Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #6550 เมื่อ: 13 กรกฎาคม 2555, 12:52:02 » |
|
"จดหมายจากผู้ว่าการถึงอาจารย์ป๋วย" (ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เขียนบทความชื่อ "จดหมายจากผู้ว่าการถึงอาจารย์ป๋วย" ตีพิมพ์ในวารสารพระสยามของ ธปท. "กรุงเทพธุรกิจ" เห็นว่าเนื้อหามีประโยชน์กับสาธารณชน จึงได้ขออนุญาตนำมาเผยแพร่) ….. พฤษภาคม 2555 เรียน อาจารย์ป๋วยที่เคารพ
ในจดหมายฉบับก่อน ผมได้มีโอกาสเรียนอาจารย์เกี่ยวกับข้อเป็นห่วงของแบงก์ชาติ ด้านการขาดวินัยทางการคลัง ซึ่งมักเป็นสาเหตุให้แบงก์ชาติต้องท้วงติงรัฐบาลคล้ายกับที่อาจารย์เคยประสบ รวมทั้งผมขออนุญาตที่จะเขียนจดหมายถึงอาจารย์อีก
อาจารย์ครับ การใช้จ่ายมากๆ ของรัฐบาล โดยเฉพาะโครงการลดแลกแจกแถม หรือที่ได้สัญญากับประชาชนในช่วงเลือกตั้ง ทำให้เกิดการขาดดุลงบประมาณ และมักจะนำมาสู่ข้อเรียกร้องแปลกๆ ต่อแบงก์ชาติ ซึ่งผมจะขอยกตัวอย่างหนึ่งนำมาเรียนให้อาจารย์ทราบในจดหมายฉบับนี้ นั่นก็คือ การโอนหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ
ช่วงปลายปีที่แล้วและต่อเนื่องถึงต้นปีนี้ มีประเด็นที่สร้างความวิตกกังวล คือการที่มีข่าวว่ารัฐบาลจะโอนหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ มาให้แบงก์ชาติรับภาระแทน ก่อนอื่นผมขอเท้าความให้ทราบว่าหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ มาจากไหน หนี้ดังกล่าวนี้มีที่มาจากวิกฤติต้มยำกุ้งเมื่อปี 2540 ที่ประเทศเราเกิดปัญหาฟองสบู่และลุกลามสู่ปัญหาระบบสถาบันการเงิน ทำให้รัฐบาลในขณะนั้นต้องเข้ามาแก้ปัญหาด้วยการประกาศค้ำประกันเต็มจำนวนแก่เจ้าหนี้และผู้ฝากเงิน โดยให้กองทุนฟื้นฟูฯ ทำหน้าที่แทนในการจ่ายคืนทั้งต้นเงินและดอกเบี้ย เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นต่อระบบสถาบันการเงิน ภาระดังกล่าวทำให้เกิดค่าใช้จ่ายจำนวนมากแก่กองทุนฟื้นฟูฯ รัฐบาลจึงได้ตรา พ.ร.ก. ขึ้น 2 ฉบับในปี 2541 และ 2545 ให้กระทรวงการคลังออกพันธบัตรเพื่อกู้เงินและนำมาใช้ในการจ่ายคืนเจ้าหนี้และผู้ฝากเงิน ภาระหนี้จากการออกพันธบัตรดังกล่าวนับเป็นหนี้สาธารณะ ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติสากลดังเช่นที่เกิดขึ้นล่าสุดในยุโรป
การแก้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจนับเป็นภาระการคลังของประเทศ (fiscalization) เพราะรัฐบาลมีอำนาจเก็บภาษี จึงมีบทบาทนำในการสนับสนุนภาคการเงินในช่วงวิกฤติ โดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม เมื่อระบบสถาบันการเงินได้รับความน่าเชื่อถือ เศรษฐกิจก็เดินหน้าได้ ทั้งนี้ ปัจจุบันต้นเงินกู้ตาม พ.ร.ก. ปี 2541 และ 2545 มีรวมทั้งหมดประมาณ 1.14 ล้านล้านบาท
รัฐบาลมีความพยายามที่จะโอนหนี้ดังกล่าวให้มาอยู่กับแบงก์ชาติ โดยได้เสนอหลักการดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของ ครม. เป็นวาระลับ เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2554 ซึ่งผมเองก็ไม่ทราบมาก่อน โดยรัฐบาลให้เหตุผลว่าต้องการให้หนี้สาธารณะลดลง และจะทำให้สามารถกู้เงินได้เพิ่มเติมเพื่อฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม ทั้งนี้ ครม. มีมติเห็นความจำเป็นของการฟื้นฟูประเทศ แต่ขอให้หน่วยงานปรึกษากัน จึงเข้าใจว่าบางส่วนในรัฐบาลคงมีความเป็นห่วงในประเด็นการโอนหนี้ว่าอาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อประเทศเช่นกัน รวมทั้งมีกระแสการคัดค้านจากสาธารณชน
เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2554 คุณกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี ได้ขอหารือกับ 4 หน่วยงาน คือ (1) คุณธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง (2) ผม ในฐานะผู้ว่าการแบงก์ชาติ (3) คุณอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการสภาพัฒน์ และ (4) คุณอัชพร จารุจินดา เลขาธิการกฤษฎีกา ซึ่งผมได้เรียนให้ที่ประชุมทราบว่าการโอนหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ มาให้แบงก์ชาติ มีผลเสียหายต่อประเทศชาติอย่างไรบ้าง ทั้งผลกระทบต่อการดำเนินนโยบายการเงิน การบั่นทอนวินัยการคลัง เพราะรัฐบาลอาจกู้เงินได้โดยง่ายแล้วให้แบงก์ชาติโอนเงินเพื่อชำระหนี้แทน เป็นการทำลายเสถียรภาพและการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว ทำลายความน่าเชื่อถือของรัฐบาลและเครดิตเรทติ้งของประเทศ เมื่อประเทศเสียเครดิตแล้ว ความไว้วางใจจากต่างชาติจะน้อยลง ส่งผลต่อการให้เครดิตระหว่างกัน เจ้าหนี้ต่างประเทศอาจคิดดอกเบี้ยแพงขึ้น
ในการชี้แจงวันนั้น ทำให้ผมนึกถึงคำกล่าวของอาจารย์ที่ว่า “ในการที่จะติดต่อกับรัฐบาล จึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้มีความเชื่อถือ ให้รัฐบาลหรือบุคคลในรัฐบาลเชื่อถือว่า เราไม่ได้เห็นประโยชน์ส่วนตัว ไม่ได้เห็นแก่ประโยชน์ของธนาคารชาติ แต่เห็นประโยชน์ของแผ่นดิน ผู้ว่าการและผู้ใหญ่ในธนาคารชาติจะต้องมีความกล้าหาญพอสมควร คือ ต้องสามารถที่จะพูดขัดได้ ถ้าอะไรที่ไม่ดีแล้วจำเป็นจะต้องพูดได้ ถ้าไม่มีความกล้าพอ อย่าเป็นดีกว่า”
เนื่องจากในการท้วงติง ต้องอาศัยศิลปะและความกล้า เพราะรัฐบาลย่อมมีอำนาจเหนือแบงก์ชาติอยู่แล้ว แต่ในที่สุด ที่ประชุมได้ข้อสรุปตามที่แบงก์ชาติเสนอว่า (1) ต้องไม่มีการพิมพ์เงินใหม่ (2) ต้องไม่ใช้ทุนสำรองเงินตรา และหลักการของรัฐบาลว่าต้องลดภาระงบประมาณ
หลังจากวันหยุดยาวในช่วงปีใหม่ พอเปิดทำการในวันแรก 4 มกราคม 2555 ผมทราบข่าวว่า กฤษฎีกาส่งร่าง พ.ร.ก. เข้าสู่การพิจารณาของ ครม. โดยที่แบงก์ชาติไม่ได้รับแจ้งหรือเห็นร่าง พ.ร.ก. ฉบับดังกล่าวก่อน ซึ่งต่างจากพิธีปฏิบัติตามปกติ ในช่วงเย็นวันนั้น มีผู้สื่อข่าวส่ง fax ร่าง พ.ร.ก. มาให้ดู ตอนเช้าวันรุ่งขึ้น 5 มกราคม สื่อสาธารณะได้ลงร่าง พ.ร.ก. ดังกล่าว ซึ่งเนื้อหาไม่สอดคล้องกับหลักการที่ได้ตกลงกันจากที่ประชุม ผมจึงได้แสดงความเห็นคัดค้านผ่านการให้สัมภาษณ์ โดยเฉพาะมาตรา 7(1) และ 7(3) เกี่ยวกับการกำหนดให้แบงก์ชาตินำส่งกำไรสุทธิไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 และการให้โอนเงินหรือสินทรัพย์ของแบงก์ชาติตามที่ ครม. กำหนด ส่วนทางคณะศิษย์หลวงตามหาบัวได้แสดงความเห็นคัดค้านในมาตรา 7(2) และ 7(3) เพราะจะกระทบต่อสินทรัพย์ในคลังหลวงหรือทุนสำรองเงินตราด้วย
ในช่วง 10 โมงเช้าวันเดียวกัน รองนายกฯ ได้มาหารือกับผมที่แบงก์ชาติ ผมก็ได้ทักท้วงประเด็นที่จะสร้างความเสียหายต่อประเทศ ซึ่งรองนายกฯ รับว่าไม่มีเจตนาและเห็นพ้องที่จะให้ต้นเงินกู้หนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ยังอยู่ที่คลัง รวมทั้งตอบรับที่จะแก้ไขมาตรา 7 ในขณะที่ยังคงให้แบงก์ชาติกำหนดเงินนำส่งของธนาคารพาณิชย์เพื่อบริหารจัดการหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ
นอกจากการแสดงความเห็นท้วงติงด้วยการให้สัมภาษณ์ และการพูดคุยโดยตรงกับรัฐบาลแล้ว ผมเองยังได้ทำหนังสือลงวันที่ 9 มกราคม 2555 ถึงรัฐมนตรีคลัง เพื่อแสดงความเป็นห่วง ดังนี้ (1) การให้แบงก์ชาติรับภาระหนี้สาธารณะแทนรัฐบาลมีผลเท่ากับพิมพ์เงินให้รัฐบาลใช้ ซึ่งส่งผลเสียต่อประเทศ (2) จะต้องไม่มีการโอนเงินหรือสินทรัพย์ของแบงก์ชาติไปชำระหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ (3) การดำเนินการของกองทุนฟื้นฟูฯ ควรทำในฐานะตัวแทนรัฐบาล (4) หน้าที่กำหนดอัตราเงินนำส่งควรเป็นของกองทุนฟื้นฟูฯ โดยความเห็นชอบของ ครม. และ (5) การนำส่งกำไรสุทธิต้องหักขาดทุนสะสมแล้ว
