05 ตุลาคม 2567, 17:47:32
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 228 229 [230] 231 232 ... 681   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: คุย กับ คุณมานพ กลับดี อดีตประธานชมรม ๓ สมัย  (อ่าน 3482532 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 5 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
swsm
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
****


@@ ยาหยี @@
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: Rcu2523
คณะ: Comm Arts
กระทู้: 28,369

« ตอบ #5725 เมื่อ: 17 มีนาคม 2555, 20:29:48 »

มาส่งพี่สิงห์เดินทางไปอิตาลีค่ะ .. ขอให้สนุกและปลอดภัยตลอดการเดินทางนะคะ    บ่ฮู้บ่หัน
      บันทึกการเข้า

.. don't play with me, cos I know how to play it too .. may be better than you do ..
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #5726 เมื่อ: 17 มีนาคม 2555, 20:41:46 »

สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง ที่รักทุกท่าน

                                ผมรู้คำตอบแล้ว ว่าทำไมท่านอาจารย์สุพพัดา  โทรศัพท์มาหาผม นอกจากคิดถึงแล้ว เป็นเพราะ ดร.สุริยา  ไปใส่ไฟท่านอาจารย์เอาไว้มากเกี่ยวกับผม  หาว่าผมทอดทิ้งชมรมฯ  ไม่ช่วยพวกลิ้วล้อของผม  อย่าลืมผมช่วยหาเงินเข้าชมรมทุกครั้ง และงานบุญต่าง ๆ ท่านอาจารย์ก็เจอผมประจำ ท่านไม่เชื่อ ดร.สุริยา  หรอก และที่สำคัญต่อผมมากคือ ท่านอาจารย์ได้โทรศัพท์  มาหาผมเป็นประจำ มากกว่าที่ ดร.สุริยา โทรหาผมเสียอีก

                                แต่อย่างไรก็ต้องขอขอบคุณ ดร.สุริยา  ที่ได้ขับรถพาท่านอาจารย์ไปส่งที่บ้านเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ท่านอาจารย์ก็บอกผมว่า สุริยา ไปส่ง  แต่ไม่ได้เล่าเรื่องการใส่ไฟให้ผมฟังเท่านั้น

                                 ท่านอาจารย์บอกว่า หมู่นี้ชักเดินไม่ไหว  ท่าทางจะอยู่ไม่ถึง ๘๐ ปี  ผมก็บอกว่า อาจารย์ต้องพยายามเดินให้มากเอาไว้ก่อนที่จะเดินไม่ไหวจริงๆ  อย่าไปยอมแพ้ ครับ

                                วันนี้เย็น คุณหมอวิทิต  น้องเขย คุณหมอพีร์  หลานชาย และน้องสาว มาหาที่บ้าน บอกว่า แม่อาการไม่ค่อยดี คือขาดโบรมีน และการทำงานของลำไส้ในการย่อยอาหารกำลังอ่อนแรงลง ๆ ส่วนลำไส้ใหญ่นั้น ไม่ปิดแล้ว  ร่างกายมันชักไม่ไหว  แต่จิตแม่แข็งไม่ยอมจากไป ผมก็บอกว่า ผมได้ทั้งนั้น  ขอให้แม่จากไปอย่างมีความสุข สงบแล้วกัน ไม่ทรมาร เป็นใช้ได้  อย่างไรก็เอาไปโรงพยาบาล เพื่อความสะดวกเอาไว้ช่วงสุดท้ายที่เห็นว่าหมดโอกาสจริง ๆ แล้ว ผมยังอยากทำตามที่แม่ขอร้องผม คือพากลับบ้าน  ช่วงนี้แม่ยังอยู่ได้เพราะจิตแข็ง

                                ก็เรียนให้ทราบเท่านั้น ครับ การพลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์ก็จริง  แต่ทุกข์นั้นพระพุทธองค์สอนให้เอาไว้เห็น  อย่าไปเป็นทุกข์เสียเอง  ผมไม่มีความกังวลในเรื่องนี้เลยทั้งสิ้น เพราะไม่ได้เผลอใจตนเองคิดตาม ในสิ่งที่ประสบ  สิ่งต่าง ๆ เราทำให้ท่านหมดแล้ว และแม่ก็ไม่ได้กังวลว่าจะอยู่ได้หรือไป  รอเวลาสมควรเท่านั้น

                                ราตรีสวัสดีทุกท่านครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #5727 เมื่อ: 17 มีนาคม 2555, 20:50:21 »

อ้างถึง
ข้อความของ swsm เมื่อ 17 มีนาคม 2555, 20:29:48
มาส่งพี่สิงห์เดินทางไปอิตาลีค่ะ .. ขอให้สนุกและปลอดภัยตลอดการเดินทางนะคะ    บ่ฮู้บ่หัน

สวัสดีค่ะ คุณน้องยาหยี ที่รัก

                              ขอบคุณค่ะที่มาส่งพี่สิงห์

                              เพื่อไม่ให้เสียน้ำใจ  พรุ่งนี้เช้าพี่สิงห์ อยู่บ้าน ได้หุงข้าวใส่บาตรพระ ซื้อกับข้าวมาเตรียมเอาไว้แล้วเพราะตลาดลุงเพิ่มปิดวันอาทิตย์ ใส่บาตรพระแล้วจะแผ่ส่วนบุญไปให้เธอและครอบครัว เพื่อเป็นมงคลแก่เธอ ครับ

                              ราตรีสวัสดิ์ค่ะ
      บันทึกการเข้า
swsm
Cmadong Member
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
****


@@ ยาหยี @@
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: Rcu2523
คณะ: Comm Arts
กระทู้: 28,369

« ตอบ #5728 เมื่อ: 17 มีนาคม 2555, 22:16:24 »

กราบขอบคุณมากค่ะ ..     sorry
      บันทึกการเข้า

.. don't play with me, cos I know how to play it too .. may be better than you do ..
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #5729 เมื่อ: 18 มีนาคม 2555, 09:10:23 »

อ้างถึง
ข้อความของ swsm เมื่อ 17 มีนาคม 2555, 22:16:24
กราบขอบคุณมากค่ะ ..     sorry

สวัสดีค่ะ คุณน้องยาหยี ที่รัก

                              พรุ่งนี้ก็อรุณสวัสดิ์เหมือนเธอ

                              วันนี้พี่สิงห์ใส่บาตร แผ่ส่วนกุศลให้เธอและครอบครัว ตามที่สัญญา ให้แล้ว หวังว่าเธอคงจะรับรู้ด้วยจิต อาหารมี ข้าวกล้อง(หุงเอง) แกงมัสหมั่นไก่ ขนมเปี๋ย และน้ำดื่มหนึ่งขาด

                              ราตรีสวัสดิ์ค่ะ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #5730 เมื่อ: 18 มีนาคม 2555, 09:41:54 »

หลักการปฏิบัติธรรมเจริญสติง่าย ๆ



 


                               วันนี้พี่สิงห์ ไม่มีอะไรเขียน เมื่อเช้าเดินจงกรมก็ได้ทบทวน พิจารณา รูป - นาม สิ่งที่จิตมนุษญ์คิด-ต้องการ กฏไตรลักษณ์  อิทัปปัจจยตา ปฏิจจสมุปาบาท อริยสัจจ์ ๔ โอวาทปาฏิโมกข์ และทุกสิ่งรอบตัวเราล้วนเป็น "อนัตตา"  ไม่มีน่ายินดีเลยในสิ่งที่สัมผัสได้ทางอายตนะ คือตา หู  จมูก  ลิ้น  กายและใจ

                               ดังนั้น เช้านี้จึงอยากจะเชิญชวนทุกท่านให้ปฏิบัติธรรม อย่างง่ายๆ ขอให้ทุกท่านลืมในสิ่งที่เคยได้รับรู้เกี่ยวกับการนั่งสมาธิ ลืมทิ้งให้หมด  เพียงแค่ทำง่ายๆ คือเวลาเรายืน เดิน นั่ง นอน หยิบสิ่งของ กิน ดื่ม เข้าห้องน้ำ เวลาหายใจ แม้กระทั่งเมื่อมีสิ่งที่มาสัมผัสร่างกาย หรือใจคิดนึก ของให้ท่านมีความรู้สึกตัวเสมอว่า เรากำลังกระทำอะไรอยู่ ณ ปัจจุบันเสมอ เพราะนี่คือความรู้สึกตัวล้วนๆ เป็นสติปัฏฐาน ที่ต้องการ

                               และเมื่อมีความรู้สึกตัวแล้ว ก้เอาสตินั้นมาพิจารณากาย - ใจ ของเราว่ามันเป้นอย่างไร แต่อย่าไปหลงติดอยู่กับความคิด ทุกอย่าง ให้รู้และตัดทิ้งทันที คือรู้ปัจจุบัน ทิ้งความคิดเพราะมันเป็นอดีตไปแล้ว แบบนี้เสมอ ๆ

                               บางครั้งมันอาจจะคิดนอกกาย-ใจ(ตัวเองในการกระทำ ณ เวลานั้น) ไปบ้างไม่เป็นไร แต่อย่าไปติดในความคิดนั้นอยู่นาน  กลับมาให้เร็วมารู้สึกตัวเข้าไว้ ความรู้สึกนี่คือคือความรู้สึกล้วนๆ ที่ต้องการ

