนึ่งตกระกำลำบากอยู่ในป่าด้วยจิตใจที่มีศรัทธามุ่งมั่นอยากจะเป็นนักบวช

                            พระอินทร์จึงมีรับสั่งให้พระวิษณุกรรมลงไปช่วย ซึ่งพระวิษณุกรรมก็ได้นิรมิตศาลาใหม่แห่งหนึ่งตั้งไว้กลางป่า ณ บริเวณที่ร่มรื่นและเงียบสงบ และได้เขียนหนังสือทิ้งไว้ที่หน้าศาลาว่าหากผู้ใดมีจิตมุ่งมั่นที่จะบำเพ็ญพรตจำศีลภาวนาก็ขอให้ใช้ประโยชน์ ณ ศาลานี้ต่อไปเถิด

                            หนุ่มสาวทั้งสองปีติยินดีนัก ที่พบศาลาอยู่กลางป่าจึงได้เข้าไปอาศัยอยู่ในศาลานั้น และตั้งมั่นบาเพ็ญพรตถือศีลภาวนาอย่างสงบสืบต่อไป

                            วันเวลาผ่านได้ไม่ช้าไม่นานนัก พระอินทร์ก็ทรงทราบด้วยญาณวิเศษว่า ต่อไปนักบวชชายหญิงทั้งสองจะต้องเสียตาด้วยเพราะกรรมเก่าตามมาทัน หากเป็นเช่นนั้นนักบวชชายหญิงทั้งสองจะต้องได้รับความลำบากยากเข็ญเป็นยิ่งนัก เพราะเมื่อไร้ตาแล้วจะหาอาหารและดำรงชีวิตอยู่อย่างไม่สะดวกสบายเป็นแน่

                             พระอินทร์จึงเสด็จลงไปในป่า แล้วบอกเล่าชะตากรรมของทั้งสองให้นักบวชได้รู้ ทุรกะดาบส และ ปาริกาดาบสินี ต่างก็ยืนยันว่า “ท่านอย่าห่วงเลยเมื่อเรามุ่งมั่นสละชีวิตเพื่อบำเพ็ญพรตอยู่ในป่านี้แล้วก็มิเป็นห่วงกังวลหรอกว่าจะต้องเสียนัยน์ตาไปเรายังสามารถอยู่ ในป่านี้ใด้”เมื่อเห็นว่าทั้งคู่มิมีความทุกข์ร้อนในชะตากรรมของตนเช่นนั้น พระอินทร์จึงทรงแนะนำว่า “เอาอย่างนี้เถิดทุรกะดาบส หากเมื่อถึงเวลาที่ภรรยาของท่านจะมีระดูในเดือนหน้านี้ขอให้ท่านจงเอามือลูบท้องภรรยาของท่านสามครั้ง จากนั้นปาริกาดาบสินีก็จะตั้งครรภ์ เพื่อที่จะได้มีลูกเอาไว้รับใช้ สืบต่อไป ”

                              ครั้นในเดือนต่อมาเมื่อนางปาริกามีระดู ทุรกะดาบสก็เอามือลูบท้องนางปาริกาสามครั้งจากนั้น นางปาริกาก็ตั้งครรภ์อย่างอัศจรรย์ตามคำของพระอินทร์ทุกประการ

                              ครั้นเมื่อครบกำหนดในปลายปีนั้นนางปาริกาดาบสินีก็คลอดกุมารน้อยออกมาเป็นเด็กหน้าตาน่ารัก และมีผิวพรรณสุกปลั่งดั่งทองคำ ทุรกะดาบสจึงตั้งชื่อกุมารน้อยว่า “สุวรรณสาม”

                              ในวันหนึ่งเป็นวันที่กรรมเก่าตามมาถึงดั่งที่พระอินทร์ทรงเคยเตือนไว้ ทุรกะดาบส และนางปาริกาดาบสินี ได้เข้าไปหลบฝนในพุ่มไม้แห่งหนึ่งขณะที่ออกไปหาอาหารมาให้ลูกน้อยกินตามปกติ

                              ในพุ่มไม้นั้น งูเห่าซ่อนอยู่ตัวหนึ่ง งูเห่าตัวนั้นได้พ่นพิษออกใส่ตาของคนทั้งสองจนกระทั่งนัยน์ตาของทุรกะ และนางปาริกามืดบอดลงไปในทันใด

                              เด็กน้อยสุวรรณสามผู้ชาญฉลาดนั้นรอคอยบิดามารดาจนเย็นย่ำก็นึกสังหรณ์ใจ จึงออกจากอาศรมเข้าไปตามหาบิดามารดาในป่า
 


                              ครั้นเมื่อเห็นบิดาและมารดาถูกพิษงูจนตาบอดเช่นนั้นก็กล่าวว่า “อย่ากังวลเลยพ่อจ๋าแม่จ๋าต่อไปนี้ฉันจะได้เลี้ยงดูพ่อแม่สักที”
หลังจากนั้นสุวรรณสามก็ปรนนิบัติรับใช้บิดามารดาอย่างดียิ่งทุกเช้าหลังจากตักน้ำไว้ให้พ่อแม่ได้ล้างหน้าแล้วก็จะเข้าป่าไปหาผักผลหมากรากไม้มาไว้ที่อาศรม จากนั้นก็เข้าป่าไปหาฟืนและกลับมาคอยเฝ้าปรนนิบัติภักดีบิดามารดาอย่างมิขาดตกบกพร่อง

                              ในเวลานั้นทางเมืองพาราณสีอยู่ในความปกครองของกษัตริย์พระนามว่า พระเจ้ากบิลยักษ์ พระราชาแห่งพาราณสีนี้ทรงโปรดปรานการเข้าป่า ล่าสัตว์อยู่เป็นนิจ

                              ในวันหนึ่งพระเจ้ากบิลยักษ์ได้เสด็จประพาสป่าพร้อมด้วยกระบวนข้าราชบริพารคนสนิท และได้เสด็จมาถึงบริเวณลำธารน้อยแห่งหนึ่งกลางป่า พระราชาทรงทอดพระเนตรเห็นรอยเท้าสัตว์ต่างๆ ในป่าอยู่ที่ริมลำธารเต็มไปหมด จึงรู้ได้ว่าบริเวณริมลำธารคงจะเป็นแหล่งที่มีสัตว์น้อยใหญ่ชุกชุมเป็นแน่ จึงได้ชวนข้าราชบริพารไปดักซุ่มอยู่หลังพุ่มไม้ใหญ่

                             ลำธารนั้นเป็นลำธารที่สุวรรณสามมาตักน้ำเป็นประจำ และในวันนั้นสุวรรณสามก็มาถึงยังลำธารพร้อมสัตว์ต่างๆ มากมาย มีเนื้อและกวางเป็นอาทิ บรรดาสัตว์ต่างๆ มีความคุ้นเคยดีกับสุวรรณสามจึงได้พากันมาแวดล้อมมากมายราวกับเป็นมิตรสนิทกัน ขณะที่สุวรรณสามตักน้ำอยู่ในลำธารนั่นเอง พระราชาได้ทอดพระเนตรเห็นท่ามกลางความตกตะลึงในวินาทีนั้น “เด็กหนุ่มผู้นั้นไฉนจึงมีรูปร่างสง่างามราวกับเทวดา เห็นทีจะไม่ใช่มนุษย์เป็นแน่แท้ ที่มาอย่างไรดีจึงจะได้เข้าไปชมดูใกล้ๆ ให้รู้ว่าเป็นมนุษย์หรือเทพเป็นแน่”

                            เมื่อคิดดังนั้นพระเจ้ากบิลยักษ์ก็โก่งคันศรขึ้นมุ่งหมายจะยิงเข้าใส่สุวรรณสาม ด้วยเพราะเกรงว่าถ้าพระองค์ได้ปรากฏตัวออกไปก็จะทำให้สุวรรณสามตกใจหนีไปเลย จึงได้คิดจะยิงเพียงให้ล้มลงเพื่อพระองค์จะได้เข้าไปชมดูใกล้ๆ ได้สะดวกแล้วในบัดนั้นเองลูกศรก็แล่นละลิ่วออกจากคันศรพุ่งเข้าปักใส่อกของสุวรรณสามทันทีสุวรรณสามสะท้านไปทั้งร่าง ค่อยๆ ลดหม้อน้ำลงจากบ่าทรุดลงนั่งพลางร้องถามออกไปว่า  “ผู้ใดเป็นคนยิงเราได้โปรดออกมาเถิด เราอยากจะทราบว่าท่านยิงเราด้วยต้องการอันใด หากยิงช้างก็คงต้องการงา หากล่าเสือก็ต้องการหนัง เมื่อยิงเราเช่นนี้มิทราบว่าต้องการอันใดหรือ”

                         พระราชาแห่งพาราณสีอัศจรรย์ใจยิ่งนัก เมื่อเห็นเด็กหนุ่มผู้งามสง่าเรียกหาอย่างสุภาพอ่อนโยนเช่นนั้น ทั้งๆ ที่ถูกยิงเข้าใส่กลับไม่มีทีท่าโกรธแค้นแต่อย่างใด

                         พระราชาจึงเสด็จออกจากพุ่มไม้ที่ซ่อนอยู่ พร้อมกับข้าราชบริพารเข้าไปหาสุวรรณสามพลางว่า “เราเป็นคนยิงเจ้าเองพ่อหนุ่มเอ๋ย แต่แรกเรามิได้ตั้งใจหรอก เรามุ่งหมายจะยิงเนื้อเมื่อเจ้าผ่านมาจึงทำให้เนื้อตกใจหนีไป เราจึงยิงพลาดมาถูกเจ้า

                        ”เมื่อพระราชาตรัสโป้ปดเช่นนั้น สุวรรณสามก็เอ่ยว่า “ท่านอย่าโป้ปดเราเลย เนื้อนั้นจะแตกตื่นได้อย่างไร ก็ทั้งเนื้อ และกวางในป่านี้มิเคยกลัวเรามีแต่คุ้นเคยและเป็นเพื่อนกับเรามาตั้งแต่เรายังเล็กยังน้อย เมื่อเราไปตักน้ำกวางและเนื้อต่างๆ ก็จะมาเล่นด้วย แล้วก็เดินกลับไปยังอาศรมพร้อมกับเราเสมอ ท่านยิงเราวันนี้เห็นทีเป็นการตั้งใจโดยแท้ ท่านประสงค์สิ่งใดขอให้บอกเราให้ได้รู้ด้วยเถิด”เมื่อฟังเช่นนั้นพระราชาทรงละอายยิ่งนัก และก็ตรัสถามออกไปว่า “พ่อหนุ่มเอ๋ยไฉนเจ้าจึงอยู่ในป่าลึกเช่นนี้ เจ้าเป็นรุกขเทพเทวดาเจ้าป่าเจ้าเขาหรือเป็นมนุษย์เดินดินธรรมดา อันตัวเรานี้เป็นพระราชาแห่งกรุงพาราณสีที่เข้าป่ามาในครั้งนี้เพื่อจะล่าสัตว์อันเป็นความโปรดปรานของเรา”