สื่อสาธารณะได้แสดงความวิตกกังวลต่อเรื่องดังกล่าวอย่างกว้างขวาง บางส่วนสะท้อนในภาพการ์ตูนล้อการเมืองที่ลงในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ซึ่งผมได้แนบมาให้อาจารย์ดูด้วย แต่ในที่สุด ครม. ก็มีมติอนุมัติร่าง พ.ร.ก.เมื่อวันที่ 10 มกราคม ซึ่งผมเองได้มีโอกาสเห็นร่าง พ.ร.ก. ที่ ครม.อนุมัติ ในช่วงเย็นวันที่ 11 มกราคม ผมเบาใจในระดับหนึ่งที่ไม่เห็นการโอนเงินหรือสินทรัพย์ของแบงก์ชาติปรากฏอยู่ เท่ากับว่าความพยายามในการท้วงติงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปลายปีก่อนสัมฤทธิผลบ้าง ซึ่งคงจะช่วยลดความเสี่ยงด้านการบริหารนโยบายเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการให้แบงก์ชาติโอนเงินหรือสินทรัพย์ไปให้รัฐบาลใช้จ่าย เพราะจะนำมาซึ่งการเสื่อมค่าของเงินตราและค่าครองชีพที่สูงขึ้นดังที่อาจารย์เคยบันทึกไว้เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ยังมีคำถามในทางปฏิบัติเกี่ยวกับการเพิ่มเงินนำส่งธนาคารพาณิชย์ว่าเป็นอย่างไร ผมเองได้มีโอกาสพบกับสมาคมธนาคารไทยในวันที่ 12 มกราคม และได้รับทราบข้อกังวลด้านการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมระหว่างธนาคารพาณิชย์กับสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIS) เพราะ SFIS ไม่มีภาระต้องส่งเงินสมทบทำให้มีข้อได้เปรียบด้านต้นทุนการเงินที่ต่ำกว่า และอาจมีผลผลักดันให้ SFIS เข้ามาแข่งขันในเชิงพาณิชย์ ทั้งการเร่งระดมเงินฝาก และการให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้รายใหญ่ จนละเลยบทบาทในเชิงพัฒนาซึ่งเป็นหน้าที่หลักของ SFIS เช่น การให้กู้แก่คนมีรายได้น้อย ขาดโอกาส แต่มีศักยภาพที่จะพัฒนาตัวเองขึ้นได้
ผมมีโอกาสหารือกับคุณธีระชัย รัฐมนตรีคลัง ที่เชียงใหม่ช่วงกลางเดือนมกราคม 2555 ซึ่งท่านไม่ค่อยแน่ใจกับการเก็บเงินนำส่งจาก SFIS แต่บอกว่าได้ออกนโยบายให้ SFIS จำกัดบทบาทเชิงพาณิชย์ลงแล้ว ต่อมา ภายหลังการเปลี่ยนแปลงรัฐมนตรีคลังจากคุณธีระชัยเป็นคุณกิตติรัตน์ มีการประชุมระหว่างรัฐมนตรีคลัง แบงก์ชาติและสมาคมธนาคารไทยเมื่อวันที่ 30 มกราคม ซึ่งได้ข้อสรุปร่วมกันว่าให้เก็บเงินนำส่งจากธนาคารพาณิชย์ในอัตราร้อยละ 0.46 เพื่อชำระคืนหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ และอีกร้อยละ 0.01 เพื่อเข้ากองทุนคุ้มครองเงินฝาก รวมทั้งให้เก็บเงินจาก SFIS ในอัตราที่เท่ากันด้วย
อาจารย์ครับ หากมองย้อนเวลากลับไป ในช่วงปลายปีก่อนที่มีแนวคิดของการโอนหนี้มาให้แบงก์ชาติ เพื่อลดหนี้สาธารณะและจะได้สามารถกู้ได้เพิ่มเติม ผมพยายามเจรจาอธิบายให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้าใจว่าการใช้แบงก์ชาติโอนเงินให้รัฐบาลเพื่อใช้หนี้แทน จะส่งผลเสียต่อประเทศอย่างไร
ผมดีใจนะครับว่าในที่สุดคำทัดทานของผมบังเกิดผลอยู่บ้าง สำหรับการแก้ปัญหาที่ให้เก็บเงินนำส่งจากสถาบันการเงินนั้น แน่นอนว่าสถาบันการเงินจะมีภาระเพิ่มเติม แต่ผมพยายามที่จะตกลงกันในเรื่องอัตราเงินนำส่งว่าทุกฝ่ายรับได้ และการที่ให้เก็บเงินโดยเสมอภาคกันก็คงช่วยลดผลกระทบข้างเคียงลงได้บ้าง วิธีการเก็บเงินเพื่อชำระหนี้ คงจะใช้เวลานานกว่า 20 ปี แต่ผมมองว่าเป็นหนี้ก้อนใหญ่มาก หากเก็บเงินทีเดียวเยอะๆ ก็คงไม่ไหว จึงต้องใช้วิธีทยอยเก็บเงินเพื่อชำระคืน และ ในอนาคต เมื่อประเทศมีรายได้มากขึ้น สถาบันการเงินเติบโตขึ้น ภาระเงินนำส่งก็จะลดลงไปโดยปริยาย
ผมดีใจนะครับที่มีโอกาสเขียนเล่าเหตุการณ์ให้อาจารย์ทราบ เพราะอาจารย์คงเคยประสบเหตุการณ์ที่คล้ายๆ กัน โดยเฉพาะความพยายามในการโอนสินทรัพย์ของแบงก์ชาติ ผมยังจำได้ถึงข้อเขียนที่อาจารย์เคยบันทึกไว้ว่า “เรื่องทุนสำรองนี่ไม่ใช่ของผม และไม่ใช่ของใครในธนาคารชาตินี่ และไม่ใช่ของพวกคุณ ไม่ใช่ของรัฐบาล เป็นของชาติทั้งชาติ และก็เป็นของลูกหลานของเราที่จะมีต่อไป”