                                เจ้าความรู้สึกล้วนๆ ที่บังเกิดขึ้นกับเรานี้ ถ้าเราขยันหมั่นระลึกได้เสมอๆ มันจะเพิ่มพูนขึ้นเอง เหมือนตักน้ำใส่ตุ่มวันละขัน ไม่ช้าไม่นานมันก็เต็มตุ่ม  จิตคนก็เช่นเดียวกัน เราปล่อยปละละเลยมัน ปล่อยให้มันคิด มันทำตามใจมัน ไปหลงติดอยู่กับมันมานาน จนลืมและคิดว่าเป็นตัวตนของเรา เป็นสันดานไป  ตอนนี้เราต้องให้มันกลับมาทำในสิ่งที่ถุกต้องให้สามารถพอที่จะบังคับมันได้ ก็คือการสร้างความรู้สึกตัวในอิริยาบถหลัก-ย่อย ในชีวิตประจำวันของเรานี่ละ  ให้จิตมันมีที่เกาะ และจะเข้ามาอยู่กับเรา ณ ปัจจุบันมากขึ้น ๆ สักวันหนึ่งจะอยู่กับเรา ๒๔ ชั่วโมงได้ ไม่ไปไหน  เราก็สงบแล้ว

                              ตัวอย่างผม วันไหนขี้เกียจ(สันดานเดิม) ไม่อยากลุกมาเช้ามืดเพื่อเจริญสติ  จิตมาก็มาปลุกให้ผมตื่น  ให้รู้สึกตัว และปัญญาตามมาว่าต้องกระทำแล้วนะการเจริญสติในช่วงอมฤติกาล นั้นสมควรอย่างยิ่ง  ทำอ้อยสร้อยไม่ทำมันก็มาเตือนอีก จนผลสุดท้าย ก็ต้องมานั่งเจริญสติเพราะจิตมันอยากอยู่เฉยๆ มีอะไรให้มันเกาะ ไม่คิดฟุ้งซ่านเมื่อเราตื่น

                              ลองทำดูแล้วท่านจะพบด้วยตัวของท่านเอง รู้ความคิด  เห็นความคิด  อยากห่างไกลจากอกุศลทั้งปวง  ทำให้ท่านทำงานดีขึ้น  รู้จักคำว่าสติ(การระลึกได้)มันหมายความว่าอย่างไร  รู้จักสมาธิ(การมีอารมณ์เดียว)มันเป็นอย่างไร  รู้จักคำว่าวิปัสสนามันหมายความว่าอย่างไร รู้จักคำว่าศรัทธามันสำคัญไฉน  รู้จักคำว่าขันติ-วิริยะ-มานะนั้นทำไมพระพุทธองค์จึงทรงสรรเสริญยิ่งนัก รู้ว่าทำไมโพณงค์ ๗ จึงสำคัญยิ่ง และรู้ว่าปัญญามันเกิดขึ้นได้อย่างไร(ความรู้กับปัญญานั้นต่างกัน) และที่สำคัญท่านสามารถนำสิ่งที่รู้เมื่อเฝ้าดูกาย-ใจ ของเรานั้นมาใช้ในการดำรงค์ชีวิต ให้เป็นสุขในครอบครัว ในสังคม ประกอบอาชีพ ได้สุขยิ่งเพราะความโลภ  ความโกรธ  ความหลง ของท่านจะจางลงไปเอง  จนท่านสามารถปล่อยวางได้ เพราะธรรมชาติของจิตมันเป็นเช่นนั้น  เพียงแต่ตอนนี้ท่านยังค้นไม่พบมันเท่านั้น  ไม่ต้องไปคิดถึงหนทางพ้นทุกข์  ท่านก็สงบสุขได้ ด้วยการรู้สึกตัวอยู่กับปัจจุบัน  อะไรๆที่มารุมเร้าเรา เราก็สามารถเอาชนะได้ เพราะเราไม่หลงอยู่ในจิตตนเอง

                                 สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #5731 เมื่อ: 18 มีนาคม 2555, 09:51:19 »




ตอนที่ ๔

มรณสติแบบต่าง ๆ


             การเจริญมรณสติทำได้หลายวิธี  เพียงแค่นึกถึงความไม่เที่ยงของชีวิต  ว่าเราจะต้องตายไม่ช้าก็เร็ว  จึงควรใช้เวลาที่เหลืออยู่ให้เกิดปะโยชน์อย่างเติมที่  เท่านี้ก็ถือว่าเป็นมรณสติอย่างหนึ่ง  แต่สำหรับคนทั่วไป  การระลึกเพียงเท่านี้อาจกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวได้ไม่มากพอ  เพราะเป็นเพียงการคิดอย่างย่นย่อ  อีกทั้งเป็นการรับรู้ในระดับสมอง  แต่ยังไม่ได้ส่งผลไปถึงอารมณ์ความรู้สึกมากนัก  อาจทำให้เกิดความตื่นตัวอยู่พักหนึ่งแต่ไม่นานก้เลือนหายไป  ผลก็คือชีวิตหวนกลับไปสู่แบบแผนเดิม ๆ หลงวนอยู่กับงานเฉพาะหน้าหรือเพลินกับความสนุกสนานจนลืมทำสิ่งสำคัญสำหรับชีวิตไปเสีย

             อันที่จริงในชีวิตประจำวันเรามักจะได้ยินข่าวคราวเกี่ยวกับความตายของใครต่อใครอยู่เสมอ  เพียงแค่ได้ยินข่าวนั้นแล้วโยงมาถึงตัวเองว่า  ไม่นานเราก็จะต้องตายเช่นเดียวกับเขา  เท่านี้ก็สามารถกระตุ้นเตือนไม่ให้เกิดความประมาทในชีวิต  และผลักดันให้ขวนขวายเตรียมตัวเตรียมใจเพื่อรับมือกับความตายในวันข้างหน้า  แต่คนที่จะตื่นตัวเพราะได้ยินข่าวเพียงเท่านี้  นับว่ามีน้อยมาก  ส่วนใหญ่แล้วมักรอให้ความตายเข้ามาใกล้ตัวก่อนจึงจะตื่นตัว เช่น  เห็นคนตายต่อหน้าต่อตา  หรือรอให้ญาติหรือคนใกล้ชิดตายเสียก่อนถึงตื่นตัว  หนักกว่านั้นคือตนเองต้องป่วยหนักหรือใกล้ตายเสียก่อนจึงค่อยตื่นตัว  พระพุทธเจ้าจึงเปรียบคน ๔ กลุ่มข้างต้น ดังม้า ๔ ประเภท  ประเภทแรกเพียงแค่เห็นเงาปฏัก  ก็รู้ว่าสารถีต้องการให้ทำอะไร  ประเภทที่ ๒  ต้องถูกฏตักแทงที่ขุมขนก่อนถึงรู้ว่าต้องทำอะไรบ้าง  ประเภทที่ ๓  จะรู้ตัวก็ต่อเมื่อถูกฏตักแทงที่ผิวหนัง  ประเภทสุดท้ายต้องถูกฏตักแทงถึงกระดูกจึงค่อยรู้ตัวว่าจะต้องทำอะไร  กล่าวอีกนัยหนึ่ง  คนส่วนใหญ่นั้น  แค่รู้หรือเห็นความจริงยังไม่เพียงพอ  ต้องรู้สึกเจ็บปวดเสียก่อนจึงจะกระตือรือร้นเตรียมรับมือกับความตาย

            ด้วยเหตุนี้  สำหรับคนทั่วไปการเจริญมรณสติที่จะช่วยให้เกิดความไม่ประมาทได้เป็นอย่างดีก็คือ  การพิจารณาถึงผลกระทบที่จะตามมาหลังจากความตายเกิดขึ้น  โดยมองให้เห็นเป็นรูปธรรมว่าจะต้องสูญเสียอะไรและพลัดพรากจากใครบ้าง  ผู้ที่ไม่พร้อมย่อมรู้สึกเจ็บปวดกับความสูญเสียพลัดพรากดังกล่าว  แม้จะเป็นความทุกข์แต่ก็ช่วยให้เฉลี่ยวใจได้คิดว่า  ในขณะที่ยังมีเวลาเหลืออยู่  เราจะต้องทำอะไรบ้างเพื่อป้องกันมิให้ความทุกขืดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อถึงวันที่จะต้องพลัดพรากจริง ๆ

            ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างการเจริญมรณสติ

๑. ฝึกตายหรือเจริญมรณสติก่อนนอน

                                    ช่วงเวลาก่อนนอนเป็นช่วงเวลาที่เหมาะแก่การเจริญสติสำหรับคนทั่วไป  เนื่องจากได้ทำภารกิจประจำวันเสร็จสิ้น  บรรยากาศรอบตัวมีความสงบมากขึ้น  ร่างกายและจิตใจเข้าสู่ช่วงแห่งการพักผ่อน  เป็นโอกาสดีสำหรับการน้อมจิตพิจารณาถึงความเป็นไปของชีวิตซึ่งมีความตายเป็นเบื้องหน้า  วิธีที่ดีที่สุดคือการน้อมจิตอย่างจริงจังประหนึ่งว่าควา มตายกำลังเกิดขึ้นกับเรา นั่นคือ  “ฝึกตาย”

                                    ท่าที่เหมาะแก่การเจริญมรณสติคือนอนราบกับพื้น  แขนแนบกับลำตัว  ผ่อนคลายร่างกายทุกส่วนตั้งแต่ศรีษะจรดเท้า  โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า  ไม่มีอาการหน้านิ่วคิ้วขมวด  ทิ้งน้ำหนักทั้งตัวลงไปกับพื้น  ไม่มีส่วนใดที่เกร็งหรือเหนี่ยงรั้งไว้  หายใจอย่างเป็นธรรมชาติ  พร้อมกับน้อมใจมาไว้ที่ปลายจมูก  รู้ถึงสัมผัสบางเบาของลมหายใจทั้งเข้าและออก  ปล่อยวางความนึกคิดต่าง ๆ  ไม่ว่าเรื่องราวในอดีตหรือสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