                         สุวรรณสามจึงกราบทูลว่า “ขอเดชะข้าแต่พระราชาผู้เป็นใหญ่ในพาราณสีหม่อมฉันนั้นเป็นบุตรของฤๅษีจำศีลบำเพ็ญพรตอยู่ในป่าแห่งนี้มาเป็นเวลา ๑๐ กว่าปีแล้ว หม่อมฉันมาตักน้ำที่ลำธารนี้ทุกวันเพื่อจะเอาไปให้บิดามารดาได้อาบและได้กิน เมื่อได้มาพบพระราชาในที่นี้นับว่าเป็นบุญนัก หม่อนฉันขอให้พระองค์ทรงมีพระอายุยิ่งยืนยาวเถิด”

                          พระราชาทั้งสลดหดหู่พระทัย และทั้งละอายพระทัยยิ่งนักทรงตรัสต่อไปว่า“การที่เรายิงถูกเจ้าเช่นนี้ เจ้ามิโกรธเคืองเราสักนิดเลยหรือ”สุวรรณสามแม้จะเจ็บปวดพิษบาดแผลจากลูกศรที่ปักตรึงอยู่กลางอก แต่ก็พยายามกราบทูลอย่างนอบน้อมว่า “หม่อมฉันไม่โกรธเคืองพระองค์หรอกพระเจ้าข้า การที่หม่อมฉันถูกยิงเช่นนี้ก็นับว่าป็น กรรมของหม่อมฉันโดยแท้ หม่อมฉันไม่เคยเป็นห่วงในชีวิตของตนเอง จะเป็นห่วงก็แต่บิดามารดาเท่านั้น ว่าท่านจะดำรงชีวิตสืบต่อไปได้อย่างไร ด้วยเพราะท่านทั้งสองนั้นตาบอดคงมิสามารถจะหาเลี้ยงชีพตามลำพังได้เป็นแน่”
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #7339 เมื่อ: 05 พฤศจิกายน 2555, 20:22:29 »

สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง ที่รักทุกท่าน

                               วันอังคาร พี่สิงห์ ต้องไปบำเพ็ญเมตตาบารมี ตามแบบสุวรรณสาม ที่จังหวัดนครปฐม

                               คือไปสอนหนังสือ ให้กับวิศวกร  โฟร์แมน  ที่โรงงานผลิตเสาเข็ม แห่งหนึ่ง  ไม่ทราบรายละเอียด

                               เรื่อง "การผลิตเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงแบบมืออาชีพ"

                               ทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือนก็คงต้องรอเวลาบ่ายๆ  ท่านก็ทบทวน ชาดก ดู เพราะจิตมันจะได้จำ ยามคับขันจะได้นำออกมาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตได้

                               การบำเพ็ญเนกขัมมะบารมี ของ พระเตมีย์ใบ้

                               การบำเพ็ญวิริยะบารมี ของ พระมหาชนก

                               การบำเพ็ญเมตตาบารมี ของ สุวรรณสาม

                               ราตรีสวัสดิ์ ครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #7340 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2555, 05:28:08 »

สวัสดียามเช้าครับ ชาวซีมะโด่ง ที่รักทุกท่าน

                              ทุกท่านลอง ทดลองกับตัวท่านดู

                               ตื่นเช้าประมาณตีห้า หรือตีสี่ครึ่งก็ได้ เมื่อตื่นแล้ว  ล้างหน้าล้างตาให้แจ่มใส่

                               ลองเดินจงกรม  หาพื้นที่ปูด้วยดิน  ไม้  หรือพรหมในห้องนอน เพราะจะเป็นผลดีต่อเท้า

                               ท่านเดินจงกรมไป  ก็ให้รู้สึกตัวในการก้าวเท้า  เหยี่ยบลงพื้น  ยกเท้า คือเท้าเคลื่อน - หยุด  รู้สึกตัวไปแบบนี้  ระยะแรกอาจจะเพ่ง  แต่พอเวลาผ่านไปสักพัก มันจะเป็นธรรมชาติขึ้น  จิตท่านจะค่อยๆ สงบ  การคิดน้อยลง  การรู้สึกตัวมากขึ้น  อยู่อย่างนี้  ทำไป ๆ ท่านจะพบว่าจิตท่านจะสงบ   สว่าง  เบา  ไม่อึดอัด  สบายๆ ท่านจะทราบด้วยตัวท่านเอง  รู้สึกตัวไปเรื่อยๆ ถ้ามีความคิด หรืออารมณ์เกิดขึ้น  มีอะไรมากระทบทางอายตนะ  ท่านก็จะรับรู้ได้  แต่ไม่ปรุงแต่งต่อ  เพียงแค่นี้ครับ  กระทำให้เป็นธรรมชาติ  สังเกตรูป-นาม ตนเอง ไปเรื่อยๆ ท่านจะเรียนรู้รูป-นาม ของท่านด้วยตัวของท่านเอง  เมื่อยเมื่อไร  เห็นว่าพอสมควรแล้ว ท่านก็เลิก  แต่เก็บความรู้สึกตัวนั้น เอาไปใช้ดูจิตตนเอง ในชีวิตประจำวันของท่าน  ท่านจะพบว่า  มันคิดน้อยลง  มีความรู้สึกตัวมากขึ้น  ทุกข์มันจะน้อยลงไปเองตามธรรมชาติ ครับ

                                 เช้านี้มีความคิดในทางกุศล  มีวิริยะในการกระทำให้สำเร็จ  มีเมตตาต่อสัตว์โลกปราถนาให้เขาพ้นทุกข์ คือคิดในทางที่ดี  เช้านี้ก็จะเป็นเช้าที่ดี  สำหรับท่านครับ

                                 สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Kaimook
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,132

« ตอบ #7341 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2555, 11:36:59 »

อ้างถึง
ข้อความของ too_ploenpit เมื่อ 02 พฤศจิกายน 2555, 07:55:50
อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 01 พฤศจิกายน 2555, 19:17:53
สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง ที่รักทุกท่าน

                                  อะไร ๆ ที่เราคิดนั้น มันเป็นสิ่งที่มนุษย์เขาบัญญัติ และตั้งชื่อขึ้นมา  มนุษย์เลยจำได้ และสามารถเรียกชื่อได้ เมื่อพบอีกครั้ง หรือสามารถนึกขึ้นมาได้จากสัญญา คือความจำได้หมายรู้ที่อยู่ในสมอง

                                  ทุกวันนี้สิ่งที่เราทุกข์ คือตัวรูป-นาม ที่เราไปยึดว่ามันคือตัวตนของเรา  จริงๆ แล้วรูป-นาม มันไม่ใช่ตัวตนของเราเลย เพราะเราไม่มีอำนาจเหนือรูป-นาม นั้นเลย  ท่านสั่งอะไร รูป-นาม ไม่ได้  เวลาท่านทุกข์ รูป-นาม มันเป็นตัวทุกข์ ท่านไม่ได้ทุกข์ตามไปด้วย  นอกเสียจากท่านคิดว่ารูป-นามนั้นคือตัวตนของท่าน

                                   อะไรๆ ที่เป็นสมมติบัญญัติ หรือสิ่งที่ท่านคิดนั้น มีแต่ทุกข์

                                   ดังนั้นท่านจะต้องหยุดการคิด  อย่าปล่อยอารมณ์ของท่านให้อยู่ในความคิด หรือล่องลอยไปกับความคิด

                                   ท่านสามารถจะคิดได้ ในกรณีของการทำงาน ทำกิจวัตรประจำ และท่านต้องรู้ตัวว่ากำลังคิด แต่ไม่ตกอยู่ใต้ความคิด

                                    ท่ีานจะต้องสร้างให้มีความรู้สึกตัวอยู่กับ การหายใจเข้า-ออก เคลื่อนไหว-หยุดการเคลื่อนไหว ท่านจพต้องรู้สึกตัวเมื่อท่านทุกข์เวทนา  สุขเวทนา และอุเบกขา เมื่อมีอารมณ์เกิดขึ้นกับท่านเช่น โลภ  โกรธ  หลง หรืออารมณ์ต่างๆ ก็ตามท่านจะต้องรู้ศึกตัว แต่ไม่ตกอยู่ในอารมณ์นั้น เมื่อจิตของท่านเป็นกุศล ท่านก็รู้สึกตัว  เมื่อจิตของท่านเป็นอกุศล ท่านก็รู้สึกตัว

                                   การรู้สึกตัวจะทำให้ท่านไม่คิด  ถ้าท่านรู้อยู่กับปัจจุบันมากๆ ท่านจะคิดน้อยลง เมื่อคิดน้อยลง ท่านก็จะทุกข์น้อยลง  ไม่เชื่อท่านลองสังเกตุ รูป-นาม ของท่าน แล้วท่านจะทราบด้วยตัวท่านเอง

                                   ราตรีสวัสดิ์ทุกท่านครับ



...สวัสดีค่ะ...พี่สิงห์...

...เมื่อวานตู่ได้นำธรรมะหัวข้อนี้ไปลงในหน้าเฟสบุ๊คของตู่นะคะ...

...ขออนุญาติก๊อปไปเรื่อยๆนะคะ...

...เรื่องกุฎิพระ...ถ้าพี่สิงห์มีรูปช่วยนำมาลงให้ชมบ้างนะคะ...

...อยากเห็นบ้านดินด้วยค่ะ...ถ้าเอามาทำที่วัดป่า...จะเหมาะมั้ยคะ...

...ที่วัดอากาศชื้นค่ะ...พวกหมอน...ผ้านวม...ถ้าเผลอไม่เอามาผึ่งแดด...

...จะขึ้นราเร็วมากค่ะ...ตู่ทิ้งหมอนไปหลายใบแล้ว...

