24 มิถุนายน 2567, 18:59:57
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน [สมาชิกเก่าลืมรหัส โทร 081-7611760]
A A A A  ระเบียบปฎิบัติ
   
Languages    
  หน้า: 1 ... 101 102 [103] 104 105 ... 681   ลงล่าง
ผู้เขียน หัวข้อ: คุย กับ คุณมานพ กลับดี อดีตประธานชมรม ๓ สมัย  (อ่าน 3323417 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 6 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2550 เมื่อ: 16 กรกฎาคม 2554, 17:14:42 »

                       ในช่วงที่พระกำลังฉันอาหาร พี่ชายพี่สิงหืได้กล่าวกับชาวบ้าน และพี่สิงห์ได้พูดสรุปเรื่องการซ่อมศาลาวัด เราจะทำการซ่อมภายหลังน้ำท้วมแล้วคือประมาณปลายปีใช้เวลาประมาณสามเดือน โดยจะทำการซ่อมหลังคา เปลี่ยนกระเบื่้องใหม่ทั้งหมด ทำฝ้าเพดานใหม่หมด คาดว่าใช้เงินประมาณหนึ่งล้านบาท ดังนั้นจึงจัดกิจกรรมให้ชาวบ้านบริจาคกระเบื้องมุงหลังคา แผ่นละ ๑๐๐ บาท โดยให้เขียนชื่ออุทิศส่วนกุศลให้ใครไว้ที่แผ่นกระเบื้อง  ตอนนี้มีเงินทุนอยู่เจ็ดแสนบาท ต้องหาเพิ่มเติมอีกจำนวนหนึ่ง และจะเปิดให้จองกระเบื้องเลย ปรากฏว่ามีผู้แสดงความจำนงค์บริจาคกระเบื้องมุงหลังคาจำนวนมาก

                        หลังจากนั้น ได้ทำการภวายผ้าอาบน้ำฝน ผ้าสบง เทียนพรรษา และผ้าป่า เป็นอันการทำบุยเข้าพรรษาของพี่สิงห์เสร็จสมบูรณ์

                        ก่อนลงศาลาวัดหลาวสาวบอกว่า มีสามเณรหนึ่งองค์เรียนเก่งมาก แต่จนไม่มีเงินเลย เมื่องสงกรานต์ที่ผ่านมาก้ไม่ได้กลับบ้านที่ชัยภูมิ เพราะไม่มีเงินค่ารถ และตอนนี้ต้องขึ้นรถโดยสารไปเรียนต่อที่วัดพิกุลทองทุกวัน พี่สิงห์เลยไปถวายเงินให้ท่าน หนึ่งพันบาท ก่อนลงศาลาวัดครับ

                        หมดธุระแล้วพี่สิงห์แวะไปเยี่ยมแม่ และกลับกรุงเทพฯ ครับ

                        ขอบคุณมากที่ติดตามชมภาพครับ

                        สวัสดี





คุณมรกต  กลับดี  พี่ชายพี่สิงห์ในฐานะหัวหน้ากรรมการวัด กล่าวกับชาวบ้าน ให้สามัคคีภายหลังการเลือกตั้งจบ รวมตัวเป็นหนึ่งเดียว ไม่แตกแยกความคิด เหมือนตอนก่อนเลือกตั้ง และได้พูดเรื่องการซ่อมศาลาวัด และกิจกรรมที่จะกระทำภายในหมู่บ้านและวัดพระนอน

















หลวงพ่อชักผ้าป่า  จบรายงานการทำบุญเทศกาลเข้าพรรษา วัดพระนอน ครับ

สำหรับเรื่องทำบุญนั้น ชุมชนวัดพระนอนของเรายังเหนี๋ยวแน่น คือมีชาวบ้านมาทำบุญอย่างสม่ำเสมอเต็มศาลาวัด ครับ

ขอบคุณที่ติดตามชมภาพครับ สวัสดี
      บันทึกการเข้า
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562

« ตอบ #2551 เมื่อ: 16 กรกฎาคม 2554, 17:47:23 »

สวัสดีวันเข้าพรรษาค่ะ พี่สิงห์
ได้เห็นรูปคนไปทำบุญกันมากมาย เต็มศาลาวัด
แม้ไม่ได้ไปทำเอง ก็รู้สึกว่า เห็นแล้ว สบายใจค่ะ
ขอบคุณที่นำรูปมาลง
ที่บ้านที่ชล เมื่อตอนเด็กๆ มี ศาลาเล็กๆ อยู่ ใกล้ ตลาด  เรียกว่า ศาลาฟังธรรม
ตอนเข้าพรรษา จะมีพระมาเทศน์ให้ฟังทุกคืน บางคืน ก็มีคนมานอนค้างที่ศาลาด้วย
จำได้ว่า ตอนเด็ก ชอบเดินไปดู เขาฟังธรรม  พระท่านเทศน์ แบบชาดกด้วย เด็กๆ ก็ชอบ เหมือนฟังนิทานสนุก
ต่อมา มี หอพระ   ก็จะไปเวียนเทียน ทุกครั้ง เพราะบ้านเดิม อยู่ติดกับหอพระ
 อยู่บ้านก็ได้ยินพระเทศน์ ก็เลยได้ออกไปเวียนเทียนกันทุกครั้ง แต่เวียนตอนกลางคืนค่ะ ประมาณ  ทุ่มกว่าๆ
 อยู่กรุงเทพ คิดถึงบ้านต่างจังหวัดค่ะ รู้สึก ทำบุญที่บ้านต่างจังหวัด ง่าย และสบายใจกว่ามากค่ะ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2552 เมื่อ: 16 กรกฎาคม 2554, 19:46:53 »

สวัสดีเข้าพรรษาค่ะ คุณน้องเอมอร ที่รัก

                         ตอนกรวดน้ำพี่สิงห์กรวดน้ำให้พวกเราทุกคนครับ รวมถึงเธอด้วย

                         เดี๋ยวนี้พี่สิงห์ชักโดนบังคับให้พูดเสมอ  กำลังจะต้องจัดกิจกรรมที่วัดเพิ่มเพราะอุบาสก-อุบาสิกาที่ถือศีล ๘ นั้นมีมากกว่า ๔๐ คน ภายหลังจากสวดมนต์ทำวัตรเช้าแล้ว ก็ได้แต่นั่ง นอน คุยกัน เพราะไม่มีใครสอนปฏิบัติธรรม เพราะพระที่วัดเขาไม่ปฏิบัติธรรมกัน หลายคนสนใจอยากให้ผมสอน แต่ส่วนใหญ่นั้นพี่ป้า น้า อา พี่สิงห์ทั้งนั้น และวัยย์วุฒิสูงกว่าพี่สิงห์  จนพี่สิงห์ ไม่กล้าสอนครับ

                         แต่พี่สิงห์กำลังดูปฏิทินอยู่ถ้าวันพระไหนไม่ตรงกับการทำงานที่ใต้ คงต้องไปสอน ปฏิบัติธรรม  โยคะ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ดูแลตนเอง  เพราะส่วนใหญ่เดินกันไม่ไหว กล้ามเนื้อ ข้อต่อ ติดหมด  และจะถือโอกาสสอนทั้งหมู่บ้านเลย โดยให้ผู้ใหญ่บ้านจัดทำเป็นโครงการรณรงค์ลดความอ้วน และโรคเรื้อรังของหมู่บ้านครับ

                          ราตรีสวัสดิ์ ทุกท่านครับ
      บันทึกการเข้า
khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #2553 เมื่อ: 16 กรกฎาคม 2554, 21:21:18 »

พี่สิงห์ใบหน้าอิ่มบุญมากค่ะ
หนิงชอบดูรูปคะ...ประเพณีไทยๆ
สอนกันตั้งแต่เด็กแต่เล็ก...
ไปไหนไม่อายใคร ว่าตามได้ปาวๆ

ยังอยู่หน้าที่แล้วคะ
ยังชมไม่หมด
เอ๊ะ,พี่สิงห์turbo!
      บันทึกการเข้า


เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562

« ตอบ #2554 เมื่อ: 17 กรกฎาคม 2554, 14:27:59 »

อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 16 กรกฎาคม 2554, 19:46:53
สวัสดีเข้าพรรษาค่ะ คุณน้องเอมอร ที่รัก

                         ตอนกรวดน้ำพี่สิงห์กรวดน้ำให้พวกเราทุกคนครับ รวมถึงเธอด้วย

                         เดี๋ยวนี้พี่สิงห์ชักโดนบังคับให้พูดเสมอ  กำลังจะต้องจัดกิจกรรมที่วัดเพิ่มเพราะอุบาสก-อุบาสิกาที่ถือศีล ๘ นั้นมีมากกว่า ๔๐ คน ภายหลังจากสวดมนต์ทำวัตรเช้าแล้ว ก็ได้แต่นั่ง นอน คุยกัน เพราะไม่มีใครสอนปฏิบัติธรรม เพราะพระที่วัดเขาไม่ปฏิบัติธรรมกัน หลายคนสนใจอยากให้ผมสอน แต่ส่วนใหญ่นั้นพี่ป้า น้า อา พี่สิงห์ทั้งนั้น และวัยย์วุฒิสูงกว่าพี่สิงห์  จนพี่สิงห์ผมไม่กล้าสอนครับ

                         แต่พี่สิงห์กำลังดูปฏิทินอยู่ถ้าวันพระไหนไม่ตรงกับการทำงานที่ใต้ คงต้องไปสอน ปฏิบัติธรรม  โยคะ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ดูแลตนเอง  เพราะส่วนใหญ่เดินกันไม่ไหว กล้ามเนื้อ ข้อต่อ ติดหมด  และจะถือโอกาสสอนทั้งหมู่บ้านเลย โดยให้ผู้ใหญ่บ้านจัดทำเป็นโครงการรณรงค์ลดความอ้วน และโรคเรื้อรังของหมู่บ้านครับ

                          ราตรีสวัสดิ์ ทุกท่านครับ
ขอบคุณมากค่ะ ที่สิงห์
ที่เผื่อแผ่บูญมายังน้องๆ ขอให้บุญให้กันได้จริงๆ ก็ดีนะคะ
 เพราะฝากไปทำบุญแทนอยุ่ประจำค่ะ
การสอนธรรมะ เห็นว่าคงไม่กะเกณฑ์ ว่า อายุมากหรืออายุน้อยหรอกมังคะ
 น่าจะแค่ใครรู้มากกว่า ปฏิบัติมามากว่ากัน แล้ว เล่าสู่กันฟังมากกว่าค่ะ
เดี๋ยวนี้ พระที่สอนธรรมะก็ไม่ได้อายุมากอะไร
ท่านอาจจะ ศึกษามามาก จึงเผยแพร่ความรู้ได้
แต่ปฏิบัติมากหรือไม่ ก็แล้วแต่ แต่ละรูป ค่ะ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2555 เมื่อ: 17 กรกฎาคม 2554, 16:35:26 »