ด้วยความเคารพอย่างสูง
ประสาร ไตรรัตน์วรกุล
วศ. 2513 (รุ่น 54)
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #6551 เมื่อ: 13 กรกฎาคม 2555, 13:11:14 » |
|
ผมอยากจะเสนอความคิดเห็นต่อคนไทยทั้งประเทศ ดังนี้
๑. กำหนดไปเลยว่า ผู้ที่จะมาเป็นรัฐบาล แต่ละสมัย สามารถใช้เงินประชานิยมได้ ไม่เกินวงเงิน....บาท เช่น 1 แสนล้านบาท ต่อปี
๒. นโยบายประชานิยม ถ้าภายหลังก่อโทษที่ได้รับการตัดสินจากศาลสูง รัฐบาลนั้นต้องรับผิดชอบ ยุบพรรค และนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีต้องติดคุกอย่างน้อย ๔ ปี
๓. นโยบายการคลัง โดยเฉพาะ กำแพงหนี้สาธารณะ จะต้องได้รับการรับรองทุกรัฐบาล เพราะมันจะทำให้ลูกหลานลำบากในอนาคต คือ คนก่อหนี้ ไม่ได้รับผล เพราะผ่านไปโดยรัฐบาล แต่ลูกหลานในอนาคต ลำบาก เพราะแต่ละรัฐบาลใช้เงินในอนาคตของลูกหลานหมดแล้ว
๔. ทุกรัฐบาล นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ต้องไปสาบานที่หน้าวัดพระแก้ว เป็นรายบุคคล ให้รับทราบทางสื่อ ว่าจะไม่โกงกิน งบประมาณแผ่นดิน เพราะคนเหล่านี้ไม่มีเกียรติเพียงพอที่จะต้องให้เกียรติ
สวัสดี
|
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #6553 เมื่อ: 13 กรกฎาคม 2555, 13:21:32 » |
|
มีบริษัทหนึ่งที่ผมเป็นที่ปรึกษา ผมเตือนผู้บริหารเสมอว่า
"อย่าให้ลูกเดือดร้อนเพราะเรา พ่อเรากู้เงิน เราเป็นผู้ใช้ เรารับรู้ถึงความยาก ลำบาก ในการทำธุรกิจมามากเพียงพอแล้ว ทำได้เท่าไรให้ธนาคารหมด ทำงานแบบอึดอัดมาก ถ้าเรารักลูกเราจริง ต้องแก้ไขการเงินให้หมดในรุ่นเรา อย่าให้เป็นภาระของลูกหลาน ให้ถือว่านั้นละ "บาป" ต่อคนที่เรารัก เพราะเขาไม่รู้เรื่องเลย แต่ต้องมารับผลนั้น"
ใครทำกรรมใดไว้ย่อมได้รับกรรมนั้นเสมอ จะช้า-เร็วเท่านั้น หลีกหนีไม่พ้น
สวัสดี
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #6554 เมื่อ: 13 กรกฎาคม 2555, 13:24:01 » |
|
แล้วแต่จะคิด
นี่ละจิตคน(คิดไม่เหมือนกัน)
|
|
|
|
ดร.มนตรี
|
|
« ตอบ #6555 เมื่อ: 13 กรกฎาคม 2555, 14:34:57 » |
|
กราบขออภัยครับพี่สิงห์ ...
จริงๆแล้ว เข้าใจความหมาย "ไม่เที่ยง" คือ " อนิจจัง" .... ใน นัยยะ ที่พี่สิงห์กรุณาให้ความรู้ครับ
พอดีเมื่อช่วงที่โพส ... กำลังอยู่ในอารมณ์สนุก เลยเผลอ แกล้งตลก ออกไป
ด้วยความเคารพรัก ครับ ....
|
|
|
|
|
เหยง 16
|
|
« ตอบ #6557 เมื่อ: 15 กรกฎาคม 2555, 08:30:38 » |
|
เรื่องจริง แต่ต้องทำ เพราะมีเงินทอนให้ทุกโครงการฯสับเละผ่าน15ปีศก.ไทยไม่พัฒนา ติด3กับดัก"รายได้ต่ำ-โหมประชานิยม-ยอมคอรัปชั่น"เศรษฐกิจ14 July 2555 - 00:00 เอกชนสับเละผ่านวิกฤติต้มยำกุ้ง 15 ปี เศรษฐกิจไทยย่ำกับที่ รัฐ-ประชาชนติด 3 กับดักใหญ่ รายได้ต่ำ-ประชานิยม-บูชาคอรัปชั่น เสวยสุขจนลืมลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ฉุดขีดความสามารถแข่งขันระยะยาวต่ำกว่าชาติอื่น นำเศรษฐกิจดิ่งเหวลึกก่อชนวนวิกฤติรอบใหม่ นายวิรไท สันติประภพ รองผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวในงานสัมมนาหัวข้อ ”15 ปีวิกฤติ 2540 ประเทศไทยอยู่ตรงไหน” จัดโดยสำนักข่าวไทยพับลิก้า ว่า 15 ปีนับจากวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 ถึงปัจจุบัน เศรษฐกิจไทยไม่ได้มีการพัฒนาไปไหน โดยเฉพาะกฎหมายปฏิรูปเศรษฐกิจที่ยังไม่มีความชัดเจนเป็นรูปธรรม เช่น โครงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม รัฐบาลก็เพิ่งจะมาตื่นเต้นหลังเกิดปัญหาในช่วงไตรมาส 4 ปี 2554 ขณะที่ประเทศอื่นถือเป็นกฎหมายที่ปกติต้องปฏิบัติ เพราะรัฐบาลไทยมัวแต่ให้ความสนใจต่อการแก้ไขปัญหาระยะสั้น ไม่มองปัญหาระยะยาว ทั้งนี้ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานยังเกิดขึ้นน้อยมาก ทำให้ไทยเป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่ความสามารถในการแข่งขันลดลงทุกปี ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา หรือจากระดับ 36 มาอยู่ที่ระดับ 39 ทำให้ไม่เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน นายวิรไท กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยปัจจุบันยังติดกับดักใน 3 ด้านที่จะนำประเทศดิ่งลึกลงสู่เหวมากขึ้น คือ 1.