  สวัสดีค่ะพี่สิงห์  พี่ป๋อง  พี่ตู่  พี่เอมอร  น้องหมอตุ่น เข้ามาอ่านธรรมะของพี่สิงห็ค่ะชอบธรรมะนี้เหมือนพี่ตู่เลยค่ะและขออนุญาตเอาไปลงในเฟสของหนูนะคะ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #7342 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2555, 20:06:14 »

อ้างถึง
ข้อความของ Kaimook เมื่อ 06 พฤศจิกายน 2555, 11:36:59
อ้างถึง
ข้อความของ too_ploenpit เมื่อ 02 พฤศจิกายน 2555, 07:55:50
อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 01 พฤศจิกายน 2555, 19:17:53
สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง ที่รักทุกท่าน

                                  อะไร ๆ ที่เราคิดนั้น มันเป็นสิ่งที่มนุษย์เขาบัญญัติ และตั้งชื่อขึ้นมา  มนุษย์เลยจำได้ และสามารถเรียกชื่อได้ เมื่อพบอีกครั้ง หรือสามารถนึกขึ้นมาได้จากสัญญา คือความจำได้หมายรู้ที่อยู่ในสมอง

                                  ทุกวันนี้สิ่งที่เราทุกข์ คือตัวรูป-นาม ที่เราไปยึดว่ามันคือตัวตนของเรา  จริงๆ แล้วรูป-นาม มันไม่ใช่ตัวตนของเราเลย เพราะเราไม่มีอำนาจเหนือรูป-นาม นั้นเลย  ท่านสั่งอะไร รูป-นาม ไม่ได้  เวลาท่านทุกข์ รูป-นาม มันเป็นตัวทุกข์ ท่านไม่ได้ทุกข์ตามไปด้วย  นอกเสียจากท่านคิดว่ารูป-นามนั้นคือตัวตนของท่าน

                                   อะไรๆ ที่เป็นสมมติบัญญัติ หรือสิ่งที่ท่านคิดนั้น มีแต่ทุกข์

                                   ดังนั้นท่านจะต้องหยุดการคิด  อย่าปล่อยอารมณ์ของท่านให้อยู่ในความคิด หรือล่องลอยไปกับความคิด

                                   ท่านสามารถจะคิดได้ ในกรณีของการทำงาน ทำกิจวัตรประจำ และท่านต้องรู้ตัวว่ากำลังคิด แต่ไม่ตกอยู่ใต้ความคิด

                                    ท่ีานจะต้องสร้างให้มีความรู้สึกตัวอยู่กับ การหายใจเข้า-ออก เคลื่อนไหว-หยุดการเคลื่อนไหว ท่านจพต้องรู้สึกตัวเมื่อท่านทุกข์เวทนา  สุขเวทนา และอุเบกขา เมื่อมีอารมณ์เกิดขึ้นกับท่านเช่น โลภ  โกรธ  หลง หรืออารมณ์ต่างๆ ก็ตามท่านจะต้องรู้ศึกตัว แต่ไม่ตกอยู่ในอารมณ์นั้น เมื่อจิตของท่านเป็นกุศล ท่านก็รู้สึกตัว  เมื่อจิตของท่านเป็นอกุศล ท่านก็รู้สึกตัว

                                   การรู้สึกตัวจะทำให้ท่านไม่คิด  ถ้าท่านรู้อยู่กับปัจจุบันมากๆ ท่านจะคิดน้อยลง เมื่อคิดน้อยลง ท่านก็จะทุกข์น้อยลง  ไม่เชื่อท่านลองสังเกตุ รูป-นาม ของท่าน แล้วท่านจะทราบด้วยตัวท่านเอง

                                   ราตรีสวัสดิ์ทุกท่านครับ



...สวัสดีค่ะ...พี่สิงห์...

...เมื่อวานตู่ได้นำธรรมะหัวข้อนี้ไปลงในหน้าเฟสบุ๊คของตู่นะคะ...

...ขออนุญาติก๊อปไปเรื่อยๆนะคะ...

...เรื่องกุฎิพระ...ถ้าพี่สิงห์มีรูปช่วยนำมาลงให้ชมบ้างนะคะ...

...อยากเห็นบ้านดินด้วยค่ะ...ถ้าเอามาทำที่วัดป่า...จะเหมาะมั้ยคะ...

...ที่วัดอากาศชื้นค่ะ...พวกหมอน...ผ้านวม...ถ้าเผลอไม่เอามาผึ่งแดด...

...จะขึ้นราเร็วมากค่ะ...ตู่ทิ้งหมอนไปหลายใบแล้ว...

  สวัสดีค่ะพี่สิงห์  พี่ป๋อง  พี่ตู่  พี่เอมอร  น้องหมอตุ่น เข้ามาอ่านธรรมะของพี่สิงห็ค่ะชอบธรรมะนี้เหมือนพี่ตู่เลยค่ะและขออนุญาตเอาไปลงในเฟสของหนูนะคะ

สวัสดีค่ะ คุณน้อง Kaimook ที่รัก

                         เชิญตามสบายเลย  ที่นี่ไม่มีข้อห้ามใด ๆ ทั้งสิ้น  ใครชอบใจอะไร สามารถ coppy  เอาไปได้เลยไม่ต้องขออนุญาติ ทั้งสิ้น

                        จิตเธอปกติ หรือยัง อย่าลืมมันเป็นอดีตไปแล้ว  ต้องมีความรู้สึกตัวอยู่กับ ปัจจุบัน เวลาสามารถรักษาได้ครับ  ถ้ายังคิดถึงท่านก็ใส่บาตรพระตอนเช้า และอุทิศส่วนกุศลให้ท่าน  จิตจะได้สงบ ครับ

                         เธอสบายดีนะ

                         สวัสดีค่ะ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #7343 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2555, 20:18:50 »

๔ . เนมิราชชาดก (พระเนมิราช)


                         ชาดกเรื่องนี้แสดงถึงการบำเพ็ญอธิษฐานบารมี

                            คือความตั้งมั่นคง. มีเรื่องเล่าว่า เนมิราชกุมารได้ครองราชสืบสันตติวงศ์ต่อจากพระราชบิดา ทรงบำเพ็ญคุณงาม ความดีเป็นที่รักของมหาชน และในที่สุด เมื่อทรงพระชราก็ทรงมอบราชสมบัติแก่พระราชโอรส เสด็จออกผนวชเช่นเดียวกับที่พระราชบิดาของพระองค์เคยทรงบำเพ็ญมา.

 


                           เมื่อครั้งอดีตกาลนานมาแล้วกษัตริย์ผู้ครองนครมิถิลานั้นได้พบว่าเส้นพระเกศาของพระองค์ นั้นหงอกแล้ว ซึ่งในธรรมเนียมของราชวงศ์นั้นได้มีกำหนดไว้ว่า หากพระเกศาองค์ใดมีพระเกศาหงอกก็ถึงเวลาแล้วที่จะต้องเวนราชสมบัติให้แก่ราชโอรสขื้นครองราชบัลลังก์สืบต่อไป แล้วตัวพระราชาผู้แก่เฒ่านั้นก็ต้องออกจากพระราชวังไปบำเพ็ญพรตภาวนาเป็นนักบวชอยู่ในป่าอย่างสงบตราบจนล้นอายุขัย

                           ในเวลาเดียวกันนั้นเองขณะที่พระราชาแห่งมิถิลานครพบว่าพระองค์มีเส้นพระเกศาหงอก แต่ก็ยังเป็นกังวลด้วยว่าพระองค์ยังมิมีราชโอรสเป็นทายาทที่จะขึ้นครองราชย์ต่อไปนั้น ขณะเดียวกันบน

                            สรวงสวรรค์ก็มีเทพบุตรองค์หนึ่งนามว่า “เนมิราช” ซึ่งอยู่ในช่วงเวลาที่กำลังจะสิ้นอายุขัยบนสรวงสวรรค์นั้นเช่นกัน

                           เทพบุตรเนมิราชเล็งเห็นด้วยทิพยเนตรว่ามิถิลานครกำลังตกอยู่ในช่วงเวลาใกล้ล่มสลายแล้ว จึงคิดที่จะเสด็จจากสรวงสวรรค์ลงมาผดุงรักษาราชวงศ์นั้นสืบต่อไป

                           ในเวลาต่อมาเนมิราชเทพบุตรจึงได้จุติลงในครรภ์ของพระอัครมเหสี และเมื่อประสูติแล้วนั้นโหรหลวงก็ถวายคำพยากรณ์แด่พระเจ้ามิถิลานครว่า พระราชกุมารน้อยพระองค์นี้จะปฏิบัติตามธรรมเนียมของราชวงศ์ที่เคยกระทำสืบมาตั้งแต่โบราณ เสมือนกับเป็นการกระทำตามกงเกวียนกำเกวียนกระนั้น พระราชาแห่งมิถิลานครจึงพระราชทานนามให้พระราชโอรสองค์นี้ว่า “เนมิราช”

                             เมื่อพระราชโอรสเนมิราชเจริญวัยขึ้นสู่วัยรุ่นหนุ่มแล้ว พระราชบิดาก็เวนราชสมบัติให้ตามธรรมเนียมแล้วตัวพระองค์ก็เสด็จออกบวช ปล่อยให้ราชโอรสครองราชบัลลังก์และครองบ้านครองเมืองสืบ ต่อไป

                             พระราชาเนมิราชเป็นพระราชาที่ตั้งอยู่ในคุณธรรมปกครองบ้านเมืองด้วยความร่มเย็นเป็นสุขและตั้งมั่นในศีลในธรรมเป็นอย่างยิ่งพระราชาเนมิราชทรงโปรดที่จะให้มีการตั้งศาลาทานขึ้นที่ประตูพระนครทั้ง ๔ ด้าน และที่กลางเมืองอีกแห่งหนึ่ง เพื่อที่จะบริจาคทานและแจกจ่ายเสื้อผ้าอาหารและเงินทองแก่บรรดาผู้ยากไร้ทั้งหลาย

                             บรรดาพสกนิกรในมิถิลาต่างก็ฝักใฝ่ในศีลในธรรมตามอย่างพระราชาที่คอยพยายามอบรมสั่งสอนให้อาณาประชาราษฎร์ทั้งปวงประพฤติตนอยู่ในความดีเป็นที่ตั้งมิให้เบียดเบียนทำร้ายกัน

                             บรรดาราษฎรที่มุ่งมั่นทำแต่ความดีแเละหมั่นบำเพ็ญกุศลอยู่เสมอตามพระราชประสงค์ของพระราชานั้น ครั้นเมื่อสิ้นอายุขัยตายไปจากโลกนี้แล้วก็ได้ไปจุติเป็นเทวดาบนเทวโลกหรือบนสรวงสวรรค์ และ ครั้นเมื่อได้ทราบว่าการที่ตนได้จุติมาเป็นเทวดามิต้องไปเกิดเป็นมนุษย์ชดใช้กรรมในชาติปางต่อไปนั้น ก็เป็นด้วยเพราะตนทำความดีตามคำสั่งสอนของพระราชาเนมิราช

                             บรรดาเทวดาเหล่านั้นจึงใคร่ที่จะได้ชมพระบารมีของพระราชาเนมิราชให้เป็นบุญตา

                            เมื่อบรรดาเทวดาพากันมากราบทูลพระอินทร์เช่นนั้น พระอินทร์จึงได้มีรับสั่งแก่พระมาตุลีเทพบุตรว่า “นี่แนะมาตุลีเอ๋ยเจ้าจงไปอัญเชิญพระเนมิราชกษัตริย์แหง่มิถิลานครขึ้นมาบนสรวงสวรรค์ด้วยเถิด”