สวัสดีค่ะ คุณน้องหนุ๋งหนิ๋ง ที่รัก
                       ขอบคุณมากที่ชม  พี่สิงห์ก้ทำหน้าที่นำภาพการทำบุญมาให้พวกเราที่ไม่มีโอกาสได้ทำบุญมาให้รับทราบ ว่ายังมีการทำบุญเข้าพรรษา อยู่ตามชนบทของเมืองไทย ในหมู่บ้านชุมชนวัดพระนอนนั้น ทุกบ้านไม่เว้นเลย จะมาร่วมทำบุญแบบนี้ครับ และเวลามาก็นำลูกหลานตัวเล็กๆมาด้วย เพราะประเพณีแบบนี้ผู้ใหญ่ต้องทำให้เด้กๆ ได้เห็น เขาจึงสามารถปฏิบัติตามได้ มันเป็นการถ่ายทอดวัฒนธรรมไทยที่ดีๆ จากรุ่นสู่รุ่น ครับ
                       สวัสดีค่ะ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2556 เมื่อ: 17 กรกฎาคม 2554, 16:42:49 »

สวัสดีค่ะ คุณน้องเอมอร ที่รัก
                       ขอบคุณมากที่แสดงความคิดเห็นให้ข้อคิดที่ดี
                       ก่อนเวียนเทียนพี่สิงห์ก็ได้ไปพูดกับรองเจ้าอาวาสพระมหาอรัญ(องค์ที่นำเวียนเทียนองค์เดียว ครับ) ท่านก็ถามพี่สิงห์ว่าสาเหตุอะไรที่โยมสนใจปฏิบัติธรรม พี่สิงห์ก็เล่าให้ฟังว่า จากการได้อ่านพระไตรปิฎกที่อยู่ในโรงแรม อ่านแล้วชอบใจอ่านใหม่ และได้พบว่าพระพุทธเจ้าสอนสิ่งดีๆให้เราทั้งนั้นแต่เราไม่รู้เอง เมื่อได้อ่านจบก็ได้นำเอาไปเป็นตัวช่วยในการทำงาน และสอนลูกน้องให้ทำงานตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้ และได้อ่านพบ สติปัฏฐาน ๔ หนทางแห่งการพ้นทุกข์ จึงได้เริ่มต้นปฏิบัติด้วยตัวเองมาระยะหนึ่งก่อน แล้วจึงไปวัดป่าสุคะโต  ได้พบกับหลวงพ่อคำเขียน พระท่านก็ว่าดีแล้วโยมที่สนใจทางด้านปฏิบัติธรรม
                        พี่สิงห์คงเริ่มต้นที่การดูแลสุขภาพ และการออกกำลังกายแบบโยคะ มวยจีนไปก่อน และถ้าเขาสนใจปฏิบัติธรรมจริง ก็จะสอน เพราะเขาต้องมีศรัทธาต่อตัวเราด้วย ครับ
                        สวัสดีค่ะ
      บันทึกการเข้า
khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #2557 เมื่อ: 17 กรกฎาคม 2554, 17:34:56 »

พี่สิงห์,
กระซิบนิดคะ:ของทำบุญ มี่มากเกินพระฉันท์
หรือญาติโยมร่วมรับประทาน...เค้าทำยังไงกะ
อาหารมากมายเหล่านี้คะ?
      บันทึกการเข้า


Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2558 เมื่อ: 17 กรกฎาคม 2554, 19:58:44 »

อ้างถึง
ข้อความของ khesorn mueller เมื่อ 17 กรกฎาคม 2554, 17:34:56
พี่สิงห์,
กระซิบนิดคะ:ของทำบุญ มี่มากเกินพระฉันท์
หรือญาติโยมร่วมรับประทาน...เค้าทำยังไงกะ
อาหารมากมายเหล่านี้คะ?

                  เนื่องจากศรัทธาญาติโยมาก อาหาร ขนม ผลไม้ มีมากมาย ทางกรรมการวัด จะเก็บบางส่วนไว้ให้พระเณรได้ฉันท์เพล  ที่เหลือพระท่านก็อนุญาติให้ญาติโยมที่จนๆ สามารถนำกลับไปรับประทานที่บ้านได้ สรุปไม่มีเหลือ ครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2559 เมื่อ: 17 กรกฎาคม 2554, 20:12:02 »




สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง ที่รักทุกท่าน

                       วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม นี้ ทางชมรมฯ เป็นเจ้าภาพฟังพระสวดพระอภิธรรมศพ พี่จิรายุ(สุริยา)  ประกิตธรรังษี  อดีตนักร้องนำเพลงหอฯ ที่อัดแผ่นเสียงซีมะโด่ง และชอบร้องเพลง "ผู้แทนราษฎร" ของคำรณ  สมบุญนานนท์ อดีตประธานชมรมฯ แต่อยู่ไม่ครบเทอม ๒ ปี ไม่ได้จัดงานวันคืนสู่เหย้า เป็นผู้ยื่นขอจัดตั้งสมาคมนิสิตเก่าหอพัก สมัยที่ท่านเป็นรองผู้อำนวยการเขตปทุมวัน  แต่จดทะเบียนไม่สมบูรณ์ จึงจัดตั้งเป็นสมาคมไม่ได้ ที่วัดบึงทองหลาง เวลา 19:00 น. ลาดพร้าวซอย 101 จึงขอเรียนเชิญชาวซีมะโด่งที่รู้จัก หรือมีเวลาไปร่วมงานดังกล่าวด้วย

                       พี่สิงห์  ว่าง ไม่มีนัดกับใคร คงไปร่วมงานได้ แต่วันพระราชทานเพลิงศพ วันอังคารบ่าย คงไม่สามารถไปได้ เพราะมีนัดทำฟันที่ คณะทันตแพทย์ศาสตร์ จุฬาฯ กับอาจารย์ผ่องผุด บ่าย เวลาชนกันพอดี ไปไม่ทัน ครับ

                       วันหยุดยาว  พวกเราคงไปพักผ่อนต่างจังหวัดกันเป็นส่วนใหญ่ คณะของท่านอาจารย์เผ่า ไประนองหนึ่งรถตู้กับคุณมิ้ง  พี่สิงห์เองท่องเที่ยวมามากแล้ว คงพอแล้ว อยากทำบุญ เลยไม่ไปไหนทั้งสิ้น ครับ หวังว่าทุกท่านที่เดินทางไปต่างจังหวัด คงกลับกรุงเทพฯหรือกลับบ้านด้วยความปลอกภัยทุกท่าน ณ ครับ

                        ราตรีสวัสดิ์ทุกท่านครับ ค่ำคืนนี้ ขอให้นอนหลับอย่างมีสติ ไม่ฝันใดๆ ทั้งสิ้นครับ
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #2560 เมื่อ: 17 กรกฎาคม 2554, 20:23:54 »

พี่สิงห์

ควรจะกระตุ้นให้การจดทะเบียนเป็นสมาคมฯ ดำเนินการให้เสร็จสิ้น
เพราะสมาคมฯ เป็นนิติบุคคล สามารถถือครองพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งให้ดอกผลที่ดีกว่าการฝากประจำครับ
      บันทึกการเข้า
เหยง 16
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: เภสัชศาสตร์ 2516
กระทู้: 23,533

« ตอบ #2561 เมื่อ: 17 กรกฎาคม 2554, 20:27:11 »

จาก นสพ.ข่าวสด ออนไลน์ หน้าที่ 29

เผยผลวิจัยมหาจุฬาฯ ชาวพุทธใส่บาตร-สวดมนต์น้อย


"การทำบุญ" ถือเป็นการชำระหรือล้างจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส ถ้าจะทำให้ถูกต้องและได้ผลดี ควรเป็นเรื่องของการทำจิตใจให้บริสุทธิ์สะอาด ไม่ใช่ทำด้วยความโลภ ความโกรธ หรือ ความหลง

กล่าวได้ว่า พระพุทธศาสนามีบทบาทต่อความเชื่อของคนในสังคมไทยมาเป็นเวลาช้านาน ดังนั้น คนไทยจึงมีความเชื่อและศรัทธาในพระพุทธศาสนา ในงานมงคลต่างๆ จะมีการทำบุญ เลี้ยงพระ เพื่อความเป็นสิริมงคล ต่อชีวิต อย่างเช่น งานทำบุญ เลี้ยงพระในวันขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น

แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไป สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับสังคมไทยในปัจจุบัน กำลังกลายเป็นปัญหาทางศีลธรรม

อันเนื่องด้วยสังคมไทยไม่สามารถแก้ ปัญหาหลัก อันได้แก่ ความยากจนและความ อยุติธรรมในสังคม ช่องว่างระหว่างคนจน กับคนรวยมีระยะห่างมากขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาทางสังคม จนกลายเป็นวิกฤตการณ์ทาง ศีลธรรมที่บีบคั้นคนไทยมากขึ้น

พระครูปลัดสุวัฒนจริยคุณ (ประสาน จันทสาโร) รองอธิการบดีฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแผ่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) ได้รวบรวมงานวิจัย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2549-2553 เกี่ยวกับพฤติกรรมการทำบุญของพุทธศาสนิกชน โดยเฉพาะงานวิจัยเรื่องบทบาทของอุบาสกอุบาสิกาในการบำรุงพระพุทธศาสนา พบข้อมูลที่น่าสนใจหลายด้าน ดังนี้

ด้านการปฏิบัติตามแนวทางพระพุทธศาสนา กลุ่มตัวอย่างชาวพุทธทั่วประเทศจำนวน 310 ราย ให้ข้อมูลว่า เคยสวดมนต์ไหว้พระเป็นประจำ ร้อยละ 30.66 เป็นบางครั้ง ร้อยละ 54.26 ไม่เคยปฏิบัติ ร้อยละ 15.09

ที่น่าสนใจ คือ หัวข้อการทำบุญตักบาตร พบว่า มีชาวพุทธไม่เคยทำบุญตักบาตรถึงร้อยละ 25.79 ปฏิบัติประจำ ร้อยละ 10.22 เมื่อมีโอกาส ร้อยละ 18.73 ปฏิบัติเฉพาะวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ร้อยละ 45.26

สำหรับศีลข้อที่รักษายากที่สุด คือ ศีลข้อ 1 ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ตลอดจนการประทุษร้ายผู้อื่นให้เขาได้รับความเจ็บปวดและทรมาน ร้อยละ 31.39

รองลงมาข้อ 5 ละเว้นจากการดื่มสุราของมึนเมา ร้อยละ 28.47

เมื่อแยกรายละเอียดตามภูมิภาค กลุ่มตัวอย่าง ภาคเหนือ ระบุว่า เคยสวดมนต์ไหว้พระเป็นประจำ ร้อยละ 27.78 เป็นบางครั้ง ร้อยละ 56.67 และไม่เคยปฏิบัติ ร้อยละ 15.56 การทำบุญตักบาตร ทำประจำ ร้อยละ 11.11 เมื่อมีโอกาส ร้อยละ 23.33 เฉพาะวันสำคัญฯ ร้อยละ 46.67 ไม่เคยปฏิบัติ ร้อยละ 18.89 ส่วนศีลข้อที่รักษายากที่สุด อันดับ 1 ข้อ 5 ร้อยละ 37.78 รองลงมาข้อ 1 ร้อยละ 28.98 กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระบุว่า เคยสวดมนต์ไหว้พระเป็นประจำ ร้อยละ 36.92 เป็นบางครั้ง ร้อยละ 49.23 และไม่เคยปฏิบัติ ร้อยละ 13.85 การทำบุญตักบาตร ทำประจำ ร้อยละ 15.38 เมื่อมีโอกาส ร้อยละ 21.54 เฉพาะวันสำคัญฯ ร้อยละ 40 ไม่เคยปฏิบัติร้อยละ 23.08 ส่วนศีลข้อที่รักษายากที่สุด อันดับ 1 ข้อ 5 และข้อ 1 ร้อยละ 27.69 รองลงมา ข้อ 2 ร้อยละ 20