                                    เมื่อจิตใจเริ่มสงบลงแล้ว  ให้พิจารณาว่าเรากำลังเดินหน้าเข้าสู่ความตาย  ความตายจะต้องเกิดขึ้นกับเราอย่างแน่นอนไม่มีวันที่เราจะรู้ล่วงหน้าได้  อาจเป็นหลายปีข้างหน้า  หรือเป็นปีหน้า  เดือนหน้า  หรือแม่แต่อาทิตย์หน้า  จากนั้นให้พิจารณาต่อไปว่าความตายอาจเกิดขึ้นกับเราในคืนนี้ก็ได้  คืนนี้คือคืนสุดท้ายของเรา  จะไม่มีพรุ่งนี้สำหรับเราอีกต่อไป  นี้คือการนอนครั้งสุดท้ายของเรา

                                    พิจารณาต่อไปว่าเมื่อความตายมาถึง  ลมหายใจก็จะสิ้นสุดไม่มีทั้งลมหายใจเข้าและออก  หัวใจจะหยุดเต้น  ท้องที่พองยุบจะแน่นิ่ง  ร่างกายที่เคยเคลื่อนไหวจะขยับเขยื่อนไม่ได้อีกต่อไป  ที่เคยอุ่นก็จะเริ่มเย็น  ที่เคยยืดหยุ่นก็จะแข็งตึง  ไม่ต่างจากท่อนไม้  ไร้ประโยชน์

                                    จากนั้นพิจารณาต่อไปว่า  เมื่อความตายมาถึง  ทรัพย์สมบัติทั้งปวงที่เราเฝ้าหาและถนอมรักษา  จะมิใช่ของเราอีกต่อไปกลายเป็นของคนอื่นจนหมดสิ้น  ไม่สามารถอุทธรณ์คัดค้านและไม่สามารถทำอะไรกับมันได้อีกต่อไป  แม้แต่ของรักของหวงก็ทาจถูกปล่อยปละไร้คนดูแล

                                    ยิ่งไปกว่านั้น  เราจะไม่มีโอกาสพบปะผู้คุยกับลูกหลานหรือคนรักอีกต่อไป  กิจวัตรประจำวันที่เคยทำร่วมกับเขาจะกลายเป็นอดีต  ต่อไปนี้จะไม่สามารถเนี่ยมเยียนพ่อแม่หรือตอบแทนบุญคุณท่านได้อีกแล้ว  แม้แต่จะสั่งเสียหรือล่ำลาก็มิอาจทำได้เลย  หากผิดใจกับใคร  ก็ไม่สามารถคืนดีกับเขาได้  ขุ่นข้องหมองใจใคร  ก้ไม่สามารถปรับความเข้าใจกันได้อีกแล้ว

                                    งานการก็เช่นกัน  เราต้องทิ้งทุกอย่าง  หากยังไม่เสร็จสิ้นก็ต้องทิ้งไว้แค่นั้น  ไม่สามารถสะสางหรือแก้ไขได้อีกต่อไป  ถึงแม้จะสำคัยเพียงใดก็ตาม  ก็อาจถูกปล่อยทิ้งไร้คนสนใจไยดี  เช่นเดียวกับความรู้และประสบการณ์ทั้งหลายที่สั่งสมมา  จะเลือนหายไปพร้อมกับเรา

                                    ชื่อเสียงเกียรติยศ  อำนาจ  และบรัทบริวารทั้งหลาย  จะหลุดจากมือเราไปอย่างสิ้นเชิง  ไม่ว่าจะมากมายยิ่งใหญ่เพียงใดก็เอาไปไม่ได้  ที่สำคัญคือ  อย่าหวังว่าผู้คนจะยังแซ่ซ้องร้องสรรเสริญเราหลังจากสิ้นลม  เพราะแม้แต่ชื่อของเราสักวันหนึ่งก็ต้องถูกลืมไร้คนจดจำ

                                    ระหว่างที่พิจารณาไปทีละขั้น ๆ ให้สังเกตความรู้สึกของเราว่าเป็นอย่างไร  มีความตระหนก  เศร้าโศกเสียใจ  ห่วงหาอาลัยหรือไม่  เราพร้อมทำใจกับการพลัดพรากสูญเสียสิ่งเหล่านั้นมากน้อยเพียงใด  ถ้าหากยังไม่พร้อม  อะไรทำให้เราไม่พร้อม  และทำอย่างไรเราจึงจะพร้อม

                                    การพิจารณาดังกล่าวจะช่วยให้เราตระหนักว่า  ยังมีบางสิ่งหรือหลายสิ่งที่เราสมควรทำแต่ยังไม่ได้ทำหรือทำไม่มากพอ  ขณะเดียวกันก็ยังมีอีกมากมายหลายอย่างที่เรายังตัดใจไม่ได้  ความตระหนักดังกล่าวจะช่วยให้เราเกิดความขวนขวายที่จะทำสิ่งสำคัญที่ละเลยไป  พร้อมกับเรียนรู้ที่จะฝึกใจปล่อยวางด้วย

                                    ที่กล่าวมาเป็นการฝึกตายเต็มรูปแบบ  แต่ก็สามารถยัดเยื้องไปได้อีกหลายรูปแบบ  เช่น

                                    ก. ทบทวนความดีที่ได้ทำ

                                    เมื่อน้อมใจจินตนาการว่า คืนนี้เป็นคืนสุดท้ายของเรา  ขณะที่ร่างกายกำลังจะหมดลม  หัวใจจะหยุดเต้น  ร่างกายกำลังจะเย็นแข็งและแน่นิ่งดังท่อนไม้  ให้พิจารณาว่าเราได้ทำความดีหรือดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่าสมกับที่เกิดมาแล้วหรือยัง  มีความรู้สึกเสียใจกับชีวิตที่ผ่านมาหรือไม่  อะไรบ้างที่เรารู้สึกว่ายังทำได้ไม่มากพอ  และอะไรบ้างที่เราอยากปรับปรุงแก้ไข  หากยังมีเวลาเหลืออยู่

                                    ข. นึกถึงงานศพของตัวเอง

                                    จินตนาการว่าคืนนี้เป็นคืนสุดท้ายของเรา  จากนั้นให้นึกต่อไปว่าเมื่อหมดลม  ร่างกายของเราถูกนำไปดำเนินการตามประเพณี  บัดนี้ร่างกายของเราถูกบรรจุอยู่ในหีบตั้งโดดเด่น  ผู้คนมากหน้าหลายตาเดินทางมาร่วมพิธีศพเพื่ออำลาเราเป็นครั้งสุอท้าย  มีทั้งลูกหลาน  ญาติมิตร  เพื่อนบ้าน  เพื่อนร่วมงาน  เพื่อนร่วมรุ่น  คนเหล่านี้ต่างพูดถึงเราในวงสนทนาบ้าง  พูดต่อหน้าผู้คนที่มาร่วมพิธีศพบ้าง  ทีนี้ให้ถามตัวเองว่า  อยากให้ผู้คนเหล่านี้พูดหรือเขียนถึงเราว่าอย่างไร  อยากให้เขาจดจำเราในลักษณะใด  อยากให้เขาประทับใจในเรื่องอะไรบ้างที่เกี่ยวกับตัวเรา  จากนั้นให้ถามต่อไปว่า  เมื่อยังมีชีวิติยู่เราได้ทำอะไรบ้างที่ชวนให้เขารำลึกถึงเราในแง่นั้น  มีความดีอะไรบ้างที่เราได้ทำอันควรแก่การชื่นชมสรรเสริญ
                                     การพิจารณาในแง่นี้จะช่วยเตือนใจให้ใคร่ครวญว่า  ที่ผ่านมาเราได้ทำความดีมากน้อยเพียงใด  มีความดีอะไรบ้างที่เรายังทำไม่มากพอ  และควรทำให้มากกว่านั้น  มีหลายครั้งที่เราปล่อยชีวิตไปตามความพึงพอใจส่วนตัว  โดยไม่สนใจผลกระทบที่มีต่อผู้อื่น  เราอยากเป็นคนเสียสละ  เอื้อเฟื้อ  มีเมตตา  เป็นพ่อหรือแม่ที่ดี  แต่เรากลับดำเนินชีวิตไปทางตรงกันข้าม  เพราะมัวแต่แสวงหาเงินทองและชื่อเสียง  มรณสติในลักษณะดังกล่าวจะช่วยเตือนสติเราให้หันกลับมาดำเนินชีวิตในทิศทางที่พึงปราถนา