กับดักด้านรายได้ โดยไทยไม่สามารถที่จะยกระดับประเทศให้ก้าวข้ามประเทศที่มีรายได้ปานกลางเป็นสูงได้ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งปัจจุบันรายได้ประชากรไทย 1 รายอยู่เพียงระดับ 5,000 เหรียญสหรัฐ 2.กับดักประชานิยม ซึ่งเกิดขึ้นมาตลอดไม่เฉพาะรัฐบาลชุดปัจจุบัน ทำให้รายจ่ายขอรัฐบาลเพิ่มขึ้นทุกปี และลดรายจ่ายทางด้านการลงทุนในระบบสาธารณูปโภค ทำให้ตลอด 10 ปี สังคมไทยเข้าสู่ระบบบอุปถัมส์ เอกชนไม่เกิดการพัฒนา เพราะมัวแต่รอคอยความช่วยเหลือจากภาครัฐบาล และ 3.กับดักประชานิยม ยังทำให้รัฐต้องใช้งบประมาณมากขึ้น กระทบรายได้ภาษี เพราะประชานิยมทำให้เกิดภาระผูกพันในอนาคต ธุรกิจที่มีศักยภาพจึงไม่เกิดการลงทุนในประเทศ เนื่องจากมีต้นทุนด้านภาษีแพง จึงออกนอกประเทศ ทำให้ฐานภาษีแคบลง สุดท้ายประชานิยมก็กลายเป็นวงจรอุบาทว์ "กับดักทั้ง 3 ด้าน ทำให้ไทยนำเศรษฐกิจลงเหวเรื่อยๆ เราบริหารเศรษฐกิจไม่ใช่แบบนโยบาย แต่บริหารแบบมาตรการ ทำให้เราติดกับดักประชานิยม เศรษฐกิจไม่โต ธุรกิจที่ทำกำไรได้ก็ทำไป ยิ่งทำให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำมากขึ้น และนำไปสู่ปัญหาการเมือง รัฐบาลอ่อนแอ มองแต่ปัญหาระยะสั้น 15 ปีผ่านไป กฎหมายยังล้าหลัง วิกฤติรอบใหม่ก็เกิดขึ้น” นายวิรไทระบุ นายบรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการ บล.ภัทร กล่าวว่า การเติบโตของเศรษฐกิจไทยไม่ได้ดีนักตลอดในช่วง 15 ปีที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยไม่ถึง 5% ต่อปี ขณะที่หลายประเทศพัฒนาเศรษฐกิจมาพร้อมกัน อัตราการเติบโตเฉลี่ยสูงกว่านี้มาก นอกจากนั้น สิ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงไปคือทัศนคติของสังคม ซึ่งเป็นสังคมอุปถัมภ์ ทำให้การปฏิรูปต่างๆ ไม่มีเกิดขึ้น ทำให้ไทยเป็นประเทศล้าหลัง และที่ผ่านมาไทยไม่ได้ให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพการผลิต การสร้างนวัตกรรมใหม่ ขณะที่การคอรัปชั่นยังมีอยู่ในสังคมไทย ซึ่งมีทัศนคติที่ยอมรับกันได้หากได้รับประโยชน์ด้วย นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดิ แอดไวเซอร์ จำกัด กล่าวว่า 15 ปีผ่านไป ประเทศไทยยังอยู่ที่เดิม คือกลไกของรัฐยังไม่พัฒนา ไม่มีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเศรษฐกิจ โดยหายไปมาก ทั้งการลงทุนในประเทศ ธุรกิจไทยที่ออกไปลงทุนต่างประเทศ รวมทั้งเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) เข้าลงทุนในไทย ซึ่งขาดแคลนตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ขณะที่เวียดนามเติบโต 4 เท่า มาเลเซียโต 2 เท่า และอินโดนีเซียโต 1.6 เท่า ดังนั้น หากยังปล่อยให้เป็นแบบนี้ อนาคตการพัฒนาอาจหยุดชะงัก. http://www.thaipost.net/news/140712/59601
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #6558 เมื่อ: 16 กรกฎาคม 2555, 06:15:48 » |
|
สวัสดีครับ คุณเหยง
สาเหตุ ที่ต้องมีเงินทอน ให้เจ้าของโครงการ เพราะ
๑. เจ้าของโครงการมีต้นทุน ในการซื้อเสียง และตำแหน่ง
๒. ต้องมีค่าต๋ง จ่ายคืนให้กับนายทุนพรรคการเมือง และค่าจัดทำโครงการ วิ่งเต้นงบประมาณให้โครงการผ่าน รวมทั้งค่ายกมือ สนันสนุนจาก สส.