กลุ่มภาคกลาง ระบุว่า เคยสวดมนต์ไหว้พระเป็นประจำ ร้อยละ 34.44 เป็นบางครั้ง ร้อยละ 56.67 และไม่เคยปฏิบัติ ร้อยละ 8.89 การทำบุญตักบาตร ทำประจำ ร้อยละ 10 เมื่อมีโอกาส ร้อยละ 14.44 เฉพาะวันสำคัญฯ ร้อยละ 52.22 ไม่เคยปฏิบัติร้อยละ 23.33 ส่วนศีลข้อที่รักษายากที่สุด อันดับ 1 ข้อ 5 ร้อยละ 27.78 รองลงมาข้อ 4 ร้อยละ 23.33

กลุ่มภาคใต้ ระบุว่า เคยสวดมนต์ไหว้พระเป็นประจำ ร้อยละ 24.24 เป็นบางครั้ง ร้อยละ 57.58 และไม่เคยปฏิบัติ ร้อยละ 18.18 การทำบุญตักบาตรประจำ ร้อยละ 4.55 เมื่อมีโอกาส ร้อยละ12.12 เฉพาะวันสำคัญฯร้อยละ 53.03 ไม่เคยปฏิบัติร้อยละ 30.30 ส่วนศีลข้อที่รักษายากที่สุด อันดับ 1 ข้อ 1 ร้อยละ 40.91 รองลงมาข้อ 2 ร้อยละ 24.24

พระครูปลัดสุวัฒนจริยคุณ กล่าวว่า "ผลงานวิจัยที่มหาจุฬาฯ ได้รวบรวมเกี่ยวกับการปฏิบัติตนชาวพุทธนั้น สะท้อนให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของสังคมที่มีความเร่งรีบ ในขณะเดียวกันก็สะท้อนให้เห็นปัญหาสังคมที่มีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะการดื่มสุรา และการฆ่าสัตว์ หรือฆ่าคนด้วยกันเอง แต่ที่รู้สึกตกใจเห็นจะเป็นเรื่องของชาวพุทธบางส่วนไม่เคยทำบุญตักบาตร สวดมนต์ไหว้พระ ถึงแม้จะมีไม่มาก แต่ก็น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง"

"หากต่อไปในอนาคตคนไม่ใส่บาตร พระสงฆ์ สามเณรก็อยู่ไม่ได้ ดังนั้น ในช่วงวันสำคัญอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา จึงอยากชวนชาวพุทธคนใดที่ไม่เคยใส่บาตรให้มาทำบุญสักครั้ง เพื่อช่วยสืบทอดพระพุทธศาสนา"

ด้านนายอำนาจ บัวศิริ รอง ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กล่าวว่า ผลวิจัยที่พบชาวพุทธไม่เคยใส่บาตรและสวดมนต์ในสัดส่วนที่มากขึ้น น่าจะมาจาก 2 สาเหตุ ได้แก่ 1.การนำเสนอข่าวพระที่ไม่น่าเลื่อมใส ส่งผลให้พุทธศาสนิกชนขาดศรัทธา เกิดความไม่แน่ใจว่า พระสงฆ์ที่ตนทำบุญเป็นพระจริงหรือพระปลอม แต่จะหันไปทำบุญบริจาคให้แก่สถานสงเคราะห์ หรือผู้ประสบภัยแทน

2.การไม่สวดมนต์ เพราะปัจจุบันคนไม่เห็นความสำคัญของการสวดมนต์ มองว่าเป็นภาษาบาลีที่อ่านยากและไม่มีประโยชน์ ที่สำคัญนักเรียนในยุคปัจจุบันไม่มีการปลูกฝังให้รักการสวดมนต์ ซึ่งแตกต่างจากในอดีตที่ก่อนเข้าห้องเรียนทุกวันหน้าเสาธงจะต้องมีการสวดมนต์

"สำหรับปัญหาในเรื่องนี้ สำนักงานพระพุทธฯ จะได้หารือกับ กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อขอความร่วมมือประสานโรงเรียนทั่วประเทศรื้อฟื้นการสวดมนต์หน้าเสาธงกลับมาอีกครั้ง รวมทั้งให้แต่ละโรงเรียน ส่งเสริมให้นักเรียนเห็นความสำคัญของการสวดมนต์และเข้าใจภาษาบาลี ผมคิดว่าจะเป็นการแก้ปัญหาคนไทยไม่สวดมนต์ได้ในระดับหนึ่ง"

      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2562 เมื่อ: 17 กรกฎาคม 2554, 20:47:58 »

สวัสดีครับ คุณเหยง
                       เรื่องการจัดตั้งเป็นสมาคม คงไม่สามารถกระทำได้ เพราะหาคนเป็นผู้จัดการไม่ได้  สำนักงานถาวรไม่มี เคยพุดคุยในสมัยนั้น และมีสิ่งยุ่งยากตามมา และไม่ควรจะซับซ้อนกับสมาคมนิสิตเก่า จุฬาฯ ตามที่เคยคุยกัน  สำหรับผมนั้น เลยวัยย์  หมดภาระหน้าที่แล้ว  เป็นเรื่องของคนรุ่นหลังแล้วครับ  จดก็ดี  ไม่จดก็ดี  ขอปล่อยวางครับ

                       เรื่องการสวดมนต์ในตอนเช้าของเด็กนักเรียนนั้น ต้องโทษนักการศึกษาเมืองไทย  ที่ไปปลดวิชาหน้าที่พลเมือง - ศีลธรรม  ออกจากหลักสูตร  เพื่อให้เป็นนานาชาติ  ผลมันจึงเป็นอย่างที่เห็นทุกวันนี้  คนเลยเห็นแก่ตัว  ไม่รู้จักอารมณ์แห่งการให้ทานที่แท้จริง  คนไม่รู้จักศีล ๕ ที่พระพุทธเจ้าท่านทรงเน้นเสมอ เพราะศีล ๕ จะทำให้สังคมครอบครัว หมู่บ้าน ตำบล  อำเภอ  จังหวัด และประเทศ อยู่อย่างสงบ สุขได้

                       ศีล ๕ ข้อ มุสาวาทาเวรมณี นั้นรักษาอยากที่สุดโดยเฉพาะ การโกหกหรือผิดคำพูดต่อตัวเอง ครับ

                       ปัจจุบัน คนไทยชอบบนบานขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วย  แต่ไม่ช่วยตัวเอง  ส่วนพระบางส่วนก็ชักนำไปในทางที่ไม่ดี โดยมีข้ออ้างในการหาเงินมาบำรุงศาสนา คือการทำวัตถุมงคล  จำหน่าย  คนเลยเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธ์ไปกันใหญ่  หวังพึงแต่สิงศักดิ์สิทธิ์ หลักศาสนาพุทธก็บอกอยู่แล้วว่า ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นล้วนมีปัจจัยเป็นเหตุ  จึงเกิดขึ้น  ไม่ใช่ไปให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์กระทำให้ เป็นความเชื่อที่ผิด นั่นคือทางที่พระไม่ควรกระทำอย่างยิ่งเพราะจะทำให้คนสับสนไปนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์  ไม่เชื่อในการกระทำ โดยเฉพาะการทำดี ทำให้คนนับถือศาสนาศาสนาพุทธไปผิดทาง จากที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน และบัญญัติไว้  ท่านทรงให้ใช้ ศรัทธา ความเพียร และปัญญา ไม่ให้เชื่อตามหลัก กาลามสูตร ๑๐ ประการ ครับ

                       ขอบคุณมากที่นำเรื่องดีๆ มาบอกกล่าว และราตรีสวัสดิ์ครับ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2563 เมื่อ: 18 กรกฎาคม 2554, 06:21:50 »

สวัสดียามเช้าครับ ชาวซีมะโด่ง ที่รักทุกท่าน

            วันนี้ขอนอกเรื่องบ้างครับ ขอนำเสนอเรื่องกอล์ฟ รายการ major ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก คือ The Open Championship ครั้งที่ 140 ของประเทศอังกฤษ  เชิญติดตามอ่าน

            อย่าลืมทำจิตให้ผ่องใสและมีสติ เข้าไว้ ท่านจะห่างไกล "ทุกข์"
 
            สวัสดีครับ

140th Open Championship
         
            ขอแสดงความยินดีกับ Darren Clarke โปรกอล์ฟชาวไอริช วัย ๔๒ ปี คุณพ่อลูกสอง ภรรยาเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง เมื่อหลายปีที่ผ่านมา  ขับรถเฟอรรารี่ sport ชอบสูบซิกก้า  แต่งชุดดำเสมอเวลาเล่นกอล์ฟ และเป็นคนแรกที่หยุดสถิติของ Tiger ในการเล่น math play โดยชนะ Tiger ใน world match play รอบชิงชนะเลิศเมื่อสิบกว่าที่ผ่านมา

            Clarke เป็นตัวอย่างที่ดีของความพยายามในการเล่น ถึงแม้อายุจะมาก ปีนี้ชนะสองรายการแล้ว หลังจากที่ไม่เคยชนะเลยมา ๑๐ ปี นับว่าเป็นปีที่สุดยอดของเขาทีเดียว ปีหน้าเราคงจะเห็นเขาได้เล่น Ryder Cup ทีมยุโรปแน่นอน สี่-ห้าปีที่ผ่านมานั้นเขาเล่นกอล์ฟแย่มากๆ ตกรอบก็แยะ ไม่ได้รับเงินรางวัลก็มาก  ต้องเลี้ยงลูกสองคน ไม่คิดหาแม่ใหม่ให้ลูก และมีความพยายามในการฝึกซ้อมกอล์ฟ จนสามารถชนะรายการ Major ได้ เป็นสิ่งที่เหลือเชื่อมาก  แต่ก็เกิดขึ้นแล้วสำหรับ Darren Clarke ครับ

            Clarke เป็นสุดยอดนักกอล์ฟในการเล่น Match Play และ Ryder Cup มีสถิติที่ดีมากโดยเฉพาะเมื่อคู่กับ Lee Westwood

            นี่คือ คำพูดของ Clarke ภายหลังชนะรายการ The oldest major golf :  140th Open Championship at The Royal St. George’s
 
            “Pretty amazing right now,” Clarke said, the claret jug at his side. “It’s been a dream since I’ve been a kid to win the Open, like any kid’s dream is, and I’m able to do it, which just feels incredible.”