                            พระมาตุลีนั้นได้ทำหน้าที่เป็นสารถีขับรถม้าสวรรค์ลงไปยังโลกมนุษย์ แล้วทูลเชิญพระเนมิราชให้เสด็จขึ้นไปยังสรวงสวรรค์สักระยะหนึ่งตามพระบัญชาของพระอินทร์

                            ฝ่ายพระเนมิราชนั้นก็ตอบตกลงด้วยดี ด้วยปรารถนาจะขึ้นไปเที่ยวชมเมืองสวรรค์ดูสักครั้ง จะได้นำมาบอกเล่าแก่พระญาติพระวงศ์และข้าราชบริพารกับราษฎรของพระองค์ต่อไป

                            เมื่อนั่งรถเทียมม้าเดินทางออกจากโลกมนุษย์ไปมิช้ามินานนักพระมาตุลีก็กราบทูลพระเนมิราชว่า “ขอเดชะหม่อมฉันใคร่จะพาพระองค์ไปเที่ยวชมดูเมืองนรกก่อนที่จะขึ้นไปยังสรวงสวรรค์ชั้นบนมิทราบว่าพระองค์จะเห็นดีหรือไม่ พระเจ้าข้า ”
 
                            พระเนมิราชนั้นทรงดำริว่าก่อนที่จะไปเที่ยวชมเมืองสวรรค์อันแสนวิเศษ ซึ่งก็คงจะมีความสวยงามตระการตาทั่วไปนั้นก็น่าที่จะลองไปชมเมืองนรกดูบ้างว่า คนที่ทำบาปทำกรรมแล้วต้องมาตกนรกหมกไหม้นั้นที่แท้จะต้องไปอยู่ในสภาพเช่นใด เมื่อดำริดังนั้นพระเนมิราชก็ตอบตกลงด้วยดี พระมาตุลีเทพบุตรจึงได้ทำหน้าที่สารถีขับรถม้านำพาพระเนมิราช ลงสู่นรกภูมิในบัดดล

                            ในเมืองนรกนั้นเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยความมืดมิดตลอดทางทุกหนทุกแห่งเต็มไปด้วยวิญญาณบาป ผีเปรต และภูตพรายทั้งหลายทั้งปวง ที่เฝ้าร่ำร้องโหยหวนคร่ำครวญด้วยความเจ็บปวดทุรนทุราย จากการถูกทรมานในลักษณะต่างๆ บางคนนั้นต้องปีนป่ายต้นงิ้วจนเลือดโซมกายมิสามารถจะลงมาได้ ด้วยเพราะมียมทูตคอยดักแทงอยู่ด้วยหอกอันแหลมคมทั้งข้างล่างและบนยอดต้นงิ้วนั้นบางคนก็ต้องทุรนทุรายแหวกว่ายอยู่ในกระทะทองแดงขนาดยักษ์ ที่มีน้ำนรกเดือดพล่านอยู่ชั่วนาตาปีมิสามารถจะปีนปายหนีออกจากกระทะนั้นได้

                             คนบาปบางกลุ่มต้องถูกไล่แทงด้วยหอกด้วยดาบอันคมกริบจนเลือดชะโลมกายก็มิสามารถจะหนีจากโทษทัณฑ์อันทุกข์ทรมานนั้นได้ บางคนก็ถูกกงจักรที่หมุนวนปั่นศีรษะจนเลือดไหลชุ่มโชกต้องกรีดร้องโหยหวนด้วยความทรมานแสนสาหัส ระหว่างที่ทอดพระเนตรดูคนบาปผู้ต้องชดใช้กรรมอย่างทุกข์ทรมานนั้น พระเนมิราชก็ตรัสถามพระมาตุลีเทพบุตรไปด้วยว่าการได้รับโทษทัณฑ์แต่ละอย่างนั้น ด้วยเพราะทำผิดใดบ้าง

                             พระมาตุลีเทพบุตรก็ได้กราบทูลให้ทรงทราบถึงบาปกรรมและความชั่วต่างๆ ที่จะต้องได้รับโทษทัณฑ์แตกต่างกันไปล้วนแล้วเป็นความทุกข์ทรมานแสนสาหัสทั้งสิ้น และจะต้องเผชิญกับความทุกข์เช่นนั้นนานชั่วกัปชั่วกัลป์เลยทีเดียว มิใช่แค่จะสิ้นสุดในระยะเวลาอันสั้นเท่านั้น

                             ครั้นเมื่อพระมาตุลีเทพบุตรนำรถม้าพระเนมิราชเที่ยวชมเมืองนรกจนทั่วแล้ว ก็ได้ขับรถม้าเหาะเหินขึ้นสู่สรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ต่อ

                            ครั้นเมื่อพระเนมิราชเสด็จมาถึงแล้ว พระอินทร์และเหล่าเทพยดานางฟ้านางสวรรค์ทั้งปวงก็พากันมารับเสด็จและสักการบูชาพระองค์ด้วยความเคารพเลื่อมใสหลังจากนั้นพระเนมิราชก็ได้เข้าชมเมืองสวรรค์ ซึ่งเต็มไปด้วยปราสาทราชมณเฑียรอันงดงามประดับด้วยแก้วแหวนเงินทองหลากสีสันระยิบระยับแพรวพราววิจิตรตระการตาเป็นอันมาก

                            บรรดาต้นไม้บนสวรรค์นั้นก็มีความงดงามหอมหวนยิ่งกว่าไม้ดอกไม้ใบบนโลกมนุษย์ ลำธารน้ำบนสรวงสวรรค์แต่ละแห่งก็ใสกระจ่างดังกับแก้ว บรรดาเทพบุตรเทพธิดาบนสรวงสวรรค์ล้วนแล้วแต่มีความงดงามและยิ้มแย้มแช่มชื่นราวกับไม่ต้องมีการทุกข์ใจอันใดเลย

                            เมื่อพระเนมิราชเที่ยวชมเมืองสวรรค์โดยทั่วแล้ว พระอินทร์ก็ตรัสถามว่าเมืองสวรรค์นี้สวยงามถูกพระทัยหรือไม่ พระเนมิราชตรัสตอบว่าเมืองสวรรค์นี้เป็นแดนวิมานที่สวยงามและเต็มเปี่ยมไปด้วยความสุขอย่างที่จะหาโลกใดเสมอเหมือนได้อีก

                           พระอินทร์จึงอัญเชิญให้พระเนมิราชอยู่เสวยทิพยสมบัติบนสรวงสวรรค์นี้มิต้องลงไปยังโลกมนุษย์อีก “หม่อมฉันใคร่จะกลับลงไปสอนบรรดาพสกนิกรทั้งหลายให้ประพฤติตนอยู่ในความดี หมั่นประกอบบุญกุศลและบริจาคทาน เมึ่อตายแล้วจะได้มิต้องไปรับความทุกข์ทรมานอยู่ในนรก แต่จะได้มาจุติอยู่บนสรวงสวรรค์นี้”

                           เมื่อพระเนมิราชมีพระประสงค์เช่นนั้น พระอินทร์จึงให้พระมาตุลีนำพระเนมิราชไปส่งยังโลกมนุษย์ดังเดิม เมื่อได้เห็นความแตกต่างระหว่างนรกสวรรค์แล้ว พระเนมิราชก็มีความทุกข์อยู่ในพระทัยด้วยปรารถนาที่จะให้ข้าราชบริพารและพสกนิกรของพระองค์นั้นประกอบกรรมทำแต่ความดี เพื่อจะได้ไม่ต้องลงนรกไปรับความทุกข์ทรมานนานหลายกัปหลายกัลป์ดังที่พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นมาแล้ว

                           นับจากนั้นตลอดรัชสมัยของพระองค์ พระเนมิราชก็ได้เพียรพยายามอบรมสั่งสอนไพร่ฟ้าประชาชนในมิถิลานครให้หมั่นบำเพ็ญบุญกุศลและประกอบแต่กรรมดีสืบต่อไป

                           ครั้นเมื่อถึงเวลาที่พระเนมิราชมีเส้นพระเกศาหงอกแล้วก็ทรงเวนราชสมบัติให้แก่ลูกหลานส่วนตัวพระองค์นั้นได้เสด็จออกจากพระราชวังไปบำเพ็ญพรตจำศีลภาวนาเป็นนักบวช แสวงหาความวิเวกอยู่ในป่าจนสิ้นอายุขัย และได้ขึ้นไปจุติเป็นเทพยดาเสวยทิพยสมบัติอยู่บนสวรรค์ชั้นฟ้าสืบต่อไป
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #7344 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2555, 20:41:11 »


                            “หม่อมฉันใคร่จะกลับลงไปสอนบรรดาพสกนิกรทั้งหลายให้ประพฤติตนอยู่ในความดี หมั่นประกอบบุญกุศลและบริจาคทาน เมึ่อตายแล้วจะได้มิต้องไปรับความทุกข์ทรมานอยู่ในนรก แต่จะได้มาจุติอยู่บนสรวงสวรรค์นี้”

สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง และแขกผู้มาเยือน ที่รักทุกท่าน

                                ชาดกเรื่องพระเนมิราช นี้ สอนให้เรารู้เรื่องของนรก และสวรรค์

                                ใครประพฤติตนอยู่ในความดี ไม่ทุศีลอย่างน้อย ศีล ๕ หมั่นประกอบบุญกุศล และบริจาคทาน เมื่อตายลงจะได้ไปจุติบนสรวงสวรรค์

                                ส่วนใครที่ประพฤติทุศีล ยังฆ่าสัตว์  เบียดเบียนสัตว์ พรากลูกเมียคนอื่น   ลักขโมย หรือพูดง่ายๆ คือ ประพฤติผิดในศีล ๕ เมื่อตายไปย่อมไปรับทุกข์เวทนาต่างๆ ในแดนนรกภูมิ

                                เมื่อเราทราบอย่างนี้แล้วถึงมันจะเป็นเพียงชาดก ก็ตามแต่ถ้าผู้ใดประพฤติผิดศีล ๕ หรือกระทำแต่อกุศลกรรม  ไม่ต้องรอชาติหน้า  ก็ยังได้รับโทษทัณฑ์ทันตาเห็น มีให้เห็นโดยทั่วไป

                                ดังนั้น ขอให้พวกเราจงพิจารณาด้วยปัญญาว่า การประกอบแต่กุศลกรรมนั้น เป็นสิ่งที่มนุษย์พึงปฏิบัติ  มนุษย์จึงจะสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบ  มันก็เป็นความจริงครับ

                                วันนี้ไปสอนหนังสือมา เหนื่อยมากครับ  ระบบหายใจติดขัดเพราะเจ็บคอ  ใช้เสียงมากไป  เราคงแก่แล้วจริงๆ