                                    ค. พิจารณาความไม่เที่ยงของร่างกาย

                                    เมื่อน้อมใจจินตนาการว่าคืนนี้เป็นคืนสุดท้ายของเรา  ให้พิจารณาว่าเมื่อความตายมาถึงแล้ว  เกิดอะไรขึ้นกับร่างกายของเรา  เห็นภาพร่างกายของเราที่แปรเปลี่ยนไปหลังจากหมดลมแล้ว  ที่เคยอ่อนอุ่นก้กลับแข็งเย็น  ที่เคยเดินเหินเคลื่อนขยับได้  ก็กลับแน่นิ่ง  ช่วยตนเองไม่ได้  ต้องรอให้คนอื่นมายกย้ายสถานเดียว  แม้เปรอะเปื้อนเพียงใดก็ทำอะไรกับตัวเองไม่ได้  ต้องรอให้คนอื่นมาทำความสะอาดให้  แต่ถึงจะทำเพียงใด  ไม่ช้าไม่นานก็เริ่มสกปรกเพราะน้ำเหลืองน้ำหนองที่ไหลออกมาตามตัว  ร่างกายที่เคยสวยงามก็เริ่มขึ้นอืด  ผิวพรรณที่เคยขาวนวลก็กลายเป็นเขียวช้ำ  ที่เคยประทินด้วยกลิ่นหอมก็กลับเหน่าเหม็น  ทุกอย่างแปรผันจนแม้แต่ตัวเองก็จำไม่ได้  คนที่เคยรักและชื่นชมเราบัดนี้กลับรังเกียจและกลัวร่างกายของเรา  แต่จะว่าเขาไม่ได้เลยเพราะแม้แต่เราเองหากมาเห็นก็ยังขยะแขยงร่างกายของตัวเองด้วยซ้ำ

                                    การพิจารณาความตายด้วยวิธีนี้  มุ่งหมายให้เราคลายความยึดติดในร่างกาย  มิใช่เพราะมีความน่าเกลียดแฝงอยู่ภายใต้ความสวยงามเท่านั้น  หากยังเป็นเพราะร่างกายหาใช่ของเราไม่  ไม่ว่าเราจะพยายามควบคุมปรุงแต่งอย่างไร  มันก็ไม่อาจเป็นไปดังใจได้  ในที่สุดก็จะแสดงความจริงที่ไม่น่ายินดีออกมา

                                    การตระหนักถึงความจริงข้อนี้  นอกจากจะช่วยบรรเทาความทุกข์เมื่อร่างกายผันแปร  เช่น  เจ็บป่วย  แก่ชรา  พิการหรืออัมพฤกษ์แล้ว  ยังช่วยเตือนใจไม่ให้เราหมกมุ่นลุ่มหลงกับร่างกายมากเกินไป  จนลืมที่จะทำสิ่งที่มีความสำคัญกว่า  โดยเฉพาะสิ่งที่ก่อให้เกิดความเจริญงอกงามแก่จิตใจ  ในยุคที่ผู้คนกำลังหมกมุ่นกับการปรุงแต่งร่างกาย  เพลิดเพลิน  หลงใหลไปกับความงามชั่วครู่ชั่วยามของร่างกาย  จนไม่สนใจสาระของชีวิต  จำเป็นที่จะต้องตระหนักว่าร่างกายนี้ในที่สุดก็ต้องเป็นซากศพที่ไร้ประโยชน์

                                   ง. ฝึกปล่อยวางยามใกล้ตาย

                                   การพิจารณาถึงความสูญเสียพลัดพรากนานาประการที่จะเกิดขึ้นหลังความตาย  ไม่ว่า  ทรัพย์สิน  บุคคล  งานการ  ชื่อเสียงเกียรติยศ  ตามที่กล่าวมาข้างต้น  อาจนำมาใช้เพื่อฝึกการปล่อยวางโดยพาะ  กล่าวคือพิจารณาว่าหากจะต้องตายจริง ๆ  ในอีกไม่กี่นาทีข้างหน้า  ไม่มีเวลาเหลือพอที่จะทำอะไรกับสิ่งเหล่านั้น  นอกจากทำใจปล่อยวางอย่างเดียว  เราสามารถจะทำเช่นนั้นได้หรือไม่  บางคนอาจพบว่าตนสามารถปล่อยวางสิ่งต่าง ๆ ได้หมด  แต่ยังอาลัยลูกหลาน  หรือเป็นห่วงพ่อแม่  ส่วนบางคนเป็นห่วงก็แต่งานการเท่านั้น  อย่างไรก็ตามการฝึกเช่นนี้บ่อย ๆ  จะช่วยให้ตัดใจได้เร็วขึ้น  เพราะตระหนักว่าหากความตายมาประชิดตัวจริง ๆ  ไม่ว่าจะอาลัยใคร  หรือห่วงใยอะไร  ก็ไม่มีประโยชน์  มีแต่จะเป็นโทษ  คือทำให้เป็นทุกข์สถานเดียวในภาวะเช่นนี้  สิ่งที่ดีที่สุดคือปล่อยวางอย่างสิ้นเชิง  วิธีนี้จะเป็นประโยชน์มากในกรณีที่เกิดเหตุปัจจุบันทันด่วนซึ่งบั่นรอนชีวิตอย่างกะทันหัน  การฝึกวิธีนี้อยู่เสมอจะช่วยให้สามารถปล่อยวางได้อย่างรวดเร็ว  ซึ่งพุทธศาสนาถือว่ามีความสำคัญมาก  ดังจะได้กล่าวต่อไปข้างหน้า

                                    วิธีการทั้ง ๔  ประการข้างต้น  พึงสังเกตว่ามีจุดเน้นหนักต่างกัน  กล่าวคือ ๒  วิธีการแรก (ก. และ ข.)  เน้นการเตือนใจให้ขวนขวายทำความดี  เร่งทำหน้าที่และความรับผิดชอบ  ไม่ผัดผ่อนปล่อยให้คั่งค้าง  หรือปล่อยให้เวลาสูญเปล่าโดยเปล่าประโยชน์  กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ  เตือนใจไม่ให้ประมาท  ส่วน  ๒  วิธีหลัง  (ค. และ ง.)  เน้นการปล่อยวาง  ไม่ยึดติดให้เป็นภาระแก่จิตใจ  หรือเหนี่ยวรั้งขัดขวางการดำเนินชีวิตที่ดีงาม  หากต้องการให้เกิดประโยชน์ทั้ง  ๒  ส่วน  คือเตือนใจไม่ให้ประมาทและฝึกการปล่อยวาง  ควรใช้วิธีฝึกตายเต็มรูปแบบดังได้ยกตัวอย่างข้างต้น
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #5732 เมื่อ: 18 มีนาคม 2555, 11:47:57 »



ตอนที่ ๔

มรณสติแบบต่าง ๆ


๒. เจริญมรณสติในโอกาสต่าง ๆ

                                    การเจริญมรณสติสามารถทำได้ในหลายโอกาส  ไม่จำกัดเฉพาะเวลาก่อนนอน  อาจจะทำหลังจากตื่นนอนแล้วก็ได้  โดยพิจารณาว่าวันนี้อาจเป็นวันสุดท้ายของเรา  เราพร้อมที่จะไปแล้วหรือยัง  นอกจากนั้นยังใช้โอกาสต่าง ๆ  เป็นเครื่องเตือนใจถึงความตายว่าพร้อมจะเกิดกับเราได้ทุกเวลา  จึงควรที่จะใช้เวลาที่เหลืออยู่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด  ข้างล่างเป็นตัวอย่างการเจริญมรณสติในช่าวเวลาต่าง ๆ

                                    ก. ก่อนเดินทาง

                                    ก่อนเดินทางไม่ว่า  ขึ้นรถ  ลงเรือ  นั่งเครื่องบิน  พึงระลึกอยู่เสมอว่า  ความตายสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา  โดยพาะจากอุบัติเหตุ  ดังนั้นจึงควรเตรียมใจไว้เสมอ  ลองนึกว่าหากเหตุร้ายกำลังจะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่วินาทีข้างหน้า  เราจะทำใจอย่างไร  นึกถึงอะไรก่อน  และพร้อมจะปล่อยวางทุกสิ่งที่เคยผูกพันหรือไม่  จะน้อมระลึกถึงอะไรเพื่อทำใจให้สงบและพร้อมรับกับทุกอย่างที่จะเกิดขึ้น  โดยไม่ตื่นตระหนก

                        เมื่อจะเดินทางออกจากบ้าน  ก็ควรระลึกถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวด้วยเช่นกัน  ลองสมมติว่าหากนี่เป็นการเดินทางครั้งสุดท้ายของเรา  เมื่อออกไปแล้วจะไม่มีวันได้กลับมาพบหน้าพ่อแม่  คนรักหรือลูกหลานอีก  เราพร้อมหรือไม่  มีเรื่องค้างคาบ้างไหมที่จะทำให้เรานึกเสียใจที่ไม่ได้สะสางให้เสร็จก่อนออกเดินทาง  มีความขัดแย้งใด ๆ  บ้างไหมที่จะทำให้เราเสียใจที่ไม่ได้คืนดีกันก่อน  การระลึกเช่นนี้จะช่วยให้เราหันมาปฏิบัติกับผู้คนในครอบครัวด้วยการใส่ใจก่อนที่จะออกเดินทาง  ไม่ปล่อยให้มีเรื่องคาใจกันด้วยหวังว่าจะมีโอกาสปรับความเข้าใจในวันข้างหน้า  เพราะวันนั้นอาจมาไม่ถึงก็ได้  ในทำนองเดียวกันก่อนจะเดินทาง  ออกจากที่ทำงาน  ก็ควรเจริญมรณสติ  เพื่อเตือนใจว่าเราอาจไม่มีโอกาสพบหน้ามิตรสหายอีก  จึงควรปฏิบัติต่อเขาอย่างดีที่สุดก่อนที่จะลาจากกัน