            Northern Ireland had gone 63 years without a major. Now it has three of the last six – Graeme McDowell in the U.S. Open last year at Pebble Beach, followed by Rory McIlroy at the U.S. Open in a record performance last month at Congressional, and now the 42-year-old Clarke.

           “Northern Ireland…… Golf capital of the world!!” McIlroy tweeted as Clarke played the last hole.

           “We’re blessed to have two fantastic players in Rory and GMac, and I’ve just come along, the only guy coming along behind them,” Clarke said. “We have fantastic golf courses, we have fantastic facilities, but to have three major champions from a little, small place in a short period of time, it’s just incredible.”

            They are so close that a week after McIlroy won the U.S. Open, Clarke pulled out of a tournament in Germany so he could return to Northern Ireland and join the celebration.

            They were always for someone else. Clarke had reason to believe his best celebrations were behind him. Surely, nothing could top playing a Ryder Cup on home soil in Ireland five years ago and leading Europe to victory just one month after his wife, Heather, died of cancer.

            “In terms of what’s going through my heart, there’s obviously somebody who is watching down from up above there, and I know she’d be very proud of me,” Clarke said. “She’s probably be saying, ‘I told you so.”’
Indeed, this was overdue.

              No one had ever gone more than 15 starts in the British Open until winning, and this was the 20th try for Clarke. Yet even as he struggled with his game and the adjustment of raising two boys without their mother, and as the spotlight shifted to youth, Clarke never gave up on his dreams.

              “I always believed I would get myself back up here,” he said before heading out to the 18th green to collect the oldest trophy in golf. “I always believed I had enough talent to challenge and win one.”

              He delivered on the demanding links of Royal St. George’s to hold off Mickelson and Johnson.



              SANDWICH, England – Another major goes to Northern Ireland. The surprise was Darren Clarke’s name on the claret jug.

              Ten years after he last contended in a major, no longer in the top 100 in the world, Clarke delivered his defining moment Sunday in the British Open when he held off brief challenges from Phil Mickelson and Dustin Johnson to win golf’s oldest championship.
      บันทึกการเข้า
Dtoy16
Hero Cmadong Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2516
คณะ: อักษรศาสตร์
กระทู้: 1,424

« ตอบ #2564 เมื่อ: 18 กรกฎาคม 2554, 08:50:55 »

                  พี่สิงห์ค่ะ Clake เป็นตัวอบ่างนักกอลฟ์ที่ได้รับความสำเร็จสูงสุดขณะนี้เขามีความเชื่อว่าตัวเขาเองต้องทำได้
                                และที่เขาคุยถีงผู้เล่นในกลุ่มNorthern Irelandว่าแม้เป็นที่ไม่ใหญ่โต ก็มี่แชมเปี้ยนถึง 3 คนในเวลา
                                ไล่เรี่ยกันซึ่งเป็นเรื่องที่น่าภาคภูมิใจ นอกจากความสามารถแล้วในด้านจิตใจเธอเป็นคนยกย่อง
                                ให้เกียรติภรรยาเหมือนเวลาแข่งเธอคงมองดูเขาเล่นกอลฟ์ส่งกำลังใจมา และเชื่อว่าClakeต้องทำได้
                              
                               อ่านแล้วรู้สึกดีค่ะเช้านี้ ขอบคุณพี่สิงห์    

                                คนเก่งมีอะไรที่เป็นลักษณะเฉพาะตัว ดูซิ จะฉลอง ยังดื่มน้ำดำ เบียร์ดำเยอรมัน?      
      บันทึกการเข้า

เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562

« ตอบ #2565 เมื่อ: 18 กรกฎาคม 2554, 09:02:17 »

พี่สิงห์คะ
สำหรับตัวเองแล้ว การถือศีล ๕ ข้อที่ยากที่สุด คือข้อ ๑ ค่ะ
ผิดเป็นประจำ กับ ยุง มดและปลวกค่ะ
แต่ตอนนี้กำลังหาทาง ที่จะ ต่างคนต่างอยู่ โดยไม่เบียดเบียนกัน
หรือโดยหาทางว่า เราไม่ต้อนรับโดยไม่ทำลายชีวิตอยู่ค่ะ มีน้องๆ แนะนำมาหลายวิธี
จะทดลองไปเรื่อยๆค่ะ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2566 เมื่อ: 18 กรกฎาคม 2554, 09:11:25 »

อ้างถึง
ข้อความของ Dtoy16 เมื่อ 18 กรกฎาคม 2554, 08:50:55
                  พี่สิงห์ค่ะ Clake เป็นตัวอบ่างนักกอลฟ์ที่ได้รับความสำเร็จสูงสุดขณะนี้เขามีความเชื่อว่าตัวเขาเองต้องทำได้
                                และที่เขาคุยถีงผู้เล่นในกลุ่มNorthern Irelandว่าแม้เป็นที่ไม่ใหญ่โต ก็มี่แชมเปี้ยนถึง 3 คนในเวลา
                                ไล่เรี่ยกันซึ่งเป็นเรื่องที่น่าภาคภูมิใจ นอกจากความสามารถแล้วในด้านจิตใจเธอเป็นคนยกย่อง
                                ให้เกียรติภรรยาเหมือนเวลาแข่งเธอคงมองดูเขาเล่นกอลฟ์ส่งกำลังใจมา และเชื่อว่าClakeต้องทำได้
                               
                               อ่านแล้วรู้สึกดีค่ะเช้านี้ ขอบคุณพี่สิงห์     

                                คนเก่งมีอะไรที่เป็นลักษณะเฉพาะตัว ดูซิ จะฉลอง ยังดื่มน้ำดำ เบียร์ดำเยอรมัน?     
ขอบคุณมากครับคุณน้องต้อย ที่ช่วยแปลให้
สวัสดี
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2567 เมื่อ: 18 กรกฎาคม 2554, 09:15:35 »

อ้างถึง
ข้อความของ เอมอร 2515 เมื่อ 18 กรกฎาคม 2554, 09:02:17
พี่สิงห์คะ
สำหรับตัวเองแล้ว การถือศีล ๕ ข้อที่ยากที่สุด คือข้อ ๑ ค่ะ
ผิดเป็นประจำ กับ ยุง มดและปลวกค่ะ
แต่ตอนนี้กำลังหาทาง ที่จะ ต่างคนต่างอยู่ โดยไม่เบียดเบียนกัน
หรือโดยหาทางว่า เราไม่ต้อนรับโดยไม่ทำลายชีวิตอยู่ค่ะ มีน้องๆ แนะนำมาหลายวิธี
จะทดลองไปเรื่อยๆค่ะ
สวัสดีค่ะ คุณน้องเอมอร ที่รัก

            จริงๆ เราเป่ามันออกก็ได้ครับ หรือหลีกไปอยู่ในที่ไม่มีมันอยู่ก็แล้วกัน  แต่อาจพลั้งเผลอไปตบมันเข้า มันไม่เป็นไรมากหรอกครับ เพราะเป็นป้องกันตัวเรา เขามาเบียดเบียนเรา เพราะธรรมชาติมันเป็นอย่างนั้นเอง  อยู่ที่จิตของเราต่างหากครับ ศีล ๕ เป็นเพียงส่วนประกอบที่ควรกระทำในชีวิตประจำวัน เพราะจะมีแต่ความสงบ สุข ครับ

            สวัสดี
      บันทึกการเข้า
เอมอร 2515
Cmadong พันธุ์แท้
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu 2515
คณะ: รัฐศาสตร์(นิติศาสตร์)
กระทู้: 4,562

« ตอบ #2568 เมื่อ: 18 กรกฎาคม 2554, 15:20:10 »

หากเป็นอย่างที่พี่สิงห์แนะนำก็จะสบายใจมากขึ้นมาก
ขอบคุณค่ะ
      บันทึกการเข้า
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2569 เมื่อ: 18 กรกฎาคม 2554, 21:23:11 »

สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง ที่รักทุกท่าน
                       วันนี้วันจันทร์ที่ ๑๘ กรกฎาคม พี่สิงห์ไปฟังพระสวดพระอภิธรรมศพ พี่จิรายุ(สุริยา)   ประกิตธรรังษี ที่วัดบึงทองหลาง ซอยลาดพร้าว ๑๐๑  อดีตหัวหอชาย(ไม่ครบวาระ)  อดีตประธานชมรม(ไม่ครบวาระ) นักร้องอัดแผ่นเสียงซีมะโด่ง  รัฐศาสตร์ จุฬาฯรุ่น ๒๐ พี่สุริยา เสียชีวิตด้วยโรคเรื้อรัง ความดัน เบาหวาน หัวใจ และพากินสัน  ภรรยาบอกว่าเป็นทุกโรค ก่อนเสียชีวิต

                        พิธีพระราชทานเพลิงศพพี่สุริยา วันอังคารที่ ๑๙  กรกฎาคม เวลา ๑๖:๐๐ น. ครับ ใครว่างเรียนเชิญ ครับ

                        พี่สิงห์ ไปถึงวัดบึงทองหลาง เวลา หกโมงครึ่ง  ตามด้วยประธานชมรม คุณวัฒนา  รศ.พินิจ  พี่ติ๋ว  ดร.มนูญ มาก่อนพี่สิงห์ อาจารย์เผ่า คุณมิ้ง  คุณหลิว  นท.โชติศิลป์  คุณพนัส  คุณน้อง Tooky  คุณเจี๊ยบ และคุณทรงเกียรติ มาหลังสุด ครับ

                        พี่สิงห์ กับ รศ.พินิจ  เป็นตัวแทนชมรมฯ ถวายปัจจัย  ดอกไม้ธูปเทียน  แด่พระสงฆ์  ทางชมรมฯได้มอบเงินทำบุญจำนวน 5,000 บาท และค่าพวงหรีด 1,000 บาท รวมเป็นเงิน 6,000 บาท แด่ภรรยาพี่สุริยา ครับ

                        พี่สิงห์ ทำหน้าที่รายงานข่าว เท่าที่จะกระทำได้ ครับ

                        เชิญชมภาพและราตรีสวัสดิ์ ทุกท่านครับ



















                                                บังสกุลตาย

              อนิจจา  วะตะ  สังขารา,                        สังขารนี้  ไม่เที่ยงหนอ

              อุปปาทะ  วะยะธัมมิโน,                         มีเกิดขึ้นแล้ว  ย่อมเสื่อมไปเป็นธรรมดา

              อุปปัชชิตวา  นิรุชฌันติ,                         เมื่อเกิดขึ้น  ย่อมดับไป

              เตสัง  วูปะสะโม  สุขโข,                        ความเข้าไปสงบระงับแห่งสังขาร  คือ

                                                                     ความคิดปรุงแต่งนี้เสียได้  ย่อมเป็นสุข  ดังนี้
      บันทึกการเข้า
khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #2570 เมื่อ: 18 กรกฎาคม 2554, 23:58:39 »

อ้างถึง
ข้อความของ Dtoy16 เมื่อ 18 กรกฎาคม 2554, 08:50:55
                  พี่สิงห์ค่ะ Clake เป็นตัวอบ่างนักกอลฟ์ที่ได้รับความสำเร็จสูงสุดขณะนี้เขามีความเชื่อว่าตัวเขาเองต้องทำได้
                                และที่เขาคุยถีงผู้เล่นในกลุ่มNorthern Irelandว่าแม้เป็นที่ไม่ใหญ่โต ก็มี่แชมเปี้ยนถึง 3 คนในเวลา
                                ไล่เรี่ยกันซึ่งเป็นเรื่องที่น่าภาคภูมิใจ นอกจากความสามารถแล้วในด้านจิตใจเธอเป็นคนยกย่อง
                                ให้เกียรติภรรยาเหมือนเวลาแข่งเธอคงมองดูเขาเล่นกอลฟ์ส่งกำลังใจมา และเชื่อว่าClakeต้องทำได้
                               
                               อ่านแล้วรู้สึกดีค่ะเช้านี้ ขอบคุณพี่สิงห์     

                                คนเก่งมีอะไรที่เป็นลักษณะเฉพาะตัว ดูซิ จะฉลอง ยังดื่มน้ำดำ เบียร์ดำเยอรมัน?     