                                ราตรีสวัสดิ์ทุกท่านครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #7345 เมื่อ: 07 พฤศจิกายน 2555, 07:45:19 »

สวัสดียามเช้าครับ ชาวซีมะโด่ง และแขกผู้มาเยือนที่รัก ทุกท่าน

                               วันนี้อยู่บ้าน เช้าเลยได้หุงข้าวใส่บาตรพระที่หน้าบ้าน

                               อีกสักครู่ก็จะเดินทางไปสิงห์บุรี  ไปเยี่ยมแม่ครับ

                               ในสมัยพุทธกาล  มีพระภิกษุที่ปฏิบัติธรรม เมื่อตายไปแล้วก็ไปเกิดบนสวรรค์ รูปร่าง กิริยา สง่างาม น่าเลื่อมใส  แต่เวลาที่นรับประทานอะไรก็จะมีแต่หนอนชินไชที่ปาก  มีกลิ่นเหม็น  เทวดาได้ถามท่านว่าท่านกระทำผิดอะไร  ในโลกมนุษย์  จึงได้เป็นเช่นนี้  ท่านว่า สมัยอยู่โลกมนุษย์  ถึงแม้จะปฏิบัติธรรมก็ตามที่จัดว่าได้อานิสสงมากนั้น  แต่ท่านไม่ได้บริจาคทานเลย  เมื่อต้องเกิดใหม่  จึงต้องประสบเคราะห์กรรมเช่นนี้

                               ดังนั้น  ถ้ามีโอกาสขอให้ทุกท่าน ใส่บาตรทำบุญ  บริจาคทานให้กับผู้ยากไร้  หรือร่วมทำบุญตามกำลังศรัทธา เท่าที่เราไม่เดือดร้อน  มากน้อย ไม่สำคัญ  สำคัญที่ก่อนทำต้องมีจิตเป็นกุศล  ขณะทำก็มีจิตเป็นกุศล  และหลังทำก็มีจิตเป็นกุศล  

                               หมายความว่า เรามีเงินเหลือก็กระทำโดยที่ตัวเอง ครอบครัวไม่เดือดร้อน กระทำด้วยจิตใจที่อยากจะเป็นผู้ให้ เมื่อกระทำไปแล้วก็จบตรงนั้น ไม่คิดว่าสิ่งที่เราได้กระทำไปนั้น จะไปไหน เอาไปทำอะไร มาก-น้อย สู้คนอื่นเขาไม่ได้ กระทำแล้วก็จบเพียงแค่นั้น เท่านี้เป็นพอแล้ว เรื่องอื่นๆ ก็เป็นเรื่องของคนอื่น อาจจะดี ไม่ดี ก็ไม่ใช่เรื่องของเรา  เราเมื่อได้กระทำแล้วสบายใจเป็นพอ  ใก้จิตมันเป็นกุศล เท่านั้น รูป-นามจะได้รับรู้ด้วยตัวเอง

                               การใสบาตรพระก็เป็นเรื่องที่ดี  ที่น่ากระทำ  สบายใจ  ว่างวันไหน  ก็ใส่บาตร มีอะไรก้ได้ แม้กระทั่งปัจจัย  ใช้ได้หมด

                                และจะให้ยิ่งๆ ขึ้นไปอีก ก็รักษาศีล ๕ เอาไว้  เพราะการอยู่ในศีล ๕ นั้น เป็นการประพฤติกาย  วาจา  ใจ  ให้เป็นปกติ ให้เป็นมหากุศลแห่งจิต  ที่จะเอาไปเจริญวิปัสสนากรรมฐาน

                                นอกจากนี้ การรักษาศีล ๕  ยังเป็นความสง่าแห่งตนเอง  ได้รับการนับถือจากผู้ใกล้ชิด

                               สวัสดี  


หมายเหตุ

                               เราสามารถนำชาดกทั้ง ๑๐ ชาติ ไปเล่าเป็นนิทานให้ลูกหลานฟังได้ และเน้นให้นำคติธรรมไปเป็นหลักในการดำรงชีวิต

                               ผมเองก็เกิดความคิด  ถ้าใครจะให้สอนธรรมะ จะขอน้อมนำ ชาดกทั้ง ๑๐ ชาตินี้ ไปเป็นธรรมสอนในเบื่องต้นเพื่อให้จิตน้อมนำไปในทางธรรม เหมาะแก่การรับฟังธรรมของสมณโคดม  

                               ชาดกทั้ง ๑๐ ชาติ นี้เป็นการบำเพ็ญเพียรทางจิต ที่ยิ่งใหญ่จริงๆ ไม่ใช่ว่ากระทำได้โดยง่าย เพราะต้องต่อเนื่องสม่ำเสมอ ทั้งชีวิต  และน้อมนำเอาไปประพฤติปฏิบัติต่อตัวเราเองได้  จะมาก  จะน้อยดีทั้งนั้น

                               ส่วน ดร. กุศล  ก็ได้แต่ท่องจำบทสวดมนต์ "บารมี ๑๐ ทัศน์" แบบนกแก้วนกขุนทอง แต่ก็ยังดี เป็น ดร.กุศล

                               สวัสดี  
      บันทึกการเข้า
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562

« ตอบ #7346 เมื่อ: 07 พฤศจิกายน 2555, 16:39:09 »

สวัสดีค่ะ พี่สิงห์
 ขอบคุณ ทั้งชาดก ที่ลงเพิ่ม และ การอรรถรส  มุมมอง ในการดูโขน
ทำให้คนที่ไม่ได้ไปดู เห็นภาพค่ะ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #7347 เมื่อ: 07 พฤศจิกายน 2555, 20:23:18 »

อ้างถึง
ข้อความของ เอมอร 2515 เมื่อ 07 พฤศจิกายน 2555, 16:39:09
สวัสดีค่ะ พี่สิงห์
 ขอบคุณ ทั้งชาดก ที่ลงเพิ่ม และ การอรรถรส  มุมมอง ในการดูโขน
ทำให้คนที่ไม่ได้ไปดู เห็นภาพค่ะ


สวัสดีค่ะ คุณน้องเอมอร ที่รัก

                               พี่สิงห์เชิญ ชวนให้เธอพาลูก ๆ ไปดูโขน ครับ เขาเล่นถึงสิ้นเดือนพฤศจิกายน ยังมีเวลา

                               ถ้าพี่สิงห์  ไม่เกรง ดร.สุริยา ว่ายึดติด  ยึดมั่น จะไปดูอีกครั้ง

                               สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #7348 เมื่อ: 07 พฤศจิกายน 2555, 20:39:42 »

สวัสดียามค่ำครับ ชาวซีมะโด่ง และแขกผู้มาเยือน ที่รักทุกท่าน

                            วันนี้ขณะขับรถไปสิงห์บุรี  ก็ได้ฟังการบรรยายการปฏิบัติธรรมทางวิทยุ จากหลวงพ่อสุวัจ  ก็ดีเหมือนกัน ในอีกมุมมองหนึ่ง สลับกับหลวงตามหาบัว  จนถึงสิงห์บุรีเลย

                            น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ที่สิงห์บุรี  ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่งเกิน ๘ เมตร นั่นหมายความว่าเข้าสู้สภาวะแล้ง แล้ว  เดือนสิบสิงลอยกระทง คงมีน้ำเพียงก้นตลิ่งเท่านั้น ปีนี้

                            สำหรับแม่นั้น  วันนี้ผมได้บอกแม่ว่า ระหว่าง วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ถึง ๕ ธันวาคม แม่อย่าตายนะ ผมจะไปญี่ปุ่น - เวียตนาม  แม่บอกว่ายังไม่ตาย  ทำให้ผมไปด้วยความสบายใจ  เพราะแม่มีทั้งน้องสาว  พี่สาวจากอเมริกา  คอยดูแล

                            มีเรื่องโจ๊กเกิดขึ้น คือ เมื่อเช้าวาน คุณหมอ มาตรวจแม่ที่บ้าน  แม่นอนหลับลึกมาก  คุณหมอตรวจพบว่าชีพจรไม่มี หัวใจหยุดเต้น   จึงรีบโทรศัพท์ไปเรียกรถพยาบาลมารับแม่ไปที่ห้องฉุกเฉินทันที  เมื่อไปถึงโรงพยาบาลอยู่ในห้องฉุกเฉิน  แม่ตื่นทันที มีชีพจร  แม่ก็พูดขึ้นว่าอยู่ที่ไหน  พาแม่กลับบ้านด้วย  ทำให้ทุกคนโล่งอก  พาแม่กลับมาอยู่บ้าน

                            วันนี้คนดูแล และพี่สาวได้อาบน้ำแม่ เพราะไม่ได้อาบมานานแล้ว เสร็จแล้วก็เอาแม่รับลม  และแสงแดด ผมก็บอกว่า เวลาเช้าไม่เกิน ๘ โมง ให้เอายายรับแสงแดดอ่อนๆ ภายใต้ร่มเงา  จะได้ทำให้ผิวหนังไม่เปื่อย  ไม่ลอก

                            ผมได้ชวนแม่คุย  จนท่านหลับไป และได้บอกว่า ควรลดยาแก้ปวดลงบ้าง  จะได้มีความรู้สึกตัวมาก  ไม่นอนหลับอย่างเดียว

                           ตั้งแต่พี่สาวมาจากอเมริกา  แม่อาการดีขึ้น  ผิวพรรณดีขึ้น  แต่บวมด้วยน้ำ ที่ขาดเกลือและโบรมีน  ผมเลยบอกว่าแม่พยายามอยู่บ้านให้นาน ๆ นะ  แม่บอกว่าอีกสามวัน  คงต้องไปนอนโรงพยาบาลอีกครั้ง

                           ก็เรียนให้ทุกท่านที่เป็นห่วงได้ทราบ  สำหรับผมนั้น พ้นสิงห์บุรีแล้วก็ลืม ครับ

                           พรุ่งนี้ ผมไปทำงานที่นครศรีธรรมราช  กลับค่ำวันเสาร์

                           สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #7349 เมื่อ: 07 พฤศจิกายน 2555, 20:56:41 »

๕ . มโหสถชาดก (พระมโหสถ)

    ชาดกเรื่องนี้แสดงถึง การบำเพ็ญปัญญาบารมี

                          คือความทั่วถึงสิ่งที่ควรรู้. มีเรื่องเล่าว่า มโหสถบัณฑิตเป็นที่ปรึกษาหนุ่มของพระเจ้าวิเทหะแห่งกรุงมิถิลา ท่านมี ความฉลาดรู้ สามารถแนะนำในปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องรอบคอบ เอาชนะที่ปรึกษาอื่น ๆ ที่ริษยาใส่ความ ด้วยความดีไม่พยาบาทอาฆาต ครั้งหลังใช้อุบายป้องกัน พระราชาจากราชศัตรู และจับราชศัตรูซึ่งเป็นกษัตริย์พระนครอื่นได้.