                                   ข. เมื่อรับรู้ข่าวสาร

                                   ช่วงเวลาที่อ่านหนังสือพิมพ์หรือดูข่าว  เป็นอีกช่วงหนึ่งที่เหมาะแก่การเจริญมรณสติ  โดยพาะเมื่อมีข่าวอุบัติเหตุหรือวินาศภัย  แทนที่จะรับรู้แบบผ่านๆ  หรือเป็นเรื่องหน้าตื่นเต้น  ควรใช้ข่าวดังกล่าวเป็นเครื่องเตือนใจตนเองว่า  ชีวิตนี้ไม่เที่ยงอย่างยิ่ง  จู่ๆ ก็มาตายอย่างกะทันหัน  ไม่มีสัญญาณล่วงหน้าเลย  ไม่ว่าอยู่ที่ไหน  เวลาใดก็ตายได้ทั้งนั้น  จะให้ดีกว่านั้นลองโยงเหตุการณ์ดังกล่าวเข้ามาหาตัวเอง  โดยน้อมนึกไปว่าสักวันหนึ่งเราก็อาจต้องประสบกับเหตุการณ์อย่างนั้นเช่นกัน  คำถามก็คือเมื่อถึงตอนนั้น  เราจะทำใจอย่างไร  พร้อมจะตายหรือไม่  ทุกวันนี้เราได้เตรียมตัวเตรียมใจรับมือกับเหตุการณ์ดังกล่าวหรือไม่  หากไม่ได้ทำ  จากนี้ไปเราจะทำอย่างไร จึงจะสามารถเผชิญกับเหตุการณ์ดังกล่าว โดยไม่ตื่นตระหนกหรือทุรนทุราย

                        ช่วงที่ใจสงบ  ลองสมมติว่าเราได้เข้าไปอยู่ในเหตุการณ์เหล่านั้น  นึกให้เห็นเป็นภาพอย่างชัดเจนว่าเกิดอะไรขึ้นรอบตัวเรา  นึกถึงสถานการณ์ขับขันไร้ทางออก  ราวกับว่าอันตรายกำลังเกิดขึ้นกับเราจริงๆ   จากนั้นให้มาสังเกตอารมณ์ความรู้สึกของตนเอง  ว่าเกิดความตื่นกลัว  อึดอัด  หวาดผวา  ทุรนทุราย  มากน้อยเพียงใด  หากอารมณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างท่วมท้น  ก็ให้พิจารณาว่ามีวิธีอะไรบ้างที่จะช่วยบรรเทาอาการดังกล่าว  ถามตัวเองว่าเราควรทำอย่างไรเพื่อน้อมใจให้สงบ  อะไรจะช่วยให้เราปล่อยวางหรือรับมือกับเกตุการณ์ดังกล่าวได้ดีที่สุด  นี้เป็นอีกวิธีหนึ่งในการฝึกตายในสถานการณ์ที่คับขัน  การทำเช่นนี้บ่อยๆ จะช่วยให้เรามีสติรู้ตัวไวขึ้น  และรับมือกับอารมณ์ของตัวได้ดีขึ้น  การจินตนาการถึงตัวเองในเหตุการณ์ดังกล่าว  ยังช่วยให้เรารู้ว่า  ควรทำและไม่ควรทำอะไร  เพื่อประคองตนให้ผ่านพ้นเหตุการณ์คับขันไปได้หากเกิดขึ้นจริงๆ กับเรา

                                    ค. เมื่อไปงานศพ

                                    งานศพไม่ควรเป็นแค่งานสังคมเท่านั้น  แต่ควรเป็นงานบุญในทุกความหมาย  กล่าวคือนอกจากทำบุญอุทิศแก่ผู้ล่วงลับและให้กำลังใจแก่ครอบครัวของผู้วายชนม์แล้ว  ยังควรเป็นโอกาสให้เรามาเตือนสติตนเองถึงสัจธรรมอันเที่ยงแท้แน่นอนว่า ความตายคือปลายทางของทุกคน  ครั้งหนึ่งผู้ตายก็เคยมีชีวิตเดินเหินเคลื่อนไหวได้เหมือนอย่างเรา  แต่ต่อไปเราก็จะต้องทอดร่างแน่นิ่งเช่นเดียวกับเขา  ไม่มีอะไรจะเอาไปได้สักอย่างเดียว  มีแต่บุญและบาปเท่านั้นที่จะติดตัวไปยังปรโลก

                         ศพที่อยู่เบื้องหน้าเรา คือครูสอนธรรมที่ดีที่สุด  สามารถปลุกให้เราตื่นจากความหลงและความประมาทในชีวิต  ใครที่ยังมัวเมาในความสนุกหรือหมกมุ่นกับการทำมาหากิน  ก็อาจได้คิดว่าตนกำลังมีชีวิตอยู่อย่างลืมตาย  ใครที่คิดว่าตนเองยังมีเวลาอยู่ในโลกอีกหลายสิบปี  อาจต้องทบทวนความคิดเสียใหม่ เมื่อมางานศพของเด็กหรือวัยรุ่น  ใครที่หลงในอำนาจ  ก็อาจได้คิดว่า  ไม่ว่าใหญ่โตแค่ไหนสุดท้ายก็ยังเล็กกว่าโลง

                         เมื่อเปิดใจรับรู้สัจธรรมที่ประกาศอยู่เบื้องหน้า  เราก็จะพบคำตอบเองว่า  พร้อมจะไปหรือยัง  และควรจะมีชีวิตอยู่อย่างไร

                                    ง. เมื่อไปเยี่ยมผู้ป่วย

                                    ผู้ป่วยที่กำลังล้มหมอนนอนเสื่อ  ครั้งหนึ่งก็เคยมีสุขภาพดีเช่นเดียวกับเรา  เมื่อไปเยี่ยมเขา  จึงควรระลึกว่าสักวันหนึ่งร่างกายของเราก็ต้องเสื่อมทรุดไม่ต่างจากเขา  แม้จะมีโอกาสรักษาหายแต่ก็ไม่ควรประมาท  เพราะความเจ็บป่วยจะมาเป็นระลอกๆ  และมีแต่จะรุนแรงขึ้น  สุดท้ายก็ตามมาด้วยความตาย  ดังนั้นเมื่อไปเยี่ยมผู้ป่วยจึงควรถือเป็นโอกาสเตือนใจตนเองด้วยว่า  สังขารนั้นไม่เที่ยง  และที่สุดของความไม่เที่ยงก็คือความตายนั่นเอง

                                    พึงถือว่าผู้ป่วยเป็นครูสอนธรรมแก่เรา  โดยเฉพาะผู้ป่วยระยะสุดท้าย  ไม่ว่าเขาจะมีปฏิกิริยาต่อความเจ็บป่วยอย่างไร  ก็เป็นประโยชน์แก่เราทั้งสิ้น  หากทุรนทุราย  กระสับกระส่าย  เขาก็กำลังสอนเราว่าควรเตรียมตัวอย่างไร จึงจะไม่ทุกข์ทรมานเหมือนอย่างเขา  หากเขาสงบและมีสติรู้ตัวแม้ทุกขเวทนาจะแรงกล้า  เขาก็กำลังเป็นแบบอย่างให้แก่เราว่าควรวางใจอย่างไร และอาจบอกเราต่อไปด้วยว่าควรเตรียมตัวอย่างไร ในขณะที่สุขภาพยังดีอยู่

                                    การรักษาใจให้สงบในยามเจ็บป่วย  เป็นเรื่องเดียวกับการรักษาใจให้สงบเมื่อเผชิญกับความตาย  ดังนั้นเมื่อเราล้มป่วยแทนที่จะมัวทุกข์ใจ  ควรถือว่าความเจ็บป่วยเป็นแบบฝึกหัดอย่างดีสำหรับการฝึกใจรับมือกับความตาย  อย่างน้อยก็ควรมองว่าความเจ็บป่วยเป็นบททดสอบขั้นแรกๆ  ก่อนที่จะต้องเจอกับบทสุดท้ายที่ยากที่สุดคือความตาย  หากเรายังทำใจรับมือกับความเจ็บป่วยไม่ได้แล้ว  จะไปรับมือกับความตายได้อย่างไร

                                    จ. เมื่อสูญเสียทรัพย์

                                    เมื่อเงินหาย  ทรัพย์สินถูกขโมย  เราย่อมเป็นทุกข์  แต่มองในอีกแง่มุมหนึ่ง  นี่คือแบบฝึกหัดที่ช่วยให้เรารู้จักปล่อยวางเพื่อรับมือกับความตาย  ใช่หรือไม่ว่าความตายคือสุดยอดแห่งความพลัดพรากสูญเสีย  ทุกสิ่งทุกอย่างที่เรามีหรือเป็นไม่ว่ารูปธรรมหรือนามธรรม จะสูญสิ้นไปหมดเมื่อสิ้นลม  แต่เราจะเผชิญความตายอย่างสงบได้อย่างไรในเมื่อ  แม้แต่เงินพันเงินหมื่นหายไปเรายังทำใจไม่ได้  แม้วันนี้จะสูญไปเป็นล้าน  แต่เมื่อความตายมาถึงเราจะสูญยิ่งกว่านั้นหลายร้อยเท่า

                                    เมื่อใดก็ตามที่ทรัพย์สมบัติสูญหายไป  พึงระลึกว่าความพลัดพรากสูญเสียเป็นเรื่องธรรมดา  ที่สำคัญก็คือเราจะไม่สูญเสียเพียงเท่านี้  แต่จะสูญเสียยิ่งกว่านี้  และในที่สุดก็จะสูญเสียจนหมดสิ้น  กระทั่งชีวิตก็ยังรักษาไว้ไม่ได้  เมื่อระลึกเช่นนี้แล้ว  แทนที่จะยังหวงแหนติดยึดมัน  เราควรตัดใจปล่อยวาง  เพราะหากวันนี้ยังทุกข์กับมัน  วันหน้าจะทุกข์ยิ่งกว่านั้นมากมายหลายเท่า