ดูเหมือนcokeนะคะ
ไช่เบียร์เหรอพี่?
      บันทึกการเข้า


khesorn mueller
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2527
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 71,885

« ตอบ #2571 เมื่อ: 19 กรกฎาคม 2554, 00:06:56 »

อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 17 กรกฎาคม 2554, 20:47:58
สวัสดีครับ คุณเหยง
                       เรื่องการจัดตั้งเป็นสมาคม คงไม่สามารถกระทำได้ เพราะหาคนเป็นผู้จัดการไม่ได้  สำนักงานถาวรไม่มี เคยพุดคุยในสมัยนั้น และมีสิ่งยุ่งยากตามมา และไม่ควรจะซับซ้อนกับสมาคมนิสิตเก่า จุฬาฯ ตามที่เคยคุยกัน  สำหรับผมนั้น เลยวัยย์  หมดภาระหน้าที่แล้ว  เป็นเรื่องของคนรุ่นหลังแล้วครับ  จดก็ดี  ไม่จดก็ดี  ขอปล่อยวางครับ

                       เรื่องการสวดมนต์ในตอนเช้าของเด็กนักเรียนนั้น ต้องโทษนักการศึกษาเมืองไทย  ที่ไปปลดวิชาหน้าที่พลเมือง - ศีลธรรม  ออกจากหลักสูตร  เพื่อให้เป็นนานาชาติ  ผลมันจึงเป็นอย่างที่เห็นทุกวันนี้  คนเลยเห็นแก่ตัว  ไม่รู้จักอารมณ์แห่งการให้ทานที่แท้จริง  คนไม่รู้จักศีล ๕ ที่พระพุทธเจ้าท่านทรงเน้นเสมอ เพราะศีล ๕ จะทำให้สังคมครอบครัว หมู่บ้าน ตำบล  อำเภอ  จังหวัด และประเทศ อยู่อย่างสงบ สุขได้

                       ศีล ๕ ข้อ มุสาวาทาเวรมณี นั้นรักษาอยากที่สุดโดยเฉพาะ การโกหกหรือผิดคำพูดต่อตัวเอง ครับ

                       ปัจจุบัน คนไทยชอบบนบานขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วย  แต่ไม่ช่วยตัวเอง  ส่วนพระบางส่วนก็ชักนำไปในทางที่ไม่ดี โดยมีข้ออ้างในการหาเงินมาบำรุงศาสนา คือการทำวัตถุมงคล  จำหน่าย  คนเลยเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธ์ไปกันใหญ่  หวังพึงแต่สิงศักดิ์สิทธิ์ หลักศาสนาพุทธก็บอกอยู่แล้วว่า ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นล้วนมีปัจจัยเป็นเหตุ  จึงเกิดขึ้น  ไม่ใช่ไปให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์กระทำให้ เป็นความเชื่อที่ผิด นั่นคือทางที่พระไม่ควรกระทำอย่างยิ่งเพราะจะทำให้คนสับสนไปนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์  ไม่เชื่อในการกระทำ โดยเฉพาะการทำดี ทำให้คนนับถือศาสนาศาสนาพุทธไปผิดทาง จากที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน และบัญญัติไว้  ท่านทรงให้ใช้ ศรัทธา ความเพียร และปัญญา ไม่ให้เชื่อตามหลัก กาลามสูตร ๑๐ ประการ ครับ

                       ขอบคุณมากที่นำเรื่องดีๆ มาบอกกล่าว และราตรีสวัสดิ์ครับ


พี่สิงห์,
จริงเหรอคะที่ว่าเค้าถอดวิชาหน้าที่พลเมือง วิชาศีลธรรม
ออกจากหลักสูตร ?
ฟังแล้วเศร้าจัง...เพราะเค้าจะให้ไปเรียนจากที่ไหน ถ้า
ในครอบครัวก็แทบไม่มีเวลาแก่กัน แถมจะโยนภาระไป
ที่รุ่นเก่าๆก็ไม่ง่าย เพราะเดี๋ยวนี้อยู่กันอย่างครอบครัวเล็ก
พ่อ-แม่-ลูก...
      บันทึกการเข้า


Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2572 เมื่อ: 19 กรกฎาคม 2554, 07:47:24 »

สวัสดีค่ะ คุณน้องหนุ๋งหนิ๋ง ที่รัก

                      วิชาหน้าที่พลเมือง-ศีลธรรม นั้นนักการศึกษาเมืองไทยท่านว่า มันไม่เป็นสากล เขาถอดออกจากหลักสูตรมาตั้งนานแล้วครับ ทั้งๆที่เป็นวิชาที่ทำให้เด้กนักเรียนประพฤติดีมีวัฒนธรรมดีงาม รู้จัดทำดี ได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว และอีกหลายอย่าง พี่สิงห์เองใช้หลักทิศหกมาใช้ในการทำงานอย่างยิ่ง
                       นอกจากนี้วิชาที่ใช้ในการทำงานทางช่างมากที่สุดคือ วิชาเลขาคณิต เดี๋ยวนี้เขาก็เอาออกจากหลักสูตรหมดแล้ว ดังนั้นเด็กรุ่นใหม่จึงคำนวณพื้นที่หน้าตัด ปริมาตร และอื่นๆอีกมากไม่ได้ครับ

                       นี่คือความจริง  จึงไม่แปลกที่เด็กจบปริญญาตรี ไม่สามารถทำงานได้ทันที  ต้องไปอบรมเฉพาะแต่ละหน่วยงานให้ใหม่ และกว่าจะค้นพบตัวเองที่แท้จริงก็ต้องผ่านไปสามถึงห้าปีไปแล้ว  นี่ละเป็นสาเหตุที่พี่สิงห์ถึงต้องนำ 5 ส. และ check list มาให้นิสิตหอพักได้ลองกระทำในระหว่างเรียนเพื่อให้เกิดวินัย และความรับผิดชอบ จบออกไปจากจุฬาฯจะได้ทำงานได้ทันทีครับ

                       สวัสดีค่ะ
      บันทึกการเข้า
too_ploenpit
Cmadong ชั้นเซียน
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: rcu2514
คณะ: รัฐศาสตร์
กระทู้: 7,778

เว็บไซต์
« ตอบ #2573 เมื่อ: 19 กรกฎาคม 2554, 08:46:53 »

อ้างถึง
ข้อความของ Manop  Klabdee เมื่อ 19 กรกฎาคม 2554, 07:47:24
สวัสดีค่ะ คุณน้องหนุ๋งหนิ๋ง ที่รัก

                      วิชาหน้าที่พลเมือง-ศีลธรรม นั้นนักการศึกษาเมืองไทยท่านว่า มันไม่เป็นสากล เขาถอดออกจากหลักสูตรมาตั้งนานแล้วครับ ทั้งๆที่เป็นวิชาที่ทำให้เด้กนักเรียนประพฤติดีมีวัฒนธรรมดีงาม รู้จัดทำดี ได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว และอีกหลายอย่าง พี่สิงห์เองใช้หลักทิศหกมาใช้ในการทำงานอย่างยิ่ง
                       นอกจากนี้วิชาที่ใช้ในการทำงานทางช่างมากที่สุดคือ วิชาเลขาคณิต เดี๋ยวนี้เขาก็เอาออกจากหลักสูตรหมดแล้ว ดังนั้นเด็กรุ่นใหม่จึงคำนวณพื้นที่หน้าตัด ปริมาตร และอื่นๆอีกมากไม่ได้ครับ

                       นี่คือความจริง  จึงไม่แปลกที่เด็กจบปริญญาตรี ไม่สามารถทำงานได้ทันที  ต้องไปอบรมเฉพาะแต่ละหน่วยงานให้ใหม่ และกว่าจะค้นพบตัวเองที่แท้จริงก็ต้องผ่านไปสามถึงห้าปีไปแล้ว  นี่ละเป็นสาเหตุที่พี่สิงห์ถึงต้องนำ 5 ส. และ check list มาให้นิสิตหอพักได้ลองกระทำในระหว่างเรียนเพื่อให้เกิดวินัย และความรับผิดชอบ จบออกไปจากจุฬาฯจะได้ทำงานได้ทันทีครับ

                       สวัสดีค่ะ

...สวัสดีค่ะ...พี่สิงห์และสมาชิกทุกท่าน...

...คนที่ถอดวิชาศีลธรรมและหน้าที่พลเมืองออกจากหลักสูตร...

...คงลืมไปค่ะว่า...พอเด็กได้วิชาสากลมากขึ้น...เป็นคนทันสมัยมากขึ้น...

...แต่เขาอาจลืมอะไรที่เป็นไทยๆไปค่ะ...

...พี่ตู่ก็เสียดายจริงๆค่ะ...วันก่อน...ยังนั่งคุยกับลูกกันเรื่องเลือกตั้งและคนที่มีสิทธิเลือกตั้งค่ะ...