 
ชาติที่ ๕ พระมโหสถบัณฑิต



 
                          เมื่อครั้งอดีตกาลนานมาแล้ว ครั้งนั้นมิถิลานครอยู่ในความปกครองของพระเจ้าวิเทหะผู้ซึ่งเป็นกษัตัริย์ที่มีราชบัณฑิตประจำราชสำนัก ๔ คน คือ เสณกะ ปุกกุสะ กามินทะ และทวินทะ

                          ในคืนหนึ่งพระเจ้าวิเทหะทรงพระสุบินว่าได้มีกองไฟกองใหญ่ลุกโชติช่วงขึ้นอยู่ที่มุมพระลานทั้ง ๔ และได้มีกองไฟเล็กๆ ที่กลางพระลานค่อยๆ ลุกโชติช่วงจนใหญ่ขึ้นกลางกองไฟทั้ง ๔ ทิศจนสว่างเจิดจ้าไปทั่วทั้งพระลาน และบรรดาราษฎรก็พากันมากราบไหว้บูชากองไฟนั้นด้วยธูปเทียนดอกไม้และเครื่องหอมต่างๆ แล้วก็พากันแวดล้อมอยู่รอบกองไฟนั้นราวกับว่ามิได้รับความร้อนจากกองไฟเลยแม้แต่น้อย

                           พระสุบินนั้นบรรดาราชบัณฑิตทั้ง ๔ ของพระองค์ก็ได้ถวายคำทำนายว่าความฝันนั้นเป็นลางดี ไฟ ๔ กองที่พระลานตามทิศต่างๆ นั้นก็คือ ตัวของพวกตนซึ่งเป็นบัณฑิตทั้ง ๔ ประจำราชสำนักนั่นเอง ส่วนกองไฟที่เกิดขึ้นกลางพระลานแต่แรกเป็นกองเล็กแล้วค่อยๆ ใหญ่ขึ้นจนราษฎรมากราบไหว้นั้นเป็นนิมิตบอกล่วงหน้าว่าจะมีบัณฑิตผู้ปราดเปรื่องยิ่งกว่าพวกตนทั้ง ๔ เกิดขึ้นในมิถิลานครนี้

                           บัณฑิตผู้นั้นจะมีวาสนาบารมีสูงส่งเป็นยิ่งนักเมื่อได้สดับฟังเช่นนั้นพระเจ้าวิเทหะก็มีความปีติยินดีพระทัยเป็นยิ่งนัก ได้แต่เฝ้ารอให้ได้พบบัณฑิตผู้เปี่ยมไปด้วยบุญญาธิการผู้นั้น

                           ในเมืองมิถิลา มีเศรษฐีผู้หนึ่งมีนามว่า สิริวัฒกะ ภรรยาชื่อ นางสุมนาเทวี นางสุมนาเทวีมีบุตรชายคนหนึ่ง ซึ่งเมื่อคลอด ออกมานั้นมีแท่งโอสถอยู่ในมือ เศรษฐีสิริวัฒกะเคยเป็นโรค ปวดศีรษะมานาน จึงเอาแท่งยานั้นฝนที่หินบดยา แล้วนำมา ทาหน้าผาก อาการปวดศีรษะก็หายขาด ครั้นผู้อื่นที่มีโรคภัย ไข้เจ็บมาขอปันยานั้นไปรักษาบ้าง ก็พากันหายจากโรค เป็นที่เลื่องลือไปทั่ว เศรษฐีจึงตั้งชื่อบุตรว่า "มโหสถ" เพราะทารกนั้นมีแท่งยาวิเศษ เกิดมากับตัว เมื่อมโหสถเติบโตขึ้น ปรากฏว่ามีสติปัญญาเฉลียวฉลาด กว่าเด็กในวัยเดียวกัน
 
                            ครั้งหนึ่งมโหสถเห็นว่า ในเวลาฝนตก ตนและเพื่อนเล่นทั้งหลายต้องหลบฝน ลำบากลำบนเล่นไม่สนุก จึงขอให้เพื่อนเล่นทุก คนนำเงินมารวมกันเพื่อสร้างสถานที่เล่น มโหสถจัดการออกแบบอาคารนั้นอย่างวิจิตรพิสดาร นอกจาก ที่เล่นที่กินและที่พักสำหรับคนที่ผ่านไปมาแล้ว ยังจัดสร้างห้อง วินิจฉัยคดีด้วย เพราะความที่มโหสถเป็นเด็กฉลาดเฉลียวเกินวัย จึงมักมีผู้คนมาขอให้ตัดสินปัญหาข้อพิพาท หรือแก้ใขปัญหาขัดข้อง ต่างๆ อยู่ เสมอ
 
                             ชื่อเสียงของมโหสถเลื่องลือไปไกลทั่วมิถิลานคร ในขณะนั้น กษัตริย์เมืองมิถิลา ทรงพระนามว่า พระเจ้าวิเทหราช ทรงมีนักปราชญ์ราชบัณฑิตประจำ ราชสำนัก 4 คน คือ เสนกะ ปุตกุสะ กามินท์ และ เทวินทะ บัณฑิตทั้ง 4 เคยกราบทูลว่าจะมี บัณฑิต คนที่ห้ามาสู่ราชสำนักพระเจ้าวิเทหราช พระองค์จึงโปรดให้ เสนาออกสืบข่าวว่า มีบัณฑิตผู้มีสติปัญญา ปราดเปรื่องอยู่ที่ใดบ้าง เสนาเดินทางมาถึงบริเวณบ้านของสิริวัฒกะเศรษฐี เห็นอาคารงดงาม จัดแต่งอย่างประณีตบรรจง จึงถามผู้คนว่าใครเป็นผู้ออกแบบ คนก็ ตอบว่า ผู้ออกแบบคือมโหสถบัณฑิต บุตรชายวัย 7 ขวบ ของสิริวัฒกะ เศรษฐี เสนาจึงนำความไปกราบทูลพระเจ้าวิเทหราช พระองค์ตรัสเรียก บัณฑิตทั้ง 4 มา ปรึกษาว่าควรจะไปรับมโหสถมาสู่ราชสำนักหรือไม่ บัณฑิตทั้ง 4 เกรงว่ามโหสถจะได้ดีเกินหน้าตนจึงทูลว่า ลำพังการออก แบบตกแต่งอาคารไม่นับว่าผู้นั้นจะมีสติปัญญาสูงถึงขั้นบัณฑิต ขอให้รอดูต่อไปว่า มโหสถจะมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดจริงหรือไม่ ฝ่ายมโหสถนั้น มีชาวบ้านนำคดีความต่างๆ มาให้ตัดสินอยู่เป็นนิตย์ เป็นต้นว่า ชายเลี้ยงโคนอนหลับไป มีขโมยเข้ามาลักโค เมื่อตามไปพบ ขโมยก็อ้างว่าตนเป็นเจ้าของโค ต่างฝ่ายต่างถกเถียงอ้างสิทธิ์ ไม่มีใคร ตัดสินได้ว่าโคนั้นเป็นของใคร จึงพากันไปหามโหสถ มโหสถถามชาย เจ้าของโคว่า เรื่องราวเป็นอย่างไร ชายนั้นก็เล่าให้ฟัง มโหสถจึงถาม ขโมยว่า "ท่านให้โคของท่านกินอาหารอะไรบ้าง" ขโมยตอบว่า "ข้าพเจ้าให้กินงา กินแป้ง ถั่ว และยาคู" มโหสถถามชายเจ้าของโค ชายนั้นก็ตอบว่า"ข้าพเจ้าให้โคกิน หญ้าตามธรรมดา" มโหสถจึงให้ เอาใบไม้มาตำให้โคกินแล้วให้กินน้ำ โคก็สำรอกเอาหญ้าออกมา จึงเป็นอันทราบว่าใครเป็นเจ้าของโคที่แท้จริง พระเจ้าวิเทหราชได้ทราบเรื่องการตัดสินความของมโหสถก็ ปรารถนาจะเชิญมโหสถาสู่ราชสำนัก แต่บัณฑิตทั้งสี่ก็คอยทูล ทัดทานไว้เรื่อยๆ
 
                              ทุกครั้งที่มโหสถแสดงสติปัญญาในการตัดสินคดี พระเจ้าวิเทหราชทรงทดลองสติปัญญามโหสถด้วยการตั้งปัญหา ต่างๆก็ปรากฏว่า มโหสถแก้ปัญหาได้ทุกครั้ง เช่น เรื่องท่อนไม้ ที่เกลาได้เรียบเสมอกัน พระเจ้าวิเทหราชทรงตั้งคำถามว่า ข้างไหนเป็นข้าง ปลายข้างไหนเป็นข้างโคน มโหสถก็ใช้วิธีผูกเชือก กลางท่อนไม้นั้น แล้วหย่อนลงในน้ำ ทางโคนหนักก็จมลง ส่วนทาง ปลายลอยน้ำ เพราะน้ำหนักเบากว่าไม้ มโหสถก็ชี้ได้ว่า ทางไหน เป็นโคนทางไหนเป็นปลาย นอกจากนี้มโหสถยังแก้ปัญหาเรื่องต่างๆ อีกเป็นอันมาก จนในที่สุดพระราชาก็ไม่อาจทนรอตามคำ ทัดทานของ บัณฑิตทั้งสี่ อีกต่อไป จึงโปรดให้ราชบุรุษไปพาตัวมโหสถกับบิดามา เข้าเฝ้าพร้อมกับให้นำ ม้าอัสดรมาถวายด้วย
 