๓. มีอุบายเตือนใจถึงความตาย

                                   มรณสติสามารถเกิดขึ้นได้โดยอาสัยสิ่งเตือนใจที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน  นอกจากโอกาสหรือเหตุการณ์ต่างๆ  ที่ประสบแก่ตัวเองดังได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว  เรายังสามารถหาสิ่งต่างๆ  มาเป็นเครื่องเตือนใจตนเองเป็นอาจิณ  สุดแม้แต่เงื่อนไขหรือมุมมองของแต่ละคน  เป็น “กุศโลบาย”  ที่เหมาะเฉพาะตัว

            อาจารย์กรรมฐานชาวธิเบตบางท่าน  เมื่อจะเข้านอน  ท่านจะเทน้ำออกจากแก้วจนหมดแล้วคว่ำแก้วไว้ข้างเตียง  ทั้งนี้เพราะท่านไม่แน่ใจว่าจะตื่นขึ้นแล้วได้ใช้มันในวันรุ่งขึ้นหรือไม่  กิจวัตรดังกล่าวเป็นเครื่องเตือนใจท่านว่า ความตายจะมาถึงเมื่อไรก็ได้

            นักเขียนไทยผู้หนึ่งอ่านพบเรื่องดังกล่าว  จึงนำมาประยุกต์ใช้กับตนเอง  ทุกคืนก่อนนอนเธอจะต้องล้างจานชามให้เสร็จหมดเพื่อให้แน่ใจว่าหากหลับไม่ตื่น  จะไม่มีจานชามสกปรกตกเป็นภาระให้ผู้อื่นต้องสะสาง  จานชามที่ยังไม่ได้ล้าง จึงเป็นเสมือนเครื่งเตือนใจว่า  คืนนี้อาจเป็นคืนสุดท้ายของเธอ

            บางคนเตือนใจตนเองโดยใช้ลูกหิน  ลูกหินแต่ละลูกหมายถึงเวลา ๑ สัปดาห์ที่ยังมีชิวิตอยู่  เขาคาดการณ์ว่าน่าจะมีชีวิตอยู่อีกนานเท่าไร  โดยคำนวณจากอายุค่าเฉลี่ย (๗๕ ปี)  จากนั้นก็แตกออกมาเป็นสัปดาห์  เขาอายุได้ ๕๕  ปีแล้ว  จึงคาดว่าน่ามีชีวิตเหลืออยู่อีก ๑,๐๐๐ สัปดาห์  จึงซื้อลูกหินมา ๑,๐๐๐  ลูก  ใส่ไว้ในถังพลาสติกใส  ทุกสัปดาห์เขาจะเก็บลูกหินออกมา ๑ ลูกแล้วทิ้งไป  เวลาผ่านไปจำนวนลูกหินก็ลดลง  ทำให้เขาเห็นชัดว่า เวลาของเขาเหลือน้อยลงเรื่อยๆ  วิธีนี้เตือนใจให้เขาระลึกถึงความตายว่ากำลังใกล้เข้ามา  และทำให้เขาเลือกทำสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตเป็นอันดับแรก  ไม่หลงเพลินกับสิ่งที่ไร้สาระ

            แต่ละคนมีวิธีการเตือนใจตนเองไม่เหมือนกัน  อันที่จริงรอบตัวเรามีสิ่งต่างๆ  มากมายที่สามารถเป็นอุปกรณ์ในทางมรณสติ อาทิ  อาทิตย์ขึ้นและตก  ดอกไม้ที่เต่งตูม  เบ่งบาน  และร่วงโรย  ใบไม้ที่ผลิบานแล้วร่วงหล่น  ในธรรมชาติเต็มไปด้วยสิ่งเตือนใจถึงความไม่จิรังของชีวิต  พระพุทธองค์ทรงแนะให้เราพิจารณาชีวิตของเราว่าไม่ต่างจากฟองคลื่น  หยาดน้ำค้าง  ประกายสายฟ้า  คือเป็นของชั่วครู่ชั่วยาม  เมื่อเห็นสิ่งเหล่านี้ควรน้อมมาเปรียบกับตัวเองอยู่เสมอ


๔. ทำกิจกรรมฝึกใจรับความตาย

                                    นอกจากการฝึกตายและการถือเอาเหตุการณ์ที่ไม่สมหวังมาเป็นแบบทดสอบเพื่อฝึกจิตใจของตนเองแล้ว  ยังมีกิจกรรมอื่นๆ อีกมากที่ช่วยให้เราสำราจตรวจสอบความพร้อมของตน  ขณะเดียวกันก็เตรียมตัวเตรียมใจไปด้วย

                                    ตัวอย่างหนึ่งได้แก่  การฝึกปล่อยวางคนรักของหวง  โดยเลือกบุคคล  สัตว์  หรือสิ่งของที่เราคิดว่ามีความสำคัญที่สุดสำหรับเรามา  ๗  อย่าง  จากนั้นให้ถามตนเองว่าในบรรดา  ๗  อย่างนั้น  หากมีสิ่งหนึ่งที่เราต้องสูญเสียไป  อะไรที่เราตัดใจได้ง่ายที่สุด  หลังจากนั้นให้ถามต่อไปเป็นลำดับว่า

                                    หากต้องสูญเสีย  ๑  ใน  ๖  อย่างนั้นไป  อะไรที่เราตัดใจได้ง่ายที่สุด

                                    หากต้องสูญเสีย  ๑  ใน  ๕  อย่างนั้นไป  อะไรที่เราตัดใจได้ง่ายที่สุด

                                    หากต้องสูญเสีย  ๑  ใน  ๔  อย่างนั้นไป  อะไรที่เราตัดใจได้ง่ายที่สุด

                                    หากต้องสูญเสีย  ๑  ใน  ๓  อย่างนั้นไป  อะไรที่เราตัดใจได้ง่ายที่สุด

                                    หากต้องสูญเสีย  ๑  ใน  ๒  อย่างนั้นไป  อะไรที่เราตัดใจได้ง่ายที่สุด

                                    กิจกรรมนี้อาจทำให้เป็นรูปธรรมขึ้นโดยใช้การสมมติถึงสถานการณ์ที่ร้ายแรงอันนำไปสู่การสูญเสียอย่างฉับพลัน  เช่น  สมมติว่าเกิดไฟไหม้บ้าน  ทำให้เราต้องสูญเสีย  ๑  ใน  ๗  อย่างนั้นไป  เราจะเลือกตัดอะไรออกไป  ต่อมาเกิดแผ่นดินไหว  ๑  ใน  ๖  อย่างนั้น  เกิดมีอันเป็นไป  ถูกทำลายสูญหายไป  เราจะเลือกตัดสิ่งใดออกไป  ต่อมาเกิดอุบัติเหตุรถพลิกคว่ำ  เรารอดชีวิตมาได้แต่สูญเสีย  ๑  ใน  ๕  อย่างนั้นไป  เราจะยอมเสียอะไรไป  ต่อมาเกิดสึนามิ  ทำให้เราต้องสูญเสีย  ๑  ใน  ๔  อย่างนั้นไป  เราจะตัดสิ่งใดออกไป  ต่อมาเรือโดยสารเกิดพลิกคว่ำกลางทะเล  แม้จะรอดชีวิตมาได้  แต่เราสูญเสีย ๑  ใน  ๓  อย่างนั้นไป  เราจะยอมเสียอะไรไป  หลังจากนั้นไม่นานเราประสบอุทกภัยต้องสูญเสีย  ๑  ใน  ๒  อย่างนั้นไป  เราจะยอมเลือกเก็บอะไรไว้และตัดใจทิ้งอะไรไป

                         กิจกรรมดังกล่าวนอกจากฝึกให้เราหัดปล่อยวางเป็นลำดับแล้ว  ยังช่วยให้เราตรวจสอบตัวเองด้วยว่า  ยังติดยึดอะไรบ้าง  และอะไรที่ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของเรา  บางคนพบว่าตนเองรักหรือห่วงหมายิ่งกว่าพี่น้อง  บางคนยอมสูญเสียทุกอย่างแต่ไม่พร้อมจะสละตุ๊กตาคู่ชีวิต  บางคนเลือกที่จะสละเครื่องคอมพิวเตอร์คู่ชีพเป็นอันดับสุดท้าย  การรู้จักตัวเองในแง่นี้จะช่วยให้เราปรับจิตวางใจกับสิ่งต่างๆ  ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมมากขึ้น  ขณะเดียวกันก็ทำให้เห็นตัวเองในด้านที่ไม่เคยนึกมาก่อน  ทั้งหมดนี้ล้วนมีประโยชน์ต่อการเตรียมใจเผชิญความตายทั้งสิ้น  เพราะในที่สุดแล้วเราต้องสูญเสียทุกอย่างไปจนหมดสิ้น  และแม้จะยังไม่ตาย  ก็ยังพบกับความสูญเสียอยู่นั่นเอง  โดยที่ในความเป็นจริงเราไม่สามารถเลือกได้ด้วยซ้ำว่าจะยอมสูญเสียอะไรหรือรักษาอะไรไว้
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #5733 เมื่อ: 18 มีนาคม 2555, 11:51:31 »

ผมต้องค้าง

"ระลึกถึงความตาย สบายนัก การเจริญมรณสติในชีวิตประจำวัน"