๓. ตัวเองต้องเลี้ยง สส. ในสังกัดความรับผิดชอบ ที่คอยยกมือสนับสนุน
๔. ต้องจ่ายให้กลุ่ม ประชาชนที่สนับสนุน ผู้ประท้วง หัวคะแนน และกลุ่มการเมืองนอกระบบ เช่น กลุ่ม นปช. ท่าน
๕. ตัวเองก็มีต้นทุนทางสังคมสูง(จมไม่ลง) จึงมีค่าใช้จ่ายสูง
๖. ตัวเอง มีรายได้จำกัด ไม่พอค่าใช้จ่าย จึงต้องหาเศษ หาเลยด้วยการคอรัปชั่น มันง่าย
๗. ปัจจุบัน นักการเมือง ข้าราชการ(ที่ไม่ดี) ร่วมมือกันในการจัดทำโครงการ (เพราะรู้ราคาต้นทุน) ได้บวกเม็ดเงินอันนี้เอาไว้แล้ว จึงมีข้ออ้างในการขอเงินจำนวนนี้คืน คือบวกเผื่อไว้ ประมาณ 20% เป็นอย่้างต่ำ ได้ทั้งเจ้าของโครงการ และข้าราชการ(ที่ไม่ดี) ผิดกับแต่ก่อนที่ไม่ได้บวกเผื่อไว้ จึงกินเล็กกินน้อย ตามน้ำ แต่ปัจจุบันไม่ใช่ กินแบบมูมมาม และจงใจที่จะกิน โดยไม่กลัวบาป เพราะทุกรัฐบาลทำเหมือนกันหมด ประชาชน(บางส่วน)ก็รู้ และเต็มใจ ปล่อยไป เช่นผม เป็นต้น
ด้วยประการฉะนี้ ผมจึงไม่ให้เกียรตินักการเมืองเท่าที่ควร มีสิทธิเท่าเทียมกัน คนเหมือนกัน แต่ผมไม่โกงกินอย่างนักการเมือง ผมพยายามรักษาศีล ๕ ให้มั่นคง แต่นักการเมืองเป็นพวกทุศีล ไม่ให้เกียรติตนเอง
สวัสดี
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #6559 เมื่อ: 16 กรกฎาคม 2555, 06:30:55 » |
|
ระบบเศรษฐกิจแบบนายทุนที่ทุกประเทศใช้เป็นส่วนใหญ่ ตามความเห็นของผม
๑. ต้องให้ GDP โต ทุกปี
๒. เศรษฐกิจ ต้องขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี
เพราะ
๑. ทุกรัฐบาลใช้เงินล่าวงหน้า
๒. ทุกรัฐบาลจ่ายค่าสวัสดิการรัฐสูงขึ้นทุกปี
๓. ทุกรัฐบาล จะมีโครงการประชานิยม ที่ถมเท่าไรก็ไม่เต็ม
ดังนั้น ถ้าเศรษฐกิจหยุดโต หรือไม่ขยายตัวเมื่อไร เตรียมใจได้เลย ฟองสบู่แตกแน่นอน ดังนั้น วัฏจักรฟองสบู่แตกจึงมีให้เห็นทุกภาคส่วนของโลก ไม่ยกเว้น แต่ละรอบประมาณ 4-10 ปี แต่ระยะหลังวงจรเร็วขึ้น เกิดไม่พร้อมกัน แต่ก็ได้ผลกระทบพร้อมกัน คนที่เดือดร้อนคือ ประชาชนส่วนใหญ่ที่มีรายได้น้อน ส่วนเศรษฐีนั้นชอบ เพราะจะล้มบนฟูก หนี้ลด มีให้เห็นประจำ
นี่ละทุนนิยม สร้างหนี้ให้ลูกหลานที่ไม่ได้กระทำ ใช้ทรัพยากรของโลกหมดในเวลาจำกัด เพื่อตัวเอง ไม่ให้ลูกหลานในอนาคตใช้
มนุษย์ทำเพื่อตัวเองเสมอ ตัวเองถูก และอยากได้อีกเสมอไม่มีสิ้นสุดในสิ่งที่ตนเองปราถนา รัก ชอบ ที่รับรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
พระพุทธองค์ จึงทรงเพียรสอนให้ระวัง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ให้จงหนัก ให้รู้เท่าทันมัน แต่อย่าไปเป็นทาษของมัน
สวัสดี
|
|
|
|
สมชาย17
|
|
« ตอบ #6560 เมื่อ: 16 กรกฎาคม 2555, 09:53:29 » |
|
ได้ใจจริงๆครับ พี่สิงห์ นานๆจึงจะเห็น พี่สิงห์ แสดงทัศนะ เรื่อง เศรษฐกิจและการเมือง พร้อมๆกัน ได้ใจครับ ชอบมาก
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #6561 เมื่อ: 16 กรกฎาคม 2555, 13:29:55 » |
|
สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่งและแขกผุ้มีเกียรติ ที่รักทุกท่าน
เมื่อเช้าได้ไปเยี่ยมแม่ และได้พูดคุยกับท่านที่โรงพยาบาล แม่มีอาการอาหารเป็นพิษ ท้องเสีย คุณหมอ รอเก็บอุจจาระไปตรวจหาเชื้อโรค ก็รักษาตามอาการกันไปวันต่อวัน แต่แม่ดูดี ไม่บวมเพราะขาดสารอาหาร แผลกดทับงอกมาได้ครึ่งหนึ่งแล้ว
บ่ายผมมีประชุมคุณภาพที่ PSTC สระบุรี จึงกลับกรุงเทพฯ ค่ำ
ทุกท่านที่ปฏิบัติธรรม อย่ากระทำอย่างที่ผมเขียนวันนี้นะครับ เพราะนักปฏิบัติธรรมนั้น เขาสนใจแต่การเฝ้าดูกาย-ใจ ตนเอง ให้รู้เท่าทัน ระวังตนเอง ไม่ปรุงแต่งในสิ่งที่ได้เห็น ได้ยิน ได้ลิ้มรส ได้ดมกลิ่น ได้สัมผัส ไม่ปล่อยใจนึกคิดไปตามอารมณ์ของจิต