                               มโหสถทราบดีว่าครั้งนี้ เป็นการทดลองสำคัญ จึงนัดหมายการอย่างหนึ่งกับบิดา และ ในวันที่ไปเฝ้าพระราชา มโหสถให้คนนำลามาด้วยหนึ่งตัว เมื่อเข้าไปถึงที่ประทับ พระราชาโปรดให้สิริวัฒกะเศรษฐีนั่งบนที่ อันสมควรแก่เกียรติยศ ครั้นเมื่อมโหสถเข้าไป สิริวัฒกะก็ลุกขึ้น เรียกบุตรชายว่า "พ่อมโหสถ มานั่งตรงนี้เถิด" แล้วก็ลุกขึ้นจากที่นั่ง มโหสถก็ตรงไปนั่งแทนที่บิดา ผู้คนก็พากันมองดูอย่างตำหนิ ที่มโหสถทำเสมือนไม่เคารพบิดา มโหสถจึง ถามพระราชาว่า "พระองค์ไม่พอพระทัยที่ข้าพเจ้านั่งแทนที่บิดาใช่หรือไม่" พระราชาทรงรับคำ มโหสถ จึงถามว่า " ข้าพเจ้าขอทูลถามว่า ธรรมดาบิดาย่อมดีกว่าบุตร สำคัญกว่าบุตรเสมอไปหรือ" พระราชา ตรัสว่า "ย่อมเป็นอย่างนั้น บิดาย่อมสำคัญกว่าบุตร" มโหสถทูลต่อว่า "เมื่อข้าพเจ้ามาเฝ้า พระองค์มีพระกระแส รับสั่งว่าให้ข้าพเจ้านำม้าอัสดรมาถวายด้วย ใช่ไหมพระเจ้าค่ะ" พระราชาทรงรับคำ มโหสถจึงให้คนนำลาที่เตรียมเข้ามา ต่อพระพักตร์ แล้วทูลว่า "เมื่อพระองค์ตรัสว่าบิดาย่อมสำคัญ กว่าบุตร ลาตัวนี้เป็นพ่อของม้าอัสดร หากพระองค์ทรงเห็น เช่นนั้นจริง ก็โปรดทรงรับลานี้ไปแทนม้าอัสดรเถิดพระเจ้าค่ะ เพราะม้าอัสดรเกิดจากลานี้ แต่ถ้าทรงเห็นว่า บุตรอาจดีกว่าบิดา ก็ทรงรับเอาม้าอัสดรไปตามที่ทรงมีพระราชประสงค์ ถ้าหากพระองค์เห็นว่าบิดาย่อมประเสริฐกว่าบุตรก็ทรงโปรด รับเอาบิดาของข้าพเจ้าไว้ แต่หากทรงเห็นว่าบุตรอาจประเสริฐ กว่าบิดา ก็ขอให้ทรงรับข้าพเจ้าไว้" การที่มโหสถกราบทูลเช่นนั้น มิใช่จะลบหลู่ดูหมิ่นบิดา แต่เพราะ ประสงค์จะให้ผู้คนทั้งหลายตระหนักใน ความเป็นจริงของโลก และเพื่อแก้ไขปัญหาที่มีผู้จงใจผูกขึ้น คือบัณฑิตทั้งสี่นั้นเอง พระราชาทรงพอพระทัยในปัญญาของมโหสถจึงตรัสแก่ สิริวัฒกะเศรษฐีว่า "ท่านเศรษฐี เราขอมโหสถไว้ เป็นราชบุตร จะขัดข้องหรือไม่" เศรษฐีทูลตอบว่า "ข้าแต่พระองค์ มโหสถยังเด็กนัก อายุ เพิ่ง 7 ขวบ เอาไว้ให้โตเป็นผู้ใหญ่ก่อนน่าจะดีกว่าพระเจ้าค่ะ" พระราชาตรัสตอบว่า "ท่านอย่าวิตกในข้อที่ว่ามโหสถยังอายุ น้อยเลย มโหสถเป็นผู้มี ปัญญาเฉียบแหลมยิ่งกว่าผู้ใหญ่ จำนวนมาก เราจะเลี้ยงมโหสถในฐานะราชบุตรของเรา ท่านอย่ากังวล ไปเลย"

                            มโหสถจึงได้เริ่มรับราชการกับ พระเจ้าวิเทหราชนับตั้งแต่นั้นมา ตลอดเวลาที่อยู่ในราชสำนัก มโหสถได้แสดงสติปัญญา และความสุขุมลึกซึ้งในการพิจารณาแก้ไขปัญหา ข้อขัดข้อง ทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่พระราชาทรงผูกขึ้นลองปัญญา มโหสถ หรือที่บัณฑิตทั้งสี่พยายาม สร้างขึ้นเพื่อให้มโหสถ อับจนปัญญา แต่มโหสถก็แก้ปัญหาเหล่านั้นได้ทุกครั้งไป มิหนำซ้ำในบางครั้ง มโหสถยังได้ช่วยให้บัณฑิตทั้งสี่นั้น รอดพ้นความอับจน แต่บัณฑิตเหล่านั้นมิได้กตัญญูรู้คุณ ที่มโหสถกระทำแก่ตน กลับพยายามทำให้พระราชาเข้า พระทัยว่ามโหสถด้อยปัญญา พยายามหาหนทางให้พระราชา ทรงรังเกียจมโหสถ เพื่อที่ตนจะได้รุ่งเรืองในราชสำนัก เหมือนสมัยก่อน มโหสถรุ่งเรืองอยู่ในราชสำนักของพระเจ้าวิเทหราช ได้รับการ สรรเสริญจากผู้คนทั้งหลายจนมีอายุได้ 16 ปี พระมเหสีของ พระราชาผู้ทรงรักใคร่มโหสถเหมือนเป็นน้องชาย ทรงประสงค์ จะหาคู่ครองให้ แต่มโหสถขอพระราชทานอนุญาตเดินทาง ไปเสาะหาคู่ครองที่ตนพอใจด้วยตนเอง พระมเหสีก็ทรงอนุญาต

                             มโหสถเดินทางไปถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ได้พบหญิงสาวคนหนึ่ง เป็นลูกสาวเศรษฐีเก่าแก่ แต่ได้ยากจนลง หญิงสาวนั้นชื่อว่าอมร มโหสถปลอมตัวเป็นช่างชุนผ้า ไปอาศัยอยู่กับบิดามารดาของนาง และได้ทดลอง สติปัญญาของนางด้วยประการต่างๆเป็นต้นว่า ในครั้งแรกที่พบกันนั้น มโหสถถามนางว่า "เธอชื่ออะไร" นางตอบว่า "สิ่งที่ดิฉันไม่มีอยู่ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต นั่นแหล่ะ เป็นชื่อ ของดิฉัน" มโหสถ พิจารณาอยู่ครู่หนึ่งก็ตอบว่า "ความไม่ตายเป็นสิ่ง ไม่มีอยู่ในโลก เธอชื่อ อมร ( ไม่ตาย ) ใช่ไหม " หญิงสาวตอบว่า ใช่ มโหสถถามต่อว่า นางจะนำข้าวไปให้ใคร นางตอบว่า นำไป ให้บุรพเทวดา มโหสถก็ ตีปริศนาออกว่า บุรพเทวดาคือเทวดา ที่มีก่อนองค์อื่นๆ ได้แก่ บิดา มารดา เมื่อมโหสถได้ทดลองสติปัญญาและความประพฤติต่างๆของ นางอมรจนเป็นที่พอใจแล้ว จึงขอนางจาก บิดา มารดา พากลับ ไปกรุงมิถิลา เมื่อไปถึงยังเมือง ก็ยังได้ทดลองใจนางอีกโดย มโหสถแสร้งล่วงหน้าไปก่อน แล้วแต่งกายงดงามรออยู่ในบ้าน ให้คนพานางมาพบ กล่าวเกี้ยวพาราสีนาง นางก็ไม่ยินดีด้วย มโหสถจึงพอใจนาง จึงพาไปเฝ้าพระราชาและพระมเหสี พระราชาก็โปรดให้มโหสถแต่งงานอยู่กินกับ นางอมรต่อมา บัณฑิตทั้งสี่ยังพยายามที่จะกลั่นแกล้งมโหสถด้วยประการ ต่างๆ แต่ก็ไม่เป็นผล แม้ถึงขนาดพระราชาหลงเข้าพระทัยผิด ขับไล่มโหสถออกจากวัง มโหสถก็มิได้ขุ่นเคือง แต่ยังจงรักภักดี ต่อพระราชา พระราชาจึงตรัสถามมโหสถว่า "เจ้าเป็นผู้มีสติปัญญา หลักแหลมยิ่ง หากจะหวังช่วงชิงราชสมบัติจากเราก็ย่อมได้ เหตุใดจึงไม่คิดการร้ายต่อเรา" มโหสถทูลตอบว่า "บัณฑิตย่อม ไม่ทำชั่ว เพื่อให้ได้ความสุข สำหรับตน แม้จะถูกทับถมให้เสื่อมจาก ลาภยศ ก็ไม่คิดสละธรรมะด้วยความหลงในลาภยศ หรือด้วย ความรักความชัง บุคคลนั่งนอนอยู่ใต้ร่มไม้ ย่อมไม่ควรหัก กิ่งต้นไม้นั้น เพราะจะได้ชื่อว่าทำร้ายมิตร บุคคลที่ได้รับการ เกื้อหนุนอุปการะจากผู้ใด ย่อมไม่ทำให้ไมตรีนั้นเสียไปด้วย ความโง่เขลา หรือความ หลงในยศอำนาจ บุคคลผู้ครองเรือน หากเกียจคร้าน ก็ไม่งาม นักบวชไม่สำรวม ก็ไม่งาม พระราชา ขาดความพินิจพิจารณาก็ไม่งาม บัณฑิตโกรธง่าย ก็ไม่งาม" ไม่ว่าบัณฑิตทั้งสี่จะกลั่นแกล้งมโหสถอย่างใด มโหสถก็ สามารถเอาตัวรอดได้ทุกครั้ง และมิได้ตอบแทน ความชั่วร้าย ด้วยความชั่วร้าย แต่กลับให้ความเมตตากรุณาต่อบัณฑิต ทั้งสี่เสมอมา นอกจากจะทำหน้าที่พิจารณาเรื่องราว แก้ไขปัญหาต่างๆ มโหสถยังได้เตรียมการป้องกันพระนครใน ด้านต่างๆ ให้พร้อมเสมอด้วย และยังจัดผู้คนไปอยู่ตามเมืองต่างๆ เพื่อคอยสืบข่าวว่า จะมีบ้านเมืองใด มาโจมตีเมืองมิถิลาหรือไม่