ของ

หลวงพ่อพระไพศาล  วิสาโล

ไว้เพียงเท่านี้ชั่วคราว  จะมาต่อให้จบภายหลัง

ขอให้ทุกท่านพิจารณาด้วยปัญญา  นำเอาไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและครอบครัว

ขออนุโมทนา
      บันทึกการเข้า
suriya2513
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,457

« ตอบ #5734 เมื่อ: 18 มีนาคม 2555, 14:32:23 »

      บันทึกการเข้า

[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี  คลิ๊ก->
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #5735 เมื่อ: 18 มีนาคม 2555, 15:11:09 »

เปลี่ยน "มิจฉาทิฏฐิ" ให้เป็น "สัมมาทิฏฐิ"


                              กำลังหาเรื่องเขียนจากใจก่อนไปอิตาลีพอดี  ดร.สุริยา ก็ส่งเอามาให้  ต้องขอบคุณเป็นอย่างมาก เพราะนั่งสร้างจังหวะ - เดินจงกรม และพิจารณาธรรมของหลวงพ่อชา  มาก็ตั้งแต่เที่ยงจนถึงขณะนี้ 15:00 น. ได้โอกาสเปลี่ยนอิริยาบถ มาเขียนเสียทีแต่ก็ระลึกถึงไปด้วย ไม่ให้ตกอยู่ภายใต้ความคิดตัวเอง  "ทำอย่างไร? จึงจะปล่อยวางได้"

                              การปล่อยวางไม่ใช่เราจะไปบังคับมันได้  เมื่อถึงเวลามันก็ปล่อยของมันเองไม่ต้องบังคับทั้งสิ้น มันมีเหตุ - ปัจจัยของมันเอง เช่นการเบื่อหน่าย การคลายกำหนัดยินดี เป็นต้น

                              แต่ตัวที่เป็นอริกับการเบื่อหน่าย  คลายกำหนัดนั้น คือ "มิจฉาทิฏฐิ" หรือ ทิฏฐิตัวเอง หรือสันดานตัวเอง  ที่ตัวเราไปจมปรักอยู่กับความคิดตัวเอง จนกลายเป็นเส้นผมบังภูเขา  มองไม่เห็นทิฏฐิของตนเอง  ผลคือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่คนอื่นทำ  คนอื่นคิดนั้น ผิดไปหมด ไม่ชอบใจ ตัวเองถูกหมด  โลกภายนอกมันเลยแคบ  มองไม่เห็นความจริงทั้งสิ้น

                               ดังนั้นทิฏฐิตัวเองนี้  จึงหน้ากลัวนักแล  เป็นยิ่งกว่ากำแพงกั้นที่วิเศษที่เดียว เพราะตัวเองมองไม่เห็น  แต่คนอื่นมองเห็น  แต่คนอื่นพูดหรือเตือนก็ไม่ได้ กรรมจริงๆ ถ้าเราตกอยู่ในทิฏฐิตนเอง

                               การปล่อยวางนั้น  ไม่ใช่ปล่อยวางทุกสิ่ง เราปล่อยวางตามเหตุ-ปัจจัย ที่วิญญูชนม์พึงรับได้ด้วยปัญญาที่เป็นจริงตามธรรม เกิดสงบสุขทั้งตัวเรา และผู้อื่นที่จะต้องเกี่ยวข้อง เพียงแค่นี้ก็พอเหมาะพองามแล้ว เพราะเรายังต้องดำรงค์ชีวิตอยู่  ยังต้องการปัจจัย ๔ พอสมควรแก่อัตภาพ เพราะความสุขที่แท้จริงนั้น  จะรวยขนาดไหน  จะยากจนขนาดไหน ก็สุข ทุกข์ เหมือนกันเพราะมันเป้นเพียงอารมณ์เหมือนกันหมด  อารมณ์มันก็ไม่มีตัวตนใดๆ ทั้งสิ้นที่จะให้เราไปยึดมั่นกับมัน

                              การที่จะเปลี่ยนจาก "มิจฉาทิฏฐิ" ให้เป็น "สัมมาทิฏฐิ" นั้น มีทั้งยากและง่าย ถ้าเราเห็นความคิดตัวเองได้ มันจะง่ายมาก ๆ  แต่ถ้าเราไม่เห็นความคิดตัวเอง  ยังหลงอยู่ภายใต้ความคิดตัวเอง มันจะยากยิ่งกว่าเข็นครกขึ้นผู้เขา  ถ้าคนสองคนมาพูดกันเรื่องนี้มีแต่ "วิวาท" กันสถานเดียว หาจุดจบไม่ได้

                              การที่จะเห็นความคิดตัวเองได้นั้น  ตัวเราเท่านั้นจะทราบได้จากการมีสติหรือรู้สึกตัวอยู่เป็นนิจ นี่ละ

                              ดังนั้น เราทุกคนควรถอนทิฏฐิออกจากตัวเองเสียเถิด ให้เป็นสัมมาทิฏฐิ  โลกจะสวยงามยิ่งนัก  ชีวิตจะไม่เป็นหมั๋น

                              พอแค่นี้ก็แล้วกัน  สมควรแก่เวลา

                              สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #5736 เมื่อ: 18 มีนาคม 2555, 15:23:01 »


                                  
                                   รูปหลวงพ่อไพศาล  รูปนี้ท่านสอนอะไรให้เรา

                                   - ท่านสอนว่า แต่ละคนนั้นคิดไม่เหมือนกัน

                                   - ท่านสอนว่า เรื่องของท่านก็เรื่องของท่าน  เรื่องของเราก็เรื่องของเรา  ถ้าเราต้องการให้สิ่งต่างๆ รอบตัวเราดีนั้น เพียงแต่เราสำรวมกาย  วาจา  ใจ  ของเราให้อยู่ในธรรม เช่นวิญญูชนม์พึงกระทำก็เป็นพอ

                                   - บางคนอาจจะว่า หลวงพ่อนั่งหลับ  หลวงพ่อปล่อยวาง ........อีกมาก

                                     นี่ละจิตคนละ  มองให้ออกแล้วเราจะเป็นสุข  เมื่อประสบกับสิ่งที่ไม่รัก ไม่ชอบ

                                     สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Dtoy16
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424

« ตอบ #5737 เมื่อ: 18 มีนาคม 2555, 19:56:14 »

                 สวัสดีค่ะพี่สิงห์   มาทันส่งพี่สิงห์ขึ้นเครื่องคืนนี้หรือเปล่าแต่ขอให้พี่หลับเป็นสุขบนเครื่อง(เหมือนรูปพระไพศาล)
                                     และเที่ยวให้สนุกตลอดการเดินทางค่ะ
                                     
      บันทึกการเข้า

อ้อย17
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,908

« ตอบ #5738 เมื่อ: 19 มีนาคม 2555, 07:10:46 »


    สวัสดดีวันจันทร์ค่ะ   พี่สิงห์...

             อิตาลีสวยงามสมคำร่ำลือไหมคะ?............
      บันทึกการเข้า
suriya2513
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,457

« ตอบ #5739 เมื่อ: 19 มีนาคม 2555, 09:02:32 »

อ้างถึง
ข้อความของ อ้อย17 เมื่อ 19 มีนาคม 2555, 07:10:46

    สวัสดดีวันจันทร์ค่ะ   พี่สิงห์...

             อิตาลีสวยงามสมคำร่ำลือไหมคะ?............
ไปทำไม ไปให้ผัสสะแกว่งไกวเปล่าเปล๊าะ
      บันทึกการเข้า

[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี  คลิ๊ก->
suriya2513
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,457

« ตอบ #5740 เมื่อ: 19 มีนาคม 2555, 09:35:42 »



คล้ายๆ พุทธปรัชญา เลยลอกเขามาแปะไว้
      บันทึกการเข้า

[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี  คลิ๊ก->
KUSON
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,125

« ตอบ #5741 เมื่อ: 19 มีนาคม 2555, 11:18:40 »

ลิตเติลบุดดาหรือพระพุทธเจ้าปางประสูตร
เจ้าของความคิดคือเนปาลเพราะเป็นเจ้าของสถานที่
แม้รัฐบาลญี่ปุ่นมาสร้างภายหลังที่อินเดีย เขาก็ยังคงรูปแบบเดิมไว้
แต่ลิตเติลบุดดาที่กำลังสร้างในเมืองไทยในขณะนี้ที่จะนำไปเนปาล รูปแบบจะไม่เหมือนกันแน่นอน


      บันทึกการเข้า
KUSON
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,125

« ตอบ #5742 เมื่อ: 19 มีนาคม 2555, 11:29:22 »

และที่ลุมพินี สถานที่ประสูตรของพระพุทธองค์
ขณะนี้ รัฐบาลเนปาลได้มีการบูรณะภายในและโดยรอบวิหาร
หลักฐานสำคัญคือเสาหินของพระเจ้าอโศกมหาราช และภายในวิหารสถานที่ประสูตร
เชื่อว่าคงไม่มีประเทศใดสามารถเข้าไปยุ่งเกี่ยวได้ดังที่พี่มานพว่าไว้
แต่ระยะทางเข้าสู่วิหารเกือบ3กิโลเมตร สองข้างทางจะมีรัฐบาลประเทศต่างๆสร้างวิหารทางพุทธศาสนากันไว้ตลอดระยะทาง
หนึ่งในนั้นก็คือวัดไทยที่กำลังออกอากาศในขณะนี้แน่นอน
แต่ไม่ใช่บริเวณที่ประสูตรแน่ๆ