...ลูกยังไม่รู้เลยว่าพระและแม่ชีมีสิทธิ์เลือกตั้งหรือไม่ค่ะ...
      บันทึกการเข้า

i love pink, you are pink = i love you
Manop Klabdee
Cmadong อภิมหาอมตะเซียน
******


พอเพียง มีสติ เกิดปัญญา
ออฟไลน์ ออฟไลน์

รุ่น: 2513 วศ. รุ่นที่ 54
คณะ: วิศวกรรมศาสตร์ แผนกวิชาวิศวกรรมโยธา
กระทู้: 11,644

« ตอบ #2574 เมื่อ: 19 กรกฎาคม 2554, 08:53:23 »

สวัสดีครับ ชาวซีมะโด่ง ที่รัก ทุกท่าน
                       เช้านี้พี่สิงห์มีสิ่งดีๆ มาฝาก และอยากให้พวกเราได้ปฏิบัติตาม ขอให้ทุกท่านใช้ปัญญาพิจารณาดูครับ
                       สวัสดี(32709)


รู้ธรรมวันละนิด  จิตผ่องใส

ตอน

สวดมนต์พร้อมคำแปล ทำวัตรเช้า - ทำวัตรเย็น




บทสวดมนต์ คำทำวัตรเช้า


(เมื่อหัวหน้าจุดเทียน ธูป พึงนั่งคุกเข่าประนมมือพร้อมกัน หัวหน้าขึ้นต้นแล้ว ว่าตามพร้อมกัน)


คำนมัสการพระรัตนตรัย


                       อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา,
                       พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ;

                       พุทธัง ภะควันตัง อะภิวาเทมิ.
                       ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
                               (กราบ)

                       สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
                       พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว ;

                       ธัมมัง นะนัสสามิ.
                       ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม.
                                (กราบ)

                       สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
                       พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว ;

                       สังฆัง นะมามิ.
                       ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์.
                                 (กราบ)

ปุพพภาคนมการ

หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส.
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความนอบน้อมอันเป็นส่วนเบื้องต้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด

                       นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต
                       ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ;

                       อะระหะโต
                       ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ;
 
                       สัมมาสัมพุทธัสสะ.
                       ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
                                ( ๓ ครั้ง )


พุทธาภิถุติ

หันทะ มะยัง พุทธาภิถุติง กะโรมะ เส.
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความชมเชย เฉพาะพระพุทธเจ้าเถิด

                        โย โส ตะถาคะโต,
                        พระตถาคตเจ้านั้น พระองค์ใด ;

                        อะระหัง
                        เป็นผู้ไกลจากกิเลส ;
 
                        สัมมาสัมพุทโธ ,
                        เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ;
 
                        วิชชาจะระณะสัมปันโน,
                        เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ;
 
                        สุโตคะ,
                        เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี ;

                        โลกะวิทู,
                        เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง ;
 
                        อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ,
                        เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า ;

                        สัตถา เทวะมะนุสสานัง,
                        เป็นครูผู้สอน ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ;
 
                        พุทโธ,
                        เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม ;
 
                        ภะคะวา,
                        เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ;

                        โย อิมัง โลกัง สะเทวะกัง สะมาระกัง สะพรหมะกัง,
                        สัสสะมะณะพราหมะณิง ปะชัง สะเทวะมะนุสสัง สะยัง อะภิญญา สัจฉิกัตวา ปะเวเทสิ,
                        พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด, ได้ทรงทำความดับทุกข์ให้แจ้งด้วยพระปัญญาอันยิ่งเองแล้ว,
                        ทรงสอนโลกนี้ พร้อมทั้งเทวดา, มาร พรหม, และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์, พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม ;
 
                        โย ธัมมัง เทเสสิ,
                        พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด, ทรงแสดงธรรมแล้ว ;
 
                        อาทิกัลยาณัง,
                        ไพเราะในเบื้องต้น,
 
                        มัชเฌกัลยาณัง,
                        ไพเราะในท่ามกลาง,

                        ปะริโยสานะกัลยาณัง,
                        ไพเราะในที่สุด,
 
                        สาตถัง สะพยัญชะนัง เกวะละปริปุณณัง ปะริสุทธัง พรหมะจะริยัง ปะกาเสสิ,
                        ทรงประกาศพรหมจรรย์ คือแบบแห่งการปฏิบัติอันประเสริฐ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ สิ้นเชิง,
                        พร้อมทั้งอรรถะ (คำอธิบาย) พร้อมทั้งพยัญชนะ (หัวข้อ) ;

                        ตะมะหัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ
                        ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ;

                        มะหัง ภะคะวันตัง สิระสา นะมามิ.
                        ข้าพเจ้านอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ด้วยเศียรเกล้า

(กราบรำลึกพระพุทธคุณ)

ธัมมาภิถุติ

หันทะ มะยัง ธัมมาภิถุติง กะโรมะ เส.
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความชมเชย เฉพาะพระธรรมเถิด

                        โย โส สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
                        พระธรรมนั้นใด, เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ดีแล้ว ;
 
                        สันทิฏฐิโก,
                        เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง ;

                        อะกาลิโก,
                        เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล ;
 
                        เอหิปัสสิโก,
                        เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด ;

                        โอปะนะยิโก,
                        เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว ;
 
                        ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ,
                        เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ;

                        ตะมะหัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ,
                        ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระธรรมนั้น ;
 
                        ตะมะหัง ธัมมัง สิระสา นะมามิ,
                        ข้าพเจ้านอบน้อมพระธรรมนั้น ด้วยเศียรเกล้า ;
 
(กราบรำลึกพระธรรมคุณ)


สังฆาภิถุติ

หันทะ มะยัง สังฆาภิถุติง กะโรมะ เส.
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความชมเชย เฉพาะพระสงฆ์เจ้าเถิด

                      โย โส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
                       สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น หมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว ;
 
                       อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
                       สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว ;
 
                       ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
                       สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว ;

                       สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
                       สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว ;

                       ยะทิทัง,
                       ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ :

                       จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา,
                       คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่, นับเรียงตัวบุรุษ ได้ ๘ บุรุษ ;

                       เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
                       นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ;
 
                       อาหุเนยโย,
                       เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา ;

                       ปาหุเนยโย,
                       เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ ;

                       ทักขิเณยโย,
                       เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน ;
 
                       อัญชะลิกะระณีโย,
                       เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี ;
 
                       อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ,
                       เป็นเนื้อนาบุญของโลก, ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ;

                       ตะมะหัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ,
                       ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระสงฆ์หมู่นั้น ;
 
                       ตะมะหัง สังฆัง สิระสา นะมามิ,
                       ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์หมู่นั้น ด้วยเศียรเกล้า ;
 
(กราบรำลึกพระสังฆคุณ)

รตนัตตยัปปณามคาถา

หันทะ มะยัง ระตะนัตตะยัปปะณามะคาถาโย เจวะสังเวคะปะริกิตตะนะปาฐัญจะ ภะณามะ เส.
เชิญเถิด เราทั้งหลาย กล่าวคำนอบน้อมพระรัตนตรัย และบาลีที่กำหนดวัตถุเครื่องแสดงความสังเวชเถิด

พุทโธ สุสุทโธ กะรุณามะหัณณะโว
พระพุทธเจ้าผู้บริสุทธิ์ มีพระกรุณาดุจห้วงมหรรณพ ;

โยจจันตะสุทธัพพะระญาณะโลจะโน,
พระองค์ใด มีตาคือญาณอันประเสริฐหมดจดถึงที่สุด ;

โลกัสสะ ปาปูปะกิเลสะฆาตะโก,
เป็นผู้ฆ่าเสียซึ่งบาป และอุปกิเลสของโลก ;
 
วันทามิ พุทธัง อะหะมาทะเรนะ ตัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ.

ธัมโม ปะทีโป วิยะ ตัสสะ สัตถุโน,
พระธรรมของพระศาสดา สว่างรุ่งเรืองเปรียบดวงประทีป ;

โย มัคคะปากามะเภทะภินนะโก,
จำแนกประเภท คือ มรรค ผล นิพพาน, ส่วนใด

โลกุตตระ โย จะ ตะทัตถะทีปะโน,
ซึ่งเป็นตัวโลกุตตระ, และส่วนใดที่ชี้แนวแห่งโลกุตตระนั้น ;

วันทามิ ธัมมัง อะหะมาทะเรนะ ตัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมนั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ.
 
สังโฆ สุเขตตาภยะติเขตตะสัญญิโต,
พระสงฆ์เป็นนาบุญอันยิ่งใหญ่กว่านาบุญอันดีทั้งหลาย ;
 
โย ทิฏฐะสันโต สุคะตานุโพธะโก,
เป็นผู้เห็นพระนิพพาน, ตรัสรู้ตามพระสุคต, หมู่ใด ;
 
โลลัปปะหีโน อะริโย สุเมธะโส,
เป็นผู้ละกิเลสเครื่องโลเล เป็นพระอริยเจ้า มีปัญญาดี ;

วันทามิ สังฆัง อะหะมาทะเรนะ ตัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์หมู่นั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ.

อิจเจวะเมกันตะภิปูชะเนยยะกัง, วัตถุตตะยัง วันทะยะตาภิสังขะตัง, ปุญญัง มะยา ยัง มะมะ สัพพุปัททะวา, มา โหนตุ เว ตัสสะ ปะภาวะสิทธิยา.
บุญใด ที่ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งวัตถุสาม, คือพระรัตนตรัย อันควรบูชายิ่งโดยส่วนเดียว, ได้กระทำแล้วเป็นอย่างยิ่งเช่นนี้นี้, ขออุปัททวะ (ความชั่ว) ทั้งหลาย, จงอย่ามีแก่ข้าพเจ้าเลย, ด้วยอำนาจความสำเร็จ อันเกิดจากบุญนั้น.

สังเวคปริกิตตนปาฐะ



                       อิธะ ตะถาคะโต โลเก อุปปันโน
                       พระตถาคตเจ้าเกิดขึ้นแล้ว ในโลกนี้ ;
 
                       อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
                       เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ;
 
                       ธัมโม จะ เทสิโต นิยยานิโก,
                       และพระธรรมที่ทรงแสดง เป็นธรรมเครื่องออกจากทุกข์ ;
 
                       อุปะสะมิโก ปะรินิพพานิโก,
                       เป็นเครื่องสงบกิเลส, เป็นไปเพื่อปรินิพพาน ;

                       สัมโพธะคามี สุคะตัปปะเวทิโต ;
                       เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม, เป็น ธรรมที่พระสุคตประกาศ ;
 
                       มะยันตัง ธัมมัง สุตวา เอวัง ชานามะ : -
                       พวกเราเมื่อได้ฟังธรรมนั้นแล้ว, จึงได้รู้อย่างนี้ว่า : -

                       ชาติปิ ทุกขา, แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์ ;
 
                       ชะราปิ ทุกขา, แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์ ;

                       มะระณัมปิ ทุกขัง, แม้ความตายก็เป็นทุกข์ ;
 
                       โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา,
                       แม้ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์ ;
 
                       อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข
                       ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์ ;

                       ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข,
                       ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์ ;
 
                       ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง,
                       มีความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์ ;

                       สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา,
                       ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์ ;
 
                       เสยยะถีทัง,
                       ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ :-
 
                       รูปูปาทานักขันโธ,
                       ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือรูป ;
 
                       เวทะนูปาทานักขันโธ,
                       ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือเวทนา ;

                       สัญญูปาทานักขันโธ,
                       ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือสัญญา ;
 
                       สังขารูปาทานักขันโธ,
                       ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือสังขาร ;
 
                       วิญญาณูปาทานักขันโธ,
                       ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือวิญญาณ ;

                       เยสัง ปะริญญายะ,
                       เพื่อให้สาวกกำหนดรอบรู้อุปาทานขันธ์ เหล่านี้ เอง,
 
                       ธะระมาโน โส ภะคะวา,
                       จึงพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เมื่อยังทรงพระชนม์อยู่,
 
                       เอวัง พะหุลัง สาวะเก วิเนติ,
                       ย่อมทรงแนะนำสาวกทั้งหลาย เช่นนี้เป็นส่วนมาก ;
 
                       เอวังภาคา จะ ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะเกสุ อะนุสาสะนี พะหุลา ปะวัตติตะติ,
                       อนึ่ง คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น, ย่อมเป็นไปในสาวกทั้งหลาย, ส่วนมาก, มีส่วนคือการจำแนกอย่างนี้ว่า :-
 
                       รูปัง อะนิจจัง, รูปไม่เที่ยง
 
                       เวทะนา อะนิจจา, เวทนาไม่เที่ยง

                       สัญญา อะนิจจา, สัญญาไม่เที่ยง
 
                       สังขารา อะนิจจา, สังขารไม่เที่ยง
 
                       วิญญาณัง อะนิจจัง, วิญญาณไม่เที่ยง

                       รูปัง อะนัตตา, รูปไม่ใช่ตัวตน
 
                       เวทะนา อะนัตตา, เวทนาไม่ใช่ตัวตน

                       สัญญาอะนัตตา, สัญญาไม่ใช่ตัวตน

                       สังขาราอะนัตตา, สังขารไม่ใช่ตัวตน

                       วิญญาณัง อะนัตตา, วิญญาณไม่ใช่ตัวตน

                       สัพเพ สังขารา อะนิจจา, สังขารทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง

                       สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ
                       ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่ตัวตน ดังนี้.
 