ที่ผมเขียนวันนี้นั้น เขียนในฐานะปุถุชนม์ คนธรรมดา ที่มีใจรักบ้านเมือง อยากเห็นความสงบ เกิดขึ้นอย่างถาวร ไม่สร้างภาระให้ลูกหลาน คนไทยในอนาคต นักปฏิบัติธรรมเขาไม่ทำกัน เพราะมันเป็นเรื่องของคนอื่น มิใช่ตัวเรา แต่ผมเป็นห่วง จึงปล่อยให้กระทำตามที่จิตมันอยากกระทำ
เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ผมลองใจผมด้วยการปล่อยให้จิตมันอยากกระทำ เพื่อเรียนรู้ตัวเองว่า ถ้ากลับไปเป็นอย่างเก่ามันจะเป็นอย่างไร คือ ปกติผมจะมีความรู้สึกตัว อยู่กับปัจจุบันเป็นอย่างมาก ไม่ปล่อยใจปรุงแต่งเลย แต่เมื่อวันอาทิตย์ผมปล่อยจิตตามปราถนาของมันคือ พอตีกอล์ฟจบ ๑๘ หลุม ก็พูดออกมาทันทีเลย หมดเวรหมดกรรม กันทีวันนี้
เหตุผลก็คือ มันทรมารมาก มีแต่ทุกข์ ทั้งกาย-ใจ และมึนหัว ทำให้ผมได้เรียนรู้แล้วว่า เราควรมีสติอยู่ที่อิริยาบถของเรานั้น จะทำให้เรามีการปรุงแต่งน้อย มีแต่สุข สงบ รู้เท่าทันจิต แต่ในการณีปล่อยให้มันคิด มีแต่ความฟุ้งซ่าน ไม่ก่อประโยชน์อันใด ทำให้ตัดสินใจได้ว่าเราควรจะมีชีวิตที่เหลืออย่างไร?
ขอตัวประชุมก่อนครับ
สวัสดี
|
|
|
|
suriya2513
|
|
« ตอบ #6562 เมื่อ: 16 กรกฎาคม 2555, 16:11:00 » |
|
สงสัย สิงห์ มานพ จะไปลงเรียน econ101 ที่ มสท.มาแน่นอนเลย
|
[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี คลิ๊ก->
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #6563 เมื่อ: 17 กรกฎาคม 2555, 07:21:20 » |
|
ผมไม่เคยเรียนเลย เรียนแต่ EG 101 และได้ F
เคยเรียนแต่ Engineering Economy จาก ศาสตราจารย์ ดร.ชัย มุกตะพันธ์ เท่านั้น
ท่านสอนเกี่ยวกับการคิดอัดตราดอกเบี้ยต่างๆ การลงทุนทางการเงิน(ไม่ใช่หุ้น) ว่าแบบไหนจะดีที่สุด เหมาะสมที่สุดสำหรับการลงทุนของเรา ในทางบริหารการเงิน แต่หน้าเสียดาย ผมทำไม่ได้เลยในชีวิต ใช้จ่ายเงินแบบไม่มีหูรูด ไม่ประหยัด ไม่เก็บออม มีแต่ให้ มานึกได้ก็สายเลยวัยย์ทำงานแล้ว จึงต้องหาวิธีอยู่แบบพอเพียง นี่ละการไม่รู้เท่าทันจิตตนเอง ไม่ใช้ปัญญาภายใน มันก็เป็นเช่นนี้ จึงต้องรับกรรมที่ตัวเองได้กระทำเอาไว้ แต่ก็ยังดีที่รู้ตัว ยังไม่สาย ปรับพฤติกรรมใหม่ให้เหมาะสมได้แล้ว เราก็อยู่ได้ ถึงจะไม่มีเงิน เพราะความสุขที่แท้จริงคือการหยุดปรุงแต่ง หรือปรุงแต่งให้น้อยที่สุด เมื่อเรารับรู้จาก ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้ดมกลิ่น ลิ้นได้ลิ้มรส กายได้สัมผัส ไม่ปล่อยใจนึกคิดไปต่างๆ นาๆ ให้รู้เท่าทันในสิ่งที่รับรู้นั้น เราก็วางจิตของเราให้ถูกที่ถุกเวลา และปล่อยวางได้ เพราะธรรมะมันเป็นเช่นนั้น ไม่ได้เกิดกับเราคนเดียว เกิดกับทุกคนไม่ละเว้น ไม่ว่ารวยขนาดไหน ใหญ่โต มีเกียรติขนาดไหน? แล้วเราจะไปทุกข์หรือกังวลทำไม
มีสติกับปัจจุบันนี่ละ รักษารูปตามความเป็นจริงให้พออยู่ได้ ก็พอแล้วสำหรับเรา รอความตายจะมาถึงเท่านั้น
สวัสดี
|
|
|
|
ทราย 16
|
|
« ตอบ #6564 เมื่อ: 17 กรกฎาคม 2555, 07:33:15 » |
|
อ้าว! พี่สิงห์เป็นลูกศิษย์ของ ดร.ชัย มุกตะพันธ์เองรึค่ะ ดร.ชัยเป็นคุณพ่อของ อ.อ้อ สามีของเบญจา สาวน้อยผู้มีหน้าตาน่ารักในกลุ่มที่ไปเที่ยวเขื่อนจุฬาภรณ์ ด้วยกันเมื่อ 20 กว่าปีก่อนนู๊นนนน ... พี่สิงห์คงจำเธอได้น่ะคะ
|
|
|
|
ti2521
|
|
« ตอบ #6565 เมื่อ: 17 กรกฎาคม 2555, 07:49:12 » |
|
.....สวัสดีครับ พี่สิงห์.....
|
เพื่อซีมะโด่งจุฬาฯ สำหรับผม อย่างไรก็ได้
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #6566 เมื่อ: 17 กรกฎาคม 2555, 08:29:34 » |
|
พี่สิงห์ จำได้ทุกคน ไม่เคยลืม ครับ !