      บันทึกการเข้า
พธู ๒๕๒๔
Administrator
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ซื่อต่อนายไม่หน่ายมิตรใกล้ชิดลูกน้องคุ้มครองชาวBan
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 64
คณะ: niti
กระทู้: 7,842

เว็บไซต์
« ตอบ #5743 เมื่อ: 19 มีนาคม 2555, 11:33:09 »

อ้างถึง
ข้อความของ KUSON เมื่อ 19 มีนาคม 2555, 11:29:22

และที่กุสินารา สถานที่ประสูตรของพระพุทธองค์
ขณะนี้ รัฐบาลเนปาลได้มีการบูรณะภายในและโดยรอบวิหาร
หลักฐานสำคัญคือเสาหินของพระเจ้าอโศกมหาราช และภายในวิหารสถานที่ประสูตร
เชื่อว่าคงไม่มีประเทศใดสามารถเข้าไปยุ่งเกี่ยวได้ดังที่พี่มานพว่าไว้
แต่ระยะทางเข้าสู่วิหารเกือบ3กิโลเมตร สองข้างทางจะมีรัฐบาลประเทศต่างๆสร้างวิหารทางพุทธศาสนากันไว้ตลอดระยะทาง
หนึ่งในนั้นก็คือวัดไทยที่กำลังออกอากาศในขณะนี้แน่นอน
แต่ไม่ใช่บริเวณที่ประสูตรแน่ๆ


รูปนี้น่าจะเป็นที่ ลุมพีนี   ส่วนกุสินารา เป็นที่ปรินิพาน ครับ
      บันทึกการเข้า

เว้นชั่ว ประพฤติชอบประกอบแต่สิ่งดีงาม ทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว
KUSON
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,125

« ตอบ #5744 เมื่อ: 19 มีนาคม 2555, 11:37:15 »

นี่คือสองข้างทางสู่วิหารที่ประสูตร
ปี2554ตองนั่งรถสามล้อเข้าไปประมาณสิบนาที บางคนก็เดินไป
มาปีนี้ รัฐบาลเนปานเปลี่ยนเส้นทางมีระยะทางเกือบสามกิโลเมตร
ดังนั้นทั้งสองข้างทางคือสถานที่ซึ่งประเทศต่างๆไปสร้างวัดเหมือนในประเทศอินเดียครับ



      บันทึกการเข้า
KUSON
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,125

« ตอบ #5745 เมื่อ: 19 มีนาคม 2555, 11:41:21 »

อ้างถึง
ข้อความของ พธู ๒๕๒๔ เมื่อ 19 มีนาคม 2555, 11:33:09
อ้างถึง
ข้อความของ KUSON เมื่อ 19 มีนาคม 2555, 11:29:22

และที่กุสินารา สถานที่ประสูตรของพระพุทธองค์
ขณะนี้ รัฐบาลเนปาลได้มีการบูรณะภายในและโดยรอบวิหาร
หลักฐานสำคัญคือเสาหินของพระเจ้าอโศกมหาราช และภายในวิหารสถานที่ประสูตร
เชื่อว่าคงไม่มีประเทศใดสามารถเข้าไปยุ่งเกี่ยวได้ดังที่พี่มานพว่าไว้
แต่ระยะทางเข้าสู่วิหารเกือบ3กิโลเมตร สองข้างทางจะมีรัฐบาลประเทศต่างๆสร้างวิหารทางพุทธศาสนากันไว้ตลอดระยะทาง
หนึ่งในนั้นก็คือวัดไทยที่กำลังออกอากาศในขณะนี้แน่นอน
แต่ไม่ใช่บริเวณที่ประสูตรแน่ๆ


รูปนี้น่าจะเป็นที่ ลุมพีนี   ส่วนกุสินารา เป็นที่ปรินิพาน ครับ
ขอบคุณปาทูมากครับ ช่วยพี่แก้ใขได้ทัน
      บันทึกการเข้า
พธู ๒๕๒๔
Administrator
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ซื่อต่อนายไม่หน่ายมิตรใกล้ชิดลูกน้องคุ้มครองชาวBan
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 64
คณะ: niti
กระทู้: 7,842

เว็บไซต์
« ตอบ #5746 เมื่อ: 19 มีนาคม 2555, 11:42:01 »

ดูรายละเอียดโครงการ โครงการบูรณปฏิสังขรณ์สถานที่ประสูติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ ลุมพินีสถาน ประเทศเนปาล
เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในวโรกาสมหามงคล 60 ปีราชาภิเษก และ 84 พรรษามหาราชา ได้ที่ http://www.lumbinidevelopment.org/index.php
      บันทึกการเข้า

เว้นชั่ว ประพฤติชอบประกอบแต่สิ่งดีงาม ทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว
พธู ๒๕๒๔
Administrator
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ซื่อต่อนายไม่หน่ายมิตรใกล้ชิดลูกน้องคุ้มครองชาวBan
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 64
คณะ: niti
กระทู้: 7,842

เว็บไซต์
« ตอบ #5747 เมื่อ: 19 มีนาคม 2555, 11:44:45 »

อ้างถึง
ข้อความของ KUSON เมื่อ 19 มีนาคม 2555, 11:41:21
อ้างถึง
ข้อความของ พธู ๒๕๒๔ เมื่อ 19 มีนาคม 2555, 11:33:09
อ้างถึง
ข้อความของ KUSON เมื่อ 19 มีนาคม 2555, 11:29:22

และที่กุสินารา สถานที่ประสูตรของพระพุทธองค์
ขณะนี้ รัฐบาลเนปาลได้มีการบูรณะภายในและโดยรอบวิหาร
หลักฐานสำคัญคือเสาหินของพระเจ้าอโศกมหาราช และภายในวิหารสถานที่ประสูตร
เชื่อว่าคงไม่มีประเทศใดสามารถเข้าไปยุ่งเกี่ยวได้ดังที่พี่มานพว่าไว้
แต่ระยะทางเข้าสู่วิหารเกือบ3กิโลเมตร สองข้างทางจะมีรัฐบาลประเทศต่างๆสร้างวิหารทางพุทธศาสนากันไว้ตลอดระยะทาง
หนึ่งในนั้นก็คือวัดไทยที่กำลังออกอากาศในขณะนี้แน่นอน
แต่ไม่ใช่บริเวณที่ประสูตรแน่ๆ


รูปนี้น่าจะเป็นที่ ลุมพีนี   ส่วนกุสินารา เป็นที่ปรินิพาน ครับ
ขอบคุณปาทูมากครับ ช่วยพี่แก้ใขได้ทัน
ยินดีครับ เป็นความสับสนที่สมควรให้อภัย
      บันทึกการเข้า

เว้นชั่ว ประพฤติชอบประกอบแต่สิ่งดีงาม ทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว
suriya2513
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 9,457

« ตอบ #5748 เมื่อ: 19 มีนาคม 2555, 11:48:20 »

อ้างถึง
ข้อความของ KUSON เมื่อ 19 มีนาคม 2555, 11:41:21
อ้างถึง
ข้อความของ พธู ๒๕๒๔ เมื่อ 19 มีนาคม 2555, 11:33:09
อ้างถึง
ข้อความของ KUSON เมื่อ 19 มีนาคม 2555, 11:29:22

และที่กุสินารา สถานที่ประสูตรของพระพุทธองค์
ขณะนี้ รัฐบาลเนปาลได้มีการบูรณะภายในและโดยรอบวิหาร
หลักฐานสำคัญคือเสาหินของพระเจ้าอโศกมหาราช และภายในวิหารสถานที่ประสูตร
เชื่อว่าคงไม่มีประเทศใดสามารถเข้าไปยุ่งเกี่ยวได้ดังที่พี่มานพว่าไว้
แต่ระยะทางเข้าสู่วิหารเกือบ3กิโลเมตร สองข้างทางจะมีรัฐบาลประเทศต่างๆสร้างวิหารทางพุทธศาสนากันไว้ตลอดระยะทาง
หนึ่งในนั้นก็คือวัดไทยที่กำลังออกอากาศในขณะนี้แน่นอน
แต่ไม่ใช่บริเวณที่ประสูตรแน่ๆ


รูปนี้น่าจะเป็นที่ ลุมพีนี   ส่วนกุสินารา เป็นที่ปรินิพาน ครับ
ขอบคุณปาทูมากครับ ช่วยพี่แก้ใขได้ทัน
ทันซะที่ไหนเล่าครับ ปล่อยไก่หมดเล้าไปแล้ว
      บันทึกการเข้า

[โบราณคดี]จุดกำเนิดเริ่มต้นของ cmadong.com by : มานพ กลับดี  คลิ๊ก->
อ้อย17
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,908

« ตอบ #5749 เมื่อ: 19 มีนาคม 2555, 11:57:25 »

อ้างถึง
ข้อความของ suriya2513 เมื่อ 19 มีนาคม 2555, 09:02:32
อ้างถึง
ข้อความของ อ้อย17 เมื่อ 19 มีนาคม 2555, 07:10:46

    สวัสดดีวันจันทร์ค่ะ   พี่สิงห์...

             อิตาลีสวยงามสมคำร่ำลือไหมคะ?............
ไปทำไม ไปให้ผัสสะแกว่งไกวเปล่าเปล๊าะ

    เหอเหอ................555..............ไปให้รู้สิคะ ..ท่านพี่ป๋อง...............
      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 228 229 [230] 231 232 ... 681   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

สมาคมนิสิตเก่าหอพักนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มวลสมาชิกสมาคม คณาจารย์ และนิสิตเก่าทุกคน ขอน้อมเกล้าถวายความอาลัย  พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ <;))))><