                       เต (ตา) มะยัง โอติณณามหะ,
                       พวกเราทั้งหลาย เป็นผู้ถูกครอบงำแล้ว ;

                       ชาติยา,
                       โดยความเกิด ;

                       ชะรามะระเณนะ,
                       โดยความแก่และความตาย ;
 
                       โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปยาเสหิ,
                       โดยความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ทั้งหลาย ;
 
                       ทุกโขติณณา,
                       เป็นผู้ถูกความทุกข์ หยั่งเอาแล้ว ;

                       ทุกขะปะเรตา,
                       เป็นผู้มีความทุกข์ เป็นเบื้องหน้าแล้ว ;

                       อัปเปวะนามิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขันขันธัสสะ อันตะกิริยา ปัญญาเยถาติ.
                       ทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ . จะพึ่งปรากฏชัด แก่เราได้.
 
สำหรับพระภิกษุและสามเณรสวด

                       จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง อุททิสสะ อะระหันตัง สัมมาสัมพุทธัง
                       เราทั้งหลาย อุทิศเฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ไกลจากกิเลส
                       ตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง แม้ปรินิพพานนานแล้ว พระองค์นั้น

                       สัทธา อะคารัสมา อะนะคาริยัง ปัพพะชิตา
                       เป็นผู้มีศรัทธา ออกบวชจากเรือน ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว

                       ตัสมิง ภะคะวะติ พรัห์มะจะริยัง จะรามะ
                       ประพฤติซึ่งพรหมจรรย์ในคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

                       ภิกขูนัง สิกขาสาชีวะสะมาปันนา
                       ถึงพร้อมด้วยสิกขา และธรรมเป็นเครื่องเลี้ยงชีวิตของภิกษุทั้งหลาย

                       ตัง โน พรัห์มะจะริยัง อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุ
                       ขอให้พรหมจรรย์ของเราทั้งหลายนั้น จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ เทอญ ฯ

 
สำหรับอุบาสก อุบาสิกาสวด

                       จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา,
                       เราทั้งหลายผู้ถึงแล้วซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ปรินิพพานนานแล้ว พระองค์นั้น เป็นสรณะ
 
                       ธัมมัญจะ สังฆัญจะ,
                       ถึงพระธรรมด้วย, ถึงพระสงฆ์ด้วย ;

                       ตัสสะ ภะคะวะโต สาสะนัง ยะถาพะลัง มะนะสิกะโรมะ อะนุปะฏิปัชชามะ,
                       จักทำในใจอยู่ ปฏิบัติตามอยู่ ซึ่งคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นตามสติกำลัง

                       สา สา โน ปะฏิปัตติ,
                       ขอให้ความปฏิบัตินั้น ๆ ของเราทั้งหลาย ;

                       อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุ.
                       จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ เทอญ.

จบการสวดมนต์ทำวัตรเช้า แล้วต่อด้วยบทแผ่เมตตา

บทแผ่เมตตา

            สัพเพ  สัตตา ,                    สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์  เกิด  แก่  เจ็บ  ตาย  ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น,

            อะเวลา  โนนตุ ,                  จงเป็นสุขๆ เถิด  อย่าได้มีเวรต่อกันและกันเลย,

            อัพยาปัชฌา  โหนตุ ,            จงเป็นสุขๆ เถิด  อย่าได้พยาบาทเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย,

            อะนีฆา  โหนตุ ,                   จงเป็นสุขๆ เถิด  อย่าได้มีความทุกข์กาย  ทุกข์ใจเลย,

            สุขี  อัตตานัง  ปะริหะรันตุ ,      จงมีความสุขกายสุขใจ  รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด.

           
(กราบ ๓ ครับ)



บทสวดมนต์ คำทำวัตรเย็น


คำนมัสการพระรัตนตรัย


                       อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา,
                       พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ;

                       พุทธัง ภควันตัง อะภิวาเทมิ.
                       ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
                                 (กราบ)

                       สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
                       พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว ;

                       ธัมมัง นะนัสสามิ.
                       ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม.
                                 (กราบ)

                       สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
                       พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว ;
 
                       สังฆัง นะมามิ.
                       ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์.
                                  (กราบ)

ปุพพภาคนมการ

หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส.
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความน้อบน้อมอันเป็นส่วนเบื้องต้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด

                       นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต
                       ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ;

                       อะระหะโต
                       ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ;

                       สัมมาสัมพุทธัสสะ.
                       ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
                                 ( ๓ ครั้ง )


๑. พุทธานุสสติ

หันทะ มะยัง พุทธานุสสตินะยัง กะโรมะ เส.
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำซึ่งความระลึก ถึงพระพุทธเจ้าเถิด

                        ตัง โข ปะนะ ภะคะวันตัง เอวัง กัลฺยาโณ กิตติสัทโท อัพภุคคะโต,
                        ก็กิตติศัพท์อันงามของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น, ได้ฟุ้งไปแล้วอย่างนี้ว่า

                        อิติปิ โส ภะคะวา เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น

                        อะระหัง, เป็นผู้ไกลจากกิเลส

                        สัมมาสัมพุทโธ, เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

                        วิชชาจะระณะสัมปันโน, เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ

                        สุคะโต, เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี

                        โลกะวิทู, เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง

                        อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ , เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า

                        สัตถา เทวะมะนุสสานัง, เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

                        พุทโธ, เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม

                        ภะคะวา ติ. เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ดังนี้

๒.. พุทธาภิคีติง

หันทะ มะยัง พุทธาภิคีติง กะโรมะ เส.
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความขับคาถา พรรณนาเฉพาะพระพุทธเจ้าเถิด

                        พุทธะวาระหันตะวะระตาทิคุณาภิยุตโต,
                        พระพุทธเจ้าประกอบด้วยคุณ มีความประเสริฐแห่งอรหันตคุณเป็นต้น

                        สุทธาภิญาณะกะรุณาหิ สะมาคะตัตโต,
                        มีพระองค์อันประกอบด้วยพระญาณ และพระกรุณาอันบริสุทธิ์

                        โพเธสิ โย สุชะนะตัง กะมะลังวะ สูโร,
                        พระองค์ใด ทรงกระทำชนที่ดีให้เบิกบาน ดุจอาทิตย์ทำบัวให้บาน

                        วันทามะหัง ตะมะระณัง สิระสา ชิเนนทัง.
                        ข้าพเจ้าไหว้พระชินสีห์ ผู้ไม่มีกิเลส พระองค์นั้น ด้วยเศียรเกล้า

                        พุทโธ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง,
                        พระพุทธเจ้าพระองค์ใด เป็นสรณะอันเกษมสูงสุด ของสัตว์ทั้งหลาย

                        ปะฐะมานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง.
                        ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกองค์ที่หนึ่ง ด้วยเศียร เกล้า

                        พุทธัสสาหัสฺมิ ทาโส*(ทาสี) วะ พุทโธ เม สามิกิสสะโร,
                        ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระพุทธเจ้า, พระพุทธเจ้าเป็นนายมีอิสระเหนือข้าพเจ้า

                        พุทโธ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม.
                        พระพุทธเจ้าเป็นเครื่องกำจัดทุกข์ และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า

                        พุทธัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง,
                        ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้ แด่พระพุทธเจ้า

                        วันทันโตหัง*(ตีหัง) จะริสสามิ พุทธัสเสวะ สุโพธิตัง,
                        ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม ซึ่งความตรัสรู้ดีของพระพุทธเจ้า

                        นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรัง,
                        สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระพุทธเจ้าเป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า

                        เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน,
                        ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา

                        พุทธัง เม วันทะมาเนนะ*(นายะ) ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ,
                        ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่พระพุทธเจ้า ได้ขวนขวายบุญใด ในบัดนี้

                        สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา.
                        อันตรายทั้งปวง อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งบุญนั้น

(หมอบกราบลงกล่าวคำพร้อมกัน)

                        กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา,
                        ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี

                        พุทเธ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง,
                        กรรมน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้า

                        พุทโธ ปะฏิคคัณฺหะตุ อัจจะยันตัง,
                        ขอพระพุทธเจ้า จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น

                        กาลันตะเร สังวะริตุง วะ พุทเธ .
                        เพื่อการสำรวมระวัง ในพระพุทธเจ้า ในกาลต่อไป

๓ . ธัมมานุสสติ

หันทะ มะยัง ธัมมานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส.
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำซึ่งความตามระลึกถึงพระธรรมเถิด

                       สฺวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
                       พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ดีแล้ว

                       สันทิฏฐิโก
                       เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง

                       อะกาลิโก,
                       เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล

                       เอหิปัสสิโก,
                       เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด

                       โอปะนะยิโก,
                       เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว

                       ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหี ติ.
                       เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้

๔. ธัมมาภิคีติ

หันทะ มะยัง ธัมมาภิคีติง กะโรมะ เส.
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความขับคาถา พรรณนาเฉพาะพระธรรมเจ้าเถิด

                       สฺวากขาตะตาทิคุณะโยคะวะเสนะ เสยโย,
                       พระธรรม เป็นสิ่งที่ประเสริฐ เพราะประกอบด้วยคุณ คือ ความที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว เป็นต้น

                       โย มัคคะปากะปะริยัตติวิโมกขะเภโท,
                       เป็นธรรมอันจำแนกเป็น มรรค ผล ปริยัติ และนิพพาน

                       ธัมโม กุโลกะปะตะนา ตะทะธาริธารี,
                       เป็นธรรมทรงไว้ซึ่งผู้ทรงธรรม จากการตกไปสู่โลกที่ชั่ว

                       วันทามะหัง ตะมะหะรัง วะระธัมมะเมตัง,
                       ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมอันประเสริฐนั้น อันเป็นเครื่องขจัดเสียซึ่งความมืด

                       ธัมโม โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง,
                       พระธรรมใด เป็นสรณะอันเกษมสูงสุด ของสัตว์ทั้งหลาย