                            มีพระราชาองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า จุลนีพรหมทัต ครองเมือง อุตรปัญจาล ประสงค์จะทำสงครามแผ่ เดชานุภาพ จึงทรงคิด การกับปุโรหิตชื่อ เกวัฏพราหมณ์ หมายจะลวงเอากษัตริย์ ร้อยเอ็ดพระนครมา กระทำสัตย์สาบานแล้วเอาสุราเจือยาพิษ ให้กษัตริย์เหล่านั้นดื่ม จะได้รวบรวมพระนครไว้ในกำมือ มโหสถ ได้ทราบความลับจากนกแก้วที่ส่งออกไปสืบข่าว จึงหาทางช่วย ชีวิตกษัตริย์ทั้งร้อยเอ็ดไว้ได้ โดยที่ กษัตริย์เหล่านั้นหารู้ตัวไม่ พระเจ้าจุลนีทรงเห็นว่ามิถิลา เป็นเมืองเดียวที่ไม่ยอมทำ สัตย์สาบาน จึงยกทัพใหญ่มุ่งไปโจมตีมิถิลา มีเกวัฏพราหมณ์ เป็นที่ปรึกษาใหญ่ แต่ไม่ว่าจะโจมตีด้วยวิธีใด มโหสถ ก็รู้ทัน สามารถตอบโต้และแก้ไขได้ ทุกครั้งไป ในที่สุดพระเจ้าจุลนีทรงส่งเกวัฏพราหมณ์มาประลองปัญญา ทำสงครามธรรมกับมโหสถ มโหสถออกไป พบเกวัฏพราหมณ์ โดยนำเอาแก้วมณีค่าควรเมืองไปด้วย แสร้งบอกว่า จะยกให้ พราหมณ์ แต่เมื่อจะส่ง ให้ก็วางให้ที่ปลายมือพราหมณ์เกวัฏ เกรงว่าแก้วมณจะตกจึงก้มลงรับแต่ก็ไม่ทัน แก้วมณีตกลงไป กับพื้นเกวัฏก้มลงเก็บด้วยความโลภ มโหสถจึงกดคอเกวัฏไว้ ผลักให้กระเด็นไป แล้วให้ทหารร้องประกาศว่า เกวัฏปราหมณ ์ก้มลงไหว้มโหสถ แล้วถูกผลักไปด้วยความรังเกียจ บรรดาทหารของพระเจ้าจุลนีมองเห็นแต่ภาพเกวัฏพราหมณ์ ก้มลงแทบเท้า แต่ไม่ทราบว่าก้มลงด้วยเหตุใด ก็เชื่อตามที่ ทหารของมโหสถป่าวประกาศ พากันกลัวอำนาจมโหสถ ถอยหนีไปไม่เป็นกระบวน กองทัพพระเจ้าจุลนีก็แตกพ่ายไป

                             เกวัฏพราหมณ์คิดพยาบาทมโหสถอยู่ไม่รู้หาย จึงวางอุบายให้ พระเจ้าจุลนีส่งทูตไปทูลพระเจ้าวิเทหราชว่าจะขอทำสัญญาไมตรี และขอถวายพระราชธิดาให้เป็นชายา พระเจ้าวิเทหราชทรงมี ความยินดี จึงทรงตอบรับเป็นไมตรี พระเจ้าจุลนีก็ขอให้ พระเจ้าวิเทหราชเสด็จมาอุตรปัญจาล มโหสถพยายาม ทูลคัดค้าน พระราชาก็มิได้ฟังคำ มโหสถก็เสียใจว่าพระราชา ลุ่มหลงในสตรี แต่กระนั้นก็ยังคงจงรักภักดี จึงคิดจะแก้อุบาย ของพระเจ้าจุลนี มโหสถจึงทูลขออนุญาตไปจัดเตรียมที่ประทับ ให้พระราชในเมืองอุตรปัญจาล ก็ได้รับอนุญาต มโหสถจึงให้ ผู้คนไปจัดสร้างวังอันงดงาม และที่สำคัญคือจัดสร้างอุโมงค์ใต้ดิน เป็นทาง เดินภายในอุโมงค์ประกอบด้วยกลไกและประตูลับ ต่างๆซับซ้อนมากมาย เมื่อเสร็จแล้วมโหสถจึงทูลเชิญ ให้พระเจ้าวิเทหราชเสด็จไปยังอุตรปัญจาล ขณะที่พระเจ้าวิเทหราชประทับอยู่ในวัง รอที่จะอภิเษกกับ พระธิดาพระเจ้าจุลนี พระเจ้าจุลนีทรงยก กองทหารมาล้อมวังไว้ มโหสถซึ่งเตรียมการไว้แล้ว ก็ลอบลงไปทางอุโมงค์เข้าไปใน ปราสาทพระเจ้าจุลนี ทำอุบายหลอกเอาพระชนนี พระมเหสี พระราชบุตร และราชธิดาพระเจ้าจุลนีมากักไว้ใต้วังที่สร้างขึ้น นั้นแล้วจึงกลังไปเฝ้าพระเจ้าวิเทหราช พระเจ้าวิเทหราชตกพระทัยว่ากองทหารมาล้อมวัง ตรัสปรึกษา มโหสถ มโหสถจึงทูลเตือนพระราชาว่า "ข้าพระองค์ได้กราบทูล ห้าม มิให้ทรงประมาท แต่ก็มิได้ทรงเชื่อ พระราชบิดาพระเจ้าจุลนี นั้น ประดุจเหยื่อที่นำมาตกปลา การทำไมตรีกับผู้ไม่มีศีลธรรม ย่อมนำความทุกข์มาให้ ธรรมดาบุคคลผู้มี ปัญญา ไม่พึงทำ ไมตรีสมาคมกับบุคคลผู้ไม่มีศีล ซึ่งเปรียบเสมือนงู ไว้วางใจ มิได้ย่อมนำความเดือดร้อน มาสู่ไมตรีนั้น ไม่มีทางสำเร็จผลได้" พระเจ้าวิเทหราชทรงเสียพระทัยที่ไม่ทรงเชื่อคำทัดทาน ของมโหสถแต่แรก มโหสถจัดการนำพระเจ้า วิเทหราช ไปพบพระชนนี พระมเหสี และพระโอรสธิดาของพระเจ้าจุลนี ที่ตนนำมาไว้ในอุโมงค์ใต้ดิน แล้วจัดการให้กองทัพที่เตรียมไว้ นำเสด็จกษัตริย์ทั้งหลายกลับไปมิถิลา ส่วนตัวมโหสถเองอยู่ เผชิญหน้า กับพระเจ้าจุลนี เมื่อพระเจ้าจุลนีเสด็จมา ประกาศว่าจะจับพระเจ้าวิเทหราช มโหสถจึงบอกให้ทรงทราบว่า พระเจ้าวิเทหราช มโหสถจึงบอก ให้ทรงทราบว่า พระเจ้าวิเทหราชเสด็จกลับมิถิลาแล้วพร้อมด้วย พระราชวงศ์ ของพระเจ้าจุลนี พระราชาก็ทรงตกพระทัย เกรงว่าพระญาติวงศ์จะเป็นอันตราย มโหสถจึงทูลว่า ไม่มีผู้ใด จะทำอันตราย แล้วจึงทูลเชิญพระเจ้าจุลนีทอดพระเนตรวังและ อุโมงค์ที่จัดเตรียมไว้อย่างวิจิตรงดงาม ขณะที่พระเจ้าจุลนีกำลัง ทรงเพลิดเพลิน มโหสถก็ปิดประตูกลทั้งปวง และหยิบดาบที่ซ่อนไว้ ทำทีว่าจะ ตัดพระเศียรพระราชา พระราชาตกพระทัยกลัว มโหสถจึงทูลว่า "ข้าพระองค์จะไม่ทำร้ายพระราชา แต่หากจะฆ่า ข้าพระองค์เพราะแค้นพระทัย ข้าพระองค์ก็จะถวายดาบนี้ให้"

                              พระราชาเห็นมโหสถส่งดาบถวาย ก็ทรงได้สติ เห็นว่ามโหสถ นอกจากจะประกอบด้วยความสติปัญญาประเสริฐแล้ว ยังเป็น ผู้ไม่มีจิตใจมุ่งร้ายพยาบาทผู้ใด พระเจ้าจุลนีจึงตรัสขออภัยที่ ได้เคยคิดร้ายต่อเมืองมิถิลา ต่อพระเจ้าวิเทหราช และต่อมโหสถ มโหสถจึงทูลลากลับไปมิถิลา จัดให้กองทหารนำเสด็จพระชนนี พระมเหสี และ พระราชบุตร ของพระเจ้าจุลนีกลับมายัง อุตรปัญจาล ส่วนราชธิดานั้นคงประทับอยู่มิถิลา ในฐานะ พระชายาพระเจ้า วิเทหราชต่อไป พระเจ้าจุลนีทรงตรัสขอให้มโหสถมาอยู่กับพระองค์ มโหสถ ทูลว่า "ข้าพระองค์รับราชการรุ่งเรืองในราช สำนักของพระเจ้า วิเทหราช ผู้เป็นเจ้านายของข้าพระองค์แต่เดิม ไม่อาจจะไปอยู่ที่ อื่นได้หากเมื่อใด พระเจ้าวิเทหราชสวรรคต ข้าพระองค์จะไป อยู่เมืองอุตรปัญจกาล รับราชการอยู่ในราชสำนัก ของ พระองค์" เมื่อพระเจ้าวิเทหราชสิ้นพระชนม์ มโหสถก็ทำตามที่ ลั่นวาจาไว้ คือไปรับราชการอยู่กับพระเจ้าจุลนี และยังถูก กลั่นแกล้งจากเกวัฏพราหมณ์คู่ปรับเก่า แต่มโหสถก็ เอาตัวรอดได้ทุกครั้ง มโหสถนอกจากจะมีสติปัญญา เฉลียวฉลาดแล้ว ยังประกอบด้วยคุณธรรมอันประเสริฐ มีความสุขุมรอบคอบ มิได้หลงใหล ในลาภยศสรรเสริญ ดังนั้นมโหสถจึงได้รับยกย่องสรรเสริญว่าเป็น บัณฑิตผู้มี ความรู้อันลึกซึ้ง มีสติ ปัญญานั้นประกอบด้วยคุณธรรมอันประเสริฐ ที่กำกับให้ผู้มีสติปัญญาประพฤติปฏิบัติในทางที่ถูกที่ควร

คติธรรม : บำเพ็ญปัญญาบารมี

                      "ปัญญาอันล้ำเลิศนั้นย่อมทำคุณให้แก่บุคคล ยิ่งกว่ามีทรัพย์นับแสน แม้มิมีปัญญาดั่งปราชญ์ แต่ถ้าเป็นผู้รู้จักคิดให้รอบคอบก่อน ก็ย่อมเป็นผู้มีปัญญาและประพฤติชอบแล้ว"

                      "บัณฑิตย่อม ไม่ทำชั่ว เพื่อให้ได้ความสุข สำหรับตน แม้จะถูกทับถมให้เสื่อมจาก ลาภยศ ก็ไม่คิดสละธรรมะด้วยความหลงในลาภยศ หรือด้วย ความรักความชัง บุคคลนั่งนอนอยู่ใต้ร่มไม้ ย่อมไม่ควรหัก กิ่งต้นไม้นั้น เพราะจะได้ชื่อว่าทำร้ายมิตร บุคคลที่ได้รับการ เกื้อหนุนอุปการะจากผู้ใด ย่อมไม่ทำให้ไมตรีนั้นเสียไปด้วย ความโง่เขลา หรือความ หลงในยศอำนาจ บุคคลผู้ครองเรือน หากเกียจคร้าน ก็ไม่งาม นักบวชไม่สำรวม ก็ไม่งาม พระราชา ขาดความพินิจพิจารณาก็ไม่งาม บัณฑิตโกรธง่าย ก็ไม่งาม"

      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 292 293 [294] 295 296 ... 681   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><