สวัสดีค่ะ
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #6567 เมื่อ: 17 กรกฎาคม 2555, 08:35:37 » |
|
สวัสดีครับ คุณตี๋
พี่สิงห์ หวังว่าเธอสบายดีนะครับ
ยังมาเยี่ยม ลูกชายที่หอพักอยู่หรือเปล่า
ยังคิดถึงอาหารที่นำไปให้ที่รถไฟ ที่สถานีลำปางเสมอ เพราะมันมีความหมายมาก
สวัสดี
|
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #6569 เมื่อ: 17 กรกฎาคม 2555, 08:52:21 » |
|
เมื่อวานได้ไปประชุมคุณภาพที่ PSTC ได้เรียนรู้จิตคนไปอีกแบบหนึ่ง ได้เห็นอาการของคนที่ตกอยู่ในโมหะ หลงติดอยู่กับความคิดตัวเอง จนแยกไม่ออก ว่าอะไรควร ไม่ควร อะไรผิด อะไรถูก จนลืมตนไปเสียสิ้น แสดงในสิ่งที่ไม่สมควรออกมา ใครๆก็ดูออก ทำให้คุณค่าของคนหายไปสิ้น เพราะจิตมันกลัวความจริงที่คิดผิด จึงดิ้นรนเอาตัวรอด อาการมันเลยออก
นี่ละจิตคนที่คิดเสมอว่า ตนเองถูก(เพราะถูกตามความคิดของตน) คิดถูก กระทำถูก แต่คนอื่นที่มีสติเขามองออกว่า มันหลงอยู่ในความคิดตนเอง
ความจริงย่อมเป็นความจริง หลีกหนีไม่พ้น ไม่ว่าจะแก้ตัวอย่างไรตามที่จิตมันคิด ถ้าผลที่ออกมามันไม่ถุกไม่ควร มันก็ผิดอยุ่ดีที่ผลลัพย์ นี่ละจิตคนหาเหตุให้ตัวเองเสมอ ว่าถูกต้อง ทุกประการ มองหาข้อผิดพลาดของตัวเองไม่พบ
เจอเหตุการณ์แบบนี้เข้า รู้สึกสังเวช เลยใส่บาตรพระหน้าบ้าน ต้องแผ่เมตตาให้ ไม่ให้เขาหลงอยู่ในความคิดตัวเอง คิดว่าตัวเองรู้ไปทุกอย่าง เป็นเทวดา แต่ผลลัพย์มันตรงกันข้ามกับสิ่งที่คิด กรรมจริงๆ ของคนที่ตกอยู่ในโมหะนี่
การมีสติ-สัมปชัญญะ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับมนุษย์ เพื่อไม่ให้ตกอยู่ในความคิดตนเอง ดังนั้นต้องหมั่นเจริญสติเข้าไว้ โมหะ อวิชชา มันจะได้ลดน้อยลงไป ชีวิตจะมีแต่ความสงบ ไม่ปรุงแต่ง
สวัสดี
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #6570 เมื่อ: 17 กรกฎาคม 2555, 08:57:48 » |
|
เรียน ดร.สุริยา
คุณพัชรี ได้โทรศัพท์ มาบอกว่าอยากจะเรียนเชิญพี่ป่อง ไปรับประทานอาหารเย็น ด้วยกัน
วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ กรกฎาคม นี้ คุณพัชรี-คุณมงคลชัย RCU 24 ขอเรียนเชิญรับประทานอาหารเย็นที่ร้านอาหารเพลิน วิภาวดี-รังสิต เวลา หกโมงเย็น
พี่สิงห์ ก็ขอเรียนเชิญทุกท่านที่สนใจไปร่วมรายการ เพื่อระลึกถึงกันครับ
สวัสดี
|
|
|
|
|
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์
รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644
|
|
« ตอบ #6572 เมื่อ: 17 กรกฎาคม 2555, 09:27:57 » |
|
สวัสดีครับ คุณหนุ๋น
พี่สิงห์ ยังระลึก คิดถึงอยู่เสมอ ไม่ลืมเธอเลย
สวัสดี
|
|
|
|
suriya2513
|
|
« ตอบ #6573 เมื่อ: 17 กรกฎาคม 2555, 10:29:12 » |
|
อ้าว ! วันนั้นเจอกันที่งานแม่อ้อย จารุวรรณ สิงห์ มานพ บอก "ข้าลืมทุกอย่างหมดสิ้นแล้ว" ทำไมตอนนี้ ไหงความจำฟื้นกลับดีขึ้นได้
|
[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี คลิ๊ก->
|
|
|
KUSON
|
|
« ตอบ #6574 เมื่อ: 17 กรกฎาคม 2555, 13:13:58 » |
|
เคยได้ยินเพลงนี้ไหมพี่ป๋อง อยากลืมกลับจำ...อยากจำกลับลืมเป็นเพลงร้องประสานเสียงของใครไม่รู้ ฟังมากว่า20ปีแล้ว เฮ้อ กุศลถูกอบรมเรื่องระวังปาก ระวังใจ ระวังกาย .........แต่เผลอลืมทุกทีแก้ยากจัง
|
|
|
|
|