                       ทุติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง,
                       ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมนั้น อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกองค์ที่สองด้วยเศียรเกล้า

                       ธัมมัสสาหัสฺมิ ทาโส*(ทาสี) วะ ธัมโม เม สามิกิสสะโร,
                       ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระธรรม พระธรรมเป็นนายมีอิสระเหนือข้าพเจ้า

                       ธัมโม ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม,
                       พระธรรมเป็นเครื่องกำจัดทุกข์และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า

                       ธัมมัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง,
                       ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้แด่พระธรรม

                       วันทันโตหัง*(ตีหัง) จะริสสามิ ธัมมัสเสวะ สุธัมมะตัง,
                       ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม ซึ่งความเป็นธรรมดีของพระธรรม

                       นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ธัมโม เม สะระณัง วะรัง,
                       สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระธรรมเป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า

                       เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน,
                       ด้วยการกล่าวคำสัจจ์นี้ ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา

                       ธัมมัง เม วันทะมาเนนะ*(นายะ) ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ,
                       ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระธรรม ได้ขวนขวายบุญใด ในบัดนี้

                       สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา.
                       อันตรายทั้งปวง อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งบุญนั้น

(หมอบกราบลงกล่าวคำพร้อมกัน)

                       กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา,
                       ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี

                       ธัมเม กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง,
                       กรรมน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว ในพระธรรม

                       ธัมโม ปะฏิคคัณฺหะตุ อัจจะยันตัง,
                       ขอพระธรรม จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น

                       กาลันตะเร สังวะริตุง วะ ธัมเม.
                       เพื่อการสำรวมระวัง ในพระธรรม ในกาลต่อไป

๕. สังฆานุสสติ

หันทะ มะยัง สังฆานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส.
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำซึ่งความตามระลึกถึงพระสงฆ์เถิด

                       สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
                       สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว

                       อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
                       สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว

                       ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
                       สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว

                       สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
                       สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว

                       ยะทิทัง, ได้แก่บุคคลเหล่านี้ คือ

                       จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา,
                       คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่, นับเรียงตัวบุรุษ ได้ ๘ บุรุษ

                       เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า

                       อาหุเนยโย, เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา

                       ปาหุเนยโย, เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ

                       ทักขิเณยโย, เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน

                       อัญชะลิกะระณีโย, เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี

                       อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสา ติ.
                       เป็นเนื้อนาบุญของโลก, ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้

๖. สังฆาภิคีติ

หันทะ มะยัง สังฆาภิคีติง กะโรมะ เส.
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความขับคาถา พรรณนาเฉพาะพระสงฆ์เจ้าเถิด

                      สัทธัมมะโช สุปะฏิปัตติคุณาทิยุตโต,
                      พระสงฆ์ที่เกิดโดยพระสัทธรรม ประกอบด้วยคุณมีความปฏิบัติดี เป็นต้น

                      โยฏฐัพพิโธ อะริยะปุคคะละสังฆะเสฏโฐ,
                      เป็นหมู่แห่งพระอริยบุคคลอันประเสริฐ แปดจำพวก

                      สีลาทิธัมมะปะวะราสะยะกายะจิตโต,
                      มีกายและจิต อันอาศัยธรรม มีศีลเป็นต้น อันบวร

                      วันทามะหัง ตะมะริยานะคะณัง สุสุทธัง.
                      ข้าพเจ้าไหว้หมู่แห่งพระอริยเจ้าเหล่านั้น อันบริสุทธิ์ด้วยดี

                      สังโฆ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง,
                      พระสงฆ์หมู่ใด เป็นสรณะอันเกษมสูงสุด ของสัตว์ทั้งหลาย

                      ตะติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง.
                      ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์หมู่นั้น อันเป็ที่ตั้งแห่งความระลึกองค์ที่สามด้วยเศียรเกล้า

                      สังฆัสสาหัสฺมิ ทาโส*(ทาสี) วะ สังโฆ เม สามิกิสสะโร,
                      ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระสงฆ์ พระสงฆ์เป็นนาย มีอิสระเหนือข้าพเจ้า

                      สังโฆ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม.
                      พระสงฆ์เป็นเครื่องกำจัดทุกข์ และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า

                      สังฆัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง,
                      ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้ แด่พระสงฆ์

                      วันทันโตหัง*(ตีหัง) จะริสสามิ สังฆัสโสปะฏิปันนะตัง,
                      ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม ซึ่งความปฏิบัติดีของพระสงฆ์

                      นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง สังโฆ เม สะระณัง วะรัง,
                      สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระสงฆ์เป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า

                      เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน,
                      ด้วยการกล่าวคำสัจจ์นี้ ข้าพเจ้าพึงเจริญในศาสนา ของพระศาสดา

                      สังฆัง เม วันทะมาเนนะ*(นายะ) ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ,
                      ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระสงฆ์ ได้ขวนขวายบุญใด ในบัดนี้

                      สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา.
                      อันตรายทั้งปวง อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งบุญนั้น

(หมอบกราบลงกล่าวคำพร้อมกัน)

                       กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา,
                       ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี

                       สังเฆ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง,
                       กรรมน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้วในพระสงฆ์

                       สังโฆ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง,
                       ขอพระสงฆ์ จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น

                       กาลันตะเร สังวะริตุง วะ สังเฆ.
                       เพื่อการสำรวมระวัง ในพระสงฆ์ ในกาลต่อไป

นอกจากนี้ท่านควรสวดมนต์ว่าด้วยพระสูตรต่ออีกอย่างน้อยหนึ่งพระสูตรที่สำคัญ ครับ


จบการสวดมนต์ทำวัตรเย็น แล้วสวดแผ่เมตตา

บทแผ่เมตตา

            สัพเพ  สัตตา ,                    สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์  เกิด  แก่  เจ็บ  ตาย  ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น,

            อะเวลา  โนนตุ ,                  จงเป็นสุขๆ เถิด  อย่าได้มีเวรต่อกันและกันเลย,

            อัพยาปัชฌา  โหนตุ ,            จงเป็นสุขๆ เถิด  อย่าได้พยาบาทเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย,

            อะนีฆา  โหนตุ ,                   จงเป็นสุขๆ เถิด  อย่าได้มีความทุกข์กาย  ทุกข์ใจเลย,

            สุขี  อัตตานัง  ปะริหะรันตุ ,      จงมีความสุขกายสุขใจ  รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด.

           
(กราบ ๓ ครับ)




การสวดมนต์นั้นมีอานิสงส์ดังนี้

                       ๑. สามารถไล่ความขี้เกียจ เพราะขณะสวดมนต์ อารมณ์เบื่อ เซื่องซึม ง่วงนอน เกียจคร้านจะหมดไป และเกิดความแช่มชื่นกระฉับกระเฉงขึ้น

                       ๒. เป็นการตัดความเห็นแก่ตัว เพราะในขณะนั้นอารมณ์จะไปหน่วงอยู่ที่การสวดมนต์อย่างตั้งใจ ไม่ได้คิดถึงตัวเอง ความโลภ โกรธ หลง จึงมิได้เกิดขึ้นในจิตตน

                       ๓. เป็นการกระทำที่ได้ปัญญา ถ้าการสวดมนต์โดยรู้คำแปล รู้ความหมาย ก็ย่อมทำให้ผู้สวดได้ปัญญาความรู้ แทนที่จะสวดเหมือนนกแก้วนกขุนทองโดยไม่รู้อะไรเลย

                       ๔. มีจิตเป็นสมาธิ เพราะขณะนั้นผู้สวดต้องสำรวมใจแน่วแน่ มิฉะนั้นจะสวดผิดท่อนผิดทำนอง เมื่อจิตเป็นสมาธิ ความสงบเยือกเย็นในจิตจะเกิดขึ้น

                       ๕. เปรียบเสมือนการได้เฝ้าพระพุทธเจ้า เพราะขณะนั้นผู้สวดมี กาย วาจา ปกติ (มีศีล) มีใจแน่วแน่ (มีสมาธิ) มีความรู้ระลึกถึงคุณความดีของพระพุทธเจ้า (มีปัญญา) เท่ากับได้เฝ้าพระองค์ด้วยการปฏิบัติบูชา ครบไตรสิกขาอย่างแท้จริง

                และในวิมุตติสูตรได้กล่าวว่า การสาธยายมนต์คือเหตุหนึ่งในวิมุตติ ๕ ประการ (เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการ คือ การฟังธรรม การเทศน์ การสวดมนตร์สาธยาย และการคิดอย่างแยบคาย ) ดังมีว่า

                ...ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร ก็แต่ว่าภิกษุย่อมทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติกายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น

                ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๓ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มี
ใจเด็ดเดี่ยว ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ


                เรื่องการสวดมนต์ มีบางแห่งกล่าวถึงเหตุผลของการสวดมนต์ไว้ว่า

                       ๑. เป็นการรักษาธรรมเนียม ประเพณีที่ดีให้คงอยู่
                       ๒. เป็นการแสดงความเคารพบูชาพระรัตนตรัย
                       ๓. เป็นการเชื่อมสามัคคีในหมู่คณะ ครบไตรทวาร
                       ๔. เป็นการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืน
                       ๕. เพื่อฝึกกายใจให้เข็มแข็งอดทน
                       ๖. เพื่อดำรงรักษาเอกลักษณ์ของชาติไทยไว้
                       ๗. เพื่ออบรมจิตใจให้สะอาด สงบ สว่าง
                       ๘. เพื่อฝึกจิตให้เกิดสมาธิ ไม่ฟุ่งซ่าน
                       ๙. เพื่อเป็นการทบทวนพระพุทธพจน์

                 และกล่าวถึงประโยชน์ของการไหว้พระสวดมนต์ไว้ว่า...

                       ๑. เป็นการเสริมสร้างสติปัญญา
                       ๒. เป็นการอบรมจิตใจให้ประณีตและมีคุณธรรม
                       ๓. เป็นสิริมงคล แก่ชีวิตตน และ บริวาร
                       ๔. เป็นการฝึกจิตใจให้มีคุณค่าและมีอำนาจ
                       ๕. ทำให้มีความเห็นถูกต้องตามหลักพุทธศาสนา
                       ๖. เป็นการรักษาศรัทธาปสาทะของสาธุชนไว้
                       ๗. เท่ากับได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแม้ปรินิพพานแล้ว
                       ๘. เป็นเนตติของอนุชนต่อไป
                       ๙. เป็นบุญกิริยา เป็นวาสนาบารมี เป็นสุขทางใจ

********
      บันทึกการเข้า
  หน้า: 1 ... 101 102 [103] 104 105 ... 681   ขึ้นบน
  
กระโดดไป:  

     

ทำไมหอพักนิสิตจุฬาจึงเป็นดินแดนมหัศจรรย์            " ไม่ได้เป็นแค่หอให้นอนพัก  แต่เป็นบ้านอบอุ่นรักให้อาศัย  ไม่เป็นแค่ที่ซุกหัวยามหลบภัย  แต่สร้างใจให้เข้มแข็งแกร่งการงาน"  <))))><